WWII:Battle of Britain

       Directive No.16 คำสั่งที่ 16 ให้เตรียมการบุกเกาะอังกฤษโดยใช้กำลังกองทัพอากาศเป็นหลักในการปฏิบัติการรบ โดยมีนายพล แฮร์มันน์ เกอริง Hermann Goring เป็นผู้บัญชาการ ฮิตเลอร์เชื่อมั่นในขีดความสามารถของกองทัพอากาศว่าเหนือประเทศอื่น โดยเฉพาะอังกฤษ ในคำสั่งจึงระบุอย่างชัดเจนว่ในการบุกเกาะอังกฤษให้กองกำลังทางอากาศเยรอมันจู่โจมเกาะอังกฤษแบบสายฟ้าแลบเพื่อไม่ให้อังกฤษมีโอกาสตอบโต้ได้ทันทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด โดยหวังว่าจะสามารถบีบให้อังกฤษยอมจำนน โดยไม่ต้องใช้ยุทธวิธีทางบกหรือทางทะเลเข้าช่วย
   


 ยุทธการเกาะอังกฤษแบ่งเป็น 5 ระยะ
- Channel Battle ยุทธการที่ช่องแคบอังกฤษ ระหว่างเดือนกำกฏา-ต้นเดือนสิหาคม
- Operation Eagle ยุทธการช่องแคบอังกฤษอินทรี ระหว่างวันที่ 13-18สิงหาคม
- Luftwaffe's Switch ระยะเปลี่ยนแผนของกองทัพอากาศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม -6กันยายน
- Battle of London ระหว่างวันที่ 7-30 กันยายน
- ระยะที่ห้า ระหว่างเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน

      Channel Battleในยุทธการช่องแคบอังกฤษ เริ่มประปรายตั้งแต่วันที่ 10 กรกฏา ก่อนคำสั่งหมายเลข 16 จะออกมาในวันที่ 16 กรกฎาคม เนืองจากเยอรมันที่ปฏิบัติการรบอยู่ในเขตยุโรปตะวันตกอยู่ก่อนแล้วส่งเครื่องบินท้ิงระเบิด 20-30 ลำ ซุ่มโจมตีและทิ้งละเบิดหวังจะตัดกำลังฝ่ายอังกฤษเมื่อคำสั่งที่ 16 ออกมาปฏิบัติการจึงขยายขอบเขตไปถึงปากแม่นำ้เทมส์ใกล้กรุงลอนดอน สิ้นเดือนกรกฎาคม ปรากฎว่าเยอรมันสูญเสียเครื่องบินรบทั้งสิ้น 180 ลำ ในจำนวนนี้เครื่องบินทิ้งระเบิด 100 ลำ ในขณะที่อังดฤษเสูญเสียเครื่่องบินขับไล่จำนวน 70 ลำ
     ฮิตเลอร์ไม่พอใจผลการปฏิบัติการของกองทัพอากาศเยอรมันเป็ฯอย่างมาก ในวันที่ 1 สิงหาคม จึงออกคำสั่งที่ 17 Directive No.17 เร่งรัดกองทัพอากาศเยอรมันทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเอื้อต่อการปฏิบัติการของอังกฤษให้ได้โดยเร็วที่สุด
    Operation Eagle ฝ่ายปฏิบัติการ คือนายพลเทโอดอร์ ออสเทอร์คัมพ์ Theodore Osterkamp และผู้ใต้บังคับบัญชาที่ฝ่านการรบในยุทธการที่ช่องแคบมาแล้ว มองเห้นว่าโอกาสที่เยอรันจะเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วนั้น คงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก โดยเขาได้แสดงความเห็นไว้ในการประชุมวางแผนการรบทีกรุงเฮกว่า ขณะที่ทิ้งระเบิดบริเวณรอบๆ กรุงลอนดอน เขาได้เห็นเครื่องยินขับไล่ของอังกฤษแต่ละครั้ง 500-700 ลำ และเมือสิ้นสุดยุทธการที่ช่องแคบ ก็เห็นว่าอังกฤษเพิ่มทั้งจำนวนและสมรรถนะของเครื่องบินเหล่านั้นขึ้นอีกมาก .. แต่นายพล แฮร์มัน เกอริงไม่รับฟังและยืนยันให้ปฏิบัติการตามแผนทในวันที่ 7
สิงหาคม ปฏิบัติการครั้งนี้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 13 สิงหาคม เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ ความสูญเสียมีมากด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยที่เยอรมันสูญเสียหนักกว่า นายพล แฮร์มัน เกอริง ตัดสินใจปรับแผนครั้งใหญ่
     Luftwaffe's Switch การเปลี่ยนแผนการรบและการเปลี่ยนตัวผุ้บังคับการในแนวหน้าซึ่งมีผลให้ปฏิบัติการโจมตีเกาะอังกฤษทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างหนักแก่อังกฤษยิ่งขึ้น เป้าหมายหลักคือ แหล่งอุสาหกรรมหนักและโรงงานผลิตเครื่องบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ การบุกทิ้งระเบิดสถานที่
สำคัญตามเป้าหมายกระทำอย่างต่อเนื่องและรุนแรง การปฏิบัติการบางครั้งมีการทิ้งระเบิดติดต่อกันเป็นชุด ถึง 6 ครั้งภายในเวลา 3 วัน อังกฤษไม่ยอมจำนน Raf. กองทัพอากาศอังกฤษ ปฏิบัติกาต่อสู้ป้องกันเมืองใหญ่ๆ ที่มีความสำคัญในแต่ละพื้นที่ไว้ได้โดยเฉพาะกรุงลอนดอน แม้อังกฤษจะสูญเสียอย่างหนัก เยอรมันก็สูญเสียเช่นกัน
     Battle of London เพื่อเร่งเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด กองทัพอากาศเยอรมันจึงตัดสินใจใช้แผนบุกโจมตีกรุงลอนดอนเมือ่วันที่ 7 กันยายน โดยนำผูงบินขับไล่ ฝูงยินทิ้งระเบิดและฝูงบินคุ้มกันที่ทรงปรสิทธิภาพจำนวนมหาศาลถล่มกรุงลอนดอนจากทุกทิสเพื่อหวังให้เมืองยนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่มีประชากร 7 ล้านคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอังกฤษถูกถล่มในพริบตา
      จอมพลอากาศ เซอร์ฮิว คาสวอลล์ ทรีเทนเฮียร์ ดาวดิง Sia Hung Caswall Tremenheere Dowding ผู้บัญชาการหน่วยรบร่วมระดมหน่วยรบจากทุกเขตมาช่วยปฏิบัติการป้องกันกรุงลอนดอนในครั้งนี้ โดยยอมเสี่ยงที่จะปล่อยพื้นที่อื่นๆ ขาดกำลังรบสำรอง
   

 15 กันยายน กองทัพอากาศเยอรมันส่งเครื่องยบินทิ้งระเบิดติดอาวุธหนัก 200 ลำ ทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนอย่างต่อเนื่อง สปิตไฟร์และเฮาร์ริเคน จำนวน 250 ลำสามารถต้านทานการบุกทิ้งระเบิดภาคตะวันออกของลอนดอนไว้ได้ และสามารถขับไล่ฝูงบินรบของเยอรมันออกนอกพื้นที่กรุงลอนดอนเป็นผลสำเร็จ รวมทั้งสามารถทำลายเครื่องบินรบเยอรมันกว่า 60 ลำ ความพ่ายแพ้ทางทัพอากาศของซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดในปฏบัติการสิงโตทะเล ของเยอรมันนั้นทำให้ฮิตเลอร์ประกาศเลื่อนปฏิบัติการออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่การโจมตีลอนดอนก็คงดำเนินต่อไปอย่างหนักเพื่อสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลอังกฤษยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการของเยอรมัน
      ยุทธการเกาะอังกฤษในช่วงสุดท้าย เยอรมันเน้นปฏิบัติการในช่วงกลางคืน อังกฤษถูกโจมตีอย่างหนักทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อหวังผลให้อังกฤษหมดแรงสู้ และทำลายขวัญและกำลัใจ
       การทิ้งระเบิดแต่ละครั้งของเยอรมันเฉลี่ยโดยประมาณ 200 ลูก กรุงลอนดอนและเมืองใหญ่อีกหลายแห่งถูกทำลายอย่างหนัก ที่เมือโคเวนทรี ทหาวิหารที่สำคัญที่สุดของเมืองถูกทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้เสียชีวิต 400 คน
       ตลอดระยะเวลา 4 เดือนพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำลายล้างของฝ่ายเยอรมันไม่สามาถทำลายขวัญและกำลังใจโดยเฉพาะเหล่านักบินรบของกองทัพอากาศ กว่า 2,500 คนซึ่งมีทั้งชาวแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ พวกลี้ภัยชาวเช็กและโปล รวทั้งกาสาสมัครไอริสและอเริกันด้วย ยุทธการที่เกาะอังกฤษจึงสิ้นสุดลงหลังวันที่ 14 พฤศจิกายน 1940 เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันสังยกเลิกปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ และฮิตเลอร์สั่งถอนกำลังส่วนใหญ่ขจของกองทัพอากาศเยอรมันไปปฏิบัติการในแนวรบด้านตะวันออกโดยมุ่งที่รัสเซียเป็นหลัก
     แม้อังกฤษจะเสียหายอย่างหนัก เหนือสิ่งอืนใดอังกฤษสามารถรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ได้ในยามที่ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)