Triple Entente-Triple Alliance ไตรพันธมิตร-ไตรภาคี

วิกฤตการณ์ก่อนสงครามโลกคร้งที่ 1
     จากการก่อตั้งกลุ่มไตพันธมิตร Triple Ententeและกลุ่มไตรภาคี Triple Alliaanceได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดในยุโรปและก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ดังนี้
     วิกฤตการณ์โมร็อกโกครั้งที่ 
     หลังจากอังกฤษกับฝรั่งเศสทำความเข้าใจแล้ว จึงได้สร้างความกังวลให้กับเยอรมันนีเป็นอย่างมาก เมื่อเยอรมนีรู้ว่าฝรั่งเศสพยายามเข้ามามาบทบาทในโมร็อกโกทั้งทางการทหารและทางการคลังจักพรรดิไกเซือร์ที่ 2 จึงเสด็จไปเยือนโมร็อกโกและประกาศยอมรับสถานภาพองค์สุลต่านแห่งโมร็อกโกและทรงยืนยันความเป็นเอกราชของโมร็อกโก นอกจากนี้พระองค์ทรงประกาศไม่ยอมรับการทำสัญญาใดๆ ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศษในกรณีที่เกี่ยวกับโมร็อกโก
     รัฐบาลเยอรมนีเรียกร้องให้มีการจัดประชุมนานาชาติเพื่อพิจารณาถึงปัญหาโมร็อกโก รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสคัดค้านอย่างรุนแรง รัฐบาลฝรั่งเศสเองไม่แน่ใจว่าหากทำสงครามกับเยอรมนีอังกฤษจะเข้าข้างไหนจึงตัดสินใจหาทางออกโดยการบังคับให้รัฐมนตรีต่างประเทศลาออกจากตำแหน่งซึ่งเท่ากับเป็นชัยชนะของเยอรมนี
     ในเวลาต่อมาได้มีการประชุมนานาชาติที่เมืองอัลเจซิรัสประเทศสเปนเพื่อแก้ปัญหาในโมร็อกโกโดยฝรั่งเศสมีอังกฤษให้การสนับสนุนและเยอรมนีได้รับการสนับสนุนจากออกเตรีย-ฮังการี ผลการประชุมดูเหมือนเยอรมนีจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะแต่ผลประโยชน์กลับตกอยู่กับฝรั่งเศส กล่าวคือ ที่ประชุมยอมรับว่าโมร็อกโกเป็นประเทศเอกราช แต่ต้องเปิดประเทศติต่อค้าคาย และให้สเปนกั่บฝรั่งเศษควบคุมตำรวจในโมร็อกโก โมร็อกโกจะต้องสร้างธนาคารแห่งชาติขึ้นดดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนีและสเปน ผลที่ตามมาจากการประชุมคือความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ
     ตุรกี
     อังกฤษสามารถตกลงทำความเข้าใจกับรัศเซียได้ส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวในหมุ่ชาวเติร์ก เพราะการทำข้อตกลงดังกล่าวมีผลต่อความอยู่รอดของตุรกี ในอดีตตุรกีสามารถรักษาอำจาจไว้ได้เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอังกฤษและรัสเซีย ดังนั้นเมืองประเทศทั้งสองตกลงกันได้กลุ่มยังเติร์กจึงก่อการปฏิวัติ
      กลุ่มยังเติร์ก Young Turksเป็นขบวนการเสรีนิยมที่เคยถูกเนรเทศไปอยู่ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายล้มการปกครองของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 โดยวิการปฏิรูปและส่งเสริมการใช้รัฐธรรมนูญ กลุ่มยังเติร์กทำการติดต่อประสานงานกับบรรดาชนกลุ่มน้อยชาตินิยมที่อาศัยอยุ่ในอาณาจักรตุรกีโดยเฉพาะที่มาซิโดเนียและอาร์เมเนียให้มีโอกาศปกครองตนเอง
     ความแตกแยกในกลุ่ม ยังเติร์ก 24 กรกฎาคม ค.ศ.1908 สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ทรงยอมมอบอำนาจให้แก่กลุ่มนายทหารและพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวเติร์ก รัฐสภาเปิดประชุมในปีเดียวกันแต่เกิดความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างกลุ่มเติร์กหนุ่มเสรีนิยมดั้งเดิมที่เคยถูกเนรเทศและกลุ่มเติร์กนายทหารซึ่งมีนโยบายชาตินิยมรุนแรงซึ่งไม่ต้องการเห็นอาณาจักรตุรกีเกิดการแตกแยก จึงต่อต้านขบวนการชาตินิยมและต่อต้านการปกครองตนเองของพวกชนกลุ่มน้อย หลังสงครามบอลข่านกลุ่มเติร์กนายทหารมีอำนาจมากขึ้นเกิดมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างตุรกีกับเยอมนี ถึงแม้กลุ่มเสรีนิยมจะนิยมอังกฤษกับฝรั่งเศษ แต่ผู้นำฝ่ายทหารนิยมเยอมนี
     วิกฤตการณ์บอสเนีย ปี ค.ศ. 1908-1909
     จากข้อตกลงสนธิสัญญาเบอร์ลินในปี78 บอสเนียและเฮอร์เซดกวินาได้กลายเป้นอินแดนที่อยุ่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย-ฮังการีแต่ก็ยังคงมีสถานภาพเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรตุรกี ออสเตรีย-ฮังการีพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของตุรกีออกจากดินแดนส่วนนี้
     เมื่อตุรกีตกอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มนายทหารซึ่งมีนโยบายชาตินิยมรุนแรงออสเตรีย-ฮังการีเกรงว่าจะเกิดผลต่อการปกครองภายในบอสเนียจึงเตรียมแผนการผนวกดินแดนทั้งสองเข้าเป้นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออสเตรีย-อังการี ซึ่งในขณะเดียวกันรัสเซียซึ่งเกรงว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองในตุรกีจะส่งผลมาถึงรัศเซีย จึงหาทางหาทางทำความตกลงกับออสเตรีย-ฮังการีโดยรัสเซียจะให้การสนับสนุนในการผนวกบอสเนียโดยทางออสเตรีย-ฮังการีจะให้การสนับสนุนรัสเซียในการนำเรื่อรับผ่านช่องแคบ ซึ่งรัสเซียไม่แน่ใจว่าจะทำได้เพราะเป็นการละเมิดข้อตกลงเรื่องช่องแคบโดยไม่ให้เรื่อรบชาติใดผ่านช่องแคบในภาวะปกติ เมื่อออสเตรีย-ฮังการีไม่สามารถตอบสองจึงไมมีผลในทางปฏิบัติ
     ในวันที่ 5 ตุลาคม 1908บัลแกเรียได้ประกาศเอกราชแยกตัวออกจากตุรกี ในวันที่ 7 เดือนเดียวกันออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาสผนวกบอสเนียและเฮอร์ดซโวนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงเท่ากับเป็นการละเมิดสนธิสัญญาเบอร์ลินยังผลให้อังกฤตเกิดความไม่พอใจจึงให้การสนับสนุนรัสเซียแต่รัสเซียกลับขอให้อังกฤษเปิดช่องแคบให้เรื่อรบรัสเซียผ่านจึงทำให้อังกฤษไม่พอใจ
     ในขณะที่ฝรั่งเศสก็ไม่พอใจรัสเซียเช่นกัน ซึ่งเป็นพันธมิตรแต่กลับทำสัญญากับออสเตรีย-ฮังการีโดยที่ทางฝรั่งเศสไม่รู้ ทางออสเตรีย-ฮังการีสวนท่าทีและไม่ต้องการประชุมใดๆ ซึ่งในที่สุดก็สามารสผนวกบอสเนียได้สำเร็จในขณะที่รัสเซียไม่ได้อะไรเป็นการตอบแทนและเพื่อเป็นการลดความกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ บัลแกเรียจึงเสนอเงินชดเชยในตุรกี ซึ่งต่อมารัสเซียได้เสนอจ่ายเงินชดเชยแทนบัลแกเรียความสัมพันธ์ระหว่างบัลแกเรียกับรัสเซียจึงดีขึ้น
     เยอรมนีขานรับการรวบบอสเนียเข้ากับออสเตรีย-บัลแกเรียและขู่รัสเซียในสนับสนุนและพร้อมจะทำสงครามกับรัสเซียหากไม่สนับสนุน รัสเซียจึงต้องยอมรับรองการกระทำของออสเตรีย-ฮังการี
     ผลจากวิกฤตครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของกลุ่มไตรภาคีที่มีต่อไตรพันธมิตร หลังจากที่เคยพ่ายแพ้จากวิกฤตโมร็อกโก จึงไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบกัน แต่การแข่งขันที่เกิดได้ก่อให้เกิดความตรึงเครียดในการเมืองระหว่างประเทศในยุโรป
     วิกฤตโมร็อคโคครั้งที่ 2
     ปีค.ศ. 1908 สุลต่านอับเดล อาชิสที่ 4 ถูกโค่นอำนาจอับเดล ฮาฟิช ผู้เป็นอนุชา สุลต่านองค์ใหม่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจึงเกิดความวุ่นวายเรื่อยมา สุลต่านจึงขอความช่วยเหลือไปยังฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบไปยังเมืองเฟซ เมืองหลวงโมร็อกโก เยอรมนีตอบโต้ฝรั่งเศสโดยการกล่าวหาฝรั่งเศสละเมิดข้อตกลงอัลเจซิรส ต่อมาเยอรมนีส่งเรือของตนเข้าไปยังเมือท่าอากาเดียร์ ซึ่งตั้งอยูบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกโมร็อกโกโดยอ้างว่าเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาวเยอมนีในโมร็อกโก ส่งผลให้อังกฤษไม่พอกับการกระทำของเยอรมนี อังกฤษคิดว่าเอยรมนีมีจุดประสงค์จะตั้งฐานทัพเรือบนชายฝั่งของโมร็อกโก  อังกฤษกล่าวว่าทางฝ่ายอังกฤษจะต้องรับทราบก่อนที่จะมีการตัดสินใจทำสิ่งใดลงไปในโมร็อกโก ความสัมพันธ์ของอังกฤษกับเยอรมันกำลังอยู่ในภาวะตรึงเครียด
     เมื่อเยอมันเห็นท่าทีอันแงข็งกร้าวของอังกฤษจึงหัมาเจรจากับผรังเศส
     ในขณะที่เกิดวิกฤตฯการนั้นอิตาลีถือโอกาสเข้ารุกรานทริโปลี(ลิเบีย)ซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของตุรกี โดยอิตาลีได้รับการยินยอมจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากอังกฤษและอิตาลียอมรับการเข้าไปแสวงหาปร่ะโยชน์ของฝรั่งเศสในโมร็อกโกในขณะที่ก่อนหน้านี้อังกฤษได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศสในการเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในอียิปต์
     การที่ฝรั่งเศสสามารถสร้างข้อผูกมัดกับทั้งอังกฤษและอิตาลีจึงทำให้ฝรั่งเศสสามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อฝรั่งเศสเอง
      ตุรกีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และยอมยกทริโปลีให้อิตาลีตามสนธิสัญญาโลซานน์
     ในขณะเดียวกันรัสเซียไดแสดงท่าทีที่จะผนวกเตหะราน อังกฤษเกิดความไม่พอใจ ฝ่ายฝรั่งเศสเกรงว่าท่าทีของรัสเซียจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหวางรัสเซยกับอังกฤษจึงเข้าแทรกแซงจนทำให้รัสเซียต้องเลิกล้มแผนการนี้ไป แต่หันไปเรียกร้องขอเดินทางเข้าออกบริเวณช่องแคบได้อย่างเสรีจากตุรกี ซึ่งตุรกีได้รับการยืนยันจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสว่าไมได้ให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ตุรกีจึงปฏิเสธ ผลจากเหตุการนี้จึงำให้ตุรกีต้องหันเข้าหาเยอมนีมากยิ่งขึ้นโดยหวังว่าจะได้เยอมนีมาเป็นพันธมิตรในกรณีที่ตุรกีถูกคุกคามจากมหาอำนาจ
     สงครามบอลข่านครั้งที 1
     รัศเซียสามารถชักจูงบัลแกเรียและเซอร์เบียซึ่งเป็นศัตรูกันให้หันมาทำสัญญาเป็นพันธมิตรกัน โดยรัสเซียมีจุดประสงค์ที่จะให้สองประเทศร่วมมือกับรัสเซียในกรณีที่ต้องทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี  แต่จากสาระสำคัญของสนธิสัญญาที่สองประเทศได้ทำไว้คือการร่วมมือกันทำสงครามกับตุรกีเพื่อแบ่งดินแดนมาซิโดเนีย  ต่อมา กรีซ แบมอนเตนิโกเข้าร่วมจึงเกิดการก่อตั้งเป็นกลุ่มสันนิบาตบอลข่านขึ้น
     โดยสรุปกลุ่มประเทศมหาอำนาจต่างไม่สนับสนุนกลุ่มสันนิบาติบอลข่านเพราะเกรงว่าการกระทำของกลุ่มนี้อาจทำลายดุลย์แห่งอำนาจและสถานภาพเดิมของคาลสมุทรบอลข่าน
     มอนเตนิโกรเห็นเป็นโอกาสดีจึงฉวยโอกาสประกาศสงครามกับตุรกีเนื่องจากตุรกีเพิ่งแพ้สงครามกับอิตาลีโดยไม่ปรึกษาประเทศที่ร่วมเป็นพันธมิตร หลังจากนั้นบัลแกเรีย กรีซ และเซอร์เบียจึงเข้าร่วมประกาศสงครามกับตุรกี
     กองทัพบัลแกเรียเคลื่อนทัพมุ่งตรงสู่อิสตันบูล ส่วนเซอร์เบียกับมอนเตนิโกรเข้ายึดอาเดียโนเปิล สถานการเข้าสู่ภาวะตรึงเครียดเมือเซอร์เบียเข้ายึดครองอัลบาเนีย ซึ่งเป็นดินแดที่อยุ่ติดกับทะเลยังผลให้เซอร์เบียหาทางออกทะเลได้สำเร็จ ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีได้คัดค้านและยื่นคำขาดต่อการยึดครองดังกล่าว เซอร์เบียจึงจำต้องยอมทำตาม
     ประเทศมหาอำนาจประชุมสันติภาพที่กรุ่งลอนดอนและมีกรลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน ซึ่งมีผลตามมาคือ การยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ตุรกีเสียดินแดนส่วนใหญ่ในยุโรปยกเว้นรอบๆ กรุงอิสตันบูล บัลแกเรียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ของมาซิโดเนีย เซือร์เบียไม่พอใจที่ไม่มีทางออกทะเล
      หลังจากยุติสงครามบอลข่านได้ไม่นานความแตกแยกในกลุ่มสันนิบาตบอลข่านซึ่งได้กลายเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดสงครามบอลข่านครั้งที่2 ระหว่างบัลแกเรียกับ เซอร์เบียและกรีซ โรมาเนียหันมาเข้าทางฝ่ายเซอร์เบียและกรีซ บัลแกเรียพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว จึงยังผลให้มีการทำสนธิสัญญาสงบศึกบูคาเรส ซึ่งมีสาระสำคัญคือ โรมาเนียได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือของดอบรูดจา เซอร์เบียและกรีซได้ครอบครองมาซิโดเนียในส่วนที่บัลแกเรียได้มาจากสงครามครั้งที่ 1  ตุรกีได้อาเดรียโนเปิลคืน
   ผลจากสงคราม ทำให้เกิดประเทศอัลบาเนียที่อ่อนแอและก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างเซอร์เบียกับออสเตีย-ฮังการี กรีซกลายมาเป็นประเทศทีมีบทบาทสำคัญในทะเลอีเจียนเพราะได้เข้าครอบครองซาโลนิกา ซึ่งเป็นดินแดนส่วนที่ออสเตรีย-ฮังการีหวังที่จะผนวก และที่สำคัญเกิดความตรึงเครียดขึ้นในยุโรปเหตุด้วยบัลแกเรียแค้นเคืองต่อเซอร์เบียกรีซและโรมาเนีย ซึ่งในเวลาต่อมาบัลแกเรียจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับเยอรมนีเพราะไม่พอใจรัสเซียที่สนับสนุนเซอร์เบีย
    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)