อินเดียเป็นดินแดนอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อดินแดนต่างเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเอเซียตะวันออกและเอเซียอาคเนย์
รากฐานศิลปะก่อนสมัยอินเดียโบราณคือวัฒนธรนรมที่ใช้ภาษาสันสกฤต มีศิลปะที่เมืองหะรับปา และโมเหนโช ดาโร ทางแถบลุ่มแมน้ำสินธุก่อนพุทธกาล 1,500 ปี
ยุคอินเดียโบราณ ที่ค้นพบอยู่ในช่วงราชวงศ์โมริยะ ศิลปะแบสาญจี และพระเจ้าอโศกมหาราช และถ้ำต่าง ๆ ศิลปะเกี่ยวกับพุทธศานาใช้สัญลักษณ์แทนเป็นการสลักบนรั้วและประตูล้มรอบสถูป
ศิลปะคันธารราฐ อินเดียสมัยนั้นเคยอยู่ใต้ปกครอง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งกรีฑททัพมาก่อนคริสกาล 200 ปี พวกถือรูปแบบเคารพเพิมที่เป็นเทพเจ้าของตนที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาและเมื่อหันมานับถือพุทธศาสนา การสร้างพระพุทธรูป ครั้งแรกจึงเกิดขึ้น เป็นการผสมผสาน ศิลปะแบบกรีกโรมันและอินเดียโบราณที่สัมพันธ์กับมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ของพระพุทธเจ้าอย่างลงตัวพระพุทธรูปคันธราฐจึงได้รับการยกย่องและยอมรับจากทั่วโลกว่ามีพุทธศิลปงดงามที่สุด และเก่าแก่ที่สุดของโลก
พระมิลินท์ ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงให้รุ่งเรือง หลังการล่มสลายของวงศ์เมาริยะ เริ่มมีการสร้างพุทธรูป จำหลักหินขึ้นอย่างมากมาย เป็นศิลปกรรมแบบกรีกปสมอินเดีย เรียกตามเชื่อเมืองว่า ศิลปคันธารราฐ…
ศิลปแบบมธุรา กำเนิดทางตอนเหนือของอินเดีย พบในสมัยเดียวกันกับ คันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปแบบไม่มีมุ่นพระเกศา
ศิลปอมราวดี แหล่งกำเนิด อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกฤษณา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6-9 ขณะนั้นดินแดนแป่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์อานธระ มีการสร้างงานศิลปกรรม เนื่องในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก โดยในเมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนิโกณฑะ เป็นศูนย์กลางที่สำคัญ
ศิลปอมราวดีมีอายุร่วมสมัยเดียวกับศิลปะ แบบ คันธารราช และแบบ มธุรา ซึ่งเจริญขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือของอินเดีย แต่มี ลักษณะรูปแบบทางศิลปะและสุนทรียภาพ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตน ต่างกันไป ลักษณะรูปแบบขแงศิปละอมราวดีแสดงให้เห็นว่ามีการสืบทอดรักษาประเพณี วัมนธรรมพ้อนเมืองที่มีมาก่อน และได้รับอิทธิพลศิปละต่างถิ่นที่แพร่หลายเข้ามาแต่ไม่มากนัก เช่น ศิลปะกรีก-โรมัน …
สมัยคุปตะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 ราชวงศ์คุปตะทางอินเดียตอนเหนือเจริญรุ่งเรือง ในสมัยราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองทางศาสนา วรรณคดี ศิลปกรรมและปรัชญา กษัตริย์ราชวงศืนี้ส่วนมากจะเป็นฮินดู แต่ก็ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนา โดยเฉพาะฝ่ายมหายาน
กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ พรเจ้าจันทรคุปต์ พระเจ้าสมุทรคุปต์ พระเจ้าวิษณุคุปต์ และพระเจ้าสกันธคุปต์
การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนิเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสน เช่น สถูปที่สัญจี อมาราวตี…
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รจนาคัมภีร์ขึ้นมากมาย ทางด้านศิปล มี ศาสนสถาน และศาสนวัตถุ พระพุทธรูปมีหลายขนาดหลายปาง
ทางด้านปรัชญา มีนัปรัชญาทางพุทธศษสนหลายท่าน อาทิ ท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ และท่านวสุพันธ์ ท่านเหล่านี้ประกาศพุทธปรัชญาให้เป็นที่สนใจแก่ประชาย ..
การศึกษา การศึกษาทางพุทธศาสนามีความเจริญก้าวหน้า ได้เกิดมหาวิทยาลัยนาลัน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อรทิ มหาวิทยาลัยวัลภี มหาวิทยาลับวิกรมศิลา..
ศิลปะคุปตะ มีความสำคัญเป็นอย่างมากกล่าวคือได้ส่งรูปแบบให้กับศิลปะในช่วงหลัง คือ ศิปลปาละ-เสนะ ซึ่ง ศิปลปาละ-เสนะได้มีอิทธิพลต่อศิลปะในเนปาล ทิเบต และศิลปะทางภาคเหนือของไทย รวมทั้งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คาบสมุทรมลายู และในอินโดนีเซียที่ บุโรพุทธโธ ..
ศิลปะทมิฬ หรือ ดราวิเดียน ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าที่สุดเป็นประติกมกรรมจากศิลา รูปสำริดและสลักจากไม้ ที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวะนาฎราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลังคาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้น..
“สมัยต่อมา พระอิศวรเป็นเจ้าเสด็จประทับ
อยู่ท่ามกลางเทวสภาบนเขาไกรลาสมีพระประสงค์จะทรงแสดงการฟ้อนรำให้เป็นแบบฉบับ จึงเชิญพระอุมาให้ประทับเป็นประธานเหนือสุวรรณบัลลังก์ เหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย
ประกอบทิพย์ดนตรี คือ
พระนารายณ์ ทรงโทน
พระลักษมี ทรงขับขาน
พระพรหม ทรงฉิ่ง
พระอินทร์ ทรงขลุ่ย
พระสุรัสวดี ทรงพิณ
และองค์อิศวรทรงฟ้อนรำให้เหล่าบรรดาเทพยดา ฤๅษี คนธรรพ์ ยักษ์ นาค ทั้งหลายที่ขึ้นไปเฝ้าได้ชมอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้พระนารทฤๅษี ซึ่งอยู่ในที่นั้นจึงบันทึกสร้างเป็น
ตำราการฟ้อนรำขึ้น เรียกว่า ตำราคันธรรพศาสตร์”
จากตำนานต่างๆ ชาวอินเดียจึงถือว่าเมืองจิทัมพรัม แค้วนทัทราฐในอินเ
ดียตอนไต้เป็ฯสถานที่ซึ่งพระอิศวรปางเมื่อเสด็จมาแสดงตำราฟ้อนรำให้มนุษยโลก ดังนั้นจึงคิดสร้างเทวรูปพระอิศวรปางเมืองทรงแสดงการฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฎราช” (หรือ ปางปราบอสูรมูลาคนี) ถ่ายแบบสร้างต่อออกไปอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ปรากฎเทวสถานแห่งหนึ่งสร้างไง้เมือประมาณพ.ศ.1800 ปรากฎลายเครื่องประดับซุ้มจำหลักเป็นรูปพระอศวนฟ้อนรำครบทั้ง 108 ท่า ตามปรากฎในตำราของพรภารตฤาษี…
ศิลปะปาละ-เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนา ของอินเดียทางเหนือ ภายใต้การอุปถัมภ์ ของราชวงศปาละ-เสนะในแคว้นเบงกอลและพิหาร พุทธศานในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระ ซึ่งกลายมาจากมหายาน โดย สถาปัตที่สำคัญ คือมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธสาสนาแบบตันตระ ในแคว้นเบงคอล ยุคราชวงศ์เสนะ นับถือฮินดู จึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู
ศิลปะแบบปาละ-เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่นอ เนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และไทย..
วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
Vajrayana
นักบวชในศาสนาฮินดูปราชญ์ในศาสนาพราหมณ์ซึ่งโจมตีทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในหลายสิ่งและหลายเหตุผล ที่ทำให้พุทธศาสนาสาบสูญไปจากชมพูทวีป
พราหมณ์ศังกราจารย์ ได้ประกาศศาสนาฮิดูอย่างเข้มแข็งและเอาจริงเอจัง โดยใช้วิธี “กลืน”พระพุทธศาสนาเข้ากับฮินดู ด้วยการเลียนแบบ เช่น การมีวัด มีสงฆ์เหมือนพระพุทธศาสนา และปลูกฝังความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ ปางที่ 9 ชื่อว่า “พุทธาวตาร” ซึ่ง ศังกราจารย์ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการปลูกฝังความเชื่อนี้ ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธกับฮินดู…
ศาสนาฮินดูก็คือศาสนาพรหมณ์เดิม โดยประมาณปี พ.ศ. 1,300 นักบวชไศวะได้นำหลักธรรมและปรัชญาในศาสนพุทธนิกายมหายานมาปรับให้เข้ากับศาสนาพราหมณ์ และตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า ศาสนาฮินดู
เป็นที่รู้กันว่า ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาเดียวในอินเดียที่ไม่ขึ้นต่อระบบวรรณะ ซึ่งก็คือการต่อต้านหรือคัดค้านความเชื่อที่มีมาแต่ก่อน
ด้วยอัจฉริยภาพทั้งของพระศาสดาและเหล่าอัครสาวกในระยะเริ่มแรกพุทธศาสนาจึงได้รับการตอบรับและเจริญรุ่งเรื่องอย่างรวดเร็วในดินแดนชมพูทวีปประกอบกับการได้รับความอุปถัมภ์จากกษัตริย์ และการอุปถัมภ์จากกษัตริย์หรือบุคคลในสังคมชั้นสูงยังเป็นปัจจัยสำคัญของความเจริญรุ่งเรื่องทั้งในชมพูทวีปและดินแดนอื่นๆ ที่พุทธศาสนาแพร่เข้าไปถึง..
การกำเนิดมหายาน เป็นวิวัฒนาการก้าวกระโดด และมีความสำคัญอย่างยิ่งในประสวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา
คำสอนและอุดมการณ์ของมหายานตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเชื่อในองค์พระพุทธเจ้าพระโพธอสัตว์(ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)อีกทั้งเทพอีกหลายองค์
อันที่จริงแล้วพระนามของพระโพธิสัตว์เล่านี้เป็นนามธรรมของคุณสมบัติ ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ก็เช่นเดียวกับคำสอนในศาสนาทั้ง เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ผู้คนพากันหลงลืมนามธรรม ยึดมั่นในรูปธรรม ไม่นำพาคุณสมบัติ ทว่าไปยึดติดในรูปสมบัติเมื่อนามธรรมถูกสมมติให้มีตัวตน เป็นพระโพธิสัตว์ มี่ฐานะเท่ากับเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเมือเป็นเทพเจ้าก็ต้องได้รับการบูชากราบไหว้ เซ่นสรวง..
เมื่อเทพเจ้าทั้งชายหญิงเกิดขึ้นมามายพร้อมกับพิธีกรรมเซ่นสรวงอันละเมีอยละไมเช่นนี้ บรรดาสมณะหรือภิกษุสงฆ์ก็พากันสนใจพิธีกรรมเหล่านี้ยิ่งขึ้น การศึกษาพระธรรมวินัยก็ย่อหย่อนงไปเป็นเงาตามตัว และเหนือสิ่งอื่นใด การประกอบพิธีกรรมเซ่นสรวงนานาชนิดนั้น นำมาซึ่งลาภสัการะอย่างมากและง่ายดาย
เหตุการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย
ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใดๆ ก็ตามซึ่งระยะเริ่มต้น อาจจมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมือกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือขนบธรรมเนียมนั้น ๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกมาะสมกับกาละเทศะ สถาบันหรือขนบธรรมเนียมดังกล่าว อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัตทางสังคม พุธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรมเหล่านี้แก่พุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์
ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน(นลินกฺษ ทัตต)เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเมืองวัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิดโอกาสใหผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้ามาปะปนทำลายเอกภาพ
นลินากฺษ ทัตต แสดงความเห็นไว้วา การวางตนไม่เข้าแทรกแซงกิจการทางสังคมในระยะแรกๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พรุทธองค์และสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น เป็นผลดี แต่เมื่อเวลากาลล่วงเลยมาแล้ว ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่า ๆ ของพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณ จึงคืนชีพขึ้นมาอีก
แก่นแห่งพุทธ ได้ถูกกระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ปกปิด หรือบดบัง อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจาสามัญชนคนธรรมดา
พฤติกรรมทำนองเดียวกันได้เกิดในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เมื่อพุทธสาสนาได้เข้าไปประดิษฐานเป็นเวลานาน ทั้งได้รับความเทิอทูลสัการะอย่างสุงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความเชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็เข้าผสมปนเปกับคำสอนอันแท้จริงของพุทธศานา อยางจะแยกกันไม่ออก
ความตกต่ำทางมาตรฐานของสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้ความสามารถเป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง ..เมื่อหลังพุทธปรินิพพานไม่นานก็ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความย่อหย่อนเกิดขึ้นทั้งในทางระดับภูมิปัญญา และวัตรปฎิบัติ จนเกิดการสังคายนากันเป็นระยะ ๆ ตลอดมา
ตันตระอันเป็น วิวัฒนาการขึ้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย
ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก 5 ประการ ชื่อว่า 5 ม คือ เหล้า – มัทยะ เนื้อ – มางสะ มัตสยะ – ปลา มุทรา - ท่าทาง ไมถุน - การเสพสังวาส ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีอยู่ทั่วไปในโลก
เป็นเวลากว่า 4 ศตวรรษที่ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมนับถือ พราหมณ์ฮินดู และ พุทธ ต่างก็กตอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระไม่เฉพาะแต่สามัญชน หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยเช่นกัน
“How India Lost Buddhism?”
“ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกำลังมาสู่ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่ำทำให้ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กำลังทำ ให้สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กำลังพัดมาเพื่อทำความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อย ๆ ปี ได้ถูกทำลายพินาศลงด้วยน้ำมือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูกเหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สำหรับนักรบมุสลิมผู้กระหายอำนาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า “ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สำเร็จ” และ “อาจารย์” องค์สำคัญ ๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ” กำลังประกอบพิธีกรรมและสวด “มนตร์” อยู่อย่างไม่ลืมหูลืมตา แผ่นดินทางอินเดียภาคเหนือก็ตกไปอยู่ในกำมือของมุสลิมอย่างราบคาบ”โดย พระภิกษุ ดร. อานันท์ เกาศัลยายน…
Nalanda
นาลันทา
เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ 16 กิโลเมตร(1 โยชน์) ในปัจจุบันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากกรุงราชคฤห์ไหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะรัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร
หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ.944-953 บันทึกว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะที่1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อไ มาในราชวงศ์ได้สร้างวัดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึงวัด อยู่ในบริเวฯใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำวัดทั้ง 6 วัดรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนบ์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่งที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันโดยทั่วไปว่ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
พระเจ้าหาษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ได้ทรงเป็นองค์อุปถันของมหาวิทยาลัยนาลันทา
นาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาม และเพราะความมีกิติศัพท์เรลื่องลือมากจึงมีนักศึกษาเดินทางมาจากประเทศต่าง อาทิ จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตและมีชื่อเสียงทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนาลันทาหันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ เซ่งเมือพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากลับหันมาเสพกาม… ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกา เริ่มเกิดการเสื่อมศรัทธา ในขณะที่พราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัว เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพรากมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายันต์สัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว …
การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
กองทัพมุสลิมเติร์กได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ ทัพมุสลิมเผาทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนา และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญในช่วงเวลานี้
พระถังซัมจั๋ง หรือ หลวงจีนฮวนซังเดินทางเข้ามาสืบพระพุทธศาสนายังประเทศอินเดีย ท่านได้เดินทางตามเส้นทางสายผ้าไหมเข้ามาสู่แค้วนแคชเมียร์ ซึ่งได้รับการต้อนรับจกากษัตริย์แห่งแค้นให้พำนักและทรงอนุญาตให้คัดลอกคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ท่านพำนักอยู่ที่แคว้นนี้เป็นเวลา @ ปี หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อมายังแคว้นปัญจาบ เข้าสู่อินเดียเหนือ ไปสู่เมืองมถุรา และเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา เข้าเยี่ยมสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา และได้เข้าศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อเติมในมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 5 ปีหลังจาก และพำนักจำพรรษาที่มหสวัทยาลัยนาลันทา.. หลวงจีนฮวนซังหรือพระถังซัมจั๋งเดินทางกลัมาถึงซีอานรวามเวลาทั้งสิ้น 17 ปี ระยะทางกว่า 15,000ไมล์
บันทึกของพระถังซัมจั๋ง
“…ศูนย์กลางของพุทธศษสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่เมืองสารนาถ พุทธคย และนาลันทา
… พุทธคยานั้นมีทั้งพระสงฆ์นิกายหินยานของลังกาและพระสงฆ์ในนิกายมหายานของอินเดีย นิกายสางมิตียะซึ่งเป็นนิกายย่อยแตกออกมาจากนิกายเถรวาท เจริญรุ่งเรื่ออยู่ในนแคว้นคุชราต พระสงฆ์ในนิกายนี้มีบทบาทที่สำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ไปยังสารนาทและศราวัสตีทางทิศตะวันออก ชาวพุทธทั้งมหายานและหินยานในอินเดีย นอกจากจะมีความนิยมในการสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปแล้ว การสร้างสถูปขนาดใหญ่เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุก็ยังควเป็นที่นิยมของชาวพุทธอยู่เสมอ ๆ แต่เนื่องจากที่พระสารีกธาตุของพระพุทธองค์เริ่มหาได้ยากมาขึ้น ชาวพุทธจึงนิยมบรรจุหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คาถาเยธมา และพระพุทธรูปไว้ในสถูป และแม้ว่าจะมีการสร้างวัดกลางแจ้งขึ้นเป็นจำนวนมากแล้วก็ตา ความนิยมในกาสร้างวัดดด้วยการเจาะถ้ำเป็นคูหาและสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ก็ยังคงเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนนิกายมหาน..
… เมืองสารนาถเป็นศูนย์กลางของประติมากรรม มีกุฎิพระสงฆ์ในนิกายสางมิตียะเรียรายกันอยู่ถึง 1,500 หลัง นอกจากนี้ยังพบพระสงฆ์นิกายนี้ที่เมืองศราวัตติในอินเดียภาคเหนืออีกด้วย ถ้ำอชัตาทางตะวันออกเป็นศูนย์กลางของงานจิตรกรรม ซึ่งส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธศาสนาในแคว้นคันธารารฐและเกาะลังกา อาณาจักรวัลภีแห่งแคว้นคุรชราตทางตะวันตก มีวัดทางพุทธศาสนามากกว่า 100 แห่งมีพระสงฆ์นิกายสางมิตียะประมาณ 6,000 รูป…
…บามิยาน เป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนาสายมหายาน ที่มีความวดวามโรแมนติกเป็นอย่างมาก วัดวาอารามทุกวัดสร้างโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินทรายที่มีความยาวเป็นไมล์ โดยทำเป็นคูหาเรียงรายกันเป็นแถวดูเหมือนรังผึ้ง ภายนอกสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ภายในคูหานอกจากภาพสลักรูปพระพุทธเจ้าแล้ว ที่ผนังคูหาเหล่านี้ยังมีภาพจัตกรรมแบบเดียวกับจิตรกรรมในถ้ำอลันตา…
ในบรรดาคูหาที่เป็นโบลสถ์วิหารและกุถฎิเหล่านี้มีอยู่ 2 คูหาที่มีขนาดใหญ่มาก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทาองคำขนาดใหญ๋ ที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ หล่อดขึ้นจากสำรัด ขนากสูง 120 ฟุต และ 175 ฟุตตามลำดับ
… บามิยาน เป็นจุดพักแรมของพ่อค้า กองคาราวานสินค้าและนักจาริกแสวงบุญ มีฝูงชนมากมายแออัดตามตลาดนัด มีสินค้าที่หลากหลายให้เลือกซื้อหากลับไปยังบ้านเมืองของตน มีนัเล่านิทานจำอวด ผู้คนที่สนุกสนานและมีความสงบสุข…
ในคูหาถ้ำทางด้านล่างตรงพระบาทขององค์พระ เป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ มีภาพจัตรกรรมฝาผนังอยู่ภายใน เป็นภาพพระโพธิสัตว์ในคติมหายาน ภาพแสดงปางปรินิพพาน ภาพพระพุทธเจ้สพ้นองค์ ภาพสุริยประภาและจันทรประภา ภาพเทวดาและนางฟ้า….
ต่อมาในราชวงศ์หมิง ได้นำ การเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกของหลวงจีนฮวนจัง มาประพันธ์เป็นวรรณกรรม ซึ่งเป็นวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมและยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของจีน คือ พระถังซำจั๋ง และศิษศ์ทั้งสาม คือ หงอคง (อู้คง) หมายถึง สุญญตา คือความว่างอันเป็นสมาธิขั้นสูงของผู้บรรลุธรรม "โป็ยก่าย" (ปาเจี้ย) แปลว่า ศีลแปด และ "ซัวเจ๋ง"(ซาเซิง) หมายถึงพระผู้ใฝ่แสวงปัญญา..
เป็นวรรณกรรมที่ต้องการสะท้อนความไม่พอใจต่อความอ่อนแอ ไ้ร้ความสามรถของชนชั้นปกครอง ที่ปล่อยให้ต่างชาติรุกรานแผ่นดิน และต่อต้านการกดขี่ข่มเหงประชาชนของนักการเมืองในสมัยนั้น โดยผู้กเรื่องเชื่อมโยงการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกในชมพูทวีปของพระุถังซัมจั๋ง
ผู้แต่งให้พวกเขาได้ต่อสู้กับปีศาจร้าย คือความเลวร้ายที่ท่านจ้องเผชิญ ทำให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติ และความมุมานะ อุทิศชีวิตฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อค้นหา แปล และเผยแผ่พระสัจธรรมในพุทธศาสนาในจีน ทำให้เรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นที่ศรัทธาทั้งในหมู่ชาวพุทธ และชาวโลก ทั้งในฐานะนักเดินทาง นักภาษาศาสตร์ และผู้รอบรู้พระพุทธศาสนา...
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
唐
ราชวงศ์ถัง
หลังการเสื่อมอำนาจของราชวงศ์ฮั่น แผ่นดินจีนจึงแตกเป็นก๊ก หรือเรียกว่ายุค สามก๊ก กระทั้ง สมุมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตั้ ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตก แทนที่ราชวงศ์วุ่นของเฉาเขา หรือโจโฉ จิ้นตะวันตกปราบว่อก็กได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊ก ราชวงศ์จิ้นเปิดรับเผ่านอกต่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก สุดท้ายหัวหน้าเผ่าชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ยกกำลังเข้าบุลั่วหยาง นครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนโกลาหล ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงใต้ สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินแตกออกเป็นแว่นแค้วนต่างๆ โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื่อสายต่าง ๆ
ภาคเหนือของจีนตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่า หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียน สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (มณฑล ซันซีในปัจจุบัน) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจทางภาคเหนือ..
หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้จากบัลลังก์ สถาปนาวงศ์สุย จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยิตุสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
สุยเหลินตี้ฮ่องเต้ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรส ไม่มีความสามารถ ทำให้เกิดเหตุการซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาล..
ราชวงศ์ถัง
หลีหยวน หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลีซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน ..สุดท้ายแล้ว หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็นถังไถ่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรื่องเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุคที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ…
เหตุการณ์ ณ ประตูเสวียนอู่เหมิน เป็นจุดเปลี่ยนส่งให้ฮ่องเต้ถังเกาจู่สละราชสมบัริตในที่สุดอันเนื่องมาจากแรงกดดันที่มาจากหลี่ซื่อหมิน โดยในปีต่อมา ฮ่องเต้ถึงเกาจู่สละราชสมบัริและหลี่ซื่อหมินก็ขึ้นเป็นฮ่องเต้
เหตุการณ์มีอยู่ว่า หลี่หยวน หรือ ถังเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังมีทายาทที่เกิจากพระมเหสี 4 คน
- หลี่เจี้ยนเฉิง
- หลี่ซื่อหมิน
- หลี่เสวียนป้า(เสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี)
- หลีหยวนจี๋
เมื่อตั้งราชวงศ์ถังแล้ว ก็พระราชทานตำแหน่งให้บุตรทั้ง โดยแต่งตั้งหลี่เจี้ยนเฉิงเป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมินเป็น ฉินอ๋อง และหลีหยวนจี๋เป็นฉีอ๋อง
ด้วยความที่ทั้ง หลี่เจี้ยนและหลี่ซื่อหมิน ต่างเป็นผู้มีความสามารถและมักใหญ่ใฝ่สูง และต่างก็เปรียบเป็นมือซ้ายขวา ช่วยบิดาให้สามารถครองแผ่นดินได้สำเร็จด้วยกันทั้งคู่ ทำมห้เกิดการไม่ลงรอยกัน เกิดเป็นศึกสายเลือดในที่สุด
พี่น้องสามคนแบ่งเป็น สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง หลีหยวนจี๋เข้ากับพี่ชายคนโตหลี่เจี้ยนเฉิง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ หลีซื่อหมิน
ฝ่ายบิดา หลี่ยวน เมือรับทราบถึงความขัดแย้งระหว่างพี่-น้อง ที่รุนแรงกระทั้งเป็นศึกสายเลือดเช่นนี้ก็มิอาจเข้าข้างใครได้..
กระบวนการรุกไล่ของพี่ใหญและน้องเล็ก ต่อพีรอง นั้น มีตั้งแต่การทูลพระบิดาขอกำลังพลของหลีซื่อหมินไปอกรบจนไปถึงการร่วมือกับสนมคนโปรดของพระบิดาใส่ร้ายหลี่ซื่อหมินว่ากำลังคิดไม่ซื่อ
จนกระทั่งวันหนึ่ง หลี่ซื่อหมิน ถือโอกาสที่พี่ใหญ่และน้องสามเดินทางเวง วางกำลังและมือสังหารซุ่มไว้ที่ประตูเสวียนอู่ จากนั้นจึงลงมือขั้นเด็ขาดสังหารคนทั้งสอง…
จากนั้นเว่ยฉือจิ้นเต๋อก็เข้ากราบทูลกับฮ่องเต้ถังเกาจู่ ว่ารัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง กับองค์ชายหลี่หยวนจี๋นั้นก่อกบฎ แต่ถูกฉินอ๋อง ระแค่ะระคายและจัดการก่อน..
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Silk Road
ทางสายไหม แต่เดิมใช้เป็นเส้นทางขนหยกจากโขตานเข้าสู้จีน(ปัจจุบัน โขตานอยู่ในมณฑลซินเกียง) พระโอรสพระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย พระองค์หนึ่ง ตั้งอาณาจักรขึ้นที่นั้น ต่อมา กษัตริย์ฮั่น-วู่ตี่ของจีน ใช้เส้นทางนี้เชื่อมเมืองฉางอันกับกรุงโรม เพื่อนำกองเกวียนขนส่งไหมไปยังเปอร์เซีย
เส้นทางสายไหมเรื่มต้นจากเมืองฉางอันของจีน ผ่านเอเซียกลาง มายังตักศิลาแห่งคันธาระ เข้าสู่โยนกหรือแบคเตีรย ต่อไปยังแบแดด จนถึงชายฝั่งของทะเลเมติเตอเรเนียนเชื่อมต่กจักรวรรดิโรมัน อารยธรรมจีน อินเดีย และเปอร์เซียจึงถูกเชื่อมเข้าด้ยกันผ่านเส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม คือเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ เชื่อมต่ดจีนกับกรุงโรม เริ่มต้นจากนครซีอานหรือ ฉางอาน ในเขตลุ่มแม่น้ำหวงโฮ ผ่านตรงไปทิศตะวันตกเข้าสู่ นครตุงหวาง เส้นทางผ่านทะเลทรายทากลิมากัน ที่เมืองโคทานและเมืองกุจจะ ทางแยกใหญ่อยู่ที่เมืองคาชการ์ Khaksarและทุ่งเปอร์กาน่า Ferhana ใจกลางทวีปเอเซียพอดี เส้นทางแยกตะวันตกสู่นครซามาร์คานด์ (อุซเบกีสถานในปัจจุบัน) นครเมิร์ฟ ใช้เส้นางเลียบทะเลสาปแคสเปี้ยน เข้าสูนครฮามาดัน ปาล์ไมล่า ในเปอร์เซียโบราณ ไมสู่เมือง่ท่าอันติโอค ดามัสกันและเมืองท่าไทร์ที่ซีเรีย ก่อนจะลงทะเลเมดิเตอริเนียนเดินทางไปสู่กรุงโรม
อีกเส้นทางหนึ่ง แยกจากคาชการ์ ใจกลางทวีปเอเชี ลงมายังนครบุคครล่า Bukhara เส้นทางนี้เป็นเส้นทางผ้าไหมสายย่อยทางทิศใต้ เดินทางจากบุคคล่าลงสู่นครเบคเตรีย นครกปิศะหรอืเมืองเบคราม ในลุ่มแม่น้ำคาบูล Kapisa Bagram ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน เข้าสู่เมืองบามิยาน Bamian นครปิศะและบามิยาน ในแค้วนคันธารราฐ เป็นจุดแวะพักถ่ายสินค้า ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า จุดพักแรม และทางสามแยกอีกจุดหนึ่งระหว่าง อินเดีย จีน และโรม
ทางแยกตะวันตกเดินทางไปสู่นครเฮรัต ไปเชื่อมกับเส้นทางไหมในเปอร์เซีย ส่วนทางทิศตะวันออกของนครบามิยานและนครกปิศะ เส้นทางสายไหมจะตัดผ่านช่อเขาไคเบอร์ ไปยับนครเปษวาร์ (ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)เข้าสู่นครตักศิลา นครแห่งวิทยาการและมหาวิทยาลัยในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ
เส้นทางผ้าไหมที่นครตักศิลา จะแยกออกเป็นสองเส้นทาง เส้นทางตะวันออกจะมุ่งหน้าเข้าสู้แคว้นปัญจาบ เข้าสู่นครมถุราในลุ่มน้ำยมุนาและเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา ออกสู่อ่าวเบงกอลที่แคว้นกามรูป(พิหาร) อีกเส้นทางหนึ่งจะเดินทางลงสู่ทิศใต้ ตามลำน้ำสินธุออกสู่ทะเลอาหรับ เป็ฯเส้นทางกองคาราวานการค้าทางน้ำสู้แคว้นทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย เช่น แคว้นคุชราต เสาราษฎร์ และมหาราษฎร์ เป็นต้น
การสำรวจเส้นทางตะวันตกในครั้งแรกๆ เกิดขึ้นจากการรุกรานของพวกฉงนู ที่ตั้งถ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉยงเหนือ เข้าไปในใจกลางทวีป เผ่าฉงนูเป็นเผ่าขนาดใหญ่สามารถปราบปรามชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าอื่น หลายเผ่าได้เป็นผลสำเร็จ และเร่มหันกลับเข้ามารุกรานจีน ทำให้ชายแอนตะวันตกสั่นคลอน จักรพรรดิฮั่นวู่ตี้ จึงใช้นโยบายการทูตผสมผสามกับการทำสงคราม โดยสร้งความสัมพันธ์อันดีกับเผ่ายุชชิ คูซาน หรือ ชาวกูษณะ ..และเมืองตะวันตกมีเสถียรภาพ และความปลอดภัย จักรพรรดิฮั่นจึงส่งราชทูตและนักสำรวจ เอินทางไปสู่อาณาจักรปาเที่ยน เปอร์เซีย ซีเรีย ไปจนถึงกรุงโรม ความสัมพันธ์และการติดต่อกันระหว่างฮั่นและโรม ทำให้เส้นทางที่เคยสำตวจถูกเปิดใช้ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีอาณาจักรศกะ ปาเที่ยในเอเซียกลางและแคว้นคันธารราฐ เป็นคนกลางของการติดต่อค้าขาย
ต่อมมชนเผ่ายุชชิหรือชาวกุษาณะแผ่อินทะพลเข้าครอบครองทุ่งเฟอร์กาน่า ซามาร์คานด์ แค้วนคันธาราฐ ขชายอิทธิพลไปถึงแคว้นปัญจาบ และแคว้นมคธราฐในลุ่มน้ำคงคาแทนอาณาจักรชาวปาเที่ยน เส้นมางสายผ้าไหมจึงเสถียรภาพขึนมาใหม่ พระเจ้ากนิษกะ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับจักรวรรดิของชาวกษาณะ
ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเม่งตี่ พุทธซัฒนธรรมและศิลปวิทยาการจากดินเดียเริ่มเดินทางเข้าสู่ประทเศจีน มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเป็นครั้งแรก วัฒนธรรมจีนดั่งเดิมโดยเฉพาะลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ต่างยอมรับและปสมปสามกับพุทธศาสนาที่แผ่อิทธิพเข้ามาได้อยางลงตัว ..
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 เส้นทางสายผ้าไหม ยังคงเป็นเส้นทางสายหลักที่สำคัญในการเดินทางติดต่อค้าขาย และการและเปลี่ยนทางวัฒนธรมระหว่างภูมภาค อินเดียและจีน แต่ในบางครั้งก็ประสบปัญหาความปลอดภัย..
บางครั้งเส้นแยกทางตะวันออกของบามิยานกถูกตัดขาดจาก ตักศิลาและแคว้นปัญจาบ เมือฮั่นขาวเผ่าเร่ร่อนขนาดใหญ่จากทางตะวันตกเฉียงเหนือ ลุกลงมายุดครองและทำลายบ้านเมืองในอินเดียเหนือ บางอาณาจักรก็รอดพ้นจากการทำลายล้าง บางอาณาจัก บ้านเมืองคงเหลือแต่ซากปรักหักพัง แต่เส้นทางผ้าไหมสายใต้ก็ยังคงถูกใช้งานอยูเสมอๆ ในเวลาต่อมา โดยมีราชวงศ์คุปตะของอินเดีย อาณาจักรปาเที่ย กุษณะ ศกะ -ซินเถียน ต่างผลัดกันเข้าครอบครองแค้วนคันธารราฐ ที่เป็นเสมือนจุดกึ่งกลางของเส้นทางสายฝ้าไหมทางทิศใต้นี้เพื่อเป็นคนกลาง..
ในยุคสมัยที่การค้าเฟื่องฟู ผู้คนจากหลายเผ่าพันธ์ ต่างภาษาและวัฒนธรรม เดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันโดยเส้นทางสายผ้าไหมที่เชื่อโลกยุคโบราณเข้าหากัน พ่อค้าวานิชจำนวนมากนำกองคาราวานสินค้าจากจีน โรมัน เอเซียกลาง อินเดีย ออกมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก
เส้นทางสายไหมยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์และเปลี่ยน ถ่ายทอด รับส่งและปสมปสานทางวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความก้าวหน้าหลายด้านของจีนถูส่งไปยังโลกตะวันตก เช่นการถลุงเหล็ก การทำเครื่องเคลือบ การหล่อสำริด..ในขณะที่จีนก็รับสิ่งใหม่ๆ อาทิ พิชพรรณการละเล่นและดนตรีจากเอเชียตะวันตก รวมทั้งศิลปะวิทยการอีกมากมาย…
เส้นทางสายไหมเรื่มต้นจากเมืองฉางอันของจีน ผ่านเอเซียกลาง มายังตักศิลาแห่งคันธาระ เข้าสู่โยนกหรือแบคเตีรย ต่อไปยังแบแดด จนถึงชายฝั่งของทะเลเมติเตอเรเนียนเชื่อมต่กจักรวรรดิโรมัน อารยธรรมจีน อินเดีย และเปอร์เซียจึงถูกเชื่อมเข้าด้ยกันผ่านเส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม คือเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ เชื่อมต่ดจีนกับกรุงโรม เริ่มต้นจากนครซีอานหรือ ฉางอาน ในเขตลุ่มแม่น้ำหวงโฮ ผ่านตรงไปทิศตะวันตกเข้าสู่ นครตุงหวาง เส้นทางผ่านทะเลทรายทากลิมากัน ที่เมืองโคทานและเมืองกุจจะ ทางแยกใหญ่อยู่ที่เมืองคาชการ์ Khaksarและทุ่งเปอร์กาน่า Ferhana ใจกลางทวีปเอเซียพอดี เส้นทางแยกตะวันตกสู่นครซามาร์คานด์ (อุซเบกีสถานในปัจจุบัน) นครเมิร์ฟ ใช้เส้นางเลียบทะเลสาปแคสเปี้ยน เข้าสูนครฮามาดัน ปาล์ไมล่า ในเปอร์เซียโบราณ ไมสู่เมือง่ท่าอันติโอค ดามัสกันและเมืองท่าไทร์ที่ซีเรีย ก่อนจะลงทะเลเมดิเตอริเนียนเดินทางไปสู่กรุงโรม
อีกเส้นทางหนึ่ง แยกจากคาชการ์ ใจกลางทวีปเอเชี ลงมายังนครบุคครล่า Bukhara เส้นทางนี้เป็นเส้นทางผ้าไหมสายย่อยทางทิศใต้ เดินทางจากบุคคล่าลงสู่นครเบคเตรีย นครกปิศะหรอืเมืองเบคราม ในลุ่มแม่น้ำคาบูล Kapisa Bagram ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน เข้าสู่เมืองบามิยาน Bamian นครปิศะและบามิยาน ในแค้วนคันธารราฐ เป็นจุดแวะพักถ่ายสินค้า ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า จุดพักแรม และทางสามแยกอีกจุดหนึ่งระหว่าง อินเดีย จีน และโรม
ทางแยกตะวันตกเดินทางไปสู่นครเฮรัต ไปเชื่อมกับเส้นทางไหมในเปอร์เซีย ส่วนทางทิศตะวันออกของนครบามิยานและนครกปิศะ เส้นทางสายไหมจะตัดผ่านช่อเขาไคเบอร์ ไปยับนครเปษวาร์ (ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)เข้าสู่นครตักศิลา นครแห่งวิทยาการและมหาวิทยาลัยในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ
เส้นทางผ้าไหมที่นครตักศิลา จะแยกออกเป็นสองเส้นทาง เส้นทางตะวันออกจะมุ่งหน้าเข้าสู้แคว้นปัญจาบ เข้าสู่นครมถุราในลุ่มน้ำยมุนาและเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา ออกสู่อ่าวเบงกอลที่แคว้นกามรูป(พิหาร) อีกเส้นทางหนึ่งจะเดินทางลงสู่ทิศใต้ ตามลำน้ำสินธุออกสู่ทะเลอาหรับ เป็ฯเส้นทางกองคาราวานการค้าทางน้ำสู้แคว้นทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย เช่น แคว้นคุชราต เสาราษฎร์ และมหาราษฎร์ เป็นต้น
การสำรวจเส้นทางตะวันตกในครั้งแรกๆ เกิดขึ้นจากการรุกรานของพวกฉงนู ที่ตั้งถ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉยงเหนือ เข้าไปในใจกลางทวีป เผ่าฉงนูเป็นเผ่าขนาดใหญ่สามารถปราบปรามชนเผ่าเร่ร่อนเผ่าอื่น หลายเผ่าได้เป็นผลสำเร็จ และเร่มหันกลับเข้ามารุกรานจีน ทำให้ชายแอนตะวันตกสั่นคลอน จักรพรรดิฮั่นวู่ตี้ จึงใช้นโยบายการทูตผสมผสามกับการทำสงคราม โดยสร้งความสัมพันธ์อันดีกับเผ่ายุชชิ คูซาน หรือ ชาวกูษณะ ..และเมืองตะวันตกมีเสถียรภาพ และความปลอดภัย จักรพรรดิฮั่นจึงส่งราชทูตและนักสำรวจ เอินทางไปสู่อาณาจักรปาเที่ยน เปอร์เซีย ซีเรีย ไปจนถึงกรุงโรม ความสัมพันธ์และการติดต่อกันระหว่างฮั่นและโรม ทำให้เส้นทางที่เคยสำตวจถูกเปิดใช้ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีอาณาจักรศกะ ปาเที่ยในเอเซียกลางและแคว้นคันธารราฐ เป็นคนกลางของการติดต่อค้าขาย
ต่อมมชนเผ่ายุชชิหรือชาวกุษาณะแผ่อินทะพลเข้าครอบครองทุ่งเฟอร์กาน่า ซามาร์คานด์ แค้วนคันธาราฐ ขชายอิทธิพลไปถึงแคว้นปัญจาบ และแคว้นมคธราฐในลุ่มน้ำคงคาแทนอาณาจักรชาวปาเที่ยน เส้นมางสายผ้าไหมจึงเสถียรภาพขึนมาใหม่ พระเจ้ากนิษกะ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับจักรวรรดิของชาวกษาณะ
ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเม่งตี่ พุทธซัฒนธรรมและศิลปวิทยาการจากดินเดียเริ่มเดินทางเข้าสู่ประทเศจีน มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเป็นครั้งแรก วัฒนธรรมจีนดั่งเดิมโดยเฉพาะลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ต่างยอมรับและปสมปสามกับพุทธศาสนาที่แผ่อิทธิพเข้ามาได้อยางลงตัว ..
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 เส้นทางสายผ้าไหม ยังคงเป็นเส้นทางสายหลักที่สำคัญในการเดินทางติดต่อค้าขาย และการและเปลี่ยนทางวัฒนธรมระหว่างภูมภาค อินเดียและจีน แต่ในบางครั้งก็ประสบปัญหาความปลอดภัย..
บางครั้งเส้นแยกทางตะวันออกของบามิยานกถูกตัดขาดจาก ตักศิลาและแคว้นปัญจาบ เมือฮั่นขาวเผ่าเร่ร่อนขนาดใหญ่จากทางตะวันตกเฉียงเหนือ ลุกลงมายุดครองและทำลายบ้านเมืองในอินเดียเหนือ บางอาณาจักรก็รอดพ้นจากการทำลายล้าง บางอาณาจัก บ้านเมืองคงเหลือแต่ซากปรักหักพัง แต่เส้นทางผ้าไหมสายใต้ก็ยังคงถูกใช้งานอยูเสมอๆ ในเวลาต่อมา โดยมีราชวงศ์คุปตะของอินเดีย อาณาจักรปาเที่ย กุษณะ ศกะ -ซินเถียน ต่างผลัดกันเข้าครอบครองแค้วนคันธารราฐ ที่เป็นเสมือนจุดกึ่งกลางของเส้นทางสายฝ้าไหมทางทิศใต้นี้เพื่อเป็นคนกลาง..
ในยุคสมัยที่การค้าเฟื่องฟู ผู้คนจากหลายเผ่าพันธ์ ต่างภาษาและวัฒนธรรม เดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันโดยเส้นทางสายผ้าไหมที่เชื่อโลกยุคโบราณเข้าหากัน พ่อค้าวานิชจำนวนมากนำกองคาราวานสินค้าจากจีน โรมัน เอเซียกลาง อินเดีย ออกมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก
เส้นทางสายไหมยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์และเปลี่ยน ถ่ายทอด รับส่งและปสมปสานทางวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความก้าวหน้าหลายด้านของจีนถูส่งไปยังโลกตะวันตก เช่นการถลุงเหล็ก การทำเครื่องเคลือบ การหล่อสำริด..ในขณะที่จีนก็รับสิ่งใหม่ๆ อาทิ พิชพรรณการละเล่นและดนตรีจากเอเชียตะวันตก รวมทั้งศิลปะวิทยการอีกมากมาย…
Taxila
ที่มาของชื่อ ตักศิลา มีผู้รู้อธิบายไว้แตกต่างกัน เซอร์ จอห์น มาร์แชล นักโบราณคดีชาวอังกฤษ กล่าวว่า คำว่าตักศิลา แปลตรงตัวว่า หินขัด จึงน่าจะมีความหมายว่า เมืองหินตัด แต่อย่างไรก็ตาม ดร. อะหมัด ฮะซาน ดานี นักโบราณคดีชาวปากีสถานไ้ด้แย้งว่า คำทั้งสองสามารถแปลไดได้ว่า เนินเขาอันเป็นที่อยู่ของตักษะหรือตักกะ ซึ่งเป็นพญางูที่สำคัญในปกรณัมฮินดู ได้เช่นกัน โดยโยงเข้ากับชื่อภาษาเอร์เซียของเมืองว่า มาระกะลา ซึ่งหมายถึงป้อมบนเนินเขาพญางู ซึ่งคำแปลนี้สอดคล้องกับเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ...
มีสำนักอาจารย์ทิศาปาติโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่เล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป..บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ อาทิ พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ และองคุลีมาล พันธุลกุมาร เจ้าชายมหานิ
การศึกษาในตักศิลาและแหล่งอื่นๆ ในอินเียสมัยโบาณนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบชัดเจนเช่นทุกวันนี้ หากแต่เป็นการฝากตัวเข้าไปอยู่กับสำนักอาจารย์ต่าง ๆ จนกว่าจะจบหลักสูตร ซึ่งผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะเป็นลูกหลานของครอบครัววรรณะสูงที่รำรวย นอกจากนี้ วิชาที่เปิดสอนก็จะไม่ใช่วิชาระดับพื้นฐาน ซึ่งสามารถเรียนได้ที่บ้าน แต่เป็นวิชาการข้นสูง อันได้แก่
พระเวททั้ง 4 และศิลปะ 18 คือ
- อังษรศาสตร์
- นิติศาสตร์
- นิรุกติศาสตร์(ว่าด้วยกำเนิดและวิวัฒนาการของคำ)
- ฉันทศาสตร์(ว่าด้วยการประพันธ์)
- รัฐศาสตร์
- ยุทธศาสตร์
- ศาสนศาสตร์
- โหราศาสตร์
- ชโยติศาสตร์หรือดาราศาสตร์
- คณิตศาสตร์
- คันธัพพศาสรต์(ว่าด้วยดนตรีและนาฎศิลป์)
- สัตวศาสตร์(ว่าด้วยเรื่องการศึกษาลักษณะของสัตว์)
- วาณิชศาสตร์(ว่าด้วยหลักการค้า)
- ภูมิศาสตร์
- โยคศาสตร์(ว่าด้วยกลศาสตร์)
- มายาศาสตร์(กลอุบายการรบ)
เมืองตักศิลากำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นนครหลวงแห่งแค้วนคัฯธาระเห็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป ที่สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแค้วนและรุ่งเรืองมานับพันปี มีความรุ่งเรื่องถึงขีดสุดในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อสเียกิติตศัพท์ขจรขจรยไปทั่ว พร้อมๆ ดับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาตักศิลก็ตกอยู่ภายใต้อารยธรรมอีกมากมายอาธ อารยธรรมกรีก อารยธรรมฮินดู
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮพธาไลต์ หรือชาวฮั่นได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายทำให้ตักศิลาพินาศสาบสูญนับแต่นั้นมา
"อเล็กซานเดอร์พิชิตจักวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย"จึงยกทัพบุ อินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายสงคราม
เมื่อพ.ศ. 216 ทรงรบเข้ามาถึงกรุงตักกศิลา แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ พระเจ้าอัพิราชไม่ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตนเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็งพอจะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึึงเปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพรเองค์ก็เพียงให้ตักศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ 5,000 คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม
เมื่อพระองค์ยกทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี พ.ศ. 217 โดยเข้าสู่บริเวฯลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตะลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย แค้วนปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัส หรือ พอรุส หรือ พระเจ้า เปารวะ ซึ่งเป็นผู้เข้ามแข็งในการรบ มีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" เมื่อได้รับแจ้งข่าวหบบรรดามหาราชแห่งอินเดียยว่ามีศึกชาวตะวันตก ผมสีทองตาสีฟ้า ยกทัพข้ามถูเขาฮินดูกูชเข้า ผ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ ทหารม้า และรถศึก และกองทัพช้าง รอรับ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักศิลาเป็นพันธมิตร
ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ไม่เคยสู้รบกับช้า ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่น ช้างศึกอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมือนของพระอง๕ืพยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทหารหาออันมีระเบียบวินัยเกิดบ้าเลื่อดบุกตะลุย ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารฝ่ายใด การรบวันนั้นสิ้นสุดโดยการหย่าศึกา ทหารบาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่ายแต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงได้รับชัยชนะ...
เมื่อเสร็จศึกครั้งนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตระเตรียมยกทัพเข้าตีแค้วนมคธเนื่อจากได้สดับความาังคั่งสมบูรณ์ของมคธ แต่ทหารที่ร่วมศึกกับพระองค์ไม่ได้กลับบ้านกลับเมืองพากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแค้วนอื่นต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฎไม่ยอมสู้รบ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ฯจึงจำพระทัยเลิดทัพกลับ..
ตักศิลาถูกทำลายหลายครั้ง เช่นพวกหูนะพวกฮั่น และที่สำคัญที่สุดถูกทำลายโดยกองทัพมุสลิมเนื่องจากตักศิลาเป็นเมืองหน้าด่านของอินเดีย...
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Fifth Crusade.. Children Crusade..
Children Crucade
(วิจิพีเดีย)“สงครามครูเสดเด็ก”เป็นชื่อที่ใช้เรียกเหตุการณ์จินตนาการเเละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1212 ที่อาจจะประกอบด้วยบางอย่างหรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นดังนี้
การเห็นมโนทัศน์ของเด็กเยอรมันและฝรั่งเศส ความประสงค์ที่จะเปลี่ยนมุสลิมในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ให้หันมารับคริสต์ศาสนา กลุ่มเด็กรวมตัวกันเดินทางสู่อิตาลี และเด็กถูกค้าเป็นทาส
งานศึกษาในปี ค.ศ. 1977 ตั้งข้อสงสัยถึงความเป็นจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและนักประวัติศาสตร์หลายคนในปัจจุบันเชื่อว่า ผู้ที่เข้าร่วมในเหตุการณ์(หรือส่วนใหญ่)มิใช่เด็กแต่เป็นกลุ่คนจนที่เร่ร่อนในเยอรมนี และ ฝรั่งเศส ที่บ้างก็พยายามจะไปถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์หรือบ้างก็เพียงแต่ตั้งใจจะทำเหตุการณ์ที่บรรยายกันมาในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นตำนานที่เล่าขานกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ..
สตีเฟนแห่งคลอยส์ อ้างว่าเห็นนิมิตจากพระเยซูที่ทรงเรียกร้องให้เขาระดมกองทัพเด็กเพื่อช่วงชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเล็มกลับคืนมาจากชาวมุสลิม
หัวใจอันบริสุทธิ์ของเหล่าเด็ก ๆ จะเป็นพลังที่เหนือกว่าอาวุธใด ๆ และจะทำให้นครเยรูซาเลมกลับคืนมาเป็นของชาวคริสต์โดยปราศจากการนองเลือด
สติเฟนออกเทศนาผู้คนและทำให้ประชาชนชาวคริสต์จำนวนมากเกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาบอก สตีเฟนสามารถรวบรวมเด็ก ๆ ได้หลายพันคน จากหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วฝรั่งเศส เข้าร่วมในสงครามครูเสด ขณะเดียวกัน เรือ่งภาพนิมิตก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กชายชาวเยอรมัน วัย 12 ปี นามว่า นิโคลัส แห่งเมืองโคโลญ
นิโคลัจ ได้รับการสนับสนุนจากบิดาให้ออกเรียกระดมอาสาสมัครเด็กๆ ไปสมทบกับกองทัพของสตีเฟร ซึ่งในครั้งนั้น มีพ่อแม่ชาวฝรั่งเศสและเยอรมันจำนวนมากที่ส่งลูก ๆ ของพวกเขาเข้าร่วมกับสตีเฟนและนิโคลาส โดยเชื่อว่า ลูก ๆ ของพวกตนกำลังทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
ด้วยความศรัทธา ทำให้เด็ก ๆ จำนวนเกือบหมื่นคนเข้าร่วมทัพครูเสด โดยเด็กจากหมู่บ้นจำนวนมากทั้งในฝรั่งเศสและเยอรมันต่างพากันไปเข้าร่วมจนหมด เด็กเหล่านี้เดินเรียงแถวด้วยความฮึกเฮิม ร้องเพลง สวดและเชื่อมั่นว่าพระเจ้าจะดลบันดาลให้ชัยชนะแก่พวกเขา..
ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา นิโคลัสและเด็กๆ ชาวเยอรมันหลายพันคนล้มตายด้วยความหิวโหยและความหนาวเหน็บระหว่างข้ามเทือกเขา แอลป์ ในขณะที่ชะตากรรมของเด็ก ๆ ชาวฝรั่งเศสก็ไม่ดีไปกว่า เมื่อไปถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนีย สตีเฟนเชื่อว่าพระเจ้าจะบันดาลให้น้ำทะเลแยกจากกัน และกลายเป็นถนนให้ข้ามไป แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น
พ่อค้าสองคน อาสาจะพาเด็กไปส่งยังดินแดนปาเลสไตน์ เด็กๆ พากันยินดี
เรื่อที่เด็กๆ เดินทางไปนั้นพบกับพายุใหญ่ สตีเฟนและเด็กกว่าพันคนจมน้ำเสียชีวิต ส่วนพวกที่เหลือพ่อค้ากลับพาขึ้นฝั่งที่อเล็กซานเดรียในอียิปต็แทนที่จะเป็นปาเลสไตน์ตามที่สัญญา
พวกเด็กๆ ถูกขายให้พ่อค้าค้าทาส !
บรรดาพ่อแม่ได้รู้ถึงชะตากรรมของพวกลูก ๆ พวกเขาพากันโศกเศร้าและโกรธแค้น พ่อแม่ชาวเยอรมันในเมืองโคโลญได้กล่าวโทษ(หาคนรับผิดชอบ)พ่อของนิโคลาสและจับไปแขวนคอ
อันเป็นที่มาของนิทานปรับปรากล่าวถึงชายนักเป่าปี่ที่อาสากำจัดหนูให้ชาวเมืองแห่งหนึ่งโดยใช้เสียงปี่ของเขาเรียกให้พวกหนูกระโดดลงไปตายในแม่น้ำจนหมด ทว่าเมือนักเป่าปีขอรับค่าจ้างตามที่ตกลง ชาวเมืองกลับไม่ยอมจ่ายและขับไล่เขาออกไป ทำให้นักเป่าปี่โกรธมาก และในคือนหนึ่งเขาก็ใช้เสียปี่เรียกพวกเด็กๆ ทั้งหมดในเมืองออกมาจากนั้นก็นำเด็กๆ เหล่านั้นหายไข้ไปในหุบเขาโดยไม่มีใครพบพวดเด็กๆ นั้นอีกเลย..
Damietta ดาเมียตตา เป็นเมืองท่าและเมืองหลวงของอาณาจักรข้าหลวงแห่งโดมยัต ตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของ ไคโร
ในสมัยอียิปต์โบราณ ดาเมียตตา มีชื่อวา “ทามิยัต”และลดความสำคัญในสมัยการปกครองของกรีกหลังจากการสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย อับบาซียะฮฺ ใช้ อเล็กซานเดรีย อาเดน และซิราฟเป็นเมืองท่าสำหรับการเดินทางไปอินเดียและจีน
ในคริสต์ศตวรรษ ที่ 12-13 ดาเมียตตากลายมามีความสำคัญระหว่างสงครามครูเสด กองเรือจากราชอาณาจักรเยรูซาเลม พร้อมด้วยกองหนุนจกาจักรวรรดิไบแซนไทน์พยายามโจมตีแต่พ่ายแพ้ต่อ ซาลาดีน
ระหว่างการเตรียมตัวทำสงครามครูเสดครั้งที่ 5 จึงตกลงกันว่าควรยึดเมืองดาเมียตตา ซึ่งหมายถึงการควบคุมแม่น้ำไนล์และจากที่นั้นนักรบครูเสดก็มีความเชื่อว่าจะพิชิตอียิปต์ได้ และเป็นเส้นทางนำไปสู่ปาเลสไตน์ และเยรูซาเลมในที่สุด…
กล่าวคือ ดาเมียตตา เป็นชัยภูมิที่สำคัญต่อการศึกเพื่อยึดเยรูซาเลมกลับคืนมา…
ครูเสดครั้งที่ 5
สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของ เลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย และสมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี ค.ศ. 1218 กองทัพเยอรมันนี นำโดยโอลิเวอร์แป่งโคโลญและกองกำลังหลายชาติที่ประกอบด้วยกองทัพชาวเนเธอร์แลนด์ เปลมมิช และฟรีเชียน ที่นำโดย วิลเลียมที่ 1 เคาท์แห่งฮอลแลนด์ มาร่วมในการโจมตี ดาเมียตตา
ในอียิปต์ฝ่ายครูเสดไปเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรสุลต่านแห่งรูม ในอานาโตเลียผู้โจมตีอัยยูบิคในซีเรียเพื่อที่จะป้องกันการสู้รบกับศัตรูพร้อมกันสองด้าน
หลังจากยึดเมืองท่าดามิเอตตาได้แล้วนักรบครูเสดก็เดินทัพต่อไปไคโร ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1221 แต่ต้องหันทัพกลับเพราะเสบียงร่อยหรอลง การจู่โจมยามกลางคืนของสุลต่าน อัล คามิล ทำให้ฝ่ายครูเสดเสียทหารเป็นจำนวนมาก อัล คามิกตกลงในสัญญาสงบศึกเเปดปีกับยุโรป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Renewed Trump era ( Again )
ไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า โดนัลด์ ทรัปม์ จะหลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง โดยเขาจะเข้าพิธีสาบานตนเืพ่...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...