วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

The Black Death

คาฟา คือสถานที่แห่งหนึ่งในยูเครน (ปัจจุบัน คือ ฟิโอโดสิจา) ซึ่งได้ถูกโจมตีด้วยอาวุธเชื้อโรคครั้งร้ายแรงมาก โดยกองกำลังมองโกลแห่งกองทัพข่านสีทอง และคาทาได้ถูกทำลายในที่สุดในปี ค.ศ. 1266
      คาฟาคือเมืองท่าสำคัญของเผ่าจีโนซีย์ แห่งทะเลดำ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่ทำให้กรีกหรืออิตาเลี่ยนสามารถเดินทางไปเมืองทาน่าได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโรมันและมองโกลเลียนนั้นไม่สู้ดีนัก ในปี 1307 Toqtai Khan บุกจับตัวข้าราชการโรมันที่ดูแลเป็นตัวประกัน และปิดล้อมคาฟา เนื่อจากไม่พอใจกับการกระทำที่อิตาเลี่ยนขายทาส ชาวตุรกีไปที่ Mameluke Sultanatein เป็นการเพิ่มกำลังให้กับ จิโนซีย์ แต่ในปี 1308 มองโกลได้เผาเมืองนั้นทิ้ง ความสัมพันธ์ของทั้งสองเมืองคงตรึงเครียดกระทั้ง ทอร์กไทข่าน เสียชีวิต
      ในปี ค.ศ. 1343 มองโกลนำโดย เจนิเบ็ก ผู้สำเร็จราชการนำทัพบุกเข้าล้อมคาฟา จนกระทั้งมองโกลสูญเสียทหาร แสนห้าหมื่นนาย และถอยทัพกลับไป
      มองโกลนำทัพกลับมาใหม่ในปี 1345 แต่ต้องพ่ายแพ้กลับไปอีกครั้ง หนึ่งปีจากนั้น มองโกลนำทัพกลับมาพร้อมกับอาวุธเชื้อโรค คือการใช้เชื้อกาฬโรคเป็นอาวุธ…
       มองโกลใช้ซากศพทหารที่ตายด้วยโรคห่าแทนก้อนหินยิงข้ามกำแพงเมืองเข้าไปในกำแพงเมืองคาฟา ผู้คนพากันแตกตื่นกับสภาพศพที่เห็น เนื้อตัวเป็นตุ่มพุพองช้ำเลือดช้ำหนองเน่าแฟะ และยังแพร่เชื่อโรคระบาดสู่ชาวเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนวมาก ที่เหลือก็พากันทิ้งเมืองหนี
      หลังจาก คาฟาแตกแล้วมองโกลเคลื่อนทัพเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและยังใช้วิธีการเดียวกันในการโจมตี เกาะซิซิลี และยุโรปตะวันออก เพียงเวลา 3 ปี ในการทำสงคราม คาดว่ามีผู้คนล้มตายด้วยกาฬโรคไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน
      ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำอาวุธเชื้อโรคเข้ามาทำสงคราม
       กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบททีเรีย เยอซีเนีย แพสทิซ ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนู ในแถบตอนกลางของเอเซีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ได มีทฤษฎีกล่าวไว้ว่า ในทุ่งล้างแถบเอเซีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั้นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกตาม เส้น “ทางสายไหม” กองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางนี้ได้จากบารมีของราชอาณาจักรมองโกล ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา  Pax Mongolica ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า “เมื่อหญิงใดเดินเปลื่อยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น”
      กรณี เดอะ แบล็กเดธ คล้ายกับสงครามที่เกิดที่ประเทศจีน ระหว่างกองทัพจีน กับกองทัพมองโกล ในช่วงปี 1205-1353 สงครามนี้ขัดขวางการทำเกษตรและการค้า ทำให้เกิดภาวะอดอยากไปทั่ว และยังมีเหตุการณ์ยุคนำแข็งน้อย ที่กล่าวถึงสภาวะอาอาศที่เลวร้ายอย่างมาก..
      การแพร่ระบาดในยุโรป ในปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง คาฟา มาที่เมือง เมซซิน่า ประเทศอิตาลี่ ในเวลาที่เรื่อเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสันนิษฐานว่า เรื่อได้นำหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็นเรื่อร้าง เพราะว่าทุกคนบนเรือเสียชีวิตทั่งหมด..
       จากอิตาลีแพร่ระบาดไปไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป ผรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ พฤษภา ปี 1348 ..หลังจากนั้น ก็แพร่กระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย ในช่วงปี ค.ศ. 1348-1350 พบการแพร่ระบาดที่ นอร์เวย์ และในที่สุดก็ระบาดมายัง ตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัศเซีย
     การแพร่ระบาดในตะวันออกกลาง โดยแพร่ระบาดจากทางตอนใต้ของรัสเซีย ปี ค.ศ. 1347 การแพร่ระบาดได้เข้ามาถึง อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ. 1348 การระบาดลุกลามทางตะวันออกถึงกาซา และทางเหนือตลอดชายฝั่งทางตะวันออกของ เลบานอน ซีเรีย ปาเลสไตน์ รวมทั้ง อาช เยรูซาเล็ม วิคอน ดามัวคัน ฮอมส์ อเลปโป และในปี ค.ศ. 1348-1349 โรคระบาดก็ได้เข้ามาถึง แอนทิออซ ซึ่งประชาชนเสียชีวิตระหว่างการเดินทางอพยพ
      นครเมกกะ กลายเป็นแหล่งแพร่ระบาด ซึ่งในปีเดียเดียวกันนี้ จากบันทึกได้แสดงให้เห็นถึง เมืองโมซุลที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะโรคบาดร้ายแรง และนครแบกแดดต้องพบกับการแพร่ระบาดเป็นรอบสอง …

       สมมติฐานเกี่ยวกับผลของเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ช่วง หลังศตวรรษที่ 14-15 ศาสนจักรเสือมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชนและทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป
      การสูยญสียประชากรอย่างมากนั้น  ทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงแรงงานระหว่างเจ้าของที่ดิน โดยการเพิ่มค่าแรง และสวัสดิการแรงงานเพื่อดึงดูดใจแรงงานที่มีอยู่อย่างจำกัด จากภาวะขาดแคลนแรงงานนี้เอง ทำให้ชนชั้นสามัญมีโอกาสเรียกร้องสิทธิที่มากขึ้น และเป็นเวลากว่า 120 ปี ประชากรยุโรปจึงเพิ่มจำนวนขึ้นอีกครั้ง

     อาวุธเชื้อโรค Bioterorism weapon หมายถึง อาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง ทำให้คนจำนวนมากในพื้นที่กว้างได้รับบาดเจ็บ ป่วย และตาย เป็นอาวุธที่แตกต่างจากอาวุธประเภทอื่น คือ มีการบรรจุสิ่งมีวิตไว้ข้างใน ในทางทหารนั้น จุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ ต้องมี คุณสมบัติผลิตง่าย ต้นทุนต่ำมีความคงทนในการผลิต เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง
   การรบโดยใช้อาวุธชีวภาพกระทำได้ 3 วิธี
- การปล่อยกระจายเป็นแอโรซอล โดยการใช้สเปรย์ หรือวัตถุระบิดให้กระจายอยู่ในอากาศ..
- การปล่อยกระจายไปกับสัตว์พาหะจะใช้วิธีการทำให้สัตว์ที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ให้ตัวสัตว์นั้นติดเชื้อ แล้วจึงปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้สัตว์ที่เป็นพาหะนำสารชีวะเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์ เช่น ยุง หมัด เห็บ เหา ไร ..
- การก่อวินาสกรรม หรือปล่อยกระจายโดยวิธีปกปิด

      จุดประสงค์การใช้อาวุธชีวภาพในสงครามนั้น คือ ผู้ใช้ต้องการทำให้ประชาชน สัตว์เลี้ยง หรือพืชผลของฝ่ายตรงข้ามเป็นโรค และตาย โดยการโจมตีมนุษย์เป็นการกระทำโดยตรงเพื่อลดอำนาจกำลังรบ ส่วนการโจมตีสัตว์เลี้ยง และพืชผลเป็นการกระทำทางอ้อมเพื่อต้องการลดทอนความสามารถในการทำสงคราม  และทำลายขวัญ
      เชื้อ
สำหรับจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นอาวุธ และเป็นสารทำอันตรายมนุษย์ คือ แบคทีเรียคีเกทเซีย และ ไวรัส โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และมนุษย์ เพราะมีข้อได้เปรียบกว่าโรคติดต่อเฉพาะมนุษย์ คือ มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ต่ำ และแพทย์เองก็ไม่ค่อยชำนาญในการวินิจฉัย และการรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่มียาป้องกัน  และวิธีการรักษาก็ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก
      เชื้อแบคทีเรีย เช่น แอนแทรกซ์ มีชื่อว่า Bacillus anthracis มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์เมือตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะบ่มตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างเกราะหุ้มได้ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี  ฟักตัวอยู่ในดินนานนับ 10 ปี หากตกอยู่ในพื้นที่ใดจะทำให้พื้นที่นั้น ๆ ไม่สามารถใช้งานทางปศุสัตว์ได้อย่างน้อย 2-3 ปี
      เชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบเลือด และทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด มีนำมูกไหล หลังจากนั้นจะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ การป้องกันทำได้โดยฉีดวัคซีน
     Ebola เป็นสาเหตุของ Ebola hemorrhagic fever เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นอันตราย
     สารพิษ toxin  สารพิษไรซิน สกัดจากเมล็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาปราบศัตรูพิช สารดังกล่าวจะไปยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับพิษจะเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้
     ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.  1931 พบว่า กองทัพญีปุ่นได้จัดตั้งหน่วย731 หรือหน่วยสงครามชีวะ ที่เมืองฮาบิน ประเทศจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้เข้ายึดครอง
     การทดลองอาวุธชีวะ Unit 731 วิธีการทดลองคือ เป็นการทำให้ติดเชื้อ นำร่างกายบางส่วนไปแช่หิมะ แล้วนำไปสัมผัสกับเชื้อโรค หน่วยนี้ประกอบด้วยหน่วยรอง ประมาณ 18 แห่ง ทำหน้าที่ทดลองอาวุธชีวะ ครั้งนั้นมีประมาณการว่า เชลยศึกนับหมื่นคนถูกนำไปทดลอง และมีผู้เสียชีวิตจากการทดลองหลายพันคนขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นยังได้เข้าตั้งสถานีวิจัยอาวุธชีวะสิงคโปร์ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับกาฬโรค …

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...