วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:U-boat






u-boat ฝูงหมาป่าแห่งท้องทะเล เรือพิฆาต หรืออะไรก็ตามแต่ เรือยู ทำหน้าที่หลักในการตัดเสบียงที่ขนส่งทางท้องทะเล เรือยูเป็นเรือดำนำกองทัพเรื่อเยอรมนี
     นายพลแทพลิทซ์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการขยายกองทัพเรือเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่กล้าตัดสินใจที่จะเสี่ยงนำกำลังทางทะเลออกต่อสู้กับราชนาวีอังกฤษ
    กองทัพเรือเยอรมันจึงใช้เรื่อดำน้ำ(ยู-โบสต์)ทำสงครามกับอังกฤษ โดยเน้นการใช้เรื่อดำน้ำเข้าโจมตีทำลายเมืองตาอมชายฝั่งทะเลอังกฤษ
    ...เยอรมันไม่เคยประสบความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ทางทะเลกับอังกฤษ
      ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1915 เรื่อเดินทะเล ลูซินาทาเนีย ถูกตอร์ปิโดของเรือดำน้ำเยอรมันจมลง มีชาวอเมริกันเสียชีวิต 139 คน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมันกับอเมริกาเลวลงถึงขั้นจะประกาศสงคราม แต่อย่างไรก็ดีเยอรมันอ้างว่าเรือลูซิทาเนียทำการลักลอบขนสัมถาระทงหหารจากสหรัฐมาสู่เกาะอังกฤษ
       ในเดือนมีนาคา ปี  1916 เรือยูจมเรื่อซัสเซ็กส์ ซึ่งสร้างความโกรธแค้นต่ออเมริกาเป็นอย่างมาก เยอรมันจึงยุตินโยบายการใช้เรือดำน้ำแบบไม่จำกับขอบเขตชั่วคราว
       นโยบายการใช้เรือดำน้ำในเชิงรุกของเยอรมนี
   ในปี 1916 ปฏิบัติการทำลายเส้นทางลำเลียงของข้าศึกโดยใช้เรือดำน้ำของฝ่ายเยอรมันได้สร้างความหวาดกลัวให้กับกองเรือของประเทศฝ่ายพันธมิตรเป็นอยางมาก เพราะทั้งเรือสินค้าและเรือรบได้ถูกทำลายลุงถึงประมาณ 300,000 ตันต่อเดือนในตอนใกล้าจะสิ้นปี 1916 การตัดสินใจใช้เรือดำน้ำอย่างไม่มีขอบเขตของฝ่ายเยอรมันส่งผลกระทบต่ออังกฤษเป็นอย่างมาก อังกฤษขาดแคลนอาหารที่ส่งจาสหรัฐ ในยุทธวิธีดังกล่าวยังสร้างความเสียหายต่ออเมริกาด้วยเช่นกัน
    และจากยุทธวิธีนี้เองซึ่งเยอรมันเชื่อว่าจะสามารถบังคับอังกฤษให้ยอมแพ้ก่อนที่อเมริกาจะข้าร่วมสงคราม แต่แล้วในที่สุดอเมริกาก็นประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายไตรพันธมิตร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายไตรพันธมิตรเป็นอย่างมาก

     

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Schlieffen Plan

Wrolde War One หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งบางที่ก็เรียกว่า The Great War
    
      สมรภูมิในยุโรป
แนวรบด้านตะวันตก
     แผนชลีเฟน Schlieffen Plan
       เป็นเวลาหลายปีก่อนสงคราม เสนาธิการทหารเยอรมัน หลายคนต่างคาดการณ์ว่า ในอนาคตเยอรมันต้องเผชิญศึก 2 ด้านพร้อมกัน โดยทางตะวันตกเยอรมันต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส และทางตะวันออกคือรัสเซีย
      นายพล อัลเฟรด กราฟ ฟอน ชลีเฟน เมื่อเข้ารับตำแหน่งเสนาธิการ ได้ประเมินสถานการณ์ และมีแนวคิทีตรงอข้ามกับอดีตเสนาธิการที่ผ่านๆ มา โดยเห็นว่า เยอรมันควรเผด็จศึกทางด้านตะวันตกก่อน(ฝรั่งเศส)โดยเคลื่อนทัพผ่านอ้อมแนวป้องกันอันแข็งแกร่งผ่านเบลเยี่ยมซึ่งขณะนั้นวางตัวเป็นกลาง ปิดล้อมปารีส หลังจากนั้นจึงย้ายกำลังรบไปยังรัสเซีย
     จากแผนยุทธการดังกล่าวชลีเฟนกำหนดกำลังรบเป็น 8 ส่วน 7 ส่วนบุกผ่านเบลเยี่ยม เข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสบุกยึดปารีส กำลังอีก 1ส่วนจะอยู่ทางใต้ คอยระวังเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเยอรมัน ในแผนการนี้ชลีเฟนเห็นว่าอาจจะได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงที่เมือง Liege และ Namur จึงวางแผนที่จะเดินทัพ เข้าไปในเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นตอนเหนือของเบลเยี่ยมด้วย เพื่อเดินทัพเลียบฝั่งทะเลช่องแคบอังกฤษ แล้ววกลงมาทางตะวันออกเพื่อปิดล้อมปารีสและป้องกันกองทัพฝรั่งเศสจากแนวรบหวนกลับเข้ามาช่วย ซึ่งเชื่อว่าหากปิดล้อมปารีสแล้วฝรั่งเศสจะยอมจำนนในเวลาอันสั้น
     ต่อมาได้มีการปรับแผนอันเนื่องมาจากการที่ต้องใช้ทหารจำนวนมากในแผนนี้ โดยให้ปีกขวาที่จะต้องอ้อมกรุงปารีสทางตะวันกตเปลี่ยนเส้นทางเข้ากรุงปารีสจากทางเหนือ และเสริมกำลัง ทางปีกซ้ายให้แข็งแกร่งขึ้น การปรับแผนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ ฟอน ชลีเฟนเกษียรอายุแล้ว ผุ้ที่เข้าดำรงตำแหน่งเสนาธิการคนถันมาคือ มอลเก้(Helmuth von Moltke Yonger )ซึ่งเห็นว่าสถานการต่างๆ เปลี่ยนแลงตลอดเวลา การเดินทัพผ่านแนวป้องกันเบลเยี่ยมคงไม่ยาก แต่ถ้าเดินทัพเข้าเนเธอร์แลนด์ด้วยปีก ขวาของกองทัพเยอรมันก็เท่ากับละเมิดประเทศที่เป็นกลางถึง 2 ประเทศจึงเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงการส่งปีกขวาเข้าเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังเห็นว่ารัสเซียเริ่มมีกำลังทหารที่เข้มแข็งจึงความเตรียมกำลังส่วนหนึ่งป้องกันแคว้นAlsace-Lorraine ซึ่งเป็นแหลงถ่านหินและอุตสาหกรรมหนักของเยอรมัน
    แม่ทัพใหญ่เยอรมันดำเนินการตามแผนการของชลีเฟน เบลเยียมถูกยึดครองอย่างรวดเร็ว กองทัพเยอมันสามารถเดินทัพมุ่งตรงสู่กรุงปารีส
     นายพลจอฟร์ Joffre ผุ้บัญชาการทหารฝรั่งเศสบุกโจมตีที่มั่นของเยอรมันในแค้งลอร์เรนดังคาดการณ์ เยอรมันจึงต้องแบ่งกำลังบางส่วนไปเสริมที่รอเล้นและอีกบางส่วนไปสมทบในปรัสเซียตะวันออกเอพื่คอยต้อนทานการบุกของรัสเซีย
      ความผิดพลากจากการแบ่งกำลังปารีสจึงรอพ้นการถูกยึดครอง เมื่อไม่เป็นไปดังแผนการฝ่ายไตรพันธมิตรสามารถรวมตัวกันได้ในแนวรบด้านตะวันตกและรบชนะกองทัพเยอรมันในบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น Battle of the Marnในเดือนกันยายน 1914 ถึงแม้เยอรมันจะเป็นฝ่ายแพ้ในการรบบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น แต่เยอรมันยังสามารถยึดครองลักเซมเอร์กและดินแดนส่วนใหญ่ของเบลเยียมไว้ได้กรทั่งยุติสงคราม
      ผลจากความล้มเหลวในสมรภูมิลุ่มแม่น้ำมาร์น นายพลฟอกเกนเฮน Falkenhayn ได้เข้าดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แทนนายพลโมลเก้ และทั้งสองฝ่ายต่างทำอะไรกันได้ไม่มากนักในสมรภูมินี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Sarajevo ซาราเจโว

     ผลกระทบจากสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียเพิ่มความเป็นศัตรูต่อกันมากยิ่งขึ้น  และชัยชนะที่เซอร์เบียได้รับยังเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมแก่พวกสลาฟในดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาที่ต้องการปลดแอกตนเองจากการยึดครองของออสเตรีย-ฮังการีเพื่อไปรวมกับเซอร์เบีย
     เพื่อเป็นการลดความกดดันทางการเมืองต่อความรู้สึกต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี อาร์ชดยุก ฟรานซิส เฟอร์ดินาน ผู้เป็นองค์รัชทายาทของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาจึงเสด็จไปเยือนกรุงซาราเจโวซึ่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนีย..แต่ทั้งสองพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์! โดยกาวริโลปรินชิป นักศึกษาชาวเซิร์บซึ่งเป็นสมาชิกสมาคม แบล็ค แฮนด์ ซึ่งเป็นสมาคมลับต้อต้านออสเตรีย-ฮังการีรัฐบาลเซอร์เบียได้รู้ถึงแผนการดังกล่าวก่อนแล้วแต่ก็ไม่หาทางป้องกัน

      ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีถามความเห็นไปยังรัฐบาลเยอรมันในกรณีที่จะทำสงคราม รัฐบาลเยอมันมีความเชื่อว่าเซอร์เบียเป็นฝ่ายผิด รัฐบาลเยอรมันยืนยันที่จะให้การสนับสนุนต่อออสเตรีย-ฮังการี จากคำยืนยันดังกล่าวออสเตรีย-ฮังการี จึงใช้เป็นข้ออ้างในการประกาศสงครามกับเซอร์เบียในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามเยอรมันมีควาคิดว่าสถานการณ์ดังกล่าวยังพอมีทางตกลงกันได้โดยไม่ต้องใช้สงครามเป็นเครื่องมือ
      ออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อรัฐบาลเซอร์เบียทั้งหมด11 ข้อ แต่ไม่ได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
      วันต่อมารัสเซียสังระดมพล เมื่อเยอรมันทราบข่าวจึงยื่นคำขาดให้รัสเซียยุติการกระทำดังกล่าวภายใน 12 ชั่วโมงแต่เยอรมันไม่ได้คำตอบจากรัสเซีย ในเวลา 1 ทุ่ม ตรงของวันที่ 1 สิงหาม ค.ศ. 1914 เยอรมนีก็ประกาศสงครามกับรัสเซีย โดยยื่นคำขาดให้ฝรั่งเศสวางตัวเป็นกลางแต่ฝรั่งเศไม่รับฟัง เยอรมันจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม 1914 และภายนวันเดียวกันเยอรมันสั่งงเดินทัพผ่านเบอเยี่ยมเพื่อบุกโจมตีฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรกขอให้เยอรมันเคารพเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยียม อังกฤษจึงต้องประกาศสงครามเมือเยอรมันบุกเบลเยี่ยม
    อิตาลีปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามขอวางตัวเป็นกลาง โดยอ้างว่ากลุ่มไตรภาคีของตนเป็นฝ่ายรุกราน ตุรกีเข้าร่วมสงคราม ในเดือนพฤศจิกายน 1914 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายเยอมนและออสเตรีย-ฮังการี ดดยอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเองจากการขยายอำนาจของรัสเซียในบริเวณช่องแคบ อีก 1 ปีต่อมา ในเดือนตุลาคม 15 บัลแกเลียได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายเยอรมนี ด้วยเหตุผลเพื่อแก้แค้นเซอร์เบีย ฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกีและบัลแกเลียเป็นทีรู้จักกันในนามของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่วนฝ่ายพันธมิตร ประกอบด้วยรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษและเซอร์เบีย ซึ่งในเลต่อมาก็มีประเทศอื่นๆ อีก 18 ประเทศ เข้ามาร่วม รวมทั้งญี่ปุ่น อิตาลีซึ่งเดิมอยู่ฝ่ายไตรภาคและวางตัวเป็นกลางได้หันมาร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยฝ่ายพันธมิตรสัญญาจะยกดินแดนให้จำนวนหนึ่ง
     สหรัฐประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในวันที่ 6 เมษา 1917 โดยมีสาเหตุมาจากความไม่พอใจที่เยอรมันทำสงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัดขอบเขต
     สาเหตุต่างๆ ที่นำมาสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
- ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจากสงครามฝรั่งเศสกับปรัสเซีย     
- การที่ประเทศในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- การเกิดลัทธินิยมทหาร
- การแข่งขันกันสะสมอาวุธทั้งทางบกและทางน้ำ สาเหตุจากการระแวงและความเกรงกลัวซึ่งกันและกัน
- การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ การแสวงหาอาณานิคมนำมาซึ่งความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ
- การแข่งขันกันทางเศรษฐกิจเป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม
- การเกิดความรู้สึกชาตินิยม โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่าน
- และการลอบปลงพระชนม์ อาร์ชดยุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินาน ซึ่งเป็นชนวนเหตุของสงครามครั้งนี้ด้วย

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

Triple Entente-Triple Alliance ไตรพันธมิตร-ไตรภาคี

วิกฤตการณ์ก่อนสงครามโลกคร้งที่ 1
     จากการก่อตั้งกลุ่มไตพันธมิตร Triple Ententeและกลุ่มไตรภาคี Triple Alliaanceได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดในยุโรปและก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ดังนี้
     วิกฤตการณ์โมร็อกโกครั้งที่ 
     หลังจากอังกฤษกับฝรั่งเศสทำความเข้าใจแล้ว จึงได้สร้างความกังวลให้กับเยอรมันนีเป็นอย่างมาก เมื่อเยอรมนีรู้ว่าฝรั่งเศสพยายามเข้ามามาบทบาทในโมร็อกโกทั้งทางการทหารและทางการคลังจักพรรดิไกเซือร์ที่ 2 จึงเสด็จไปเยือนโมร็อกโกและประกาศยอมรับสถานภาพองค์สุลต่านแห่งโมร็อกโกและทรงยืนยันความเป็นเอกราชของโมร็อกโก นอกจากนี้พระองค์ทรงประกาศไม่ยอมรับการทำสัญญาใดๆ ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศษในกรณีที่เกี่ยวกับโมร็อกโก
     รัฐบาลเยอรมนีเรียกร้องให้มีการจัดประชุมนานาชาติเพื่อพิจารณาถึงปัญหาโมร็อกโก รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสคัดค้านอย่างรุนแรง รัฐบาลฝรั่งเศสเองไม่แน่ใจว่าหากทำสงครามกับเยอรมนีอังกฤษจะเข้าข้างไหนจึงตัดสินใจหาทางออกโดยการบังคับให้รัฐมนตรีต่างประเทศลาออกจากตำแหน่งซึ่งเท่ากับเป็นชัยชนะของเยอรมนี
     ในเวลาต่อมาได้มีการประชุมนานาชาติที่เมืองอัลเจซิรัสประเทศสเปนเพื่อแก้ปัญหาในโมร็อกโกโดยฝรั่งเศสมีอังกฤษให้การสนับสนุนและเยอรมนีได้รับการสนับสนุนจากออกเตรีย-ฮังการี ผลการประชุมดูเหมือนเยอรมนีจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะแต่ผลประโยชน์กลับตกอยู่กับฝรั่งเศส กล่าวคือ ที่ประชุมยอมรับว่าโมร็อกโกเป็นประเทศเอกราช แต่ต้องเปิดประเทศติต่อค้าคาย และให้สเปนกั่บฝรั่งเศษควบคุมตำรวจในโมร็อกโก โมร็อกโกจะต้องสร้างธนาคารแห่งชาติขึ้นดดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนีและสเปน ผลที่ตามมาจากการประชุมคือความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ
     ตุรกี
     อังกฤษสามารถตกลงทำความเข้าใจกับรัศเซียได้ส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวในหมุ่ชาวเติร์ก เพราะการทำข้อตกลงดังกล่าวมีผลต่อความอยู่รอดของตุรกี ในอดีตตุรกีสามารถรักษาอำจาจไว้ได้เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอังกฤษและรัสเซีย ดังนั้นเมืองประเทศทั้งสองตกลงกันได้กลุ่มยังเติร์กจึงก่อการปฏิวัติ
      กลุ่มยังเติร์ก Young Turksเป็นขบวนการเสรีนิยมที่เคยถูกเนรเทศไปอยู่ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายล้มการปกครองของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 โดยวิการปฏิรูปและส่งเสริมการใช้รัฐธรรมนูญ กลุ่มยังเติร์กทำการติดต่อประสานงานกับบรรดาชนกลุ่มน้อยชาตินิยมที่อาศัยอยุ่ในอาณาจักรตุรกีโดยเฉพาะที่มาซิโดเนียและอาร์เมเนียให้มีโอกาศปกครองตนเอง
     ความแตกแยกในกลุ่ม ยังเติร์ก 24 กรกฎาคม ค.ศ.1908 สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ทรงยอมมอบอำนาจให้แก่กลุ่มนายทหารและพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวเติร์ก รัฐสภาเปิดประชุมในปีเดียวกันแต่เกิดความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างกลุ่มเติร์กหนุ่มเสรีนิยมดั้งเดิมที่เคยถูกเนรเทศและกลุ่มเติร์กนายทหารซึ่งมีนโยบายชาตินิยมรุนแรงซึ่งไม่ต้องการเห็นอาณาจักรตุรกีเกิดการแตกแยก จึงต่อต้านขบวนการชาตินิยมและต่อต้านการปกครองตนเองของพวกชนกลุ่มน้อย หลังสงครามบอลข่านกลุ่มเติร์กนายทหารมีอำนาจมากขึ้นเกิดมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างตุรกีกับเยอมนี ถึงแม้กลุ่มเสรีนิยมจะนิยมอังกฤษกับฝรั่งเศษ แต่ผู้นำฝ่ายทหารนิยมเยอมนี
     วิกฤตการณ์บอสเนีย ปี ค.ศ. 1908-1909
     จากข้อตกลงสนธิสัญญาเบอร์ลินในปี78 บอสเนียและเฮอร์เซดกวินาได้กลายเป้นอินแดนที่อยุ่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย-ฮังการีแต่ก็ยังคงมีสถานภาพเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรตุรกี ออสเตรีย-ฮังการีพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของตุรกีออกจากดินแดนส่วนนี้
     เมื่อตุรกีตกอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มนายทหารซึ่งมีนโยบายชาตินิยมรุนแรงออสเตรีย-ฮังการีเกรงว่าจะเกิดผลต่อการปกครองภายในบอสเนียจึงเตรียมแผนการผนวกดินแดนทั้งสองเข้าเป้นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออสเตรีย-อังการี ซึ่งในขณะเดียวกันรัสเซียซึ่งเกรงว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองในตุรกีจะส่งผลมาถึงรัศเซีย จึงหาทางหาทางทำความตกลงกับออสเตรีย-ฮังการีโดยรัสเซียจะให้การสนับสนุนในการผนวกบอสเนียโดยทางออสเตรีย-ฮังการีจะให้การสนับสนุนรัสเซียในการนำเรื่อรับผ่านช่องแคบ ซึ่งรัสเซียไม่แน่ใจว่าจะทำได้เพราะเป็นการละเมิดข้อตกลงเรื่องช่องแคบโดยไม่ให้เรื่อรบชาติใดผ่านช่องแคบในภาวะปกติ เมื่อออสเตรีย-ฮังการีไม่สามารถตอบสองจึงไมมีผลในทางปฏิบัติ
     ในวันที่ 5 ตุลาคม 1908บัลแกเรียได้ประกาศเอกราชแยกตัวออกจากตุรกี ในวันที่ 7 เดือนเดียวกันออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาสผนวกบอสเนียและเฮอร์ดซโวนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงเท่ากับเป็นการละเมิดสนธิสัญญาเบอร์ลินยังผลให้อังกฤตเกิดความไม่พอใจจึงให้การสนับสนุนรัสเซียแต่รัสเซียกลับขอให้อังกฤษเปิดช่องแคบให้เรื่อรบรัสเซียผ่านจึงทำให้อังกฤษไม่พอใจ
     ในขณะที่ฝรั่งเศสก็ไม่พอใจรัสเซียเช่นกัน ซึ่งเป็นพันธมิตรแต่กลับทำสัญญากับออสเตรีย-ฮังการีโดยที่ทางฝรั่งเศสไม่รู้ ทางออสเตรีย-ฮังการีสวนท่าทีและไม่ต้องการประชุมใดๆ ซึ่งในที่สุดก็สามารสผนวกบอสเนียได้สำเร็จในขณะที่รัสเซียไม่ได้อะไรเป็นการตอบแทนและเพื่อเป็นการลดความกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ บัลแกเรียจึงเสนอเงินชดเชยในตุรกี ซึ่งต่อมารัสเซียได้เสนอจ่ายเงินชดเชยแทนบัลแกเรียความสัมพันธ์ระหว่างบัลแกเรียกับรัสเซียจึงดีขึ้น
     เยอรมนีขานรับการรวบบอสเนียเข้ากับออสเตรีย-บัลแกเรียและขู่รัสเซียในสนับสนุนและพร้อมจะทำสงครามกับรัสเซียหากไม่สนับสนุน รัสเซียจึงต้องยอมรับรองการกระทำของออสเตรีย-ฮังการี
     ผลจากวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของกลุ่มไตรภาคีที่มีต่อไตรพันธมิตร หลังจากที่เคยพ่ายแพ้จากวิกฤตโมร็อกโก จึงไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบกัน แต่การแข่งขันที่เกิดได้ก่อให้เกิดความตรึงเครียดในการเมืองระหว่างประเทศในยุโรป
     วิกฤตโมร็อคโคครั้งที่ 2
     ปีค.ศ. 1908 สุลต่านอับเดล อาชิสที่ 4 ถูกโค่นอำนาจอับเดล ฮาฟิช ผู้เป็นอนุชา สุลต่านองค์ใหม่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจึงเกิดความวุ่นวายเรื่อยมา สุลต่านจึงขอความช่วยเหลือไปยังฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบไปยังเมืองเฟซ เมืองหลวงโมร็อกโก เยอรมนีตอบโต้ฝรั่งเศสโดยการกล่าวหาฝรั่งเศสละเมิดข้อตกลงอัลเจซิรส ต่อมาเยอรมนีส่งเรือของตนเข้าไปยังเมือท่าอากาเดียร์ ซึ่งตั้งอยูบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกโมร็อกโกโดยอ้างว่าเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาวเยอมนีในโมร็อกโก ส่งผลให้อังกฤษไม่พอกับการกระทำของเยอรมนี อังกฤษคิดว่าเอยรมนีมีจุดประสงค์จะตั้งฐานทัพเรือบนชายฝั่งของโมร็อกโก  อังกฤษกล่าวว่าทางฝ่ายอังกฤษจะต้องรับทราบก่อนที่จะมีการตัดสินใจทำสิ่งใดลงไปในโมร็อกโก ความสัมพันธ์ของอังกฤษกับเยอรมันกำลังอยู่ในภาวะตรึงเครียด
     เมื่อเยอมันเห็นท่าทีอันแงข็งกร้าวของอังกฤษจึงหัมาเจรจากับผรังเศส
     ในขณะที่เกิดวิกฤตฯการนั้นอิตาลีถือโอกาสเข้ารุกรานทริโปลี(ลิเบีย)ซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของตุรกี โดยอิตาลีได้รับการยินยอมจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากอังกฤษและอิตาลียอมรับการเข้าไปแสวงหาปร่ะโยชน์ของฝรั่งเศสในโมร็อกโกในขณะที่ก่อนหน้านี้อังกฤษได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสในการเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในอียิปต์
     การที่ฝรั่งเศสสามารถสร้างข้อผูกมัดกับทั้งอังกฤษและอิตาลีจึงทำให้ฝรั่งเศสสามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อฝรั่งเศสเอง
      ตุรกีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และยอมยกทริโปลีให้อิตาลีตามสนธิสัญญาโลซานน์
     ในขณะเดียวกันรัสเซียไดแสดงท่าทีที่จะผนวกเตหะราน อังกฤษเกิดความไม่พอใจ ฝ่ายฝรั่งเศสเกรงว่าท่าทีของรัสเซียจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหวางรัสเซยกับอังกฤษจึงเข้าแทรกแซงจนทำให้รัสเซียต้องเลิกล้มแผนการนี้ไป แต่หันไปเรียกร้องขอเดินทางเข้าออกบริเวณช่องแคบได้อย่างเสรีจากตุรกี ซึ่งตุรกีได้รับการยืนยันจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสว่าไมได้ให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ตุรกีจึงปฏิเสธ ผลจากเหตุการนี้จึงำให้ตุรกีต้องหันเข้าหาเยอมนีมากยิ่งขึ้นโดยหวังว่าจะได้เยอมนีมาเป็นพันธมิตรในกรณีที่ตุรกีถูกคุกคามจากมหาอำนาจ
     สงครามบอลข่านครั้งที 1
     รัศเซียสามารถชักจูงบัลแกเรียและเซอร์เบียซึ่งเป็นศัตรูกันให้หันมาทำสัญญาเป็นพันธมิตรกัน โดยรัสเซียมีจุดประสงค์ที่จะให้สองประเทศร่วมมือกับรัสเซียในกรณีที่ต้องทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี  แต่จากสาระสำคัญของสนธิสัญญาที่สองประเทศได้ทำไว้คือการร่วมมือกันทำสงครามกับตุรกีเพื่อแบ่งดินแดนมาซิโดเนีย  ต่อมา กรีซ แบมอนเตนิโกเข้าร่วมจึงเกิดการก่อตั้งเป็นกลุ่มสันนิบาตบอลข่านขึ้น
     โดยสรุปกลุ่มประเทศมหาอำนาจต่างไม่สนับสนุนกลุ่มสันนิบาติบอลข่านเพราะเกรงว่าการกระทำของกลุ่มนี้อาจทำลายดุลย์แห่งอำนาจและสถานภาพเดิมของคาลสมุทรบอลข่าน
     มอนเตนิโกรเห็นเป็นโอกาสดีจึงฉวยโอกาสประกาศสงครามกับตุรกีเนื่องจากตุรกีเพิ่งแพ้สงครามกับอิตาลีโดยไม่ปรึกษาประเทศที่ร่วมเป็นพันธมิตร หลังจากนั้นบัลแกเรีย กรีซ และเซอร์เบียจึงเข้าร่วมประกาศสงครามกับตุรกี
     กองทัพบัลแกเรียเคลื่อนทัพมุ่งตรงสู่อิสตันบูล ส่วนเซอร์เบียกับมอนเตนิโกรเข้ายึดอาเดียโนเปิล สถานการเข้าสู่ภาวะตรึงเครียดเมือเซอร์เบียเข้ายึดครองอัลบาเนีย ซึ่งเป็นดินแดที่อยุ่ติดกับทะเลยังผลให้เซอร์เบียหาทางออกทะเลได้สำเร็จ ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีได้คัดค้านและยื่นคำขาดต่อการยึดครองดังกล่าว เซอร์เบียจึงจำต้องยอมทำตาม
     ประเทศมหาอำนาจประชุมสันติภาพที่กรุ่งลอนดอนและมีกรลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน ซึ่งมีผลตามมาคือ การยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ตุรกีเสียดินแดนส่วนใหญ่ในยุโรปยกเว้นรอบๆ กรุงอิสตันบูล บัลแกเรียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ของมาซิโดเนีย เซือร์เบียไม่พอใจที่ไม่มีทางออกทะเล
      หลังจากยุติสงครามบอลข่านได้ไม่นานความแตกแยกในกลุ่มสันนิบาตบอลข่านซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดสงครามบอลข่านครั้งที่2 ระหว่างบัลแกเรียกับ เซอร์เบียและกรีซ โรมาเนียหันมาเข้าทางฝ่ายเซอร์เบียและกรีซ บัลแกเรียพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว จึงยังผลให้มีการทำสนธิสัญญาสงบศึกบูคาเรส ซึ่งมีสาระสำคัญคือ โรมาเนียได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือของดอบรูดจา เซอร์เบียและกรีซได้ครอบครองมาซิโดเนียในส่วนที่บัลแกเรียได้มาจากสงครามครั้งที่ 1  ตุรกีได้อาเดรียโนเปิลคืน
   ผลจากสงคราม ทำให้เกิดประเทศอัลบาเนียที่อ่อนแอและก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างเซอร์เบียกับออสเตีย-ฮังการี กรีซกลายมาเป็นประเทศทีมีบทบาทสำคัญในทะเลอีเจียนเพราะได้เข้าครอบครองซาโลนิกา ซึ่งเป็นดินแดนส่วนที่ออสเตรีย-ฮังการีหวังที่จะผนวก และที่สำคัญเกิดความตรึงเครียดขึ้นในยุโรปเหตุด้วยบัลแกเรียแค้นเคืองต่อเซอร์เบียกรีซและโรมาเนีย ซึ่งในเวลาต่อมาบัลแกเรียจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับเยอรมนีเพราะไม่พอใจรัสเซียที่สนับสนุนเซอร์เบีย
    

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

Victorian era

       สมัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิคตอเรีย ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของกาปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถQueen_Victoria วิกตอเรีย  อังกฤษได้ปฏิรูปตนเองในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดก็คือการเปลี่ยนจากรัฐบาลขุนนางมาเป็นรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และจากระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมาเป็นการเริ่มต้นรูปหนึ่งของสังคมนิยม กล่าวกันว่าสมัยวิคทอเรียนเป็นเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นยุคของขุนนาง ยุคของความอุดมสมบูรณ์ ยุคของการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองและเป็ยยุคการปฏิรูปภายในอันยิ่งใหญ่
การพัฒนาทางด้านการเมือง การปกครองของอังกฤษภายใต้หน้ากากระบบรัฐสภา อังกฤษมีความปกครองระบบคณาธิไตยผ่านทางระบบการเลือกตั้งผู้แทนที่ไม่มีความยุติธรรม และการคอรับชั้นอย่างไร้ยางอาย ระบบการเลือกผู้แทนก่อนปี ค.ศ. 1832 เรียกว่า Rotten Borough System  ซึ่งจะมีผลให้สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เป็นคนของพวกขุนนาง คนร่ำรวยและกลายเป็นตำแหน่งที่ขายต่อกันได้ในหมู่คนรวยที่ต้องการจะยกฐานะทางสังคมของตน ในเรื่องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็เป็นสิทธิพเศษที่ขึ้นอยู่กับทรัพย์สิน(ที่ดิน)การจ่ายภาษี และชาติกำเนิดของบุคคล ตามสถิติที่ปรากฎ มีประชาชนเพียงประมาณ ห้าเปอร์เซ็นเท่านั้นที่มีสิทธิออกเสียงได้
       ระบบรัฐบายยังเหมือนเช่นปัจจุบัน คือมีพระมหากษัตริย สภาสูง และสภาต่ำ หลังจากสมัยพระเจ้ายอร์จที่ 3 แล้ว พระมหากษัตริย์มีสภาพเป็นเพียงหุ่นเชิด คณะรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีต้องคุมเสียข้างมากในรัฐสภา และจะต้องรับผิดชอบต่อสภาต่ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายที่จะทำได้
       สมาชิกสภาสูงประกอบด้วยบุคคลทีสืบเชื้อสายมาจากพวกขุนนางชั้นสูง สมาชิกสภาต่ำมาจากการเลื่อกตั้งทั่วไปและจะอยู่ในตำแหน่งวาระ 7 ปี แต่อาจยุบสภาได้โดยพระปรมาภิไธยจาพระมหากษัตริย์ ส่วนระบบ 2 พรรค คือทอรี่ กับ วิก ก็มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐายของระบบพรรคการเมืองเช่นปัจจุบัน แต่เป็นามคมของพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่ 2 ตระกูล และจะเข้ามาทำงานเพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น  ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูป พวกชนชั้นสูงคุมสภาสูงดดยตรงด้วยอภิสิทธิ์เรื่องชาติตระกูล และคุมสภาต่ำโดยทางอ้อมฝ่านทางระบบเลือกตั้ง ตลอดจนคุมตำแหน่างสูง ๆ ทั้งทางราชการและศาสนา สรุปได้ว่าก่อนปี ค.ศ. 1832 ระบบการเมืองของอังกฤษเป็นแบบ “รัฐบาลของประชาชน โดยขุนนางและเพื่อขุนนาง”
   มีความพยายามจะออกพรบ.หลายต่อหลายครั้งแต่ถูกยับยั้งจากสภาสูงกระทั่งปี ค.ศ. 1832 พระราชบัญญัติปฏิรูป จึงผ่านกฎหมายปฏิรูปออกมา ซึ่งผลลัพธ์ก็เรียกว่ายุติธรรมขึ้น พระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้เกิดความคิดว่าการปฏิวัติเป็นของไม่จำเป็น และถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติปฏิรูปจะมิได้ทำให้อังกฤษมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จเรง แต่ก็เปิดช่องทางการเมืองให้กับชนชั้นกลาง ตลอดจนชนชั้นอื่น ๆ ก็จะเข้ามามีส่วนในการบริหารประเทศต่อไป
    หลังจากปฏิรูปชันชั้นกลางขึ้นมาควบคุมการปกครองของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงเป็นไปยางกว้างขวาง การค้าเป็นหลักการสำคัญของนโยบายของประเทศทั้งภายในและภายนอก แต่การปฏิรูปประเทศยังก้าวหน้าต่อไป ทว่าเป็นไปเพื่ผลประโยชน์ของชนชั้นกลางเช่นการออกเสียเลือกตั้งก็เพื่อชนชั้นกลางจะได้เข้าไปคุมรัฐสภา เสนอระบบเท่าเทียมกับพวกแองกลิตัน แต่จะไม่มีการปฏิรูปความเป็อยู่ของกรรมกร  พระราชบัญญัติปฏิรูปปี ค.ศ. 1832 ได้มีผลทำให้ระบบพรรคการเมืองของอังกฤษเปลี่ยนไปบ้าง พรรควิกและทอรี่เปลี่ยนชื่อพรรคใหม่ตลอดจนได้หัวหน้าพรรคคนใหม่ ทอรี่เปลี่ยนชื่อม่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ในขณะที่พรรวิกได้ชือเสรีนิยม อย่างไรก็ตามชื่อของพรรคยังคงมีความหมายแต่เพี่ยงชื่อ ในทางปฏิบัติพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งตามความเข้าใจเดิมเป็นของพวกชนชั้นสูงได้ปรับตัวเองให้เข้าได้กับภาวะใหม่ แต่โดยสรุปไมมีผูต้องการจะก้าวไน้ต่อไปให้ถึงประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
        ทว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ชนชั้นกรรมชีพได้รับความผิดหวังจากพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ยังไม่ยอมให้มีการเลือกรตั้งทั่วไป และพวกชนชั้นกลางที่เคยร่วมมือกับกรรมกรต่อสู้กับพวกชนชั้นสูงเมื่อได้อำนาจก็ทำการกดขี่พวกกรรมกรเช่นพวกชนชั้นสูง กรรมกรจึงคิดว่าตนถูกโกง และคิดว่าพวกชนชั้นกลางฉวยโอกาสจากผลงานของตน ทั้งพรรคเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมต่างต่อต้านที่จะขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้กว้างไกลต่อไป พวกกรรมกรจึงรวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธดังกล่าว กลุ่มชนได้มาพบปะกันและได้ร่างกฎบัตรขึ้น แม้ว่าลักษณะจะเป็นรูปการเมือง แต่ก็มีจุดมุ่งหมายปฏิรูปสังคมด้วยเหมือนกัน จึงได้รับความร่วมมอจากสมาคมกรรมกรอื่น ๆ อีก ดังนั้นการเรียกร้องจึงเพิ่มความรุนแรงขึ้น ทางรัฐบาลถึงกับเตียนกำลังต่อต้านถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นซึ่งเหตุการณ์ไปตามที่คาดหมาย เมือกฎบัติถูกปฏิเสธอีกครั้งหนึ่ง การจลาจลก็เกิดขึ้น และตามมาด้วยการใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาล
       ถึงแม้ขบวนการ Chartist จะถูกกำจัดไป แต่หลักการยังคงอยู่ในใจของชาวอังกฤษ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการขยายสิทธิการเลือกตั้งออกไปอีก ฝ่ายพรรคเสรีนิยมซึ่งมีแกลดสโตนและไบร์ท ได้เสนอว่า ไม่ควรจะหยุดยังการปฏิรูปเพียงแค่พระราชบัญญัติปี 1832 ดิสรารี ซึ่งเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยมกลายเป็นแชมป์เปี้ยนของประชาชนเพราะร่วมต่อสู้กลุ่มชนชั้นกลางที่บริหารประเทศอยู่ การเรียกร้องให้ปฏิรูประบบการเลือกตั้งจึงเริ่มขึ้น ในระยะทศวรรษที่ 1860’sแต่ในครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างผุ้ต่อต้านและผู้สนับสนุนของแต่ละพรรค
     รัฐบาลในช่วงค.ศ. 1867-1914 ระบบการปกครองเป็ฯแบบรัฐสภา ยังคงมีกษัตริย์ ตามทฤษฎีพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุด ปกครองประชานโดย grace of god แต่ในทางปฏิบัติพระมหากษัตริย์จะไม่แทรกแซง หรือใช้อิทธิพลต่อการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ไม่มีสิทธิยับยั้งกฎหมาย หรอแต่งตั้งคณะผูบริหารประเทศ เป็นเพียงหุ่นเชิดไม่มีอำนาจแต่อย่างใดในระบบการเมืองอังกฤษ ดดยที่สถาบนกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ที่รวมความเป็ฯอันหนึ่งเดียวกันของประเทศและของจักรวรรดิเอาไว้
     คณะรัฐบาลมีลักษณะเป็น  ปาร์ตี้ คอรป์เวอเม้นต์ ระบบพรรค นายกรัฐมนตรีผุ้ดำรงตำแหน่างหัวหน้าคณะรัฐบาลได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยการที่สามารถคุมเสียงข้ามมรากในรัฐสภาไว้ได้ คณะรัฐมนตรีจะเป็นบุคคลผุ้สังกัดพรรคการเมืองเยวกัน ระบบคณะรัฐมรจรีของประเทศังกฤษจะมีสภาพเป็น  union of power ในขณะที่อเมริกาเป็ฯแบบ separation power คณะรับบาลใช้อำนาจบริหาร ดวยการวางนโยบายการปกครอง แต่งตั้งบุคคลสำคัญในการบริหารประเทศพร้อมกันนั้นก็ใช้อำนาจนิติบัญญัติด้วยการฝ่านกฎหมายฉบับสำคัญ ๆ ออกมาใช้ รัฐสภามีสิทธิจะออกเสียงไม่ไว้วางใจคณะรัฐลบาล หรือำม่ผ่านกฎหมายทีรัฐบาลเสนอมาได้ แต่พระมหากษัตริย์ก็มีสิทธิจะให้ทั้งรัฐบาลลาออกและยุบสภาล่างได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเมือมีการเลือกตั้องทั้งไปกันใหม่และสมาชิกใหม่ที่เข้ามามีสิทธิลงคะแนนเลือกรัฐบาลชุดก่าอีกก็ได้
     รัฐสภาประกอบด้วยสภาสูง และสภาล้าง สภาสูงมีบทบามทากในอดีตแต่ได้เสื่อความสำคัญลงเรื่อยๆ สภาล่างเริ่มต้นจากการเป้ฯคณะบุคลที่ใกล้ชิดพระมหากษรัติย์กลับมีความสำคัญเพิ่มขึ้น จนในที่สุดมาเป็คณะผุ้คุมการเงินของประเทศ จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขัดขวางหรือสนับสนุนการบริหารของคณะรัฐบาล ได้ทำลายอำนาจสมบูรณาญาสิทธราชย์ของราขชวงศ์สจ๊วต เป็นสภาบันที่ถ่วงอำนาจฝ่ายปริหารและเป็นกลุ่มผุ้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ สมาชิกสภาล่างจะมาจากากรเลือตั้งทั่วๆ ไปและอยู่ในตำแหน่างได้คราวละ 5 ปี อาจถูกยุบสภาก็ได้ด้วยคำสั่ง ของรัฐบาลโดยพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ..เรียกได้ว่าสภาล่างเป็นสถาบันที่อำนาจสูงสุดในประเทศเพียงแต่ใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรี
     องกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร การตัดสิใจขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่กับกฎหมาย ประเพณีและข้อตกลงเก่า ๆ เช่น Magna Carta,Bill of Rights,Reform bills เป็นต้น ..
     การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเริ่มแรกที่อังกฤษเปลี่ยนสภาพมาเป็นประเทศcapitalism-2 อุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบพาณิชย์นิยมพ่อค้าต้องประสบกับปัญหาเรื่องกำแพงภาษี การแทรกแซงของรัฐบาล การแทรกแซงของัฐบาล ยิ่งกว่านั้นพวกเจ้าของที่ดินเข้ามาคอยควบคุมรัฐสภาได้ออก กฎหมายซึ่งห้ามการสั่งข้าวเข้าประเทศยกเว้นกรณ๊ที่เกิดขาดแคลนภายใน หรือเมือ่ราคาได้ถีบตัวสูงมากพอที่ชาวนามีรายได้มั่นคงแล้ว แม้ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นว่าให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาได้ โดยจะเก็บภาษีต่ำถ้าราคาขายภายในสูง และจะเก็บภาษีสูงถ้าราคาภายในต่ำ แต่ก็ดูเหมือนว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังคงไม่ดีขึ้น
  ปี 1845 อังกฤษเผชิญกับการอดอยาก เนื่องจากการปลูกมันในไอร์แลนด์ล้มเหลวและการปลูกข้าวของอังกฤษก็ตกต่ำ ค่าครองชีพจึงสูงขึ้น ข้อเรียร้องให้ซื้ออาหารจากต่างประเทศจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น จึงมีการยกเลิกกำแพงภาษี environment
  ปี 1870 เศรษฐกิจของอังกฤษอยู่ในสภาที่ดี ประชาชนมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ แต่ขณะเดียวกันเป็นระยะที่ความเจริญด้านการอุสาหกรรมมาถึงจุดสูงสุดและกำลังเป็นช่วงของขาลง การอุตสาหกรรมบางชนิดหยุชงัก ลางแห่งลกการผลิต และยังมีคู่แข่งทั้งเยอรมน และ อเมริกา
    นอกจากด้านการเมือง การค้า การอุตสาหกรรม และสภาพสังคมกรรมกรแล้วนักปฏิรูปยังก้าวลึกเข้าไปด้านอื่น ๆ อีก เช่นการศึกษา ศาสนา และด้านอื่นๆ แม้แต่วรรณกรรม
       ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีปัญหาอยู่ 3 เรื่องได้แก่การหาสมดุลย์ในเรื่องสังคมและการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากใจความของกฎหมายปฏิรูปต่าง ๆ ปัญหาต่อมาได้แก่การปฏิรูปสังคมและเสณษฐกิจ และปัญหาความมั่นคงของชาติและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ        นโยบายโดดเดี่ยว หรือ Splendid isolation ที่อังกฤษอ้างมาใช้เพื่อสนองผลประโยชน์ซึ่งได้ผลดีมาโดยตลอด อังกฤษสามารถหลีกเลี่ยงสงครามยุโรปได้ทั้งหมด(ยกเว้นสงครามไครเมีย) แต่ในสถาการปี 1900 อังกฤษเริ่มไม่แน่ใจกับการไม่มีเพื่อน อังกฤษจึงพยายามผู้สัมพันธ์กับหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ การร่วมือกับญีปุ่นเพื่อสกัดรุสเซียด้านมหาสมุทรแปซิฟิค หรือการขัดขวางมิให้รุสเซียแบ่งจีน นอกจากนั้นยังมีสัญญาความเป็นมิตรกับฝรั่งเศสและรุสเซียอีก ซึ่งบิสมาร์คผผู้ถูกวิจารณ์ว่า “ระบบพันธมิตรที่บิสมาร์คสร้างขึ้นเป็นการเริ่มต้นที่ว่าสงครามในอนาคตไม่ใช่สงครามท้องถิ่น” แต่อังกฤษกลับดำเนินรอยตามและที่สำคัญในช่วงศตวรรษแห่งวิกฤตด้วย
     ท่าทีของอังกฤษต่อวิกฤตกาลซาราเจโว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ต่อท่าทีที่ลังเลอย่างเห็ได้ชัด กล่าวคือ Asguit (แอสควิท)ผุ้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้นไม่ต้องการสงครามเพราะอังกฤมีเรื่องภายในมากอยู่แล้ว การตัดสินใจอาจจะทำให้เกิดการแตกแยกภายในประเทศได้ทุกเมือ รัฐมนตรีต่างประเศได้รับการวิจารณ์ว่ามีแนวโน้มสนับสนุนการเข้าสงครา โดยพูดในที่ประชุม ครม.ว่าถึงเวลาแล้วที่อังกฤษจะต้องตัดสินใจเป็น หรือจะเข้าช่วยฝ่ายพันธมิตร และเห็นว่าอังกฤษควรเข้าช่วยฝรั่งเศสตามสหพันธสัญญา ..และถึงแม้ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศขู่จะลาออกหากอังกฤษประกาศตังเป็นกลาง รัฐสถาและรัฐบาลอังกฤษก็ยังคงไม่ตัดสินใจ..
     อังกฤษเข้าสงครามเพราะกลัวเสียดุลย์แห่งอำนาจ เนื่องจากตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความผู้พันที่มีกับฝรั่งเศสเรื่องป้องกันเส้นทางการค้า เรื่องเบลเยียม อังกฟษก็ยังตัดสินใจลงไปแน่นอนไม่ได้

Troisième République Française:สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

     สาธารณะรัฐที่ 1 และ 2 ของฝรั่งเศสเป็นผลจากการปฏิวัติแต่สาธารณรัฐที่ 3 กำเนิดจากความพ่ายแพ้สงครามต่อเยอรมนี
     สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน”หรือ “สงครามปี ค.ศ.1870” เป็นความขัดแย้งกันระหว่างอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และราชอาณาจักรแห่งปรัสเซีย ในสงครามนี้ฝ่านปรับเซีย325px-Battle-Mars-Le-Tour-large และเยอรมันได้รับชัยชนะที่นำมาซึ่งการรวมเยอรมันภายใต้กษัตริย์วิลเฮมที่ 1 แห่งปรัสเซีย และการล่มสลายของจักรพพดินโปเลียนที่ 3 สิ้นสุดอาณาจักรฝรั่งเศสที่ 2 และแทนที่ด้วย “สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตามข้อตกลงที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงครามนี้ ทำให้เขตแดนบางส่วนของลอเรน-อัลสาซ ต้องตกเป็นของปรัศเซีย(ซึ่งอุดมด้วยทรัพยากรถ่านหินฯ)และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอมัน ซึ่ง่ยังคงสภาพนั้นกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้ง 1 เมื่อสองแค้วนได้กลับคืนสู่ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาแวร์ไซย์
     เป็นสมัยแห่งความยุ่งยากวุนวาย โดยในครั้งแรกเนื่องจากสงครามกับต่างประเทศ และต่อด้วยการจลาจลภายในของคอมมูนแห่งปารีส ความขัดแย้งกันจะมีอยู่เกือบทุกสถาบัน กลุ่มนิยมกษัตริย์ขัดแย้งกับกลุ่มนิยมรัฐสภานักแสวงหาอาณานิคึมขัดแย้งกับผู้ไม่เห็นด้วย ความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐและสถาบันศาสนาหรือนายทุนกับกรรมกร เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐี่ 3 ประเทศฝรั่งเศสก็มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจนเป็นที่สังเกตได้
     สภาพทั่วไปปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
หลังจากสมัยของจูลส์ เฟอรี สภาพการเมืองในฝรั่งเศษยิ่งวุ่นวายมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้พรรคการเมืองสังคมนิยมเข้ามาจัดตั้องคณะรัฐบาลในที่สุด เหตุการณ์แรกเป็นการกระทำของรัฐมนตรีสงครามนายพลบูลองเช่ ผู้ต้องการจะทำรัฐประเหารเช่นเดียวกับที่หลุยส์โบนาปาตเคนทำสำเร็จ ซึ่งความพยายามแม้จะไม่ประสบผลแต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกทางการเมือง     เหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์คือ การคอรัปชั่นในการขุดคลองปานามา เงินหลวงจำนวนมากตกอยู่ในกระเป๋สยีกกสนเทอ
มราเป็นทั้งคนของรัฐบาลและสมาชิกสภา  มติมหาชนเริ่มแสดงความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกต่อต้านพวกยิว เพราะนักการเงินชาวยิวได้เกี่ยวพันอยู่มากในการคอรัปชั้นครั้งนี้ ซึ่งในที่สุดความรู้สึกเหล่านี้ก็กลายเป็นขบวนการที่จะล้มการปกครองแบบสาธารณรัฐ
     เหตุการณ์อีกเหตุการณ์ที่เป็นการบั่นทอนกำลังใจคนในชาติคือนายทหารเชื้อชาติยิวในกองทัพฝรั่งเศสถูกกล่าวว่าทำกาลลักลอบนำอาวุธไปขายให้กับฝ่ายเยอรมัน ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูของชาติ นายทหารถูกตัดสินว่าผิดจริงแต่เรื่องไม่จบเพียงเท่านั้นมีผุ้ตั้งข้อสังเกตการตัดสินดังกล่าว โดยสรุปว่าฝ่ายซ้ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพวกหัวรุนแรง รีพับลิกัน และสังคมนิยมให้ความสนับสนุนนายทหารผู้นั้น ในขณะที่กลุ่มขวาฝ่ายทหารและฝ่ายแคธอลิคต่อต้าน ในที่สุด เอกสารต่าง ๆ ที่ปรักปรำนายทหารนั้นเป็นของปลอม และผุ้ที่เกี่ยวข้องฆ่าตัวตาย จึงเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีความผิดดังถูกกล่าวหา แต่เป็นเพียงแพะรับบาปจากการคอรับชั้นของักการเมืองและนายทหารบางคน แม้คดีจะปิดไปแล้ว ชาวฝรั่งเศสยังคงเกิดความรู้สึกไม่เชื่อถือกองทัพ ไม่ไว้วางใจนักการเมืองฝ่ายขวาตลอจนประธานธิดี ถึงกับมีการวางแผนจะลอบสังหารประธานาธิปดี โดยพวกสมาคมรักชาติโดยมีผลทำให้กลุ่มซ้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสังคมนิยมได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้น ถึงกับสมาชิกกลุ่มสังคมนิยมได้เข้าร่วมในคณะรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเริ่มมีกลุ่มซ้ายที่ม่ชอบพวกแคธอลิค ได้ออกกฎหมายต่อต้านวัดแคธอลิค ที่ระบุให้แบ่งแยกระหว่างวัดกับรัฐออกจากกันเด็ดขาด รัฐยกเลิกความช่วยเหลือที่เคยให้กับวัด พร้อมทั้งจัดตั้งคณะpannelli_11กรรมการพิเศษ ทำการจัดการด้านทรัพย์สมบัติของวัด เป็นต้น
     สภาพของฝรั่งเศสหลังจากพ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซียอย่างย่อยยับ ได้รับการดูถูกทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ตนอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจ เคยมีอาณานิคมไพศาล สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนมากอยู่แล้ว และยังต้องมาเผลิญกับภัยวิบัของการจลาจลภาใน สภาพการคอรับชั่น ของรัฐบาล กรณีขุดคลองปานามา จนถึงความหัวเก่ากรณีนายทหารตกเป็นแพะ ชาวฝรั่งเศสแทบจะสิ้นหวัง เริ่มเกิดความสงสัยในอนาคตของประเทศชาติ ตลดอถึงมนุษยชาตโดยทั่วไ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคนฝรั่งเศส
     ความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มทางการเมืองของฝรั่งเศสเปลี่ยนไป ฝรั่งเศสต่างไปจากอังกฤษและเยอรมนี ในขณะที่ประเทศทั้งสองเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมฝรั่งเศสยังคงวางพื้นฐานชีวิตอยู่บนการเกษตร อุตสาหกรรมหลักของฝรั่งเศสได้แก่ฝ้าไหมและเหล้าไวน์ซึ่งก็ไม่ให้ผลประโยชน์แก่ประเทศมากมายนัก และเมื่อมีคลองสุเอช สินค้าจากจีนไหลทะลักเข้าสู่ยุโรป และอิตาลี ได้พัฒนาสิ้นค้าประเภทนี้ขึ้นมาแข่งขัน เมืองลียองศูนย์กลางอุตสาหกรรมผ้าไหมก็ยิ่งซบเซา และสุดท้ายเมื่อมีการผลิตฝผ้าใยเทียนขึ้นได้ ตลาดค้าผ้าของฝรั่งเศสจึงต้องตกต่ำลงอีกเช่นเดียวกับไวน์ อัตราการผลิตเริ่มตกต่ำลง เพราะสินค้าเหล้าไวน์จากประเทศอื่น มีราคาถูกกว่าและหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดยุโรป แต่ถึงอย่างไรฝรั่งเศษก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยในขณะนั้น
     ขบวนการกรรมกรของฝรั่งเศสมีลักษณะแปลกกว่าประเทศอื่น ๆ สหพันธ์กรรมกรเป็นเรื่องราวของความก้าวหน้าและปฏิกิริยาทางการเมือง  รัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎหมายการรวมตัว ห้ามมิให้การรวมกลุ่มแม้แต่ในรูปของสมาคมอาชีพ ให้มีการติดต่อกันเป็นส่วนตัวเท่านั้น สหพันธ์กรรมกรจึงมีสภาพผิดกฎหมาย และการสไตร์คถือเป็นอาชญากรรม
     เมื่อฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม กรรมกรมีจำนวนมากขึ้น และมีการจับกลุ่มกันอย่างลับ  ๆ แต่ก็กว้างขว้างและมีลักษณะรุนแรง และเกี่ยวข้องกับขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ
      หลังปี 1870 สหพันธ์กรรมกรเริ่มดีขึ้น เป็นเพราะได้แสดงตัวให้เห็นถึงการเดินสายกลาง จึงมีกฎหมายยินยอมให้มีการรวมกลุ่มกรรมกรได้โดยถูกต้อง โดยมีการรวมตัวของกรรมกรและประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มการเมืองใดๆทั้งสิ้น จะต่อสู้เพื่อการอยู่ดีกินดี สิทธิ เสรีภาพของกรรมกรแต่เพียงอย่างเดียว
        กล่าวได้ว่า ศตวรรษที่ 19 ต่อศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงของการผันแปรทางการเมืองของฝรั่งเศส และยังถูกกระทบด้วยพลังชาตินิยมที่ต้องการขยายตัว ทั้งในด้านการเมืองและชื่อเสียงเกียรติยศจนดูเหมือนเป็นการปูทางเพื่อไปสู่สงครามในอนาคต

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

Bismarck(Iron Chancellor)

      showimg (1)
  อาณาจักรไรท์ของบิสมาร์ค เป็นระบบเผด็จการที่บังคับให้พลังความขัดแย้งเหล่านั้นสงบนิ่งลง และทั้งนี้ด้วยความสามารถส่วนตัวของบิสมาร์คเอง ภายหลังสงครามรวมประเทศบิสมาร์ต้องเผชิญกับปัญหาภายในประเทศ ต้องพยายามรวมพลังการเมืองภายใน ในขณะที่สภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อคงความเป็นมหาอำนาจในยุโรปบิสมาร์คคิดว่าเยอรมนีที่ตนสร้างจะมีแต่ความมั่นคงและสันติภาพ แต่กลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามและยังส่งผลถึงยุโรปทั้งหมดอีกด้วย
      รัฐธรรมนูญเยอรมนนเปี 1871 มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยเพียงรูป อำนาจที่แท้จริงคงอยู่ที่ปรัสเซีย เยอรมนีในศตวรรษนี้จึงเป็น “ununified state” คนในแต่ละรัฐยังรู้สึกว่าตนเป็นคนของรัฐมากกว่าเป็นคนของอาณาจักร
     สภาผู้แทนไม่มีอำนาจแต่อย่างใด และผู้ปกครองก็มิได้คิดจะปรับปรุงให้เป็นสภาบันที่มีส่วนมีเสียงในการปกครอง แต่ที่ยังคงไว้เพราะจะเป็นสถาบันที่รัฐบาลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับมติมหาชนเพื่อปรับนโยบายของรัฐบาลให้เข้ากับสถานการณ์ได้ จึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบเผด็จการบ้างเพราะพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ได้ และบิสมาร์คต้องการที่จะให้รัฐต่าง ๆ พอใจ จะได้สะดวกในการติดต่อกับรัฐบาลท้องถิ่น
     ปัญหารเรื่องการเมืองภายในเป็นสิ่งทีนำความหนักใจมาให้บิสมาร์คเป็นอันมาก บิสมาร์คไม่ใช้คนหัวใหม่ เพียงแต่ฉลากพอที่จะยอมรับสถานการณ์ พรรคการเมืองในเยอรมนีขณะนั้นประกอบด้วย พรรคอนุรักษ์นิยม  สมาชิกส่วนใหญ่ได้แก่พวกจุงเกอร์ เป็นพวกหัวเก่า ม่นธยบายต่อต้านการปฏิรูปอุตสาหกรรมทุกประเทภ ต่อสู้เพื่อนาคตของชนชั้นเจ้าของที่เจ (ปรัสเซีย)และกสิกร  แมม้บิสมาร์คจะเป้ฯจุ้งเกิดร์ แต่ก็ยังเข้ากันได้ยาก ถึงกับเคยร่วมือกับกลุ่มเสรีนิยมถ่วงเสียง
     พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ เรียกว่าเป็นกลุ่มหัวใหม่ พอใจการเปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้ให้ความสนับสนุนในการขยายตัวทางอุตสาหกรรม ซึ่งบิสมาร์ ให้ความร่วมือเป็นอย่างดี เพราะเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาการเปศรษฐกิจ แต่ความสัมพันธ์กับพรรคนี้ก็ไม่ราบรื่นนัก
     พรรคเซ็นเตอร์ เมื่อตั้งพรรคนี้ขึ้นมามีเจตนาจะรวมพวกแคทธอลิคฝใยเยอรมนีทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องชนชั้นแต่อย่างใดสมาชิกส่วนใหญ่จึงเป็นเคทธอลิค นโยบายของพรรคโดยกว้าง ๆ นั้นต้องการจะต่อต้านการปกครองของพวกโปรเตสแตนท์ ในระยะต้อนนโยบายของพรรคยังไม่แนนอนยังแยกกันไม่ชัดเจนระหว่างความเป็นแคทธอลิกค กับการเป็นักกากรเมือง บิสมาร์คพยายามกำจัดพรรคเซ็นเต่อร์อย่างมาก พอกับที่จัดการกับพรรคสังคมประชาธิปไตย
     เนื่องจากวัดแคทธอริคมีขอบเขตอิทธิพลกว้างไกลมาก บิสมาร์คจึงไม่พอใจ ต้องการจะลดอำนาจลงไปบ้าง บิสมาร์คยืนยันว่า จะต้องไม่มีระบบ 'state within the state’ อยู่ในเยอรมันอีกต่อไป ทางฝ่ายศาสนจักรซึ่งสูญเสียอำนาจทางโลกไปมากได้พยายามจะยัดอำนาจทางด้านจิตใจ จึงประกาศ Papal Infalilibility  ยืนยันข้อตัดสินใจใด ๆ ของทางวัดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ วาติกันประกาศคว่ำบาตผู้ที่ปฏิเสธกฤษฎีกานี้ เท่ากับว่าการศึกษาจะต้องเข้าไปอยู่กับฝ่ายวาติกันทั้งหมด รัฐบาลบิสมาร์คจึงจำเป็นต้องประกาศต่อต้านคำประกาศของสันตปาปา  และมีผุ้ให้ความเห็นว่ามีเหตุผลเบื้องหลังอีกประการ คือบิสมาร์คต้องการเอาใจพวกเสรีนิยมแห่งชาติ  ผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ก่อให้เกิดคามไม่พอใจในหมู่พวกแคทธอลิค จึงรวมตัวเป็น Centre Party บิสมาร์คตอบโต้ด้วยการออกกฎหมายต่อต้าน ซึ่งจะยังผลให้ปพระเจชูอิทต้องถูกขับไล่ รัฐจะเข้าควบคุมการศึกษาทุกระดับแม้แต่วิทยาลัยสงฆ์ด้วยมาตรการเด็ดขาด ผลการต่อสู้กับพระบิสมาร์ดได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย อิตาลี ออสเตรีย ซึ่งต่างซึ่งมีปัญหากับวาติกันด้วยกันทั้งนั้น หรือแม้แต่กลุ่มหัวรุนแรงของผรั่งเศส และโปรเตสแตนท์ในอังกฤษ
      จากการที่บิสมาร์คทำการต่อสู้กับทางวัด ทางฝ่ายพรรคเซ็นเตอร์มีสามาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยไปในทางลบ บิสมาร์คลดทิฐิยอมออมชอมกับพวกสังคมนิยมเพื่อต่อสู้กับแคธอลิค
      พรรคสังคมประชาธิปำตย กลุ่นี้ต้องการจะรวมกรรมกรเยอรมันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกรรมกรของรัฐหรือของท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนเหล่านี้เป็ยผลมาจากขบวนการสังคมนิยมซึ่งเกิดขึ้นใหม่ในเยอรมนี ซึ่งเป็นผลงานของมร์คและเอนเกล เป็นกลุ่มของพวกหัวรุนแรง ต้อการประท้วงการปกครองของพวกชนชั้นเจ้าของที่ดินและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ต่อต้านระบบทหารของปรัสเซีย เรียกร้องให้ตั้งรัฐสังคมนิยมขึ้น ให้รัฐเข้าควบคุมการอุสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้น สมาชิกแบ่งเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการปฏิวัติตามหลักทฤษฎี และกลุ่มที่เชื่อว่าวิธีการปฏิรูปด้วยวิถีทางรัฐสภา ทางพรรคจะสามารถเอาชนะได้ พรรคนี้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
     บิสมาร์คต้องยอมประนีประนอมกับพรรคอนุรักษ์นิยม เพื่อถ่วงเสียงพรรคสังคมประชาธปไตยในรัฐสภาสุดท้ายบิสมาร์คหาเหตกำจัดพรรคสังคมประชาธิปไตย โดยกล่าวหาว่าสมาชิกของพรรควางแผนฆ่าจักรพรรดิวิเลียมที่ 1ในที่สุดออกกฎหมาย ระบุว่าพรรคสังคมประชธิปำตยเป็นพรรคนอกกฎหมาย ต้องออกนอกประเทศไป ถึงอย่างไรพรรคยังคงไม่สลายตัว ได้ออกไปตั้งศุนย์บัชาการที่สวิสเซอร์แลนด์และส่งสิ่งตีพิมพ์เข้ามาเผยแพร่ในเยอรมนีโดยสมำเสมอ
    ปี 1871 เยอรมนีผ่านพ้นความยุ่งยากทั้งหลาย เข้าสู่ยุคความมั่นคงทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ บิสมาร์คใช้ความสามถส่วนตัวดึงการขัดแย้งให้อยู่ในขอบเขต บิสมาร์คนำความสงบมาให้กับเยอรมนีโดยเสนอผลประโยชน์ให้กับกลุ่มจุ้งเกิร์ ปรัสเซีย และกลุ่มชนชั้นกลางจนเป็นที่พอใจ  บิสมาร์คพยายาม “ป้อน” ผลประดยชน์ดังกล่าวนี้ให้กับกลุ่มเซ็นเตอร์ และกลุ่มแคธอลิคกลายมาเป็นกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมและกสิกรรม เป็นกลุ่มผลประดยชน์ซึ่งต้องสนับนุนนโยบายเศรษฐกิจ
     บิสมาร์คได้เริ่มนโยบายใหม่ที่เรียกว่า New Order อันมีคำขวัญว่า gun before butter ซึ่งจะมีผลให้คนเยอรมันเกิดความรู้สึกที่ว่า ถ้าเยอรมนีจะต้องพิชิตยุโรป นดยบายเศรษฐกิจอันใหม่นำเยอรมนีเข้าสู่จุดสมดุลย์ของกลุ่มผลประโยชน์ มิใช่สมดุลของความคิด เยอรมนีจึงเปลี่ยนมาเป็น “รัฐของกลุ่มผลประโยชน์”
     นโยบายต่างประเทศ มีทั้งนโยบายที่ควรได้รับการยกย่องและตำหนิในเวลาเดียวกัน บิสมาร์คดำเนินนโยบายทำลายล้างระบบพันธมิตรเนื่องจากเรียนรู้สถานการณ์ของปรัสเซียที่ถูกทำลายอย่างย่อยยับจากพันธมิตร ฝรั่งเศส ออสเตรียและรุสเซีย บิสเมาร์คจึงป้องกันทุกทางมิให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอีก และในขณะที่ทำลายระบบพันธมิตรของผู้อื่นก็กลับสร้างระบบพันธมิตรขึ้นมาใหม่ ที่มีเยอรมนีเป็นศูนย์กลาง  ยุโรปจะต้องอยู่ในสภาพสันตติเพื่อที่เยอรมนีจะมีอำนาจที่สุด ซึ่งบิสมาร์คได้ถือเป็นนโยบายหลักของเยอรมนี กระทั่งไกเซอร์วิลเลียนมได้มาซึ่งอำนาจ
      บิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวิปยุโรปจากทะเลบัตติจนถึงทะเลเมติเตอร์เรเนียนและทะเลอาเดรียติค เท่ากับว่าเขตอิทธิพลของเยอรมนีรวมทั้งความมั่นคงขยาขตามไปด้วย แต่สิ่งที่ประสบความสำเร็จเหนือสิ่งอื่นใดคือ ได้ต่อต้านการเป็นพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศสและรุสเซียได้เป็นผลสำเร็จ
     บิสมาร์คเคยมีโครงการที่จะหยุดยั้งความทะเยอทะยานเรื่องการขยายตัวของคนะอยรมัน เคยมีการขัดขวางคนบางกลุ่มที่จะเข้าเวียนนา โดยเขากล่าวว่า ถ้าเข้าเวียนนาก็ต้องไปถึงคอนสแตนติโนเปิดล และจะออกตะวันออกในที่สุด ประเทศเยอรมนีจะกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ ซึ่งบิสมาร์คไม่ต้องการ  บิสมาร์คได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นนักการเมืองของยุค “ราชธิปำตยแบบทรงภูมิธรรม” คนสุดท้าย เพราะยังคิดเรื่องชาติในสม้ยที่ใครๆ คิดเรื่องอาณาจักรสากลกัน
      เมื่อซาร์ที่ 3 ขึ้นครองราช ทรงต้องการรื้อฟื้นสัญญาญามิตรสามจักรพรรดิ ซึ่งส่งผลให้บิสมาร์คประสบความสำเร็จในการแบ่งดินแดนยุโรปตะวัออกเป็นเขตอิทธิพลของรุสเซียและออสเตรียได้ตามจุดมุ่งหมาย จากสัญญาสามจักรพรรดิ รุสเซียจะต้องไม่ทำลายออสเตรีย จากสัญญาพันธมิตรสามจักพรรดิรุสเซียจะต้องไม่ทำลายตุรกีและไม่คุกคามออสเตรีย และทำนองเดียวกัน ออสเตรียจะต้องไม่ทำลายตุรกี บิสมาร์คจึงหลีกเหลี่ยงการเข้าไปพัวพันสงครามกับรุสเซียเป็นผลสำเร็จ
     บิสมาร์คดำเนินนโยบายสร้างระบบพันธมิตรสำเร็จอีกครั้งเมือสามารถนำอิตาลีเข้าร่วมได้ร และเปลี่ยนชื่อมาเป็นพันธมิตรสามเส้า ซึ่งเท่ากับบิสมาร์คดำเนินนโยบายต่างประเทศประสบความสำเร็จ สามารถสร้างระบบพันธมิตรครอบคลุมทวีปยุโรป
       ขบวนการชาตินิยมเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ดินแดนยุโรปตะวันออกเฉยงใต้ซึ่งบิสมาร์คใช้เป็นเกมการเมืองต่อรองกับรุสเซียีปฏิกิริรยาไม่พอใจที่ชะตากรรมบ้านเมืองต้องตกอยู่กับนักการเมืองบางคน บิสมาร์คไม่สามารถป้องกันการปฏิวัติที่มีลักาณะต่อต้านรุสเซียในรูเมเนียตะวันออกได้ บิสมาร์คจึงไสมารถจะหลีกเลียงการขัดแย้งกับรุสเซียได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบุลกาเรีย คือการเปลียนผุ้ปกครองใหม่ เท่ากับอิทธิพของออสเตรียและเยอมีเข้ามาแทนรุสเซีย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่รุสเซียในทันที รุสเซียหันมากระชับมิตรกับฝรั่งเศส และปฏิเสธการต่ออายุสัญญาสามจักรพรรดิ
    การแสดงออกถึงความขัดแย้งในตัวเองของนโยบายบิสมาร์คนั้น ปรากฎให้เห็นหลายเรื่อง อาทิ เป็นคนแรกที่ทำให้เยอรมนีเป็นรัฐสังคมนิยา ในขณะที่กำจัดพวกสังคมนิยม เคยใช้นโยบายไม่แทรกแซงการค้า แต่ออกกฎหมายกำแพงภาษี  เเละเคยต่อต้านการขยายตัวด้านอาณานิคม แต่เป็นผู้ก่อสร้างอาณานิคมในภาคพื้นทะเลเป็นต้น
     อาณานิคมกลายเป็นทางออกของความขัดแย้งของการเมืองภายในประเทศและภายนอกประเทศของประเทศต่าง ๆ เมื่อทุกประเทศในยุโรปเลิกห่วงในนโยบายดุลย์แห่งอำนาจในยุดรป ละหันมาแสวงหาอาณานิคมกันเต็มที่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่ายุคจักรวรรดินิยม ทุกประทได้ยอมรับความคิดของบิสมาร์คในเรื่องอาณานิคมว่าเป็นการลดความตึงเครียดทางการเมืองลงได้
     บิสมาร์คเล่นเกมการเมืองเพื่อการขยายอำนาจของระบบราชาธิปไตย เพื่อจุ้งเกิร์และเพื่อปรัสเซียโดยใส่ความ “กลัว” ลงในอารมณ์ของคนเยอรมัน หลังจากปี 1887 เยอรมนีอยู่ในสภาพที่ต้องเตรียมพร้อม สงครามอาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมาจากฝรั่งเศส รุสเซีย หรือแม้แต่อังกฤษ ความกลัวเหล่านี้ได้นำคนเยอรมันเข้ามาอยุ่ใต้ผู้นำ จะต้องผนึกกำลังเพื่อเอาชนะผุ้คุกคาม บิสมาร์คมารู้ตัวเมื่อสาย ถึงจะพูดว่า “คนเยอรมันไม่กลัวสิ่งใดใน โลก ยอเว้นแต่พระเจ้า” ยังคงไม่สามารถเปลี่ยนอารมณ์และความเชื่อของคนเยอรมันได้ ชาวเยอรมันยังคิดเสมอว่าตนอยู่ในอันตราย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...