วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

Victorian era

       สมัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิคตอเรีย ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของกาปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถQueen_Victoria วิกตอเรีย  อังกฤษได้ปฏิรูปตนเองในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดก็คือการเปลี่ยนจากรัฐบาลขุนนางมาเป็นรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และจากระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมาเป็นการเริ่มต้นรูปหนึ่งของสังคมนิยม กล่าวกันว่าสมัยวิคทอเรียนเป็นเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นยุคของขุนนาง ยุคของความอุดมสมบูรณ์ ยุคของการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองและเป็ยยุคการปฏิรูปภายในอันยิ่งใหญ่
การพัฒนาทางด้านการเมือง การปกครองของอังกฤษภายใต้หน้ากากระบบรัฐสภา อังกฤษมีความปกครองระบบคณาธิไตยผ่านทางระบบการเลือกตั้งผู้แทนที่ไม่มีความยุติธรรม และการคอรับชั้นอย่างไร้ยางอาย ระบบการเลือกผู้แทนก่อนปี ค.ศ. 1832 เรียกว่า Rotten Borough System  ซึ่งจะมีผลให้สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เป็นคนของพวกขุนนาง คนร่ำรวยและกลายเป็นตำแหน่งที่ขายต่อกันได้ในหมู่คนรวยที่ต้องการจะยกฐานะทางสังคมของตน ในเรื่องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็เป็นสิทธิพเศษที่ขึ้นอยู่กับทรัพย์สิน(ที่ดิน)การจ่ายภาษี และชาติกำเนิดของบุคคล ตามสถิติที่ปรากฎ มีประชาชนเพียงประมาณ ห้าเปอร์เซ็นเท่านั้นที่มีสิทธิออกเสียงได้
       ระบบรัฐบายยังเหมือนเช่นปัจจุบัน คือมีพระมหากษัตริย สภาสูง และสภาต่ำ หลังจากสมัยพระเจ้ายอร์จที่ 3 แล้ว พระมหากษัตริย์มีสภาพเป็นเพียงหุ่นเชิด คณะรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีต้องคุมเสียข้างมากในรัฐสภา และจะต้องรับผิดชอบต่อสภาต่ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายที่จะทำได้
       สมาชิกสภาสูงประกอบด้วยบุคคลทีสืบเชื้อสายมาจากพวกขุนนางชั้นสูง สมาชิกสภาต่ำมาจากการเลื่อกตั้งทั่วไปและจะอยู่ในตำแหน่งวาระ 7 ปี แต่อาจยุบสภาได้โดยพระปรมาภิไธยจาพระมหากษัตริย์ ส่วนระบบ 2 พรรค คือทอรี่ กับ วิก ก็มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐายของระบบพรรคการเมืองเช่นปัจจุบัน แต่เป็นามคมของพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่ 2 ตระกูล และจะเข้ามาทำงานเพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น  ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูป พวกชนชั้นสูงคุมสภาสูงดดยตรงด้วยอภิสิทธิ์เรื่องชาติตระกูล และคุมสภาต่ำโดยทางอ้อมฝ่านทางระบบเลือกตั้ง ตลอดจนคุมตำแหน่างสูง ๆ ทั้งทางราชการและศาสนา สรุปได้ว่าก่อนปี ค.ศ. 1832 ระบบการเมืองของอังกฤษเป็นแบบ “รัฐบาลของประชาชน โดยขุนนางและเพื่อขุนนาง”
   มีความพยายามจะออกพรบ.หลายต่อหลายครั้งแต่ถูกยับยั้งจากสภาสูงกระทั่งปี ค.ศ. 1832 พระราชบัญญัติปฏิรูป จึงผ่านกฎหมายปฏิรูปออกมา ซึ่งผลลัพธ์ก็เรียกว่ายุติธรรมขึ้น พระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้เกิดความคิดว่าการปฏิวัติเป็นของไม่จำเป็น และถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติปฏิรูปจะมิได้ทำให้อังกฤษมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จเรง แต่ก็เปิดช่องทางการเมืองให้กับชนชั้นกลาง ตลอดจนชนชั้นอื่น ๆ ก็จะเข้ามามีส่วนในการบริหารประเทศต่อไป
    หลังจากปฏิรูปชันชั้นกลางขึ้นมาควบคุมการปกครองของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงเป็นไปยางกว้างขวาง การค้าเป็นหลักการสำคัญของนโยบายของประเทศทั้งภายในและภายนอก แต่การปฏิรูปประเทศยังก้าวหน้าต่อไป ทว่าเป็นไปเพื่ผลประโยชน์ของชนชั้นกลางเช่นการออกเสียเลือกตั้งก็เพื่อชนชั้นกลางจะได้เข้าไปคุมรัฐสภา เสนอระบบเท่าเทียมกับพวกแองกลิตัน แต่จะไม่มีการปฏิรูปความเป็อยู่ของกรรมกร  พระราชบัญญัติปฏิรูปปี ค.ศ. 1832 ได้มีผลทำให้ระบบพรรคการเมืองของอังกฤษเปลี่ยนไปบ้าง พรรควิกและทอรี่เปลี่ยนชื่อพรรคใหม่ตลอดจนได้หัวหน้าพรรคคนใหม่ ทอรี่เปลี่ยนชื่อม่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ในขณะที่พรรวิกได้ชือเสรีนิยม อย่างไรก็ตามชื่อของพรรคยังคงมีความหมายแต่เพี่ยงชื่อ ในทางปฏิบัติพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งตามความเข้าใจเดิมเป็นของพวกชนชั้นสูงได้ปรับตัวเองให้เข้าได้กับภาวะใหม่ แต่โดยสรุปไมมีผูต้องการจะก้าวไน้ต่อไปให้ถึงประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
        ทว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ชนชั้นกรรมชีพได้รับความผิดหวังจากพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ยังไม่ยอมให้มีการเลือกรตั้งทั่วไป และพวกชนชั้นกลางที่เคยร่วมมือกับกรรมกรต่อสู้กับพวกชนชั้นสูงเมื่อได้อำนาจก็ทำการกดขี่พวกกรรมกรเช่นพวกชนชั้นสูง กรรมกรจึงคิดว่าตนถูกโกง และคิดว่าพวกชนชั้นกลางฉวยโอกาสจากผลงานของตน ทั้งพรรคเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมต่างต่อต้านที่จะขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้กว้างไกลต่อไป พวกกรรมกรจึงรวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธดังกล่าว กลุ่มชนได้มาพบปะกันและได้ร่างกฎบัตรขึ้น แม้ว่าลักษณะจะเป็นรูปการเมือง แต่ก็มีจุดมุ่งหมายปฏิรูปสังคมด้วยเหมือนกัน จึงได้รับความร่วมมอจากสมาคมกรรมกรอื่น ๆ อีก ดังนั้นการเรียกร้องจึงเพิ่มความรุนแรงขึ้น ทางรัฐบาลถึงกับเตียนกำลังต่อต้านถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นซึ่งเหตุการณ์ไปตามที่คาดหมาย เมือกฎบัติถูกปฏิเสธอีกครั้งหนึ่ง การจลาจลก็เกิดขึ้น และตามมาด้วยการใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาล
       ถึงแม้ขบวนการ Chartist จะถูกกำจัดไป แต่หลักการยังคงอยู่ในใจของชาวอังกฤษ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ยังคงมีความต้องการขยายสิทธิการเลือกตั้งออกไปอีก ฝ่ายพรรคเสรีนิยมซึ่งมีแกลดสโตนและไบร์ท ได้เสนอว่า ไม่ควรจะหยุดยังการปฏิรูปเพียงแค่พระราชบัญญัติปี 1832 ดิสรารี ซึ่งเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยมกลายเป็นแชมป์เปี้ยนของประชาชนเพราะร่วมต่อสู้กลุ่มชนชั้นกลางที่บริหารประเทศอยู่ การเรียกร้องให้ปฏิรูประบบการเลือกตั้งจึงเริ่มขึ้น ในระยะทศวรรษที่ 1860’sแต่ในครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างผุ้ต่อต้านและผู้สนับสนุนของแต่ละพรรค
     รัฐบาลในช่วงค.ศ. 1867-1914 ระบบการปกครองเป็ฯแบบรัฐสภา ยังคงมีกษัตริย์ ตามทฤษฎีพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุด ปกครองประชานโดย grace of god แต่ในทางปฏิบัติพระมหากษัตริย์จะไม่แทรกแซง หรือใช้อิทธิพลต่อการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ไม่มีสิทธิยับยั้งกฎหมาย หรอแต่งตั้งคณะผูบริหารประเทศ เป็นเพียงหุ่นเชิดไม่มีอำนาจแต่อย่างใดในระบบการเมืองอังกฤษ ดดยที่สถาบนกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ที่รวมความเป็ฯอันหนึ่งเดียวกันของประเทศและของจักรวรรดิเอาไว้
     คณะรัฐบาลมีลักษณะเป็น  ปาร์ตี้ คอรป์เวอเม้นต์ ระบบพรรค นายกรัฐมนตรีผุ้ดำรงตำแหน่างหัวหน้าคณะรัฐบาลได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยการที่สามารถคุมเสียงข้ามมรากในรัฐสภาไว้ได้ คณะรัฐมนตรีจะเป็นบุคคลผุ้สังกัดพรรคการเมืองเยวกัน ระบบคณะรัฐมรจรีของประเทศังกฤษจะมีสภาพเป็น  union of power ในขณะที่อเมริกาเป็ฯแบบ separation power คณะรับบาลใช้อำนาจบริหาร ดวยการวางนโยบายการปกครอง แต่งตั้งบุคคลสำคัญในการบริหารประเทศพร้อมกันนั้นก็ใช้อำนาจนิติบัญญัติด้วยการฝ่านกฎหมายฉบับสำคัญ ๆ ออกมาใช้ รัฐสภามีสิทธิจะออกเสียงไม่ไว้วางใจคณะรัฐลบาล หรือำม่ผ่านกฎหมายทีรัฐบาลเสนอมาได้ แต่พระมหากษัตริย์ก็มีสิทธิจะให้ทั้งรัฐบาลลาออกและยุบสภาล่างได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเมือมีการเลือกตั้องทั้งไปกันใหม่และสมาชิกใหม่ที่เข้ามามีสิทธิลงคะแนนเลือกรัฐบาลชุดก่าอีกก็ได้
     รัฐสภาประกอบด้วยสภาสูง และสภาล้าง สภาสูงมีบทบามทากในอดีตแต่ได้เสื่อความสำคัญลงเรื่อยๆ สภาล่างเริ่มต้นจากการเป้ฯคณะบุคลที่ใกล้ชิดพระมหากษรัติย์กลับมีความสำคัญเพิ่มขึ้น จนในที่สุดมาเป็คณะผุ้คุมการเงินของประเทศ จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขัดขวางหรือสนับสนุนการบริหารของคณะรัฐบาล ได้ทำลายอำนาจสมบูรณาญาสิทธราชย์ของราขชวงศ์สจ๊วต เป็นสภาบันที่ถ่วงอำนาจฝ่ายปริหารและเป็นกลุ่มผุ้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ สมาชิกสภาล่างจะมาจากากรเลือตั้งทั่วๆ ไปและอยู่ในตำแหน่างได้คราวละ 5 ปี อาจถูกยุบสภาก็ได้ด้วยคำสั่ง ของรัฐบาลโดยพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ..เรียกได้ว่าสภาล่างเป็นสถาบันที่อำนาจสูงสุดในประเทศเพียงแต่ใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรี
     องกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร การตัดสิใจขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่กับกฎหมาย ประเพณีและข้อตกลงเก่า ๆ เช่น Magna Carta,Bill of Rights,Reform bills เป็นต้น ..
     การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเริ่มแรกที่อังกฤษเปลี่ยนสภาพมาเป็นประเทศcapitalism-2 อุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบพาณิชย์นิยมพ่อค้าต้องประสบกับปัญหาเรื่องกำแพงภาษี การแทรกแซงของรัฐบาล การแทรกแซงของัฐบาล ยิ่งกว่านั้นพวกเจ้าของที่ดินเข้ามาคอยควบคุมรัฐสภาได้ออก กฎหมายซึ่งห้ามการสั่งข้าวเข้าประเทศยกเว้นกรณ๊ที่เกิดขาดแคลนภายใน หรือเมือ่ราคาได้ถีบตัวสูงมากพอที่ชาวนามีรายได้มั่นคงแล้ว แม้ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นว่าให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาได้ โดยจะเก็บภาษีต่ำถ้าราคาขายภายในสูง และจะเก็บภาษีสูงถ้าราคาภายในต่ำ แต่ก็ดูเหมือนว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังคงไม่ดีขึ้น
  ปี 1845 อังกฤษเผชิญกับการอดอยาก เนื่องจากการปลูกมันในไอร์แลนด์ล้มเหลวและการปลูกข้าวของอังกฤษก็ตกต่ำ ค่าครองชีพจึงสูงขึ้น ข้อเรียร้องให้ซื้ออาหารจากต่างประเทศจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น จึงมีการยกเลิกกำแพงภาษี environment
  ปี 1870 เศรษฐกิจของอังกฤษอยู่ในสภาที่ดี ประชาชนมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ แต่ขณะเดียวกันเป็นระยะที่ความเจริญด้านการอุสาหกรรมมาถึงจุดสูงสุดและกำลังเป็นช่วงของขาลง การอุตสาหกรรมบางชนิดหยุชงัก ลางแห่งลกการผลิต และยังมีคู่แข่งทั้งเยอรมน และ อเมริกา
    นอกจากด้านการเมือง การค้า การอุตสาหกรรม และสภาพสังคมกรรมกรแล้วนักปฏิรูปยังก้าวลึกเข้าไปด้านอื่น ๆ อีก เช่นการศึกษา ศาสนา และด้านอื่นๆ แม้แต่วรรณกรรม
       ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีปัญหาอยู่ 3 เรื่องได้แก่การหาสมดุลย์ในเรื่องสังคมและการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากใจความของกฎหมายปฏิรูปต่าง ๆ ปัญหาต่อมาได้แก่การปฏิรูปสังคมและเสณษฐกิจ และปัญหาความมั่นคงของชาติและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ        นโยบายโดดเดี่ยว หรือ Splendid isolation ที่อังกฤษอ้างมาใช้เพื่อสนองผลประโยชน์ซึ่งได้ผลดีมาโดยตลอด อังกฤษสามารถหลีกเลี่ยงสงครามยุโรปได้ทั้งหมด(ยกเว้นสงครามไครเมีย) แต่ในสถาการปี 1900 อังกฤษเริ่มไม่แน่ใจกับการไม่มีเพื่อน อังกฤษจึงพยายามผู้สัมพันธ์กับหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ การร่วมือกับญีปุ่นเพื่อสกัดรุสเซียด้านมหาสมุทรแปซิฟิค หรือการขัดขวางมิให้รุสเซียแบ่งจีน นอกจากนั้นยังมีสัญญาความเป็นมิตรกับฝรั่งเศสและรุสเซียอีก ซึ่งบิสมาร์คผผู้ถูกวิจารณ์ว่า “ระบบพันธมิตรที่บิสมาร์คสร้างขึ้นเป็นการเริ่มต้นที่ว่าสงครามในอนาคตไม่ใช่สงครามท้องถิ่น” แต่อังกฤษกลับดำเนินรอยตามและที่สำคัญในช่วงศตวรรษแห่งวิกฤตด้วย
     ท่าทีของอังกฤษต่อวิกฤตกาลซาราเจโว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ต่อท่าทีที่ลังเลอย่างเห็ได้ชัด กล่าวคือ Asguit (แอสควิท)ผุ้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้นไม่ต้องการสงครามเพราะอังกฤมีเรื่องภายในมากอยู่แล้ว การตัดสินใจอาจจะทำให้เกิดการแตกแยกภายในประเทศได้ทุกเมือ รัฐมนตรีต่างประเศได้รับการวิจารณ์ว่ามีแนวโน้มสนับสนุนการเข้าสงครา โดยพูดในที่ประชุม ครม.ว่าถึงเวลาแล้วที่อังกฤษจะต้องตัดสินใจเป็น หรือจะเข้าช่วยฝ่ายพันธมิตร และเห็นว่าอังกฤษควรเข้าช่วยฝรั่งเศสตามสหพันธสัญญา ..และถึงแม้ว่ารัฐมนตรีต่างประเทศขู่จะลาออกหากอังกฤษประกาศตังเป็นกลาง รัฐสถาและรัฐบาลอังกฤษก็ยังคงไม่ตัดสินใจ..
     อังกฤษเข้าสงครามเพราะกลัวเสียดุลย์แห่งอำนาจ เนื่องจากตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความผู้พันที่มีกับฝรั่งเศสเรื่องป้องกันเส้นทางการค้า เรื่องเบลเยียม อังกฟษก็ยังตัดสินใจลงไปแน่นอนไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...