โมเดล หนึ่งๆ เป็นเสมือน Approach ที่ได้รับบการกลั่นกรองและมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมาก ลักษณธะสำคัญๆ ที่โมเดล ต่างไปจาก แอปโพช อยู่ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสังกัปหรอพจน์ที่ใช้จะปรกกฎให้เห็นได้ชัดเจน Approacn เ็ป็นชุดหนึ่ง ๆ ของสังกัปและมองกันว่าสังกับเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบใด ๆ แต่สภาพของความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันนี้จะไม่ปรากฎชัด ส่วน โมเดล นั้นจะระบุชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างพจน์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ไว้...
Model ที่สำคัญและใช้กันมากในการศึกษารัฐศาสรตร์ซึ่งมีอยู่ 3 โมเดลด้วยกันคือ
อินพุช-เอาท์พุช โมเดล
ฟังค์ชั่น เดเวอรอฟเมนส์ โมเดล
อิสชู่ โปเครสซิ่ง โมเดล
ตัวแบบ Input-Output นี้ในทางรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่พัฒนาตัวแบบนี้มาใช้ก็คือ เดวิด เอสตัน มีพื้นฐานมาจากแนวการวิเคราะห์เชิงระบบ ซึ่งศึกษาการเมืองจากแบบแผนของความสัมพันธ์ในระหว่างมนุษย์ด้วยกันในระบบการเมืองใดๆ การปะทะสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองนี้เป็นไปเพื่อในการแจกแจงทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมนั่นเอง
นอกจากสังกัปของคำว่า "ระบบ"แล้ว ตัวแบบนี้ยังต้องอาศัยสังกัปของคำอื่น ๆ คือ "ปัจจัยนำเข้า" "ข้อเรียกร้อง" "การสนับสนุน" "ปัจจัยผลผลิต" "การตัดสินใจ และ "การส่งข่าวสารย้อนกลับ" อีกด้วย
กระบวนการเมืองจะเิริ่มต้นจาการที่มีข้อเรียกร้องจำนวนหนึ่งไหลเข้าสู่ระบบการเมือง คำว่าปััจจัยนำเข้า หมายถึง กิจกรรมและเหตุการณ์ทุกอย่างที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดการแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรของสังคมในรูปแบบใด ๆ ซึ่งปัจจัยนำเข้านี้แบ่งได้เป็ฯ 2 ประเภท คือข้อเรียกร้อง และการสนับสนุนขอ้เรียกร้องเป็นข่าวสารที่นำเสนอโดยปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ ในสังคม เพื่อให้การแจกแจงทรพยากรของสังคมอยู่ในรูปแบบใด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มต้องการที่จะให้กลุ่มตนได้ประโยชน์สูงสุด
การสนับสนุน หมายถึง พลังในรูปของการกระทำหรือทิศทางของความคิดที่ส่งเสริมระบบการเมืองนั้น ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น เสียภาษี เข้าร่วมพัฒนาท้องถ่ิน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม เป็นต้น การสนับสนุนนี้จะมุ่งกระทำต่อองค์ประกอบของระบบการเมือง - ระดับคือ การสนับสนุนผู้่มีอำนาจทางการเืองหรือรัฐบาล
การวิเคราะห์ข้อเรียกร้องและการสนับสนุนที่นี้จะมุ่งประเด็นว่าระบบการเมืองสามารถที่จะดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพได้อย่างไรท่ามกลางแรงกดดัน หรือความตึงเครียด ที่เิกิดขึ้นมองว่า การเรียกร้องเป็นที่มีความตึงเครียดของสังคม ส่วนการสนับสนุนถือเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยดำิเินินการกับความตึงเครียดที่มีอยู่ ถ้าระบบไม่อาจสนองตอบต่อข้อเรียกร้องได้ การสนับสนุนที่ประชาชนพึงมีต่อระบบก็จะลดต่ำลง อ้างว่าสภาพและขนาดของการเรียกร้องของประชาชนจะอยู่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับปทัสถานทางวัฒนธรรมของระบบการเมืองนั้น ๆ ผู้นำทางเมืองตลอดจนประชาชนเองจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะจำกัดจำนวนและความเข้มข้นของข้อเรียกร้องด้วย
ผลที่ได้จากการเรียกร้องและการสนับสนุนที่เข้าไปสู่เข้าไปสู่การพิจารณาของผู้ที่อำนาจตักสินใจในระบบการเมืองเรียดร้องปัจจัยผลผลิต ปัจจัยผลผลิตจะเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมโดยเป็ผลการตัดสินใจของผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง
ส่วนการส่งข่าวสารย้อนกลับ หมายถึงกระบวนการที่ระบบการเมืองตรวจสอบตนเองเกี่ยวกัยผลต่อเนื่องจากการออกปัจจัยผลผลิตไป ปัจจัยผลผลิตนั้นจะมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมของสังคมอย่างกว้างขวางบางคน บางกลุ่มอาจพอใจกับผลการตัดสินใจหรือปัจจัยผลผลิตนั้น ขณะที่บางกลุ่มอาจไม่พอใจ พวกที่พอใจก็จะสนับสนุนระบบเพิ่มขึ้น พวกที่ไม่พอใจก็อาจยื่นข้อเรียกเข้าไปใหม่อีก ตังนั้น ระบบการเมืองจะสามารถล่วงรู้ภึงลักษณะของการแปรเหลี่ยนของการเรียกร้องและการสนับสนุนที่เป็นผลมาจากการออกปัจจัยผลผลิตใด ๆ ไปได้ ระบบจำต้องสร้างกลไกที่จะช่วยป้อนข่าวสารคือสู่ระบบขึ้นมา กลไกเหล่านี้จะทำหน้าที่ส่งข่าวสารย้อนกลับ ประสิทธิผลของกระบวนการส่วข่าวสารย้อนกลับจะมีผลต่อความสำเร็จของระบบการเมืองใด ๆ ที่จะดำิเนินการกับปัญหาท้าทายและความตึงเครียดที่เกิดขึ้อย่างมาก กระบวนการนี้จึงมีอิทธิพลยิ่งต่อแนวโน้มที่ว่าระบบจะคงสามารถดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและยืนหยัดอยู่ได้สืบต่อไป
Function Developmental Model
ตัวแบบนี้ Almond and Powell ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้ชื่อแนววิเคราะห์ว่า Developmental Approach ซึ่งความจริงแล้วแนววิเคราะห์ของ Almond and Powell เป็นการผสมผสานกันระหว่างแนววิเคราะห์เชิงระบบ แนววิเคราะห์โครงสร้าง-หน้าที่ และแนววิเคราะห์เชิงพัฒนาการ
ตัวแบบนี้ให้ความสำคัญกับหน้าที่ของระบบการเมือง โดยที่ Almond กับ Powell ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าระบบการเมืองไว้ว่า "เป็นระบบของการกระทำให้ระหว่างกัน ซึ่งพบได้ในสังคมที่เป็นอิสระและจะทำหน้าที่สร้างความเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน และปรับตัวโดยวิธีการใช้หรือขูว่าจะใช้กำลังซึ่งถือกันว่าชอบธรรม
Almond and Powell อ้างว่าทุกระบบการเมืองจะทำหน้าที่เหมือนกันในประเด็นใหญ่ ๆ คือ
- สร้างสมรรถนะ ให้เกิดขึ้นกับระบบ ซึ่งสมรรถนะที่ทุกระบบจะต้องสร้างคือ
การออกกฎกำหนดเกณฑ์ คือระบบสามารถควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกได้
การดึงดูดทรัพยากร คือระบบสามารถระดมพลให้เข้ามีส่วนร่วมในเป้าหมายทางสังคมใด ๆ
กรแจกแจงแบ่งสรร คือการแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมอย่างเป็ธรรม เป็นที่ยอมรับของบรรดาสมาชิก
การสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่มต่างๆ ของสังคม
- แปรเปลี่ยน ปัจจัยนำเข้าให้เป็นปัจจัยผลผลิตโดยผ่านกระบวนการแปรเปลี่ยน กระบวนการนี้เกิดขึ้นในระบบการเมือง 6 ขั้นตอน
การแสดงออกซึ่งผลประโยชน์
การรวมกลุ่มของผลประโยชน์
การสร้างกฎกำหนดเกณฑ์
การนำกฎไปใช้
การตีความตัวบท
การติดต่อสื่อสาร
- หน้าที่ในการทำนุบำรุงและการปรับตัวของระบบ หน้าที่เหล่านี้ก็คือการให้การเรียนรู้ทางการเมือง และการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่ระบบ
สรุปได้ว่า เสนอให้ศึกษาพัฒนาการของระบบการเมืองโดยให้ความสำคัญที่สัมพีนธภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ๆ มา ๆ ระหว่างหน้าที่ทั้งสาม ประการ และที่สัมพันธภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ๆ มาๆ ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของระบบการพัฒนาทางการเมืองนั้นจะข้องเกี่ยวกับการแปรเหลี่ยนจากสถานการณ์ซึ่งระบบมีโครงสร้างไม่มากนักและต้องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง และยังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนานั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมืองโครงสร้างที่มีอยู่ในระบบการเมืองใด ๆ ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาหรือดำเนินการกับสิ่งท้าทายที่เข้าสู่ระบบได้ถ้าไม่ปรับโครงสร้างให้ซับซ้อนขั้นกว่าเดิม
Issue-Processing Model
Model นี้ได้รวมเอาบางส่วนของซิสเต็มแอปโพช และ ดีซิชั่น เมกกิ้ง มาใช้ โมเดล ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากมองกันว่าค่อนข้างจะซับซ้อน ยุ่งยากกว่าสองโมเดลที่ผ่านมา
โดยให้นิยามระบบการเมืองว่า เป็นชุมชนของปัจเจกชนที่ดำเนินการหรือพยายามที่จะหาคำตอบและกระทำการบางอย่างต่อประเด็นปัญหาของสังคม ชุมชนเกิดขึ้นมาได้และอยู่รอดพต่อไปได้ต้องอาศัยบุคคลที่เข้ามาดำเนินการให้บรรลุสู่เป้าหมายใด ๆ ดังนั้นชุมชนจึงมีฐานะมาจากแนวคิดเรื่องความสมานฉันท์ของเป้าหมาย ชุมชนรูปแบบหนึ่งก็คือระบบการเมือง อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองยังต้องขึ้นอยู่กับการดำรงอยู่ของความไม่สมานฉันท์จะปรากฎให้เห็นในรูปของประเด็นปัญหา ดังนั้นระบบการเมืองจะแสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์ในเป้าหมาย แต่ขณะเดียวกันความไม่สมานฉันท์ใรกระบวนการที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะปรากฎอยู่ด้วย
นอกจากสังกับปเรื่องประเด็นปัญหา และเป้าหมาย แล้ว โมเดลนี้ยังให้ความสำคัญกับสังกัปเกี่ยวกับปัญหาทางการเมือง ลีลาในทางการเมืองการตัดสินนดยบายและนโยบายอีกด้วย อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่า นี้อาศัยสังกัปของคำว่าระบบ เนื่องจากเป้าหมายประเด็นปัญหา ปัญหา ลีลา และพฤติกรรม ต่างก็เป็นสังกัปที่เกี่ยวกับระบบทั้งสิ้น
เสถียรภาพ หมายถึง การที่ระบบเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบหรือแนวทางที่คาดคิดไว้
ความยืดหยุ่น หมายถึง ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้อย่างดี นั้นก็คื อเป้าหมายเรื่องความยืดหยุ่นและเสถียรภาพจะเป็นตัวทำให้กิจกรรมของระบบการเมืองเป็นไปในทิศทางที่ต่างกัน "สิ่งที่ตรงข้ามในเงื้อนเวลา" นั้นคือเสถีียรภาำพ เป็นลักษณะของระบบที่มีแนวโน้มว่าจะได้มาหรือสัมฤทธิผลได้ในระยะยาว ขณะที่ความยืดหยุ่นนั้นหมายถึงการสนองต่อแรงผลักหรือการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น ๆ ได้ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้สูงขึ้น หมายยถึงเสถียรภาพจะลดน้อยลง
โมเดลนี้ เชื่อว่าระบบกาเมืองใด ๆ อาจไม่ตระหนักรู้ไม่ให้ความสำคํยกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งหรือหลายเป้าหมาย แต่ระบบก็สามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่ีงจะประเมินความสัมฤทธิผลเชิงสัมพันธ์ของระบบการเมืองจากระดับความสามารถในการรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพเชิงพลวัตรในระหว่างเป้าหมายพื้นฐานทั้งสี่ประการในแง่อุดมคตินั้นทุกระบบการเมืองจะต้องสนใจยิ่งต่อเป้าหมายพื้นฐานทุกเป้าหมายและในทุกเวลาด้วย แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแรงผลักจากสภาพแวดล้อมทรัพยากรทางวัตถุ และบุคคลก็มีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นผลให้ระบบมักจะไใ้ความสนใจกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง หรือสองเป้าหมายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆเท่านั้น
สภาพของเป้าหมายของระบบการเมืองจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของประเด็นปัญหาที่ระบบนั้นจะดำเนเนการ ซึ่งได้แบ่งประเด็นปัญหาทางการเมืองออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ ลักษณะแรกเป็นการมองปัญหาในเชิงปัญหาหลัก ปัญหาจากสภาพแวดล้อมประเด็นปัญหาหลัก เป็นประเด็นปัญหาที่อุบัติขึ้นดำรงอยู่และมีผลต่อระบบเป็นเวลานาน เช่นประเด็นปัญหาว่าจะทำอย่างไรอุุปทานด้านเครื่องบริโภคจึงจะมีดุลภาพกับจำนวนประชากร เป็นต้น อีกประเด็นปัญหาที่อุบัติขึ้นในช่วงสั้น ๆ บางที่เป็นประเด็นที่ไม่เคยเกิดมาก่อนและอาจไม่เกิดขึ้นมาอีกเลยก็ได้ นั้นคือในการที่จะทราบว่าประเด็นปัญหาใดเป็น Fundamental หรือ Circumstantial ให้ดูที่ประวัติความเป็นมาของผัญหาว่่ามีมานานเพียงใด
ลักษณะที่สอง เป็นการมองปัญหาในรูปของสาระเรื่องราว กระบวนการประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสาระเรื่องราว เป็นปัญหาจากคำถามว่า "อะไร" ซึ่งเป็นเรื่องของเนื้อหาที่จะต้องดำเนินการ ส่วนประเด็นปัญหาเชิงกระบวนการเป็นปัญหาจากคำถามว่า "อย่างไร" ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับวิธีการที่ควรจะดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม บางประเด็นปัญหาอาจอยู่ระหว่างกลางของรูปแบบดังกล่าว ก็ได้ โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาบางเรื่องเท่านั้นที่จัดว่าเป็น Fundmental ทั้งหมดหรือเป็น Circumstantial ทั้งหมด โดยทั่งไปแล้วจะตกอยู่ระหว่างสองลักษณะข้างต้นเช่นเดียวกันบางปัญหาเท่านั้นที่จัดเป็นปัญหาเรื่องสาระเรื่องราวทั้งหมด หรือเป็นปัญหาเรื่องกระบวนการทั้งหมด
ประเด็นที่น่าสนใจในการนำโมเดลนี้มาใช้อยู่ที่ว่าประเด็นปัญหาใด ๆ อาจแปรเปลี่ยนลักษณะพ้อนฐานของมันเองได้ขณะที่อยู่ในกระบวนการของการดำเนินการ นั้นคือ ขณะที่ประเด็นปัญหาผ่านขั้นตอนจากการก่อตัวไปสู่การดำเนินการพิจารณา มีการตัดสินใจและมีผลการตัดสินใจออกมานั้น ประเด็นปัญหาอาจเปลี่ยนไปหลายรูปแบบ แต่สาระของประเด็นจะคงอยู่เหมือนเดิม
โดยสรุป โมเดลที่ใช้ในการศึกษาการเมืองซึ่งมีอยู่มากมายนั้น ดูเหมือนว่าจะมีบางอย่างเหมือน ๆ ดัน คือ
1 ให้ความสำคัญกับอิทธิพลที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมพีงมีต่อการเมือง
2 ใช้สังกัปในการมองการเมืองว่าเป็นการกระทำหรือพฟติกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับการสนองตอบต่อความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
3 มองกิจกรรมการเมืองในลักษณะที่เป็นระบบ และจะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเป้าหมายของระบบการเมือง
4 จะให้ความสนใจต่อปัจจัยที่จำเป็นของระบบการเมืองในการทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างประสิทธิผล
5 จะมองว่ากิจกรรมของกลุ่มในระบบการเมืองมีอิทธิพลมากระดับหนึ่ง
6 จะนำเสนอในลักษณะที่ว่าสามรรถนะจะนำมาใช้กับสภาพทั่ว ๆ ไปในการศึกษาการเมือง นั่นคือสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับการเมืองไมว่าจะอุบัติขึ้น ณ ที่ใด
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น