พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1413-1422 ทรงเป็นพระราชโอรสของเฮนรี่แห่งโบลิคโบรค และ แมรี เดอโบฮุน ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงเสกสมรสกับแคทเธอรีนแห่งวาลัวร์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่สำคัญที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง เมื่อครั้งพระราชสมภพ มิได้มีสิทธิใกล้เคียงในการสืบราชบัลลังก์แม้วันและปี่ที่ประสูติก็มิได้บันทึกไว้เป็นที่แน่นอน พระองค์ไม่ทรงแต่เป็นผูรวบรวมอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษเท่านั้นแต่ทรงทำในสิ่งที่บรรพกษัตริย์ในอดีตพยายามจะทำคือไม่สำเร็จในงครามร้อยปี คือการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและฝรั่งเศษภายใต้พระมหากษัตริย์องค์เดียว
พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่า ๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐาน พระองค์อาจจะมีอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมือง และอังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมืองและเวลส์ไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรี่จึงทรงนำทัพบุกฝรั่งเศส
ยุทธการอาแฌงคูร์ด
กองทัพอังกฤษเดินทางข้ามช่องแคบโดเวอร์มุ่งสู่ชายฝั่งของฝรั่งเศสขึ้นบกที่แหลม เดอ โช โดยมุ่งหน้าเข้ายึดป้อมฮาร์เฟลอร์เพื่อเปิดทางสู่นอร์มังดี แม้จะสามารถยึดป้อมอาร์เฟลอร์ได้แต่ก็ต้องเสียไพร่พลไปเป็นอันมากเนื่องจากความเจ็บป่วย จึงต้องทำการปรับแผนใหม่ โดยการเคลื่อทัพไปตั้งหลักที่เมืองคาเลย์ซึ่งเป็นอาณาเขตของอังกฤษ แต่ทางฝ่ายฝรั่งเศษร่วงรู้เรื่องการอ่อนกำลังของฝ่ายอังกฤษจึงได้ส่งกองทัพ ไล่ตาม เพื่อหมายบดขยี้ อังกฤษตกอยู่ในภาวะจนตรอก.. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ถอยทัพไปจนถึงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ อาแฌงคูร์ด ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทีจะไปยังคาเลย์ และบัญชาให้ตั้งรับข้าศึกที่นี้
ในการจะรอดพ้นจากการบดขยี้จากกองทัพที่มีขนาดมหึมาได้นั้นจำเป็นต้องมีแผนการรบที่ดีและมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเลือกชัยภูมิแคบ ๆ ลักษณะพื้นที่ เป็นทุ่งหญ้าที่มีสองข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโอบล้อม
ในคืนก่อนจะมีการปะทะกันระหว่างสองทัพได้มีฝนตกลงมาทำให้สนามรบกลายเป็นทะเลโคลน การเคลื่อนพลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในวันที่ทัพทั้งสองฝ่ายเผลิญหน้ากัน พระเจ้าเฮนรี่ ทรงบัญชาให้อัศวินทั้งหมดลงจากหลังม้าและร่วมกับพลธนูเพื่อตั้งขบวนรับศึก
โดยทรงจัดขบวนทัพเป็นแถวหน้ากระดานสี่แถว ลึกเข้าไปในท้องทุ่งและสยายปีกอยู่ระหว่างปลายใต้สุด โดยพระเจ้าเฮนรี่ทรงอยู่ในศูนย์กลางกองทัพ
ทางฝ่ายฝรั่งเศสแปลขบวนทัพ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้บัญชาการรบคือ ชาร์ล ดัลเบรต์ ขุนพลแห่งฝรั่งเศส และจอมพล ฌอง เดอบูชิโคต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่สนามรบนั้นแคบ ทัพฝรั่งเศสต้องจัดขบวนทัพเป็นสามแนวอย่างแน่นหนา เรียงตามความยาวของพื้นที่ โดยทหารกองหน้านั้น ประกอบด้วยเหล่าอัศวินเกราะหนัก ถือหอกและแหลนยาว 4 เมตร ทหารผู้ไม่มีตระกูลถูกพลักให้ไปอยู่แนวที่สาม พลหน้าไม่และปืนไฟอยู่หลังแนวอัศวิน จึงส่งผลให้รูปลักษรณะของกองทัพ ขัดกันเองและขัดต่อสภาพภูมิประเทศ และสถานะการณ์ สถานะการณ์การรบดำเนินไปกระทั้งฝ่ายอังกฤษรุกคืบและตั้งแนวรบของพวกตน โดยพลธนูได้ปักขวางลงพื้นและเข้าประจำที่
England Longbow : ธนูในสมัยกลางที่ทรงพลัง ยาวเกือบ 2 เมตรา ระยะยิงไกลถึง 300 เมตร เป็นธนูที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในบรรดาธนูยุโรปทั้งหมด
ธนูยาวสามารถลดทอนกำลังทัพหน้ากองทัพฝรั่งเศสเป็นอันมาก และเมื่ออัศวินในชุดเกราะของฝรั่งเศสลุยฝ่าทะเลโคลนและคมธนูของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในระยะพุ่งหอก พระเจ้าเฮนรี่ ทรงสั่งทหารของพระองค์ทิ่งธนู และเข้าต่อสู้กับอัศวินฝรั่งเศส จากการเลื่อกชัยภูมิ ที่เป็นบริเวณที่แคบ และการประเมินสภาวะการณ์ของสภาพสนามรบทำให้การเคลื่อนไหวของทหารอังกฤษได้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านกำลังพลนั้นด้วยสนามรบที่ป้องกันการโอบล้อมได้เป็นอย่างดีจึงจะต้องบุกเข้าโดยทัพหน้าเพียงทางเดียว การที่ทัพหน้าไม่สามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ กำลังที่ตามมาจึงเกิดความระสำระสาย บวกกับการได้เห็น ฝ่ายของตนตกเป็นรองในการเข้าตะลุมบอน และการระดมยิงธนูยาวของฝ่ายอังกฤษ ทหารฝรั่งเศสบางส่วนจึงแตกทัพหนีออกจากสมารภูมิ และในที่สุด การรบก็สิ้นสุดลง โดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ และยังสามารถจับตัวขุนพลผู้มีชื่อเสียง แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย นั้นคือ จอมพล ฌองเดอ บูชิโคต์ ผู้บัญชาการทัพฝรั่งเศส
หลังจากการรบที่ อาแฌงคูร์ต ที่สามารถพิชิตกองทัพอัศวินได้อย่างสิ้นเชิง และหลังจากรบครั้งนี้พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงนำทัพทำศึกกับฝ่ายฝรั่งเศสกระทั่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสทรงขอเจรจาสงลศึกและทำข้อตกลงยินยอมให้เพระเจ้าเฮนรี่ได้รับตำแหน่างผู้สำเต็จราชการและเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส
มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า การชูนิ้วกลางมีที่มาจาก “ยุทธการอาแฌงคูร์” Battle of Agincourt โดยทหารฝ่ายอังกฤษได้ชูนิ้วของตนโบกไปมาให้ทหารฝรั่งเศส เพื่อยั่วยุฝรั่งเศสที่ขู่ตัดสองนิ้วที่ใช้สำหรับรั้งสายธนูของทหารอังกฤษ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ทหารฝรั่งเศส จับพลแม่นธนูอังกฤษได้ ก็เลยสำเร็จโทษด้วยการตัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ใช้ยิงธนู กระทั่งปัจจุบันยังมีการแสดงกิริยาเช่นนี้เป็นการเย้ยหยัน..
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น