Dark Age

           อนารยชน เป็นคำที่ชาวโรมันเรียกคนป่าเถื่อนหรือคนต่างด้าว ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าอารยธรรมกรีกและโรมัน พูดภาษาละตินไม่ได้ และเข้ามาอาศํยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นดินแดนของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ การเขามารุกรานและตั้งถ่นฐานใหมีในดินแดนของจักรวรรดิโรมันโบราณในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดยุคโบราณและเริ่มต้นยุคกลาง
        พวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนไหวกและย้ายถิ่นฐานเข้าไปในดินแดนของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และมีผลต่อการขนายการปกครองของพวกโรมัน ไปยังยุโรปภาคกลางด้วย
        ทัศนะของพวกโรมันที่มีต่อการเข้ามาของพวกอนารยชน กล่าวโดยทั่งไป คือชาวโรมันไม่พอใจดูถูกพวกฮั่นและพวกอนารยชนเยอรมันเป็นพวกป่าเถื่อน ที่ไม่สามารถพูดภาษาละตินได้ มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเป็ฯอยู่ที่ด้อยกว่าพวกโรมัน อ่านและเขียนหนนังสือไม่ได้ มีความโหดร้ายทารุณ แต่อยางไรก็ตาม ชาวโรมันอาจจะให้การสนับสนุนพวกอนารยชนเยอรมนอยู่บ้างในระยะแรก เพราะในปลาจักรวรรดิโรมันตะวันตก ชาวโรมันระดับล้างถูกเรียเก็บภาษีสูงมาก จึงคิดว่าถ้าให้พวกเยอรมันเข้ามาอาศัยอยู่ พวกตนอาจจะไม่ต้องเสียภาษีสูงมากก็ได้
         ส่วนสันตะปาปา และศาสนจักร ก็มีความยินดีอย่างลับๆ ที่มีพวกเยอรมันเข้ามาทำลายอำนาจของจัรวรรดิโรมันตะวันตก เพราะศาสนจักรจะได้มีอิสระทางการเมือง แต่ในทัศนะทางศาสนาสันตะปาปา พอใจจักรพรรดิโรมันตะวันตกที่เป็นคาทอลิก มากว่าอนารยชนเยอรมันที่เป็นพวกนอกศาสนา
         อาณาจักรแฟรงค์
อารยชนเผ่าแฟรงค์มี 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เมโรวิงเจียน และราชวงศ์คาโรลิงเจียน ซึ่งแต่ละราชวงศ์มีผู้นำที่ความสามารถมาก อาณาจักรถูกแบ่งหลายครั้ง แต่ที่สำคัญคือตามสนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมาดินแดนเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็น ประเทศผรังเศส อิตาลี และเยอรมัน
 330px-843-870_Europe
      พวกแฟรงค์เป็นอนารยชนเผ่าที่มีความสำคัญมาเผ่าหนึ่ง พวกแฟรงค์มีรูปรางสูงใหญ่ ผิวขาว ตาสีฟ้า หรือสีเทา ผมสีทอง มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ไรน์และแม่น้ำมอแซลส์ ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวัออกให้เข้ามรตั้งถิ่นฐานในแค้วนกอล
           กษัตริย์โคลวิส เป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก เสริ่มสร้างอำนาจอาณาจักรแฟรงค์จนเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งในแคว้นกอล และทำให้ชนชาติแฟรงค์มีความสำคัญมากในยุโรปตะวันตก ได้สถาปนาราชวงศ์เมโรวิงเจียนขึ้น ปกครองพวกแฟรงค์ได้สำเร็จ อาณาจักรแฟรงค์เป็นปึกแผ่นมากกว่าดินแดนของพวกอนารยชนเยอรมันอื่นๆ
         ในค.ศ.486 กษัตริย์โคลวิสมีชัยชนะเหนือกองทัพโรมันที่ปกครองบริเวณแม่น้ำเซนถึงแม่นำลัวร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแค้วนกอล กษัติย์โคลวิสได้ครอบครองดินแดนกว่างใหญ่บริเวฯนี้ ได้ตั้งเมืองปารีสซึ่งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซนให้เป็นเมืองหลวง ในการทำสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งได้ทรงสาบานกับพระผู้เป็นเจ้าของมเหสีพระนางโคลทิลดา ที่นับถือศาสนคริสต์ว่า ถ้าพระองค์ชนะศึกนี้พระองค์จะหันมานับถือศาสนคริสต์ด้วย
         เมื่อกษัตริย์โคลวิชชนะศึก จึงหันมานับถือศาสนาคริสต์ และประชาชนในอาณาจักรแฟรงค์กลายเป็นคริสต์ศาสนิกชนด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้มีผลทางการเมือง คือ ได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปา และพระในคริสต์ศาสนาตามดินแดนตางๆ ในยุโรป เหตุการณ์การครั้งนี้มีความสำคัญต่ออาณาจักรแฟรงค์ซึ่งเป็นดินแดนของพวกอนารชนมาก
         นอกจากนี้กษัตริย์โคลวิสยังได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิอนาสตาซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมตะวันออก ให้อยู่ในตำแหน่างกงสุล ดังนั้นพวกแฟรงค์จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของจัรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งมีผลดี คือ ทำให้ง่ายต่อการเป็นไม่ตรีกับพวกกัลโล-โรมัน ซึ่งเป็นคนพื้นเพ ทำให้ภาษาละตินเข้ามาแทนที่ภาษาเยอรมันเดิม ต่มาได้พัฒนาเป็นภาษฝรั่งเศษในที่สุด
        กษัริย์โคลวิสสิ้นพระชน อาณาจักรแฟรงค์ที่มีความเป็นปึกแผ่น และมีฐานะเป็นรัฐนำในยุโรปตะวันตก ถูแบ่งตามกฎและประเพณีของชนเผ่าแฟรงค์ อาณาจักรจึงถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนตามจำนวนวโอรส 4 พระองค์ ซึ่งต่อมาทำการสู้รบกันเหลือโอรสองค์เดียวมีผลให้อาณาจักรแฟรงค์กลับมารวมกันอีกครั้ง
       ในระหว่าง ค.ศ.613-629กษัตริย์โลธาร์ที่ 2 ซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายได้รวบรวมอาณาจักรทั้งสองและแค้วนเบอร์กันดีเข้าด้วยกัน ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ในฐานะกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เมื่อสิ้นพระชนม์ ราชสมบัติตกเป็นของกษัตริย์เมโรวิงเจียนผู้สามารถองค์สุดท้าย คือ กษัติย์แดโกเบิร์ต ได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ตามลำพัง พระองค์เป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีผู้ช่วยที่สามารถ คือ บิชอปอานูฟ แห่ง เมทซ์ และเปแปงแห่งแลนเดน ซึ่งอยู่ในตำแหน่างสมุหราชสำนัก
        ในตอนปลายศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ราชวงศ์เมโรวิงเจียนไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดมีความสามารถ ทรงเป็นประมุขแต่ในนาม(Do-Nothing King) อำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ข้าราชการชั้นสูง คือ สมุหราชสำนัก ซึ่งเป็นงานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชสำนัก
         กล่าวกันตามเหตุการณ์ กษัตริย์ไม่มีอำนาจที่แท้จริงประกอบกับการได้รับชัยชนะจากพวกมัวร์ ทำให้มีกษัตริย์แต่ในนาม ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะยกสมุหราชสำนักเป็นกษัตริย์นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่ายในยุคเปแปงที่สองทางศาสนจักรได้ขอความช่วยเหลือ มายังอาณาจักแฟรงค์ ให้ปราบพวกลอมบาร์ดที่คุคามโรม แต่เนื่องจากความมิตรที่ดีเมืองครั้งปราบพวกมัวร์ จึงปฏิเสธคำของต่อศาสนาจักร ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรแฟรงค์กับศาสนจักรเมื่อสิ้นสมัยชาร์ลส์ มาร์เดล จึงไม่กระชับนัก
         เปแปงที่ 3 สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คาดรลิงเจียนสำเร็จน ค.ศ. 751 เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมุหราชสำนักสกุลคาโรลิงเจียนกับสถาบันศาสนจักรที่โรมผลประโยชน์ผูกพันที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้เปแปงที่ 3 สามารถสร้างสิทธิธรรมของสกุลคาโรลิงเจียนในการยกฐานะจากสมุหราชสำนักมาเป็ฯกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่โดยอาศัยความเห็นชอบของราชอาณาจักร…
          อาณาจักรและศาสนจักร
          อาณาจักร เปแปงที่ 3 ได้รับความนิยมจากประชาชนน้อยมาก เปแปงที่สามเป็นสามัญชน ถ้าจะสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงคิดให้สันตะปาปา และศาสนจักรสนับสนุน
          ในค.ศ. 750 ศาสนจักรที่โรมถูกคุกคามจากพวกลอมบาร์ด สันตะปาปาซาคาเรียสได้ของความช่วยเหลือมายังเปแปงที่ 3  เปแปงที่ 3 ทูลถามปัญกาสันตะปาปาว่า “ในระหว่างบุคคลสองคน คือ ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกษัตริย์กับผู้ที่มีอำนาจในการปกครองแท้จริงใครสมควรจะได้ปกครองแผ่นดิน”สันตะปาปา ตอบสนับสนุนเปแปงที่ 3 ให้ยึดอำนาจและสถาปนาเป็นกษัติย์องค์แรกของราชวงศ์คาโรลิงเจียน
         ศาสนจักร สันตะปาปาตกอยู่ในสภาวะไม่ต่างกัน ในเรื่องความเหลือ่มล้ำระหว่าตำแหน่างกัอำนาจที่แท้จริง กล่าวคือ สันตะปาปา ถึงแม้ว่าจะทำหน้าที่เป็ฯผู้นำของคริสต์ศาสนิกชนในยุโรปตะวันตก แต่โดยนิตินัย สันตะปาปา ทรงมีตำแหน่งเป็นเพียงตัวแทนของจักรพรรดิแห่วคอนสแตนติโนเปิเท่านั้น จักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ยังคง่ำรงตำแหน่างเป็น “จัรพรรดิของชาวโรมัน”
         ต่อมาในศตวรรษที่ 8 ข้าหลวงซึ่งทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของจักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ต้องประสบภัยคุกคามจากพวกลอมบาร์ค ประกอบกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็ถูกโจมตีจากพวกมุสลิม ทำให้การติดต่อระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับยุโรปตะวันตกเป็นไปได้ยาก อำนาจการปกครองดินแดนจึงค่อยๆ ตกอยู่ในมือสันตะปาปา

         สันตะปาปาแห่งโรมต้องการจะผูกมิตรกับผู้ทรงอำนาจของอาณาจักรแฟรงค์ กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจัรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิลในปัญหาศาสนา
       การกระทำของสันตะปาปา ครั้งนี้ได้รับผลคุถ้มค่า กษัตริย์เปแปงที่ 3 ได้ทำสัญญาวิต้าฉาเดรียนี กับสันตะปาปาในการช่วนเหลือให้พ้นจากการคุกคามของพวกลอมบาร์ด กษัตริย์ตีดินแดนของพวกลอมบาร์ดและราเวนนาได้ ทรงมอบกุญแจเมืองในอิตาลีภาคเหนือ บริเวฯไต้ภูเขาแอลป์และแม่น้ำโป ให้แก่สันตะปาปา ต่อมาเรียกว่า “การบริจาคของเปแปง”ซึงเป็นการทำตามสัญญาวิต้า ฉาเดรียนี
       “การบริจาคของเปแปง”
-เป็นการแสดงว่าอาณษจักรไม่มีเจตนาจะรวมศาสนจักรเข้ามาไว้ในอำนาจ
-กษัตริย์เปแปงที่ 3 อาจจะมีความรู้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์อิตาลี จึงไม่เห็นความสำคัญของอิตาลีภาคเหนือ เพราะพวกแฟรงค์พยายามเอาอิตาลีมาขึ้นกับอาณาจักรแฟรงค์ในเวลาต่อมา
-เป็นรัฐภายใต้อำนาจสันตะปาปามีผลทำให้สันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขทางศาสนาได้เป็นประมุขของรัฐสันตะปาปาด้วย สันตะปาปามีอำนาจทั้งทางศาสนาและการเมืองการปกครอง
-ในสมัยกลางกฎกหมายคือ จารีตประเพณีที่เชื่อถือกันมา แล้วนำมาปฏิบัติ หรือเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร”การบริจาคของคอนสแตนติน”และ”การบริจาคของเปแปง”มีผลทำให้สันตะปาปา ที่โรมมีอำนาจสูงสุดเหนือกว่าบิชอบอื่นๆ มีอำนาจเหนืออิตาลีและเหนือศาสนิกชนทุกคนรวมทั้งกษัตริย์ด้วย
-“การบริจาคของเปแปง”ยังเป็นที่มาของปัญหาสำคัญในการรวมอิตาลีในสมัยต่อมา เพราะสันตะปาปาต้องการมีอำนาจเหนืออิตาลี

           กษัตริย์เปแปงที่ 3 สิ้นพระชนม์ อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในที่สุด ชาร์ลเลอมาญได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์แต่เพียงผู้เดียวและได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแฟรงค์ของราชวงศื คาโรลิงเจียน กระทั้งกลายเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปตะวันตก

          สันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้รับตำแหน่งต่อจากสันตะปาปาเอเดรียและต้องประสบกับความวุ่นวายในสำนักสันตะปาปา ซึ่งไม่อาจจะขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิซีโน แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้ จึงหันมาขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ซึ่งได้เสด็จมาอิตาลี สันตะปาปาถือเป็นโอกาสดี ด้วยการสวมมงกุฎให้กับจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ขณะที่พระองค์คุกเข่ากับพื้นและสวดมนต์อยู่ในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ในขระเดียวกันเจ้าขุนนางที่เข้ามาร่วมประชุมได้เปล่งเสียงถวายพระพร สันตะปาปาบังได้ทำพิธีราชาภิเษกทางศาสนา แบบที่เคยปฏิบัติต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกในอดีต เท่านกับว่าเป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ทางตะวันตก
western-and-eastern-roman-empire600px-Raphael_Charlemagne
         เหตุการณ์ครั้งนี้มีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านอาณาจักรและศาสนจักร เพราะต่อไปสถาบันสันตะปาปา จะอ้างอำนาจสิทธิขาดในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้นำของดินแดนต่าง ๆ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสถาบันสันตะปาปา กับสถาบันกษัตริย์ และแตกแยกกันในที่สุด
        จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้เสนอมอบสิทธิเหนือดินแดนเวนีเทีย และดาลเมเทีย คืนให้แก่จักรพรรดิบิแซนไทน์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะรับรองตำแหน่งจักรพรรดิโรมันของพระองค์ ซึ่งประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 812 พระองค์ได้จัดตั้งเมืองหลวงและสร้างพระราชวังถาวรขึ้นที่เมืองอาเคน หรือเมือง เอกซ์ ลา ซาเปล และกลายเป็น “กรุงโรมใหม่”ที่อยู่ในดินแดนเยอรมัน
        การที่สันตะปาปา สวมมุงกุฏจักรพรรดิให้แก่จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญทำให้มีปัญหาภายหบังว่า อำนาจอาณาจักรกับอำนาจศาสนจักร ใครจะใหญ่เหนือกว่าใคร เพราะการกระทำเช่นนี้ของสัจตะปาปาเหมือนว่า ตำแหน่างจัรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้มาโดยากรมอบให้ของสันตะปาปา ซึ่งทำให้จักรพรรดิโรมันตะวันตกได้กลายเป็นจัรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของทฤษฎีการเมืองแบบใหม่ ที่ถูกยึดถือมาตลอดสมัยกลาง คือ ทฤษฎีดาบ 2 เล่ม กล่าวถึง อำนาจอาณาจักรและอำนาจศาสนจักร เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรคริสเตียน รวมกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า จักพรรดิชาร์ลเลอมาญเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอีกครั้งหนึ่งทำให้แนวความคิดของยุโรปถูกแบ่งเป็นละตินโรมันซึ่งเป็นยุโรป และ กรีกไบแซนไทน์ซึ่งไม่ใช่ยุโรป

       ระบบฟิวดัล ระบบแมนเนอร์ และระบบวีรคติ
       ระบบฟิวดัล หมายถึง ระบบที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้า Lord หรือ ผู้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินกับข้า Vassal หรือผุรับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมีที่ดิน เป็นพื้นฐานของความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกัน
       คำว่า ระบบฟิวดัล เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า Feudum ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า  Fief แปลว่า ที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมต่อมาได้พัฒรากลายเป็นระบบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญมากของยุโรปยุคกลาง
       ระบบฟิวดัล เกิดขึ้นในครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 9 พร้อมๆ กับความเสื่อมของอาณาจักรแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียน
       ระบบฟิวดับเน้นการปกครองที่กระจายอำนาจจากศูนย์กลางออกไปยังส่วนภูมิภาคจากกณัติย์ไปยังขุนนางตามแค้วนต่างๆ เพราะเมือได้รับมอบกรรมสิทธิ์ที่ดอนแล้ว มักจะได้รับมอบหมายอำนาจในการปกครองด้วย  เนื่องจากความผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้รับมอบหมายในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้กำหนดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้งสองฝ่ายมีสิทะและหน้าทีทีจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปกครองที่กระจายอำนาจลดหลั่นกันตามลำดับขั้น จึงเป็นการปกครองที่มีระเบียบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในดินแดนที่กว้างใหญ่จนเกินกำลังการปกครองของส่วนกลาง

       ระบบแมนเนอร์ หมายถึง ระบบเศรษซกิจแบบพึงตนเองในยุคกลางที่มีการเกษรตกรรมเป็นหลักสำคัญ ในแต่ละแมนเนอร์ ประกอบด้วย
       คฤหาสน์แมนเนอร์ หรือปราสาท เป็นที่อยู่ของขุนนางเจ้าของแนเนอร์และครอบครัว ส่วนใหญ่คฤหาสน์แมนเนอร์แต่ละแห่งจะใหญ่มาก มีห้องจำนวนมากแต่ละห้องจะตกแต่งประดับประดาด้วยอุปกรณืเครื่องใช้ที่สวยงามหรูหราทำเลที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีเหมาะสม ในสมัยต่อมาสร้างด้วยหินดย่างแข็งแรง เพื่อเป็นป้อมปราการ มีคูน้ำล้อมรอบปราสาท เมือมีการเดินทางเข้าออกจะมี สะพานชัก ในยามสงคราม ผู้คนจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณรอบปราสาทอันมีคูน้ำล้อมรอบ
      หมู่บ้าน ประกอบด้วย วัด โบสถ์ บ้านเรื่อน ร้านช่างฝีมือ และอื่นๆ ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกคูน้ำ …
     420px-Edmund_blair_leighton_accolade_0
     ระบบวีรคติ หมายถึง คุณธรรมหรือธรรมะของอัศวิน การที่จะเป็นอัศวิน หรือนักรบที่ดีของยุคกลางนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการอาทิ ความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า และขุนนางเจ้านาย ให้ความช่วยเหลือพิทักษ์คุ้มครองผู้อ่อนแด รักษาความยุติธรรม ป้องกันศาสนา …
    อัศวิน ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Chivalry ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง นัรบในยุคกลางที่ได้รับการเลี้ยงดูอบรม เพื่อเตรียมตัวเป็นนักรบที่ดี และอาจจะได้เป็นขุนนางในวันข้างหน้า
   ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน ซึ่งจะกระทำพิธีการเป็นอัศวินในโบสถ์ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินจะเข้าไปคุกเข่าต่อหน้ากษัตริย์หรือขุนนางผู้ที่จะใช้ดาบแตะบนบ่าของอัศวินใหม่ทั้งสองข้าง พร้อมกับกล่าวว่า
    “ในนามของพระเป็นเจ้า เซ็นต์ ไม่เคิล และเซ็นต์ ยอร์ช เราขอแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอัศวินเจ้าจงเป็นคนกล้าหาญ จงรักภกดีต่อเจ้านาย และสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน”
         อัศวินจะสวมเสื้อกราะ …และมีดาบแขวนไว้ที่เอว ดาบเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นอัศวิน และถือว่าเป็นสมบัติที่มีค่าสูงสุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)