วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Political Philosophy


ปรัชญาคือ...
 
      วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยา นักปรัชญาชาวอเมริกา ให้อธิบายว่า หมายถึง"หลักการที่ใช้อธิายความเป็นมา ของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้นสิ่งใด องค์ประกอบร่วมกันที่มีอยู่ในเทพเจ้า มนุษย์ สัตว์และดวงดาว จุดเริ่มต้น และจุดจบของความเป็นไปในจักรวาลทั้งหมด สภาวะการณ์แห่งความรู้ทั้งปวง และหลักเกณฑ์ทั่วไปของการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์"

     หรืออาจกล่าวได้ว่า เรื่องที่ศึกษา ทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์เพื่อให้ได้มซึ่งความรู้ หรือ ขอบเขตของความคิดที่อยู่เหนือปรากฎการณ์ของสภาวะทั้งหลายของชีวิต หรือ ขอบเขตของความคิดที่พยายามเพื่อจะทำความเข้าใจในสรรพสิ่งทั้งปวง
  
     คือเรื่องที่ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงทางการเมือง มีค่านิยม มาเกี่ยวข้องสิ่งที่นักปรัชญาศึกษา คือ การพยายามตอบคำถามว่า รัฐและผู้ปกครองที่ดี ความเป็นอย่างไร ซึ่งความคิดในเรื่องรัฐที่ดี หรือผู้ปกครองที่ดีในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างก็มีค่านิยมเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ๆ ซึ่งอาาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้ ดังแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละยุคสมัย หรือแนวทางการร่างรัฐธรตรมนูญของไทยแต่ละฉบับ เป็นต้น

           แนวคิดในเชิงปรัชญา ของนักทฤษฎีทางการเมือง ยุคเพลโต
     เพลโตเป็นลูกศิษย์ขอโสเครตีสเพลโตเป็นผู้ก่ตั้งสำนักอเค็ดเดมี่ ACADEMY ซึ่งเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ได้แก่
       - อุดมรัฐ THE REPUBLIC
       - กฎหมาย THE  LAWS
       - รัฐบุรุษ   THE  STATESMAN
       -ไครโต    CRITO

   ธรรมชาติของคนและรัฐ
คนเป็นสัตว์สังคมไม่สามารถจะมีสภาพเป็นที่สมบูรณ์ได้หากใช้ชีวิตโดดเดี่ยวภายนอกสังคม คนเราเกิดมาเพื่อที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์นั้น จะกระทำเฉพาะอยูภายในรัฐเท่านนั้น การมีชีวิตที่ดีและการเป็นพลเมืองที่ดีมีความหมายคลายคลึงกันมากที่สุด เพลโตเชื่อว่าการที่จะมีชีวิตที่ดีนั้น ในเบื้องต้นต้องเป็นพลเมืองที่ดีก่อน รัฐเกิดจากความจำเป็นของคนและรัฐจะต้องประกอบด้วยคนอยางน้อย 4 หรือ 5 คนขึ้นไป เพลโตกล่าวว่าสังคมได้สร้าง "กฎหมาย" ขึ้นเป็นัฐธรรมนูญการปกครองกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สอนให้คนในรัฐได้เรียยรู้ถึงระเบียบ กติกาการอยู่ร่วมกัน และการที่จะดำรงชีวิตที่ดี นอกจากนี้กฎหมายังเป็นสิ่งที่ทำให้โครงสร้างทางสังคมและการเมืองของรัฐคงอยู่ได้ มนุษย์จะโต้แย้งหรือฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้ ในด้านจริยธรรม เพลโตมีทรรศนะว่า คนโดยปกติแล้วมักจะแสวงหาสิ่งที่ดีเลือกประพฤติแต่สิ่งดี จิตใจของคนสำคัญกว่าร่างกาย ความชัวนั้นเบยกว่าความตายและความไม่ยุตธรรมเลวกว่าการทุกข์ทรมาน....
 
      รัฐในอุดมคติ เพลโต เชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุด คือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตญืเป็นหลักของรัฐ นั้นคือชนในรัฐทุกคนทำหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจำจิตของตนกำหนดให้ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกันโดยเขากำหนดให้ราชปราชญ์ ผู้ทรงปัญญาสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครอง

   รูปแบบการปกครอง เพลโตได้นเชียนรูปแบบการปกครองในหนังสือ Republic ดังนี้
- รูปแบบการปกครองอื่นๆ ไม่อาจเทียบได้กับรูปการปกครองในรัฐอุดมคติที่ปกครอง โดยราชาปราชญ์
- ในหนังสือ The Stateman เพลโตได้บอกถึงรูปแบบการปกครองว่า เป็นการเกี่ยวกับกฎหมาย แบ่งเป็น การปกครองในรัฐที่มีกฎหมาย และการปกครองในรัฐที่ไม่มีกฎหมาย


                        ยุคอริสโตเติ้ล
       อริสโตเติ้ล เป็นบุตรนายแพทย์ประจำราชสำนักมาเซโดเนีย เป็นศิษย์เอกของเพลโต เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกของโลก ได้ก่อตั้งสำนักศึกษาที่ชื่อว่า ลิเซียนม มีผลงานที่สำคัญดังนี้
- รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ The Constitution of  Ahens ถือเป็นรากฐานของการศึกษาแบบรัฐศาสตร์เปรียบเทียบ
- การเมือง Politice

         ธรรมชาติของคนกับรัฐ
  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีธรรมชาติที่ต้องการอยู่ในเมืองหรือในรัฐ มีสัญชาตญาณที่จะแสวงหาอำนาจและสิ่งที่จะสนองความปรารถนาของเขา รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจำเป็น คนสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตที่แท้จริงได้ภายในรัฐเท่านั้น คนเป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล หากปราศจากรัฐ มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับสัตย์ป่า...
       รูปแบบการปกครอง จะเป็นรูปการรปกครองปสมระหว่าคณาธิปไตย กับประชาธิปไตย ซึ่งจะหลายเป็ฯรูปการปกครอง คือมัชฌิมวิถีอ
ธิปไตย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นประชาธิไตยสายกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปการปกครองที่ให้ความสำคัญแก่ทุกๆคน โดยการมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงแลืกผู้ปกครองได้ทุกๆชนชั้น แต่ผู้ปกครองนั้นมาจากชนชั้นสูงเพียงชนชั้นเดียว นอกจากนั้นเขาให้ความสำคัญแก่คนรวยมีสิทธิเป็นผู้ปกครองได้ชนชั้นเดียว คือ ชนชั้นสูง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...