วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Jeanne d'Arc
ฌาน ดาร์ก หรือโจนออฟอาร์ก หรือ โยนออฟอาร์ค วีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนา ตระกูล “ดาร์ค” (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเกิดที่เมือ ดอมเรมี ในแถบแค้วนลอเร้นน์ ได้รับฉายาว่า สาวพหรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของ ฝรั่งเศส เป็นคนเคร่งศาสนา ทุกวันเสาร์เธอชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์ และเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลที่ 7โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมืออายุ 19 ปี
ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ไม่สามารถที่จะแสดงได้ว่าได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ลุสที่ 3 จึงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการ การพิจารณาศาลสรุปว่าโยนส์เป็นผู้บริสทุธิ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี”(หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ) โจนได้รับแต่งตั้งเป็น “บุญราศี”และเป็น”นักบุญ”ในที่สุด
“ ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำเนิดจากสามัญชน กลายมาเป็นวีรสตรี แม่มด และนักบุญ ย่อมเป็นคนที่ “ไม่ธรรมดา” สิ่งที่นำพาหญิงสาวชาวบ้านธรรมดามาได้ไกลขนาดนี้คือความกล้าหาญและความเชื่อส่วนบุคคลของเธอ”
“โจน ออฟ อาร์ควีรสตรี แม่มด นักบุญ” สำหรับคอลัมน์ “มองซีอีโอโลก” (ลำดับที่ 182) หนัสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2522 โดยวิกรม กรมดิษฐ์
เมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคต องค์รัชทายาทที่ขึ้นครองราชเป็นเพียงทารกวัย 9 เดือน ทางฝรั่งเศสไม่ยอมรับอำนาจกษัติรย์องค์ใหม่ของอังกฤษ ทหารอังกฤษจึงทำการบุกฝรั่งเศส อังกฤษเป็นพันธมิตรกับบูร์กินยงยึดครองดินแดนฝรั่งเศสไว้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งเศสปราศจากกษัตริย์ปกครองนับตั้งแต่การสวรรคตของกษัตริย์ชาลส์ ที่ 6 หรือที่เรียกว่าชาลส์ผู้บ้าคลั่ง แม้ว่าพระองค์จะมีผู้สืบราชบัลลังก์ คือ มกุฏราชกุมารชาลส์ อังกฤษอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ว่าเป็นของอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นทรงพระเยาว์อยู่ อันเป็นผลพวกจากสนธิสัญญาเมืองทรัวส์ ที่ลงนามโดยอิซาโบ เดอ บาวิแยร์ ราชินีแห่งฝรั่งเศสและผู้สำเร็จราชการ กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ของอังกฤษ อันเนืองมาจากการพ่ายสงครามอย่างย่อยยับของอาร์มานยัค อัศวินฝรั่งเศส ในการรบที่เมืองอาร์แฌงคูร์ต เมื่อห้าปีที่แล้ว ตามที่ว่าไว้ในสนธิสัญญา เฮนรี่ได้อภิเษกกับแคทเธอรีน ธิดาของกษัตริย์ชาร์ลส ที่ 6 และเมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 6 สวรรคต มงกุฎจะตกเป็นของรัชทายาท(ทางฝ่ายอังกฤษ)ผู้ซึ่งรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน สนธิสัญญานี้เป็นการขัดขวางมิให้มกุฎราชกุมารชาร์ลขึ้นครองราชย์ และทำให้ “ชาร์ล เดอะ ดอฟฟิน Charles the Dauphin” กลายเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์
ฌาน ดาร์ก เด็กสาวชาวนา
โจนส์ พยายามเพื่อเข้าเฝ้าองค์รัชทายาท ถึงสามครั้ง ในครั้งที่สามนี้ เธอได้ขอร้องเคาท์โรเบิร์ต เอด บาว์คริคอร์ท พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อพบกับองค์รับทายาท แต่ท่านเคาท์บาว์ดริคอร์ทปฏิเสธ เธอจึงอ้างคำพยากรณ์ว่า “ท่านไม่เคยได้ยินคำพยากรณ์ที่บอกว่า ผรั่งเศสจะถูกทำลายโดยสตรี และจะถูกกอบกู้โดยหญิงสาวพรหมจรรย์จากชายแดนลอร์แรงหรือ” เคาท์บาว์ดริ คอร์ทยังคงเพิกเฉยต่อคำขอของเธอ แต่เธอก็ยังคงขอร้องเขา ครั้งนี้เคาท์บาว์คริคอร์ทยอมรับฟังเธอ โจนส์ พยากรณ์เหตุการณ์ศึกทีเกิดขึ้นใกล้ๆ กับเมืองออร์เลอองส์ ว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้ปราชัย และสองสามวันต่อมาเขาก็ได้รับข่าวซึ่งตรงกับที่เธอพยากรณ์ไว้ เคาท์บาว์ดริคอร์ทจึงอนุญาตให้พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศสเพื่อพบกับองค์รัชทายาท โจนสามารถรู้ได้ทันที่ว่าใครคือบุคคลที่เธอต้องการพบ แม้ว่าจะไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน
และแน่นอนว่าย่อมเป็นที่สงสัยและเป็นที่ถกเถียงกันว่าเธอกระทำการใหญ่นี้ได้อย่างไร?เพราะเหตุใด? ชาร์ล ผู้วาดระแวงจึงวางพระทัยซึ่งแม้ว่า ชาร์ล จะเป็นคนอ่อนแอแต่ไม่ใช้คนโง่เขลาจึงมอบความเป็นความตายของแผ่นดินให้ผู้หญิงซึ่งไม่รู้เรื่องการทำสงครามแม้สักนิด มีสมมติฐาน และคำบอกเล่ามากมายต่าง ๆ เกี่ยวกับโจนส์ ออฟ อาร์คและยังคงเป็นปริศนากระทั่งปัจจุบันนี้
นักประวัติศาสตร์สตีเฟน ดับเบิลยู.ริชชี ให้คำอธิบาย่าความดึงดูดของโจนส์ขณะนั้นเป็นสิ่งเดียวที่ให้ความหวังแก่กองทหารที่แทบจะไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ได้
“หลังจากปีแล้วปีเล่าที่ได้รับความพ่ายแพ้(ต่ออังกฤษ)ทั้งทางด้านการยุทธการและทางการเป็นผู้นำ ฝรั่งเศสก็ถึงจุดที่เสื่อมที่สุด ทั้งกำลังใจและประสิทธิภาพ เมื่อมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ประทานอนุญาตตามคำขอของโจนในการแต่งตัวถืออาวุทธเข้าร่วมในสงครามและเป็นผู้นำทัพ ก็คงเป็นการตัดสินพระทัยที่พื้นฐานมาจากาการที่ทรงได้ใช้วิธีต่าง ๆ มาแล้วทุกวิธีแต่ไม่สัมฤทธิ์ผล ก็เห็นจะมีแต่คณะการปกครองที่หมดหนทางเข้าจริง ๆ แล้วเท่านั้นที่จะหันไปสนใจกับความคิดเห็นของเด็กสาวชาวนาที่ไม่มีการศึกษาผู้อ้างว่าได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าที่มีคำสั่งให้เป็นผู้นำในการนำกองทัพของชาติไปสู่ชัยชนะ”
แม่มดแห่งออร์ลีน
ยุทธการออร์เลอองค์ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดย จอห์น แทลบอต เดิร์ลแห่งชรูส์บรีที่ 1, ทอมัส มอนทาคิวต์ เอิร์ลแห่งซอลส์บรีที่ 4 และวิลเลียม เอด ลา โพล ดยุคแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 และฝ่ายราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ที่นำโดย ฌ็อง เดอ ดูนัว, ฌีล เดอแร,โจส์นออฟอาร์ค และฌ็อง เดอ บร็อส ในยุทธการครั้งนี้ผรั่งเศสเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
ชัยชนะของฝรั่งเศสในการรักษาเมืองออร์เลอ็องเป็นจุดของความเปลี่ยนแปลงของสงครามร้อยปี และเป็นสงครามใหญ่สงครามแรกที่โจนส์ออฟอาร์คมีบทบาท ชัยชนะทางการทหารครั้งนี้เป็นชัยขนะครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างยับเยินในยุทธการอาแฌ็งกูร์ นอกจากนั้น ออร์เลอ็องยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทั้งสองฝ่าย อังกฤษทำการล้อมเมืองอยู่เป็นเวลาถึงหกเดือน แต่การมาเพียงเก้าวันของโจนส์ออฟอาร์คก็มีชัยชนะเหนือฝ่ายอังกฤษ
ในการร่วมรบที่ออร์เลอ็องนั้น ฌ็อง เดอ ดูว์นัว ผู้เป็นประมุขแห่งตระกูลดยุกแห่งออร์เลอ็องไม่ยอมรับ โจนส์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งโจนส์ได้ บทบาทในกองทัพของโจนส์เป็นข้อถกเถียงของนักประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ในยุคเก่ากล่าวว่า โจนส์มีหน้าที่ถือธงและเป็นแรงบรรดาลใจแก่กองทหาร ข้อวินิจฉัยเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการพิจารณาคดีครั้แรก หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ให้ความสนใจกับคำให้การในการพิจารณาคดีครั้งที่สอง หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประฌามเป็นโมฆะ” เสนอความเห็นว่านายทหารด้วยกันสรรเสริญว่าฌานเป็นผู้ความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี และเป็นผู้มีความสำเร็จทางการวางแผนยุทธศาสตร์
โจนส์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ปฏิบัติอยู่ตลอดการถูกล้อมตลอด 5 เดือนผุ้รักษาเมืองพยายามที่จะออกไปต่อสู้รบเพียงครั้งเดียวและล้มเหลว
โจนนำทหารเข้าโจมตีและยึดป้อมแซ็งลูป ด้ามด้วยการยึดป้อมที่สอง ซึ่งไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเนื่องจากไม่มีผู้รักษาการ ในวันต่อมาโจนก็กล่าวต่อต้านฌอง ดอร์เลอองในสภาสงคราม โดยเรียกร้องให้มีการโจมตีผ่ายศัตรูอีกครังแต่ ฌอง ดอร์เลอองไม่เห็นด้วยและสั่งให้ปิดประตูเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้ใครออกรบ แต่โจนส์ก็รวบรวมชาวเมืองและทหารบังคับให้เปิดประตูเมือง โจนส์ขี้ม้าไปพร้อด้วยผู้ช่วยอีกคนกับกองทหารยึดป้อมแซ็งโตกุสแต็ง และในค่ำวันนั้นโจนถูกกีดกันจกาการประชุมของสภาสงครามที่ผุ้นำสภาตัดสินใจรอกองหนุน
แต่โจนส์ไม่สนใจในคำตัดสินของสภาและนำทัพออกโจมตีที่ตั้งมั่นสำคัญของอังกฤษ ผุ้ร่วมสมัยยอมรับว่า โจนส์เป็นวีรสตรีของสงครา หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บจากธนู แต่ก็ยังสามารถนำทัพในการต่อสู้ต่อไป และได้รับชัยชนะในยุทธการที่ออร์เลอ็อง
หลังจากชัยชนะแล้ว โจนส์ถวายคำแนะนำให้แต่งตั้งเธอเป็นผุ้บังคับการกองทหารร่วมกับ ฌ็อง ดยุกแห่งอาล็อกซง และยึดสะพานบนฝั่งแม่น้ำลัวร์คืนก่อนจะเดินทัพต่อไปยังแรงส์ เพื่อไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำแนะนำของโจนนั้นออกจะบ้าบิ่นเพราะแรงส์ห่างจากปารีสราวสอลเท่าและอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
แต่ทว่าตลอดทางแห่งการเดินทัพ ฝรั่งเศสยึดเมืองต่าง ๆ คือจากอังกฤษ และในยุทธการพาเตย์ กองทัพฝรั่งเศสยังสามารถแก้ลำ ธนูยาวของอังกฤษที่ทำให้ฝรั่งเศษพ่ายแพ้ยับเยินในยุทธการอาแฌงคูร์ต โดยการโจมตีก่อนที่ทหารธนูจะตั้งแนวตั้งรับได้สำเร็จ หลังจากนั้นทหารฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายได้เปรียบและทำลายกองทัพอังกฤษ เมื่อผ่านเมืองทุกเมืองก็ให้การสวามิภักดิ์โดยปราศจากการต่อต้าน ที่เมืองตรัวอันเป็นสถานที่ที่ตัดสิทธิการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ยอมจำนนหลังจากถูกล้อมอยู่สี่วัน หากมองย้อนกลับไปยังคำแนะนำของโจนส์ เส้นทางสืบทอดบัลลังก์ตั้งแต่ ยุทธการออร์เลอ็อง สู่แรงส์หากมิใช่พระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว จะต้องเป็นการวางแผนของทางกลยุทธ์ชั้นเลิส
หลังจากพิธีบรมราชาภิเษก ที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ แม้ว่าโจนส์และดยุกแห่งอาล็องซองจะพยายามถวายคำแนะนำให้ทรงเดินทัพต่อไปยังปารีส แต่ทางราชสำนักยังพยายามเจรจาต่อรองแสวงหาสันติภาพกับดยุกแห่งเบอร์กันดี แต่ฟิลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดี ก็ละเมิดสัญญาเพื่อถ่วงเวลาในการรอกองหนุนจกาปารีส กองทัพฝ่ายฝรั่งเศสเดินทัพไปยังปารีสระหว่างทางเมืองต่าง ๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แม้โจนส์จะได้รับบาดเจ็บจกาการเข้าโจมตีปารีส แต่ก็ยังสามารถนำทัพกระทั้งวันที่การต่อสู้สิ้นสุดลง แต่ทว่าวันรุ่งขึ้น โจนส์ก็ได้รับพระราชโองการให้ถอยทัพ นักประวัติส่วนมากกล่าวว่าองคมนตรีฝ่ายฝรังเศษคาดการสถานะการณ์ผิดอันใหญ่หลวงหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในการณ์นี้เชื่อกันว่าทางฝ่ายกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งพึงขึ้นเป็นกษัตริย์ใหม่ต้องการที่จะรักษาสถานภาพกษัตริย์เอาไว้ และประกอบกับการทำสงครามนั้นจะต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ ซึ่งทางราชสำนักมีความเห็นว่าหากใช้วิธีทางการทูตจะเป็นการประหยัดกว่า
ในเดือนตุลาคมโจนส์สามารถยึดเมือง แซงต์ปิแยร์ เล มูติเยร์ และเพื่อป้องกันการถูกล้อมเมือง คองเพียญน์ โดยอังกฤษและเบอร์กันดี เกิดการต่อสู้อย่างประปรายและนำมาซึ่งการจับกุม โจนส์ได้ในที่สุด รัฐบาลอังกฤษเป็นฝ่ายที่ขอซื้อตัวโจนส์ โดยปีแยร์ โคชง บิชอปแห่งโบเวส์ ผู้ฝักใฝ่ฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของโจนส์
การพิจารณาคดีประณาม
การพิจารณาคดีในข้อหานอกรีต ของโจนส์มีมูลมาจากสถานะการณ์ทางการเมือง จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบตฟอร์ดที่ 1 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในนามของพรเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ผู้เป็นหลาน เห็นว่าเมืองโจนส์เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 การลงโทษโจนส์จึงเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายอำนาจอันถูกต้องตามกฎหมายของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โดยตรง
ปัญหาของการพิจารณาครั้งนี้ พอสรุปได้คือ อำนาจทางศาลของผู้พิพากษาปีแยช์ โคชงไม่ใช่อำนาจที่แท้จริง ปีแยร์ โคชงได้รับแต่งตั้งเพราะเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอังกฤษและเป็นผู้ที่รับผิดชอบในค้าใช้จ่ายในการพิจารณาคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้น และพนักงานศาล ก็ได้รับจ้างให้รวบรวมคำให้การที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโจนส์และไม่พบหลักฐานใดที่คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวศาลก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนข้อกลาวหาสำหรับการพิจารณาคดี นอกจากนั้นศาลก็ยังละเมิดกฏหมายศาสนจักรที่ปฏิเสธไม่ให้ฌานมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย เมือเปิดการสอบสวนเป็นการสาธารณะเป็นครั้งแรกโจนก็ประท้วงว่าผู้ที่ปรากฎตัวในศาลทั้งหมดเป็นฝ่ายตรงข้ามและขอให้ศาลเชิญ “ผู้แทนทางศาสนาของฝรั่งเศส”มาร่วมในการพิจารณาคดีด้วย
บันทึกการพิจารณาคดี
: เธอทราบไหมว่าเธออยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระเจ้า
: ถ้าข้าพเจ้ามิได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น;แต่ถ้าข้าพเจ้าได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงรักษาไว้เช่นนั้น
ข้อหาสิบสองข้อที่สรุปโดยศาลขัดกับบันทึกของศาลเองที่ด้รับการเปลี่ยนแปลง จำเลยผู้ไม่มีการศึกษายอมลงชื่อในเอกสาร การบอกสละโดยสาบาน โดยปราศจากความเข้าใจในเนื้อหาและความหมายถายใต้การขู่เข็ญว่าจะถูกประหารชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสลับเอกสารการบอกสละโดยสาบาน ฉบับอื่นกับเอกสารที่ใช้อย่างเป็นทางการ
การประหารชีวิต
ผู้เห็นเหตุการบรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมือวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1431 ว่าฌาน ถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิฉซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตแล้วอังกฤษกว่าถ่านหินออกจนะห็ร่างที่ถูกเผาเพ่อให้เป็นที่ราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี แล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงในแม่น้ำแซน
นักบุญโยออฟอาร์ค
การพิจารณาคดีหลังจากที่โจนเสียชีวิตเริ่มขึ้นหลังสงครามร้อยปียุติลง สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 ทรงอนุมัติให้ดำเนินการพิจารณาคดีของโจนส์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตามคำร้องขอของผู้อำนวยการการไต่สวน ฌอง เบรฮาล และอิสซาเลลา โรเม แม่ของโจนส์ การเพิจารณาคดีครั้งนี้เรียกกันวยา “การพิจารณาคดีประณามเป็นโมฆะ” ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีที่เป็นการสอบสวนการพิจารณาคดีครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” และการตัดสินว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นไปด้วยความยุติธรรมและตรงตามคริสต์ศษสนกฎบัตร
การสืบสวนเริ่มด้วยการไต่สวนนักบวช โดยฌอง เบรฮาล และการอุทธรณ์อย่างเป็นทางการก็ตามมามีผุ้เกี่ยวข้องจากทั่วยุโรปและเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีมาตรฐานของศาล
โดยผลสรุปการวินิจฉัยบรรยายฌานว่า เป็น มรณสักขี และกล่าวหาปีแยร์ โกชงผู้เสียชีวิตไปแล้วว่าเป็นผู้นอกรีตเพราะเป็นผู้ลงโทษผู้บริสทุธิ์หาผลประโยชน์ทางโลก ศาลประกาศว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ เมือ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1456
การแต่งกายเป็นชายของโจนส์ตั้งแต่ออกจาก Vaucouleurs ถึงการพิจารณาคดีที่รูอ็อง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการถูประหารชีวิตอ้างว่ามาจากการขัดกับกฎการแต่งกายจากพระคัมภีร์ ในการประกาศว่า “การพิจารณาคดีกล่าวหา”เป็นโมฆะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคดีแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหานี้ค้านกับพระคัมภีร์
นิมิต นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า ศรัทธาของฌานเป็นความศรัทธาที่จริงใจ แต่มีความกำกวมในชื่อนักบุญที่ฌาน กล่าวถึง ว่าเป็นนักบุญองค์ใดแน่ที่ ผุ้นับถือคริสต์สาสนานิกายโรมันคาทอลิกเห็นว่านิมิตของโจนเป็นการดลใจจากพระเจ้า
ฌานไม่ให้การใดใดเกี่ยวกับนิมิต ฌานประท้วงว่ามาตรฐานของการสาบานพยานของศาลขัดต่อคำสาบานที่เธอได้ให้ไว้ก่อนหน้านั้นในการรักษาความลับของการเข้าเผ้าพระเจ้าชาร์สส์ ซึ่งทำให้ไม่อาจจะทราบได้ว่าเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่จะเป็นที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด
โจนส์มีความสามารถจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการที่จะกู้ชาติ สตีฟานดับเบิลยู. ริชชี่ ยังแสดงความเห็นอีกว่า “ประชาชนรุ่นต่อมาอีกห้าร้อยปีหลังจากโจนเสียชีวิตแล้ว สร้างสรรค์ภาพพจน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับโจน ผู้บ้าคลั่งทางจิตวิญญาณ, ผู้บริสุทธิ์ผู้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ,ผู้เป็นตัวอย่างของความเป็นชาตินิยม, วีรสตรีผุ้น่าชื่นชม,นักบุญ, แต่โจนยังคงยืนยันแม้เมือถูกขู่ด้วยการทรมานและการเผาทั้งเป็นว่าได้รับแรงบันดาลใจจากพระสุรเสียของพระเจ้า ไม่ว่าจะมีพระสุรเสียงหรือไม่ ความสำเร็จของโจนทกทำให้ทุกคนที่ทราบประวัติต่างทั่งในความสามารถอันน่าอัศจรรย์ของโจนส์”
ระหว่างการสืบสวนเกี่ยวกับการประหารชีวิตของโจนหลังสงครามร้อยปี ทางสถาบันศาสนาประกาศว่าบทละครที่แสดงเพือเป็นเกี่ยรติแก่โจนส์ที่แสดงที่ออร์เลอองส์ถือว่าเป็นกุศล ที่มีค่าในการไถ่บาปได้ โจนส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส และเฟลีส์ ดูปองลูพ์ สังฆราชแห่งออร์เลอองส์ ก็เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้แต่งตั้งดจนให้เป็นนักบุญ
การพิจารณาให้ฌานเป็นนักบุญ เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ทันที่หลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสประการอนุมัติกฎหมายฝรั่งเศสในการแบ่งแยกระหว่างรัฐและศาสนา ค.ศ. 1505 ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนสถานะภาพของสถาบันโรมันคาทอลิกในสังคมฝรั่งเศสโดยตรง โจนส์ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ในฐานะนักบุญ โจนส์ออฟอาร์คเป็นนักบุญที่เป็นที่นิยมที่สุดองค์หนึ่งในบรรดานักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก
ฟิลิปป์ อเล็กซาเดอร์ เล เบริง เด ชาร์แมตส์ เป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่เขียนลีวประวัติฉบับสมบูรณ์ของโจนออฟอาร์ค ความสนใจของฟิลิปป์มีสาเหตุมาจากในช่วงที่ฝรั่งเศสพยายามเสาะหาความหมายของความเป็นฝรั่งเศสหลังจากการปฏิบัติฝรั่งเศส และสงครามนโปเลียน “จริยศาสตร์”ของฝรั่งเศสในขณะนั้น โจนส์เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะไม่เป็นที่ขัดแย้งต่อชนกลุ่มต่าง ๆ และเป็นผลงานความพยายาทอีกครั้งที่จะเผยแพร่ “จริยปรัชญา” ของฝรั่งเศส
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) ค.ศ.1455-1489
ระหว่างปีค.ศ. 1453-1487 ที่ อังกฤษ เวลส์ และฝรั่งเศส ราชวงศ์ทิวดอร์(ราชวงศ์แลงแคสเตอร์)ได้รับชัยชนะในที่สุด
คู่สงคราม
ราชวงศ์ยอร์ก : ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4,
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7
เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..
ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจำราชวงศ์สองราชวงศ์ คือ กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามตอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสื่อชื่อ “แออน์แห่งไกเออร์สไตน์” Anne of Geierstein โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
ขึ้นครองราชย์เมืองพระชนมายุเพียง 9 เดือนหลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคตอย่างกะทันหัน พระองค์ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทรงพระราชบิดา ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียได้แก่ เด็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัพโฟล์ก ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐาล และในการบริหารการทำสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั่งดินแดนที่ได้มาจาการได้รับชัยชนะก็สูญเสียกลับไปให้ฝรั่งเศส
สิทธิในราชบัลลังก์
ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มเมือง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดย เฮนรี่ โลลิงโบรก ดยุกปก่งแลงแคสเตอร์ และราชาภิกเษกเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 เมื่อยึดราชาบัลลังก์ได้แล้ว สองสามปีต่อมาต้องเผชิญกับการปฏิวัติต่อต้านหลายครั้งใน เวลศ์ เชสเตอร์ และนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเอ็ดมันด์ มอร์ติกเมอร์ซึ่งเป็นบุตรของรัชทายาท ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ขึ้นครองบัลลังก์ หลังการสวรรคตของเฮลรี่ที่ 4 ทรงได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นนักการทหารที่มีความสามารถทรงได้รับความสำเร็จในยุทธการในสงครามร้อยปี ที่ฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็มีการอ้างสิทธิและมีการคิดร้ายและการกบฎเลื่อยมา
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วทรงะเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรภาพ นอกจากนั้นก็ยังทรงมีพระอาษรเสียพระสติเป็ฯระยะๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป
ความขัดแย้งในรชสำนักเก้เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศโดบตระกูลขุนนางไม่ยอมรับอำนาจจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขฯ หลายกรณีเป็นต่อสู้ระหว่างขุนางเก่ากับขุนนางใหม่เช่น “ความบาดหมายระหว่งเพอร์ซีย์และเนวิลล์” และความขัดแย้งระหว่างตระกูลใน “คอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์” ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับจากการพ่ายปพ้ในฝรั่งเศส โดยเป็นกำลังให้กับขุนนางผู้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ความขัดแย้งที่รอการประทุพร้อมจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง จากกองกำลังในมือขุนนางผู้มีอำนาจนั้น เมือพระมหากษัตริย์ตกอยู่ใต้อำนาจของอยุกปห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงวแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลก็พบว่าอำนาจฝ่ายตนร่อยหร่อลงทุกที
พระเจ้าเฮนรี่ทรงเสียพระสติดีอครั้ง ครั้งนี้ถึงขั้นว่าจำพระโอรสของพระองค์เองไม่ได้ สภาผุ้สำเร็จราชการที่ได้รับการก่อตั้งนำโดยดยุกแห่งยอร์คผู้เป็นที่นิยมในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ ดยุกแห่งยอร์คเริ่มใช้อำนาจ โดยการสั่งจับดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและสนับสนุนตระกูลเนวิลล์ในการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เฮนรี่ เพอร์ซี่ย์ เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด็ ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรี่ต่อไป
พระเจ้าเฮนรี่ทรงหายจากการเสียพระสติ และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองซูและกลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงเคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กจึงถูกบังคับให้ออกจากราชสำนักพระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งจึงนำไปสู่สงครามในที่สุด
สงครามครั้งนี้สร้างความระสำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่ที่ได้รับผลกระทมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเนต ที่แทนที่ด้วย ราชวงศ์ทิวดอร์ ผู้สร้างคามเปลี่ยแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในเวลาต่อมา
การสงครามทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นผลให้เกิความเปลี่ยนแปลงในสังคมระบบศักดินาของอังกฤษ อำนาจของขุนางอ่อนแอลงในขณะที่อำนาจของชนชั้นพ่อค้าเพิ่มขึ้น การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอขงอำนาจราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นการสร้างเสริมระบบกษัตริย์ของอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น
ในอีกแง่หนึ่งความเสียกายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบเป็นเคื่องชี่ใหเห็นพระปรีชาสามรถของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ผู้ซึ่งนำมาซึ่งสันติในบั้นปลาย เมื่อสงครามดอกกุหลาบยุติลงดินแดนอังกฤษในฝรั่งเศสเหลือเพียงเมืองคาเลส์และก็เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชสมัยของพระนางแมรี่ และเมื่ออังกฤษพยายามที่จะบุกเข้ายึดเมืองในฝรั่งเศสทางราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็จะให้ผลโดยตรงต่อความพยายามของอังกฤษ โดยการยุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้เกิดความขัดแย้งกันและให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
เมือสงครามยุติลงเท่ากับสิ้นสุดกองกำลังส่วนตัวของพวกขุนนางผู้มีอำนาจ พระเจ้าเฮนี่ทรงพยายามยุติความขัดแย้งระหว่งขุนนางโดยการควบคุมไม่ให้ขะนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และเลี้ยงกองทัพเพื่อจะไม่ให้ก่อความขัดแย้งระหว่างกัน ราชสำนักของราชวงศ์ทิวดอจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่งขุนนางด้วยอิทธิพลพระเจ้าแผ่นดิน
ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลส่งผลมายังอนุชนรุ่นต่อๆ มา จากตระกูลสู่เมือง แลงคาลเตอร์ หรือเมืองแมนเชสต์ในปัจจุบัน และเมืองลีดส์ มณฑล เวสต์ยอร์กเชอร์ ตระกูลยอร์ค ในครั้งปฏิวัติอุสาหก
รรม แมนเชสเตอร์ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในขณะที่ลีดส์ ต้องล้มเหลวกับอุตสหกรรมผ้าทอขนสัตว์
แม้กระทั่งในวงการฟุตบอล ในการพบกันแต่ละครั้งระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด สือมวลชนขนานนามการพบกันระหว่างสองคู่นี้ว่าเป็นสงครามกุหลาบ การพบกันในสนาม ในรอบก่อนรองชนะเลิสสองครั้งในปี 1965และ1970 ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะทั้งสองครั้ง การเตะในสนามเป็นการเล่นคนมากกว่าเล่นบอล และเกิดมวยหมู่ในสนามเมื่อการพบกันในปี 1965 และในครั้งต่อมายือเยื้อกระทั่งจะต้องพบกันถึงสามครั้งจึงจะได้ผู้ชนะ
ในปี1978 สงครามกุหลาบกลับมาโด่งดังอีกจากการย้ายทีม ของ กอร์ดอน แม็คควีน โดยย้ายไปเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ แฟนบอลยูงทองตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ Judas ในปี ในการพบกันระหว่างลีดส์กับแมนยูในปีนี้ ลีดส์ ชนะแมนฯยู 2-1
ปีค.ศ. 1994 ผ่านมาอีก 16 ปี เอริค ดันโตน่า(นักเตะฝรั่งเศส) มีความขัดแย้งกับโฮเวิร์ด วิกกินสัน และย้ายสโมสรมายังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ในปี 2002 เป็นเกมส์ที่เดิมพันค่อนข้างสูงลีดส์ต้องการที่จะขึ้นมาแทนที่ แมนฯยูในขณะนั้นซึ่งตกอยู่ในสภาพสับสนหาทางออกไม่เจอ เซอร์อเล็ก ฟูกูสัน ยอมทำทุกทาง หานักเตะค่าตัวแพง ๆ เข้าร่วมทีม จ่ายค่าเหนื่อยหฤโหดทั้งที่การเงินของทีมไม่ดีถึงขนาดนั้น
แต่ผลการแข่งขันที่ออกมา แมนฯยู 4 ลีดส์ 3 โดยแมนฯยู นำไปก่อน 4-1 โดย โอเล่ กุนน่า โซลชา,ไรอัล กิ์ก, พอล สโคลส์ ลีคส์ ได้มาจาก มาร์ค วิดูก้า
และลีดส์ก็ไล่มาเป็น 4-3 ลีดส์ยูไนเต็ดส์ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นความตกต่ำก็มาเยือนลีดส์ ตกชั้นไปเล่นในแชมป์เปียนชิพ กระทั้งปัจจุบัน
คู่สงคราม
ราชวงศ์ยอร์ก : ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4,
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7
เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..
ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจำราชวงศ์สองราชวงศ์ คือ กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามตอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสื่อชื่อ “แออน์แห่งไกเออร์สไตน์” Anne of Geierstein โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
ขึ้นครองราชย์เมืองพระชนมายุเพียง 9 เดือนหลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคตอย่างกะทันหัน พระองค์ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทรงพระราชบิดา ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียได้แก่ เด็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัพโฟล์ก ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐาล และในการบริหารการทำสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั่งดินแดนที่ได้มาจาการได้รับชัยชนะก็สูญเสียกลับไปให้ฝรั่งเศส
สิทธิในราชบัลลังก์
ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มเมือง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดย เฮนรี่ โลลิงโบรก ดยุกปก่งแลงแคสเตอร์ และราชาภิกเษกเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 เมื่อยึดราชาบัลลังก์ได้แล้ว สองสามปีต่อมาต้องเผชิญกับการปฏิวัติต่อต้านหลายครั้งใน เวลศ์ เชสเตอร์ และนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเอ็ดมันด์ มอร์ติกเมอร์ซึ่งเป็นบุตรของรัชทายาท ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ขึ้นครองบัลลังก์ หลังการสวรรคตของเฮลรี่ที่ 4 ทรงได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นนักการทหารที่มีความสามารถทรงได้รับความสำเร็จในยุทธการในสงครามร้อยปี ที่ฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็มีการอ้างสิทธิและมีการคิดร้ายและการกบฎเลื่อยมา
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วทรงะเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรภาพ นอกจากนั้นก็ยังทรงมีพระอาษรเสียพระสติเป็ฯระยะๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป
ความขัดแย้งในรชสำนักเก้เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศโดบตระกูลขุนนางไม่ยอมรับอำนาจจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขฯ หลายกรณีเป็นต่อสู้ระหว่างขุนางเก่ากับขุนนางใหม่เช่น “ความบาดหมายระหว่งเพอร์ซีย์และเนวิลล์” และความขัดแย้งระหว่างตระกูลใน “คอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์” ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับจากการพ่ายปพ้ในฝรั่งเศส โดยเป็นกำลังให้กับขุนนางผู้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ความขัดแย้งที่รอการประทุพร้อมจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง จากกองกำลังในมือขุนนางผู้มีอำนาจนั้น เมือพระมหากษัตริย์ตกอยู่ใต้อำนาจของอยุกปห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงวแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลก็พบว่าอำนาจฝ่ายตนร่อยหร่อลงทุกที
พระเจ้าเฮนรี่ทรงเสียพระสติดีอครั้ง ครั้งนี้ถึงขั้นว่าจำพระโอรสของพระองค์เองไม่ได้ สภาผุ้สำเร็จราชการที่ได้รับการก่อตั้งนำโดยดยุกแห่งยอร์คผู้เป็นที่นิยมในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ ดยุกแห่งยอร์คเริ่มใช้อำนาจ โดยการสั่งจับดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและสนับสนุนตระกูลเนวิลล์ในการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เฮนรี่ เพอร์ซี่ย์ เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด็ ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรี่ต่อไป
พระเจ้าเฮนรี่ทรงหายจากการเสียพระสติ และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองซูและกลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงเคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กจึงถูกบังคับให้ออกจากราชสำนักพระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งจึงนำไปสู่สงครามในที่สุด
สงครามครั้งนี้สร้างความระสำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่ที่ได้รับผลกระทมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเนต ที่แทนที่ด้วย ราชวงศ์ทิวดอร์ ผู้สร้างคามเปลี่ยแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในเวลาต่อมา
การสงครามทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นผลให้เกิความเปลี่ยนแปลงในสังคมระบบศักดินาของอังกฤษ อำนาจของขุนางอ่อนแอลงในขณะที่อำนาจของชนชั้นพ่อค้าเพิ่มขึ้น การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอขงอำนาจราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นการสร้างเสริมระบบกษัตริย์ของอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น
ในอีกแง่หนึ่งความเสียกายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบเป็นเคื่องชี่ใหเห็นพระปรีชาสามรถของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ผู้ซึ่งนำมาซึ่งสันติในบั้นปลาย เมื่อสงครามดอกกุหลาบยุติลงดินแดนอังกฤษในฝรั่งเศสเหลือเพียงเมืองคาเลส์และก็เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชสมัยของพระนางแมรี่ และเมื่ออังกฤษพยายามที่จะบุกเข้ายึดเมืองในฝรั่งเศสทางราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็จะให้ผลโดยตรงต่อความพยายามของอังกฤษ โดยการยุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้เกิดความขัดแย้งกันและให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
เมือสงครามยุติลงเท่ากับสิ้นสุดกองกำลังส่วนตัวของพวกขุนนางผู้มีอำนาจ พระเจ้าเฮนี่ทรงพยายามยุติความขัดแย้งระหว่งขุนนางโดยการควบคุมไม่ให้ขะนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และเลี้ยงกองทัพเพื่อจะไม่ให้ก่อความขัดแย้งระหว่างกัน ราชสำนักของราชวงศ์ทิวดอจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่งขุนนางด้วยอิทธิพลพระเจ้าแผ่นดิน
ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลส่งผลมายังอนุชนรุ่นต่อๆ มา จากตระกูลสู่เมือง แลงคาลเตอร์ หรือเมืองแมนเชสต์ในปัจจุบัน และเมืองลีดส์ มณฑล เวสต์ยอร์กเชอร์ ตระกูลยอร์ค ในครั้งปฏิวัติอุสาหก
รรม แมนเชสเตอร์ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในขณะที่ลีดส์ ต้องล้มเหลวกับอุตสหกรรมผ้าทอขนสัตว์
แม้กระทั่งในวงการฟุตบอล ในการพบกันแต่ละครั้งระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด สือมวลชนขนานนามการพบกันระหว่างสองคู่นี้ว่าเป็นสงครามกุหลาบ การพบกันในสนาม ในรอบก่อนรองชนะเลิสสองครั้งในปี 1965และ1970 ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะทั้งสองครั้ง การเตะในสนามเป็นการเล่นคนมากกว่าเล่นบอล และเกิดมวยหมู่ในสนามเมื่อการพบกันในปี 1965 และในครั้งต่อมายือเยื้อกระทั่งจะต้องพบกันถึงสามครั้งจึงจะได้ผู้ชนะ
ในปี1978 สงครามกุหลาบกลับมาโด่งดังอีกจากการย้ายทีม ของ กอร์ดอน แม็คควีน โดยย้ายไปเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ แฟนบอลยูงทองตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ Judas ในปี ในการพบกันระหว่างลีดส์กับแมนยูในปีนี้ ลีดส์ ชนะแมนฯยู 2-1
ปีค.ศ. 1994 ผ่านมาอีก 16 ปี เอริค ดันโตน่า(นักเตะฝรั่งเศส) มีความขัดแย้งกับโฮเวิร์ด วิกกินสัน และย้ายสโมสรมายังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ในปี 2002 เป็นเกมส์ที่เดิมพันค่อนข้างสูงลีดส์ต้องการที่จะขึ้นมาแทนที่ แมนฯยูในขณะนั้นซึ่งตกอยู่ในสภาพสับสนหาทางออกไม่เจอ เซอร์อเล็ก ฟูกูสัน ยอมทำทุกทาง หานักเตะค่าตัวแพง ๆ เข้าร่วมทีม จ่ายค่าเหนื่อยหฤโหดทั้งที่การเงินของทีมไม่ดีถึงขนาดนั้น
แต่ผลการแข่งขันที่ออกมา แมนฯยู 4 ลีดส์ 3 โดยแมนฯยู นำไปก่อน 4-1 โดย โอเล่ กุนน่า โซลชา,ไรอัล กิ์ก, พอล สโคลส์ ลีคส์ ได้มาจาก มาร์ค วิดูก้า
และลีดส์ก็ไล่มาเป็น 4-3 ลีดส์ยูไนเต็ดส์ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นความตกต่ำก็มาเยือนลีดส์ ตกชั้นไปเล่นในแชมป์เปียนชิพ กระทั้งปัจจุบัน
Henry V of England
พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1413-1422 ทรงเป็นพระราชโอรสของเฮนรี่แห่งโบลิคโบรค และ แมรี เดอโบฮุน ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงเสกสมรสกับแคทเธอรีนแห่งวาลัวร์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่สำคัญที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง เมื่อครั้งพระราชสมภพ มิได้มีสิทธิใกล้เคียงในการสืบราชบัลลังก์แม้วันและปี่ที่ประสูติก็มิได้บันทึกไว้เป็นที่แน่นอน พระองค์ไม่ทรงแต่เป็นผูรวบรวมอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษเท่านั้นแต่ทรงทำในสิ่งที่บรรพกษัตริย์ในอดีตพยายามจะทำคือไม่สำเร็จในงครามร้อยปี คือการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและฝรั่งเศษภายใต้พระมหากษัตริย์องค์เดียว
พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่า ๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐาน พระองค์อาจจะมีอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมือง และอังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมืองและเวลส์ไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรี่จึงทรงนำทัพบุกฝรั่งเศส
ยุทธการอาแฌงคูร์ด
กองทัพอังกฤษเดินทางข้ามช่องแคบโดเวอร์มุ่งสู่ชายฝั่งของฝรั่งเศสขึ้นบกที่แหลม เดอ โช โดยมุ่งหน้าเข้ายึดป้อมฮาร์เฟลอร์เพื่อเปิดทางสู่นอร์มังดี แม้จะสามารถยึดป้อมอาร์เฟลอร์ได้แต่ก็ต้องเสียไพร่พลไปเป็นอันมากเนื่องจากความเจ็บป่วย จึงต้องทำการปรับแผนใหม่ โดยการเคลื่อทัพไปตั้งหลักที่เมืองคาเลย์ซึ่งเป็นอาณาเขตของอังกฤษ แต่ทางฝ่ายฝรั่งเศษร่วงรู้เรื่องการอ่อนกำลังของฝ่ายอังกฤษจึงได้ส่งกองทัพ ไล่ตาม เพื่อหมายบดขยี้ อังกฤษตกอยู่ในภาวะจนตรอก.. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ถอยทัพไปจนถึงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ อาแฌงคูร์ด ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทีจะไปยังคาเลย์ และบัญชาให้ตั้งรับข้าศึกที่นี้
ในการจะรอดพ้นจากการบดขยี้จากกองทัพที่มีขนาดมหึมาได้นั้นจำเป็นต้องมีแผนการรบที่ดีและมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเลือกชัยภูมิแคบ ๆ ลักษณะพื้นที่ เป็นทุ่งหญ้าที่มีสองข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโอบล้อม
ในคืนก่อนจะมีการปะทะกันระหว่างสองทัพได้มีฝนตกลงมาทำให้สนามรบกลายเป็นทะเลโคลน การเคลื่อนพลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในวันที่ทัพทั้งสองฝ่ายเผลิญหน้ากัน พระเจ้าเฮนรี่ ทรงบัญชาให้อัศวินทั้งหมดลงจากหลังม้าและร่วมกับพลธนูเพื่อตั้งขบวนรับศึก
โดยทรงจัดขบวนทัพเป็นแถวหน้ากระดานสี่แถว ลึกเข้าไปในท้องทุ่งและสยายปีกอยู่ระหว่างปลายใต้สุด โดยพระเจ้าเฮนรี่ทรงอยู่ในศูนย์กลางกองทัพ
ทางฝ่ายฝรั่งเศสแปลขบวนทัพ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้บัญชาการรบคือ ชาร์ล ดัลเบรต์ ขุนพลแห่งฝรั่งเศส และจอมพล ฌอง เดอบูชิโคต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่สนามรบนั้นแคบ ทัพฝรั่งเศสต้องจัดขบวนทัพเป็นสามแนวอย่างแน่นหนา เรียงตามความยาวของพื้นที่ โดยทหารกองหน้านั้น ประกอบด้วยเหล่าอัศวินเกราะหนัก ถือหอกและแหลนยาว 4 เมตร ทหารผู้ไม่มีตระกูลถูกพลักให้ไปอยู่แนวที่สาม พลหน้าไม่และปืนไฟอยู่หลังแนวอัศวิน จึงส่งผลให้รูปลักษรณะของกองทัพ ขัดกันเองและขัดต่อสภาพภูมิประเทศ และสถานะการณ์ สถานะการณ์การรบดำเนินไปกระทั้งฝ่ายอังกฤษรุกคืบและตั้งแนวรบของพวกตน โดยพลธนูได้ปักขวางลงพื้นและเข้าประจำที่
England Longbow : ธนูในสมัยกลางที่ทรงพลัง ยาวเกือบ 2 เมตรา ระยะยิงไกลถึง 300 เมตร เป็นธนูที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในบรรดาธนูยุโรปทั้งหมด
ธนูยาวสามารถลดทอนกำลังทัพหน้ากองทัพฝรั่งเศสเป็นอันมาก และเมื่ออัศวินในชุดเกราะของฝรั่งเศสลุยฝ่าทะเลโคลนและคมธนูของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในระยะพุ่งหอก พระเจ้าเฮนรี่ ทรงสั่งทหารของพระองค์ทิ่งธนู และเข้าต่อสู้กับอัศวินฝรั่งเศส จากการเลื่อกชัยภูมิ ที่เป็นบริเวณที่แคบ และการประเมินสภาวะการณ์ของสภาพสนามรบทำให้การเคลื่อนไหวของทหารอังกฤษได้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านกำลังพลนั้นด้วยสนามรบที่ป้องกันการโอบล้อมได้เป็นอย่างดีจึงจะต้องบุกเข้าโดยทัพหน้าเพียงทางเดียว การที่ทัพหน้าไม่สามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ กำลังที่ตามมาจึงเกิดความระสำระสาย บวกกับการได้เห็น ฝ่ายของตนตกเป็นรองในการเข้าตะลุมบอน และการระดมยิงธนูยาวของฝ่ายอังกฤษ ทหารฝรั่งเศสบางส่วนจึงแตกทัพหนีออกจากสมารภูมิ และในที่สุด การรบก็สิ้นสุดลง โดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ และยังสามารถจับตัวขุนพลผู้มีชื่อเสียง แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย นั้นคือ จอมพล ฌองเดอ บูชิโคต์ ผู้บัญชาการทัพฝรั่งเศส
หลังจากการรบที่ อาแฌงคูร์ต ที่สามารถพิชิตกองทัพอัศวินได้อย่างสิ้นเชิง และหลังจากรบครั้งนี้พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงนำทัพทำศึกกับฝ่ายฝรั่งเศสกระทั่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสทรงขอเจรจาสงลศึกและทำข้อตกลงยินยอมให้เพระเจ้าเฮนรี่ได้รับตำแหน่างผู้สำเต็จราชการและเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส
มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า การชูนิ้วกลางมีที่มาจาก “ยุทธการอาแฌงคูร์” Battle of Agincourt โดยทหารฝ่ายอังกฤษได้ชูนิ้วของตนโบกไปมาให้ทหารฝรั่งเศส เพื่อยั่วยุฝรั่งเศสที่ขู่ตัดสองนิ้วที่ใช้สำหรับรั้งสายธนูของทหารอังกฤษ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ทหารฝรั่งเศส จับพลแม่นธนูอังกฤษได้ ก็เลยสำเร็จโทษด้วยการตัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ใช้ยิงธนู กระทั่งปัจจุบันยังมีการแสดงกิริยาเช่นนี้เป็นการเย้ยหยัน..
พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่า ๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐาน พระองค์อาจจะมีอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมือง และอังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมืองและเวลส์ไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรี่จึงทรงนำทัพบุกฝรั่งเศส
ยุทธการอาแฌงคูร์ด
กองทัพอังกฤษเดินทางข้ามช่องแคบโดเวอร์มุ่งสู่ชายฝั่งของฝรั่งเศสขึ้นบกที่แหลม เดอ โช โดยมุ่งหน้าเข้ายึดป้อมฮาร์เฟลอร์เพื่อเปิดทางสู่นอร์มังดี แม้จะสามารถยึดป้อมอาร์เฟลอร์ได้แต่ก็ต้องเสียไพร่พลไปเป็นอันมากเนื่องจากความเจ็บป่วย จึงต้องทำการปรับแผนใหม่ โดยการเคลื่อทัพไปตั้งหลักที่เมืองคาเลย์ซึ่งเป็นอาณาเขตของอังกฤษ แต่ทางฝ่ายฝรั่งเศษร่วงรู้เรื่องการอ่อนกำลังของฝ่ายอังกฤษจึงได้ส่งกองทัพ ไล่ตาม เพื่อหมายบดขยี้ อังกฤษตกอยู่ในภาวะจนตรอก.. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ถอยทัพไปจนถึงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ อาแฌงคูร์ด ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทีจะไปยังคาเลย์ และบัญชาให้ตั้งรับข้าศึกที่นี้
ในการจะรอดพ้นจากการบดขยี้จากกองทัพที่มีขนาดมหึมาได้นั้นจำเป็นต้องมีแผนการรบที่ดีและมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเลือกชัยภูมิแคบ ๆ ลักษณะพื้นที่ เป็นทุ่งหญ้าที่มีสองข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโอบล้อม
ในคืนก่อนจะมีการปะทะกันระหว่างสองทัพได้มีฝนตกลงมาทำให้สนามรบกลายเป็นทะเลโคลน การเคลื่อนพลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในวันที่ทัพทั้งสองฝ่ายเผลิญหน้ากัน พระเจ้าเฮนรี่ ทรงบัญชาให้อัศวินทั้งหมดลงจากหลังม้าและร่วมกับพลธนูเพื่อตั้งขบวนรับศึก
โดยทรงจัดขบวนทัพเป็นแถวหน้ากระดานสี่แถว ลึกเข้าไปในท้องทุ่งและสยายปีกอยู่ระหว่างปลายใต้สุด โดยพระเจ้าเฮนรี่ทรงอยู่ในศูนย์กลางกองทัพ
ทางฝ่ายฝรั่งเศสแปลขบวนทัพ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้บัญชาการรบคือ ชาร์ล ดัลเบรต์ ขุนพลแห่งฝรั่งเศส และจอมพล ฌอง เดอบูชิโคต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่สนามรบนั้นแคบ ทัพฝรั่งเศสต้องจัดขบวนทัพเป็นสามแนวอย่างแน่นหนา เรียงตามความยาวของพื้นที่ โดยทหารกองหน้านั้น ประกอบด้วยเหล่าอัศวินเกราะหนัก ถือหอกและแหลนยาว 4 เมตร ทหารผู้ไม่มีตระกูลถูกพลักให้ไปอยู่แนวที่สาม พลหน้าไม่และปืนไฟอยู่หลังแนวอัศวิน จึงส่งผลให้รูปลักษรณะของกองทัพ ขัดกันเองและขัดต่อสภาพภูมิประเทศ และสถานะการณ์ สถานะการณ์การรบดำเนินไปกระทั้งฝ่ายอังกฤษรุกคืบและตั้งแนวรบของพวกตน โดยพลธนูได้ปักขวางลงพื้นและเข้าประจำที่
England Longbow : ธนูในสมัยกลางที่ทรงพลัง ยาวเกือบ 2 เมตรา ระยะยิงไกลถึง 300 เมตร เป็นธนูที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในบรรดาธนูยุโรปทั้งหมด
ธนูยาวสามารถลดทอนกำลังทัพหน้ากองทัพฝรั่งเศสเป็นอันมาก และเมื่ออัศวินในชุดเกราะของฝรั่งเศสลุยฝ่าทะเลโคลนและคมธนูของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในระยะพุ่งหอก พระเจ้าเฮนรี่ ทรงสั่งทหารของพระองค์ทิ่งธนู และเข้าต่อสู้กับอัศวินฝรั่งเศส จากการเลื่อกชัยภูมิ ที่เป็นบริเวณที่แคบ และการประเมินสภาวะการณ์ของสภาพสนามรบทำให้การเคลื่อนไหวของทหารอังกฤษได้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านกำลังพลนั้นด้วยสนามรบที่ป้องกันการโอบล้อมได้เป็นอย่างดีจึงจะต้องบุกเข้าโดยทัพหน้าเพียงทางเดียว การที่ทัพหน้าไม่สามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ กำลังที่ตามมาจึงเกิดความระสำระสาย บวกกับการได้เห็น ฝ่ายของตนตกเป็นรองในการเข้าตะลุมบอน และการระดมยิงธนูยาวของฝ่ายอังกฤษ ทหารฝรั่งเศสบางส่วนจึงแตกทัพหนีออกจากสมารภูมิ และในที่สุด การรบก็สิ้นสุดลง โดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ และยังสามารถจับตัวขุนพลผู้มีชื่อเสียง แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย นั้นคือ จอมพล ฌองเดอ บูชิโคต์ ผู้บัญชาการทัพฝรั่งเศส
หลังจากการรบที่ อาแฌงคูร์ต ที่สามารถพิชิตกองทัพอัศวินได้อย่างสิ้นเชิง และหลังจากรบครั้งนี้พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงนำทัพทำศึกกับฝ่ายฝรั่งเศสกระทั่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสทรงขอเจรจาสงลศึกและทำข้อตกลงยินยอมให้เพระเจ้าเฮนรี่ได้รับตำแหน่างผู้สำเต็จราชการและเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส
มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า การชูนิ้วกลางมีที่มาจาก “ยุทธการอาแฌงคูร์” Battle of Agincourt โดยทหารฝ่ายอังกฤษได้ชูนิ้วของตนโบกไปมาให้ทหารฝรั่งเศส เพื่อยั่วยุฝรั่งเศสที่ขู่ตัดสองนิ้วที่ใช้สำหรับรั้งสายธนูของทหารอังกฤษ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ทหารฝรั่งเศส จับพลแม่นธนูอังกฤษได้ ก็เลยสำเร็จโทษด้วยการตัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ใช้ยิงธนู กระทั่งปัจจุบันยังมีการแสดงกิริยาเช่นนี้เป็นการเย้ยหยัน..
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Edward III of England
สงครามร้อยปี เป็นสงครามแย่งชิงดินแดนมิใช่รบกันตลอดร้อยปี แต่มีสงครามเป็นระยะ ว่าด้วยเรื่องดินแดนในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการรุกคืบของอังกฤษในการครอบครองดินแดนบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และการผลิกกลับยึดคืนจากทางฝรั่งเศส รวมระยะเวลา 116 ปี สงครามจึงยุติ
ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ยุทธการเครซี
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงนำทัพไปนอร์มังดี ทรงเผาเมืองแคนและเดินทัพต่อไปทางเหนือของฝรั่งเศส และทรงพบกองทัพฝรั่งเศสในยุทธการเครซี่
ยุทธการเครซี่ เป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามร้อยปีความก้าวหน้าในการใช้อาวุธและยุทธวิธี นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเป็นยุทธการที่เป็นการเริ่มสมัยสุดท้ายของระบบอัศวิน
การได้รับชัยชนะในยุทธการครั้งนี้ของอังกฤษ ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่า สามเท่าตัวเกิดจากความก้าวหน้าทางยุทธวิธีและอาวุธ กล่าวคือ
อังกฤษใช้พลธนูยาวยับยั้งการบุกของฝ่ายฝรั่งเศษที่ใช้พลหน้าไม้เจนัวทหารรับจ้างผู้มีชื่อเสียง และดูเหมือนว่าอังกฤษจะเดาทางฝรั่งเศษได้เป็นอย่างดี โดยการเตรียมขวากกั้นม้ายับยั้งการบุกระลอกที่ 2 และเมื่อแนวหน้าไม่สามารถทะลวงเข้ามาในเขตฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งแนวตั้งรับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชัยภูมิดังภาพ
เมื่อทัพหน้าไม่สามารถรุกคืบได้แม้กำลังพลจะมีมากกว่าก็ไม่มีประโยชน์ พร้อมกันนั้น การถ้าโถมเข้าโจมตีด้วยความโกรธเกรี้ยวกับเป็นผลร้าย เนื่องจากการเตรียมการมาเป็นอย่างดีของทางฝ่ายอังกฤษ โดยการใช้ปืนใหญ่ในการสู้รบ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่กองทัพฝรั่งเศษเป็นอย่างมาก การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นการพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของฝรั่งเศษและนับจากนั้น ยุคแห่งอัศวินที่เป็นทัพหน้าในกองทัพจึงหมดไปด้วย เรียกได้ว่าในยุทธการนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศษเสียหายอย่างย่อยยับ
ในขณะเดียวกันทางอังกฤษ วิลเลียม ซูค William Zouche อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กก็รวบรวมกำลังกันต่อต้านพระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ได้รับชัยชนะและจับตัวพระเจ้าเดวิดได้ที่ “ยุทธการเนวิลล์ครอส”
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงต่อสู้กับฝรั่งเศษได้อย่างเต็มที่ ทรงล้อมเมือง คาเลส์ และยึดได้ในเวลาต่อมา
หลังจากการสวรรคตของ พระเจ้าหลุ่ยส์ที่ 4 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1347 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งบาวาเรีย พระราชโอรสก็ทรงเจรจาต่อรอบกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อต่อต้านการขึ้นครองราชเป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งเยอรมนี และต่อมาก็ทรงเปลี่ยนใจไปเข้าร่วมแข่งขันในการครองราชบัลลังก์เยอรมัน
เกิดโรคระบาด กาฬโรคในยุโรป ซึ่งทำให้อักกฤษสูญเสียทั้งกำลังคน และกำลังทรัพย์เป็นอันมาก แต่มิได้นำไปสู่ความหายนะของสังคม นอกจากนั้นการฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธการปัวติเยร์
เจ้าชายดำ The Black Prince สามารถมีชัยชนะเหนือพรเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสแม้ว่าทางฝ่ายฝรั่งเศสจะมีกำลังที่เหนือกว่า และนอกจากอังกฤษจะชนะทางฝ่ายฝรั่งเศสแล้วยังสามารถจับตัวพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเหนื่องกันหลายครั้งอังกฤษก็ยึดดินแดนต่าง ๆ ในฝรั่งเศสได้มาก พระเจ้าจอห์นที่ 2 ตกอยู่ในความควบคุมของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสก็เกือบล่ม ไม่ว่าการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จะจริงแท้หรือไม่เพียงไร หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการเริ่มสงครามก็ตาม สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นใกล้ความเป็นจริงตามที่อ้าง
ในปี ค.ศ. 1359 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงตั้งใจตัดสินแพ้ชนะแต่ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลที่เด็ดขาด ปี ค.ศ. 1360 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยอมรับสนธิสัญญาเบรทินยี Treaty of Bretigny ซึ่งเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิครองบัลลังก์แลกเปลี่ยนกับดินแดนต่าง ๆ ที่ทรงยึดได้จากฝรั่งเศส คือ อากีแตน บริตตานีครึ่งหนึ่ง และเมืองท่าคาเลส์
พระเจ้าชาร์ลที่ 5 และขุนพลแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง ก็สามารถยึดดินแดนต่าง ๆ คืนได้ในสมัยของพระองค์เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1377 องค์ชายเอ็ดวาร์ด สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1376 และขุนพล ดู เกอสแคลง ก็สิ้นเสียชีวิตในค.ศ. 1380 จึงทำสัญญาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายโดยจะรักษาสันติภาพอย่างน้อย 30 ปี และรักษาแนวรบเอาไว้ และให้พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ของอังกฤษสมรสกับ ธิดาของกษัตริย์ฝรั่งเศส
ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ยุทธการเครซี
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงนำทัพไปนอร์มังดี ทรงเผาเมืองแคนและเดินทัพต่อไปทางเหนือของฝรั่งเศส และทรงพบกองทัพฝรั่งเศสในยุทธการเครซี่
ยุทธการเครซี่ เป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามร้อยปีความก้าวหน้าในการใช้อาวุธและยุทธวิธี นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเป็นยุทธการที่เป็นการเริ่มสมัยสุดท้ายของระบบอัศวิน
การได้รับชัยชนะในยุทธการครั้งนี้ของอังกฤษ ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่า สามเท่าตัวเกิดจากความก้าวหน้าทางยุทธวิธีและอาวุธ กล่าวคือ
อังกฤษใช้พลธนูยาวยับยั้งการบุกของฝ่ายฝรั่งเศษที่ใช้พลหน้าไม้เจนัวทหารรับจ้างผู้มีชื่อเสียง และดูเหมือนว่าอังกฤษจะเดาทางฝรั่งเศษได้เป็นอย่างดี โดยการเตรียมขวากกั้นม้ายับยั้งการบุกระลอกที่ 2 และเมื่อแนวหน้าไม่สามารถทะลวงเข้ามาในเขตฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งแนวตั้งรับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชัยภูมิดังภาพ
เมื่อทัพหน้าไม่สามารถรุกคืบได้แม้กำลังพลจะมีมากกว่าก็ไม่มีประโยชน์ พร้อมกันนั้น การถ้าโถมเข้าโจมตีด้วยความโกรธเกรี้ยวกับเป็นผลร้าย เนื่องจากการเตรียมการมาเป็นอย่างดีของทางฝ่ายอังกฤษ โดยการใช้ปืนใหญ่ในการสู้รบ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่กองทัพฝรั่งเศษเป็นอย่างมาก การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นการพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของฝรั่งเศษและนับจากนั้น ยุคแห่งอัศวินที่เป็นทัพหน้าในกองทัพจึงหมดไปด้วย เรียกได้ว่าในยุทธการนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศษเสียหายอย่างย่อยยับ
ในขณะเดียวกันทางอังกฤษ วิลเลียม ซูค William Zouche อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กก็รวบรวมกำลังกันต่อต้านพระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ได้รับชัยชนะและจับตัวพระเจ้าเดวิดได้ที่ “ยุทธการเนวิลล์ครอส”
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงต่อสู้กับฝรั่งเศษได้อย่างเต็มที่ ทรงล้อมเมือง คาเลส์ และยึดได้ในเวลาต่อมา
หลังจากการสวรรคตของ พระเจ้าหลุ่ยส์ที่ 4 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1347 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งบาวาเรีย พระราชโอรสก็ทรงเจรจาต่อรอบกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อต่อต้านการขึ้นครองราชเป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งเยอรมนี และต่อมาก็ทรงเปลี่ยนใจไปเข้าร่วมแข่งขันในการครองราชบัลลังก์เยอรมัน
เกิดโรคระบาด กาฬโรคในยุโรป ซึ่งทำให้อักกฤษสูญเสียทั้งกำลังคน และกำลังทรัพย์เป็นอันมาก แต่มิได้นำไปสู่ความหายนะของสังคม นอกจากนั้นการฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธการปัวติเยร์
เจ้าชายดำ The Black Prince สามารถมีชัยชนะเหนือพรเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสแม้ว่าทางฝ่ายฝรั่งเศสจะมีกำลังที่เหนือกว่า และนอกจากอังกฤษจะชนะทางฝ่ายฝรั่งเศสแล้วยังสามารถจับตัวพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเหนื่องกันหลายครั้งอังกฤษก็ยึดดินแดนต่าง ๆ ในฝรั่งเศสได้มาก พระเจ้าจอห์นที่ 2 ตกอยู่ในความควบคุมของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสก็เกือบล่ม ไม่ว่าการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จะจริงแท้หรือไม่เพียงไร หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการเริ่มสงครามก็ตาม สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นใกล้ความเป็นจริงตามที่อ้าง
ในปี ค.ศ. 1359 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงตั้งใจตัดสินแพ้ชนะแต่ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลที่เด็ดขาด ปี ค.ศ. 1360 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยอมรับสนธิสัญญาเบรทินยี Treaty of Bretigny ซึ่งเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิครองบัลลังก์แลกเปลี่ยนกับดินแดนต่าง ๆ ที่ทรงยึดได้จากฝรั่งเศส คือ อากีแตน บริตตานีครึ่งหนึ่ง และเมืองท่าคาเลส์
พระเจ้าชาร์ลที่ 5 และขุนพลแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง ก็สามารถยึดดินแดนต่าง ๆ คืนได้ในสมัยของพระองค์เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1377 องค์ชายเอ็ดวาร์ด สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1376 และขุนพล ดู เกอสแคลง ก็สิ้นเสียชีวิตในค.ศ. 1380 จึงทำสัญญาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายโดยจะรักษาสันติภาพอย่างน้อย 30 ปี และรักษาแนวรบเอาไว้ และให้พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ของอังกฤษสมรสกับ ธิดาของกษัตริย์ฝรั่งเศส
สงครามร้อยปี(Hundred Years’War)..ว่าด้วยเรื่องดินแดน
เป็นความขัดแย้งระหว่างสองราชวงศ์คือ ราชวงศ์วาลัวส์ อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมือผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์กาเปเดียงสิ้นสุดลง
ขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองซู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมต่อสู้ทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดีและอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท
ราชวงศ์กาเปเซียง คือราชวงศ์ที่ปกครองฝรั่งเศสในสมัยกลาง ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อำเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเซียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปรารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียงราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นสพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท
แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะทรงมีพระโอรสถึงสามองค์ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย พระนางอิซาเลลา พระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงอภิเษกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีพระโอรสเป็ฯพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ดังนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเจ้าชาร์ลส์ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส
เมื่อปี ค.ศ. 1066 เมื่อ ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมารุกรานอังกฤษพระองค์ทรงได้รับชัยชนะต่อสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ
ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นกับกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส
การแสดงความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์โดยกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงก็ไม่พอใจที่กษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรละพยายามหาทางลดความอันตรยของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส
หลังจากสงครามกลางเมือง (สงครามอนาธิปไตย The Anarchy) ราชวงศ์อองซูขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน ในสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุดของราชวงศ์อองซูนั้น ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั้งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวม ๆ ว่าจักรวรรดิอองซู
พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองซุยังคงต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสจึงทรงใช้ความอ่อนแอของพระเจ้าจอห์นทั้งทางกฎหมายและทางการทหาร ยึดดินแดนต่าง ๆ มาเป็นของฝรั่งเศส ราชวงศ์อองซูสูญเสียดินแดนนอร์มังดีทั้งหมดและลดเนื้อที่ครอบครองในฝรั่งเศสเหลือเพียงในบริเวณบางส่วนของแกสโคนี ขุนนางอังกฤษยังคงต้องการครอบครองดินแดนเหล่านี้
เมือสิ้นราชวงศ์กาเปเซียง แม้ว่า พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต(พระญาติทางฝ่ายมารดา) จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด
แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศสจึงอ้างกฎบัตรชาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเซียง ในปีค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า(Auld Alliance สัญญาสันติภาพเพื่อการประสานการป้องกันทางทหารร่วมกันในการต่อต้านอังกฤษ ระหว่าง สกอตแลนด์และฝรั่งเศส) พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแค้วนกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ที่ 3 ทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน นี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามร้อยปี
ขณะที่ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและอังกฤษ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีรากฐานจากบริเวณอองซู และนอร์มังดีในฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมต่อสู้ทั้งสองฝ่าย โดยมีเบอร์กันดีและอากีแตนสนับสนุนฝ่ายแพลนทาเจเน็ท
ราชวงศ์กาเปเซียง คือราชวงศ์ที่ปกครองฝรั่งเศสในสมัยกลาง ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อำเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเซียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปรารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียงราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นสพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท
แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะทรงมีพระโอรสถึงสามองค์ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย พระนางอิซาเลลา พระขนิษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 ทรงอภิเษกกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีพระโอรสเป็ฯพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ดังนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเจ้าชาร์ลส์ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส
เมื่อปี ค.ศ. 1066 เมื่อ ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดียกกองทัพมารุกรานอังกฤษพระองค์ทรงได้รับชัยชนะต่อสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ และขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ
ในฐานะดยุคแห่งนอร์มังดี วิลเลียมยังคงขึ้นกับกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส
การแสดงความสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์โดยกษัตริย์อีกองค์หนึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนเป็นการหยามศักดิศรี พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจึงพยายามเลี่ยง ทางฝ่ายราชวงศ์กาเปเตียงก็ไม่พอใจที่กษัตริย์ประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเจ้าของดินแดนภายในราชอาณาจักรละพยายามหาทางลดความอันตรยของฝ่ายอังกฤษต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส
หลังจากสงครามกลางเมือง (สงครามอนาธิปไตย The Anarchy) ราชวงศ์อองซูขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์แองโกล-นอร์มัน ในสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุดของราชวงศ์อองซูนั้น ปกครองทั้งอังกฤษ และดินแดนในฝรั้งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มีเนื้อที่มากกว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเอง ดินแดนเหล่านี้เรียกรวม ๆ ว่าจักรวรรดิอองซู
พระมหากษัตริย์อังกฤษแห่งราชวงศ์อองซุยังคงต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสจึงทรงใช้ความอ่อนแอของพระเจ้าจอห์นทั้งทางกฎหมายและทางการทหาร ยึดดินแดนต่าง ๆ มาเป็นของฝรั่งเศส ราชวงศ์อองซูสูญเสียดินแดนนอร์มังดีทั้งหมดและลดเนื้อที่ครอบครองในฝรั่งเศสเหลือเพียงในบริเวณบางส่วนของแกสโคนี ขุนนางอังกฤษยังคงต้องการครอบครองดินแดนเหล่านี้
เมือสิ้นราชวงศ์กาเปเซียง แม้ว่า พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต(พระญาติทางฝ่ายมารดา) จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด
แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศสจึงอ้างกฎบัตรชาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเซียง ในปีค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสตามสัญญาพันธมิตรเก่า(Auld Alliance สัญญาสันติภาพเพื่อการประสานการป้องกันทางทหารร่วมกันในการต่อต้านอังกฤษ ระหว่าง สกอตแลนด์และฝรั่งเศส) พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแค้วนกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ที่ 3 ทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็ว และหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน นี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามร้อยปี
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ยวนฉาง
หลวงจีน เหี้ยนจัง หรือยวนฉาง หรือที่รู้จักกันในนามว่า "พระถังซำจั๋ง" จะไปสืบพระไตรปฎกที่อินเดีย(พูดกันแบบภาษาชาวบ้านว่าไปไซที คือไปแดนตะวันตก)ได้จาริกจากรุงจีน ผ่านทาง โยนก คันธาระ กัศมีระ (คือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดียพายัพปัจจุบัน) ที่เมืองจีนเวลานั้นตรงกับรัชสมัยพระเจ้าถังไทจง
หลวงจีนเหี้ยนจังได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัย”นาลันทา”จนจบแล้วสอนทีนั้นระยะหนึ่ง จึงนำคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นต้น จำนวนมาก เดินทางกลับมาถึงเมืองเชียงอาน ฉางอาน ท่านได้รับการต้อนรับยกย่องอุปถัมภ์อย่างดีจากองค์พระจักรพรรดิ์ และทำงานแปลพระไตรปิฎกสังสอนธรรมกระทั้งมรณะภาพ
พระเสวียนจั้ง (ค.ศ. 602-664) หรือเป็นที่รู้จักในยายไซอิ๋วว่า พระถังซัมจั๋ง เป็นพระที่บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ แต่ยังมีสิ่งที่ค้างอยู่ในใจ คือการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีปเมืองเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบัญทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งบันทึกการเดินทางไว้ด้วย หรือ จดหมายเหตุการเนทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง โดยจะเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหาร การเมืองการปกครอง
ต่อมาสมัยหมิง อู๋เฉิงเอิน ได้ประพันธ์เรื่อง “ไซอิ๋ว” อันเป็นเทพนิยายที่ประสบความสำเร็จมากทีสุดเรื่องหนึงของจีนนำเรื่องพระถังซัมจั๋ง มาเป็นเค้าเรื่อง สมมุติเรื่องราว ความยากลำบากและอุปสรรคต่างๆ นานา ที่พระถังซัมจั๋งและบริวารทั้งสามได้พบในระหว่างเดินทางไกลไปอัญเชิญพระไตรปิฎก
อู๋เฉิงเอิน (ค.ศ. 1506-1582) สมัยราชวงศ์หมิง เกิดในมลฑลเจียงซู เป็นคนมีพรสวรรค์ตั้งแต่เด็ก มีความสนใจในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและมากความสามารถในศิลป์แขนงต่าง ๆ เขาเขียน “ไซอิ๋ว” เสร็จสิ้นในช่วงบั้นปลายของชีวิต โดยทำการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่วัยหนุ่ม
ไซอิ๋วจึงเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสะภาพสังคมในสมัยนั้น เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ในสังคมโดยให้เปรียบเป็นภูมิผีปีศาจต่าง ๆ ทำการขัดขวางการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นฝ่ายคุณธรรม โดยตัวละครที่สำคัญนั้นคือ “ไซอิ๋ว”ผู้ไม่กลัวเกรงต่ออำนาจ ความโหดร้ายของเหล่า ภูติ ผี ปีศาจ
ไซอิ๋ว เป็นการเล่านิยายต่าง ๆ หลายสิบเรื่อง แต่ละเรื่องไม่เหมือนกันแต่ก็มีความต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยเรื่องราวของเทพี ภูตผีปีศาจ ยักษ์ต่างๆ รวม 100 ตอน เรื่องแต่ละเรื่องสามารถแยกกันเป็นเรื่องโดยอิสระและสามารถเชื่อมโยงกันได้ตลอดเรื่อง ประกอบเข้าเป็นโลกแห่งเทพนิยายที่มหัศจรรย์
จากการเดินทางสู่นาลันทาตามเส้นทางสายไหม ของหลวงจีน เหี้ยนจัง ต้องผ่านพบอุปสรรและความลำบาก โดยความมุ่งมั่นในพุทธศาสนา จึงสำเร็จการศึกษาจากนาลันทาและนำพระไตรปิฎกเขามาเผยแผ่ในประเทศจีน สู่ การเดินทางในเทพนิยาย ของหลวงจีน เหี้ยนจัง หรือ พระถังซัมจั๋ง นั้น โดยมีศิษย์ทั้งสาม เป็นผู้ต่อสู้กับอธรรมที่เกิดในสังคมจีนในช่วงเวลานั้น การสร้างวีรชนคนกล้าที่เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ให้ช่วยเหลื่อการนำธรรมะกลับมาช่วยสังคมจีนในขณะนั้น โดยผ่านอุปสรรคและเล่ห์เหลี่ยม ของเหล่าอธรรม โดยไม่หวาดหวั่น จึงเป็นการเดินทาง อีกครั้งของหลวงจีนเหี้ยนจัง ที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อสังคมชาวจีนในเวลาต่อมา การเดินทางทั้งสองครั้งของพระถังซำจั๋งนั้นสงผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชาวจีนเป็นอย่างมากดังที่กล่าวมาร
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
พุทธและฮินดู
ความกลมกลืนในความขัดแย้ง
สังคมอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกัน แต่ก็เข้ากันและผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี เพราะประชาชนมอิสะในการเชื่อ และการเสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางความเชื่ออย่างเสรี มีทั้งตรึงเครียด และหย่อนยานในทางปฏิบัติ มีความสุดโต่ง ในหลายรูปแบบ เช่น การเคร่งคระปฏิบัติ จนทรมานร่างกาย ชนิที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปแทบทนไม่ได้ และเสพสุขฟุ้งเฟ้อบรมสุขาวกับมิใช่อยู่ในเมืองมนุษย์
การสังเวยบูชาผีสางเทวดา ด้วยสิ่งของไปจนถึงชีวิตมนุษย์การดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย ตั้งแต่เกิดจนตายต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ครอบครัวอินเดียเป็นครอบครัวรวม ทั้งญาติโดยสายเลือด และโดยการสมรส จะอาศยรวมอยู่ในเรือนเดียวกัน มีสิทธิในสมบัติของบรรพบุรุษเท่า ๆ กัน บรรดาลูกเลี้ยง คนรับใช้ ข้อทาสบริวารต่าง ๆ ก็นับเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน ดังนั้นครอบครัวฮินดูจึงเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
ระบบวรรณะ เป็นระบบที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ชาวฮินดุมีความเชื่ว่าระบบวรรณะเป็นบรรชาของพระเจ้า มีลักษณะเป็นสากล
เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปสังคมฮินดูอยางมากในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ความเชื่อ พฤติกรรมและแนวทางดำรงชีวิต การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถานภาพของบุคคลในสังคมก็มีการเปลี่ยแปลงด้วย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศสังสอนแก่ชาวอินเดยในสมัยพุทธกาลเป็นคำส่งสอนทีปฏิเสธความเชื่อถือและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวอินเดียทีนับถือฮินดู และลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในสมยนั้น
การคัดค้านเรื่องระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า นับเป็นเรื่องใหญ่ของสังคอินเดียในสมัยนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการเลิกถือชั้นวรรณะทำให้ระบบวรรณะ ซึงฝังรากลึกต้องสั่นคลอน
พระพุทธองค์ทรงพบกับการต่อต้านอยางหนักจากพวกวรรณะพราหมณ์ โดยพาะจากพรหมณ์ปุโรหิต ผู้มีอาชีพประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ พุทธศานาสามารถแก้ปัญหาเรื่องระบบวรรณะได้มาในสมยพุทธกาล และสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมืองพุทธศาสนเสื่อมลงในเวลาต่อมาก็เกิดการร่วมกันต่อต้านพุทธศาสนาจากพวกนอกศาสนา และมีการฟื้นผู สนับสนุนระบบวรรณะให้เฟื่องฟูในสังคมดังเดิม กษัตริย์สมัยนั้นใช้ความเชื่อเรื่องเทวกำเนิดของระบบวรรณะเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของกลุ่มพระผู้ประกอบพิธีทางศสนาของลัทธิต่าง ๆ และทำให้ฐานะของกษัตริย์มั่คงขึ้นอีกครั้งเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ระบบวรรณะจึงยังยืนต่อมา
สังคมพุทธและฮินดู นั้นหากดูผิวเผินแล้วน่าจะไปด้วยกันได้ แต่แท้จริงเข้ากันได้เพียงหลวม ๆ เท่านั้น เมือพุทธศาสนาแพร่ขายไปในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยรับอิทธิพลของศาสนพราหมณ์ฮินดูอยูก่นแล้ว จึงกลายเป็นการผสมผสานกนระหว่างพุทธศาสนากับฮินดู ซึ่งจะห็นได้ในสังคมไทยในอดีต อันเป็นสังคมทีผสมผสานกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ จนยากที่จะแยกกันได้ กระทั่งปัจจุบัน
สังคมอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกัน แต่ก็เข้ากันและผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี เพราะประชาชนมอิสะในการเชื่อ และการเสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางความเชื่ออย่างเสรี มีทั้งตรึงเครียด และหย่อนยานในทางปฏิบัติ มีความสุดโต่ง ในหลายรูปแบบ เช่น การเคร่งคระปฏิบัติ จนทรมานร่างกาย ชนิที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปแทบทนไม่ได้ และเสพสุขฟุ้งเฟ้อบรมสุขาวกับมิใช่อยู่ในเมืองมนุษย์
การสังเวยบูชาผีสางเทวดา ด้วยสิ่งของไปจนถึงชีวิตมนุษย์การดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย ตั้งแต่เกิดจนตายต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ครอบครัวอินเดียเป็นครอบครัวรวม ทั้งญาติโดยสายเลือด และโดยการสมรส จะอาศยรวมอยู่ในเรือนเดียวกัน มีสิทธิในสมบัติของบรรพบุรุษเท่า ๆ กัน บรรดาลูกเลี้ยง คนรับใช้ ข้อทาสบริวารต่าง ๆ ก็นับเป็นสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน ดังนั้นครอบครัวฮินดูจึงเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
ระบบวรรณะ เป็นระบบที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ชาวฮินดุมีความเชื่ว่าระบบวรรณะเป็นบรรชาของพระเจ้า มีลักษณะเป็นสากล
เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปสังคมฮินดูอยางมากในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ความเชื่อ พฤติกรรมและแนวทางดำรงชีวิต การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถานภาพของบุคคลในสังคมก็มีการเปลี่ยแปลงด้วย
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศสังสอนแก่ชาวอินเดยในสมัยพุทธกาลเป็นคำส่งสอนทีปฏิเสธความเชื่อถือและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวอินเดียทีนับถือฮินดู และลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายในสมยนั้น
การคัดค้านเรื่องระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า นับเป็นเรื่องใหญ่ของสังคอินเดียในสมัยนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการเลิกถือชั้นวรรณะทำให้ระบบวรรณะ ซึงฝังรากลึกต้องสั่นคลอน
พระพุทธองค์ทรงพบกับการต่อต้านอยางหนักจากพวกวรรณะพราหมณ์ โดยพาะจากพรหมณ์ปุโรหิต ผู้มีอาชีพประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ พุทธศานาสามารถแก้ปัญหาเรื่องระบบวรรณะได้มาในสมยพุทธกาล และสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมืองพุทธศาสนเสื่อมลงในเวลาต่อมาก็เกิดการร่วมกันต่อต้านพุทธศาสนาจากพวกนอกศาสนา และมีการฟื้นผู สนับสนุนระบบวรรณะให้เฟื่องฟูในสังคมดังเดิม กษัตริย์สมัยนั้นใช้ความเชื่อเรื่องเทวกำเนิดของระบบวรรณะเพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมของกลุ่มพระผู้ประกอบพิธีทางศสนาของลัทธิต่าง ๆ และทำให้ฐานะของกษัตริย์มั่คงขึ้นอีกครั้งเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ระบบวรรณะจึงยังยืนต่อมา
สังคมพุทธและฮินดู นั้นหากดูผิวเผินแล้วน่าจะไปด้วยกันได้ แต่แท้จริงเข้ากันได้เพียงหลวม ๆ เท่านั้น เมือพุทธศาสนาแพร่ขายไปในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยรับอิทธิพลของศาสนพราหมณ์ฮินดูอยูก่นแล้ว จึงกลายเป็นการผสมผสานกนระหว่างพุทธศาสนากับฮินดู ซึ่งจะห็นได้ในสังคมไทยในอดีต อันเป็นสังคมทีผสมผสานกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ จนยากที่จะแยกกันได้ กระทั่งปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...