ชาวยุึโรปส่วนใหญไม่สนใจแอฟริกา เนื่องจากดอนแดนตอนเหนือของแอฟริกาที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลทรายซาฮารา เป็นที่ดินที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นจึงไม่มีที่ว่างพอให้ชาวยุโรปเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ และทางแอฟริการใต้ซึ่งมีทรัพยกรธรรมชาตินั้นเป็นเมืองปิดซึ่งห้ามคนแปลกห้าเข้าเมือง ในขณะที่แอฟริกากลางเป็นป่าดงดิบไม่มีใครรู้จักดินแดนแห่งนี้มาก่อน ชาวยุโรปจึงไม่กล้าเสี่ยงลงทุนด้านเกษตรกรรมในแอฟริกา
หนึ่งในข้ออ้างในการเข้ายึดครองแอฟริกาคือชาวอังกฤษคิดว่า อังกฤษจะต้องยึดครองเส้นทางที่จะไปยังประเทศอินเดียเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง ทั่้งทางด้านการเมืองและการค้า อังกฤษจึงพยายามกีดกันฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลในอียิปต์ แต่แล้วอังกฤษก็ดำเนินนโยบายผิดพลาดโดยยอมให้นักวิศวกรฝรั่งเศสทำการขุดคลองสุเอซ เพราะเมื่อคลองสุเอซสำเร็จลงผู้ที่เฝ้าอยู่ตรงคอคอดปากคลองสุเอซ คือฝรั่งเศสและชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นดิน อังกฤษจึงเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองในทวีปแอฟริกา โดยให้ความสำคัญกับอียิปต์และลุ่มแม่น้ำไนล์ว่าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของแอฟริกา
สมัยล่าอาณานิคม ยุโรปมีการประชุมเพื่อทำการแบ่งแอฟริกา โดยจัดขึ้นที่กรุงเบอลิน เยรมนีเมื่อปี 1884 การประชุมครั้งนี้ชื่อว่า การปรุชุมแห่งเบอร์ลินเกี่ยวกับคองโก มีผู้แทนจาก 12 ประเทศเข้าร่วมประชุม ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป มีเพียง อเมริกาและและตุรกีที่ไม่อยู่ในทวีปยุโรป
บริสมาร์คเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะผลักดันให้เยอรมนีมีบทบาทในระดับโลก และต้องการที่จะขัดขวางความมักใหญ่ใฝ่สูงของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี บิสมาร์คเห้นว่าฝรั่งเศสควรจะได้รับดินแดนบางส่วนเพื่อเป็นการทดแทนกับการที่ฝรั่งเศสต้องเสียแคว้นเอลซาส โลธริงแกนให้กับเยอรมัน เื่พื่อป้องกันการฝูกใจเจ็บจากฝรั่งเศส นอกจากนี้บิสมาร์คยังพบทางออกที่ดีที่จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเยอมนีและอังกฤษ(ในขณะนั้นอังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจ ในขณะที่เยอรมนีเพิ่งจะสร้างประเทศ) บิสมาร์คมองเห็นประโยชน์อันมหาศาลจากการแบ่งดินแดนที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปแอฟริกา
สาเหตุที่สำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดการจัดการแบ่งปันแอฟริกา จัดขึ้นที่เมืองเบอร์ลินซ์ คือ พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 กษัตริย์แห่งเบลเยี่ยมทรงพยายามทำให้เกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ในดินแดนแถบลุ่มน้ำคองโก สืบเนื่องมาจากพระองค์มีความสนพระทัยและปรารถนาที่จะครอบครองดินแดนส่วนในของทวีปแอฟริกาเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้ประเทศต่างๆ ทราบความปรารถนา พระองค์จึงจัดตั้งองค์การนานาชาติภายใต้พระนามแฝงว่า "สมาคมนานาชาติแห่งแอฟริกา"โดยมีจุดประสงค์ของสมาคม เพื่อทำการค้นคว้าทางวิชาการเกี่ยวกับการช่วยเหลือมนุษย์ร่วมโลก..ในแอฟริกาสำหรับประเทศต่าง ๆ ของยุโรป
โดยว่าจ้างนักสำรวจชาวอังกฤษ คือ สแตนเลย์ ซึ่งแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน ทำการสำรวจลึกเข้าไปภายในโดยเริ่มจากแม่น้ำคองโก เข้าไปมีเนื้อที่กว่า สองล้านห้าแสนตารางกิโลเมตร ดอนแดนเหล่นี้กลายเป็นสมบัติส่วนตัวของพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยี่ยม แต่พระองค์ทรงเป็นหนีรัฐบาลเบลเยี่ยมเป็นเงินจำนวนมากที่กู้มาใช้ในการสำรวจ พระองค์ไม่สามารถหาเงินคือนได้ รัฐบาลเบลเยียมจึงสั่งยึดแคว้นคองโกเป็นของรัฐ
ยุโรปเกรงว่า เบลเยี่ยมจะกองโดยและผูกขาดผลประโยชน์ และหวาดเกรงเยอรมันและเบลเยี่ยมจะมีอิทธิพลและยึดครองดินแดนส่วนในของทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมาก ซึงจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของประเทต่างๆ ที่เพิ่งจะได้รับในแอฟริกา จึงเกิดความตรึงเครียดและความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
ผลของการประชุมคือ ให้คองโกเป็นรัฐอิสระ (เป็นสมบัติส่วนตัวของพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยี่ยม) แต่จะต้องเปิดตลาดเสรีสำหรับการค้าของนานาชาติ,ให้สิทธิในการเดินเรือในแม่น้ำคองโกและแม่น้ำไนเจอแก่นานาชาติ,ประกันเสรีภาพของชาวพื้นเมือง,ยุติการมีทาสและการค้าทาสทั่วโลก,วางกฎเกฎฑ์เกี่ยวกับการค้าอาวุธในแอฟริกากลางแบ่งเขตอิทธิพลของมหาอำนาจต่าง ๆ , แบ่งดินแดนที่เหลืออยู่ลึกเข้าไปในพื้นทวีป
ดังนั้นในสงครามโลกครั้งนี้ แอฟริกาจึงเป็นเขตสงครามที่ประเทศเจ้าอาณานิคมต่าง ๆ ซึ่งเป็นคู่สงครามด้วยกันทั้งนั้นจะต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนในแอฟริกา
การปะทะกันครั้งแรกๆ ของสงครามเกิดในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ ฝรั่งเศษและเยอรมนี กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษรุกรานโตโกแลนด์ อันเป็นดินแดนในอารักขาของเยอรมนี..
กองทัพเยอรมนีในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ โจมตี แอฟริการใต้ การต่อสู้ประปรายและป่าเถื่อนดำเนินจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด
กองทัพอาณานิคมเยอรมันในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมี นำโดยพันเอก พอล เอมิล ฟอน เลทโท-เวอร์เบค สู้รบในสงครามกองโจรและยอมจำนนสองสับดาห์หลังสัญญาสงบศึกมีผลใช้บังคับในยุโรป
*สงครามกองโจร เป็นการปฏิบัติการทางการทหารและกึ่งทหาร โดยใช้กำลังรบนอกแบบ กำลังประชาชนในดินแดนที่ฝ่ายตรงข้ามยึดครอง หรือในดินแดนของฝ่ายตรงข้าม มีทหารหน่วยรบพิเศษเป็นผู้กำกับดูแลและให้คำแนะนำสำหรับสงครามกองโจรนั้นถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติทางทหารโดยเปิดผยของกลุ่มก่อความไม่สงบ หรือขบวนการต่อต้านติดอาวุธ ภารกิจที่มอบให้กองโจรทำได้แก่ การซุ่มโจมตี การวางระเบิด และการลอบสังหาร โดยกำลังรบของกลุ่มต่อต้านที่ผ่านกระบวนการจัดตั้งแล้วสามารถปฏิบัติการทางทหารในลักษณะที่กล่าวมาได้โดยกำลังของตนเองเพียงลำพัง ส่วนใหญ่แล้วลักษณะของการปฏิบัติการจะเป็นการขัดขวางเส้นทาง การรบกวนการติดต่อสื่อสารและขัดขวางการซ่อมบำรุงของฝ่ายข้าศึกด้วยการวางทุ่นระเบิด กับระเบิด นอกจากนี้กองโจรอาจถูกใช้ในการรวบรวมข่าวสารอีกด้วย
วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น