สัญญาและประกาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำกับผู้แทนของประชาชนในตะวันออกกลางนำโดยอังกฤ ซึ่งได้ยิวและอาหรับ โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้คนเหล่านี้เป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธ์มิตร สัญญาดังกล่าวระบุข้อควาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเติร์ก และจะช่วยให้ประชาชนเหล่านั้นมีสิทธิในการปกครองตนเองเมืองสงครามสิ้นสุด ซึ่งมีลักษณะผูกมัดตนเองอังกฤษจะต้องรับผิดชอบต่อคำสัญญาดังกล่าว 3 ประการด้วยกัน
ประการแรก เป็นสัญญาที่อังกฤทำกับผู้แทนฝ่ายอาหรับ โดยมีจุดมุ่งหมายคือให้อาหรับเป็ฯฝ่ายเดียวกับอังกฤษและอังกฤษจะช่วยให้อาหรับได้รับสิทธิของตนในตะวันออกกลาง
ประการที่ 2 เป็ฯสัญญาที่อังกฤษทำกับผู้แทนของฝ่ายยิวโดยมีความต้องการเหมือนกันคือให้ยิวเป็ยฝ่ายเดียวกับตน และอังกฤษก็จะช่วยให้ความหวังของยิวประสบผลสำเร็จนั้นคือ การสร้างประเทศชาติยิว
ประการที่ 3 เป็นคำสัญญาปลีกย่อยที่อังกฤษทำกับอาหรับหลายคนและรวมทั้งการที่ฝรั่งเศสเสนอข้อเรียกร้องให้อังกฤษตระหนักถึงความปรารถนาของฝรั่งเศสในการมีอิทธิพลในเลอวองบริเลอวอง บริเวณฝั่งตะวันออกของเมดิเติร์เรเนียน
การติดต่อโดยฝ่านจดหมายหลายฉบับระหว่างอาหรับ และอังกฤษ คือชารีฟ ฮุ่สเซน แห่งเมกกะ ผู้เป็นข้าราชภายใต้การปกครองของออตโตมัน และเซอร์เฮนรี่ แมคมาฮาน ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ เป็นการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อตกลงที่เรียกว่าการติดต่อระหว่างฮุสเซน แมคมาฮอน ซึ่งในจดหมายเหล่านั้นได้บรรจุข้อความเกี่ยวกับการปฏิวัติของอาหรับและการเข้าร่วมสงครามของอาหรับโดยเป็นฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตร
จดหมายฉบับแรกลงวันที่ 14 กรกฏาคม 1915 ฮุสเซนเรียกร้องให้อังกฤษพิจารณาถึงเอกราชของจังหวัดอาหรับหลายแห่งในดินแดนที่แบ่งแยกต่าง ๆ คือ ซีเรรีย อิรัก จอร์แดน อิสราเอล ซาอุดิอาระเบีย และส่วนหนึ่งของตุรกี แต่ในจดหมายของแมคมาฮอน ลงวันที่ 24 ตุลาคม 1915 ระบุว่าเอกราชดังกล่าวไม่รวมถึงท้องถิ่นที่มิใช้อาหรับแท้จริง ได้แก่ เมอร์ซิน และอเลกซานเครดตา และเมืองอื่น ๆ ในซีเรีย อันได้แก่ดามัสกัส ฮมอส์ ฮามา และอเลปโป อังกฤษอ้างว่ายังคงมีฐานะเข้มแข็งในดินแดนดังกล่าว ตลอดจนในบาซรา และแบกอดดในอิรัก ยังมีข้อความในจดหมายอีกลายฉบับซึ่งเป็นข้อความปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศส จดหมายฉบับสุดท้ายลงวันที่ 30 มกราคม 1916 ในขณะที่การปฏิวัติของอาหรับ เริ่มวันที่ 5 มุนายน 1916
จดหมายระหว่างฮุสเซ่นและแมมาฮอน จึงเป็ฯสิ่งที่ถูกเพ่งเล็งในรายละเอียดและถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ไม่มีการพิทพ์อย่างเป็ฯทางการ กระทั่งปี 1939 หลังสงครามยุติ 21 ปี จึงมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษอังกฤษและอาหรับ เพื่อพิจารณาหาคุรค่าความสำคัญของจดหมารย ที่มีต่อปาเลสไตน์
ในขณะเดียวกัน นอกจากอังกฤษจะทำสัญญากับอาหรับตามที่ระบุในจดหมายติดต่อดังกล่าวแล้ว อังกฤษยังได้ทำการเจรจาทำสัญญากับฝรั่งเศสและรัสเซีย ระหว่างปี 1915 และ 1916 เป็นข้อตกลงที่เรียกว่า ซิกเคส-พิคอท เป็นการพิจารณาถึงส่วนต่าง ๆ ของตะวันออกกลางซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ฝั่งเอลวองทางตะวันออกของเมติเตอร์เรเนียนซึ่งฝรั่งเศสเรียกร้อง
ดินแดนภายในซีเรียฝรั่งเศสจะให้ความช่วยเหลือ
เขตปาเลสไตน์จะทำให้เป็นเขตระหว่างชาติ
ทรานส์จอร์แดน ซึ่งเป็นอินแดนอาหรับจะอยู่ภายใต้การักขาของอังกฤษและรวมถึงส่วนใหญ่ของอิรักด้วย
แบกแดด และบาซรา จะเป็นดินแดนที่อังกฤษควบคุม
แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาลับ แต่ฝ่ายอาหรับก็ล่วงรู้ อูสเซนจึงยื่นข้อเสนอให้อังกฤษอธิบายสัญญาดังกบล่าว อังกฤษแจ้งว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หรือจะใช้เป็นตัวแทรของสถานการณ์ได้ ทั้งนี้เพราะรัสเซียได้ถอนตนออกไปจากสงครา อย่างไรก็ตามเมื่อสงครามสิ้นสุดสัญญาดังกล่าวมีผลต่อซีเรียซึ่งฝรั่งเศสเองก็ต้องการ
“คำประกาศ บัลผอร์ The Balfour Declaration” เป็นคำประกาศเพื่อ “บ้านเกิดเมืองนอนของยิวในปาเลสไตน์” แทนที่จะกำหนดว่าปาเลสไตน์เป็น “บ้านเกิดเมืองนอนของประชาชนชาวยิว” และคำประการศนี้ยังกล่าวถึงสิทธิของผุ้มี่มิใช่ชาวยิวในปาเลสไตน และยิวในที่อื่น ๆ จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ขณะเดียวกันฝ่ายมหาอำนาจกลางก็พยายามหาหนทางเพื่อขัดขวางความสนีบสนุนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีต่อ “ไซออนนิสต์”
เมื่อสงครามเริ่มขึ้นองคการยิวประกาศตนเป็นกลาง แต่ยังคงมีสำนักงานในเยอรมนี การปฏิวัตจิรัศเซียได้เปลี่ยนสถานการณ์ในรัสเซีย โดยการนำยิวจำนวนมากมาสู่ตำแหน่างที่สำคัญของรัฐบาล ความรู้สึกที่รุนแรงในรัสเซียสำหรับการละทิ้งสงครามได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของการปฏิวัติ ทั้งกระทรวงต่างประเทศอังกฤษและกลุ่มผุ้นำเยอรมันมีความเห็นตรงกันว่ายิวในรัสเซียเป็นผู้นำในการกระทำดังกล่าว เยอรมันจึงขอร้องแกมบังคับเติร์ก ซึ่งเป็นมมิตรกับตนในยอมแก่ยิว แต่เติร์กยังไม่ปฏิบัติตามเนื่องจากเกรงว่าจะทำให้อาหรับที่เป็นฝ่ายเดียวกับตนเกิดความไม่พอใจ แต่นี่สุดขณะที่กองทัพเติร์กออกจากปาเลสไตน์ก็เป็นการเปิดโอกาสใน “ไซออนนิสต์”เข้าสู่ปาเลสไตน์ดังคำประกาศบัลฟอร์
อังกฤษผู้ต้องการการสนับสนุนจากยิวจึงประกาศตัวเป็นฝ่ายเดียวกัย “ไซออนนิสต์” โดยเห็นว่า ทั้งยิวในอเมริก หรือในตะวันออกกลางก็กำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ “มาร์ค ซิกเคซ” คิดว่าการที่อเมริกาว่างตัวเป็นกลางนั้นเป็นเพราะยิวที่เป็นฝ่ายเดียวกับเยอรมนีเป็นสาเหตุ นายกรัฐมนตรีอังกฤลอยด์ จอร์จ สังเกตว่า ความช่วยเหลืของยิวที่มีต่ออังกฤนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก และมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสัมพันธมิตรกำลังทรุด
ข้อผูกมัดที่มีต่ออาหรับ
เกี่ยวกับการยึดครองเมืองหลวงของอิรัก โดยข้อความสำคัญที่แสดงว่าอังกฤษผูกมัดตนเองกับอาหารับ มีดังนี้
“เชื้อชาติอาหรับอาจเติบโตขึ้นอีกครั้งเพื่อความยิ่งใหญ่และเพื่อชื่เสียงในหมู่ประชาชนของโลก เชื้อชาตินั้นจะรวมกันและรักกัน.. ดังนี้นข้าพเจ้าถูกบังคับให้เชื้อเชิญท่านโดยฝ่านผู้แทนอาวุโสและเป็นชนชั้นสูง ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของท่าน ด้วยการร่วมมือกับผู้แทนฝ่ายการเมืองของอังกฤษ ผู้ซึ่งได้ร่วมมอกับกองทัพอังกฤษเพื่อว่าท่านอาจจะสามารถรวมกับเพื่อนของท่าน ในความปรารถนาของท่านที่จะสร้างชาติ”
สาส์นทีส่งแก่ชารีฟ อูสเซน “มหาอำนาจทั้ง 3 มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเชื้อชาติอาหรับจะได้รับโอกาสอย่างเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง ในการสร้างชาติในโลกนี้ ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้โดยการรวมตัวกันของพวกอาหรับเอง ฝ่ายสัมพันธมิตรจะช่วยเหลือในด้ารการใช้ความคิ และยังกระตุ้นให้อาหรับร่วมกันพิจารณาว่า “มิตรภาพของยิวทั่วโลกที่มีต่ออาหรับนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในประเทศทั้งหมดที่ซึ่งยิวมีอิทธิพลทางการเมืองอยู่”
ซีเรีย “การประกาศต่อบุคคลทั้ง 7 Declaration to the Seven” อังกฤษยืนยันว่านโยบายของอังกฤษก็คือ “การพิจารณาเอกราชอธิปไตยโดยสมบูรณ์ของอาหรับ”ไม่ว่าดินแดนว่าจะกอ่นหรือระหว่างสงครมก็ตา ม และยังยืนยันวนโยบาย “สนับสนุนอาหรับในการต่อสู้เพื่อเอกราช”และยืนยันอีกครั้งเกียวกับ การยึดครองแบกอดดและเยรูซาเลมโดยกองทัพ ว่า “มันเป็นความปรารถนาของรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า รัฐบาลในอนาคตของดินแดนเหล่านี้ควรจะขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้ถูกปกครอง และนโยบายนี้จะดำเนินต่อไป โดยมีความสนับสนุนของรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว
เซอร์ เอ็มันด์ อัลเลนบี แจ้งแก่อมีร์ ไฟซาล ว่า “ข้าพเจ้าเตือนความทรงจำของอามีร์ ไฟซาล ว่าฝ่ายสัมพนันธมิตรรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะตกลงกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจะกระตุ้นให้บุคคลเหล่านั้นมีความเชื่อถือในอังกฤษ”
คำประกาศร่วมกันของอังกฤษและฝรั่งเสศ “การสร้างรัฐบาลของประเทศชาติและการปกครองที่อำนาจของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งโดยอิสระของประชาชนพื้นเมือง ไม่มีความปรารถนาที่จะบังคับสถาบันพิเศษเฉพาะใดๆ เหนือประชาชนของอินแดนเหล่านี้ สถาบันพิเศษเฉพาะจะต้องเป็นของเขาเองและโดยความช่วยเหลือเท่าเทียมกัน ซึ่งจะนำไปสู่รัฐบาลที่มีการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ ซึ่งเลือกโดยประชาชน
คำประกาศต่าง ๆข้างต้นทีฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยอังกฤษให้ความหวังไว้แก่ฝ่ายอาหรับ ซึ่งคำประกาศพร้อมด้วยความสนับสนุนได้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางโดยการพิมพ์และการแจกใบปลิว อาจกล่าวได้ว่าจากคำประกาศเล่านี้ ทำให้ประชาชนมีแรงกระตุ้น และทำให้ความปรารถนาของพวกเขาอยู่ในระดับสู (มีความหวัง) ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอังกฤษต้องรับผิดชอบต่อคำประกาศดังกล่าวที่มีต่ออาหรับ...