วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:ชาตินิยมอาหรับ

นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กระทั่งการปฏิวัติของพวกยังเติร์ก ชาวอาหรับที่นับถือคริสต์ศาสนาเท่านั้นที่ต้องการอิสรภาพ ส่วนชาวอาหรับมุสลิมปรารถนาเพียงการปฏิรูปและการให้อำนาจแก่ชาวอาหรับเท่านั้น
        ชาตินิยมอาหรับส่วนใหญ่ เป็นศัตรูกับรฐบาลออกโตมัน ซารีฟ ฮุสเซน และโอรสอีกลายองค์เป็นผู้นำขบวนการชาตินิยมภายในเวลา 2-3 เดือนก่อนสงคราม โอรสของฮุสเซน องค์หนึ่งได้ตั้งกงสุลทั่วไปและแต่ตั้งชาวอังกฤษประจำไคโร การกระทำครั้งนี้สร้างความตึงเครียดระหว่าง ซารีฟและสุลต่านและนำเข้าสู่วิกฤต แต่ถ้าสุลต่านขับไล่ซารีฟด้วยสาเหตุนี้ย่อมเกิดการปฏิวัติแน่นอนเหตุเพราะซารีฟเป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน
       การต่อต้านจักรวรรดิและลัทธิชาตินิยมทั้งตุรกีและอาหรับเด่นชัดขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
       สงครามในตะวันออกกลางปะทุหลังยุโรปเล็กน้อย อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออตโตมัน อังกฤษผนวกไซปรัส และประกาศให้อียิปต์เป็นดินแดนในอาณัติ ก่อนการประกาศสงครามกับเติร์กอังกฤษทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือของอังกฤษจากอินเดียมุ่งสู่ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟติส ในอิรักและได้รับความขช่วยเหลือจากคูเวต อังกฤษตอบแทนด้วยการให้อิสรภาพแคเวตและอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษต่อมาอังกฤษก็ยึดเมืองฟาโอในอีรักได้อีก
     สุลต่านกาหลิบของจักรวรรดิออตโตมันประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งสร้างความวิตกให้แก่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศษเกี่ยวกับผลกระทบต่อชาวมุสลิมจำนวนมากในอินเดีย และในแอฟริกาเหนือ ชาวยุโรปที่นับถือลัทธิแพนอิสลาม หรือลัทธิความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอิสลาม และขอร้องมิให้สงครามขยายตัวไปมากกว่านี้ และคำนึงถึงอันตรายของการปฏิวัติมุสลิมด้วย
      ซารีฟ ฮุสเซนแห่งเมกกะวางเฉยกับการประกาศสงครามศักดิ์สิทธิซึ่งเป็นโอกาสให้อังกฤษสามารถชักชวนซารีฟแห่งเมกกะให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก็ช่วยบรรเทาการข่มาขู่การปฏิวัติมุสลิมได้ สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดประสงค์ขึ้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่เบื้องหลังการติดต่อระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับซารีฟแห่งเมกกะ เป็นการติดต่อที่เรียกว่า จดหมายโต้ตอบระหว่าง ฮุสเซน-แมคมาฮอน Husain-Mcmahon Correspondence
ซึ่งทำให้อาหรับบางพวกเข้าสู่สงครามโดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร มีการปฏิวัติโดยฝ่านการแลกเปลี่ยนทางจดหมายหลายฉบับระหว่าง ปี 1915-1916 ได้จัดให้มีความผูกพันทางทหาร ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจทางการเมืองที่คลุมเคลือ และอังกฤษยังตกลงจะสนับสนุนเอกราชของอาหรับในทุกดินแดนที่ฮุสเซนเรียกร้อง
     ฮุสเซนยอมรับรู้ความมีอำนาจสูงสุดของอังกฤษในเอเดนแต่ฮุสเซนยังข้องใจในดินแดนบางแห่ง..ดินแดนดังกล่าว แมคมาฮอนให้เหตุผลว่ามิใช่อาหรับอย่างแท้จริง แต่ซารีฟยืนยันว่าดินแดนเหล่านี้เป็นอาหรับอย่างแท้จริง ซารีฟให้เหตุผลว่าไม่ว่าอาหรับมุสลิมหรืออาหรับคริสเตียนเป็น "ผู้สืบเชื้อสายจาบิดาคนเดียวกัน" การขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ต่อมาได้ก่อให้เกิดปัญหาปาเลสไตน์
       สาเหตุอีกประกาศที่ทำให้อาหรับสนับสนุนฝ่ายไตรสัมพันธมิตรคือ ความไร้ความเมตตาของข้าหลวงออตโตมันและผู้บังคับบัญชาแห่งซีเรีย "เจมาล ปาซา" ในระยะแรกปาชาพยายามเอาชนะใจอาหรับโดยให้คำมั่นสัญญาต่าง ๆ เขาประกาศว่าอุดมการณ์ของอาหรับและเติร์กไม่ขัดแย้งกัน พวกเขาเป็นพี่น้องกัน และยังเรียกร้องให้ชาวอาหรับร่วมทำสงครามศักดิ์สิทธิเพื่อป้องกันศาสนาอิสลามด้วย
       ชาวอาหรับไม่เชื่อ  ปาชาจึงใช้วิธีรุนแรง
      การถูกข่มขูจกาความกดดันทางทหารในคาบสมุทรและการประหัตประหารในซีเรียทำให้อาหรับเริ่มเสริมสร้างกองทหารของตนให้เข้มแข็งขึ้น การปฏิวัติของอาหรับมิได้หมายถึงขบวนการของกลุ่มชนจำนวนมากไม่มีการจลาจลผู้ครองอิรักมีความสงสัยในความสามารถของอาหรับในการต่อสู้เพื่อิสรภาพ ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียพิจารณาการปฏิวัติอาหรับว่าเป็นสิ่งที่ไม่พอใจ เนื่องมาจากกลัวว่าความเป็นเอกราชของอาหรับอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อแผรการณ์ของรัฐบาลบริติชอินเดีย ในการผนวกอิรักภาคใต้และอาจจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิมของรัฐบาลบริติชอินเดียในการผนวกอิรักภาคใต้และจะก่อให้เกิดการจลาจลในหมู่ชาวมุสลิม 90 ล้านคนในอินเดีย

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:ตะวันออกกลาง

     ก่อนสงครามจะปะทุ2-3 ปีการแข่งขันของมหาอำนาจยุโรปเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือตะวันออกกลาง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียกันคื อการได้สัมปทานอุตสาหกรรน้ำมันในตะวันออกกลาง โดยเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจคือ อังกฤษ ฝรั่งเศษและเยอรมนีแม้ปัญหาดังกล่าวจะมิใช่สาเหตุสำคัญประการเดียวที่เป็นต้นเหตุแห่งสงคราม แต่ปัญหาในตะวันออกกลางมีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยที่แต่ละประเทศต้องการมีอิทธิพลและผงประโยชน์แต่เพียงผู้เดียในอิรักโดยเฉพาะอังกฤษกับเยรมนี
     ตะวันออกกลางเป็นดินแดนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของจักวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก แต่รัฐบาลของจักรวรรดิซึ่งเป็นเติร์กนั้นไม่มีประสิทธิภาพ กรทั่งยุโรปเรียกจักรวรรดินี้ว่าเป็น “คนป่วยของยุโรป”
     เติร์กหนุ่ม(Young turk) เป็นกลุ่มทหารชั้นกลางมีการศึกษาและค่อนข้างหัวรุนแรงไม่พอใจสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 แห่งจัรวรรดิออตโตมันเนื่องจากการนำรัฐธรรมนูญมาใข้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่สุลต่าน พวกเตอร์หนุ่มทำการปฏิวัติและสำเร็จ เติร์กหนุ่มจึงเป็นผู้ปฏิบัติการของรัฐบาลในระยะแรกเติร์กหนุ่มสามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์โดยเฉพาะระหว่างเติร์กและอาหรับ แต่ตัวกระตุ้นที่สำคัญคือลัทธิตุรกีซึ่งความรู้สึกเช่นนี้ เกิดมานานแล้ว และก็เป็นสาเหตุอันหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติ106233905
     ความไม่พอใจที่แฝงอยู่ภายในใจของเติร์กหนุ่มเติบโตขึ้นประกอบกับความคิดที่ว่าเหตุใดจักรวรรดิออตโตมันจึงเป็นรวมของชนหลายเชื่อชาติ..แม้แต่บอลข่านก็เกิดลัทธิชาตินิยมของชนเชื่อชาติต่าง ๆ เช่น กรีก ชาตินิยมบัลแกเลีย ชาตินิยมโรมมาเนียนซึ่งลัทธิชาตินิยมบอลข่านนั้นมีศูนญ์รวมอยู่ทศาสนา
      ในคริสตศตวรรษที่ 19 ชาวอาร์เมเนียน ซึ่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียทางทิศตะวันออกของตุรกี เป็นผุ้นำความคิดของลัทธิชาตินิยมมาสู่ใจกลางอาณาจักรออตโตมัน เป็นความคิดเกี่ยวกับความรู้สักของมนุษย์ชาติซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเตอร์กในจักรวรรดิสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตนเอง ซึ่งเป็นความรู้สึกใหม่ แต่ก็ถูกสนับสนุนและผลักดันโดยความไม่พอใจที่ซ่อนอยู่ในใจของขาวเติร์กโดยไม่รู้ตัวดังนั้นแม้จะพยายามยุคสมัยแห่งการสามัคคีระหว่างเติร์กและอาหรับ และชนชาติอื่นๆ ในจักรวรรดิ แต่ความรู้สึกชาตินิยมก็ทำลายความพยายามดังกล่าวพวกเติร์กกลับทำจักวรรดิให้กลายเป็นตุรกี..การกระทำดังกล่าวของเติร์กเป็นแรงผลักที่ฝ่ายอาหรับต้องแสวงหาเอกลักษณ์ของตัวเอง และนำไปสู่ลัทธิชาตินิยมอาหรับในที่สุด..
     คาบสมุทรอาหรับ ซีเรีย และอิรักclip_image002
เป็นการต่อสู้ที่รุนแรงและขมขื่น ต่อสู้ในระยะทางไกลและพื้นที่กว้างใหญ่ ด้วยกองทัพอันยิ่งใหญ่ แม้ว่ายุโรปจะมีการเตียมการณ์รบมาหลายปีก่อนสงคราม แต่ในการต่อสู้จริง นั้นเป็นลักษณะของการปฏิวัติโดยใช้เลห์กลทางทหาร
      ในตอนต้น ๆ ของสงคราม ดังกฤษจะใช้ตะวันออกกลางเป็ฯแนวหน้าสำคัญ พยายามนำประเทศต่าง ๆ ในคาบสมุทรบอลข่านเข้าสู่สงครามโดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งถ้าเป็นจริงดังนั้นแล้ว ไม่เพียงแต่ประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลางเท่านั้นทีจะเปลี่ยนแปลงแม้แต่ประวัติศาสตร์ของรัสเซียก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
      อังกฤษยกพลขึ้นบกที่แกลิลิโปลิ ขณะที่พวกเติร์ยังมั่นคงอยู่ หากกองทัพอังกฤษขึ้นฝั่งที่ซีเรียที่ซึ่งชาวอาหรับกำลังก่อจลาจลนั้นอาจทำให้สงครามในตะวันออกกลางระเบิดขึ้นเร็วกว่านี้  แต่ถึงอย่างไรก็ตามซีเรียก็มิได้ปฏิวัติ กองทัพเติร์กในทุกๆ แนวหน้าต่อสู้อย่างกล้าหาญและมีจุดมุ่งหมาย     
       กุมภาพันธ์ ปี 1915 กองทัพเติร์กได้ไปถึงคลองสุเอซ และในเดือนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกับเติร์กในอิหร่านทางตะวันตกได้ตัดท่อส่งน้ำมันถึงท่านเรื่อ เป็นการขทมขู่อังกฤษ และสร้างความเสียหายแก่อังกฤษ เท่ากับบอกว่าหากอังกฤษจะยึดครองตะวันออกกลางนั้น อังกฤษจะต้องมีกองทัพอันยิ่งใหญ่ประจำอยู่ในตะวันออกกลางตลอดเวลาของสงคราม
      สิงหาคม 1915 กองทัพอังกฤษในภาคใต้ของอิรัก พยายามที่จะยึดครองแบกแดดซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและบรรเทาความกดดันเรื่องปัญหาท่อส่งน้ำมัน ในการเคลื่อนพลครั้งนี้ทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพเติร์กอันเข้มแข็งและอังกฤษได้รับความเสียหาย และถอยไปในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน กระทั่ง มีนาคม ปี 1917 ภายหลังการต่อสู้อันทำให้ทหารทั้งชาวอินเดียและอังกฤษล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดอังกฤษก็สามารถยึดแบกแดดได้ ในขณะเดียวกันอียิปต์ซึ่งเป็นแนวหน้าอีกแห่งและมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง อังกฤษไม่ยอมรับคำแนะนำของอเมริกาที่เร่งเร้าให้เติร์กทำสันติภาพอยางมีเกียรติ
    ธันวาคม ปี 1917 อังกฤษยึดเยรูซาเลมและตุลาคมปี ถัดมาก็สามารถยึดดามัสกัน เมืองหลวงของซีเรียได้ ในตอนเริ่มของสงครามนั้นอังกฤษไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า การต่อสู้จะรุนแรงแต่ด้วยความฉลาดรอบคอบของอังกฤษ ที่ช่วยให้อังกฤษสามารถได้รับความสนับสนุนจากท้องถิ่นที่อังกฤษยึดครองได้ ตลอดจนข้อเสนอที่อังกฤษทำไว้กับ “ชารีฟ ฮุสเซน แห่งเมกกะ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1914 ซึ่งก็มีส่วนช่วยอังกฤษอยู่มาก…

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI: แอฟริกา

       ชาวยุึโรปส่วนใหญไม่สนใจแอฟริกา เนื่องจากดอนแดนตอนเหนือของแอฟริกาที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลทรายซาฮารา เป็นที่ดินที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นจึงไม่มีที่ว่างพอให้ชาวยุโรปเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ และทางแอฟริการใต้ซึ่งมีทรัพยกรธรรมชาตินั้นเป็นเมืองปิดซึ่งห้ามคนแปลกห้าเข้าเมือง ในขณะที่แอฟริกากลางเป็นป่าดงดิบไม่มีใครรู้จักดินแดนแห่งนี้มาก่อน ชาวยุโรปจึงไม่กล้าเสี่ยงลงทุนด้านเกษตรกรรมในแอฟริกา
         หนึ่งในข้ออ้างในการเข้ายึดครองแอฟริกาคือชาวอังกฤษคิดว่า อังกฤษจะต้องยึดครองเส้นทางที่จะไปยังประเทศอินเดียเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง ทั่้งทางด้านการเมืองและการค้า อังกฤษจึงพยายามกีดกันฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลในอียิปต์  แต่แล้วอังกฤษก็ดำเนินนโยบายผิดพลาดโดยยอมให้นักวิศวกรฝรั่งเศสทำการขุดคลองสุเอซ เพราะเมื่อคลองสุเอซสำเร็จลงผู้ที่เฝ้าอยู่ตรงคอคอดปากคลองสุเอซ คือฝรั่งเศสและชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นดิน อังกฤษจึงเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองในทวีปแอฟริกา โดยให้ความสำคัญกับอียิปต์และลุ่มแม่น้ำไนล์ว่าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของแอฟริกา
        สมัยล่าอาณานิคม ยุโรปมีการประชุมเพื่อทำการแบ่งแอฟริกา โดยจัดขึ้นที่กรุงเบอลิน เยรมนีเมื่อปี 1884 การประชุมครั้งนี้ชื่อว่า การปรุชุมแห่งเบอร์ลินเกี่ยวกับคองโก มีผู้แทนจาก 12 ประเทศเข้าร่วมประชุม ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป มีเพียง อเมริกาและและตุรกีที่ไม่อยู่ในทวีปยุโรป
       บริสมาร์คเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะผลักดันให้เยอรมนีมีบทบาทในระดับโลก และต้องการที่จะขัดขวางความมักใหญ่ใฝ่สูงของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี บิสมาร์คเห้นว่าฝรั่งเศสควรจะได้รับดินแดนบางส่วนเพื่อเป็นการทดแทนกับการที่ฝรั่งเศสต้องเสียแคว้นเอลซาส โลธริงแกนให้กับเยอรมัน เื่พื่อป้องกันการฝูกใจเจ็บจากฝรั่งเศส นอกจากนี้บิสมาร์คยังพบทางออกที่ดีที่จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเยอมนีและอังกฤษ(ในขณะนั้นอังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจ ในขณะที่เยอรมนีเพิ่งจะสร้างประเทศ) บิสมาร์คมองเห็นประโยชน์อันมหาศาลจากการแบ่งดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปแอฟริกา

       สาเหตุที่สำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดการจัดการแบ่งปันแอฟริกา จัดขึ้นที่เมืองเบอร์ลินซ์ คือ พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 กษัตริย์แห่งเบลเยี่ยมทรงพยายามทำให้เกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ในดินแดนแถบลุ่มน้ำคองโก สืบเนื่องมาจากพระองค์มีความสนพระทัยและปรารถนาที่จะครอบครองดินแดนส่วนในของทวีปแอฟริกาเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้ประเทศต่างๆ ทราบความปรารถนา พระองค์จึงจัดตั้งองค์การนานาชาติภายใต้พระนามแฝงว่า "สมาคมนานาชาติแห่งแอฟริกา"โดยมีจุดประสงค์ของสมาคม เพื่อทำการค้นคว้าทางวิชาการเกี่ยวกับการช่วยเหลือมนุษย์ร่วมโลก..ในแอฟริกาสำหรับประเทศต่าง ๆ ของยุโรป
    โดยว่าจ้างนักสำรวจชาวอังกฤษ คือ สแตนเลย์ ซึ่งแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน ทำการสำรวจลึกเข้าไปภายในโดยเริ่มจากแม่น้ำคองโก เข้าไปมีเนื้อที่กว่า สองล้านห้าแสนตารางกิโลเมตร ดอนแดนเหล่นี้กลายเป็นสมบัติส่วนตัวของพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยี่ยม แต่พระองค์ทรงเป็นหนีรัฐบาลเบลเยี่ยมเป็นเงินจำนวนมากที่กู้มาใช้ในการสำรวจ พระองค์ไม่สามารถหาเงินคือนได้ รัฐบาลเบลเยียมจึงสั่งยึดแคว้นคองโกเป็นของรัฐ
       ยุโรปเกรงว่า เบลเยี่ยมจะกองโดยและผูกขาดผลประโยชน์ และหวาดเกรงเยอรมันและเบลเยี่ยมจะมีอิทธิพลและยึดครองดินแดนส่วนในของทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมาก ซึงจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของประเทต่างๆ ที่เพิ่งจะได้รับในแอฟริกา จึงเกิดความตรึงเครียดและความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
       ผลของการประชุมคือ  ให้คองโกเป็นรัฐอิสระ (เป็นสมบัติส่วนตัวของพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยี่ยม) แต่จะต้องเปิดตลาดเสรีสำหรับการค้าของนานาชาติ,ให้สิทธิในการเดินเรือในแม่น้ำคองโกและแม่น้ำไนเจอแก่นานาชาติ,ประกันเสรีภาพของชาวพื้นเมือง,ยุติการมีทาสและการค้าทาสทั่วโลก,วางกฎเกฎฑ์เกี่ยวกับการค้าอาวุธในแอฟริกากลางแบ่งเขตอิทธิพลของมหาอำนาจต่าง ๆ , แบ่งดินแดนที่เหลืออยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป
      ดังนั้นในสงครามโลกครั้งนี้ แอฟริกาจึงเป็นเขตสงครามที่ประเทศเจ้าอาณานิคมต่าง ๆ ซึ่งเป็นคู่สงครามด้วยกันทั้งนั้นจะต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนในแอฟริกา
       การปะทะกันครั้งแรกๆ ของสงครามเกิดในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ ฝรั่งเศษและเยอรมนี  กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษรุกรานโตโกแลนด์ อันเป็นดินแดนในอารักขาของเยอรมนี..
      กองทัพเยอรมนีในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ โจมตี แอฟริการใต้ การต่อสู้ประปรายและป่าเถื่อนดำเนินจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด
       กองทัพอาณานิคมเยอรมันในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมี นำโดยพันเอก พอล เอมิล ฟอน เลทโท-เวอร์เบค สู้รบในสงครามกองโจรและยอมจำนนสองสับดาห์หลังสัญญาสงบศึกมีผลใช้บังคับในยุโรป
         *สงครามกองโจร เป็นการปฏิบัติการทางการทหารและกึ่งทหาร โดยใช้กำลังรบนอกแบบ กำลังประชาชนในดินแดนที่ฝ่ายตรงข้ามยึดครอง หรือในดินแดนของฝ่ายตรงข้าม มีทหารหน่วยรบพิเศษเป็นผู้กำกับดูแลและให้คำแนะนำสำหรับสงครามกองโจรนั้นถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติทางทหารโดยเปิดผยของกลุ่มก่อความไม่สงบ หรือขบวนการต่อต้านติดอาวุธ ภารกิจที่มอบให้กองโจรทำได้แก่ การซุ่มโจมตี การวางระเบิด และการลอบสังหาร โดยกำลังรบของกลุ่มต่อต้านที่ผ่านกระบวนการจัดตั้งแล้วสามารถปฏิบัติการทางทหารในลักษณะที่กล่าวมาได้โดยกำลังของตนเองเพียงลำพัง ส่วนใหญ่แล้วลักษณะของการปฏิบัติการจะเป็นการขัดขวางเส้นทาง การรบกวนการติดต่อสื่อสารและขัดขวางการซ่อมบำรุงของฝ่ายข้าศึกด้วยการวางทุ่นระเบิด กับระเบิด นอกจากนี้กองโจรอาจถูกใช้ในการรวบรวมข่าวสารอีกด้วย
     

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:ราซีย์สกายาฟิดิรัตซียา

     ในสมัย "ซาแห่งสันติภาพ" หรือซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย เนืองจากสามารถแ้ปัญหาจากการปฏิวัติทุกรูปแบบ ทางด้านต่างประเทศรัสเซียดำเนินนธยบายเป็นมิตรกับจักวรรดิเยอมนีและจักวรรดิออตโตมัน กระทั่งเกิดปัญหารเรืองดินแดนในคาบสมุทรบอลข่าน รสเซียจึงเปลี่ยนนโยบายไปเป็นมิตรกับฝรั้่งเศสและอังกฤษ กลุ่มต่อต้านระบบกษัตริย์ได้หายไปอย่างรวดเร็ว มีเพียงกลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนลอบปลงพระชนม์ แต่ถูกขัดขวางโดยตำรวจลับรัสเซีย นักศึกษาจำนวนหนึ่งถูกแขวนคอ รวมทั้งอเล็กซานเดอร์ อุลยานอฟ ซึ่งเป็นพี่ชาย วลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งอีกหลายปีต่อมาใช้เวลาส่วนใหญ่กับขบวนการปฏิวัติใต้ดอน เพื่อล้างแค้นให้พี่ชาย
      อเล็กซานเดอร์ที่ 3 สเด็จสวรรคต เมือพระชนมายุได้ 49 พรรษา มกุฎราชกุมารนิโคลัสขึ้นเป็ฯซษร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงเป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของรัสเซีย ทรงครองราชย์พร้อมกับการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสไม่สามารถตกลงอะไรกันได้กับอังกฤษ และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแดไม่สามารถจักการกับสถานการณ์ที่ปั่นป่วนของประเทศพ่ายแพ้การรบทางเรือในสางครามรัสเซ๊ย-ญี่ปุ่น และทรงเข้าบัญชาการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลางเมือวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยเข้ากับฝ่ายไตรสัมพันธมิตร ทำการรบแนวรบด้านตะวันออก
    แนวรบด้านตะวันออกและตะวันตกนั้นแม้จะแยกกันทางภูมิศาสตร์แต่เหตุการณ์ในเขตสงครามทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันเป็นอย่างมาก
       แนวรบทางด้านตะวันออกใหญ่กว่าแนวรบทางตะวันตกมาก เขตสงครามจำกัดขอบเขตอยางหยาบ ๆ โดย ทะเลบอลติก ทางตะวันตก มินสก์ทางตะวันออก เซนต์ปีเตอร์เบิร์กทางเหนือ และทะเลดำทางใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างรุนแรงต่อธรรมชาติของสงคราม เนื่องจากแนวรบยาวความหนาแน่นของทหารต่ำกว่าแนวรบด้านตะวันตก และแตกง่ายกว่า และเมื่อแตกแล้วเป็นการยากสำหรับฝ่ายตั้งรับที่จะส่งกำลังหนุนมาช่วย กล่าวคือฝ่ายป้องกันในแนวรบด้านตะวันออกไม่มีข้อได้เปรียบเหมือนกับแนวรบด้านตะวันตก
        สงครามเริ่มโดยการรุกรานปรัสเซีย และจังหวัดกาลิเซียของออสเตรีย-ฮังการี ความพยายยามแรกของรัสเซียประสบความล้มเหลว แต่สามารถควบคุมกาลิเซียเกือบทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นผลให้เยอรมันต้องแบ่งทหารส่งมาทางตะวันออก
       ความสนใจหลักของการสู้รบไปอยู่ที่ส่วนกลางของโปแลนด์ทางตะวันออกของแม่น้ำวิลตูลา ในยุทธการแม่น้ำวิลตูลา ฝ่ายเยอรมนีประสบความสำเร็จเล็กน้อยแต่สามารถกันรัีสเซียให้อยู่ในระยะที่ปลดภัยได้
       ในปี 1915 กองบัญชาการเยอมนีตัดสิใจทุ่มเทความพยายามส่วนใหญ่บนแนวรบด้านตะวันออกและย้ายกองกำลังขนาดใหญ่มาจากตะวันตก ฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มด้วยการรุกกอลิซขทอร์นอฟในกาลิเซีย หลังยุทธการทะเลสาบมาซูเรียกำลังเยอรมนีและออกเตรีย - ฮังการีในแนรบด้านตะวันออดำนเนินการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาร่วมกันไม่นานการรุกจะเปลี่ยนไปเป็นการคืบหน้าโดยทั่งไปกละตามด้วยการล่าถอยทางยุทธศาตร์ของกองทัพรัสเซีย (สาเหตุของการผันกลับนี้เกิดจากข้อผิดพลาดในแง่ยุทธวิธี )
      กลางปี 1915 รัสเซียถูกขับออกจากโปแลนด์และถูกผลักดันหลายร้อยกิโลเมตรจากชายแดนของระเทศมหาอำนาจกลาง ปลายปีเดียวกันนี้ เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีสามารถหยุดยั้งการบุกของรัสเซียได้
       ปี 1916 ในเดือนมิถุนายน รัสเซียมีอกองพลทหารราบ 140 กองพลในขณะที่ออสเตรียและเยอมันีมี 105 กองพล กองทหารม้ารัสเซีย 40 กองพลในขณะที่ฝ่ายมหาอำนาจกลางมี 22 กองพล การระดมอุตสาหกรรมและการเพ่ิมการส่งออก จึงส่งผลให้รัสเซียเป็นฝ่ายบุกต่อไปได้
        การโจมตีครั้งใหญ่บนแนวรบด้านตะวันตกเฉียงใต้โดยการนำของพลเอกอเล็กเซย์ บรูซิลอฟ (เรียกว่าการรุกของบรูซิลอฟ)เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนา โดยเป้าหมายการโจมตีคือส่วนของแนวรบที่ควบคุมโดยออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งประุสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจในช่วงแรกกองทัพรัสเซียรุกเข้าไปลึก 50-70 กิโลเมตร จับกุมเชลยได้หลายแสนคน และปืนใหญ่อีกหลายร้อยกระบอก
        การมาถึงของกองหนุน ความพ่ายแพ้ของโรมาเนีย ความล้มเหลวของพันธมิตรตะวันตกในการสั่นสะเทือนการป้องกันของเยอรมนีทำให้การรุกของรัสเซียสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
        14 สิงหาคม ค.ศ. 1916 โรมาเนียเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรพันธมิตร และทำการรุกประสบความสำเร็จกระทั่งเดือนกันยน โรมาเนียเริ่มประสบความสูญเสียอย่างหนักและพ่ายแพ้หลายครั้ง เนื่องจากยุทโธปกรณ์และขาดความช่วยเหลือจากรัสเซีย
       ปี 1917 กองทัพเยอมันสามารถสมทบกับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลวาเนียและกรุงบูชาเรสต์ถูกขึดโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนธันวาคม ไม่นานนักความไม่สงบก็แผ่กระจายไปทั่งรัสเซีย ขณะที่ซาร์แห่งรัสเซียยังคงบัญชาการรบอยู่แนวหน้า จักรพรรดินีอเล็กซานดราซึ่งไร้ความสามารถในการปกครองไม่สามารถปราบปรามกลุ่มประท้วงได้และนำไปสู่การฆาตกรรม"รัสปูติน" ปลายปี 1916
        มีนาคม 1917 การชุมนุมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์กลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย และการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวซึ่งมีความอ่อนแอและแบ่งปันอำนาจกับกลุ่มสัคมนิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวสร้างความสับสนและนำไปสู่ความวุ่นวายทั้งในแนวหน้าและในแผ่นดินรัสเซีย กองทัพรัสเซียด้อยประสิทธิภาพลงกว่าเดิม
       สงครามและรัฐบาลชั่วคราวของรัศเซียไม่เป็ฯนิยมของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ความไม่พอใจดังกล่าวได้นำไปสู่การขึ้นครองอำนาจของพรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีนีย์ เลนิน ซึ่งให้สัญญากับชาวรัสเซียว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
       ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในการปฏิวัติเดืิอนตุลาคม ตามด้วยการสงบศึกชั่วคราวและการเจรจากับเยอมนี ซึ่งในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอมันีบุกถึงยูเครน เขาจึงต้องยอมเซ็นสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 ซึ่งทำให้รสเซียออกจาสงครา และยอมยกดินแดนในแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง...

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:U-boat






u-boat ฝูงหมาป่าแห่งท้องทะเล เรือพิฆาต หรืออะไรก็ตามแต่ เรือยู ทำหน้าที่หลักในการตัดเสบียงที่ขนส่งทางท้องทะเล เรือยูเป็นเรือดำนำกองทัพเรื่อเยอรมนี
     นายพลแทพลิทซ์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการขยายกองทัพเรือเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่กล้าตัดสินใจที่จะเสี่ยงนำกำลังทางทะเลออกต่อสู้กับราชนาวีอังกฤษ
    กองทัพเรือเยอรมันจึงใช้เรื่อดำน้ำ(ยู-โบสต์)ทำสงครามกับอังกฤษ โดยเน้นการใช้เรื่อดำน้ำเข้าโจมตีทำลายเมืองตาอมชายฝั่งทะเลอังกฤษ
    ...เยอรมันไม่เคยประสบความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ทางทะเลกับอังกฤษ
      ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1915 เรื่อเดินทะเล ลูซินาทาเนีย ถูกตอร์ปิโดของเรือดำน้ำเยอรมันจมลง มีชาวอเมริกันเสียชีวิต 139 คน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมันกับอเมริกาเลวลงถึงขั้นจะประกาศสงคราม แต่อย่างไรก็ดีเยอรมันอ้างว่าเรือลูซิทาเนียทำการลักลอบขนสัมถาระทงหหารจากสหรัฐมาสู่เกาะอังกฤษ
       ในเดือนมีนาคา ปี  1916 เรือยูจมเรื่อซัสเซ็กส์ ซึ่งสร้างความโกรธแค้นต่ออเมริกาเป็นอย่างมาก เยอรมันจึงยุตินโยบายการใช้เรือดำน้ำแบบไม่จำกับขอบเขตชั่วคราว
       นโยบายการใช้เรือดำน้ำในเชิงรุกของเยอรมนี
   ในปี 1916 ปฏิบัติการทำลายเส้นทางลำเลียงของข้าศึกโดยใช้เรือดำน้ำของฝ่ายเยอรมันได้สร้างความหวาดกลัวให้กับกองเรือของประเทศฝ่ายพันธมิตรเป็นอยางมาก เพราะทั้งเรือสินค้าและเรือรบได้ถูกทำลายลุงถึงประมาณ 300,000 ตันต่อเดือนในตอนใกล้าจะสิ้นปี 1916 การตัดสินใจใช้เรือดำน้ำอย่างไม่มีขอบเขตของฝ่ายเยอรมันส่งผลกระทบต่ออังกฤษเป็นอย่างมาก อังกฤษขาดแคลนอาหารที่ส่งจาสหรัฐ ในยุทธวิธีดังกล่าวยังสร้างความเสียหายต่ออเมริกาด้วยเช่นกัน
    และจากยุทธวิธีนี้เองซึ่งเยอรมันเชื่อว่าจะสามารถบังคับอังกฤษให้ยอมแพ้ก่อนที่อเมริกาจะข้าร่วมสงคราม แต่แล้วในที่สุดอเมริกาก็นประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายไตรพันธมิตร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายไตรพันธมิตรเป็นอย่างมาก

     

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:Schlieffen Plan

Wrolde War One หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งบางที่ก็เรียกว่า The Great War
    
      สมรภูมิในยุโรป
แนวรบด้านตะวันตก
     แผนชลีเฟน Schlieffen Plan
       เป็นเวลาหลายปีก่อนสงคราม เสนาธิการทหารเยอรมัน หลายคนต่างคาดการณ์ว่า ในอนาคตเยอรมันต้องเผชิญศึก 2 ด้านพร้อมกัน โดยทางตะวันตกเยอรมันต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส และทางตะวันออกคือรัสเซีย
      นายพล อัลเฟรด กราฟ ฟอน ชลีเฟน เมื่อเข้ารับตำแหน่งเสนาธิการ ได้ประเมินสถานการณ์ และมีแนวคิทีตรงอข้ามกับอดีตเสนาธิการที่ผ่านๆ มา โดยเห็นว่า เยอรมันควรเผด็จศึกทางด้านตะวันตกก่อน(ฝรั่งเศส)โดยเคลื่อนทัพผ่านอ้อมแนวป้องกันอันแข็งแกร่งผ่านเบลเยี่ยมซึ่งขณะนั้นวางตัวเป็นกลาง ปิดล้อมปารีส หลังจากนั้นจึงย้ายกำลังรบไปยังรัสเซีย
     จากแผนยุทธการดังกล่าวชลีเฟนกำหนดกำลังรบเป็น 8 ส่วน 7 ส่วนบุกผ่านเบลเยี่ยม เข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสบุกยึดปารีส กำลังอีก 1ส่วนจะอยู่ทางใต้ คอยระวังเมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเยอรมัน ในแผนการนี้ชลีเฟนเห็นว่าอาจจะได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงที่เมือง Liege และ Namur จึงวางแผนที่จะเดินทัพ เข้าไปในเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นตอนเหนือของเบลเยี่ยมด้วย เพื่อเดินทัพเลียบฝั่งทะเลช่องแคบอังกฤษ แล้ววกลงมาทางตะวันออกเพื่อปิดล้อมปารีสและป้องกันกองทัพฝรั่งเศสจากแนวรบหวนกลับเข้ามาช่วย ซึ่งเชื่อว่าหากปิดล้อมปารีสแล้วฝรั่งเศสจะยอมจำนนในเวลาอันสั้น
     ต่อมาได้มีการปรับแผนอันเนื่องมาจากการที่ต้องใช้ทหารจำนวนมากในแผนนี้ โดยให้ปีกขวาที่จะต้องอ้อมกรุงปารีสทางตะวันกตเปลี่ยนเส้นทางเข้ากรุงปารีสจากทางเหนือ และเสริมกำลัง ทางปีกซ้ายให้แข็งแกร่งขึ้น การปรับแผนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ ฟอน ชลีเฟนเกษียรอายุแล้ว ผุ้ที่เข้าดำรงตำแหน่งเสนาธิการคนถันมาคือ มอลเก้(Helmuth von Moltke Yonger )ซึ่งเห็นว่าสถานการต่างๆ เปลี่ยนแลงตลอดเวลา การเดินทัพผ่านแนวป้องกันเบลเยี่ยมคงไม่ยาก แต่ถ้าเดินทัพเข้าเนเธอร์แลนด์ด้วยปีก ขวาของกองทัพเยอรมันก็เท่ากับละเมิดประเทศที่เป็นกลางถึง 2 ประเทศจึงเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงการส่งปีกขวาเข้าเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังเห็นว่ารัสเซียเริ่มมีกำลังทหารที่เข้มแข็งจึงความเตรียมกำลังส่วนหนึ่งป้องกันแคว้นAlsace-Lorraine ซึ่งเป็นแหลงถ่านหินและอุตสาหกรรมหนักของเยอรมัน
    แม่ทัพใหญ่เยอรมันดำเนินการตามแผนการของชลีเฟน เบลเยียมถูกยึดครองอย่างรวดเร็ว กองทัพเยอมันสามารถเดินทัพมุ่งตรงสู่กรุงปารีส
     นายพลจอฟร์ Joffre ผุ้บัญชาการทหารฝรั่งเศสบุกโจมตีที่มั่นของเยอรมันในแค้งลอร์เรนดังคาดการณ์ เยอรมันจึงต้องแบ่งกำลังบางส่วนไปเสริมที่รอเล้นและอีกบางส่วนไปสมทบในปรัสเซียตะวันออกเอพื่คอยต้อนทานการบุกของรัสเซีย
      ความผิดพลากจากการแบ่งกำลังปารีสจึงรอพ้นการถูกยึดครอง เมื่อไม่เป็นไปดังแผนการฝ่ายไตรพันธมิตรสามารถรวมตัวกันได้ในแนวรบด้านตะวันตกและรบชนะกองทัพเยอรมันในบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น Battle of the Marnในเดือนกันยายน 1914 ถึงแม้เยอรมันจะเป็นฝ่ายแพ้ในการรบบริเวณลุ่มแม่น้ำมาร์น แต่เยอรมันยังสามารถยึดครองลักเซมเอร์กและดินแดนส่วนใหญ่ของเบลเยียมไว้ได้กรทั่งยุติสงคราม
      ผลจากความล้มเหลวในสมรภูมิลุ่มแม่น้ำมาร์น นายพลฟอกเกนเฮน Falkenhayn ได้เข้าดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่แทนนายพลโมลเก้ และทั้งสองฝ่ายต่างทำอะไรกันได้ไม่มากนักในสมรภูมินี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Sarajevo ซาราเจโว

     ผลกระทบจากสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียเพิ่มความเป็นศัตรูต่อกันมากยิ่งขึ้น  และชัยชนะที่เซอร์เบียได้รับยังเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมแก่พวกสลาฟในดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาที่ต้องการปลดแอกตนเองจากการยึดครองของออสเตรีย-ฮังการีเพื่อไปรวมกับเซอร์เบีย
     เพื่อเป็นการลดความกดดันทางการเมืองต่อความรู้สึกต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี อาร์ชดยุก ฟรานซิส เฟอร์ดินาน ผู้เป็นองค์รัชทายาทของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาจึงเสด็จไปเยือนกรุงซาราเจโวซึ่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนีย..แต่ทั้งสองพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์! โดยกาวริโลปรินชิป นักศึกษาชาวเซิร์บซึ่งเป็นสมาชิกสมาคม แบล็ค แฮนด์ ซึ่งเป็นสมาคมลับต้อต้านออสเตรีย-ฮังการีรัฐบาลเซอร์เบียได้รู้ถึงแผนการดังกล่าวก่อนแล้วแต่ก็ไม่หาทางป้องกัน

      ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีถามความเห็นไปยังรัฐบาลเยอรมันในกรณีที่จะทำสงคราม รัฐบาลเยอมันมีความเชื่อว่าเซอร์เบียเป็นฝ่ายผิด รัฐบาลเยอรมันยืนยันที่จะให้การสนับสนุนต่อออสเตรีย-ฮังการี จากคำยืนยันดังกล่าวออสเตรีย-ฮังการี จึงใช้เป็นข้ออ้างในการประกาศสงครามกับเซอร์เบียในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามเยอรมันมีควาคิดว่าสถานการณ์ดังกล่าวยังพอมีทางตกลงกันได้โดยไม่ต้องใช้สงครามเป็นเครื่องมือ
      ออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อรัฐบาลเซอร์เบียทั้งหมด11 ข้อ แต่ไม่ได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
      วันต่อมารัสเซียสังระดมพล เมื่อเยอรมันทราบข่าวจึงยื่นคำขาดให้รัสเซียยุติการกระทำดังกล่าวภายใน 12 ชั่วโมงแต่เยอรมันไม่ได้คำตอบจากรัสเซีย ในเวลา 1 ทุ่ม ตรงของวันที่ 1 สิงหาม ค.ศ. 1914 เยอรมนีก็ประกาศสงครามกับรัสเซีย โดยยื่นคำขาดให้ฝรั่งเศสวางตัวเป็นกลางแต่ฝรั่งเศไม่รับฟัง เยอรมันจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม 1914 และภายนวันเดียวกันเยอรมันสั่งงเดินทัพผ่านเบอเยี่ยมเพื่อบุกโจมตีฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรกขอให้เยอรมันเคารพเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยียม อังกฤษจึงต้องประกาศสงครามเมือเยอรมันบุกเบลเยี่ยม
    อิตาลีปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามขอวางตัวเป็นกลาง โดยอ้างว่ากลุ่มไตรภาคีของตนเป็นฝ่ายรุกราน ตุรกีเข้าร่วมสงคราม ในเดือนพฤศจิกายน 1914 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายเยอมนและออสเตรีย-ฮังการี ดดยอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเองจากการขยายอำนาจของรัสเซียในบริเวณช่องแคบ อีก 1 ปีต่อมา ในเดือนตุลาคม 15 บัลแกเลียได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายเยอรมนี ด้วยเหตุผลเพื่อแก้แค้นเซอร์เบีย ฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกีและบัลแกเลียเป็นทีรู้จักกันในนามของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่วนฝ่ายพันธมิตร ประกอบด้วยรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษและเซอร์เบีย ซึ่งในเลต่อมาก็มีประเทศอื่นๆ อีก 18 ประเทศ เข้ามาร่วม รวมทั้งญี่ปุ่น อิตาลีซึ่งเดิมอยู่ฝ่ายไตรภาคและวางตัวเป็นกลางได้หันมาร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยฝ่ายพันธมิตรสัญญาจะยกดินแดนให้จำนวนหนึ่ง
     สหรัฐประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในวันที่ 6 เมษา 1917 โดยมีสาเหตุมาจากความไม่พอใจที่เยอรมันทำสงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัดขอบเขต
     สาเหตุต่างๆ ที่นำมาสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
- ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจากสงครามฝรั่งเศสกับปรัสเซีย     
- การที่ประเทศในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- การเกิดลัทธินิยมทหาร
- การแข่งขันกันสะสมอาวุธทั้งทางบกและทางน้ำ สาเหตุจากการระแวงและความเกรงกลัวซึ่งกันและกัน
- การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยมยุคใหม่ การแสวงหาอาณานิคมนำมาซึ่งความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ
- การแข่งขันกันทางเศรษฐกิจเป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม
- การเกิดความรู้สึกชาตินิยม โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่าน
- และการลอบปลงพระชนม์ อาร์ชดยุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินาน ซึ่งเป็นชนวนเหตุของสงครามครั้งนี้ด้วย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...