ระหว่างปีค.ศ. 1453-1487 ที่ อังกฤษ เวลส์ และฝรั่งเศส ราชวงศ์ทิวดอร์(ราชวงศ์แลงแคสเตอร์)ได้รับชัยชนะในที่สุด
คู่สงคราม
ราชวงศ์ยอร์ก : ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4,
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7
เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..
ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจำราชวงศ์สองราชวงศ์ คือ กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามตอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสื่อชื่อ “แออน์แห่งไกเออร์สไตน์” Anne of Geierstein โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
ขึ้นครองราชย์เมืองพระชนมายุเพียง 9 เดือนหลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคตอย่างกะทันหัน พระองค์ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทรงพระราชบิดา ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียได้แก่ เด็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัพโฟล์ก ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐาล และในการบริหารการทำสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั่งดินแดนที่ได้มาจาการได้รับชัยชนะก็สูญเสียกลับไปให้ฝรั่งเศส
สิทธิในราชบัลลังก์
ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มเมือง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดย เฮนรี่ โลลิงโบรก ดยุกปก่งแลงแคสเตอร์ และราชาภิกเษกเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 เมื่อยึดราชาบัลลังก์ได้แล้ว สองสามปีต่อมาต้องเผชิญกับการปฏิวัติต่อต้านหลายครั้งใน เวลศ์ เชสเตอร์ และนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเอ็ดมันด์ มอร์ติกเมอร์ซึ่งเป็นบุตรของรัชทายาท ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ขึ้นครองบัลลังก์ หลังการสวรรคตของเฮลรี่ที่ 4 ทรงได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นนักการทหารที่มีความสามารถทรงได้รับความสำเร็จในยุทธการในสงครามร้อยปี ที่ฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็มีการอ้างสิทธิและมีการคิดร้ายและการกบฎเลื่อยมา
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วทรงะเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรภาพ นอกจากนั้นก็ยังทรงมีพระอาษรเสียพระสติเป็ฯระยะๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป
ความขัดแย้งในรชสำนักเก้เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศโดบตระกูลขุนนางไม่ยอมรับอำนาจจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขฯ หลายกรณีเป็นต่อสู้ระหว่างขุนางเก่ากับขุนนางใหม่เช่น “ความบาดหมายระหว่งเพอร์ซีย์และเนวิลล์” และความขัดแย้งระหว่างตระกูลใน “คอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์” ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับจากการพ่ายปพ้ในฝรั่งเศส โดยเป็นกำลังให้กับขุนนางผู้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ความขัดแย้งที่รอการประทุพร้อมจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง จากกองกำลังในมือขุนนางผู้มีอำนาจนั้น เมือพระมหากษัตริย์ตกอยู่ใต้อำนาจของอยุกปห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงวแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลก็พบว่าอำนาจฝ่ายตนร่อยหร่อลงทุกที
พระเจ้าเฮนรี่ทรงเสียพระสติดีอครั้ง ครั้งนี้ถึงขั้นว่าจำพระโอรสของพระองค์เองไม่ได้ สภาผุ้สำเร็จราชการที่ได้รับการก่อตั้งนำโดยดยุกแห่งยอร์คผู้เป็นที่นิยมในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ ดยุกแห่งยอร์คเริ่มใช้อำนาจ โดยการสั่งจับดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและสนับสนุนตระกูลเนวิลล์ในการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เฮนรี่ เพอร์ซี่ย์ เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด็ ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรี่ต่อไป
พระเจ้าเฮนรี่ทรงหายจากการเสียพระสติ และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองซูและกลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงเคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กจึงถูกบังคับให้ออกจากราชสำนักพระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งจึงนำไปสู่สงครามในที่สุด
สงครามครั้งนี้สร้างความระสำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่ที่ได้รับผลกระทมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเนต ที่แทนที่ด้วย ราชวงศ์ทิวดอร์ ผู้สร้างคามเปลี่ยแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในเวลาต่อมา
การสงครามทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นผลให้เกิความเปลี่ยนแปลงในสังคมระบบศักดินาของอังกฤษ อำนาจของขุนางอ่อนแอลงในขณะที่อำนาจของชนชั้นพ่อค้าเพิ่มขึ้น การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอขงอำนาจราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นการสร้างเสริมระบบกษัตริย์ของอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น
ในอีกแง่หนึ่งความเสียกายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบเป็นเคื่องชี่ใหเห็นพระปรีชาสามรถของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ผู้ซึ่งนำมาซึ่งสันติในบั้นปลาย เมื่อสงครามดอกกุหลาบยุติลงดินแดนอังกฤษในฝรั่งเศสเหลือเพียงเมืองคาเลส์และก็เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชสมัยของพระนางแมรี่ และเมื่ออังกฤษพยายามที่จะบุกเข้ายึดเมืองในฝรั่งเศสทางราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็จะให้ผลโดยตรงต่อความพยายามของอังกฤษ โดยการยุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้เกิดความขัดแย้งกันและให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
เมือสงครามยุติลงเท่ากับสิ้นสุดกองกำลังส่วนตัวของพวกขุนนางผู้มีอำนาจ พระเจ้าเฮนี่ทรงพยายามยุติความขัดแย้งระหว่งขุนนางโดยการควบคุมไม่ให้ขะนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และเลี้ยงกองทัพเพื่อจะไม่ให้ก่อความขัดแย้งระหว่างกัน ราชสำนักของราชวงศ์ทิวดอจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่งขุนนางด้วยอิทธิพลพระเจ้าแผ่นดิน
ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลส่งผลมายังอนุชนรุ่นต่อๆ มา จากตระกูลสู่เมือง แลงคาลเตอร์ หรือเมืองแมนเชสต์ในปัจจุบัน และเมืองลีดส์ มณฑล เวสต์ยอร์กเชอร์ ตระกูลยอร์ค ในครั้งปฏิวัติอุสาหก
รรม แมนเชสเตอร์ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในขณะที่ลีดส์ ต้องล้มเหลวกับอุตสหกรรมผ้าทอขนสัตว์
แม้กระทั่งในวงการฟุตบอล ในการพบกันแต่ละครั้งระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด สือมวลชนขนานนามการพบกันระหว่างสองคู่นี้ว่าเป็นสงครามกุหลาบ การพบกันในสนาม ในรอบก่อนรองชนะเลิสสองครั้งในปี 1965และ1970 ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะทั้งสองครั้ง การเตะในสนามเป็นการเล่นคนมากกว่าเล่นบอล และเกิดมวยหมู่ในสนามเมื่อการพบกันในปี 1965 และในครั้งต่อมายือเยื้อกระทั่งจะต้องพบกันถึงสามครั้งจึงจะได้ผู้ชนะ
ในปี1978 สงครามกุหลาบกลับมาโด่งดังอีกจากการย้ายทีม ของ กอร์ดอน แม็คควีน โดยย้ายไปเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ แฟนบอลยูงทองตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ Judas ในปี ในการพบกันระหว่างลีดส์กับแมนยูในปีนี้ ลีดส์ ชนะแมนฯยู 2-1
ปีค.ศ. 1994 ผ่านมาอีก 16 ปี เอริค ดันโตน่า(นักเตะฝรั่งเศส) มีความขัดแย้งกับโฮเวิร์ด วิกกินสัน และย้ายสโมสรมายังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ในปี 2002 เป็นเกมส์ที่เดิมพันค่อนข้างสูงลีดส์ต้องการที่จะขึ้นมาแทนที่ แมนฯยูในขณะนั้นซึ่งตกอยู่ในสภาพสับสนหาทางออกไม่เจอ เซอร์อเล็ก ฟูกูสัน ยอมทำทุกทาง หานักเตะค่าตัวแพง ๆ เข้าร่วมทีม จ่ายค่าเหนื่อยหฤโหดทั้งที่การเงินของทีมไม่ดีถึงขนาดนั้น
แต่ผลการแข่งขันที่ออกมา แมนฯยู 4 ลีดส์ 3 โดยแมนฯยู นำไปก่อน 4-1 โดย โอเล่ กุนน่า โซลชา,ไรอัล กิ์ก, พอล สโคลส์ ลีคส์ ได้มาจาก มาร์ค วิดูก้า
และลีดส์ก็ไล่มาเป็น 4-3 ลีดส์ยูไนเต็ดส์ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นความตกต่ำก็มาเยือนลีดส์ ตกชั้นไปเล่นในแชมป์เปียนชิพ กระทั้งปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น