Wrolde War One หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งบางที่ก็เรียกว่า The Great War
สมรภูมิในยุโรป
แนวรบด้านตะวันตก
แผนชลีเฟน Schlieffen Plan
เป็นเวลาหลายปีก่อนสงคราม เสนาธิการทหารเยอรมัน หลายคนต่างคาดการณ์ว่า ในอนาคตเยอรมันต้องเผชิญศึก 2 ด้านพร้อมกัน โดยทางตะวันตกเยอรมันต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส และทางตะวันออกคือรัสเซีย
นายพล อัลเฟรด กราฟ ฟอน ชลีเฟน เมื่อเข้ารับตำแหน่งเสนาธิการ ได้ประเมินสถานการณ์ และมีแนวคิทีตรงอข้ามกับอดีตเสนาธิการที่ผ่านๆ มา โดยเห็นว่า เยอรมันควรเผด็จศึกทางด้านตะวันตกก่อน(ฝรั่งเศส)โดยเคลื่อนทัพผ่านอ้อมแนวป้องกันอันแข็งแกร่งผ่านเบลเยี่ยมซึ่งขณะนั้นวางตัวเป็นกลาง ปิดล้อมปารีส หลังจากนั้นจึงย้ายกำลังรบไปยังรัสเซีย
จากแผนยุทธการดังกล่าวชลีเฟนกำหนดกำลังรบเป็น 8 ส่วน 7 ส่วนบุกผ่านเบลเยี่ยม เข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสบุกยึดปารีส กำลังอีก 1ส่วนจะอยู่ทางใต้ คอยระวังเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเยอรมัน ในแผนการนี้ชลีเฟนเห็นว่าอาจจะได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงที่เมือง Liege และ Namur จึงวางแผนที่จะเดินทัพ เข้าไปในเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นตอนเหนือของเบลเยี่ยมด้วย เพื่อเดินทัพเลียบฝั่งทะเลช่องแคบอังกฤษ แล้ววกลงมาทางตะวันออกเพื่อปิดล้อมปารีสและป้องกันกองทัพฝรั่งเศสจากแนวรบหวนกลับเข้ามาช่วย ซึ่งเชื่อว่าหากปิดล้อมปารีสแล้วฝรั่งเศสจะยอมจำนนในเวลาอันสั้น
ต่อมาได้มีการปรับแผนอันเนื่องมาจากการที่ต้องใช้ทหารจำนวนมากในแผนนี้ โดยให้ปีกขวาที่จะต้องอ้อมกรุงปารีสทางตะวันกตเปลี่ยนเส้นทางเข้ากรุงปารีสจากทางเหนือ และเสริมกำลัง ทางปีกซ้ายให้แข็งแกร่งขึ้น การปรับแผนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ ฟอน ชลีเฟนเกษียรอายุแล้ว ผุ้ที่เข้าดำรงตำแหน่งเสนาธิการคนถันมาคือ มอลเก้(Helmuth von Moltke Yonger )ซึ่งเห็นว่าสถานการต่างๆ เปลี่ยนแลงตลอดเวลา การเดินทัพผ่านแนวป้องกันเบลเยี่ยมคงไม่ยาก แต่ถ้าเดินทัพเข้าเนเธอร์แลนด์ด้วยปีก ขวาของกองทัพเยอรมันก็เท่ากับละเมิดประเทศที่เป็นกลางถึง 2 ประเทศจึงเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงการส่งปีกขวาเข้าเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังเห็นว่ารัสเซียเริ่มมีกำลังทหารที่เข้มแข็งจึงความเตรียมกำลังส่วนหนึ่งป้องกันแคว้นAlsace-Lorraine ซึ่งเป็นแหลงถ่านหินและอุตสาหกรรมหนักของเยอรมัน
แม่ทัพใหญ่เยอรมันดำเนินการตามแผนการของชลีเฟน เบลเยียมถูกยึดครองอย่างรวดเร็ว กองทัพเยอมันสามารถเดินทัพมุ่งตรงสู่กรุงปารีส
นายพลจอฟร์ Joffre ผุ้บัญชาการทหารฝรั่งเศสบุกโจมตีที่มั่นของเยอรมันในแค้งลอร์เรนดังคาดการณ์ เยอรมันจึงต้องแบ่งกำลังบางส่วนไปเสริมที่รอเล้นและอีกบางส่วนไปสมทบในปรัสเซียตะวันออกเอพื่คอยต้อนทานการบุกของรัสเซีย
ความผิดพลากจากการแบ่งกำลังปารีสจึงรอพ้นการถูกยึดครอง เมื่อไม่เป็นไปดังแผนการฝ่ายไตรพันธมิตรสามารถรวมตัวกันได้ในแนวรบด้านตะวันตกและรบชนะกองทัพเยอรมันในบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น Battle of the Marnในเดือนกันยายน 1914 ถึงแม้เยอรมันจะเป็นฝ่ายแพ้ในการรบบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น แต่เยอรมันยังสามารถยึดครองลักเซมเอร์กและดินแดนส่วนใหญ่ของเบลเยียมไว้ได้กรทั่งยุติสงคราม
ผลจากความล้มเหลวในสมรภูมิลุ่มแม่น้ำมาร์น นายพลฟอกเกนเฮน Falkenhayn ได้เข้าดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แทนนายพลโมลเก้ และทั้งสองฝ่ายต่างทำอะไรกันได้ไม่มากนักในสมรภูมินี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น