วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Communication Approach


      "การสื่อสารเป็นสายใยของสังคม ซึ่งโึครงของระบบการสื่อสารเปรียบเทียบกับโครงกระดูกของร่างกาย เนื้อหาของการสื่อสาร คือสิ่งที่มนุษย์ใช้ติดต่อกัน การไหลของข่าวสารจะกำหนดทิศทางและความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้น จึงอาจจะวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมทุกชนิดในแง่ของโครงสร้าง เนื้อหา และการไหลของการสื่อสารได้" ลูเซี่ยน พาย นักรัฐศาสตร์
 
     ลักษณะการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร  เป็นการศึกษาตามแนวทางของสำนักพฤติกรรมศาสตร์ โดยมุ่งพิจารณาที่กระบวนการว่ามีการดำเนินการไปอย่างไรและมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจการเมืองโดยอาศัยรูปแบบของกระบวนการติดต่อสื่อสารเป็นประเด็นสำคัญ

             ความหมายและองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร

- การสื่อสารเป็นการสร้างความร่วมกันและความเหมือนกัน
- การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนสัญญาข่าวสารระหว่างบุคคล อันก่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้น
- การสื่อสารเป็นศิลปะการถ่ายทอดข่าวสาร ความคิดเห็น ทัศนคติ จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่่่ง
- การสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านช่องทางซึ่งสามารถนำสารไปถึงผู้รับได้
     ดังนั้น การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อความเข้าใจตรงกัน
     ลักษณะของการสื่อสาร จึงเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล ซึ่งการแลกเปลี่ยนดังกล่าว ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานของบุคคล ความสัมพันธ์ของบุคคลและสภาพแวดล้อมของบุคคลด้วย
     การสื่อสารมีลักษณะกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารจึงได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อหรือช่องทางและผู้รับสาร ดังจะเห็นได้จากตัวแบบการะบวนการสื่อสารพื้นฐานดังนี้

 องค์ประกอบของการสื่อสาร

   - ผู้ส่งสาร เป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารหมายถึงแหล่งกำเนิดของสาร โดยที่ผู้ส่งสารอาจจะเป็นบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปที่กระทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับผู้อื่น โดยจัดส่งข่าวสารไปตามสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง

   - สาร หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่กระตุ้นความหมายให้กับผู้รับเป็นข่าวสารที่บุคคลมุ่งแลกเปลี่ยนกันในกระบวนการสื่อสารที่มุ่งจะแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดผลในสิ่งบุคคลปรารถนา หรือเป็นสาระเรื่องราวที่ส่งออกไปจากผู้สื่อสารถึงผู้รับสาร อาจจะเน้นความคิด หรือเรื่องราวใดๆ ที่ส่งผ่านไปตามสื่อได้ สารอาจจะเป็นข้อความ คำพูด รูปภาพ สัญลักษณ์หรือกริยาท่าทางก็ได้

  - ช่องทางหรือสื่อ เป็นสิ่งที่จะนำสารจากผุ้ส่งไปยังผุ้รับ โดยอาจจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย เช่น คำพูด หรือเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน ประกอบด้วยวัสดุ.. โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งสื่อออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อมวลชน และสื่อบุคคล อันหมายถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล

  - ผู้รับสาร คือบุคคลที่รับข่าวสารจากแหล่งสารและเป็นจุดหมายปลายทางที่สารส่งไปถึง ซึ่งผู้รับสารอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันเป็นบุคคลหลายคน หรือเป็นกลุ่มคนจำนวนมากก็ได้

  - ผลกระทบ เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วจะมีการแปลความหมายของสารนั้น

  - ผลย้อนกลับ ฟีดแบ็ก ประกอบด้วย สารที่ผุ้รับได้แสดงออกเพื่อให้ผู้ส่งได้ทราบถึงผลของสารที่ผู้ส่งได้ส่งไปให้ผู้รับ กล่าวคือ ผลย้อนกลับเกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งสารแปรเปลี่ยนมาเป็นผู้รับสาร โดยเฉพาะสารใหม่ที่เป็นผลย้อนกลับมานี้ เป็นปฏิกิริยาของสารเดิมที่ผู้ส่งสารได้ส่งออกไปยังผุ้รับสารมาแล้วนั้นคือการย้อนกลับ


    การสื่อสารกับระบบการเมือง

ทฤษฎีระบบของ เดวิด อิสตัน ในทุกระบบการเมือง จะประกอบด้วยระบบย่อยเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษาและระบบราชการ ซึ่งรวมกันเป็นระบบใหญ่ คือ ระบบการเมือง ในแต่ละระบบย่อยดังกล่าว มักจะจัดอยู่ในวงจำกัด ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีระบบแล้ว จะเห็นว่าประชาชนในฐานะเป็นผู้เรียกร้อง และสนับสนุน ต่อระบบการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างปกติหรือมีเสถียรภาพ แต่การขาดประสิทธิภาพของปัจจัยนำเข้าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น หรือขาดเสถียรภาพและถ้าหากระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น หรือขาดเสถียรภาำพและถ้าหากระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลได้แล้ว ก็จะเกิดความไร้ประสิทธิภาพทางการเมือง จนทำให้เกิดการแตกสลายของระบบได้ในที่สุด

       ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากประชาชนแสดงบทบาทเน้นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ปัจจัยนำเข้าดังกล่าว ได้แก่ การเรียกร้องและการสนับสนุน จึงเป็นข่าวสารที่จะเข้าไปสู่ตัวระบบการเมือง อันได้แก่ รัฐบาล หรือผู้มีอำนาจทางการเมือง ที่เป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจและกำหนดนโยบายจะเป็นส่วนสำคัญในการรับข่าวสารเหล่านั้นออกมา ในรูปของการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่างๆ ซึ่งข่าวสารอาจจะมีที่มาจากภายในระบบหรือภายในรัฐนั้น เช่น การขึ้นราคาสินค้าของบริษัทผู้ผลิต การชุนนุมประท้วงของกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น หรืออาจจะมาจากกระบวนการเมืองอื่น ๆ รหือรัฐอื่น..
      จึงเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวสนใจที่พฤติกรรมทางการเมืองของระบบการเือง หรือองค์การทางการเมือง โดยพิจารณาจากกระบวนการสื่อสารและการตัดสินใจนั่นเอง แนววิเคราะห์นี้เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งเป้าหมายทั้งหลายของสังคมทั้งหมด และการตัดสินใจดังกล่าวนั้นสามารถบังคับได้ และสาระของการเมืองคือความพยายามของมนุษย์ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของสังคมที่วางไว้ นอกจากนี้ในทุกกระบวนการทางการเมืองจะต้องมีกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข่าวสาร กระบวนการเลือกสรรและเก็บข่าวสารและการเลือกใช้ข่าวสารที่ได้รับมาอีกด้วย มิฉะนั้น ระบบการเมืองก็ไม่อาจจะคงอยู่ได้ หรือไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารทางการเมือง
เมื่อหันมาพิจารณาถึงความหมายของคำว่า การสื่อสารทางการเืมืองก็จะพบว่ามีผู้ให้ความหมายหลายท่าน แต่พอจะสรุปดังนี้  การสื่อสารทางการเมืองก็คือ กระบวนการความเข้าใจร่วมกันในทางการเมือง
        ในอดีตที่ผ่านมานักรัฐศาสตร์คนสำคัญหลายท่าน ได้พยายามสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการเมืองและกระบวนการต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อการทำความเข้าใจในเรื่องของการเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้


การสื่อสารกับการตัดสินใจทางการเมือง คาร์ล ดอยท์ช ได้เสนอแนะว่า การตัดสินใจอาจจะเกิดขึ้นในรูปของการสื่อสารได้ โดยที่การตัดสินใจนั้นจะต้องอยู่บนฐานของข่าวสารที่ได้รับและเมือตัดสินใจแล้ว จะเกิผลกระทบเป็นผลย้อมกลับไปสู่แหล่งข่าวสารข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง

      สำหรับกระบวนการตัดสินใจนแง่ของการไลของข่าวสาร มีส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น ช่องทางในการสื่อสาร ขนาดของข่าวสารที่เข้ามา และความสามารถในการับข่าวสาร
       ช่องทางในการสื่อสารที่สำคัญได้แก่ สื่อมวลชน หน่วยงานของรัฐพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ รวมทั้งการติดต่อผ่านตัวบุคคล ซึ่งแาจจะเป็นช่องทางการติดต่อแบบเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ได้
     ขนาดของข่าวสารที่เข้ามา คือ จำนวนของข่าวสารที่หลั่งไหลเขามาสู่ระบบการเมืองในแต่ละช่วงเวลา
    ความสามรถในการับข่าวสาร ระบบการเมืองจะมีความสามารถในการรับข่าวสารที่ระบบนั้นมีอยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด และมีกี่ประเภท ถ้ามีช่องทางจำนวนมากและมีปลายประเภท ระบบการเมืองก็จะมีความสามารถในการับข่าวสารสูงมาก ซึ่งจะทำให้ระบบการเมืองมีโอกาสได้ล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าระบบการเมืองที่มีความสามรถน้อย....


     องค์ประกอบสำคัญในการวัดความสามารถในการสื่อสาร และควบคุมของระบบการเมืองอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการใช้ขอ้มูลหรือประสบการณ์ในอดีตที่เก็บไว้มาใช้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นอีกในลักษณะเดียวกัน
     ผลที่ได้จากการตัดสินใจจะเกิดผลกระทบในแง่ของการยอมปฏิบัติตาม ประิสิทธิผล และอำาจหน้าที่ ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ
       การตัดสินใจมีผลในแง่ของการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมบุคคลอื่น ๆ ให้ทำตามในสิ่งที่ผู้ตัดสินใจต้องการ
    ในการที่จะวินิจฉัยว่า การตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใดนั้น ให้พิจารณาดูที่ผลย้อนกลับของข่าวสารที่เข้าสู่ตัวระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลย้อนกลับในทางลบ อันเป็นผลที่เกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามกับที่ผุ้ตัดสินใจมุ่งจะให้เกิดขึ้น

         ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ในกระบวนย้อนกลับทางลบได้แก่

-ปริมาณและความเร็วของข่าวสารที่ไหลเข้าสู่ระบบ หมายถึงข่าวสารที่กระบวนการย้อนกลับส่งเข้ามา เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถของระบบนั้นกล่าวคือ ถ้าข่าวสารเข้ามามากในขณะที่ระบบมีความสามรถไม่สูงพอ การที่จะให้บรรลุเป้าหมายย่อมจะกระทำได้ยาก

- การตอบสนองของระบบที่มีต่อข่าวสาร หมายถึง ระยะเวลาของการรับรู้ข่าวสารกับการตอบโต้ข่าวสาร ถ้าระยะเวลาที่ใช้นัี้นมีมากหรือมีความล่าช้ามาก ย่อมแสดงว่าระบบการเมืองนั้นขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย

- ความสามารถในการตอบโต้ข่าวสารที่ได้รับ คือ ขนาดหรือปริมาณของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมของระบบการเมือง เพื่อตอบสนองต่อข่าวสารที่ได้รับเข้ามา ถ้าระบบการเมืองไดสามารถเปลียนแปลงแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่ได้รับข่าวสารมาได้มากก็แสดงว่าระบบการเมืองนั้นมีความสามารถสูง

- ความสามารถของระบบในการคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับ ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมาย

    ดอยท์ซ อธิบายว่า ประสิทธิภาพของระบบการเมืองแต่่ระบบขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง 4 ประการ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจัยทั้ง 4 กับโอกาสในการบรรลุเป้าหมายนั้น ไม่ได้เป็นไปในทิสทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าระบบการเมืองใดมีขนาดในการรับข่าวสาร และมีความล่าช้าในการรับรู้ข่าวสารและปฏิบัติต่อข่าวสาร แล้ว  โอกาสในการบรรลุเป้าหมายจะน้อย แต่ถ้รระบบการเมืองมีความสามารถทีจะตอบโต้ต่อข่าวสารที่ได้รับ และมีความสามรถในการคาดคะเน มากแล้ว ดอกาสในการบรรลุเป้าหมายย่อมมีมากไปด้วย

               
       การสื่อสารทางการเมือง หัวใจสำคัญ คือ เนื้อหาสาระที่จะส่งออกไปสู่สาธารณะเพื่อทำให้คนสนใจและไม่เบื่อหน่ายการเมืองไม่เพียงแต่ต้องการสร้างความนิยมทางการเมืองให้กับนัการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ชุดของความรู้ที่จะสื่อสารออกไปจึงควรมีการจัดการให้เป็นระบบ และลำดับความสำคัญเพื่อกระตุ้นพลเมืองให้สนใจติดตาม ตื่นตัว และเกาะติดงานการเมืองอย่างต่อเนื่อง
     
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...