คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินคำนี้แล้วก็จะรู้เลยว่าเป็ฯคำสอนของซุนวู แต่เป็นเพียงการรวมคำพูดทั้งสองประโยคที่ซุนวูพูดไว้เท่านั้นคือ "การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช้วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไมม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีวิเศษยิ่ง" กับ "หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" ฉะนั้นคำสอน "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" จึงไม่มีปรากฎในตำราพิชัยสงครามแตอย่างใด
บทที่ สิบสอง โจมตีด้วยไฟ
อันการโจมตีด้วยเพลิงมีห้า หนึ่งคือเผาไพร่พล สองคือเผายุ้งฉาง สามคือเผายุทธสัมภาระ สี่คือเผาคลังพัสดุ ห้าคือเผาอุปกรณ์ขนส่ง
ใช้เพลิงพึงดูโอกาส ของใช้พังเตรียมให้พร้อม วางเพลิงพึงดูเวลา จุดเพลิงพึงกำหนดวัน ที่ว่าเวลาคือ ความแห้งแล้ง ของอากาศ ที่ว่าวัน คือดวงจันทร์โคจรไปถึงตำแหน่ง จี ปี้ อี้ เจิ่น อันสี่ตำแหน่งนี้เป็นวันลมจัด
อันการโจมตีด้วยเพลิงนั้น พึงใช้กำหนดพุกประสานตามลักษณะเพลิงทั้งห้า เพลิงไหม้จากภายใน พึงรุกประสานจากภายนอกโดยเร็ว เพิลงไหม้ข้าศึกสงบเงียบ ให้รออย่างบุกเมือเพลิงไหม้แรง ควรบุกให้บุก ไม่ควรบุกให้ยั้ง เพลิงวางจากภายนอกได้ อย่ารอจากภายใน ให้วางเลิงตามเวลา เพลิงไหม้เหนือลม อย่า อย่าบุกใต้ลม กลางวันลมนาน กลางคืนลมหยุด การทำศึกพึงรู้การแปรเปลี่ยนของเพลิงทั้งห้า คคำนวณเวลาเผ้ารอโอกาส
ฉะนั้น ใช้เพลิงช่วยการโจมตีจักมีผลชัด ใช้นำ้ช่วยการโจมตีจักเสริมให้แกร่ง น้ำตัดข้าศึกได้ แต่เผด็จศึกมิได้
อันการรบชนะได้ดินแดนมาแล้ว หากมิเสริมให้มั่นคงจักเป็นอันตราย เรียกว่าการสิ้นเปลืองอันสูญเปล่า ฮะนั้นจึงกล่าวว่าเจ้านายผู้ชาญฉลาดพึงไตร่ตรองจงหนัก แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงดำเนินการรอบคอบไม่เป็นผลดีไม่กรีธาทัพ ไม่มีผลได้ไม่ใช้กำลังหากไม่คับขันจักไม่ออกรบ
เจ้านายมิควรเคลื่อนผลเพราะกริ้ว แม่ทัพมิควรทำศึกเพราะโกรธ ต้องด้วยประโยชน์ก็เคลื่อน ไม่ต้องด้วยประโยชน์ก็หยุึดกริ้วอาจกลายเป็ฯรัก โกรธอาจกลายเป็นชอบ แต่สูญชาติมีอาจกลับคืน สิ้นชีพมิอาจฟื้น ฉะนั้น ประมุขผู้ชาญฉลาดพึงสุขุม แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงระวัง นี้คือหลักแห่งความสงบสุขของบ้านเมืองและความปลอดภัยของกองทัพ
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การเมืองเปรียบเทียบ
กลุ่มผลประโยชน์ของอังกฤษและฝรั่งเศส
กลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษนั้นสร้างความสำคัญให้แก่ตนเองช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ทั้งนี้เนื่องมาจากคนอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมรับถึงกลุ่มผลประโยชน์ โดยทัศนคติเห็นว่าเป็นการแทรกแซงและเป็นการแสดงอันไม่ดีงามต่อกฎของสังคม แต่ที่จริงแล้วอังกฤษมีกลุ่มผลประโยชน์มาตั้งนานแล้ว แลบะในทางปฏิบัติกลุ่มผลประโยชน์นี้มีบทบาททางการเมืองอย่างกว้างขวางและมีอยู่มากมาย บางกลุ่มก็ได้จัดตั้งมาเป็นเวลานาน และเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มโดยแท้จริง เช่น สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ สภาสหพันธ์แรงงาน T.U.C. สมาพันธ์เผยแพร่อังกฤษ หรือ บางกลุ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สภาแห่งชาติเพื่อเสรีภาพประชาชน สภาป้องกันการทำทารุณกรรมต่อสัตว์ โครงสร้างกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษและความสัมพันธ์กับรัฐบาลในกระบวนการทางการเมืองนั้น มีลักษณะเฉพาะตัวสูงมาก กล่าวคือ กลุ่มผลประโยชน์แบบผลิตนั้น มีมาตรการต่อสู้กับรัฐบาลที่ออกกฎหมายก็คือการปฏิเสธจะร่วมมือ ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถที่จะหยุดยับยั้ง หรือ เป็นตัวอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลได้ กลุ่มผลประโยชน์ในอังกฤษมีวัตถุประสงค์จากรัฐบาล 4 ประการ คือ
1) การหาข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีและการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งจะมีผลต่อกลุ่ม
2) เจตนารมณ์ที่ดีของผู้บริหารที่จะดำเนินตามนโยบาย
3) การสร้างอิทธิพลนโยบายของรัฐบาลและ
4) ฐานะของสังคมของกลุ่ม
ส่วนของฝรั่งเศสนั้นกลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทคล้ายคลึงกับกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกอื่นๆ ถึงแม้ว่านักปรัชญาฝรั่งเศสซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของรุสโซซึ่งว่าด้วยเจตนารมณ์ของส่วนร่วมจะมองดูกลุ่มผลประโยชน์ในฐานะของผู้บุกรุกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและพลเมือง กลุ่ผลประโยชน์ของฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมืองอยู่ดี รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่สี่ยอมรับอย่างเป็นทางการถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ ในสาธารณรัฐที่ห้านั้น สภาสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีจำนวนสมาชิก 200 คน 70 คน ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล โดยสมาชิกดังกล่าวมาจากกลุ่มผลประโยชน์ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม บทบาทของสภามีหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อกระบวนการเมืองในฝรั่งเศส ได้แก่
1) กลุ่มนายจ้างอุตสาหกรรมและการค้า
2) องค์การวิสาหกิจขนาดเล็กแบะขนาดกลาง
ทั้ง 2 ก็มีบทบาทในการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจและการบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐบาลสังคมนิยมในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าทั้งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการเมืองทั้งนั้น เพราะว่าถ้าการเมืองดีเศรษฐกิจก็จะดีตามอีกอย่างการเมืองยังเป็นตัวกำหนดนโยบายอีกด้วย จึงทำให้การเมืองและกลุ่มผลประโยชน์หรือเศรษฐกิจเกี่ยวเนื่องกันตลอดเวลา
กลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษนั้นสร้างความสำคัญให้แก่ตนเองช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ทั้งนี้เนื่องมาจากคนอังกฤษปฏิเสธที่จะยอมรับถึงกลุ่มผลประโยชน์ โดยทัศนคติเห็นว่าเป็นการแทรกแซงและเป็นการแสดงอันไม่ดีงามต่อกฎของสังคม แต่ที่จริงแล้วอังกฤษมีกลุ่มผลประโยชน์มาตั้งนานแล้ว แลบะในทางปฏิบัติกลุ่มผลประโยชน์นี้มีบทบาททางการเมืองอย่างกว้างขวางและมีอยู่มากมาย บางกลุ่มก็ได้จัดตั้งมาเป็นเวลานาน และเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มโดยแท้จริง เช่น สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ สภาสหพันธ์แรงงาน T.U.C. สมาพันธ์เผยแพร่อังกฤษ หรือ บางกลุ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สภาแห่งชาติเพื่อเสรีภาพประชาชน สภาป้องกันการทำทารุณกรรมต่อสัตว์ โครงสร้างกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศอังกฤษและความสัมพันธ์กับรัฐบาลในกระบวนการทางการเมืองนั้น มีลักษณะเฉพาะตัวสูงมาก กล่าวคือ กลุ่มผลประโยชน์แบบผลิตนั้น มีมาตรการต่อสู้กับรัฐบาลที่ออกกฎหมายก็คือการปฏิเสธจะร่วมมือ ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถที่จะหยุดยับยั้ง หรือ เป็นตัวอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลได้ กลุ่มผลประโยชน์ในอังกฤษมีวัตถุประสงค์จากรัฐบาล 4 ประการ คือ
1) การหาข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีและการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งจะมีผลต่อกลุ่ม
2) เจตนารมณ์ที่ดีของผู้บริหารที่จะดำเนินตามนโยบาย
3) การสร้างอิทธิพลนโยบายของรัฐบาลและ
4) ฐานะของสังคมของกลุ่ม
ส่วนของฝรั่งเศสนั้นกลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทคล้ายคลึงกับกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกอื่นๆ ถึงแม้ว่านักปรัชญาฝรั่งเศสซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของรุสโซซึ่งว่าด้วยเจตนารมณ์ของส่วนร่วมจะมองดูกลุ่มผลประโยชน์ในฐานะของผู้บุกรุกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและพลเมือง กลุ่ผลประโยชน์ของฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมืองอยู่ดี รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่สี่ยอมรับอย่างเป็นทางการถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ ในสาธารณรัฐที่ห้านั้น สภาสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีจำนวนสมาชิก 200 คน 70 คน ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล โดยสมาชิกดังกล่าวมาจากกลุ่มผลประโยชน์ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม บทบาทของสภามีหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อกระบวนการเมืองในฝรั่งเศส ได้แก่
1) กลุ่มนายจ้างอุตสาหกรรมและการค้า
2) องค์การวิสาหกิจขนาดเล็กแบะขนาดกลาง
ทั้ง 2 ก็มีบทบาทในการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจและการบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐบาลสังคมนิยมในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าทั้งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการเมืองทั้งนั้น เพราะว่าถ้าการเมืองดีเศรษฐกิจก็จะดีตามอีกอย่างการเมืองยังเป็นตัวกำหนดนโยบายอีกด้วย จึงทำให้การเมืองและกลุ่มผลประโยชน์หรือเศรษฐกิจเกี่ยวเนื่องกันตลอดเวลา
ปัจฉิมบท สงครามร้อยปี
ฌาน ดาร์ก หรือ โจนส์ออฟอาร์ค กลายเป็นตำนานมาเกือบสี่ศตวรรษ ที่มาของข้อมูลเกี่ยวกับโจนส์ส่วนใหญ่มาจากบันทึกพงศาวดาร และในศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบบันทึกการพิจารณาคดีครั้งแรกฉบับดั้งเดิม 5 เล่ม ต่อมารนักประวัติศาสตร์ก็พบหลักฐานการพิจารณาคดีครั้งที่สองทั้งหมดซึ่งเป็นบันทึกของคำให้การจากพยานที่ฝ่านการสัตย์สาบาน 115 คน และบันทึกภาษาฝรั่งเศสของการพิจารณาคดีครังแรกที่เป็นภาษาละติน นอกจากนั้นก็ยังมีการพบจดหมายจากร่วมสมัย สามฉบับลงนาม “Jehanne” ด้วยลายมือที่ไม่มั่นคงคล้ายกับผุ้ที่เพิ่งหัดเขียนหนังสือ จากหลังฐานทางเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับฌาน ทำให้เดวรีส์ประกาศว่า “เห็นจะไม่มีผุ้ใดในสมัยกลางไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่เป็นหัวข้อของการศึกษามากเท่าโจน”
สงครามส่งผลต่อประวัติศาสตร์หลายประการ แม้จะเป็นสงครามของความขัดแย้งกันหลายด้าน แต่ก็เป็นสงครามที่ทำให้ทั้งฝ่ายอังกฤษเริ่มมีความรู้สึกถึงความเป็นชาตินิยม ทางด้านการทหารก็การนำอาวุธและยุทธวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งทำให้ระบบศักดินาที่ใช้การต่อสู้บนหลังม้าต้องหมดความสำคัญลงไป ในด้านระบบทหารมีการริเริ่มการใช้ทหารประจำการที่เลิกใช้กันไปตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเกษตรกร ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ การสงครามของยุคกลาง ในฝรั่งเศสการรุกรานของฝ่ายอังกฤษ,สงครามกลางเมือง,การระบาดของเชื้อโรค,ความอดอยาก และการเที่ยวปล้นสดมของทหารรับจ้างและโจรทำให้ประชากรลดจำนวนถึงสองในสามในช่วงเวลานี้ เมือต้องออกจากแผ่นดินใหญ่ของยุโรป อังกฤษก็กลายเป็นชาติเกาะที่มีผลต่อนโยบายและปรัชญาของอังกฤษต่อมาถึง 500 ปี
หลังจากการปรากฎตัวของ โจนส์ออฟอาร์คความได้เปรียบของฝ่ายอังกฤษก็ลดถอยลง นอกจากนั้นสงครามร้อยปียังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งในฝรั่งและอังกฤฏที่รวมทั้ง สงครามสืบบัลลังก์บริตานี, สงครามสืบราชบัลลังก์คาสตีล และสงครามสองปีเตอร์ คำว่า “สงครามร้อยปี”นั้นเป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมาคิดขึ้นเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวนี้
Jeanne d'Arc
ฌาน ดาร์ก หรือโจนออฟอาร์ก หรือ โยนออฟอาร์ค วีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนา ตระกูล “ดาร์ค” (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเกิดที่เมือ ดอมเรมี ในแถบแค้วนลอเร้นน์ ได้รับฉายาว่า สาวพหรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของ ฝรั่งเศส เป็นคนเคร่งศาสนา ทุกวันเสาร์เธอชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์ และเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลที่ 7โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมืออายุ 19 ปี
ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ไม่สามารถที่จะแสดงได้ว่าได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ลุสที่ 3 จึงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการ การพิจารณาศาลสรุปว่าโยนส์เป็นผู้บริสทุธิ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี”(หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ) โจนได้รับแต่งตั้งเป็น “บุญราศี”และเป็น”นักบุญ”ในที่สุด
“ ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำเนิดจากสามัญชน กลายมาเป็นวีรสตรี แม่มด และนักบุญ ย่อมเป็นคนที่ “ไม่ธรรมดา” สิ่งที่นำพาหญิงสาวชาวบ้านธรรมดามาได้ไกลขนาดนี้คือความกล้าหาญและความเชื่อส่วนบุคคลของเธอ”
“โจน ออฟ อาร์ควีรสตรี แม่มด นักบุญ” สำหรับคอลัมน์ “มองซีอีโอโลก” (ลำดับที่ 182) หนัสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2522 โดยวิกรม กรมดิษฐ์
เมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคต องค์รัชทายาทที่ขึ้นครองราชเป็นเพียงทารกวัย 9 เดือน ทางฝรั่งเศสไม่ยอมรับอำนาจกษัติรย์องค์ใหม่ของอังกฤษ ทหารอังกฤษจึงทำการบุกฝรั่งเศส อังกฤษเป็นพันธมิตรกับบูร์กินยงยึดครองดินแดนฝรั่งเศสไว้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งเศสปราศจากกษัตริย์ปกครองนับตั้งแต่การสวรรคตของกษัตริย์ชาลส์ ที่ 6 หรือที่เรียกว่าชาลส์ผู้บ้าคลั่ง แม้ว่าพระองค์จะมีผู้สืบราชบัลลังก์ คือ มกุฏราชกุมารชาลส์ อังกฤษอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ว่าเป็นของอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นทรงพระเยาว์อยู่ อันเป็นผลพวกจากสนธิสัญญาเมืองทรัวส์ ที่ลงนามโดยอิซาโบ เดอ บาวิแยร์ ราชินีแห่งฝรั่งเศสและผู้สำเร็จราชการ กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ของอังกฤษ อันเนืองมาจากการพ่ายสงครามอย่างย่อยยับของอาร์มานยัค อัศวินฝรั่งเศส ในการรบที่เมืองอาร์แฌงคูร์ต เมื่อห้าปีที่แล้ว ตามที่ว่าไว้ในสนธิสัญญา เฮนรี่ได้อภิเษกกับแคทเธอรีน ธิดาของกษัตริย์ชาร์ลส ที่ 6 และเมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 6 สวรรคต มงกุฎจะตกเป็นของรัชทายาท(ทางฝ่ายอังกฤษ)ผู้ซึ่งรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน สนธิสัญญานี้เป็นการขัดขวางมิให้มกุฎราชกุมารชาร์ลขึ้นครองราชย์ และทำให้ “ชาร์ล เดอะ ดอฟฟิน Charles the Dauphin” กลายเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์
ฌาน ดาร์ก เด็กสาวชาวนา
โจนส์ พยายามเพื่อเข้าเฝ้าองค์รัชทายาท ถึงสามครั้ง ในครั้งที่สามนี้ เธอได้ขอร้องเคาท์โรเบิร์ต เอด บาว์คริคอร์ท พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อพบกับองค์รับทายาท แต่ท่านเคาท์บาว์ดริคอร์ทปฏิเสธ เธอจึงอ้างคำพยากรณ์ว่า “ท่านไม่เคยได้ยินคำพยากรณ์ที่บอกว่า ผรั่งเศสจะถูกทำลายโดยสตรี และจะถูกกอบกู้โดยหญิงสาวพรหมจรรย์จากชายแดนลอร์แรงหรือ” เคาท์บาว์ดริ คอร์ทยังคงเพิกเฉยต่อคำขอของเธอ แต่เธอก็ยังคงขอร้องเขา ครั้งนี้เคาท์บาว์คริคอร์ทยอมรับฟังเธอ โจนส์ พยากรณ์เหตุการณ์ศึกทีเกิดขึ้นใกล้ๆ กับเมืองออร์เลอองส์ ว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะเป็นผู้ปราชัย และสองสามวันต่อมาเขาก็ได้รับข่าวซึ่งตรงกับที่เธอพยากรณ์ไว้ เคาท์บาว์ดริคอร์ทจึงอนุญาตให้พาเธอไปยังราชสำนักฝรั่งเศสเพื่อพบกับองค์รัชทายาท โจนสามารถรู้ได้ทันที่ว่าใครคือบุคคลที่เธอต้องการพบ แม้ว่าจะไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน
และแน่นอนว่าย่อมเป็นที่สงสัยและเป็นที่ถกเถียงกันว่าเธอกระทำการใหญ่นี้ได้อย่างไร?เพราะเหตุใด? ชาร์ล ผู้วาดระแวงจึงวางพระทัยซึ่งแม้ว่า ชาร์ล จะเป็นคนอ่อนแอแต่ไม่ใช้คนโง่เขลาจึงมอบความเป็นความตายของแผ่นดินให้ผู้หญิงซึ่งไม่รู้เรื่องการทำสงครามแม้สักนิด มีสมมติฐาน และคำบอกเล่ามากมายต่าง ๆ เกี่ยวกับโจนส์ ออฟ อาร์คและยังคงเป็นปริศนากระทั่งปัจจุบันนี้
นักประวัติศาสตร์สตีเฟน ดับเบิลยู.ริชชี ให้คำอธิบาย่าความดึงดูดของโจนส์ขณะนั้นเป็นสิ่งเดียวที่ให้ความหวังแก่กองทหารที่แทบจะไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ได้
“หลังจากปีแล้วปีเล่าที่ได้รับความพ่ายแพ้(ต่ออังกฤษ)ทั้งทางด้านการยุทธการและทางการเป็นผู้นำ ฝรั่งเศสก็ถึงจุดที่เสื่อมที่สุด ทั้งกำลังใจและประสิทธิภาพ เมื่อมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ประทานอนุญาตตามคำขอของโจนในการแต่งตัวถืออาวุทธเข้าร่วมในสงครามและเป็นผู้นำทัพ ก็คงเป็นการตัดสินพระทัยที่พื้นฐานมาจากาการที่ทรงได้ใช้วิธีต่าง ๆ มาแล้วทุกวิธีแต่ไม่สัมฤทธิ์ผล ก็เห็นจะมีแต่คณะการปกครองที่หมดหนทางเข้าจริง ๆ แล้วเท่านั้นที่จะหันไปสนใจกับความคิดเห็นของเด็กสาวชาวนาที่ไม่มีการศึกษาผู้อ้างว่าได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าที่มีคำสั่งให้เป็นผู้นำในการนำกองทัพของชาติไปสู่ชัยชนะ”
แม่มดแห่งออร์ลีน
ยุทธการออร์เลอองค์ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดย จอห์น แทลบอต เดิร์ลแห่งชรูส์บรีที่ 1, ทอมัส มอนทาคิวต์ เอิร์ลแห่งซอลส์บรีที่ 4 และวิลเลียม เอด ลา โพล ดยุคแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 และฝ่ายราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ที่นำโดย ฌ็อง เดอ ดูนัว, ฌีล เดอแร,โจส์นออฟอาร์ค และฌ็อง เดอ บร็อส ในยุทธการครั้งนี้ผรั่งเศสเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด
ชัยชนะของฝรั่งเศสในการรักษาเมืองออร์เลอ็องเป็นจุดของความเปลี่ยนแปลงของสงครามร้อยปี และเป็นสงครามใหญ่สงครามแรกที่โจนส์ออฟอาร์คมีบทบาท ชัยชนะทางการทหารครั้งนี้เป็นชัยขนะครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างยับเยินในยุทธการอาแฌ็งกูร์ นอกจากนั้น ออร์เลอ็องยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทั้งสองฝ่าย อังกฤษทำการล้อมเมืองอยู่เป็นเวลาถึงหกเดือน แต่การมาเพียงเก้าวันของโจนส์ออฟอาร์คก็มีชัยชนะเหนือฝ่ายอังกฤษ
ในการร่วมรบที่ออร์เลอ็องนั้น ฌ็อง เดอ ดูว์นัว ผู้เป็นประมุขแห่งตระกูลดยุกแห่งออร์เลอ็องไม่ยอมรับ โจนส์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งโจนส์ได้ บทบาทในกองทัพของโจนส์เป็นข้อถกเถียงของนักประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ในยุคเก่ากล่าวว่า โจนส์มีหน้าที่ถือธงและเป็นแรงบรรดาลใจแก่กองทหาร ข้อวินิจฉัยเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการพิจารณาคดีครั้แรก หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ให้ความสนใจกับคำให้การในการพิจารณาคดีครั้งที่สอง หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประฌามเป็นโมฆะ” เสนอความเห็นว่านายทหารด้วยกันสรรเสริญว่าฌานเป็นผู้ความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี และเป็นผู้มีความสำเร็จทางการวางแผนยุทธศาสตร์
โจนส์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ปฏิบัติอยู่ตลอดการถูกล้อมตลอด 5 เดือนผุ้รักษาเมืองพยายามที่จะออกไปต่อสู้รบเพียงครั้งเดียวและล้มเหลว
โจนนำทหารเข้าโจมตีและยึดป้อมแซ็งลูป ด้ามด้วยการยึดป้อมที่สอง ซึ่งไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเนื่องจากไม่มีผู้รักษาการ ในวันต่อมาโจนก็กล่าวต่อต้านฌอง ดอร์เลอองในสภาสงคราม โดยเรียกร้องให้มีการโจมตีผ่ายศัตรูอีกครังแต่ ฌอง ดอร์เลอองไม่เห็นด้วยและสั่งให้ปิดประตูเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้ใครออกรบ แต่โจนส์ก็รวบรวมชาวเมืองและทหารบังคับให้เปิดประตูเมือง โจนส์ขี้ม้าไปพร้อด้วยผู้ช่วยอีกคนกับกองทหารยึดป้อมแซ็งโตกุสแต็ง และในค่ำวันนั้นโจนถูกกีดกันจกาการประชุมของสภาสงครามที่ผุ้นำสภาตัดสินใจรอกองหนุน
แต่โจนส์ไม่สนใจในคำตัดสินของสภาและนำทัพออกโจมตีที่ตั้งมั่นสำคัญของอังกฤษ ผุ้ร่วมสมัยยอมรับว่า โจนส์เป็นวีรสตรีของสงครา หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บจากธนู แต่ก็ยังสามารถนำทัพในการต่อสู้ต่อไป และได้รับชัยชนะในยุทธการที่ออร์เลอ็อง
หลังจากชัยชนะแล้ว โจนส์ถวายคำแนะนำให้แต่งตั้งเธอเป็นผุ้บังคับการกองทหารร่วมกับ ฌ็อง ดยุกแห่งอาล็อกซง และยึดสะพานบนฝั่งแม่น้ำลัวร์คืนก่อนจะเดินทัพต่อไปยังแรงส์ เพื่อไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำแนะนำของโจนนั้นออกจะบ้าบิ่นเพราะแรงส์ห่างจากปารีสราวสอลเท่าและอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
แต่ทว่าตลอดทางแห่งการเดินทัพ ฝรั่งเศสยึดเมืองต่าง ๆ คือจากอังกฤษ และในยุทธการพาเตย์ กองทัพฝรั่งเศสยังสามารถแก้ลำ ธนูยาวของอังกฤษที่ทำให้ฝรั่งเศษพ่ายแพ้ยับเยินในยุทธการอาแฌงคูร์ต โดยการโจมตีก่อนที่ทหารธนูจะตั้งแนวตั้งรับได้สำเร็จ หลังจากนั้นทหารฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายได้เปรียบและทำลายกองทัพอังกฤษ เมื่อผ่านเมืองทุกเมืองก็ให้การสวามิภักดิ์โดยปราศจากการต่อต้าน ที่เมืองตรัวอันเป็นสถานที่ที่ตัดสิทธิการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ยอมจำนนหลังจากถูกล้อมอยู่สี่วัน หากมองย้อนกลับไปยังคำแนะนำของโจนส์ เส้นทางสืบทอดบัลลังก์ตั้งแต่ ยุทธการออร์เลอ็อง สู่แรงส์หากมิใช่พระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว จะต้องเป็นการวางแผนของทางกลยุทธ์ชั้นเลิส
หลังจากพิธีบรมราชาภิเษก ที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ แม้ว่าโจนส์และดยุกแห่งอาล็องซองจะพยายามถวายคำแนะนำให้ทรงเดินทัพต่อไปยังปารีส แต่ทางราชสำนักยังพยายามเจรจาต่อรองแสวงหาสันติภาพกับดยุกแห่งเบอร์กันดี แต่ฟิลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดี ก็ละเมิดสัญญาเพื่อถ่วงเวลาในการรอกองหนุนจกาปารีส กองทัพฝ่ายฝรั่งเศสเดินทัพไปยังปารีสระหว่างทางเมืองต่าง ๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แม้โจนส์จะได้รับบาดเจ็บจกาการเข้าโจมตีปารีส แต่ก็ยังสามารถนำทัพกระทั้งวันที่การต่อสู้สิ้นสุดลง แต่ทว่าวันรุ่งขึ้น โจนส์ก็ได้รับพระราชโองการให้ถอยทัพ นักประวัติส่วนมากกล่าวว่าองคมนตรีฝ่ายฝรังเศษคาดการสถานะการณ์ผิดอันใหญ่หลวงหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในการณ์นี้เชื่อกันว่าทางฝ่ายกษัตริย์ฝรั่งเศสซึ่งพึงขึ้นเป็นกษัตริย์ใหม่ต้องการที่จะรักษาสถานภาพกษัตริย์เอาไว้ และประกอบกับการทำสงครามนั้นจะต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ ซึ่งทางราชสำนักมีความเห็นว่าหากใช้วิธีทางการทูตจะเป็นการประหยัดกว่า
ในเดือนตุลาคมโจนส์สามารถยึดเมือง แซงต์ปิแยร์ เล มูติเยร์ และเพื่อป้องกันการถูกล้อมเมือง คองเพียญน์ โดยอังกฤษและเบอร์กันดี เกิดการต่อสู้อย่างประปรายและนำมาซึ่งการจับกุม โจนส์ได้ในที่สุด รัฐบาลอังกฤษเป็นฝ่ายที่ขอซื้อตัวโจนส์ โดยปีแยร์ โคชง บิชอปแห่งโบเวส์ ผู้ฝักใฝ่ฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของโจนส์
การพิจารณาคดีประณาม
การพิจารณาคดีในข้อหานอกรีต ของโจนส์มีมูลมาจากสถานะการณ์ทางการเมือง จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบตฟอร์ดที่ 1 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในนามของพรเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ผู้เป็นหลาน เห็นว่าเมืองโจนส์เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 การลงโทษโจนส์จึงเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายอำนาจอันถูกต้องตามกฎหมายของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โดยตรง
ปัญหาของการพิจารณาครั้งนี้ พอสรุปได้คือ อำนาจทางศาลของผู้พิพากษาปีแยช์ โคชงไม่ใช่อำนาจที่แท้จริง ปีแยร์ โคชงได้รับแต่งตั้งเพราะเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอังกฤษและเป็นผู้ที่รับผิดชอบในค้าใช้จ่ายในการพิจารณาคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้น และพนักงานศาล ก็ได้รับจ้างให้รวบรวมคำให้การที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโจนส์และไม่พบหลักฐานใดที่คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวศาลก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนข้อกลาวหาสำหรับการพิจารณาคดี นอกจากนั้นศาลก็ยังละเมิดกฏหมายศาสนจักรที่ปฏิเสธไม่ให้ฌานมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย เมือเปิดการสอบสวนเป็นการสาธารณะเป็นครั้งแรกโจนก็ประท้วงว่าผู้ที่ปรากฎตัวในศาลทั้งหมดเป็นฝ่ายตรงข้ามและขอให้ศาลเชิญ “ผู้แทนทางศาสนาของฝรั่งเศส”มาร่วมในการพิจารณาคดีด้วย
บันทึกการพิจารณาคดี
: เธอทราบไหมว่าเธออยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระเจ้า
: ถ้าข้าพเจ้ามิได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น;แต่ถ้าข้าพเจ้าได้,ก็ขอให้พระองค์ทรงรักษาไว้เช่นนั้น
ข้อหาสิบสองข้อที่สรุปโดยศาลขัดกับบันทึกของศาลเองที่ด้รับการเปลี่ยนแปลง จำเลยผู้ไม่มีการศึกษายอมลงชื่อในเอกสาร การบอกสละโดยสาบาน โดยปราศจากความเข้าใจในเนื้อหาและความหมายถายใต้การขู่เข็ญว่าจะถูกประหารชีวิต นอกจากนั้นยังมีการสลับเอกสารการบอกสละโดยสาบาน ฉบับอื่นกับเอกสารที่ใช้อย่างเป็นทางการ
การประหารชีวิต
ผู้เห็นเหตุการบรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมือวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1431 ว่าฌาน ถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิฉซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตแล้วอังกฤษกว่าถ่านหินออกจนะห็ร่างที่ถูกเผาเพ่อให้เป็นที่ราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี แล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงในแม่น้ำแซน
นักบุญโยออฟอาร์ค
การพิจารณาคดีหลังจากที่โจนเสียชีวิตเริ่มขึ้นหลังสงครามร้อยปียุติลง สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 ทรงอนุมัติให้ดำเนินการพิจารณาคดีของโจนส์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตามคำร้องขอของผู้อำนวยการการไต่สวน ฌอง เบรฮาล และอิสซาเลลา โรเม แม่ของโจนส์ การเพิจารณาคดีครั้งนี้เรียกกันวยา “การพิจารณาคดีประณามเป็นโมฆะ” ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีที่เป็นการสอบสวนการพิจารณาคดีครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” และการตัดสินว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นไปด้วยความยุติธรรมและตรงตามคริสต์ศษสนกฎบัตร
การสืบสวนเริ่มด้วยการไต่สวนนักบวช โดยฌอง เบรฮาล และการอุทธรณ์อย่างเป็นทางการก็ตามมามีผุ้เกี่ยวข้องจากทั่วยุโรปและเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีมาตรฐานของศาล
โดยผลสรุปการวินิจฉัยบรรยายฌานว่า เป็น มรณสักขี และกล่าวหาปีแยร์ โกชงผู้เสียชีวิตไปแล้วว่าเป็นผู้นอกรีตเพราะเป็นผู้ลงโทษผู้บริสทุธิ์หาผลประโยชน์ทางโลก ศาลประกาศว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ เมือ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1456
การแต่งกายเป็นชายของโจนส์ตั้งแต่ออกจาก Vaucouleurs ถึงการพิจารณาคดีที่รูอ็อง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการถูประหารชีวิตอ้างว่ามาจากการขัดกับกฎการแต่งกายจากพระคัมภีร์ ในการประกาศว่า “การพิจารณาคดีกล่าวหา”เป็นโมฆะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคดีแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหานี้ค้านกับพระคัมภีร์
นิมิต นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า ศรัทธาของฌานเป็นความศรัทธาที่จริงใจ แต่มีความกำกวมในชื่อนักบุญที่ฌาน กล่าวถึง ว่าเป็นนักบุญองค์ใดแน่ที่ ผุ้นับถือคริสต์สาสนานิกายโรมันคาทอลิกเห็นว่านิมิตของโจนเป็นการดลใจจากพระเจ้า
ฌานไม่ให้การใดใดเกี่ยวกับนิมิต ฌานประท้วงว่ามาตรฐานของการสาบานพยานของศาลขัดต่อคำสาบานที่เธอได้ให้ไว้ก่อนหน้านั้นในการรักษาความลับของการเข้าเผ้าพระเจ้าชาร์สส์ ซึ่งทำให้ไม่อาจจะทราบได้ว่าเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่จะเป็นที่น่าเชื่อถือได้เพียงใด
โจนส์มีความสามารถจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการที่จะกู้ชาติ สตีฟานดับเบิลยู. ริชชี่ ยังแสดงความเห็นอีกว่า “ประชาชนรุ่นต่อมาอีกห้าร้อยปีหลังจากโจนเสียชีวิตแล้ว สร้างสรรค์ภาพพจน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับโจน ผู้บ้าคลั่งทางจิตวิญญาณ, ผู้บริสุทธิ์ผู้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ,ผู้เป็นตัวอย่างของความเป็นชาตินิยม, วีรสตรีผุ้น่าชื่นชม,นักบุญ, แต่โจนยังคงยืนยันแม้เมือถูกขู่ด้วยการทรมานและการเผาทั้งเป็นว่าได้รับแรงบันดาลใจจากพระสุรเสียของพระเจ้า ไม่ว่าจะมีพระสุรเสียงหรือไม่ ความสำเร็จของโจนทกทำให้ทุกคนที่ทราบประวัติต่างทั่งในความสามารถอันน่าอัศจรรย์ของโจนส์”
ระหว่างการสืบสวนเกี่ยวกับการประหารชีวิตของโจนหลังสงครามร้อยปี ทางสถาบันศาสนาประกาศว่าบทละครที่แสดงเพือเป็นเกี่ยรติแก่โจนส์ที่แสดงที่ออร์เลอองส์ถือว่าเป็นกุศล ที่มีค่าในการไถ่บาปได้ โจนส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของสันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส และเฟลีส์ ดูปองลูพ์ สังฆราชแห่งออร์เลอองส์ ก็เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้แต่งตั้งดจนให้เป็นนักบุญ
การพิจารณาให้ฌานเป็นนักบุญ เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ทันที่หลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสประการอนุมัติกฎหมายฝรั่งเศสในการแบ่งแยกระหว่างรัฐและศาสนา ค.ศ. 1505 ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนสถานะภาพของสถาบันโรมันคาทอลิกในสังคมฝรั่งเศสโดยตรง โจนส์ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ในฐานะนักบุญ โจนส์ออฟอาร์คเป็นนักบุญที่เป็นที่นิยมที่สุดองค์หนึ่งในบรรดานักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก
ฟิลิปป์ อเล็กซาเดอร์ เล เบริง เด ชาร์แมตส์ เป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่เขียนลีวประวัติฉบับสมบูรณ์ของโจนออฟอาร์ค ความสนใจของฟิลิปป์มีสาเหตุมาจากในช่วงที่ฝรั่งเศสพยายามเสาะหาความหมายของความเป็นฝรั่งเศสหลังจากการปฏิบัติฝรั่งเศส และสงครามนโปเลียน “จริยศาสตร์”ของฝรั่งเศสในขณะนั้น โจนส์เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะไม่เป็นที่ขัดแย้งต่อชนกลุ่มต่าง ๆ และเป็นผลงานความพยายาทอีกครั้งที่จะเผยแพร่ “จริยปรัชญา” ของฝรั่งเศส
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) ค.ศ.1455-1489
ระหว่างปีค.ศ. 1453-1487 ที่ อังกฤษ เวลส์ และฝรั่งเศส ราชวงศ์ทิวดอร์(ราชวงศ์แลงแคสเตอร์)ได้รับชัยชนะในที่สุด
คู่สงคราม
ราชวงศ์ยอร์ก : ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4,
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7
เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..
ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจำราชวงศ์สองราชวงศ์ คือ กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามตอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสื่อชื่อ “แออน์แห่งไกเออร์สไตน์” Anne of Geierstein โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
ขึ้นครองราชย์เมืองพระชนมายุเพียง 9 เดือนหลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคตอย่างกะทันหัน พระองค์ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทรงพระราชบิดา ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียได้แก่ เด็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัพโฟล์ก ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐาล และในการบริหารการทำสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั่งดินแดนที่ได้มาจาการได้รับชัยชนะก็สูญเสียกลับไปให้ฝรั่งเศส
สิทธิในราชบัลลังก์
ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มเมือง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดย เฮนรี่ โลลิงโบรก ดยุกปก่งแลงแคสเตอร์ และราชาภิกเษกเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 เมื่อยึดราชาบัลลังก์ได้แล้ว สองสามปีต่อมาต้องเผชิญกับการปฏิวัติต่อต้านหลายครั้งใน เวลศ์ เชสเตอร์ และนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเอ็ดมันด์ มอร์ติกเมอร์ซึ่งเป็นบุตรของรัชทายาท ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ขึ้นครองบัลลังก์ หลังการสวรรคตของเฮลรี่ที่ 4 ทรงได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นนักการทหารที่มีความสามารถทรงได้รับความสำเร็จในยุทธการในสงครามร้อยปี ที่ฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็มีการอ้างสิทธิและมีการคิดร้ายและการกบฎเลื่อยมา
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วทรงะเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรภาพ นอกจากนั้นก็ยังทรงมีพระอาษรเสียพระสติเป็ฯระยะๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป
ความขัดแย้งในรชสำนักเก้เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศโดบตระกูลขุนนางไม่ยอมรับอำนาจจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขฯ หลายกรณีเป็นต่อสู้ระหว่างขุนางเก่ากับขุนนางใหม่เช่น “ความบาดหมายระหว่งเพอร์ซีย์และเนวิลล์” และความขัดแย้งระหว่างตระกูลใน “คอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์” ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับจากการพ่ายปพ้ในฝรั่งเศส โดยเป็นกำลังให้กับขุนนางผู้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ความขัดแย้งที่รอการประทุพร้อมจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง จากกองกำลังในมือขุนนางผู้มีอำนาจนั้น เมือพระมหากษัตริย์ตกอยู่ใต้อำนาจของอยุกปห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงวแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลก็พบว่าอำนาจฝ่ายตนร่อยหร่อลงทุกที
พระเจ้าเฮนรี่ทรงเสียพระสติดีอครั้ง ครั้งนี้ถึงขั้นว่าจำพระโอรสของพระองค์เองไม่ได้ สภาผุ้สำเร็จราชการที่ได้รับการก่อตั้งนำโดยดยุกแห่งยอร์คผู้เป็นที่นิยมในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ ดยุกแห่งยอร์คเริ่มใช้อำนาจ โดยการสั่งจับดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและสนับสนุนตระกูลเนวิลล์ในการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เฮนรี่ เพอร์ซี่ย์ เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด็ ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรี่ต่อไป
พระเจ้าเฮนรี่ทรงหายจากการเสียพระสติ และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองซูและกลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงเคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กจึงถูกบังคับให้ออกจากราชสำนักพระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งจึงนำไปสู่สงครามในที่สุด
สงครามครั้งนี้สร้างความระสำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่ที่ได้รับผลกระทมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเนต ที่แทนที่ด้วย ราชวงศ์ทิวดอร์ ผู้สร้างคามเปลี่ยแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในเวลาต่อมา
การสงครามทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นผลให้เกิความเปลี่ยนแปลงในสังคมระบบศักดินาของอังกฤษ อำนาจของขุนางอ่อนแอลงในขณะที่อำนาจของชนชั้นพ่อค้าเพิ่มขึ้น การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอขงอำนาจราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นการสร้างเสริมระบบกษัตริย์ของอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น
ในอีกแง่หนึ่งความเสียกายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบเป็นเคื่องชี่ใหเห็นพระปรีชาสามรถของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ผู้ซึ่งนำมาซึ่งสันติในบั้นปลาย เมื่อสงครามดอกกุหลาบยุติลงดินแดนอังกฤษในฝรั่งเศสเหลือเพียงเมืองคาเลส์และก็เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชสมัยของพระนางแมรี่ และเมื่ออังกฤษพยายามที่จะบุกเข้ายึดเมืองในฝรั่งเศสทางราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็จะให้ผลโดยตรงต่อความพยายามของอังกฤษ โดยการยุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้เกิดความขัดแย้งกันและให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
เมือสงครามยุติลงเท่ากับสิ้นสุดกองกำลังส่วนตัวของพวกขุนนางผู้มีอำนาจ พระเจ้าเฮนี่ทรงพยายามยุติความขัดแย้งระหว่งขุนนางโดยการควบคุมไม่ให้ขะนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และเลี้ยงกองทัพเพื่อจะไม่ให้ก่อความขัดแย้งระหว่างกัน ราชสำนักของราชวงศ์ทิวดอจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่งขุนนางด้วยอิทธิพลพระเจ้าแผ่นดิน
ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลส่งผลมายังอนุชนรุ่นต่อๆ มา จากตระกูลสู่เมือง แลงคาลเตอร์ หรือเมืองแมนเชสต์ในปัจจุบัน และเมืองลีดส์ มณฑล เวสต์ยอร์กเชอร์ ตระกูลยอร์ค ในครั้งปฏิวัติอุสาหก
รรม แมนเชสเตอร์ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในขณะที่ลีดส์ ต้องล้มเหลวกับอุตสหกรรมผ้าทอขนสัตว์
แม้กระทั่งในวงการฟุตบอล ในการพบกันแต่ละครั้งระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด สือมวลชนขนานนามการพบกันระหว่างสองคู่นี้ว่าเป็นสงครามกุหลาบ การพบกันในสนาม ในรอบก่อนรองชนะเลิสสองครั้งในปี 1965และ1970 ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะทั้งสองครั้ง การเตะในสนามเป็นการเล่นคนมากกว่าเล่นบอล และเกิดมวยหมู่ในสนามเมื่อการพบกันในปี 1965 และในครั้งต่อมายือเยื้อกระทั่งจะต้องพบกันถึงสามครั้งจึงจะได้ผู้ชนะ
ในปี1978 สงครามกุหลาบกลับมาโด่งดังอีกจากการย้ายทีม ของ กอร์ดอน แม็คควีน โดยย้ายไปเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ แฟนบอลยูงทองตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ Judas ในปี ในการพบกันระหว่างลีดส์กับแมนยูในปีนี้ ลีดส์ ชนะแมนฯยู 2-1
ปีค.ศ. 1994 ผ่านมาอีก 16 ปี เอริค ดันโตน่า(นักเตะฝรั่งเศส) มีความขัดแย้งกับโฮเวิร์ด วิกกินสัน และย้ายสโมสรมายังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ในปี 2002 เป็นเกมส์ที่เดิมพันค่อนข้างสูงลีดส์ต้องการที่จะขึ้นมาแทนที่ แมนฯยูในขณะนั้นซึ่งตกอยู่ในสภาพสับสนหาทางออกไม่เจอ เซอร์อเล็ก ฟูกูสัน ยอมทำทุกทาง หานักเตะค่าตัวแพง ๆ เข้าร่วมทีม จ่ายค่าเหนื่อยหฤโหดทั้งที่การเงินของทีมไม่ดีถึงขนาดนั้น
แต่ผลการแข่งขันที่ออกมา แมนฯยู 4 ลีดส์ 3 โดยแมนฯยู นำไปก่อน 4-1 โดย โอเล่ กุนน่า โซลชา,ไรอัล กิ์ก, พอล สโคลส์ ลีคส์ ได้มาจาก มาร์ค วิดูก้า
และลีดส์ก็ไล่มาเป็น 4-3 ลีดส์ยูไนเต็ดส์ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นความตกต่ำก็มาเยือนลีดส์ ตกชั้นไปเล่นในแชมป์เปียนชิพ กระทั้งปัจจุบัน
คู่สงคราม
ราชวงศ์ยอร์ก : ผู้บัญชาการ ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก,พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4,
พระเจ้าริชาร์ดที่ 3
ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ : พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6, เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์, เจ้าชายแห่งเวลส์, พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7
เป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับยอร์ก ราชวงศ์ทั้งสองต่างมีเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งราชวงศ์แพลนเทเจเนต ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเจ้านายที่เป็นเจ้าของที่ดินและกองทัพของผู้ครองที่ดินผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายต่างก็เปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้องทางราชวงศ์เช่นการแต่งานเข้ามาในราชวงศ์ ตำแหน่างผู้ครองที่ดิน ความมีอาวุโส และผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งบางครั้งยากที่จะติดตามได้ว่าใครอยู่ข้างใครเพราะการเข้าเป็นหรือ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรอาจจะขึ้นอยู่กับการได้หรือเสียตำแหน่างจากการแตงงานหรือการถูกยึดทรัพย์สมบัติ..
ชื่อสงครามดอกกุหลาบนั้นเป็นชื่อมาจากตราประจำราชวงศ์สองราชวงศ์ คือ กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามตอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสื่อชื่อ “แออน์แห่งไกเออร์สไตน์” Anne of Geierstein โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
ขึ้นครองราชย์เมืองพระชนมายุเพียง 9 เดือนหลังจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สวรรคตอย่างกะทันหัน พระองค์ทรงมีแต่ผู้สำเร็จราชการและที่ปรึกษาประจำพระองค์ที่ไม่เป็นที่นิยม นอกจากพระปิตุลาทรงพระราชบิดา ฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ และบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียได้แก่ เด็ดมันด์ โบฟอร์ต ดยุกที่ 1 แห่งซัมเมอร์เซ็ท และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุกที่ 1 แห่งซัพโฟล์ก ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสมรรถภาพในการบริหารรัฐาล และในการบริหารการทำสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ดินแดนเกือบทั้งหมดของอังกฤษในฝรั่งเศสรวมทั่งดินแดนที่ได้มาจาการได้รับชัยชนะก็สูญเสียกลับไปให้ฝรั่งเศส
สิทธิในราชบัลลังก์
ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มเมือง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดย เฮนรี่ โลลิงโบรก ดยุกปก่งแลงแคสเตอร์ และราชาภิกเษกเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 เมื่อยึดราชาบัลลังก์ได้แล้ว สองสามปีต่อมาต้องเผชิญกับการปฏิวัติต่อต้านหลายครั้งใน เวลศ์ เชสเตอร์ และนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเอ็ดมันด์ มอร์ติกเมอร์ซึ่งเป็นบุตรของรัชทายาท ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ขึ้นครองบัลลังก์ หลังการสวรรคตของเฮลรี่ที่ 4 ทรงได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นนักการทหารที่มีความสามารถทรงได้รับความสำเร็จในยุทธการในสงครามร้อยปี ที่ฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็มีการอ้างสิทธิและมีการคิดร้ายและการกบฎเลื่อยมา
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วทรงะเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรภาพ นอกจากนั้นก็ยังทรงมีพระอาษรเสียพระสติเป็ฯระยะๆ ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป
ความขัดแย้งในรชสำนักเก้เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศโดบตระกูลขุนนางไม่ยอมรับอำนาจจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขฯ หลายกรณีเป็นต่อสู้ระหว่างขุนางเก่ากับขุนนางใหม่เช่น “ความบาดหมายระหว่งเพอร์ซีย์และเนวิลล์” และความขัดแย้งระหว่างตระกูลใน “คอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์” ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับจากการพ่ายปพ้ในฝรั่งเศส โดยเป็นกำลังให้กับขุนนางผู้มีความขัดแย้งเหล่านี้
ความขัดแย้งที่รอการประทุพร้อมจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง จากกองกำลังในมือขุนนางผู้มีอำนาจนั้น เมือพระมหากษัตริย์ตกอยู่ใต้อำนาจของอยุกปห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงวแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลก็พบว่าอำนาจฝ่ายตนร่อยหร่อลงทุกที
พระเจ้าเฮนรี่ทรงเสียพระสติดีอครั้ง ครั้งนี้ถึงขั้นว่าจำพระโอรสของพระองค์เองไม่ได้ สภาผุ้สำเร็จราชการที่ได้รับการก่อตั้งนำโดยดยุกแห่งยอร์คผู้เป็นที่นิยมในฐานะเจ้าผู้พิทักษ์ ดยุกแห่งยอร์คเริ่มใช้อำนาจ โดยการสั่งจับดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและสนับสนุนตระกูลเนวิลล์ในการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อ เฮนรี่ เพอร์ซี่ย์ เอิร์ลที่ 2 แห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด็ ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรี่ต่อไป
พระเจ้าเฮนรี่ทรงหายจากการเสียพระสติ และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองซูและกลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงเคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กจึงถูกบังคับให้ออกจากราชสำนักพระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งจึงนำไปสู่สงครามในที่สุด
สงครามครั้งนี้สร้างความระสำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่ที่ได้รับผลกระทมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเนต ที่แทนที่ด้วย ราชวงศ์ทิวดอร์ ผู้สร้างคามเปลี่ยแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในเวลาต่อมา
การสงครามทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเป็นผลให้เกิความเปลี่ยนแปลงในสังคมระบบศักดินาของอังกฤษ อำนาจของขุนางอ่อนแอลงในขณะที่อำนาจของชนชั้นพ่อค้าเพิ่มขึ้น การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอขงอำนาจราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นการสร้างเสริมระบบกษัตริย์ของอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น
ในอีกแง่หนึ่งความเสียกายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบเป็นเคื่องชี่ใหเห็นพระปรีชาสามรถของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ผู้ซึ่งนำมาซึ่งสันติในบั้นปลาย เมื่อสงครามดอกกุหลาบยุติลงดินแดนอังกฤษในฝรั่งเศสเหลือเพียงเมืองคาเลส์และก็เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชสมัยของพระนางแมรี่ และเมื่ออังกฤษพยายามที่จะบุกเข้ายึดเมืองในฝรั่งเศสทางราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็จะให้ผลโดยตรงต่อความพยายามของอังกฤษ โดยการยุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้เกิดความขัดแย้งกันและให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
เมือสงครามยุติลงเท่ากับสิ้นสุดกองกำลังส่วนตัวของพวกขุนนางผู้มีอำนาจ พระเจ้าเฮนี่ทรงพยายามยุติความขัดแย้งระหว่งขุนนางโดยการควบคุมไม่ให้ขะนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และเลี้ยงกองทัพเพื่อจะไม่ให้ก่อความขัดแย้งระหว่างกัน ราชสำนักของราชวงศ์ทิวดอจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่งขุนนางด้วยอิทธิพลพระเจ้าแผ่นดิน
ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลส่งผลมายังอนุชนรุ่นต่อๆ มา จากตระกูลสู่เมือง แลงคาลเตอร์ หรือเมืองแมนเชสต์ในปัจจุบัน และเมืองลีดส์ มณฑล เวสต์ยอร์กเชอร์ ตระกูลยอร์ค ในครั้งปฏิวัติอุสาหก
รรม แมนเชสเตอร์ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในขณะที่ลีดส์ ต้องล้มเหลวกับอุตสหกรรมผ้าทอขนสัตว์
แม้กระทั่งในวงการฟุตบอล ในการพบกันแต่ละครั้งระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ และ ลีดส์ ยูไนเต็ด สือมวลชนขนานนามการพบกันระหว่างสองคู่นี้ว่าเป็นสงครามกุหลาบ การพบกันในสนาม ในรอบก่อนรองชนะเลิสสองครั้งในปี 1965และ1970 ลีดส์ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะทั้งสองครั้ง การเตะในสนามเป็นการเล่นคนมากกว่าเล่นบอล และเกิดมวยหมู่ในสนามเมื่อการพบกันในปี 1965 และในครั้งต่อมายือเยื้อกระทั่งจะต้องพบกันถึงสามครั้งจึงจะได้ผู้ชนะ
ในปี1978 สงครามกุหลาบกลับมาโด่งดังอีกจากการย้ายทีม ของ กอร์ดอน แม็คควีน โดยย้ายไปเล่นให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดส์ แฟนบอลยูงทองตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ Judas ในปี ในการพบกันระหว่างลีดส์กับแมนยูในปีนี้ ลีดส์ ชนะแมนฯยู 2-1
ปีค.ศ. 1994 ผ่านมาอีก 16 ปี เอริค ดันโตน่า(นักเตะฝรั่งเศส) มีความขัดแย้งกับโฮเวิร์ด วิกกินสัน และย้ายสโมสรมายังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ในปี 2002 เป็นเกมส์ที่เดิมพันค่อนข้างสูงลีดส์ต้องการที่จะขึ้นมาแทนที่ แมนฯยูในขณะนั้นซึ่งตกอยู่ในสภาพสับสนหาทางออกไม่เจอ เซอร์อเล็ก ฟูกูสัน ยอมทำทุกทาง หานักเตะค่าตัวแพง ๆ เข้าร่วมทีม จ่ายค่าเหนื่อยหฤโหดทั้งที่การเงินของทีมไม่ดีถึงขนาดนั้น
แต่ผลการแข่งขันที่ออกมา แมนฯยู 4 ลีดส์ 3 โดยแมนฯยู นำไปก่อน 4-1 โดย โอเล่ กุนน่า โซลชา,ไรอัล กิ์ก, พอล สโคลส์ ลีคส์ ได้มาจาก มาร์ค วิดูก้า
และลีดส์ก็ไล่มาเป็น 4-3 ลีดส์ยูไนเต็ดส์ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นความตกต่ำก็มาเยือนลีดส์ ตกชั้นไปเล่นในแชมป์เปียนชิพ กระทั้งปัจจุบัน
Henry V of England
พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1413-1422 ทรงเป็นพระราชโอรสของเฮนรี่แห่งโบลิคโบรค และ แมรี เดอโบฮุน ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงเสกสมรสกับแคทเธอรีนแห่งวาลัวร์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่สำคัญที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง เมื่อครั้งพระราชสมภพ มิได้มีสิทธิใกล้เคียงในการสืบราชบัลลังก์แม้วันและปี่ที่ประสูติก็มิได้บันทึกไว้เป็นที่แน่นอน พระองค์ไม่ทรงแต่เป็นผูรวบรวมอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษเท่านั้นแต่ทรงทำในสิ่งที่บรรพกษัตริย์ในอดีตพยายามจะทำคือไม่สำเร็จในงครามร้อยปี คือการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและฝรั่งเศษภายใต้พระมหากษัตริย์องค์เดียว
พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่า ๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐาน พระองค์อาจจะมีอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมือง และอังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมืองและเวลส์ไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรี่จึงทรงนำทัพบุกฝรั่งเศส
ยุทธการอาแฌงคูร์ด
กองทัพอังกฤษเดินทางข้ามช่องแคบโดเวอร์มุ่งสู่ชายฝั่งของฝรั่งเศสขึ้นบกที่แหลม เดอ โช โดยมุ่งหน้าเข้ายึดป้อมฮาร์เฟลอร์เพื่อเปิดทางสู่นอร์มังดี แม้จะสามารถยึดป้อมอาร์เฟลอร์ได้แต่ก็ต้องเสียไพร่พลไปเป็นอันมากเนื่องจากความเจ็บป่วย จึงต้องทำการปรับแผนใหม่ โดยการเคลื่อทัพไปตั้งหลักที่เมืองคาเลย์ซึ่งเป็นอาณาเขตของอังกฤษ แต่ทางฝ่ายฝรั่งเศษร่วงรู้เรื่องการอ่อนกำลังของฝ่ายอังกฤษจึงได้ส่งกองทัพ ไล่ตาม เพื่อหมายบดขยี้ อังกฤษตกอยู่ในภาวะจนตรอก.. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ถอยทัพไปจนถึงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ อาแฌงคูร์ด ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทีจะไปยังคาเลย์ และบัญชาให้ตั้งรับข้าศึกที่นี้
ในการจะรอดพ้นจากการบดขยี้จากกองทัพที่มีขนาดมหึมาได้นั้นจำเป็นต้องมีแผนการรบที่ดีและมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเลือกชัยภูมิแคบ ๆ ลักษณะพื้นที่ เป็นทุ่งหญ้าที่มีสองข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโอบล้อม
ในคืนก่อนจะมีการปะทะกันระหว่างสองทัพได้มีฝนตกลงมาทำให้สนามรบกลายเป็นทะเลโคลน การเคลื่อนพลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในวันที่ทัพทั้งสองฝ่ายเผลิญหน้ากัน พระเจ้าเฮนรี่ ทรงบัญชาให้อัศวินทั้งหมดลงจากหลังม้าและร่วมกับพลธนูเพื่อตั้งขบวนรับศึก
โดยทรงจัดขบวนทัพเป็นแถวหน้ากระดานสี่แถว ลึกเข้าไปในท้องทุ่งและสยายปีกอยู่ระหว่างปลายใต้สุด โดยพระเจ้าเฮนรี่ทรงอยู่ในศูนย์กลางกองทัพ
ทางฝ่ายฝรั่งเศสแปลขบวนทัพ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้บัญชาการรบคือ ชาร์ล ดัลเบรต์ ขุนพลแห่งฝรั่งเศส และจอมพล ฌอง เดอบูชิโคต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่สนามรบนั้นแคบ ทัพฝรั่งเศสต้องจัดขบวนทัพเป็นสามแนวอย่างแน่นหนา เรียงตามความยาวของพื้นที่ โดยทหารกองหน้านั้น ประกอบด้วยเหล่าอัศวินเกราะหนัก ถือหอกและแหลนยาว 4 เมตร ทหารผู้ไม่มีตระกูลถูกพลักให้ไปอยู่แนวที่สาม พลหน้าไม่และปืนไฟอยู่หลังแนวอัศวิน จึงส่งผลให้รูปลักษรณะของกองทัพ ขัดกันเองและขัดต่อสภาพภูมิประเทศ และสถานะการณ์ สถานะการณ์การรบดำเนินไปกระทั้งฝ่ายอังกฤษรุกคืบและตั้งแนวรบของพวกตน โดยพลธนูได้ปักขวางลงพื้นและเข้าประจำที่
England Longbow : ธนูในสมัยกลางที่ทรงพลัง ยาวเกือบ 2 เมตรา ระยะยิงไกลถึง 300 เมตร เป็นธนูที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในบรรดาธนูยุโรปทั้งหมด
ธนูยาวสามารถลดทอนกำลังทัพหน้ากองทัพฝรั่งเศสเป็นอันมาก และเมื่ออัศวินในชุดเกราะของฝรั่งเศสลุยฝ่าทะเลโคลนและคมธนูของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในระยะพุ่งหอก พระเจ้าเฮนรี่ ทรงสั่งทหารของพระองค์ทิ่งธนู และเข้าต่อสู้กับอัศวินฝรั่งเศส จากการเลื่อกชัยภูมิ ที่เป็นบริเวณที่แคบ และการประเมินสภาวะการณ์ของสภาพสนามรบทำให้การเคลื่อนไหวของทหารอังกฤษได้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านกำลังพลนั้นด้วยสนามรบที่ป้องกันการโอบล้อมได้เป็นอย่างดีจึงจะต้องบุกเข้าโดยทัพหน้าเพียงทางเดียว การที่ทัพหน้าไม่สามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ กำลังที่ตามมาจึงเกิดความระสำระสาย บวกกับการได้เห็น ฝ่ายของตนตกเป็นรองในการเข้าตะลุมบอน และการระดมยิงธนูยาวของฝ่ายอังกฤษ ทหารฝรั่งเศสบางส่วนจึงแตกทัพหนีออกจากสมารภูมิ และในที่สุด การรบก็สิ้นสุดลง โดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ และยังสามารถจับตัวขุนพลผู้มีชื่อเสียง แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย นั้นคือ จอมพล ฌองเดอ บูชิโคต์ ผู้บัญชาการทัพฝรั่งเศส
หลังจากการรบที่ อาแฌงคูร์ต ที่สามารถพิชิตกองทัพอัศวินได้อย่างสิ้นเชิง และหลังจากรบครั้งนี้พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงนำทัพทำศึกกับฝ่ายฝรั่งเศสกระทั่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสทรงขอเจรจาสงลศึกและทำข้อตกลงยินยอมให้เพระเจ้าเฮนรี่ได้รับตำแหน่างผู้สำเต็จราชการและเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส
มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า การชูนิ้วกลางมีที่มาจาก “ยุทธการอาแฌงคูร์” Battle of Agincourt โดยทหารฝ่ายอังกฤษได้ชูนิ้วของตนโบกไปมาให้ทหารฝรั่งเศส เพื่อยั่วยุฝรั่งเศสที่ขู่ตัดสองนิ้วที่ใช้สำหรับรั้งสายธนูของทหารอังกฤษ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ทหารฝรั่งเศส จับพลแม่นธนูอังกฤษได้ ก็เลยสำเร็จโทษด้วยการตัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ใช้ยิงธนู กระทั่งปัจจุบันยังมีการแสดงกิริยาเช่นนี้เป็นการเย้ยหยัน..
พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศษ ปี ค.ศ. 1368-1321 แห่งราชวงศ์วาลัวส์ ได้รับการขนานนามว่า “ผู้เป็นที่รัก” หรือ “ผู้เสียสติ” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์เมืองพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ในพิธีบรมราชภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีทรงเสกสมรสแบ อิสซาเลลาแห่งบาวาเรีย และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วย พระเจ้าชาร์ลที่ 6 ทรงเริ่มมีอาการเหมือนทรงเสียสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่า ๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐาน พระองค์อาจจะมีอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท
สงครามร้อยปีหยุดยาวเพราะฝรั่งเศสตกอยู่ในสงครามกลางเมือง และอังกฤษเองก็กำลังมีสงครามกลางเมืองและเวลส์ไอร์แลนด์ก่อกบฎ สกอตแลนด์บุก เมื่ออังกฤษสงบแล้ว พระเจ้าเฮนรี่จึงทรงนำทัพบุกฝรั่งเศส
ยุทธการอาแฌงคูร์ด
กองทัพอังกฤษเดินทางข้ามช่องแคบโดเวอร์มุ่งสู่ชายฝั่งของฝรั่งเศสขึ้นบกที่แหลม เดอ โช โดยมุ่งหน้าเข้ายึดป้อมฮาร์เฟลอร์เพื่อเปิดทางสู่นอร์มังดี แม้จะสามารถยึดป้อมอาร์เฟลอร์ได้แต่ก็ต้องเสียไพร่พลไปเป็นอันมากเนื่องจากความเจ็บป่วย จึงต้องทำการปรับแผนใหม่ โดยการเคลื่อทัพไปตั้งหลักที่เมืองคาเลย์ซึ่งเป็นอาณาเขตของอังกฤษ แต่ทางฝ่ายฝรั่งเศษร่วงรู้เรื่องการอ่อนกำลังของฝ่ายอังกฤษจึงได้ส่งกองทัพ ไล่ตาม เพื่อหมายบดขยี้ อังกฤษตกอยู่ในภาวะจนตรอก.. พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ถอยทัพไปจนถึงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ อาแฌงคูร์ด ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทีจะไปยังคาเลย์ และบัญชาให้ตั้งรับข้าศึกที่นี้
ในการจะรอดพ้นจากการบดขยี้จากกองทัพที่มีขนาดมหึมาได้นั้นจำเป็นต้องมีแผนการรบที่ดีและมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ทรงเลือกชัยภูมิแคบ ๆ ลักษณะพื้นที่ เป็นทุ่งหญ้าที่มีสองข้างทางเป็นป่าทึบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการโอบล้อม
ในคืนก่อนจะมีการปะทะกันระหว่างสองทัพได้มีฝนตกลงมาทำให้สนามรบกลายเป็นทะเลโคลน การเคลื่อนพลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในวันที่ทัพทั้งสองฝ่ายเผลิญหน้ากัน พระเจ้าเฮนรี่ ทรงบัญชาให้อัศวินทั้งหมดลงจากหลังม้าและร่วมกับพลธนูเพื่อตั้งขบวนรับศึก
โดยทรงจัดขบวนทัพเป็นแถวหน้ากระดานสี่แถว ลึกเข้าไปในท้องทุ่งและสยายปีกอยู่ระหว่างปลายใต้สุด โดยพระเจ้าเฮนรี่ทรงอยู่ในศูนย์กลางกองทัพ
ทางฝ่ายฝรั่งเศสแปลขบวนทัพ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้บัญชาการรบคือ ชาร์ล ดัลเบรต์ ขุนพลแห่งฝรั่งเศส และจอมพล ฌอง เดอบูชิโคต์ เนื่องจากสภาพพื้นที่สนามรบนั้นแคบ ทัพฝรั่งเศสต้องจัดขบวนทัพเป็นสามแนวอย่างแน่นหนา เรียงตามความยาวของพื้นที่ โดยทหารกองหน้านั้น ประกอบด้วยเหล่าอัศวินเกราะหนัก ถือหอกและแหลนยาว 4 เมตร ทหารผู้ไม่มีตระกูลถูกพลักให้ไปอยู่แนวที่สาม พลหน้าไม่และปืนไฟอยู่หลังแนวอัศวิน จึงส่งผลให้รูปลักษรณะของกองทัพ ขัดกันเองและขัดต่อสภาพภูมิประเทศ และสถานะการณ์ สถานะการณ์การรบดำเนินไปกระทั้งฝ่ายอังกฤษรุกคืบและตั้งแนวรบของพวกตน โดยพลธนูได้ปักขวางลงพื้นและเข้าประจำที่
England Longbow : ธนูในสมัยกลางที่ทรงพลัง ยาวเกือบ 2 เมตรา ระยะยิงไกลถึง 300 เมตร เป็นธนูที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในบรรดาธนูยุโรปทั้งหมด
ธนูยาวสามารถลดทอนกำลังทัพหน้ากองทัพฝรั่งเศสเป็นอันมาก และเมื่ออัศวินในชุดเกราะของฝรั่งเศสลุยฝ่าทะเลโคลนและคมธนูของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในระยะพุ่งหอก พระเจ้าเฮนรี่ ทรงสั่งทหารของพระองค์ทิ่งธนู และเข้าต่อสู้กับอัศวินฝรั่งเศส จากการเลื่อกชัยภูมิ ที่เป็นบริเวณที่แคบ และการประเมินสภาวะการณ์ของสภาพสนามรบทำให้การเคลื่อนไหวของทหารอังกฤษได้ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านกำลังพลนั้นด้วยสนามรบที่ป้องกันการโอบล้อมได้เป็นอย่างดีจึงจะต้องบุกเข้าโดยทัพหน้าเพียงทางเดียว การที่ทัพหน้าไม่สามารถเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้ กำลังที่ตามมาจึงเกิดความระสำระสาย บวกกับการได้เห็น ฝ่ายของตนตกเป็นรองในการเข้าตะลุมบอน และการระดมยิงธนูยาวของฝ่ายอังกฤษ ทหารฝรั่งเศสบางส่วนจึงแตกทัพหนีออกจากสมารภูมิ และในที่สุด การรบก็สิ้นสุดลง โดยฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะ และยังสามารถจับตัวขุนพลผู้มีชื่อเสียง แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย นั้นคือ จอมพล ฌองเดอ บูชิโคต์ ผู้บัญชาการทัพฝรั่งเศส
หลังจากการรบที่ อาแฌงคูร์ต ที่สามารถพิชิตกองทัพอัศวินได้อย่างสิ้นเชิง และหลังจากรบครั้งนี้พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงนำทัพทำศึกกับฝ่ายฝรั่งเศสกระทั่งได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสทรงขอเจรจาสงลศึกและทำข้อตกลงยินยอมให้เพระเจ้าเฮนรี่ได้รับตำแหน่างผู้สำเต็จราชการและเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส
มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า การชูนิ้วกลางมีที่มาจาก “ยุทธการอาแฌงคูร์” Battle of Agincourt โดยทหารฝ่ายอังกฤษได้ชูนิ้วของตนโบกไปมาให้ทหารฝรั่งเศส เพื่อยั่วยุฝรั่งเศสที่ขู่ตัดสองนิ้วที่ใช้สำหรับรั้งสายธนูของทหารอังกฤษ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ทหารฝรั่งเศส จับพลแม่นธนูอังกฤษได้ ก็เลยสำเร็จโทษด้วยการตัดนิ้วชี้กับนิ้วกลางที่ใช้ยิงธนู กระทั่งปัจจุบันยังมีการแสดงกิริยาเช่นนี้เป็นการเย้ยหยัน..
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Edward III of England
สงครามร้อยปี เป็นสงครามแย่งชิงดินแดนมิใช่รบกันตลอดร้อยปี แต่มีสงครามเป็นระยะ ว่าด้วยเรื่องดินแดนในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการรุกคืบของอังกฤษในการครอบครองดินแดนบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และการผลิกกลับยึดคืนจากทางฝรั่งเศส รวมระยะเวลา 116 ปี สงครามจึงยุติ
ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ยุทธการเครซี
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงนำทัพไปนอร์มังดี ทรงเผาเมืองแคนและเดินทัพต่อไปทางเหนือของฝรั่งเศส และทรงพบกองทัพฝรั่งเศสในยุทธการเครซี่
ยุทธการเครซี่ เป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามร้อยปีความก้าวหน้าในการใช้อาวุธและยุทธวิธี นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเป็นยุทธการที่เป็นการเริ่มสมัยสุดท้ายของระบบอัศวิน
การได้รับชัยชนะในยุทธการครั้งนี้ของอังกฤษ ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่า สามเท่าตัวเกิดจากความก้าวหน้าทางยุทธวิธีและอาวุธ กล่าวคือ
อังกฤษใช้พลธนูยาวยับยั้งการบุกของฝ่ายฝรั่งเศษที่ใช้พลหน้าไม้เจนัวทหารรับจ้างผู้มีชื่อเสียง และดูเหมือนว่าอังกฤษจะเดาทางฝรั่งเศษได้เป็นอย่างดี โดยการเตรียมขวากกั้นม้ายับยั้งการบุกระลอกที่ 2 และเมื่อแนวหน้าไม่สามารถทะลวงเข้ามาในเขตฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งแนวตั้งรับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชัยภูมิดังภาพ
เมื่อทัพหน้าไม่สามารถรุกคืบได้แม้กำลังพลจะมีมากกว่าก็ไม่มีประโยชน์ พร้อมกันนั้น การถ้าโถมเข้าโจมตีด้วยความโกรธเกรี้ยวกับเป็นผลร้าย เนื่องจากการเตรียมการมาเป็นอย่างดีของทางฝ่ายอังกฤษ โดยการใช้ปืนใหญ่ในการสู้รบ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่กองทัพฝรั่งเศษเป็นอย่างมาก การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นการพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของฝรั่งเศษและนับจากนั้น ยุคแห่งอัศวินที่เป็นทัพหน้าในกองทัพจึงหมดไปด้วย เรียกได้ว่าในยุทธการนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศษเสียหายอย่างย่อยยับ
ในขณะเดียวกันทางอังกฤษ วิลเลียม ซูค William Zouche อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กก็รวบรวมกำลังกันต่อต้านพระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ได้รับชัยชนะและจับตัวพระเจ้าเดวิดได้ที่ “ยุทธการเนวิลล์ครอส”
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงต่อสู้กับฝรั่งเศษได้อย่างเต็มที่ ทรงล้อมเมือง คาเลส์ และยึดได้ในเวลาต่อมา
หลังจากการสวรรคตของ พระเจ้าหลุ่ยส์ที่ 4 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1347 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งบาวาเรีย พระราชโอรสก็ทรงเจรจาต่อรอบกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อต่อต้านการขึ้นครองราชเป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งเยอรมนี และต่อมาก็ทรงเปลี่ยนใจไปเข้าร่วมแข่งขันในการครองราชบัลลังก์เยอรมัน
เกิดโรคระบาด กาฬโรคในยุโรป ซึ่งทำให้อักกฤษสูญเสียทั้งกำลังคน และกำลังทรัพย์เป็นอันมาก แต่มิได้นำไปสู่ความหายนะของสังคม นอกจากนั้นการฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธการปัวติเยร์
เจ้าชายดำ The Black Prince สามารถมีชัยชนะเหนือพรเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสแม้ว่าทางฝ่ายฝรั่งเศสจะมีกำลังที่เหนือกว่า และนอกจากอังกฤษจะชนะทางฝ่ายฝรั่งเศสแล้วยังสามารถจับตัวพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเหนื่องกันหลายครั้งอังกฤษก็ยึดดินแดนต่าง ๆ ในฝรั่งเศสได้มาก พระเจ้าจอห์นที่ 2 ตกอยู่ในความควบคุมของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสก็เกือบล่ม ไม่ว่าการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จะจริงแท้หรือไม่เพียงไร หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการเริ่มสงครามก็ตาม สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นใกล้ความเป็นจริงตามที่อ้าง
ในปี ค.ศ. 1359 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงตั้งใจตัดสินแพ้ชนะแต่ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลที่เด็ดขาด ปี ค.ศ. 1360 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยอมรับสนธิสัญญาเบรทินยี Treaty of Bretigny ซึ่งเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิครองบัลลังก์แลกเปลี่ยนกับดินแดนต่าง ๆ ที่ทรงยึดได้จากฝรั่งเศส คือ อากีแตน บริตตานีครึ่งหนึ่ง และเมืองท่าคาเลส์
พระเจ้าชาร์ลที่ 5 และขุนพลแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง ก็สามารถยึดดินแดนต่าง ๆ คืนได้ในสมัยของพระองค์เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1377 องค์ชายเอ็ดวาร์ด สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1376 และขุนพล ดู เกอสแคลง ก็สิ้นเสียชีวิตในค.ศ. 1380 จึงทำสัญญาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายโดยจะรักษาสันติภาพอย่างน้อย 30 ปี และรักษาแนวรบเอาไว้ และให้พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ของอังกฤษสมรสกับ ธิดาของกษัตริย์ฝรั่งเศส
ในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
ยุทธการเครซี
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงนำทัพไปนอร์มังดี ทรงเผาเมืองแคนและเดินทัพต่อไปทางเหนือของฝรั่งเศส และทรงพบกองทัพฝรั่งเศสในยุทธการเครซี่
ยุทธการเครซี่ เป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งในสงครามร้อยปีความก้าวหน้าในการใช้อาวุธและยุทธวิธี นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเป็นยุทธการที่เป็นการเริ่มสมัยสุดท้ายของระบบอัศวิน
การได้รับชัยชนะในยุทธการครั้งนี้ของอังกฤษ ด้วยกำลังพลที่น้อยกว่า สามเท่าตัวเกิดจากความก้าวหน้าทางยุทธวิธีและอาวุธ กล่าวคือ
อังกฤษใช้พลธนูยาวยับยั้งการบุกของฝ่ายฝรั่งเศษที่ใช้พลหน้าไม้เจนัวทหารรับจ้างผู้มีชื่อเสียง และดูเหมือนว่าอังกฤษจะเดาทางฝรั่งเศษได้เป็นอย่างดี โดยการเตรียมขวากกั้นม้ายับยั้งการบุกระลอกที่ 2 และเมื่อแนวหน้าไม่สามารถทะลวงเข้ามาในเขตฝ่ายตรงข้าม ที่ตั้งแนวตั้งรับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชัยภูมิดังภาพ
เมื่อทัพหน้าไม่สามารถรุกคืบได้แม้กำลังพลจะมีมากกว่าก็ไม่มีประโยชน์ พร้อมกันนั้น การถ้าโถมเข้าโจมตีด้วยความโกรธเกรี้ยวกับเป็นผลร้าย เนื่องจากการเตรียมการมาเป็นอย่างดีของทางฝ่ายอังกฤษ โดยการใช้ปืนใหญ่ในการสู้รบ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้แก่กองทัพฝรั่งเศษเป็นอย่างมาก การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นการพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของฝรั่งเศษและนับจากนั้น ยุคแห่งอัศวินที่เป็นทัพหน้าในกองทัพจึงหมดไปด้วย เรียกได้ว่าในยุทธการนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศษเสียหายอย่างย่อยยับ
ในขณะเดียวกันทางอังกฤษ วิลเลียม ซูค William Zouche อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กก็รวบรวมกำลังกันต่อต้านพระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ได้รับชัยชนะและจับตัวพระเจ้าเดวิดได้ที่ “ยุทธการเนวิลล์ครอส”
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงต่อสู้กับฝรั่งเศษได้อย่างเต็มที่ ทรงล้อมเมือง คาเลส์ และยึดได้ในเวลาต่อมา
หลังจากการสวรรคตของ พระเจ้าหลุ่ยส์ที่ 4 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1347 แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 5 แห่งบาวาเรีย พระราชโอรสก็ทรงเจรจาต่อรอบกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเพื่อต่อต้านการขึ้นครองราชเป็นจักรพรรดิ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งเยอรมนี และต่อมาก็ทรงเปลี่ยนใจไปเข้าร่วมแข่งขันในการครองราชบัลลังก์เยอรมัน
เกิดโรคระบาด กาฬโรคในยุโรป ซึ่งทำให้อักกฤษสูญเสียทั้งกำลังคน และกำลังทรัพย์เป็นอันมาก แต่มิได้นำไปสู่ความหายนะของสังคม นอกจากนั้นการฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธการปัวติเยร์
เจ้าชายดำ The Black Prince สามารถมีชัยชนะเหนือพรเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสแม้ว่าทางฝ่ายฝรั่งเศสจะมีกำลังที่เหนือกว่า และนอกจากอังกฤษจะชนะทางฝ่ายฝรั่งเศสแล้วยังสามารถจับตัวพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสได้ด้วย หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเหนื่องกันหลายครั้งอังกฤษก็ยึดดินแดนต่าง ๆ ในฝรั่งเศสได้มาก พระเจ้าจอห์นที่ 2 ตกอยู่ในความควบคุมของอังกฤษ รัฐบาลฝรั่งเศสก็เกือบล่ม ไม่ว่าการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จะจริงแท้หรือไม่เพียงไร หรือเป็นเพียงข้ออ้างในการเริ่มสงครามก็ตาม สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นใกล้ความเป็นจริงตามที่อ้าง
ในปี ค.ศ. 1359 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงตั้งใจตัดสินแพ้ชนะแต่ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลที่เด็ดขาด ปี ค.ศ. 1360 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยอมรับสนธิสัญญาเบรทินยี Treaty of Bretigny ซึ่งเป็นการยกเลิกการอ้างสิทธิครองบัลลังก์แลกเปลี่ยนกับดินแดนต่าง ๆ ที่ทรงยึดได้จากฝรั่งเศส คือ อากีแตน บริตตานีครึ่งหนึ่ง และเมืองท่าคาเลส์
พระเจ้าชาร์ลที่ 5 และขุนพลแบร์ทรันด์ ดู เกอสแคลง ก็สามารถยึดดินแดนต่าง ๆ คืนได้ในสมัยของพระองค์เพราะอังกฤษติดพันกับสงครามในสเปน และพระเจ้าเอ็ดวาร์ดสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1377 องค์ชายเอ็ดวาร์ด สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1376 และขุนพล ดู เกอสแคลง ก็สิ้นเสียชีวิตในค.ศ. 1380 จึงทำสัญญาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายโดยจะรักษาสันติภาพอย่างน้อย 30 ปี และรักษาแนวรบเอาไว้ และให้พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ของอังกฤษสมรสกับ ธิดาของกษัตริย์ฝรั่งเศส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...