วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

The Black Death

คาฟา คือสถานที่แห่งหนึ่งในยูเครน (ปัจจุบัน คือ ฟิโอโดสิจา) ซึ่งได้ถูกโจมตีด้วยอาวุธเชื้อโรคครั้งร้ายแรงมาก โดยกองกำลังมองโกลแห่งกองทัพข่านสีทอง และคาทาได้ถูกทำลายในที่สุดในปี ค.ศ. 1266
      คาฟาคือเมืองท่าสำคัญของเผ่าจีโนซีย์ แห่งทะเลดำ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่ทำให้กรีกหรืออิตาเลี่ยนสามารถเดินทางไปเมืองทาน่าได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโรมันและมองโกลเลียนนั้นไม่สู้ดีนัก ในปี 1307 Toqtai Khan บุกจับตัวข้าราชการโรมันที่ดูแลเป็นตัวประกัน และปิดล้อมคาฟา เนื่อจากไม่พอใจกับการกระทำที่อิตาเลี่ยนขายทาส ชาวตุรกีไปที่ Mameluke Sultanatein เป็นการเพิ่มกำลังให้กับ จิโนซีย์ แต่ในปี 1308 มองโกลได้เผาเมืองนั้นทิ้ง ความสัมพันธ์ของทั้งสองเมืองคงตรึงเครียดกระทั้ง ทอร์กไทข่าน เสียชีวิต
      ในปี ค.ศ. 1343 มองโกลนำโดย เจนิเบ็ก ผู้สำเร็จราชการนำทัพบุกเข้าล้อมคาฟา จนกระทั้งมองโกลสูญเสียทหาร แสนห้าหมื่นนาย และถอยทัพกลับไป
      มองโกลนำทัพกลับมาใหม่ในปี 1345 แต่ต้องพ่ายแพ้กลับไปอีกครั้ง หนึ่งปีจากนั้น มองโกลนำทัพกลับมาพร้อมกับอาวุธเชื้อโรค คือการใช้เชื้อกาฬโรคเป็นอาวุธ…
       มองโกลใช้ซากศพทหารที่ตายด้วยโรคห่าแทนก้อนหินยิงข้ามกำแพงเมืองเข้าไปในกำแพงเมืองคาฟา ผู้คนพากันแตกตื่นกับสภาพศพที่เห็น เนื้อตัวเป็นตุ่มพุพองช้ำเลือดช้ำหนองเน่าแฟะ และยังแพร่เชื่อโรคระบาดสู่ชาวเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนวมาก ที่เหลือก็พากันทิ้งเมืองหนี
      หลังจาก คาฟาแตกแล้วมองโกลเคลื่อนทัพเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและยังใช้วิธีการเดียวกันในการโจมตี เกาะซิซิลี และยุโรปตะวันออก เพียงเวลา 3 ปี ในการทำสงคราม คาดว่ามีผู้คนล้มตายด้วยกาฬโรคไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน
      ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำอาวุธเชื้อโรคเข้ามาทำสงคราม
       กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบททีเรีย เยอซีเนีย แพสทิซ ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนู ในแถบตอนกลางของเอเซีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ได มีทฤษฎีกล่าวไว้ว่า ในทุ่งล้างแถบเอเซีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั้นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกตาม เส้น “ทางสายไหม” กองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางนี้ได้จากบารมีของราชอาณาจักรมองโกล ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา  Pax Mongolica ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า “เมื่อหญิงใดเดินเปลื่อยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น”
      กรณี เดอะ แบล็กเดธ คล้ายกับสงครามที่เกิดที่ประเทศจีน ระหว่างกองทัพจีน กับกองทัพมองโกล ในช่วงปี 1205-1353 สงครามนี้ขัดขวางการทำเกษตรและการค้า ทำให้เกิดภาวะอดอยากไปทั่ว และยังมีเหตุการณ์ยุคนำแข็งน้อย ที่กล่าวถึงสภาวะอาอาศที่เลวร้ายอย่างมาก..
      การแพร่ระบาดในยุโรป ในปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง คาฟา มาที่เมือง เมซซิน่า ประเทศอิตาลี่ ในเวลาที่เรื่อเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสันนิษฐานว่า เรื่อได้นำหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็นเรื่อร้าง เพราะว่าทุกคนบนเรือเสียชีวิตทั่งหมด..
       จากอิตาลีแพร่ระบาดไปไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป ผรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ พฤษภา ปี 1348 ..หลังจากนั้น ก็แพร่กระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย ในช่วงปี ค.ศ. 1348-1350 พบการแพร่ระบาดที่ นอร์เวย์ และในที่สุดก็ระบาดมายัง ตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัศเซีย
     การแพร่ระบาดในตะวันออกกลาง โดยแพร่ระบาดจากทางตอนใต้ของรัสเซีย ปี ค.ศ. 1347 การแพร่ระบาดได้เข้ามาถึง อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ. 1348 การระบาดลุกลามทางตะวันออกถึงกาซา และทางเหนือตลอดชายฝั่งทางตะวันออกของ เลบานอน ซีเรีย ปาเลสไตน์ รวมทั้ง อาช เยรูซาเล็ม วิคอน ดามัวคัน ฮอมส์ อเลปโป และในปี ค.ศ. 1348-1349 โรคระบาดก็ได้เข้ามาถึง แอนทิออซ ซึ่งประชาชนเสียชีวิตระหว่างการเดินทางอพยพ
      นครเมกกะ กลายเป็นแหล่งแพร่ระบาด ซึ่งในปีเดียเดียวกันนี้ จากบันทึกได้แสดงให้เห็นถึง เมืองโมซุลที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะโรคบาดร้ายแรง และนครแบกแดดต้องพบกับการแพร่ระบาดเป็นรอบสอง …

       สมมติฐานเกี่ยวกับผลของเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ช่วง หลังศตวรรษที่ 14-15 ศาสนจักรเสือมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชนและทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป
      การสูยญสียประชากรอย่างมากนั้น  ทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงแรงงานระหว่างเจ้าของที่ดิน โดยการเพิ่มค่าแรง และสวัสดิการแรงงานเพื่อดึงดูดใจแรงงานที่มีอยู่อย่างจำกัด จากภาวะขาดแคลนแรงงานนี้เอง ทำให้ชนชั้นสามัญมีโอกาสเรียกร้องสิทธิที่มากขึ้น และเป็นเวลากว่า 120 ปี ประชากรยุโรปจึงเพิ่มจำนวนขึ้นอีกครั้ง

     อาวุธเชื้อโรค Bioterorism weapon หมายถึง อาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง ทำให้คนจำนวนมากในพื้นที่กว้างได้รับบาดเจ็บ ป่วย และตาย เป็นอาวุธที่แตกต่างจากอาวุธประเภทอื่น คือ มีการบรรจุสิ่งมีวิตไว้ข้างใน ในทางทหารนั้น จุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ ต้องมี คุณสมบัติผลิตง่าย ต้นทุนต่ำมีความคงทนในการผลิต เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง
   การรบโดยใช้อาวุธชีวภาพกระทำได้ 3 วิธี
- การปล่อยกระจายเป็นแอโรซอล โดยการใช้สเปรย์ หรือวัตถุระบิดให้กระจายอยู่ในอากาศ..
- การปล่อยกระจายไปกับสัตว์พาหะจะใช้วิธีการทำให้สัตว์ที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ให้ตัวสัตว์นั้นติดเชื้อ แล้วจึงปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้สัตว์ที่เป็นพาหะนำสารชีวะเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์ เช่น ยุง หมัด เห็บ เหา ไร ..
- การก่อวินาสกรรม หรือปล่อยกระจายโดยวิธีปกปิด

      จุดประสงค์การใช้อาวุธชีวภาพในสงครามนั้น คือ ผู้ใช้ต้องการทำให้ประชาชน สัตว์เลี้ยง หรือพืชผลของฝ่ายตรงข้ามเป็นโรค และตาย โดยการโจมตีมนุษย์เป็นการกระทำโดยตรงเพื่อลดอำนาจกำลังรบ ส่วนการโจมตีสัตว์เลี้ยง และพืชผลเป็นการกระทำทางอ้อมเพื่อต้องการลดทอนความสามารถในการทำสงคราม  และทำลายขวัญ
      เชื้อ
สำหรับจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นอาวุธ และเป็นสารทำอันตรายมนุษย์ คือ แบคทีเรียคีเกทเซีย และ ไวรัส โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และมนุษย์ เพราะมีข้อได้เปรียบกว่าโรคติดต่อเฉพาะมนุษย์ คือ มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ต่ำ และแพทย์เองก็ไม่ค่อยชำนาญในการวินิจฉัย และการรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่มียาป้องกัน  และวิธีการรักษาก็ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก
      เชื้อแบคทีเรีย เช่น แอนแทรกซ์ มีชื่อว่า Bacillus anthracis มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์เมือตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะบ่มตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างเกราะหุ้มได้ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี  ฟักตัวอยู่ในดินนานนับ 10 ปี หากตกอยู่ในพื้นที่ใดจะทำให้พื้นที่นั้น ๆ ไม่สามารถใช้งานทางปศุสัตว์ได้อย่างน้อย 2-3 ปี
      เชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบเลือด และทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด มีนำมูกไหล หลังจากนั้นจะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ การป้องกันทำได้โดยฉีดวัคซีน
     Ebola เป็นสาเหตุของ Ebola hemorrhagic fever เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นอันตราย
     สารพิษ toxin  สารพิษไรซิน สกัดจากเมล็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาปราบศัตรูพิช สารดังกล่าวจะไปยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับพิษจะเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้
     ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.  1931 พบว่า กองทัพญีปุ่นได้จัดตั้งหน่วย731 หรือหน่วยสงครามชีวะ ที่เมืองฮาบิน ประเทศจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้เข้ายึดครอง
     การทดลองอาวุธชีวะ Unit 731 วิธีการทดลองคือ เป็นการทำให้ติดเชื้อ นำร่างกายบางส่วนไปแช่หิมะ แล้วนำไปสัมผัสกับเชื้อโรค หน่วยนี้ประกอบด้วยหน่วยรอง ประมาณ 18 แห่ง ทำหน้าที่ทดลองอาวุธชีวะ ครั้งนั้นมีประมาณการว่า เชลยศึกนับหมื่นคนถูกนำไปทดลอง และมีผู้เสียชีวิตจากการทดลองหลายพันคนขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นยังได้เข้าตั้งสถานีวิจัยอาวุธชีวะสิงคโปร์ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับกาฬโรค …

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

system

ความหมายของระบบ คือ ระเบียบเกี่ยกับการรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เจ้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฎการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
      ระบบ คือ กระบวนการต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่อข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

Hybrid Assistive Limb ชุด ช่วยลดความาเสี่ยงจากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมอันตราย โดยมีระบบสอดส่องแรงกระตุ้นจากระบบไฟฟ้าของร่างกาย โดยคาดเดาการเคลื่อนไหวทำให้ไม่รู้สึกหนัก
      ระบบ คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายจองคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน

     ระบบเปิด คือระบบที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาำพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งพยายามปรับตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้อยู่รอดได้  เช่น ระบบธุรกิจทั้งหมด
      ระบบปิด คือระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทำลองในห้องปฏิบัติการ

องค์ประกอบขอ้งระบบมี 4 ส่วน คือ
ส่วนนำเข้า Input  คือ ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการหรือ Processing   ส่วนที่ทำหน้าทที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบแปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ
 ส่วนผลลัพธ์ Out put คือ ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ
และส่วนป้อนกลับ Feed back  เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรจุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการ

      ระบบเป็นหน่วยของการศึกษาที่สำคัญ เพราะในตัวมันเองมีความหมายชวนให้ผู้อื่นคิดถึงความเป็นแบบแผน ที่สามารถหยิบยกระบบและองค์ประกอบของระบบมาใ้ช้ในการศึกษา ดังนั้นในการศึกษาด้านสังคมศาสตร์จึงนิยมนำทฤษฎีระบบมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะในรัฐศาสตร์ การนำทฤษฎีระบบมาใช้ทำให้รัฐศาสตร์มีความเป็นศาสตร์ และเป็นสาขาที่ได้รับการยอมรับ เป็นต้น
   แนวคิดเรื่องระบบ
เดวิด แอสตัน ให้ความสนใจกับเรื่อง"กระบวนการ"ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีิวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งปวง ฉะนั้นจึงพยายามที่จะนำทฤษฎีวิเคราะห์ระบบเข้ามาช่วยอธิบาย ชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองว่าเป็น"ระบบพฤติกรรม"พฤติกรรมในที่นี้เป็นเรื่องของการกระทำที่มุ่งไปทาง "การจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่สังคมโดยมีผลผูกพันหรือบังคับ"
แนวทางการวิเคราะห์ระบบนั้นมีฐานความเชื่อที่สำคัญ 4 ประการ คือ
-ระบบ ให้ถือว่า ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเป็น "ระบบพฤติกรรม"อย่างหนึ่ง
- สิ่งแวดล้อม  ถือว่าระบบแยกออกจากสิ่งแวดล้อมได้ในแง่ของการศึกษา แต่ระบบจะเปิดรับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
- การตอบสนอง เป็นเรื่องของการควบคุมหรือจัดการของระบบต่อ"สิ่งที่ก่อให้เกิดความตึงเครียด"ต่อระบบ
- การสะท้อนป้อนกลับ "ฟีดแบ็ค"ถือว่าเป็นความสามารถของระบบ ที่จะรักษาตนเองให้ดำรงอยู่ได้ในสภาวะที่มีความตึงเครียด ทั้งนี้โดยอาศัยข้อมูลและอิทธิพลใดๆ ก็ตามที่จะกลับไปสู้ผู้กระทำการเรียกร้องต่อระบบ รวมทั้งกลับไปสู้ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจของระบบ

Communication Approach


      "การสื่อสารเป็นสายใยของสังคม ซึ่งโึครงของระบบการสื่อสารเปรียบเทียบกับโครงกระดูกของร่างกาย เนื้อหาของการสื่อสาร คือสิ่งที่มนุษย์ใช้ติดต่อกัน การไหลของข่าวสารจะกำหนดทิศทางและความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้น จึงอาจจะวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมทุกชนิดในแง่ของโครงสร้าง เนื้อหา และการไหลของการสื่อสารได้" ลูเซี่ยน พาย นักรัฐศาสตร์
 
     ลักษณะการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร  เป็นการศึกษาตามแนวทางของสำนักพฤติกรรมศาสตร์ โดยมุ่งพิจารณาที่กระบวนการว่ามีการดำเนินการไปอย่างไรและมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจการเมืองโดยอาศัยรูปแบบของกระบวนการติดต่อสื่อสารเป็นประเด็นสำคัญ

             ความหมายและองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร

- การสื่อสารเป็นการสร้างความร่วมกันและความเหมือนกัน
- การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนสัญญาข่าวสารระหว่างบุคคล อันก่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้น
- การสื่อสารเป็นศิลปะการถ่ายทอดข่าวสาร ความคิดเห็น ทัศนคติ จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่่่ง
- การสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านช่องทางซึ่งสามารถนำสารไปถึงผู้รับได้
     ดังนั้น การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อความเข้าใจตรงกัน
     ลักษณะของการสื่อสาร จึงเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล ซึ่งการแลกเปลี่ยนดังกล่าว ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานของบุคคล ความสัมพันธ์ของบุคคลและสภาพแวดล้อมของบุคคลด้วย
     การสื่อสารมีลักษณะกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารจึงได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อหรือช่องทางและผู้รับสาร ดังจะเห็นได้จากตัวแบบการะบวนการสื่อสารพื้นฐานดังนี้

 องค์ประกอบของการสื่อสาร

   - ผู้ส่งสาร เป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารหมายถึงแหล่งกำเนิดของสาร โดยที่ผู้ส่งสารอาจจะเป็นบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่กระทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับผู้อื่น โดยจัดส่งข่าวสารไปตามสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง

   - สาร หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่กระตุ้นความหมายให้กับผู้รับเป็นข่าวสารที่บุคคลมุ่งแลกเปลี่ยนกันในกระบวนการสื่อสารที่มุ่งจะแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดผลในสิ่งบุคคลปรารถนา หรือเป็นสาระเรื่องราวที่ส่งออกไปจากผู้สื่อสารถึงผู้รับสาร อาจจะเน้นความคิด หรือเรื่องราวใดๆ ที่ส่งผ่านไปตามสื่อได้ สารอาจจะเป็นข้อความ คำพูด รูปภาพ สัญลักษณ์หรือกริยาท่าทางก็ได้

  - ช่องทางหรือสื่อ เป็นสิ่งที่จะนำสารจากผุ้ส่งไปยังผุ้รับ โดยอาจจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย เช่น คำพูด หรือเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน ประกอบด้วยวัสดุ.. โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งสื่อออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อมวลชน และสื่อบุคคล อันหมายถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล

  - ผู้รับสาร คือบุคคลที่รับข่าวสารจากแหล่งสารและเป็นจุดหมายปลายทางที่สารส่งไปถึง ซึ่งผู้รับสารอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันเป็นบุคคลหลายคน หรือเป็นกลุ่มคนจำนวนมากก็ได้

  - ผลกระทบ เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วจะมีการแปลความหมายของสารนั้น

  - ผลย้อนกลับ ฟีดแบ็ก ประกอบด้วย สารที่ผุ้รับได้แสดงออกเพื่อให้ผู้ส่งได้ทราบถึงผลของสารที่ผู้ส่งได้ส่งไปให้ผู้รับ กล่าวคือ ผลย้อนกลับเกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งสารแปรเปลี่ยนมาเป็นผู้รับสาร โดยเฉพาะสารใหม่ที่เป็นผลย้อนกลับมานี้ เป็นปฏิกิริยาของสารเดิมที่ผู้ส่งสารได้ส่งออกไปยังผุ้รับสารมาแล้วนั้นคือการย้อนกลับ


    การสื่อสารกับระบบการเมือง

ทฤษฎีระบบของ เดวิด อิสตัน ในทุกระบบการเมือง จะประกอบด้วยระบบย่อยเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษาและระบบราชการ ซึ่งรวมกันเป็นระบบใหญ่ คือ ระบบการเมือง ในแต่ละระบบย่อยดังกล่าว มักจะจัดอยู่ในวงจำกัด ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีระบบแล้ว จะเห็นว่าประชาชนในฐานะเป็นผู้เรียกร้อง และสนับสนุน ต่อระบบการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างปกติหรือมีเสถียรภาพ แต่การขาดประสิทธิภาพของปัจจัยนำเข้าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น หรือขาดเสถียรภาพและถ้าหากระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น หรือขาดเสถียรภาำพและถ้าหากระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลได้แล้ว ก็จะเกิดความไร้ประสิทธิภาพทางการเมือง จนทำให้เกิดการแตกสลายของระบบได้ในที่สุด

       ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากประชาชนแสดงบทบาทเน้นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ปัจจัยนำเข้าดังกล่าว ได้แก่ การเรียกร้องและการสนับสนุน จึงเป็นข่าวสารที่จะเข้าไปสู่ตัวระบบการเมือง อันได้แก่ รัฐบาล หรือผู้มีอำนาจทางการเมือง ที่เป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจและกำหนดนโยบายจะเป็นส่วนสำคัญในการรับข่าวสารเหล่านั้นออกมา ในรูปของการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างๆ ซึ่งข่าวสารอาจจะมีที่มาจากภายในระบบหรือภายในรัฐนั้น เช่น การขึ้นราคาสินค้าของบริษัทผู้ผลิต การชุนนุมประท้วงของกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น หรืออาจจะมาจากกระบวนการเมืองอื่น ๆ รหือรัฐอื่น..
      จึงเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวสนใจที่พฤติกรรมทางการเมืองของระบบการเือง หรือองค์การทางการเมือง โดยพิจารณาจากกระบวนการสื่อสารและการตัดสินใจนั่นเอง แนววิเคราะห์นี้เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งเป้าหมายทั้งหลายของสังคมทั้งหมด และการตัดสินใจดังกล่าวนั้นสามารถบังคับได้ และสาระของการเมืองคือความพยายามของมนุษย์ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของสังคมที่วางไว้ นอกจากนี้ในทุกกระบวนการทางการเมืองจะต้องมีกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข่าวสาร กระบวนการเลือกสรรและเก็บข่าวสารและการเลือกใช้ข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย มิฉะนั้น ระบบการเมืองก็ไม่อาจจะคงอยู่ได้ หรือไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารทางการเมือง
เมื่อหันมาพิจารณาถึงความหมายของคำว่า การสื่อสารทางการเืมืองก็จะพบว่ามีผู้ให้ความหมายหลายท่าน แต่พอจะสรุปดังนี้  การสื่อสารทางการเมืองก็คือ กระบวนการความเข้าใจร่วมกันในทางการเมือง
        ในอดีตที่ผ่านมานักรัฐศาสตร์คนสำคัญหลายท่าน ได้พยายามสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการเมืองและกระบวนการต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อการทำความเข้าใจในเรื่องของการเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้


การสื่อสารกับการตัดสินใจทางการเมือง คาร์ล ดอยท์ช ได้เสนอแนะว่า การตัดสินใจอาจจะเกิดขึ้นในรูปของการสื่อสารได้ โดยที่การตัดสินใจนั้นจะต้องอยู่บนฐานของข่าวสารที่ได้รับและเมือตัดสินใจแล้ว จะเกิผลกระทบเป็นผลย้อมกลับไปสู่แหล่งข่าวสารข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง

      สำหรับกระบวนการตัดสินใจนแง่ของการไลของข่าวสาร มีส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น ช่องทางในการสื่อสาร ขนาดของข่าวสารที่เข้ามา และความสามารถในการับข่าวสาร
       ช่องทางในการสื่อสารที่สำคัญได้แก่ สื่อมวลชน หน่วยงานของรัฐพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ รวมทั้งการติดต่อผ่านตัวบุคคล ซึ่งแาจจะเป็นช่องทางการติดต่อแบบเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ได้
     ขนาดของข่าวสารที่เข้ามา คือ จำนวนของข่าวสารที่หลั่งไหลเขามาสู่ระบบการเมืองในแต่ละช่วงเวลา
    ความสามรถในการับข่าวสาร ระบบการเมืองจะมีความสามารถในการรับข่าวสารที่ระบบนั้นมีอยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด และมีกี่ประเภท ถ้ามีช่องทางจำนวนมากและมีปลายประเภท ระบบการเมืองก็จะมีความสามารถในการับข่าวสารสูงมาก ซึ่งจะทำให้ระบบการเมืองมีโอกาสได้ล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าระบบการเมืองที่มีความสามรถน้อย....


     องค์ประกอบสำคัญในการวัดความสามารถในการสื่อสาร และควบคุมของระบบการเมืองอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการใช้ขอ้มูลหรือประสบการณ์ในอดีตที่เก็บไว้มาใช้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นอีกในลักษณะเดียวกัน
     ผลที่ได้จากการตัดสินใจจะเกิดผลกระทบในแง่ของการยอมปฏิบัติตาม ประิสิทธิผล และอำาจหน้าที่ ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ
       การตัดสินใจมีผลในแง่ของการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมบุคคลอื่น ๆ ให้ทำตามในสิ่งที่ผู้ตัดสินใจต้องการ
    ในการที่จะวินิจฉัยว่า การตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใดนั้น ให้พิจารณาดูที่ผลย้อนกลับของข่าวสารที่เข้าสู่ตัวระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลย้อนกลับในทางลบ อันเป็นผลที่เกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามกับที่ผุ้ตัดสินใจมุ่งจะให้เกิดขึ้น

         ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ในกระบวนย้อนกลับทางลบได้แก่

-ปริมาณและความเร็วของข่าวสารที่ไหลเข้าสู่ระบบ หมายถึงข่าวสารที่กระบวนการย้อนกลับส่งเข้ามา เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถของระบบนั้นกล่าวคือ ถ้าข่าวสารเข้ามามากในขณะที่ระบบมีความสามรถไม่สูงพอ การที่จะให้บรรลุเป้าหมายย่อมจะกระทำได้ยาก

- การตอบสนองของระบบที่มีต่อข่าวสาร หมายถึง ระยะเวลาของการรับรู้ข่าวสารกับการตอบโต้ข่าวสาร ถ้าระยะเวลาที่ใช้นัี้นมีมากหรือมีความล่าช้ามาก ย่อมแสดงว่าระบบการเมืองนั้นขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย

- ความสามารถในการตอบโต้ข่าวสารที่ได้รับ คือ ขนาดหรือปริมาณของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมของระบบการเมือง เพื่อตอบสนองต่อข่าวสารที่ได้รับเข้ามา ถ้าระบบการเมืองไดสามารถเปลียนแปลงแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่ได้รับข่าวสารมาได้มากก็แสดงว่าระบบการเมืองนั้นมีความสามารถสูง

- ความสามารถของระบบในการคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับ ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมาย

    ดอยท์ซ อธิบายว่า ประสิทธิภาพของระบบการเมืองแต่่ระบบขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง 4 ประการ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจัยทั้ง 4 กับโอกาสในการบรรลุเป้าหมายนั้น ไม่ได้เป็นไปในทิสทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าระบบการเมืองใดมีขนาดในการรับข่าวสาร และมีความล่าช้าในการรับรู้ข่าวสารและปฏิบัติต่อข่าวสาร แล้ว  โอกาสในการบรรลุเป้าหมายจะน้อย แต่ถ้รระบบการเมืองมีความสามารถทีจะตอบโต้ต่อข่าวสารที่ได้รับ และมีความสามรถในการคาดคะเน มากแล้ว ดอกาสในการบรรลุเป้าหมายย่อมมีมากไปด้วย

               
       การสื่อสารทางการเมือง หัวใจสำคัญ คือ เนื้อหาสาระที่จะส่งออกไปสู่สาธารณะเพื่อทำให้คนสนใจและไม่เบื่อหน่ายการเมืองไม่เพียงแต่ต้องการสร้างความนิยมทางการเมืองให้กับนัการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ชุดของความรู้ที่จะสื่อสารออกไปจึงควรมีการจัดการให้เป็นระบบ และลำดับความสำคัญเพื่อกระตุ้นพลเมืองให้สนใจติดตาม ตื่นตัว และเกาะติดงานการเมืองอย่างต่อเนื่อง
     
           

model

 โมเดล หนึ่งๆ เป็นเสมือน Approach ที่ได้รับบการกลั่นกรองและมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมาก ลักษณธะสำคัญๆ ที่โมเดล ต่างไปจาก แอปโพช อยู่ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสังกัปหรอพจน์ที่ใช้จะปรกกฎให้เห็นได้ชัดเจน Approacn เ็ป็นชุดหนึ่ง ๆ ของสังกัปและมองกันว่าสังกับเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบใด ๆ แต่สภาพของความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันนี้จะไม่ปรากฎชัด ส่วน โมเดล นั้นจะระบุชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างพจน์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ไว้...

     Model ที่สำคัญและใช้กันมากในการศึกษารัฐศาสรตร์ซึ่งมีอยู่ 3 โมเดลด้วยกันคือ
อินพุช-เอาท์พุช โมเดล
ฟังค์ชั่น เดเวอรอฟเมนส์ โมเดล
อิสชู่ โปเครสซิ่ง โมเดล

      ตัวแบบ Input-Output นี้ในทางรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่พัฒนาตัวแบบนี้มาใช้ก็คือ เดวิด เอสตัน มีพื้นฐานมาจากแนวการวิเคราะห์เชิงระบบ ซึ่งศึกษาการเมืองจากแบบแผนของความสัมพันธ์ในระหว่างมนุษย์ด้วยกันในระบบการเมืองใดๆ การปะทะสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองนี้เป็นไปเพื่อในการแจกแจงทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมนั่นเอง
        นอกจากสังกัปของคำว่า "ระบบ"แล้ว ตัวแบบนี้ยังต้องอาศัยสังกัปของคำอื่น ๆ คือ "ปัจจัยนำเข้า" "ข้อเรียกร้อง" "การสนับสนุน"  "ปัจจัยผลผลิต" "การตัดสินใจ และ "การส่งข่าวสารย้อนกลับ" อีกด้วย

      กระบวนการเมืองจะเิริ่มต้นจาการที่มีข้อเรียกร้องจำนวนหนึ่งไหลเข้าสู่ระบบการเมือง คำว่าปััจจัยนำเข้า หมายถึง กิจกรรมและเหตุการณ์ทุกอย่างที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดการแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรของสังคมในรูปแบบใด ๆ ซึ่งปัจจัยนำเข้านี้แบ่งได้เป็ฯ 2 ประเภท คือข้อเรียกร้อง และการสนับสนุนขอ้เรียกร้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอโดยปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ ในสังคม เพื่อให้การแจกแจงทรพยากรของสังคมอยู่ในรูปแบบใด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มต้องการที่จะให้กลุ่มตนได้ประโยชน์สูงสุด

     การสนับสนุน หมายถึง พลังในรูปของการกระทำหรือทิศทางของความคิดที่ส่งเสริมระบบการเมืองนั้น ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น เสียภาษี เข้าร่วมพัฒนาท้องถ่ิน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม เป็นต้น การสนับสนุนนี้จะมุ่งกระทำต่อองค์ประกอบของระบบการเมือง - ระดับคือ การสนับสนุนผู้่มีอำนาจทางการเืองหรือรัฐบาล

      การวิเคราะห์ข้อเรียกร้องและการสนับสนุนที่นี้จะมุ่งประเด็นว่าระบบการเมืองสามารถที่จะดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพได้อย่างไรท่ามกลางแรงกดดัน หรือความตึงเครียด ที่เิกิดขึ้นมองว่า การเรียกร้องเป็นที่มีความตึงเครียดของสังคม ส่วนการสนับสนุนถือเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยดำิเินินการกับความตึงเครียดที่มีอยู่ ถ้าระบบไม่อาจสนองตอบต่อข้อเรียกร้องได้ การสนับสนุนที่ประชาชนพึงมีต่อระบบก็จะลดต่ำลง อ้างว่าสภาพและขนาดของการเรียกร้องของประชาชนจะอยู่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับปทัสถานทางวัฒนธรรมของระบบการเมืองนั้น ๆ ผู้นำทางเมืองตลอดจนประชาชนเองจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะจำกัดจำนวนและความเข้มข้นของข้อเรียกร้องด้วย
    ผลที่ได้จากการเรียกร้องและการสนับสนุนที่เข้าไปสู่เข้าไปสู่การพิจารณาของผู้ที่อำนาจตักสินใจในระบบการเมืองเรียดร้องปัจจัยผลผลิต ปัจจัยผลผลิตจะเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมโดยเป็ผลการตัดสินใจของผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง
       ส่วนการส่งข่าวสารย้อนกลับ  หมายถึงกระบวนการที่ระบบการเมืองตรวจสอบตนเองเกี่ยวกัยผลต่อเนื่องจากการออกปัจจัยผลผลิตไป ปัจจัยผลผลิตนั้นจะมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมของสังคมอย่างกว้างขวางบางคน บางกลุ่มอาจพอใจกับผลการตัดสินใจหรือปัจจัยผลผลิตนั้น ขณะที่บางกลุ่มอาจไม่พอใจ พวกที่พอใจก็จะสนับสนุนระบบเพิ่มขึ้น พวกที่ไม่พอใจก็อาจยื่นข้อเรียกเข้าไปใหม่อีก ตังนั้น ระบบการเมืองจะสามารถล่วงรู้ภึงลักษณะของการแปรเหลี่ยนของการเรียกร้องและการสนับสนุนที่เป็นผลมาจากการออกปัจจัยผลผลิตใด ๆ ไปได้ ระบบจำต้องสร้างกลไกที่จะช่วยป้อนข่าวสารคือสู่ระบบขึ้นมา กลไกเหล่านี้จะทำหน้าที่ส่งข่าวสารย้อนกลับ ประสิทธิผลของกระบวนการส่วข่าวสารย้อนกลับจะมีผลต่อความสำเร็จของระบบการเมืองใด ๆ  ที่จะดำิเนินการกับปัญหาท้าทายและความตึงเครียดที่เกิดขึ้อย่างมาก กระบวนการนี้จึงมีอิทธิพลยิ่งต่อแนวโน้มที่ว่าระบบจะคงสามารถดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและยืนหยัดอยู่ได้สืบต่อไป
        Function Developmental Model
ตัวแบบนี้ Almond and Powell ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้ชื่อแนววิเคราะห์ว่า Developmental Approach ซึ่งความจริงแล้วแนววิเคราะห์ของ Almond and Powell เป็นการผสมผสานกันระหว่างแนววิเคราะห์เชิงระบบ แนววิเคราะห์โครงสร้าง-หน้าที่ และแนววิเคราะห์เชิงพัฒนาการ
        ตัวแบบนี้ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของระบบการเมือง โดยที่ Almond กับ Powell ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าระบบการเมืองไว้ว่า "เป็นระบบของการกระทำให้ระหว่างกัน ซึ่งพบได้ในสังคมที่เป็นอิสระและจะทำหน้าที่สร้างความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน และปรับตัวโดยวิธีการใช้หรือขูว่าจะใช้กำลังซึ่งถือกันว่าชอบธรรม
       Almond and Powell อ้างว่าทุกระบบการเมืองจะทำหน้าที่เหมือนกันในประเด็นใหญ่ ๆ คือ
- สร้างสมรรถนะ ให้เกิดขึ้นกับระบบ ซึ่งสมรรถนะที่ทุกระบบจะต้องสร้างคือ
       การออกกฎกำหนดเกณฑ์ คือระบบสามารถควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกได้
       การดึงดูดทรัพยากร คือระบบสามารถระดมพลให้เข้ามีส่วนร่วมในเป้าหมายทางสังคมใด ๆ
       กรแจกแจงแบ่งสรร คือการแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมอย่างเป็ธรรม เป็นที่ยอมรับของบรรดาสมาชิก
       การสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่มต่างๆ ของสังคม
- แปรเปลี่ยน ปัจจัยนำเข้าให้เป็นปัจจัยผลผลิตโดยผ่านกระบวนการแปรเปลี่ยน กระบวนการนี้เกิดขึ้นในระบบการเมือง 6 ขั้นตอน
      การแสดงออกซึ่งผลประโยชน์
      การรวมกลุ่มของผลประโยชน์
      การสร้างกฎกำหนดเกณฑ์
      การนำกฎไปใช้
      การตีความตัวบท
      การติดต่อสื่อสาร
- หน้าที่ในการทำนุบำรุงและการปรับตัวของระบบ หน้าที่เหล่านี้ก็คือการให้การเรียนรู้ทางการเมือง และการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่ระบบ
     สรุปได้ว่า เสนอให้ศึกษาพัฒนาการของระบบการเมืองโดยให้ความสำคัญที่สัมพีนธภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ๆ มา ๆ ระหว่างหน้าที่ทั้งสาม ประการ และที่สัมพันธภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ๆ มาๆ ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของระบบการพัฒนาทางการเมืองนั้นจะข้องเกี่ยวกับการแปรเหลี่ยนจากสถานการณ์ซึ่งระบบมีโครงสร้างไม่มากนักและต้องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง และยังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนานั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมืองโครงสร้างที่มีอยู่ในระบบการเมืองใด ๆ ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาหรือดำเนินการกับสิ่งท้าทายที่เข้าสู่ระบบได้ถ้าไม่ปรับโครงสร้างให้ซับซ้อนขั้นกว่าเดิม

     Issue-Processing Model
Model นี้ได้รวมเอาบางส่วนของซิสเต็มแอปโพช และ ดีซิชั่น เมกกิ้ง มาใช้ โมเดล ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากมองกันว่าค่อนข้างจะซับซ้อน ยุ่งยากกว่าสองโมเดลที่ผ่านมา
       โดยให้นิยามระบบการเมืองว่า เป็นชุมชนของปัจเจกชนที่ดำเนินการหรือพยายามที่จะหาคำตอบและกระทำการบางอย่างต่อประเด็นปัญหาของสังคม ชุมชนเกิดขึ้นมาได้และอยู่รอดพต่อไปได้ต้องอาศัยบุคคลที่เข้ามาดำเนินการให้บรรลุสู่เป้าหมายใด ๆ ดังนั้นชุมชนจึงมีฐานะมาจากแนวคิดเรื่องความสมานฉันท์ของเป้าหมาย ชุมชนรูปแบบหนึ่งก็คือระบบการเมือง อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองยังต้องขึ้นอยู่กับการดำรงอยู่ของความไม่สมานฉันท์จะปรากฎให้เห็นในรูปของประเด็นปัญหา ดังนั้นระบบการเมืองจะแสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์ในเป้าหมาย แต่ขณะเดียวกันความไม่สมานฉันท์ใรกระบวนการที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะปรากฎอยู่ด้วย

           นอกจากสังกับปเรื่องประเด็นปัญหา และเป้าหมาย แล้ว โมเดลนี้ยังให้ความสำคัญกับสังกัปเกี่ยวกับปัญหาทางการเมือง ลีลาในทางการเมืองการตัดสินนดยบายและนโยบายอีกด้วย อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่า นี้อาศัยสังกัปของคำว่าระบบ เนื่องจากเป้าหมายประเด็นปัญหา ปัญหา ลีลา และพฤติกรรม ต่างก็เป็นสังกัปที่เกี่ยวกับระบบทั้งสิ้น

       เสถียรภาพ หมายถึง การที่ระบบเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบหรือแนวทางที่คาดคิดไว้
       ความยืดหยุ่น หมายถึง ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้อย่างดี นั้นก็คื อเป้าหมายเรื่องความยืดหยุ่นและเสถียรภาพจะเป็นตัวทำให้กิจกรรมของระบบการเมืองเป็นไปในทิศทางที่ต่างกัน  "สิ่งที่ตรงข้ามในเงื้อนเวลา" นั้นคือเสถีียรภาำพ เป็นลักษณะของระบบที่มีแนวโน้มว่าจะได้มาหรือสัมฤทธิผลได้ในระยะยาว ขณะที่ความยืดหยุ่นนั้นหมายถึงการสนองต่อแรงผลักหรือการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น ๆ ได้ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้สูงขึ้น หมายยถึงเสถียรภาพจะลดน้อยลง
      โมเดลนี้ เชื่อว่าระบบกาเมืองใด ๆ อาจไม่ตระหนักรู้ไม่ให้ความสำคํยกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งหรือหลายเป้าหมาย แต่ระบบก็สามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่ีงจะประเมินความสัมฤทธิผลเชิงสัมพันธ์ของระบบการเมืองจากระดับความสามารถในการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพเชิงพลวัตรในระหว่างเป้าหมายพื้นฐานทั้งสี่ประการในแง่อุดมคตินั้นทุกระบบการเมืองจะต้องสนใจยิ่งต่อเป้าหมายพื้นฐานทุกเป้าหมายและในทุกเวลาด้วย แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแรงผลักจากสภาพแวดล้อมทรัพยากรทางวัตถุ และบุคคลก็มีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นผลให้ระบบมักจะไใ้ความสนใจกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง หรือสองเป้าหมายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆเท่านั้น
       สภาพของเป้าหมายของระบบการเมืองจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของประเด็นปัญหาที่ระบบนั้นจะดำเนเนการ ซึ่งได้แบ่งประเด็นปัญหาทางการเมืองออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ ลักษณะแรกเป็นการมองปัญหาในเชิงปัญหาหลัก ปัญหาจากสภาพแวดล้อมประเด็นปัญหาหลัก เป็นประเด็นปัญหาที่อุบัติขึ้นดำรงอยู่และมีผลต่อระบบเป็นเวลานาน เช่นประเด็นปัญหาว่าจะทำอย่างไรอุุปทานด้านเครื่องบริโภคจึงจะมีดุลภาพกับจำนวนประชากร เป็นต้น อีกประเด็นปัญหาที่อุบัติขึ้นในช่วงสั้น ๆ บางที่เป็นประเด็นที่ไม่เคยเกิดมาก่อนและอาจไม่เกิดขึ้นมาอีกเลยก็ได้ นั้นคือในการที่จะทราบว่าประเด็นปัญหาใดเป็น Fundamental หรือ Circumstantial ให้ดูที่ประวัติความเป็นมาของผัญหาว่่ามีมานานเพียงใด
      ลักษณะที่สอง เป็นการมองปัญหาในรูปของสาระเรื่องราว กระบวนการประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสาระเรื่องราว เป็นปัญหาจากคำถามว่า "อะไร" ซึ่งเป็นเรื่องของเนื้อหาที่จะต้องดำเนินการ ส่วนประเด็นปัญหาเชิงกระบวนการเป็นปัญหาจากคำถามว่า "อย่างไร" ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับวิธีการที่ควรจะดำเนินการ
       อย่างไรก็ตาม บางประเด็นปัญหาอาจอยู่ระหว่างกลางของรูปแบบดังกล่าว ก็ได้ โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาบางเรื่องเท่านั้นที่จัดว่าเป็น Fundmental ทั้งหมดหรือเป็น Circumstantial ทั้งหมด โดยทั่งไปแล้วจะตกอยู่ระหว่างสองลักษณะข้างต้นเช่นเดียวกันบางปัญหาเท่านั้นที่จัดเป็นปัญหาเรื่องสาระเรื่องราวทั้งหมด หรือเป็นปัญหาเรื่องกระบวนการทั้งหมด
        ประเด็นที่น่าสนใจในการนำโมเดลนี้มาใช้อยู่ที่ว่าประเด็นปัญหาใด ๆ อาจแปรเปลี่ยนลักษณะพ้อนฐานของมันเองได้ขณะที่อยู่ในกระบวนการของการดำเนินการ นั้นคือ ขณะที่ประเด็นปัญหาผ่านขั้นตอนจากการก่อตัวไปสู่การดำเนินการพิจารณา มีการตัดสินใจและมีผลการตัดสินใจออกมานั้น ประเด็นปัญหาอาจเปลี่ยนไปหลายรูปแบบ แต่สาระของประเด็นจะคงอยู่เหมือนเดิม

      โดยสรุป โมเดลที่ใช้ในการศึกษาการเมืองซึ่งมีอยู่มากมายนั้น ดูเหมือนว่าจะมีบางอย่างเหมือน ๆ ดัน คือ
1 ให้ความสำคัญกับอิทธิพลที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมพีงมีต่อการเมือง
2 ใช้สังกัปในการมองการเมืองว่าเป็นการกระทำหรือพฟติกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับการสนองตอบต่อความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
3 มองกิจกรรมการเมืองในลักษณะที่เป็นระบบ และจะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเป้าหมายของระบบการเมือง
4 จะให้ความสนใจต่อปัจจัยที่จำเป็นของระบบการเมืองในการทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างประสิทธิผล
5 จะมองว่ากิจกรรมของกลุ่มในระบบการเมืองมีอิทธิพลมากระดับหนึ่ง
6 จะนำเสนอในลักษณะที่ว่าสามรรถนะจะนำมาใช้กับสภาพทั่ว ๆ ไปในการศึกษาการเมือง นั่นคือสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับการเมืองไมว่าจะอุบัติขึ้น ณ ที่ใด

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

Liao

     อาณาจักรเหลียวเกิดขึ้นในยุค ห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักรของจีน ซึ่งชาวเหลียวเป็นหนึ่งในสิบอาณาจักร ทางลุ่มแมน้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปซึ่งเป็นรัฐอิสระ




     เผ่าซีตานเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจจ้นตีสต์ศตวรรษที่ 10 ชนเผ่าซีตานรวมตัวเป็นอาณาจักรขึ้น ใช้ระบบการปกครองแบบชาวฮั่นและประดิษฐ์อักษรใช้เอง ต่อมาได้ครอบครองเขตปกครองเยียนและอวิ๋น 16 ท้องจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรเหลียว

      เหลี่ยวได้ทำการขยายอาณาเขตลงมาทางใต้เข้าบุกโจมตีตอนเหนือของอาณาจักรโครยอ ในปีค.ศ. 983
      จักรพรรดิเหลียวเซิงจง จักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เหลียว ขึ้นครองราชขณะพระชนม์เพียง 11 พรรษาเนืองจากยังทรงพระเยาว์ เซี่ยวไทเฮาจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในขณะนั้นกองทัพซ่งในราชสมัยจะกพรรดิซ่งไท่จ่ง (เจ้าอวงอี้)กำลังรุกรานเมืองหลวงทางใต้ของเฟลียว คือ กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน

2capi5gl4ca9ymxl6cagp6400cauhnk33cagsddy8cakhw4nyca4iem0dcait5ozgcagamndocalpr4ndcamqr3qgcaqza32fcawvnerscaboptxgca1ehjthcavcdqskca63b0b7ca4vn6m2ca2smjxc
    
ปี 1004 ทรงนำกองทัพเหลียวขนาดใหญ่บุกเข้ามายังดินแดนของราชวงศ์ซ๋ง โดยทรงตั้งค่ายนอกเมืองแห่งหนึ่ง ซึ๋งตั้งอยู่ทางใกล้เมืองไคฟง ซึ่งผลของสังครามจบลงด้วยการทำสนธิสัญญา ซึ่งการสงครามครั้งนี้ได้ถือกำเนิด “หยางไร้เทียมทาน” ผู้มีฝีมือทวนอันลือลัน และเป็นที่มาของเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์คือ ขุนศึกตระกูลหยาง
      ในรัชสมัยนี้เป็ยยุคทองของราชวงศ์เหลียวอย่างแท้จิรง มีความเจริญทุกด้านเข้าสู่ต้าเหลียว(ต้า เเปลว่ายิ่งใหญ่) มีระบบการคัดเลือกขุนนาง และพระพุทธศาสนา เผยแพร่เข้าสู่อาณาจักรต้าเหลียว



m3

  ฮ่องเต้าเซิงคงยังรุกราน อาณาจักโครยอ ถึงสามครั้ง โดยไม่แน่ใจในนโยบายการต่างประเทศของทางโครยอและเกรงว่าจะไปเข้ากับพวกซ่ง
     ราชวงศ์โครยอ ก่อตั้งในค.ศ. 918 และรวบรวมคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยซิลลา  คำว่า “โครยอ” มาจาก “โคกูรยอ” หนึ่งในสามอาณาจักรโบราฯของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า “โคเรีย” ในภาษาอังกฤษ และ “เกาหลี”ในภาษาไทย

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

Jin Empire

 

image (2)


  ราชวงศ์ซ่ง ในสมัยพระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมา แตะตัดทอนอำนาจท1190260707หาร การทหารจึงอ่อนแด ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรื่องมา การศึกษาของประชาชนดีขึ้น

      เปาบุ้นจิ้นก็ถือกำเนิดในยุคสมัยจักรพรรดิซ่งเหยินจง ซึ่งอำนาจฮ่องเต้อ่อนแอ พวงกังฉินเป็นผู้ครองอำนาจ

jintiju     อาณาจักรจิน ต่อมาบรรพบุรุษแมนจู คือพวกจิน หรือกิม เข้าตีซึ่งสามารถเข้าตีได้ถึงเมืองหลวง คือ เมืองไคฟง การทั้งนี้เนื่องจากขุนนางกังฉินไปเข้ากับศัตรู และการทหารที่อ่อนแอ รวมทั้งความไร้ความสามารถของฮ่องเต้ ซ่งจึงจำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงลงมาทางใต้


20060613culture1โดย จักรพรรดิจินไท่จง ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีการร่วมมือกันทางทหารเนื่องจากการเดินทางค้าขายม้าระหว่างกัน โดยร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการในการ ที่เรียกว่า “พันธมิตรทางทะเล”
    อาณาจักรจินยังคงทำการรุกราน ราชวงศ์ซ่งแต่ไม่สำเร็จ จักพรรดิ์อาณาจักรจิจึงหันมาเสือนกาเจรจาสันติภาพกับราชวงศ์ซ่งใต้



    ในช่วงเวลาดังกล่าว “งักฮุย”ซึ่งเป็นลูกชาวนา รู้หนังสือบ้าง รูปร่างใหญ่โตกำลังมาก ชอบการต่อสู้  กังฟู(วิทยายุทธ)เป็นพิเศษ จึงสมัครเป็นทหารเพื่อปกป้องราชอาณาจักร มีนิทานเล่ว่า เพ่อใป้กำลังใจแก่งักฮุยในการปกป้องบ้านเมือง มารดางักฮุยจึงสักตัวอักษร 4 ตัว ไว้บนหลังงักฮุย “จิง  จง   เป้า   กั๋ว” แปลว่า “ใจ   ซื่อ   ตอบแทน   บ้านเมือง” ….แทนคุณชาติด้วยใจภักดี
   งักฮุยก้าวหน้าในการเป็นทหาร ปี ค.ศ. 1140 อาณาจักรจินรุกรานราชวงศ์ซ่งอีกครั้ง กองทัพตระกูลงัก ชนะข้าศึกอย่างราบคาบ ทำการจะบุกต่อไป ได้มีราชโองการให้ “ถอนกำลังกลับ”12 ฉบับภายในวันเดียว งักฮุยจึงจำใจถอนกำลังกลับ หลังจากนั้นไม่นาน ราชวงศ์ซ่งกับอาณาจักรจินก็เป็นการเจรจา งักฮุยจึงกลายเป็นหนามยอกอกของทั้งสองฝ่าย จึงโดนข้อหากบฎ โดยอัครมหาเสนบดีผู้โปรดปรานของจักรพรรดินั้นเองเป็นผุ้สร้างข่าวลือ งักฮุยถูกประหารชีวิต เมืองอายุเพียง 39 ปี
GenghisKhan


การเติบโตมองโกล เตมูจินเมื่อรวมชาววมองโกลเป็นปึกแผ่น แล้วจึงสถาปนาตนเองเป็นข่าน นามว่า เจงกิสข่าน การปรากฎตัวของเจงกิสข่านทำให้ราชวงศ์ซ่งประเมินสถานการใหม่
   ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรจินและราชวงศ์ซ่งเป็นไปในรูปแบบการทูตและการทหารมี กล่าวคือเมืองอาณาจักรจินกำลังมีข้อพิพาทชายแดนกับอาณาจักรซีเซี่ย จักรพรรดิซ่งหนิงจง ก็ประกาศสงครามกับอาณาจักรจิน
    การปรับท่าทีของราชงศ์ซึ่งเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเจงกิสข่านเริ่มทำสงครามกับอาณาจักจิน ราชวงศ์ซ่งยุติการส่งเงินรายปี ทำให้อาณาจักจินไม่พอใจและทำสงครามกับราชวงศ์ซ๋ง จึงเป็นการทำศึกสองด้าน  กระทั้งมองโกลส่งทูตยังราชวงศ์ซ่งเพื่อทำสงครามกำจัดอาณาจักรจิน ราชวงศ์ซ่งจึงให้ความร่วมมือ โดยหวังว่ชัยชนะจะทำให้ตนามารถเรียกดินแดภาคเหนือที่อาณาจักรจินยึดไปกลับคืนมา

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

triangle

 
  ขณะที่จีนอยู่ในช่วงความแตกแยกนั่น ชาวซี่ตันซึ่งอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแถบมองโกเลียใน รวมตัวดันเป็นอาณาจักรเหลียวและสภาปนาตนเป็นข่าน ก่อนยกตนเองเป็นจักรพรรดิตามแบบจีน
    อาณาจักรเหลียวเิร่มรุกราภาคเหนือของจีน โดยบีบให้จักรพรรดิราชวงศ์สิ้นยุคหลังยกดินแดนสิบหกหัวเมืองแถบเยียนจิง ซึ่งอยู่ใต้แนวกำแพงเมืองจีนให้แก่อาณาจักรเหลียวได้สำเร็จ


อารยชนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของราชวงศ์ซ่งคือ อาณาจักซีเซี่ยของชาวตังกุต ซึ่งเป็นชนเชื้อสายทิเบตที่อาศัยอยู่ในแถบที่ปัจจุบันเรียกว่า มณฑลกานซู่ และเขตปกครองเซี่ยหุยพวกเขาสะสมความมั่นคั่งจากการเป็นคนกลางในเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียกลางโดยในยุคราชวงศ์ถัง ผู้นำของชาวตังกุตได้รับแต่งตั้งจากจักรพรรดิจีนให้เป็นผู้เป็นผู้คุมเมืองหน้าด่าน ดูแลความสงบเรียบร้อยทางทิศตะวันตก และเมื่อถึงยุคราชวงศ์ซ่ง ผู้นำของชาวตังกุตได้ส่งคณะทูตมาถว่ายบรรณการต่อทั้งจักรพรรติราชวงศ์ซ่ง ผู้นำของชาวตังกุตได้ส่งคณะทูตมาถวายบรรณาการต่อทั้งจักรพรรดิราชวงศ์ซ่งและอาณาจักรเหลียว ปัญหาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1038 เมื่อหยวนเฮ่า ผู้นำของชาวตังกุตได้ส่งคณะทูตมาถวายบรรณาการต่อทั้งจักรพรรดิ์ราชวงศ์ต้นราชวงศ์ซ่ง ผู้นำของชาวตังกุตประกาศสถาปนาอาฯาจักรต้าเซี่ย และตั้งตนเป็นจักรพรรดิตามแบบจีน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ซิงวิ๋งหรือ ในปัจจุบันคือหบินชวส รวมทั้งไม่ยอมรับความสัมพันธ์นระบบบรรณการกับราชวงศ์ซ่งอีกต่อไป ราชวงศ์ซ่งมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้ในทันที่ เพราะลำพังการทำสมาธิสัญญาฉานยวนซึ่งยอมรับความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการกับราชวงศ์ซ่งอีกต่อไป  ราชวงศ์ซ่งมีปฏิกริริยาต่อเรื่องนี้ในทันที เพราะลำพังการทำสนธิสัญญาฉานยวนซึ่งยามรับว่าจกรพรรดิเหลียวเป็น "โอรสแห่งสวรรค์" อีกองค์หนึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ราชวงศ์ซ่งจึงส่งกำลังเข้าไปปราบปรามหยวนเฮ่าเมื่อ ค.ศ. 1040 แต่ไม่สำเร็จ
      เมื่อสถาปนาราชวงศ์ซ่งแล้ว ทางภาคเหนือของจีนมีภัยคุกคาม ภาคใต้ยังไม่มีเอกภาพ จึงทรงดำเนินนโยบาย(ตามคำแนะนำของอัครเสนาบดี) "ภาคใต้ก่อนภาคเหนือ"
      เมื่อราชวงศ์ซ่งสามรถปราบปรามราชวงศ์อั่นเหนือสำเร็จแล้วปิดฉากยุค"ห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร" อย่างถาวร ราชวงศ์ซ่งจึงเปลี่ยนนโยบายที่มีต่อเหลียวโดยพยายามใช้กำลังทหารยึดสิบหกหัวเมืองทางภาคเหนือคืนมา การทำสงครามยืดเยื้อ กระทั่งอาณาจักรเหลียวบุกเข้ามาเกือบประชิดราชธานีราชวงศ์ซ่ง จึงยอมทำข้อตกลงสันติภาพที่เรียกว่า "สนธิสัญญาฉานยวน"
      อนารชนอีกกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของราชวงศ์ซ่งคือ อาณาจักรซีเซี่ยของวาวตังกุด ซึ่่งเป็นชนเชื้อสายทิเบตที่อาศยอยู่ในแถบที่ปัจจุบันเรียกว่ามณฑลกานซู่ และเขตปกรองตนเองหนิงเซี่ยหุยโดยสะสมความมั่งคั่งจากากรเป็นคนกลางในเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียกลางดดยในยุคราชวงศ์ถัง ผู้นำของชาวตังกุตได้รับแต่ตั้งจากจักรพรรดิจีนให้เป็นผู้คุมเมืองหน้าดาน...ผู้นำตังกุตประกาศสถาปนาอาณาจักรต้าเซี่ย และตั้งตนเป็นจักรพรรดิตามแบบจีน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ซิงชิ่ง

     ความพ่ายแพ้ของราชวงศ์ซ่งต่ออาณาจักรซีเซี่ยทำให้อาณาจักรเหลียวฉวยโอกาสเรียกร้องผลประโยชน์จากราชวงศ์ซ่งมากขึ้น โดยใน ค.ศ. 1042 จักพรรดิเหลียวซิงจง ส่งทูตมาเจรจา ของให้ราชวงศ์ซ่งยกดินแดนกวาน ซี่งเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ตอนใต้ของปักกิ่งให้แก่อาณาจักรเหลียวซึ่งราชสำนักซ่งไม่ยินยอมยกให้ แต่ยินยอมส่งเงินรายปีให้แก่อาณาจักรเหลียวเพิ่ม..โดยแลกเปลี่ยนกับการที่อาณาจักรเหลียวจะช่วยบีบให้อาณาจักรซีเซี่ยยอมเป็นรัฐบรรณาการของราชวงศ์ซ่งต่อไป เมื่อได้ผลประโยชน์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในต้น ค.ศ. 1043 จักรพรรดิเหลียวชิงจงจึงส่งทูตไปของให้หยวนเฮ่ายอมอ่อนน้อมต่อราชวงศ์ซ่ง ซึ่งหยวนเฮ่ายื่นข้อเสนอว่าตนเองยินดีนับถือจักรพรรคิซ่งเหญินจง เป็นพระบิดา แต่จะไม่ยอมให้อาณาจักรซีเซี่ยเป็นรัฐบรรณาการของราชวงศ์ซ่ง...
   
   นักการทูตคนสำคํยของราชวงศ์ซ๋งเป็นผู้นำในการคัดค้านข้อเสนอของหยวนเฮ่าโดยให้เหตุผลว่า หากราชวงศ์ซ่งไม่สามารถบีบให้อาณาจักณซีเซี่ยยอมเป็นรัฐบรรณาการ อาณาจักรเหลี่ยวก็จะยิ่งตระหนักถึงความอ่อนแดของราชวงศ์ซ่งและฉวยโอการเรียกร้องผละประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น และหากราชวงศ์ซ่งยอมรับว่าอาณาจักรซีเซี่ยเป็นรัฐที่มีสถานะเท่าเี่ยกับตน จักรพรรดิเหลียวก็อาจอ้างได้วาในเมืออาณาจักซีเซี่ยเป็นรัฐบรรณการของอาณาจักเหลียว ราชวงศ์ซ่งซึ่งมีสถานะเที่ยเท่ากับอาณาจักรซีเซี่ยก็ความเป็นรัฐบรรณการของอาณาจักรเหลียวเช่นกัน...
      การปฏิเสธของราชวงศ์ซ่งสร้างความไม่พอใจแก่หยวนเฮ่าเป็นอย่างมาก เขาได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จากการนี้คือ อาณาจักรเหลียว ทั้่งนี้เพราะภัยคุกคามจากซีเซี่ยทำให้ซ่งจำต้องยอนยอมต่าข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของเหลียว ขณะที่ซีเซี่ยไม่ได้อะไรเลย เขาจึงหันมาดำิเนินนธบายบั่นทอนอำนาจของอาณาจักเหลียว ..  จักรพรรดิเหลียวขิงจง ไม่พอพระทัยอยางยิ่งและได้แจ้งให้ราชสำนักซ่งทราบวว่าพระองค์จะใช้กำลังทหารเข้าจัดการกับซีเซี่ย และขอให้ราชวงศ์ซ่งงดเว้นการทำข้อตกลงสันติภาพใดๆ กับหยวนเฮ่า...

     ความสัมพันธ์ทากการเมืองและสงครามแบบสามเส้านี้จบลงด้วยการใช้เงินแลกกับสันติภาพ แต่หากพิจารณาความสัมพะนธ์ ซ่ง-เหลียว-ซีเซี่ย แล้วการทำข้อตกลงกับซีเซียส่งผลดีต่อราชวงศ์ซ่งเป็นอยางยิ่ง เพราะเท่ากับว่าราชวงศืซ่งมีข้อตกลงสันติภาพกับทั้งอาณาจักรเหลียวและอาณาจักรซีเซี่ย ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเป็นไปแบบไม่ราบรื่น มีการทำสงครามกันเป็นระยะโดยไม่ต้องกังวลเรื่องที่เหลียและซี่เซี่ยจะรวมตัวกันมาบุกซ่งจึงส่งผลให้เศษฐกิจราชวงศ์ซ่งได้ดุลทั้งสองอาณาจักร..



                                                  หากต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม    Kositthiphon.blogspot.com



Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...