WWII:La IIIe Republique

      สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิซี(รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองฝรั่งเศสโดยเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
     ในยุทธการฝรั่งเศส Battle of France นั้น ฝ่ายเยอรมันใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติที่นักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์การว่าเทือกเขานี้ไม่มียานยนต์หุ้มเกราะผ่านมาได้ แต่เป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด
      สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าสครามโดยการเตรียมตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีขัดแย้งกันเองในเรื่องการดำเนินงานในภาวะสงคราม ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของฝรั่งเศสเชื่อในแนวรบมายิโนต์ว่าจะทำให้ทหารเยอรมันอ่อนกำลังและถอยไปเอง จึงไม่เข้าช่วยโปแลนด์ ฝรั่งเศสสนใจที่ช่วยฟินแลนด์มากว่า และเมื่อฟินแลนด์ยอมสงบศึกทำให้เกิดกาต่อต้านดาลาดิเย่ร์และคณะรัฐมนตรีของเขาต้องสลายตัว ปอล เรย์โนลด์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีพรรคสังคมนิยมหัวรุนแรงอยู่เบื้องหลัง
   
  10 พฤษภา 1940 เยอรมันบุกเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ฝรั่งเศสและอังกฤษก็เคลื่อนพลเข้าสู่เบลเยี่ยม การโจมตีแบบสายฟ้าแลบของเยอรมันมีประสิทธิภาพ เยอรมันรุกฝรั่งเศสหนักขึ้นในทางตอนใต้ของเซตัง
     15 พฤษภา 1940 กองทัพฝรั่งเศสคุมกำลังไม่ติดที่แม่น้ำเมอร์สจึงต้องถอย การป้องกันของฝรั่งเศสล้มเหลว
     กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยกายึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศสทำให้กองกำลังเยอมันสามรถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั้งเศส-เบลเยียมเมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมุก็เท่รกับแพ้ศึกในครั้งนี้ การอพยพทหารกว่า500,000นายจึงเกิดขึ้น
     ความหายนะทำให้เรย์โนต์ต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี คาลาติเยร์ต้องไปอยู่กระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่เรย์โนลด์เป็นรัฐมนตรีกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง นายพลเวย์กังด์ ถูกเรียกตัวจากซีเรียให้มาจัดการเรื่องสงคราม เปแตงถูกเรียกตัวจากสเปนให้มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าที่ปรึกษาทางทหารของเรย์โนลด์ แต่สถานการณ์ทางทหารของฝรั่งเศสยุ่งยากเกินความสามารถทีนายพลคนใดจะควบคุมได้
      อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ไว้ใจกันในการอพยพที่ดันเคิร์ก ฝรั่งเศสไม่พอใจที่พวกอังกฤษอพยพเป็นพวกแรกและทิ้งกองทหารฝรัี่งเศสเป็นพวกสุดท้าย
   
9 มิถุนายน 1940 คณะรัฐมนตรีย้ายจากปารีสไปอยู่ที่แคว้นคูรส์
      14 มิถุนายน 1940 กองทัพเยอรมันเข้ายึดปารีส ผู้นำรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความแตกแยกทางความคิด ฝ่ายเปแตงและวย์กังด์ เห็นว่าไม่ควรทิ้งฝรั่งเศสและยอมทำสัญญาสงบศึกกับเยอรมัน ในขณะที่เรย์โนลด์และพรรคพวกเตรียพร้อมที่จะย้ายรัฐบาลไปแอฟริกาและดำเนินการต่อสู้ต่อไป ในวันเดียวกัน รัฐบาลย้รยไปอยู่ที่บอร์โดซ์ รัฐมนตรีกลุ่มที่อยู่ข้างโซตองเรียกร้องให้ทำสัญญาสงบศึก ส่วนนักการเมืองนอกคณะรัฐมนตรี มีลาวาลและพรรคพวกก็สนับสนุนการสงบศึก เรย์โนลด์ยอมแพ้ต่อการกดดันและลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน 1940 เปแตงดำรงตำแหน่งต่อจากเขา
     17 มิถุนายน 1940 เปแตงก็ออกประกาศยุติความเป็นศัตรูและมุ่งทำสันติภาพกับเยอรมันอย่ามีเกียรติ
     22 มิถุนายน 1940 สัญญาสงบศึกกับเยอรมันก็ได้รับการลงนามที่ตำบลคอมเบียน บนตู้รถไฟเดียวกันกับที่จอมพลฟอซได้เสนอสัญญาของเขาต่อผู้แทนเยอรมันในปี 1918
       จากสัญญาสงบศึก ฝรั่งเศสต้องถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เขตที่ถูกครอบครอง และไม่ถูกครอบครอง ่วนที่ถูกครอบครองนั้น กินอาณาเขตทั้งหมดของฝั่งแอตแลนติคและแถบช่องแคบรวทั้งดินแดนทางตะวันตก ตะวันออก และทางเหนือของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสต้องปลดอาวุธและห้ามการเคลื่อพล กองทัพเรือก็ต้องอยู่ใต้การตรวจตราของเยอรมัน ซึ่งการตรวจตรานั้นทำให้อังกฤษสงสัยว่าเยอรมันจะยึดกองทัพเรือฝรั่งเศส อังกฤษจึงโจมตีทัพเรือฝรั่งเศสที่ทะเล แดล เกปีร์ ในวันที่ 3 กรกฎา 1940
       นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังต้องจ่ายเงินอย่างไม่จำกัดต่อการครอบครองของเยอรมนีและฝ่ยเเยอรมันจะควบคุมเชลยสงครามไว้จนกว่าจะมีสันติภาพโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นดูเหมือนจะมีความเชื่อว่าสงครามจสิ้นสุดในเร็ววัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)