วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII: Neutrality

     ช่วงระยะเวลาในปี 1933-1945 ประธานาธิปดีแฟรงคลิน เดลาโน รูสเวลท์ Frankling Delano Rooseevelt เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมเครติก รูสเวลท์ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดี 4 สมัย แปดปีแรก รองประธานาธิบดี คือ จอห์น เอ็น. การ์เนอร์ John N. Garner ในสมัยที่สาม รองประธานาธิบดี คือ เฮนรี เอ.วอร์เลส Henry A.Wallace ในสมัยที่สี่ รองประธานาธิปดีคือ ฮาร์รี เอส.ทรูแมน Harry S. Truman รูสเวลส์เสียชีวิตต้นสมัยที่สี่ในวันที่ 12 เมษายน 1945 ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เป็นผลให้ฮาร์รี เอส. ทรูแมน รองประธานาธิบดีก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา รูสเวลส์เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 4 มีนาคม
      ในปี 1933 รูสเวลท์ เข้าบริหารประเทศท่ามกลางบรรยากาศสงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุการณ์ที่มีิอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ
       ภาวะเศรษฐกิจตกตำ่ หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปรากฎรุนแรงเด่นชัดในปี 1929 เป็นผลให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปิดกั้นการค้าทั้งสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมกับประเทศทังหลายด้วยกฏหมายเพื่อภาษีนำเข้า เป็นเหตุให้การค้าของสหรัฐอเมริการหยุดชงัก ประเทศลูกหนี้ไม่อาจจ่ายหนี้คืนแก่สหรัฐอเมริกาได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวรูสเวลท์จึงเปิดการค้ากับประเทศคู่ค้าโดยการลำภาษีนำเข้า
      และคือการปรากฎของระบบเผด็จการทั้งในเอเชียและยุโรป ผู้ชื่อชอบลัทธิทหาร ญี่ปุ่น ในเอเชีย อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำแห่งพรรคนาซี เบนิโต มุสโสลินี ผุ้นำพรรคฟาสซิส และ โจเซฟ สตาลิน ผุ้นำเผด็จกาคอมมิวนิสต์ จากการปรากฎตัวของผู้นำเผด็จการทั้ง 4 รุสเวลท์ เห็นว่าควรต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังและอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
     สหรัฐอเมริกาวางเฉยและไม่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาขณะชาติผู้ก้าวร้าวปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี รูสเวลท์ วางเฉยไม่เขาร่วมระบับเหตุกาณ์หรือร่วมแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด เพราะสาเหตุ 5 ประการ
     - เชื่อในพรมแดนธรรมชาติที่ดีเยี่ยมเปรียบเสมือนเป็นกำแพงสกัดกั้นการรุกรานใด ๆ
     - คนอเมริกันส่วนใหญ่คิว่าสงครามไม่ดีเพราะสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วแทนที่จะมีความสงบสุข สิ่งที่ปรากฎคือคงเกิดกรณีพิพาททางการค้าด้วยกำแพงภาษีนำเข้าที่สูง ไม่สามารถลดอาวุธและกองกำลังทหารระหว่างกันได้ และเกิดระบบเผด็จการรวบอำนาจ
     - ความล้มเหลวของสันนิบาติชาติ
     - สหรัฐอเมริกไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับคู่กรณีพิพาททั้งทางการค้าและการเงิน เพราะจะฉุดให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมในสงครามเช่นต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครังที่ 1
     - และคนอเมริกันกลุ่มที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว คือต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจในกิจการและปัญหาภายในประเทศ แยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกมีจำนวนมากกว่ากลุ่มคนอเมริกันที่ต้องการให้รัฐบาลกลางสนใจเหตุกาณภายนอกและนำสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงรวมแก้ไขปัญหาโลก
     ญี่ปุ่นยืนยันการเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ทัดเทียมมีประสิทธิภาพเช่นสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ด้วยการปรกกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธที่วอชิงตันต้นปี 1922 กำหนดและควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือให้ญี่ปุ่นมีฐานะเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งการคงอยุ่ของนโยบายเปิดประตูในดินแดนจีน ตลอดจนประกาศถอนญี่ปุ่นออกจากการร่วมลงนามในขอตกลงควบคุมแสนยานุภาพกองทัพเรือที่กรุงลอนดอนปี 1930 กำหนดให้ญี่ปุ่นคงมีฐานะการถือครองเรือลาดตระเวนเป็นรองสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
     สหรัฐอเมริกาแสดงท่าที่ยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวแยกสหรัฐอเมริกาออกจากการเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาโลกเริ่มด้วยรัฐสภา ผ่านกฎหมายละเลยหนี้สิน กำหนดห้ามรัฐบาลและนายทุนอเมริกันให้ประเทศที่เพิกเฉยละเลยการจ่าหนี้สินคืนแก่สหรัฐอเมริกาได้กู้ยืมเงินอีก (หนีสินครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศลูกหนี้ส่วนใหญไม่จ่ายคืนแก่สหรัฐ แต่มีเงินซื้ออาวุธเก็บสะสม)
      วุฒิสภาปฏิเสธการนำสหรัฐอเมริกาเข้าเป็นสมาชิกศาลโลก สืบเนื่องจากการรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลี
      อเมริกาผ่านกฎหมายวางตัวเป็นกลาง กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งห้ามเรืออเมริกันขนอาวุธให้แก่ชาติใดๆ และห้ามคนอเมริกันโดยสารเรือชาติคู่กรณี (เกรงจะเกิดเหตุเช่น กรณีเรือลูซิตา)
      จากสงครามกลางเมือในสเปนและท่าที่ที่ก้าวร้าวของเอยรมันและญี่ปุ่นรัฐสภา่ผ่านกฏหมายวางตนเป็นกลางอีก 2 ฉบับ กำหนดห้ามให้การกู้ยืมเงินหรือสินเชื่อใด ๆ แก่ชาติผุ้ก้าวร้าว และฝ่านร่างกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาวุธยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติ ในรูปของการจ่ายเงินสด และขนส่งเอง
          ด้วยกฎหมายวางตนเป็นกลางทั้งสามฉบับ สหรับอเมริกามุ่งนำสหรัฐออกจากการเข้าร่วมในสงคราม ยอมรับการหมดสิ้นเสรีภาพเดินเรือในทะเลหลวงเพื่อการค้าและจำกัดสิทธิคนอเมริกันในการเดินทางทางเรือด้วยเกรงอันตราย รวมถึงจำกัดสิทธิทางการค้าของธุรกิจอเมริกันกับประเทศคู่กรณี
         อเมริกาติดตามเหตุการณ์ความก้าวร้าวต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยตลอด ในทางปฏิบัติ ประธานาธิบดีรูสเวลท์กล่าวในรัฐสภาชี้ถงการก้าวร้าวของชาติผุ้ก้าวร้าว จำเป็นที่สหรัฐอเมริกาต้องเตรียมพร้อมด้านกองกำลังปละอาวุธเพื่อป้องกันประเทศ ขณะเดียวกันต้องแสดงหาแนวทางสร้างสันติภาพ รัฐสภาสนองตอบคำเรียกร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ด้วยการจัดสรรเงินงบลประมาณพิเศษเพื่อการเสริมสร้างกองกำลังและแสนยานุภาพกองทัพเรือในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก นอกจากนี้รูสเวลท์ยังส่งสาส์นเป็นการส่วนตัวถึงฮิตเลอร์และมุสโสลินี เรียกร้องให้ยุติกรณีพิพาทด้วยข้อตกลงและความร่วมมือกันแทนการใช้กองกำลังทหาร สองผุ้นำประเทศไม่ให้ความสนใจเพราะมองว่าสหรัฐอเมริกายึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยว
       ท่าที่ของสหรัฐต่อเหตุการการรุกรานโปแลนด์ ของเยอรมันและการรุกรานฟินน์แลนด์ของรุสเซียประธานาธิบดี รูสเวลท์ได้เสนอของบประมาณพิเศษรวมทั้งสิ้น1845 ล้าน รัฐสภาฝ่านงบประมาณพิเศษสนองคำเรียร้องของประธานาธิบดีรูสเวลท์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นประธานาธิบดีรูสเวลท์ประกาศทางวิทยุว่าสหรัฐอเมริกาคงยคดมั่นในยโยบายวางตนเป็นกลาง
     ประธานาธิบดีรูสเวลท์เห็นควรทบทวนกฎหมายวางตนเป็นกลางปี 1937 ซึ่งกำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีขายสินค้าที่ไม่ใช้ยุทธปัจจัยแก่ทุกชาิตในรูปของการจ่ายเงินสดและบรรทุกเอง ประธานาธิบดีรูสเวล?์ต้องการให้มีการขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่อังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อใช้ต้านความก้าวร้าวของเยอรมันและิดตาลี เป็นผลให้ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1939 รัฐสภาประกาศยกเลิกกฎหมายวางตนเป็นกลาง และฝ่ายกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 กำหนดให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งขายอาวุธและยุทธปัจจัยแก่ทุกชาติในรูปขายเงินสดและขนส่งเอง ปรธานาธิบดีรูสเวลท์มั่นใจว่าชาติผู้ก้าวร้าวสะสมอาวุธแลยุทธปัจจัยไว้มากเพียงพอแล้วและจะไม่ซื้ออาวุทธยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกา ด้วยกฏหมายวางตนเป็นกลางปี 1939 อังกฤษนำการสั่งซื้ออาวุธและยุทธปัจจัยจากสหรัฐอเมริกามีอัตราครึ่งหนึ่งของอาวุธยุทธปัจจัยที่ส่งออก
      Battle of Britain อังกฤษสามารถหยุดปฏิบัตการโจมตีอังกฤษของเยอรมันได้ชั่วคราว โดยจะเริ่มโจมตีอังกฤษครั้งใหม่ในต้นปี 1941
     กองกำลังทางอากาศของอังกฤษปฏิบติการอย่างเต็มความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งรักษาช่องแคบอังกฤษจากการที่อาจถูกกองกำลังเยอรมันยึครองหรือใ้เป็นทางเข้าสู่หมาู่เกาะอังกฤษและในวันที่ 3 กันยายน 1940 สหรัฐอเมริกาจัดส่งเรือพิฆาต 50 ลำร่วมในกองกำลังทัพเรืออังกฤษต้านการบุกโจมตีของกองกำลังเยอรมัน อังกฤษตอบแทนด้วยการให้สิทธิสหรัฐอเมริกาเช่าพื้นที่ในเขตยึดครองของอังกฤษมีระยะเวลา 99 ปี ซึ่งล้วนเป็นหมู่เกาะในทะเลแคริเบียน และบิทิชกิอานา ในอเมริกาใต้ เพื่อตั้งฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ ในวันที่ 27 กันยายน 1940 ญี่ปุ่นลงนาให้ความช่วยเลหืด้านอาวุธยุทธปัจจัยแก่เยอรมันและอิตาลีทั้งให้สัญญาว่าจะบุกโจมตีสหรัฐอเมริกา ถ้าสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกียวในสงครามทางยุโรป
   

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Battle of Britain

       Directive No.16 คำสั่งที่ 16 ให้เตรียมการบุกเกาะอังกฤษโดยใช้กำลังกองทัพอากาศเป็นหลักในการปฏิบัติการรบ โดยมีนายพล แฮร์มันน์ เกอริง Hermann Goring เป็นผู้บัญชาการ ฮิตเลอร์เชื่อมั่นในขีดความสามารถของกองทัพอากาศว่าเหนือประเทศอื่น โดยเฉพาะอังกฤษ ในคำสั่งจึงระบุอย่างชัดเจนว่ในการบุกเกาะอังกฤษให้กองกำลังทางอากาศเยรอมันจู่โจมเกาะอังกฤษแบบสายฟ้าแลบเพื่อไม่ให้อังกฤษมีโอกาสตอบโต้ได้ทันทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด โดยหวังว่าจะสามารถบีบให้อังกฤษยอมจำนน โดยไม่ต้องใช้ยุทธวิธีทางบกหรือทางทะเลเข้าช่วย
   


 ยุทธการเกาะอังกฤษแบ่งเป็น 5 ระยะ
- Channel Battle ยุทธการที่ช่องแคบอังกฤษ ระหว่างเดือนกำกฏา-ต้นเดือนสิหาคม
- Operation Eagle ยุทธการช่องแคบอังกฤษอินทรี ระหว่างวันที่ 13-18สิงหาคม
- Luftwaffe's Switch ระยะเปลี่ยนแผนของกองทัพอากาศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม -6กันยายน
- Battle of London ระหว่างวันที่ 7-30 กันยายน
- ระยะที่ห้า ระหว่างเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน

      Channel Battleในยุทธการช่องแคบอังกฤษ เริ่มประปรายตั้งแต่วันที่ 10 กรกฏา ก่อนคำสั่งหมายเลข 16 จะออกมาในวันที่ 16 กรกฎาคม เนืองจากเยอรมันที่ปฏิบัติการรบอยู่ในเขตยุโรปตะวันตกอยู่ก่อนแล้วส่งเครื่องบินท้ิงระเบิด 20-30 ลำ ซุ่มโจมตีและทิ้งละเบิดหวังจะตัดกำลังฝ่ายอังกฤษเมื่อคำสั่งที่ 16 ออกมาปฏิบัติการจึงขยายขอบเขตไปถึงปากแม่นำ้เทมส์ใกล้กรุงลอนดอน สิ้นเดือนกรกฎาคม ปรากฎว่าเยอรมันสูญเสียเครื่องบินรบทั้งสิ้น 180 ลำ ในจำนวนนี้เครื่องบินทิ้งระเบิด 100 ลำ ในขณะที่อังดฤษเสูญเสียเครื่่องบินขับไล่จำนวน 70 ลำ
     ฮิตเลอร์ไม่พอใจผลการปฏิบัติการของกองทัพอากาศเยอรมันเป็ฯอย่างมาก ในวันที่ 1 สิงหาคม จึงออกคำสั่งที่ 17 Directive No.17 เร่งรัดกองทัพอากาศเยอรมันทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเอื้อต่อการปฏิบัติการของอังกฤษให้ได้โดยเร็วที่สุด
    Operation Eagle ฝ่ายปฏิบัติการ คือนายพลเทโอดอร์ ออสเทอร์คัมพ์ Theodore Osterkamp และผู้ใต้บังคับบัญชาที่ฝ่านการรบในยุทธการที่ช่องแคบมาแล้ว มองเห้นว่าโอกาสที่เยอรันจะเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วนั้น คงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก โดยเขาได้แสดงความเห็นไว้ในการประชุมวางแผนการรบทีกรุงเฮกว่า ขณะที่ทิ้งระเบิดบริเวณรอบๆ กรุงลอนดอน เขาได้เห็นเครื่องยินขับไล่ของอังกฤษแต่ละครั้ง 500-700 ลำ และเมือสิ้นสุดยุทธการที่ช่องแคบ ก็เห็นว่าอังกฤษเพิ่มทั้งจำนวนและสมรรถนะของเครื่องบินเหล่านั้นขึ้นอีกมาก .. แต่นายพล แฮร์มัน เกอริงไม่รับฟังและยืนยันให้ปฏิบัติการตามแผนทในวันที่ 7
สิงหาคม ปฏิบัติการครั้งนี้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 13 สิงหาคม เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ ความสูญเสียมีมากด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยที่เยอรมันสูญเสียหนักกว่า นายพล แฮร์มัน เกอริง ตัดสินใจปรับแผนครั้งใหญ่
     Luftwaffe's Switch การเปลี่ยนแผนการรบและการเปลี่ยนตัวผุ้บังคับการในแนวหน้าซึ่งมีผลให้ปฏิบัติการโจมตีเกาะอังกฤษทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างหนักแก่อังกฤษยิ่งขึ้น เป้าหมายหลักคือ แหล่งอุสาหกรรมหนักและโรงงานผลิตเครื่องบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ การบุกทิ้งระเบิดสถานที่
สำคัญตามเป้าหมายกระทำอย่างต่อเนื่องและรุนแรง การปฏิบัติการบางครั้งมีการทิ้งระเบิดติดต่อกันเป็นชุด ถึง 6 ครั้งภายในเวลา 3 วัน อังกฤษไม่ยอมจำนน Raf. กองทัพอากาศอังกฤษ ปฏิบัติกาต่อสู้ป้องกันเมืองใหญ่ๆ ที่มีความสำคัญในแต่ละพื้นที่ไว้ได้โดยเฉพาะกรุงลอนดอน แม้อังกฤษจะสูญเสียอย่างหนัก เยอรมันก็สูญเสียเช่นกัน
     Battle of London เพื่อเร่งเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด กองทัพอากาศเยอรมันจึงตัดสินใจใช้แผนบุกโจมตีกรุงลอนดอนเมือ่วันที่ 7 กันยายน โดยนำผูงบินขับไล่ ฝูงยินทิ้งระเบิดและฝูงบินคุ้มกันที่ทรงปรสิทธิภาพจำนวนมหาศาลถล่มกรุงลอนดอนจากทุกทิสเพื่อหวังให้เมืองยนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่มีประชากร 7 ล้านคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอังกฤษถูกถล่มในพริบตา
      จอมพลอากาศ เซอร์ฮิว คาสวอลล์ ทรีเทนเฮียร์ ดาวดิง Sia Hung Caswall Tremenheere Dowding ผู้บัญชาการหน่วยรบร่วมระดมหน่วยรบจากทุกเขตมาช่วยปฏิบัติการป้องกันกรุงลอนดอนในครั้งนี้ โดยยอมเสี่ยงที่จะปล่อยพื้นที่อื่นๆ ขาดกำลังรบสำรอง
   

 15 กันยายน กองทัพอากาศเยอรมันส่งเครื่องยบินทิ้งระเบิดติดอาวุธหนัก 200 ลำ ทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนอย่างต่อเนื่อง สปิตไฟร์และเฮาร์ริเคน จำนวน 250 ลำสามารถต้านทานการบุกทิ้งระเบิดภาคตะวันออกของลอนดอนไว้ได้ และสามารถขับไล่ฝูงบินรบของเยอรมันออกนอกพื้นที่กรุงลอนดอนเป็นผลสำเร็จ รวมทั้งสามารถทำลายเครื่องบินรบเยอรมันกว่า 60 ลำ ความพ่ายแพ้ทางทัพอากาศของซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดในปฏบัติการสิงโตทะเล ของเยอรมันนั้นทำให้ฮิตเลอร์ประกาศเลื่อนปฏิบัติการออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่การโจมตีลอนดอนก็คงดำเนินต่อไปอย่างหนักเพื่อสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลอังกฤษยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการของเยอรมัน
      ยุทธการเกาะอังกฤษในช่วงสุดท้าย เยอรมันเน้นปฏิบัติการในช่วงกลางคืน อังกฤษถูกโจมตีอย่างหนักทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อหวังผลให้อังกฤษหมดแรงสู้ และทำลายขวัญและกำลัใจ
       การทิ้งระเบิดแต่ละครั้งของเยอรมันเฉลี่ยโดยประมาณ 200 ลูก กรุงลอนดอนและเมืองใหญ่อีกหลายแห่งถูกทำลายอย่างหนัก ที่เมือโคเวนทรี ทหาวิหารที่สำคัญที่สุดของเมืองถูกทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้เสียชีวิต 400 คน
       ตลอดระยะเวลา 4 เดือนพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำลายล้างของฝ่ายเยอรมันไม่สามาถทำลายขวัญและกำลังใจโดยเฉพาะเหล่านักบินรบของกองทัพอากาศ กว่า 2,500 คนซึ่งมีทั้งชาวแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ พวกลี้ภัยชาวเช็กและโปล รวทั้งกาสาสมัครไอริสและอเริกันด้วย ยุทธการที่เกาะอังกฤษจึงสิ้นสุดลงหลังวันที่ 14 พฤศจิกายน 1940 เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันสังยกเลิกปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ และฮิตเลอร์สั่งถอนกำลังส่วนใหญ่ขจของกองทัพอากาศเยอรมันไปปฏิบัติการในแนวรบด้านตะวันออกโดยมุ่งที่รัสเซียเป็นหลัก
     แม้อังกฤษจะเสียหายอย่างหนัก เหนือสิ่งอืนใดอังกฤษสามารถรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ได้ในยามที่ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน...

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Oparation sealion

    ปลายยุทธการฝรั่งเศส สหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรกับเยอรมันโดยนิตินัย โดยความ่วมือที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ทางด้านการทหารเพืียงเล็กน้อยแล้งก็ตาม การยึดครองรัฐบอลติก เบสซาราเบียและนอร์ทบูโควิน่าสร้างความวิตกให้แก่เยอรมัน และความตึงเครียดที่เพอ่มมากขึ้นจากความไม่สามารถบรรลุความร่วมมือระหว่าง นาซี-โซเวียตได้เพิ่มเติม ทำความสัมพันธ์ของทั้งสองเสื่อมทรามลง
      การที่ฝรังเศสต้องออกจากสงคราม ฝ่ายอังษะมีกำลังยิ่งขึ้นฮิตเลอร์รู้สึกผิดหวังที่อังกฤษยังคงทำการรบต่อไป ทั้งที่ฝรั่งเศสยอมแพ้แล้ว ฮิตเลอร์จึงมีคำสั่งให้กองทัพวางแผนบุกอังกฤษ
นายพลเรือ อีริค เรเดอร์ Erich Reder มองว่า ปัจจัยสำคัญสี่ประการซึ่งจะทำให้ยุทธการนี้สำเร็จ คือ
      - การทำลายกองทัพอากาศของอังกฤษ โดยกองทัพอากาศเยอรมัน กองทัพอากาศอังกฤษจะเป็นภัยคุกคามต่อกองเรือยกพลขึ้นบกของเยอรมันอย่างมาก
      - การทำลายกองทัพเรือของราชนาวีอังกฤษบริเวณช่องแคบอังกฤษให้ห
      - หน่วยป้องกันชายฝั่งของอังกฤษจะต้องถูกทำลาย
      - การปฏิบัติการของเรือดำน้ำอังกฤษในการขัดขวางการยกพลขึ้นบก
เมือขจัดภัยคุกคามแล้วเรือยกพลขึ้นบกจะลำเลียงทหารแบ่งออกเป็น 2 ระลอก โดยการยกพลขึ้นบกในครังแรกจะลำเลียงทหารเยอรมันจากกองทัพที่มีฐานอยุ่ในฝรั้งเศส เข้าโจมตีอังกฤษพร้อมๆ กัน ที่เมือง โดเวอร์ อีสท์บอร์น แรมสเกท เวนท์นอร์ และไลม์ เรจิส เป็นต้น โดยกำลังทหารเยอรมันในการบุกเกาะอังกฤษในครั้งนี้ เป็นจำนวน 91,000นาย รถถัง 650 คัน และม้าอีก 4,500ตัว
     แผนการในขั้นต่อมากำลังทหารเยอรมันชุดใหญ่ระลอกที่ 2 จำนวนกว่า 170,000นาย ยานยนต์ 34,200 คนและม้าอีกว่า 57,000 ตัว ซึ่งเป็นกำลังที่จะรุกเข้าสู่กรุงลอนดอน ทางทิสเหนือในขณะที่ทหารพลร่ม หรือ "ฟอลชริมเจกอร์" กว่า 25,000 นายจะกระโดร่มลงตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัยๆ ต่าง ๆ ทั่วเกาะอังกฤษ
    ความสำเร็จหรือล้มเหลวในยุทธการนี้ขึ้นอยู่กับการทำลายล้างกองทัพอากาศ Raf. ของอังกฤษเป็นประการแรก  ซึ่งจะเป็นการทำลายโดยใช้แสนยานุภาพทางอากาศของเยอรมันLuftwafferในขณะนั้นที่
เชื่อว่า "เหนือกว่า" เป็นสิ่งชี้ขาด
     นอกจากเงื่อนไขด้านกำลังรบแล้ว "เงื่อนไขด้านเวลา"ก็เข้ามาเกียวข้องด้วย จากยุทธการที่ดันเคิร์ก อังกฤษทิ้งยุทธโทปกรณ์ไว้ อังกฤษเกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก มีผู้กล่าวว่า"หากจะบุกอังกฤษ ก็ต้องบุกในห้วงเวลานี้" แต่การบุกเกาะอังกฤษมีขึ้นหลังจากนั้นกว่าหนึ่งเดือน อังกฤษสามารถระดมอาวุธยุทโธปกรณ์ได้บางส่วนแล้ว และที่สำคัญคือเครืองบินขับไล่อันน่าเกรงขาม

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Royal Air Force fighter Command vs Luftwaffe

     ยุทธการที่อังกฤษเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ครั้งแรกที่ต่อสู้กันทางอากาศเท่านั้น และมันให้บทเรียนอย่างมากกับทั้งสองฝ่าย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรดาร์(ระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ,ความสูง,รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ)สำหรับตรวจจับเครื่องบินศึตรู ซึ่งทำให้เครื่องบินชับไล่เข้าสกัดได้อย่างแม่นยำจากระยะไกล
      ยุทธการอังกฤษแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีเมื่องต้องใช้ในการโจมตีระยะไกลแนวคิดเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักแบบสองเครื่องยนต์ถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวเมื่องเครื่อง เมสเซอร์สมิต บีเอฟ 110 กองทัพอากาศเยอรมันนั้นขาดความคล่องเเคล่วและตกเป็นเป้าได้ง่ายต่อเครื่อง เฮอร์ริเคนและสปิตไฟร์ บีเอฟจึงถูกลดขั้นมาเป็นเครื่องบินขับไล่กลางคืนและคเรื่องบินทิ้งระเบิดซึ่งพบว่ามันเหมาะมากกว่า นอกจากนั้น บีเอฟ 109 ของเยอรมันปฏิบัติการในแบบที่สุดระยะยของมันและไม่สามารถทำการรบได้นานนัก เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขาดการบินคุ้มกัน เยอรมันก็ต้องสูญเสียมากเครื่องบินมากขึ้น


                                                 Royal Air Force fighter Command
                                                 กองทัพอากาศอังกฤษในปี 1940







      สุดยอดของเครื่องบินขับไล่อังกฤษในช่วงนี้คือ เครื่องบินซุปเปอร์มารีน สปิตไฟร์ ด้วยความเร็ว 580/hr.ติดปืนกลขนาด .303นิ้ว 8 กระบอกที่ปีกสองข้าง สามารถปรับศูนญ์ฺโดยทั่วไปจะปรับแต่งให้กระสุดทั้งแปดกระบอกรวมศูนย์กันอยู่ในระยะ 594 เมตรจากลำกล้อง

ฮอว์คเกอร์ เฮอริเคน มีความเก่ากว่า สปิตไฟร์ ความเร็ว 523/hr.ติดปืนกลขนาด .303 นิ้ว แปดกระบอก มีอำนาจการยิงสูง




Luftwaffe
กองทัพอากาศเยอรมัน




เจยู 87 สตูก้า Dive Bomber Ju 87 "Stuka" ซึ่งมีความสามารถในการดำดิ่งทิ้งละเบิดอย่างแม่นยำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในสมรภูมิบริเตน



แมสเซอร์สมิต บี เอฟ 109 Messerchmitt Bf 109 เครื่องบินขับไล่ที่เป็นกำลังหลักในขณะนั้น โดยถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่เล็ก คล่องตัว เครื่องยนต์ที่ทรงพลังมีอัตราความเร็ซในการบินดำดิ่ง เร็วกว่าเครื่องบินขับไล่ขงออังกฤษทุกชนิด  ติดปืนกลขนาด 7.9 มม. MG17 ที่เหนือเครื่องยนต์สองกระบอกโดยทำการยิงลอดใบพัด ปืนใหญอากาศขนาน 20 มม. แบบ MG FFอีกสองกระบอก ติดที่ปีกทั้งสองข้าง 


เมอเซอร์สมิต บีเอฟ 110 ซึ่งมีข้อบกพร่องจึงต้องลดชั้นเป็นเครืองบินขับไล่ตอนกลางคืน

เครื่องบินทิ่งระเบิบ แบบ ไฮน์เกล 111 Heinkel He 111 เครื่องบินทิ้งระเบิด ติดตั้งปืนกลขนาด 7.92 มม. จำนวน สามกระบอก บรรทุกระเบิด 1,800กก. ความเร็ว 398/Hr.เครื่องยนต์สองเครื่อง

   กองทัพอังกฤษยึดมั่นในการสร้างครามเสียหายให้กับฝูงบินเยอรมันมากว่าการทำลาย โดยอังกฤษเชื่อว่า ความเสียหายจะทำให้เยอรมันต้องเสียเวลาในการซ่อมแซม และต้องใช้บุคคลากรจำนวนมาก และทำการรบได้ไม่เต็มที่ 
      ยุทธวิธีการต่อสู้ทางอากาศระหว่างอังกฤษและเยอรมันมีความแตกต่างกัน ผู้บินเยอรมันจะเข้าโจมตีในลักาณะกลุ่มหรือที่เรียกว่า กรุ๊ป โดยใช้อากาศยานรวมกัน 30-40 ลำ ในขณะที่อังกฤษจะขึ้นบินในลักษณะหมวดบิน 9-10 ลำ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Dunkirk

   

 กองกำลังผสม สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวฯรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือยังคงมุ่งหน้าต่อ โดยการยึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็ฯจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญทีสุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กองกลังเยอรมันสามารถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตรจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั่เศส-เบลเยี่ยม เมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมจึงแพ้ศึกในครั้งนี้
      ปัญหาที่ตามมาของสัมพันธมิตร คือจะอพยพทหารสัมพันธมิตรให้กลับไปยังเขตปลอดภัยในประเทศอังกฤษอย่างไรให้ได้หมดอ่อนฝรั่งเศสจะถูกยึดและทำลาย
     22 พฤษภา 1940 ปฏิบัตกการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น ภายใต้รหัส ยุทธการไดนาโม โดยมีพลเรือโทเอบร์แทรม แรมเซย์เป็นผู้สั่งการจากมเืองโดเวอร์  โดยจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยสั่งการเรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกันมุ่งหน้าไปยังเมืองดันเคิร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแผ่งเกาบริเตนใหญ่กลับมายังประเทศอังกฤษภายในสองวัน
      27 พฤษคม 1940 กองเรื่อสามารถนำกำลังกลับมาได้ 120,000 นาย รัฐบาลสหราชอาณาจักรทำการของความร่วมมือพลเรือที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ซึ่งมีความยาว 30-100ฟุต ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพครั้งนี้ ในคืนเดียวกันการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกจึงเริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึง เรือจับปลา,เรือเก่าที่ถูกซ่อมแซม,เรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวีรวมพลกันที่เมืองเชียร์เนสและมุ่งหน้าไปยังดันเคิร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตกลับแต่เนื่อจากการระดมยังด้วยปืนใหญ่อย่างหนัก มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาในครั้งนี้
   
      28 พฤษภาคม 1940 เรือพิฆาตอีกสิบลำถูกเรียกเข้าปฏิบัติการอพยพครั้งที่ 2 ในตอนเช้าแต่ไม่
สามารถเข้าประชิดขายฝั่งได้มากพอเนื่องจาน้ำตื้นเกิน อย่่างไรก็ตามทหารหลายพันนายได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กมีประโยชน์มากกว่าในบางสถานะการ อู่ต่อเรือเริ่มต้นหาเรือที่มีขนาดเหมาะสมและให้รวมกันที่เมือง เชียร์เนส แชทแฮม และโดเวอร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีเยียม พร้อมกลับทหารอี 16,000 นายที่กลับมาได้ แต่ยุทธการเพิ่มมาตรการทางอากาศของเยอรมันทำให้เรือหลายลำถูกอับปางและอีกหลายลำไ้ด้ีรับความเสียหาย
     29 พฤษภาคม 1940  กองกำลังยานเกราะของเยอรมันหยุดการบุกเมืองดันเคิร์กและให้ทหารราบและกองกำลังทางอากาศทำาการบุกต่อ ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ นำมาใช้และไ้ด้ผลดีในการบุกโปแลนด์ตแ่ต่กลับไร้ผลในการนำมาใช้ครั้งนี้( การที่กองยานเกราะของเยอรมันถูกฮิตเลอร์สั่งหยุดนั้นเน เนื่องจากฮิตเลอร์มีความต้องการที่จะปล่อยอังกฤษข้ามช่องแคบ คำสั่งนี้ถูกท้วงติงอย่างหนักจากนัการทหารระดับสูงของเยอรมัน เพราะทั้งๆ ที่สามารถทำลายหรือจับทหารพันธมิตรเป็นเชลยได้ทั้งหมด แต่เพราะฮิตเลอร์คิดว่า ชาวเยอรมันและอังกฤษนั้น มีความใกล้เคียงกันทางสายเลือดถือว่าเป็นเผ่าพันธ์ชั้นสูง และเพื่อหวังว่าอังกฤษจะยอมรับคำของสงบศึกและเป็นพันธมิตรกับตน แต่อังกฤษปฏิเสธโดยตบอดกระทั่งจนสงคราม) มีทหาร14,000 นายอพยพกลับอังกฤษในวันนี้
    30 พฤษภาคม 1940 เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย
    31 พฤษภาคม 1940 กองกำลังสัมพันธมิตรถูกต้อนเข้าสู่เมืองลาปานน์ และเบรย์-ดันย์ ซึ่งห่างจากเมืองดันเคิร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันนี้ทหารอพยพกลับ 68,000 นายและอีก 10,000 นายภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายทคือในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อยๆ นั้นคงดำเนินต่อไปกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน
 
   

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:La IIIe Republique

      สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิซี(รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองฝรั่งเศสโดยเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
     ในยุทธการฝรั่งเศส Battle of France นั้น ฝ่ายเยอรมันใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติที่นักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์การว่าเทือกเขานี้ไม่มียานยนต์หุ้มเกราะผ่านมาได้ แต่เป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด
      สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าสครามโดยการเตรียมตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีขัดแย้งกันเองในเรื่องการดำเนินงานในภาวะสงคราม ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของฝรั่งเศสเชื่อในแนวรบมายิโนต์ว่าจะทำให้ทหารเยอรมันอ่อนกำลังและถอยไปเอง จึงไม่เข้าช่วยโปแลนด์ ฝรั่งเศสสนใจที่ช่วยฟินแลนด์มากว่า และเมื่อฟินแลนด์ยอมสงบศึกทำให้เกิดกาต่อต้านดาลาดิเย่ร์และคณะรัฐมนตรีของเขาต้องสลายตัว ปอล เรย์โนลด์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีพรรคสังคมนิยมหัวรุนแรงอยู่เบื้องหลัง
   
  10 พฤษภา 1940 เยอรมันบุกเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ฝรั่งเศสและอังกฤษก็เคลื่อนพลเข้าสู่เบลเยี่ยม การโจมตีแบบสายฟ้าแลบของเยอรมันมีประสิทธิภาพ เยอรมันรุกฝรั่งเศสหนักขึ้นในทางตอนใต้ของเซตัง
     15 พฤษภา 1940 กองทัพฝรั่งเศสคุมกำลังไม่ติดที่แม่น้ำเมอร์สจึงต้องถอย การป้องกันของฝรั่งเศสล้มเหลว
     กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยกายึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศสทำให้กองกำลังเยอมันสามรถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั้งเศส-เบลเยียมเมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมุก็เท่รกับแพ้ศึกในครั้งนี้ การอพยพทหารกว่า500,000นายจึงเกิดขึ้น
     ความหายนะทำให้เรย์โนต์ต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี คาลาติเยร์ต้องไปอยู่กระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่เรย์โนลด์เป็นรัฐมนตรีกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง นายพลเวย์กังด์ ถูกเรียกตัวจากซีเรียให้มาจัดการเรื่องสงคราม เปแตงถูกเรียกตัวจากสเปนให้มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าที่ปรึกษาทางทหารของเรย์โนลด์ แต่สถานการณ์ทางทหารของฝรั่งเศสยุ่งยากเกินความสามารถทีนายพลคนใดจะควบคุมได้
      อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ไว้ใจกันในการอพยพที่ดันเคิร์ก ฝรั่งเศสไม่พอใจที่พวกอังกฤษอพยพเป็นพวกแรกและทิ้งกองทหารฝรัี่งเศสเป็นพวกสุดท้าย
   
9 มิถุนายน 1940 คณะรัฐมนตรีย้ายจากปารีสไปอยู่ที่แคว้นคูรส์
      14 มิถุนายน 1940 กองทัพเยอรมันเข้ายึดปารีส ผู้นำรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความแตกแยกทางความคิด ฝ่ายเปแตงและวย์กังด์ เห็นว่าไม่ควรทิ้งฝรั่งเศสและยอมทำสัญญาสงบศึกกับเยอรมัน ในขณะที่เรย์โนลด์และพรรคพวกเตรียพร้อมที่จะย้ายรัฐบาลไปแอฟริกาและดำเนินการต่อสู้ต่อไป ในวันเดียวกัน รัฐบาลย้รยไปอยู่ที่บอร์โดซ์ รัฐมนตรีกลุ่มที่อยู่ข้างโซตองเรียกร้องให้ทำสัญญาสงบศึก ส่วนนักการเมืองนอกคณะรัฐมนตรี มีลาวาลและพรรคพวกก็สนับสนุนการสงบศึก เรย์โนลด์ยอมแพ้ต่อการกดดันและลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน 1940 เปแตงดำรงตำแหน่งต่อจากเขา
     17 มิถุนายน 1940 เปแตงก็ออกประกาศยุติความเป็นศัตรูและมุ่งทำสันติภาพกับเยอรมันอย่ามีเกียรติ
     22 มิถุนายน 1940 สัญญาสงบศึกกับเยอรมันก็ได้รับการลงนามที่ตำบลคอมเบียน บนตู้รถไฟเดียวกันกับที่จอมพลฟอซได้เสนอสัญญาของเขาต่อผู้แทนเยอรมันในปี 1918
       จากสัญญาสงบศึก ฝรั่งเศสต้องถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เขตที่ถูกครอบครอง และไม่ถูกครอบครอง ่วนที่ถูกครอบครองนั้น กินอาณาเขตทั้งหมดของฝั่งแอตแลนติคและแถบช่องแคบรวทั้งดินแดนทางตะวันตก ตะวันออก และทางเหนือของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสต้องปลดอาวุธและห้ามการเคลื่อพล กองทัพเรือก็ต้องอยู่ใต้การตรวจตราของเยอรมัน ซึ่งการตรวจตรานั้นทำให้อังกฤษสงสัยว่าเยอรมันจะยึดกองทัพเรือฝรั่งเศส อังกฤษจึงโจมตีทัพเรือฝรั่งเศสที่ทะเล แดล เกปีร์ ในวันที่ 3 กรกฎา 1940
       นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังต้องจ่ายเงินอย่างไม่จำกัดต่อการครอบครองของเยอรมนีและฝ่ยเเยอรมันจะควบคุมเชลยสงครามไว้จนกว่าจะมีสันติภาพโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นดูเหมือนจะมีความเชื่อว่าสงครามจสิ้นสุดในเร็ววัน

WWII:Blitkrieg:Blitz

      10 พฤษภาคม 1940 เยอรมันบุกฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนอเธอร์แลนและลักเซมเบิรก เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมพ่ายด้วยยุทธวิธีบลิทซครีก Blitzkrieg ซึ่งเป็นการโจมตีอย่างรวดเร็วซึ่งพัฒนาขึ้นโดยชาติต่างๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และนำมาใช้หลายปีกลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเยอรมนีใช้วิธีการนี้มากที่สุด บลิทซครีกที่โดเด่นในประวัติศาสตร์การทหารคือช่วงเวลาเริ่มต้นของสงคาโลกครั้งที่สอง บริซครีกของเยอรมันมีประสทิธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขากการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเยอรมัน
   รูปแบบบลิทซคลิก โดยทั่วไป คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและยังเป็นการใช้รูปแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบประสทิธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
     เยอรมันพยายามหลีกเลี่ยการรบซึ่งหน้าเพื่อที่จะทำลายขวัญกำลังใจ การติดต่อสื่อสารและประสทิธิภาพการตัดสินใจของข้าศึก การใช้ความสามารถในการโจมตีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพผสมกับความไม่ทันระวังของศัตรูทำให้ศูน์บัญชาการของศัตรูปั่นป่วน
      หัวใจสำคัญของกลยุทธ์คือ กองกำลังรถถังและความสามารถด้านทัพอากาศหากศัตรูได้ระวังตัวก่อนทำให้บลิทซคลรีกล้มเหลว
  
  เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนพ่านแพ้ในเวลาเพียงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ตามลำดับ
      บลิทซครีก เป็นการโจมตีกย่างรดวเร็วประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยามเกราะบุกเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วและสร้าคงามประหลาดใจให้แก่ฝ่ายข้าศึกทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะตรียมการป้องกันใด ๆ แนววคิดบลิทซครีกนั้นถูกพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีกลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำการศึกยืดเยื้อ บลิททซครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงเวลาเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
      บลิทซครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี
       รุปแบบ โดยทั่วไปของบลิทซครีก คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและเป็นการใช้รูปแบบการรบแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบปืนใหญ่และกำลังสนับสนุนทางอากาศ ยุทธวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการโจมตีประสิทธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพหัวใจกลักของบลิซครีกคือการักษาความเร็วของรถถังหุ้มเกราะวึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว
       การจู่โจมโดยปฏิบัติการบลิทซ์คลีกนั้น จะต้องสร้างความหวาดกลัวใหกับฝ่ายตรงข้าม เยอรมันใช้
เสี้เสียงไซเรนเพื่อความหวาดผวาในหมู่ศัตรูด้วย ปฏิบัติการบลิทซ์ครี ต้องกการให้ศัตรูลนลานจนเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองลดลง เนื่องจากตกอยูใีความหวาดกลัวและสับสนฝ่ายเยอรมันใช้ประทโยชน์จากวิธีนี้ครั้งเข้ารุกราน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์
       บลิทซ์ครีก หรือสงครามสายฟ้าแลบเป็นแนวคิดจากนักทฤษฎีทางการทหารชาวอังกฤษช่อ ลิดเดลล์ ฮาร์ต ทีเน้นยุทธวิธีรุกแบบสายน้ำเชี่ยวซึ่งเขาพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนยุทธวิธีแบบสงครามโลกครั้งที่ 1 กล่าวคือ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยที่สงครามในช่วงนั้นคือการตั้งรับในหลุ่มเพลาะอย่างเดียวทั้ง 2 ฝั่งโดยแต่ละฝ่าย มีจุดกวาดล้างคือตรงกลางระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง มีทั้งลวดหนามที่กั้นไม่ให้มีฝ่ายใดทะลวงที่มั่นได้แต่ฝ่ายอังกฤษได้นำเสนอรถถังบุกทะลงที่ไร้เทียมทานต่อปืนกลและไรเฟิล ได้ข้ามลวดหนามและหลุมเพลาะแต่ทว่า ในช่วงนั้นรถถังอังกฤษผลิตไม่ได้มากพอก่อนสงครามจะยุติในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมติรได้ศึกษารถถังมานานปีจึงได้รู้ประสบการณ์ของ "ความเปลี่ยนแปลง"หลังจากนันเยอรมันได้พยายามศึกษารถถังและใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้ดีที่สุด
       ไฮนซ์ กูเดรีอัน ได้พัฒนาแนวความคิดโดยเขียนหนังสื่อชื่อ Achtung Panzer ที่เปรียบเสมือนคำทำนายการสงครามในอนาคต
      เขากล่าวถึงยุทธวิธีแบบสงครามสายฟ้าว่า ได้แก่ การใช้ขบวนยานเกราะบุกทะลวงโจมตีเป็นแนวลึกแต่แคบ ติดตามด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วซึ่งประกอบด้วยขบวนพาหนะบรรทุกทหารที่ใช้อาวุธทันสมัยแลมียุทธภัณฑ์ชั้นเยียม กองกำลังนี้จะขยายแนวโอบล้อมฝ่ายข้าศึก และกองทัพซึ่ง
ติดตามกองกำลังเคลื่อที่เร็วนี้ก็จะทำลายกำลังของฝ่ายศัตรูในที่สุด การปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกำลังทางอากาศ โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดจำนวนมากปฏิบัติการครอบคลุมอาณาบริเวณ การรบแบบสงครามสายฟ้าแลบจะทำให้กองทัพของฝ่ายช้าศึกตระหนกและขวัญเสียจนแตกพ่ายไป เนื่องจากไม่สามารถต่อต้านการโจมตีรวดเร็วและอาวุธที่ทันสมัยและร้ายแรงได้
      เยอรมันทดลองยุทธวิธีแบบสงครามกลางเมืองสเปน โดยใช้ปฏิบัติการทางอากาศควบคู่กับกำลังทางพื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่ากลัว เพราะนอกจากจะทำให้ฝ่ายกบฎสามารถยึดเมืองต่าง ๆ มาจากรัฐบาลสเปนได้แล้วยังทำให้ชาวสเปนจำนวนมากต้องล้มตายและบาดเจ็บ
      เมื่อเกิดสงครามโลครั้งที่ 2 เยอรมนีนำยุทธวิธีนี้มาใช้ในการบุกโจมตีโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างมากทั้งในแง่การวางแผนทางการทหารและการประสานงานของยุทธวิธีแบบนี้ ในการโจมตีฝรั่งเศสในยุทธการที่ฝรั่งเศส Battle of France และในการทำสงครามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือในระยะหลังของสงคราม นายพลอเมริกาก็นำเอายุทธวิธีแบบนี้มาใช้ในการรบที่ยุโรป
       คำว่า บลิทซืครีก ในภาษาเยอรมันนี้ ต่อมาหนังสือพิมพ์อังกฤษได้ใช้ในความหมายที่ผิดไปจากเดิม คือย่อเป็นคำสั้นๆ ว่า "บลิทซ์" Blitzหมายถึงสายฟ้า คือ การที่เครื่องบินรบของฝ่ายเยอรมนีระดมท้องระเบิดเพื่อโจมตีนครลอนดอนและเมืองใหญ่ๆ ของอังกฤษอย่างรุนแรง

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...