วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

WWI:ตะวันออกกลาง

     ก่อนสงครามจะปะทุ2-3 ปีการแข่งขันของมหาอำนาจยุโรปเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือตะวันออกกลาง โดยมีจุดมุ่งหมายเดียกันคื อการได้สัมปทานอุตสาหกรรน้ำมันในตะวันออกกลาง โดยเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจคือ อังกฤษ ฝรั่งเศษและเยอรมนีแม้ปัญหาดังกล่าวจะมิใช่สาเหตุสำคัญประการเดียวที่เป็นต้นเหตุแห่งสงคราม แต่ปัญหาในตะวันออกกลางมีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยที่แต่ละประเทศต้องการมีอิทธิพลและผงประโยชน์แต่เพียงผู้เดียในอิรักโดยเฉพาะอังกฤษกับเยรมนี
     ตะวันออกกลางเป็นดินแดนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของจักวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก แต่รัฐบาลของจักรวรรดิซึ่งเป็นเติร์กนั้นไม่มีประสิทธิภาพ กรทั่งยุโรปเรียกจักรวรรดินี้ว่าเป็น “คนป่วยของยุโรป”
     เติร์กหนุ่ม(Young turk) เป็นกลุ่มทหารชั้นกลางมีการศึกษาและค่อนข้างหัวรุนแรงไม่พอใจสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 แห่งจัรวรรดิออตโตมันเนื่องจากการนำรัฐธรรมนูญมาใข้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่สุลต่าน พวกเตอร์หนุ่มทำการปฏิวัติและสำเร็จ เติร์กหนุ่มจึงเป็นผู้ปฏิบัติการของรัฐบาลในระยะแรกเติร์กหนุ่มสามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์โดยเฉพาะระหว่างเติร์กและอาหรับ แต่ตัวกระตุ้นที่สำคัญคือลัทธิตุรกีซึ่งความรู้สึกเช่นนี้ เกิดมานานแล้ว และก็เป็นสาเหตุอันหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติ106233905
     ความไม่พอใจที่แฝงอยู่ภายในใจของเติร์กหนุ่มเติบโตขึ้นประกอบกับความคิดที่ว่าเหตุใดจักรวรรดิออตโตมันจึงเป็นรวมของชนหลายเชื่อชาติ..แม้แต่บอลข่านก็เกิดลัทธิชาตินิยมของชนเชื่อชาติต่าง ๆ เช่น กรีก ชาตินิยมบัลแกเลีย ชาตินิยมโรมมาเนียนซึ่งลัทธิชาตินิยมบอลข่านนั้นมีศูนญ์รวมอยู่ทศาสนา
      ในคริสตศตวรรษที่ 19 ชาวอาร์เมเนียน ซึ่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียทางทิศตะวันออกของตุรกี เป็นผุ้นำความคิดของลัทธิชาตินิยมมาสู่ใจกลางอาณาจักรออตโตมัน เป็นความคิดเกี่ยวกับความรู้สักของมนุษย์ชาติซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเตอร์กในจักรวรรดิสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตนเอง ซึ่งเป็นความรู้สึกใหม่ แต่ก็ถูกสนับสนุนและผลักดันโดยความไม่พอใจที่ซ่อนอยู่ในใจของขาวเติร์กโดยไม่รู้ตัวดังนั้นแม้จะพยายามยุคสมัยแห่งการสามัคคีระหว่างเติร์กและอาหรับ และชนชาติอื่นๆ ในจักรวรรดิ แต่ความรู้สึกชาตินิยมก็ทำลายความพยายามดังกล่าวพวกเติร์กกลับทำจักวรรดิให้กลายเป็นตุรกี..การกระทำดังกล่าวของเติร์กเป็นแรงผลักที่ฝ่ายอาหรับต้องแสวงหาเอกลักษณ์ของตัวเอง และนำไปสู่ลัทธิชาตินิยมอาหรับในที่สุด..
     คาบสมุทรอาหรับ ซีเรีย และอิรักclip_image002
เป็นการต่อสู้ที่รุนแรงและขมขื่น ต่อสู้ในระยะทางไกลและพื้นที่กว้างใหญ่ ด้วยกองทัพอันยิ่งใหญ่ แม้ว่ายุโรปจะมีการเตียมการณ์รบมาหลายปีก่อนสงคราม แต่ในการต่อสู้จริง นั้นเป็นลักษณะของการปฏิวัติโดยใช้เลห์กลทางทหาร
      ในตอนต้น ๆ ของสงคราม ดังกฤษจะใช้ตะวันออกกลางเป็ฯแนวหน้าสำคัญ พยายามนำประเทศต่าง ๆ ในคาบสมุทรบอลข่านเข้าสู่สงครามโดยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งถ้าเป็นจริงดังนั้นแล้ว ไม่เพียงแต่ประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลางเท่านั้นทีจะเปลี่ยนแปลงแม้แต่ประวัติศาสตร์ของรัสเซียก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
      อังกฤษยกพลขึ้นบกที่แกลิลิโปลิ ขณะที่พวกเติร์ยังมั่นคงอยู่ หากกองทัพอังกฤษขึ้นฝั่งที่ซีเรียที่ซึ่งชาวอาหรับกำลังก่อจลาจลนั้นอาจทำให้สงครามในตะวันออกกลางระเบิดขึ้นเร็วกว่านี้  แต่ถึงอย่างไรก็ตามซีเรียก็มิได้ปฏิวัติ กองทัพเติร์กในทุกๆ แนวหน้าต่อสู้อย่างกล้าหาญและมีจุดมุ่งหมาย     
       กุมภาพันธ์ ปี 1915 กองทัพเติร์กได้ไปถึงคลองสุเอซ และในเดือนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกับเติร์กในอิหร่านทางตะวันตกได้ตัดท่อส่งน้ำมันถึงท่านเรื่อ เป็นการขทมขู่อังกฤษ และสร้างความเสียหายแก่อังกฤษ เท่ากับบอกว่าหากอังกฤษจะยึดครองตะวันออกกลางนั้น อังกฤษจะต้องมีกองทัพอันยิ่งใหญ่ประจำอยู่ในตะวันออกกลางตลอดเวลาของสงคราม
      สิงหาคม 1915 กองทัพอังกฤษในภาคใต้ของอิรัก พยายามที่จะยึดครองแบกแดดซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและบรรเทาความกดดันเรื่องปัญหาท่อส่งน้ำมัน ในการเคลื่อนพลครั้งนี้ทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพเติร์กอันเข้มแข็งและอังกฤษได้รับความเสียหาย และถอยไปในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน กระทั่ง มีนาคม ปี 1917 ภายหลังการต่อสู้อันทำให้ทหารทั้งชาวอินเดียและอังกฤษล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดอังกฤษก็สามารถยึดแบกแดดได้ ในขณะเดียวกันอียิปต์ซึ่งเป็นแนวหน้าอีกแห่งและมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง อังกฤษไม่ยอมรับคำแนะนำของอเมริกาที่เร่งเร้าให้เติร์กทำสันติภาพอยางมีเกียรติ
    ธันวาคม ปี 1917 อังกฤษยึดเยรูซาเลมและตุลาคมปี ถัดมาก็สามารถยึดดามัสกัน เมืองหลวงของซีเรียได้ ในตอนเริ่มของสงครามนั้นอังกฤษไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า การต่อสู้จะรุนแรงแต่ด้วยความฉลาดรอบคอบของอังกฤษ ที่ช่วยให้อังกฤษสามารถได้รับความสนับสนุนจากท้องถิ่นที่อังกฤษยึดครองได้ ตลอดจนข้อเสนอที่อังกฤษทำไว้กับ “ชารีฟ ฮุสเซน แห่งเมกกะ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1914 ซึ่งก็มีส่วนช่วยอังกฤษอยู่มาก…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...