วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Alliance’s Conference

     ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การประชุมครั้งสำคัญๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพแก่โลก ดังนี้
     1 การประชุมที่คาซาบลังก้าปี 1943 The Casablanca Conference of 1943 ในเดือนมกราคม ผุ้นำของสองชาติคือ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล ร่วมประชุมกันที่เมืองคาซาบลันก้า เมืองท่าทางตะวันตกเยงเหนือของโมร็อคโค มติการเจรจาคือยุติการรบในแอฟริกา ร่วมปฏิบัติการรบจนดว่าฝ่ายอักษาะจะยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข ให้ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาวร์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง
สัมพันธมิตร ในสมรภูมิรบในอแฟริกาเหนือและจัดการให้อิตาลียอมจำนน ผลการปฏิบัติการรบในแอฟริกาปรากฎว่าในวันที่ 12 พฤษภาคม 1943 กองกำลังอักษะกวาสองแสนคนยอมจำนนตอ่กองกำลังสัมพันธมิตร เป็นการยุติการรบในแอฟริกา งานที่ต้องทำต่อไปคือปฏิบัติการรบให้อิตาลียอมจำนน เริ่มด้วยต้นเดือนกรกฎา 1943 กองกำลังสัมพันธมิตรประกอบด้วยอังดฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดาจากตูนิเซียข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนบุกเข้ายึดเกาะซิซิลี Sicily ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิตาลี ซิชิลียอมจำนน ปลายเดือนกรกฎาคม
มุสโสลินีถูกโค่นล้มอำนาจ รัฐบาลใหม่อิตาลีประกาศสงครามกับเยอรมัน
    2 การประชุมที่มอสโคว์ ปี 1943 The Moscow Conference of 1943 ในวันที่ 30 ตุลาคม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสี่ชาติมหาอำนาจโลก ประกอบไปด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ จีน และรัสเซีย
ประชุมกันที่มอสโคว์ มติที่ประชุมคือเห็นควรจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ
     3 การประชุมที่ไคโร ปี 1943 The Cairo Conference of 1943 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ประนาธิบดี รูสเวลท์ นายกรัฐมนตรี เชอร์ชิล และเจียง ไค เชค ร่วมประชุมที่กรุงไคโร พูดเรื่องเอเชียตะวันออกไกล ทั้งสามผุ้นำร่วมลงนามในคำประกาศไคโร กำหนดเรีอกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข
     4 การประชุมที่เตหะราน ปี 1943 The Teheran Conference of 1943 ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ผุ้นำสามชาติคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และรุสเซีย ร่วมประชุมกันที่กรุงเตหะราน มติของที่ประชุม คือ รุสเซียสัญญาจะทำสงครามกับญี่ปุ่นในอนาคตขับไล่กองกำลังเยอรมันออกจากยุโรปตะวันตก กอบกู้ฝรั่งเศสจากการถูกยึดครองโดยเยอรมัน ให้นายพลดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร เป็นผู้บัญชากองกำลังสัมพันธมิตรในสมรภูมิยุโรปตะวันตก และเห็นชอบในการจัดตังองคก์การระวห่างประเทศเพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความสงบสุขของโลก

The price

     แนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยใหม่ Modren Strategy แนวคิดเกียวกับเรื่องยุทธศาสตร์สมัยใหม่นั้น ได้เริ่มในตอนปลายศตวรรษที่ 15 ต่อตอนต้นศตวรษที่ 16 กล่าวคือ ได้มีรัฐบุรุษที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียนผู้ไน่งชื่อ มาเคียวเวลลี ซึ่งนับเป็นบุคคลแรกที่ได้พัฒนากฎเกณฑ์ในการใช้กำลังอำนาจทางการเมือง

     ในโลกปัจจุบัน มาเคียเวลลี ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน สิ่งสำคัญที่มาเคียเวลลีกล่าวถึงก็คือ รูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ “พลังอำจาจของรัฐ”ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “องค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาติ”ตามแนวคิดของมาเคียวเวลลี่ นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสำคัญ 3 ประการ การเมือง สังคม และการทหาร ซึ่งแต่ละประเทศมีพลังอำนาจไม่เท่ากัน บางประเทศีพลังอำนาจมากบางประเทศมีพลังอำนาจน้อย ประเทศที่มีอำนาจมากสามารถใช้พลังอำนาจบับบังคับให้ประเทศที่มีพลังอำนาจน้อยปฏิบัติตามในส่งที่ตนต้องการ ในสมัยนั้นไม่มีการคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญอีกประการคือ “เศรษฐกิจ” ซึ่งมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในระยะต่อมา
     “พลังอำนาจแห่งชาติ” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการศึกษายุทธศาสตร์สมัยใหม่เพราะพลังอำนาจแห่งชาติเป็นเสมือนเครื่องมือ หรืออาวุทธหรือพาหนะที่จะนำไปสู่เป้าหมายอันพึงประสงค์
     แนวคิดเรื่องการใช้พลังอำนาจแห่งชาตินั้น หาใช่เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะตั้งแต่ได้มีการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เป็นต้นมานั้น ไม่ว่าระบบการปกครองจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ต่างก็มีแนวความคิดที่จะใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ทำการปกป้องผลประโยชน์ของตนทั้งนั้น ดังนั้น ประเทศเอกราชต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างพลังอำนาจของตนไว้ให้มากพอ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศอื่นใช้พลังอำนาจที่มากกว่าเข้ามาบับบังคับและทำลายความเป็นอิสระหรือล้มล้างอำนาจสูงสุดของชาติ
     มาเคียเวลลี ได้กล่าวถึงความสำคัญของการข่าว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประมาณสถานการณ์ เรื่องภัยคุกคามทางทหารว่า “สำหรับนายพลแล้ว ไม่มีอะไรที่มีค่ามากไปกว่าความพยายามที่จะหาข่าว่า ฝ่ายข้าศึกกำลังทำอะไรอยู่”
     เมื่อพิจารณาแนวคิดทางยุทธศาสตร์ของมาเคียเวลลร จะเห็นได้ว่า มีลักษณะของการมุ่งเน้นไปสู่จุดหมายปลายทาง และยังเน้นถึงเครื่องมือต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเป็นส่วนมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงความยุติธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์แต่อย่างใดของเพียงแต่ให้ได้มาซึ่งชัยชนะเท่านั้น มาเคียเวลลีได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ The Prince” ตอนหนึ่งว่า
     “กษัตริย์ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะยุติธรมหรือไม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความคงอยู่และความเป็นเอกราชของประเทศ กษัตริย์ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาคำมั่นสัญญา ถ้าหากว่าการรักษาคำมั่นสัญญานั้นจะเป็นผลร้ายต่อประเทศของตน กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนใจบุญ ซื่อตรง หรือเคร่งศาสนาอย่างจริงจังแต่อย่างใด แต่ควรจะแสดงให้คนอื่นเขาเห็นว่าตนเป็นคนใจบุญ ซื่อตรง และเคร่งศสนา ก็เพื่อหลอกคนอื่นให้เขาหลงเชื่อเท่านั้น กษัตรยิ์ต้องรู้จักใช้วิธีของสัตว์โดยเฉพาะของสิงโต และของสุนัขจิ้งจอก..”
     มาเคียเวลลี ได้ชื่อว่าเป็นบิดแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ เป็นักคิดคนสำคัญของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกว่าสัจนิยมในบรรดานักคิดทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ๆ มีบุคคลหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดและอุดมการณ์ของนักการเมืองในทุกยุคทุกสมัย ผุ้ที่ชื่อว่าเป็นทั้ง “นักคิดที่ไร้ศีลธรรม” และบางที่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักคิดที่กล้าหาญ” เพราะว่าเขาพูดความจริงที่ไม่เคยมีใครในโลกพูด เขาพูดถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ในทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา “ The Prince” เผยแพร่ในปี 1532 ซึ่งเสนอแนวความคิดในทางการเมืองแบบใหม่ ก่กึ่งระหว่างประโยชน์และโทษ เนื่อจากผู้นำทรราชหลายๆ คนบนโลกแห่งความจริงได้ยึดเนื้อหาหนังสือเรื่องนี้มาเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศ อาทิ มุสโสลินี ฮิตเลอร์ สตาลินหรือเมาเจ๋อ ตง เลนินล้วนแต่ดำเนินตามทฤษฎีขอเขาทั้งสิ้น เนื้อหาของหนังสือพอสรุปได้ดังนี้
- แยกการเมืองออกจากศาสนา การเมืองและศาสนาเป็นคนละเรื่องกัน การเล่นการเมืองไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรมจรรย ซึ่งไม่เคยมีใครเสนอแนวคิดแบบนี้มาก่อนในขณะที่นักกการเมืองสมัยเก่าบอกว่าผู้ปกครองควรมีคุณธรรม ศีลธรรมจรรยา และพระเจ้า
- รัฐเป็นสิ่งสูงสุด ความต้องการของแต่ละคนที่เข้ามารวมตัวเป็นรัฐคือผลประโยชน์ ดังนันการคงอยู่ของรัฐและเจตจำนงของรัฐจะตองอยู่เหนือสิ่งอื่นใด แม้กระทั้งปัจเจกบุคคล
- ต้องแยกรัฐออกจากศีลธรรมจรรยา ดังนั้นจึงไม่อาจพูดได้ว่ารัฐทำผิดหรือถูก เช่นเดียวกับบุคคลที่เป็นตัวแทนของรัฐ จะไปวินิจฉัยว่าเขาทำผิดหรือถูกไม่ได้เช่นกัน เพราะผลประโยชน์ของรัฐยย่อมเหนือความถูกผิดทั้งปวง
- ผู้ครองนครหรือนักการเมืองเป็นนักฉวยโอกาส ทุกคน แรงจูงที่ทำให้เกิดการเมือง คือผลประโยชน์ ดังนั้นนักการเมืองหรือผุ้ครองนครต้องกระทำการทุกอย่างเมือมีโอกาส เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ
- อย่ากลัวถ้าจะต้องทำผิดบ้าง ผุ้ปกครองที่ประสบความสำเร็จต้องทำผิดบ้าง และควรใช้ประโยชน์จากการทำผิดนั้นด้วย เพราะบางสิ่งบางอย่างที่คนภายนอกมองเห็นว่าดี แต่ในทางปฏิบัติกลับไมได้ผลดีตามที่เห็น ในขณะที่ของที่ดูไม่ดีก็อาจจะใช้การได้ ดังนั้นผุ้ปกครองไม่จำเป็นต้องเลือกแต่สิ่งที่ดี ๆ แต่ควรดูว่าสสิ่งๆ นั้นเมือ่นำไปปฏิบัติแล้วได้ประโยชน์หรือไม่ เพราะเมือจุดหมมายปลายทางหรือผลที่ได้มันได้ประโยชน์ จะถือว่าสิ่งๆ นั้นเป็นสิ่งทีดี
- ผุ้ปกคองไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี แต่ควรแสร้งแสดงใหคนอื่นคิดวาเป็นคนดี ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการเป็นคนดีเสียเองซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร
- ผุ้ปกครองควรให้คนกลัวมากกว่าคนรัก เพราะความรักอาจกลายเป้นความเกลียด ผู้ปกครองจึงควรใช้อำนาจและความรุนแรงเพื่อให้ผุ้อื่นกลัว
- หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ เพราะการปนะจบสอพลอ คือความอ่อนแอ และทำให้ลุ่มหลง ไม่อาจมองเห็นความจริงได้ ผุ้ปกครองจึงควรสนับสนุนการพูดความจริงและตั้งคนฉลาดเป็นที่ปรึกษา และรับประกันเสรรภาพ ของที่ปรึกษาที่จะพูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา
- ผู้มีอำนาจย่อมเป็นผู้ถูกเสมอ เพราะคนมีอำนาจจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีมครกล้าว่าผิด จุดมุ่งหมายย่อมสำคัญกว่าวิธีการ จะทำอะไรก็ไดเพื่อให้บรรลุจุดหมาย
- ผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่ที่ทางสายกลาง เมื่อจะทำอะไรเต็มที่และเปิดเผย มาดเคียเวลลีกว่าวว่า เราไม่สามารถรับใช้พระเจ้า และซีซาร์ได้ในขณะเดียวกัน หรือเราไม่สามรถถือดาบกับไบเบิลได้พร้อมๆ กัน…..
       มาเคียเวลลีนั้นถือว่าการใช้กำลังหรือการหลอกลวงไม่เป็นที่น่าละอายแต่อย่างใดถ้าหากวิธีการนั้นจะทำให้เปรเทศมั่นคงขึ้น ความคิดดังกล่าวมีผุ้นำไปใช้แก้ปัญหาทั้งในประเทศประชาธิปไตยและอำนาจนิยม ในทางประชธิปไตยนั้นไม่มีปัญหามากนัก แต่ในทางอำนาจนิยมนั้นมักจะต้องประสบกับภัยสงครามอยู่เนื่องๆ เพราะผุ้ชนะก็จะเป็นฝ่ายถูกเสมอ “ อำนาจคือธรรม” มาเคียเวลลี มีส่วนในการก่ออิทธิพลอย่างสำคัญต่อนักยุทธศสตร์และวีรบุรุษสำคัญๆ หลายท่าน ทั้งจากมาเคียเลลีเองและจากสานุศิษย์ของมาเคียเวลลีด้วย ผุ้ที่ได้รับอิทธิพลที่สำคัญๆ อาทิ โทมมัส เจปเฟอร์สัน นิโคไล เลนิน และอดอฟ ฮิตเลอร์ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Thai-Japan

    สงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระประเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎร์
    พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940)
กรณีพิพาทอินโดจีน สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2483(ค.ศ.1940)เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองรวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคือจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112(Franco-Siamese War “สงครามฝรั่งเศษ-สยามการหาประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนไม่ได้ทั่งถึง
      การก่อกบฏในเวียดนาม ที่เกิดเป็นระยะๆ การปราบฮ่อ ซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฎไท่ผิงในจีน สร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่ปารีสมากยิ่งขึ้น ผลคือไทยต้องยอมยกดอนแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งนำมาซึ่งการสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยใรเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา)
   พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941)
     จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และผุ้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที่ ท่านกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เกิดการยิงต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับฝรั่งเศส ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จ.ตราดเป็นการยุทธที่กล่าวถึงกันมากที่สุดแม่เรื่อหลวงธนบุรจะถูกจมลง แต่ก็สร้างความเสียหายแก่ทางฝรั่งเศสยังผลให้ฝรั่งเศสไม่รุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำไทยอีก การต่อสู้คงดำเนินมาถึงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ.1941)ไม่มีที่ท่าว่าจะ
ยุติญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ยุติลงโดยทางฝรั่งเศสคืนดินแดนบางส่วนให้แก่ไทย
     หลังจากการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีการคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสุประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน
ญี่ปุ่นยกพลขึ้นขึ้นบกที่ประเทศไทยและมาลายา ในวันเดียวกันกับการโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบิร์ล ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศณีธรรมราช สงขลา สุราษฏร์ธานี ปัตตนี และบางปู สมุทรปราการ และบุกเข้าประเทศภาคพื้นดินที่อรัฐประเทศ ยุวชนทหารไทยต่อสู้อย่างกล้าหาญภายใต้การนำของ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ที่สะพานท่านางสังฆ์… รัฐบาลไทยพ่ายแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่น
    พ.ศ. 2485 (ค.ศ.1942)
     “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย” มีผลให้ไทยเข้าร่วมกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว และตามด้วยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 (ค.ศ.1942)
   กติการสัญญาฯ สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายทางการทหารของญี่ปุ่นต่อไทยที่เน้นการดึงไทยเข้าเป็นพันธมิตรในการทำสงครามมากกว่าที่จะชเครอบครองเหตุปัจจัยเนื่องจากไทยเป็นดินแดนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองตะวันตกและโดยหลักการยังคงดำเนินนโยบายเป็นกลางในสงคราม นอกจานั้นสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยที่เชื่อมต่อกับอาณานิคมของอังกฤษคือพม่าและมลายู ทำให้ไทยมีความสำคัญในฐานะเป็นฐานปฏิบัติกาทางการทหารที่จะสนับสุนกองทัพญี่ปุ่นในการโจมตีดินแดนทั้งสอง อีกทั้งไทยเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตเสบียงอาหารเพื่ป้อนกองทัพญี่ป่น และความอุดมสมบูรณ์ในการผลิตอาหารนี่เองยังทำให้ไทยเหมาะเป็นพื้นที่ตั้งรับในกรณีที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบอีกด้วย
     ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นจึงดำเนินไปด้วยดีประกอบกั่บหลวงพิบูลสงครามยังเล็งผลเลิศบางประการจากากรให้ความร่วมือกับญี่ปุ่น ดังปรากฎในกติกาสัญญาพันธไมตรีที่มีข้อตกลลับต่อท้าย ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างไทยและญี่ปุ่น..
     ความร่วมมือระหว่งกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยเกิดขึ้นภายหลังจกาการทำ “ข้อตกลงร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทย”เมื่อต้นปี ถึงแม้ข้อตกลงฉบับนี้จะใช้คำว่าร่วมรบแต่อันที่จริงแล้ว กองทัพญี่ปุ่นหมายถึงการที่กองทัพไทยจะต้องอยู่ภายใต้การชี้นำของญี่ปุ่น ซึ่งการร่วรบระหว่างทหารญี่ปุ่นและทหารไทยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมืองกองทัพญี่ปุ่นได้เปรียบในการรบด้านพม่าตลอดจนถึงยูนนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลพิบูลสงครามมีความปรารถนาอย่างรแกล้าที่จะได้ครอบครอง เนื่องจากความเชื่อที่ว่าดินแดนดังกล่าวคือดินแดนที่ไทยสูญเสียให้กับอังกฤษในสมัยล่าอาณานิคม
     “เค้าโครงในการร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทยต่อจีน”ในเค้าโครงดังกล่าวกองทัพพายัพของไทยซึ่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของญี่ปุ่นโดยมีพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์เป็นแม่ทัพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการบุกพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ได้บุกเข้าไปทางรัฐฉานของบพม่าและเข้ายึดเชียงตุงแต่เมื่อเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวเกิดความขัดแย้งระหว่งกองทัพใหญ่ภาคใต้ของญี่ปุ่นกับกองทัพพายัพของไทยในเรื่องการครอบครองดินแดนในรัฐฉาน ซึ่งสุดท้ายความขัดแย้งดังกล่าวส้นสุดลงภายหลังจากญี่ปุ่นยกเมื่องเชียงตุงและเมืองพานให้กับไทยในปี 2486 เมื่อครั้งที่นายพล โตโจ เดินทางมาเยื่อนกรุงเทพฯ
     - “กรณีบ้านโป่ง” เป็นเพียงชนวนที่ทำให้ความไม่พอใจของรัฐบาลไทยต่อญี่ปุ่นที่สั่งสมมาก่อนหน้านี้เปิดเผยให้เห็นชัดเจนขึ้นเท่านั้น อันที่จริงความสัมพันธ์ระหว่งประเทศพันธมิตรทังสองเริ่มสั่นคลอนภายหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจตั้งกระทรวงมหาเอเซียบูรพาขึ้นในเดือนพฤศจิกา พ.ศ. 2485 เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการที่สัมพันธ์กับดินแดนต่าง ๆ ในวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเซียบูรพา ยังความไม่พอใจแก่รัฐบาลไทยเป็ยอย่างยิงเนื่องจากการที่กิจการที่เกี่ยวกับประเทศไทยต้องเข้าไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาเอเซียบูรพาเช่นเดียวกับแมนจูก็กและจีนที่มีรัฐบาลหุ่นของญี่ปุ่นปกครองอยู่ ทำให้สถานะของไปทยเปรียบเสมือนประเทศที่อยู่ในการควบคุมของญี่ปุ่น ซึ่งประเนเรื่องสถานะของไทยในความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากต่อผู้นำรัฐบาลไทยในขณะนั้น

     - เหตุการณ์น้ำท้วม ปลายปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญที่พระนครและธนบุรี ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายไปอีก สภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ขาดแคลน เกิดการกักตุนสินค้าเกิดเป็น “ตลาดมืด” และพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้ร่ำรวยไปตามๆ กันเกิดเป็น “เศรษฐีสงคราม” แต่เครื่องบิน บี 29 หยุดทำการทิ้งระเบิดเช่นกัน
     - กองพลทหารรถไฟที่ 9 เข้ามาปฏิบัติภารกิจภายหลังจากญี่ปุ่นวางโครงสร้างทางรถไฟเชื่อมไทย-พม่า สังกัดอยู่กับกองทัพใหญ่แป่งภาคพื้นทิศใต้ ซึ่งมีกองบัญชากากรอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ในมลายู มีสำนักงานแยกต่างหากอยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติในกรุงเทพ กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยมีหน้าทีเฉพาะการติดต่อกับรัฐบาลไทยและให้ความช่วยเหลือโครงการสร้างทางรถไฟเท่านั้น
      พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943)
“กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยมีกองบัญชากากรอยู่ที่หอการค้าจีนที่ถนนสาทร กรุงเทพ อยู่ภายใต้การบลังคับบัญชาของพลโทนากามุระ อาเคโตะ  มีหน้าที่สำคัญสองประการคือ ป้องกันไทยซึ่งเป็นที่มั่นแนวหลังให้กับสมรุภูมิพม่าและมลายู และหน้าที่ในการดูแลกองทัพญี่ปุ่นที่เดินทัพผ่านประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักทั้งสองของกองทัพญ่ปุน่นประจำประเทศไทยมีลักษณะในการดูแลความสงบเรียบร้อยมากกว่ามี่จะเป็นกองทัพเพื่อการสู้รบ  กองกำลังญี่ปุ่นในประเทศไทยจึงไม่มีกำลังที่ใหญ่โตนัก เป็นการรวบรวมกองกำลังบางส่วนที่เคยสังกัดอยู่กับกองลัญาการใหญ่ภาคพื้อนทิศใต้(สิงคโปร์)ย้ายมาสังกัดกับหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ ภาระกิจอันดับแรกคือการจัดการกับปัญหาหนี้สินที่กองทัพญี่ปุ่นติดค้างรัฐบาลและราษฎรท้องถ่นตลอดระยะเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามรตั้งฐานในไทย และจัดพิมพ์คู่มือสำหรับทหารเกียวดับ
มารยาทและการปฏิบัติตัวกับชาวไทย แต่โดยเนื้อแท้สภานะการณ์สงครามเท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรักษาพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสอง ความเสียปรียบในสงครามของกองทัพญ๊ปุ่นปรากฎให้เห็นและรับรู้กันทั่งไปภายหลังจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มโจมตีกรุงเทพในปลายปี 2486 การเปลี่ยนแปลงบทบาทของกองทัพญี่ปุ่นต่อประจำประเทศไทยก็เริ่มเกิดขึ้น
     “การทิ้งระเบิดในประเทศไทย” ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการทิ้งระเบิด ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิด ระหว่าง ปี พ.ศ. 2485-2488 เช่น สถานนีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยาดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น…เป็นต้น
      ทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ทันบีอูซายัด จะถูกขนานนามว่า “ทางรถไฟสายมรณะ”แต่ความสำเร็จในการก่อสร้างที่ใช้เวลาเพียงประมาณหนึ่งปีก็สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทัพญี่ปุ่น ตลอดจนถึงกลุ่มพ่อค้าเมืองหลงและพ่อค้าท้องถ่นที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการจัดจ้างแรงงาน



วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Georgy Zhukov

     จอมพล เกออร์กี จูคอฟ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหภาพโซเวียต ผู้บัญชาการทหารคนสำคัญ ผู้บัญชาการกองทัพแดงในการปลดปล่อยสหภาพโซเวียต จากการรุกรานของนาซี ปลดปล่อยยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ และเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน
  
ซูคอฟ เกิดในครอบครัวชาวรัสเซีย 1915 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารระว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังการปฏิวัติเดือนตุลา เขาได้เข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค และต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซียซูคอฟขึ้นเป็นผู้บัญชาการกรมในปี 1930 ซูคอฟเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในทฤษฎีใหม่ของสงครามยานเกราะ ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการวางแผนการรบที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย เน้นระเบียบวินัยและความเข้มงวด เขาเป็นหนึ่งในนายทหารไม่มากนักที่รอดพ้นจากการกวาดล้างกองทัพครั้งใหญ่ของสตาลิน
     1938 ซูคอฟเป็นผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพโซเวียตมองโกเลียที่ 1 และบัญชากากรรบกับ กองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่น ที่บริเวณพรมแดนมองโกเลียกับรัฐแมนจูกัวของญี่ปุ่นในสงครามอย่างไม่เป็นทางการ ญี่ปุ่นหลังจะทดสอบกำลังในการป้องกันเขตแดนของโซเวียต จนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว เรียกว่า การรบแห่งฮาลฮิล โกล ซูคอฟสามารถชนะสงครามอย่างง่ายดายชื่อเสียงของเขาไม่เป็นที่รู้จักต่อภายนอกเนื่องจากเป็นช่วงเวลาการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดีซูคอฟได้รับการเลือนยศเป็นพลเอก และได้เป็นประธานเสนาธิการกองทัพแง แต่เพราะความขัดแย้งกับสตาลิน เขาจึงถูกปลด หลังจากนาซีบุกสหภาพโซเวียตได้ไม่นาน
      เนื่องจากการเป็นนายทหารในไม่กี่นายที่กล้าท้วงติงผู้นำ แต่เวลาก็เป็นเครืองพิสูจน์ว่าข้อท้วงติงของเขานั้นถูก เขาถูกเรียกตัวกลับมาบัฐชาการแนวรบกลางเพื่อปกแองกรุงมอสโ ซึ่งเขาก็สามารถทำได้สำเร็จ สตาลินจึงยอมรับฟังนายทหารของเขามากขึ้น  ซูคอฟกลับมาเป็นนายทหารคู่ใจสตาลินอีกครั้ง ปีต่อมา ซูคอฟได้รับแต่งตั้งเป็รรองผู้บัญชาการสูงสุดและส่งไปดูแลสตาลินกราด ซึ่งได้สร้างผลงานคือการทำให้กองทัพที่ 6 ของเยอรมันยอมจำนนแม้โซเวียตจะเสียทหารไปเป็นล้านก็ตาม
       ซูคอฟ ดูแลการตีฝ่ากรปิดล้อมเลนินกราดครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีกเยวกัน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการที่เคิสก์ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม หลังจากนั้นก็ดูแลเรื่องการปลดปล่อยเลนินกราดที่ประสบความสำเร็จ เดือนมกราปี 1944  ซูคอฟ นำกองทัพโซเวียตในการรุภายใต้รหัสปฏิบัติการว่า ปฏิบัติการเบรเกรชั้น ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปฏิบัติการณ์ทางทหารที่สุดยอดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และนำกองทัพโซเวียตยึดกรุงเบอร์ลินในปี 1945 เยอรมันยอมแพ้อย่างไม่มีเงือนไข

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Operation Husky

     การบุกเกาะชิชิลีภายใต้การปฏิบัติการฮัสกี้ เป็นหนึ่งในปฏิบัติการหลักในสงครามโลกครั้งที่สองของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อยึดครองเกาะชิชิลีจากฝ่ายอักษะ  เป็นการเปิดฉากของการทัพอิตาลี
     ปฏิบัติการฮัสกี้เริ่มต้นขึ้นในคืนระหว่างวันที่ 9 และวันที่ 10 กรกฎาคม 1943 และยุติลงในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกัน โดยฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถบรรลุเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์จากการขับไล่กองกำลังทางบก ทางน้ำและทางอากาศของฝ่ายอักษะออกจากเซิชิลีได้สำเร็จ ยังผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามรถควบคุมน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมุสโสลินีถูกขับไล่ให้พ้นจาตำแหน่างนายกรัฐมนตรี่อิตาลี ความสำเร็จดังกล่าวปูทางสู่การรุกคืบในอิตาลีแผ่นดินใหญ่ในเวลาต่อมา
    แผนการดำเนินงานฮัสกี้เรียว่าโจมตีทั้งบนบกและในน้ำ กองทัพอเมริกาดำเนินการโจมตีเชื่อมโยงไปถึงทางใต้และทางตะวันออกและบนชายฝั่งทางตอนใต้กลางของเกาะซิชิลี โดยการจู่โจมซึ่งอยู่ทั้งบนบกและในน้ำปืนใหญ่ยังสนับสนุนจากเรือรบแต่มีคำสั่งห้ามการสนับสนุนทางอากาศ โครงสร้างทางคำสั่งที่ซับซ้อนซึ่งต้องโจมตีพร้อมกันทั้งทางบกและทางเรือดำเนินการโดย นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนเฮาร์ และนายพลแห่งแอฟริกาเนือ ฮารอด อเล็กซานเดอร์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนำทหารอังกฤษเข้าโจมตีชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาะซิชิลีร่วมกับอเมริกา
     หลังจากการได้รับชัยชนะในแอฟริกาเหนือของสัมพันธมิตรการปะรเมินสภานการณ์ของฝ่ายอักษะย่อมประเมินออกว่าการยกทัพจากแอฟริกาฝ่านไปยังทะเลยุโรปใต้ของคาบสมุทรอิตาลีนั้นเหมาะที่จะเป็นจุดสกัดการเคลื่อนพลของฝานสัมพันธมิตร การยกพลขึ้นบกที่ชิชิลีจึงเป็นความเสียงต่อการสูญเสียเป็นอย่างยิ่ง
    โดยแผนการของฝ่ายสัมพันธมิตรคือการนำกำลังในอแฟริกาเหนือขึ้นบกที่ฝั่งประเทศอิตาลีเพื่อเข้าสู่เยอรมันต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้นำไปสู่การถกเถียงของคณะการวางแผนของสัมพันธมิตร ที่จะใช้วิธีการข่าวสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ฝ่ายเยอรมัน เพื่อเบนความสนใจในการตั้งรับที่ชิ
ชิลี และอิตาลี
     การข่าวฝ่ายสัมพันธมิตร คิดออกมาว่าการให้ฝ่ายเอยมันรับข่าวล่วงนั้นควรเป็นเอกสารของนายทหารชั้นสูงในคณะเสนาธิการผสมกองทัพสัมพันธมิตรที่ทางเยอรมันรู้ดีวานายทหารเหล่านั้นอยู่ในฐานะที่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับแผน คือควรจะส่งสารรูปแบบใดเพื่อที่จะสามารถลวงฝ่ายเยอรมัน แต่วิธีการที่จะให้สารถึงมือเยอรมันนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ธรรมดาคือการส่งสารโดยศพ ซึ่งวิธีการนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปเพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากผุ้บังคับบัญชา โครงการก็ต้องล้มไป
   การเตรียมการอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่การเลื่อกศพ การเลือกบริเวณที่จะปล่อยศพ ร่วมถึงพาหนะที่จะใช้ปล่อยศพ แผนการนี้เป็นแผนการที่เสี่ยงต่อความล้มเหลว

    หลังจากปฏิบัติการตามแผนที่ได้วางไว้ คณะวางแผนก็ใจจดใจจ่อเผ้าดูข่าวกรองความเคลื่อนไหวของกองทัพเยอรมันและอิตาลีในทะเลเมลิเตอร์เรเนียน ปลายพฤษภามีการเคลื่อนย้ายกองพลยานเกราะที่ 1 จากภาคใต้ฝรั่งเศสไปตั้งมั่นที่เมืองทริโปลิสในกรีซ กองบัญชาการกองทัพเรือเยอรมันได้สั่งการให้วางทุ่นระเบิดเพิ่มขึ้นอีก 3 แนวที่ชายฝั่งกรีซ ทหารเรือเยอรมันในทะเลอีเจียนได้รับคำสั่งให้ดูแลแนวทุ่นระเบิดตามฝั่งตะวันตกของกรีซแทนทหารเรืออิตาลี ตอนต้นเดือนมิถุนายนมีการย้ายกองเรือตอร์ปิโดจากชิชิลีไปยังฐานทัพในทะเลอิเจียน และคอร์ซิการรวมทั้งบางส่วนของชายฝั่งด้านเหนือของชิชิลีด้วย การปฏิบัติการ Mince Meat ได้ผล การยกพลของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชิชิลี ในวันที่ 10 กรกฏาคม รายงานการปฏิบัติการยุทธการ Husky สรุปการสูญเสียทหารในการโจมตียกพลขึ้นบกมีจำนวนต่ำกว่าที่ประมาณการไว้มาก ทั้งนี้และทั้งนั้นเนื่องจากปฏิบัติการ การปล่อยข่าวล่วง “มินซ์มีท” มีเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่าฝ่ายอักษะเชื่อว่าสัมพันธมิตรจะยกพลขึ้นบกที่ ซาร์ดิเนีย และเพโลพอนนิซัส ในกรีซนั้นเอง

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:UN

  

             องค์การระว่างประเทศ องค์กรสหประชาชาติ United Nations Organizaton จัดตั้งขึ้นโดยยึดหลักสันติภาพและภารดรภาพเป็นหลัก
     ในการแสดงหาสันติภาพเริ่มขึ้นที่ยุโรป ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเคลื่อนไหวที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติภาพอันถาวร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันแสวงหาลู่ทางขนัดปัญหาระหว่างประเทศโดยอาศัยการประชุมปรึกษากัน เช่นการปรชุมแห่งเวียนนา ,การประชุมเอกซ์ลาซาแปล เป็นต้น เป็นสมัยที่เรียกว่า สมัยความร่วมือแห่งยุโรป Concert of Europe ต่อมาเกือบร้อยปี มีการประชุมที่กรุงเฮก ในปี 1899 และ 1907 เพื่อพิจารณาลดอาวุธทั่วไป ความร่วมมือยังปรากฏในรุ)ของความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งสไภพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ สหภาพไปรษณีย์สากลระหว่างประเทศเป็นต้น แต่ความพยายามดังกล่าวได้ผลไม่ถาวร จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานธิบดี วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้พยายามจัดตั้งสันนิบาตชาติ เพื่อดำรงรักษาสันติภาพของโลกในถาวรแต่ในที่สุดสันนิบาตชาติก็ต้องล้มเลิกไป ประเทศต่าง เห็นถึงคุนประโยชน์ของสันนิบติชาติในท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงร่วมมือกนสถาปนาองค์การสหประชาชาติ ขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1945 ในขั้นแรกมีประเทศเข้าร่วมลงนาม 24 ประเทศและประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ
     คำประกาศจากพระราชวังเซนต์ เจมส์ วันที่ 12 มิถุนายน 1941 ซึ่งเป็นเวลาที่สครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่ ผู้แทนประเทศพันธมิตร อังกฤษ แคนาด ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ และผุ้แทนรัฐบาลพลัดถิ่น 8 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันที่พระราชวังเซนต์ เจมศ์ กรุงลอนดอน เพื่อปรึกษากันเกี่ยวกับนโยบายที่จะทำสงคราม ในขณะเดียวกันที่ปรุชุมได้พิจารณาถึงปัญหาการดำรงชีวิตไว้ซึ่งสันติภาพตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ผู้แทนประเทศต่าง ๆ ลงนามในคำประกาศซึ่งเรียกันต่อมาว่า “คำประกาศจากพระราชวังเซตต์ เจมส์”
     หลังจากออก “คำประกาศจากพระราชวังเซต์ เจมส์ แล้วประธานาธิบดี โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกาและวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เจรจากันเกียวกับสันติสุขโลกในอนาคตบนเรือออกัสตา นอกฝั่งหมู่เกาะนิวฟันแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก และได้ร่วมประกาศ “กฎบัติแดตแลนติก”เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1941 เป็นคำประกาศหลักการร่วมกันในการที่จะสถาปนาสันติสุขโลกในอนาคตสาระสำคัญของกฎบัติแอตแลนติก มีใจความดังนี้
-ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้มวลมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้รับความมั่นคงปลอดภัยพ้นจากากรรุกราน
- ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษามีเสรีภาพที่จะเลือกการปกครองแบบใดแบบหนึ่งตามที่ตนปรารถนา
- ประเทศทั้งสองจะส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีสิทธิเท่าเยมกันในด้านการพาณิชย์และการแสงหาวัตถุดิบที่แต่ละประเทศประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของตนให้มั่นคง
- ประเทศทั้งสองประสงค์ที่จะให้ชาติต่าง  ๆร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมค่าแรงงานและปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของกรรมกรให้ดีขึ้น
- ประเทศทั้งสองมีเจตจำนงค์ที่จะให้ทุกประเทศลิกใช้กำลังประหัตประหารกัน
ต่อมารัฐบาลต่าง ๆ 10 ประเทศได้รับรองกฎบัติแอตแลนติกและให้คำมั่นว่าจะร่วมมืออยางเต็มี่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎบัติดังกล่าว ซึ่งในเวลานั้นสหรัฐอเมริกามิได้อยู่ในภาวะสงคราม
     คำประกาศแห่งสหประชาชาติ หรือปฏิฐฐาแห่งสหประชาชาติ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ร่างคำประกาศดังกล่าว โดยมีสี่มหาอำนาจ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรภาพโซเวียต และจีน ได้ร่วมลงนามในคำประกาศแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1942 ต่อมา ประเทศพันธมิตรอีก 24 ประเทศได้ลงนามรับรองด้วย
     คำประกาศฉบับนี้ ทุกประเทศที่ร่วมลงนามพากันให้คำมั่นว่าจะปกิบัติตามความมุ่งหมายและหลักการขอฏณบัติแอตแลนติก จะดำเนินการสงครามต่ไปอย่างเต็มกำลังจนกว่าจะได้ชัยชนะและจำม่แยกกันทำสนธิสัญญาสันติภาพ
     31 ตุลาคม 1943 อังกฤษ จีน สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ปรุชะมกันเกี่ยวักบการสงครามได้ออกคำประกาศกรุงมอสโก แสดงเจตจำนงที่จะสร้างองค์การใหญ่ระหว่างประเทศขึ้งองค์การหนึ่ง โดยยึดหลักอธิปไตย ความเสมอภาค และการที่แตะละรัฐใฝ่ใจในสันติสุขเป็นมาตรฐาน และจะเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ วึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวไมว่าใหญ่หรือเล็กเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้เพื่อช่วยำนฝดุงรักษาสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยระหว่างประเทศไว้
     อีกหนึ่งเดือนต่อมาต่อมา โรสเวลล์ สตาลิน และเชอร์ชิลล์ ประชุมกันอีกครั้งที่ เตหะราน ประเทศอิหร่าน การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การออกคำประกาศยืนยันความจำเป็ฯที่จะต้องจัดตั้งองค์การโลกขึ้น การประชุมที่เตหะรานนำไปสู่การประชุมครั้งใหญ่ที่คฤหาส์นดัมบาร์ตันโอกส์ ณ กรุงวอชิงตัน ในปี 1944 ผู้แทน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน สหภาพโซเวียต ได้ร่างข้อเสนอคดัมบาร์ตัน โอคส์ขึ้น ข้อเสนอนี้เป็นโครงการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามว่า องค์การสหประชาชาติ
     โรสเวลต์ เชอร์ชิลล์ และสตาลิน ประชุมกันอีกครั้งที่มืองยัลตา ในคาบสมุทรไครเมีย ในปี 1945 เพื่อพิจารณาการยึดครองเยอรมนีเมื่อสงครามยุติแล้ว ในระหว่างการประชุมนี้ ได้มีการพิจารณาโครงร่างสหประชาชาติ หรือข้อเสนอดัมบาร์ตัน โอคส์ ในที่สุดที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสามและพันธมติร จะดำเนินการสถาปนาองค์การระหวางประเทศขึ้นโดยเร็วที่สุด และจะจัดให้มีการประชุมครั้งใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันจัดทำกฎบัติขององค์การสหประชาชาติต่อไป
     การประชุมที่นครซานฟรานซิสโกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1945 ผุ้แทนประเทศต่าง ๆ 51 ประเทศเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฎบัตรสหประชาชาติ การประชุมครั้งสิ้นสุดในวันที่ 25 มิถุนายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันที่ที่ประชุมลงคะแนนเสียเป็นเอกฉันท์รับรองกฎบัตรนยี้ วันต่อมา ผุ้แทนประเทศต่าง ๆ ได้ลงนามในกฎบัตรแห่งองค์การ  หลังจากนี้ประเทศส่วนใหญ่ที่ร่วมลงนามได้รสัตยบันในวันที่ 24 ตุลาคม ปี1945 วันที่ 24 ตุลาคม จึงเป็นวันสหประชาชาติในเวลาต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Douglas MacArthur


     แมคอาร์เธอร์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯตะวันออกไกลและช่วงชิงพื้นที่มหาสทุทรแปซิกฟิก ด้านตะวันตกเฉียงใต้จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ออสเตรเลียเป็นฐาน วลีที่ที่มีชื่อเสียงที่แมกอาเธอร์กล่าวแก่ชาวฟิลิปปินส์ระหว่างถอยหนีกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์คือ “ข้าพเจ้าจะกลับมา I shall Return” และเมื่อกลับมาตามคำสัญญาหลังการถอยไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย แมกอาเธอร์ ได้ประกาศอีกครั้งในขณะที่เดินลุยน้ำลงจาเรือที่อ่าวเลย์เตว่า “ข้าพเจ้ากลับมาแล้ว I Have Return” พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ Douglas MacArthur เป็นจอมพลชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงในการบัญชาการรบลภาคพื้นแปซิกฟิก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการผู้ที่ให้ญี่ปุ่นจดสนธิสญญาพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายพันธมิตร ณ เรือประจัญบานยูเอสเอส มิซูรี นอกจานี้เขายังเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ ญี่ปุ่น พัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังเป็นผู้บัญชาการสมัยสงครามเย็นในสงครามเกาหลี อีกด้วย

   พลเอก แมกอาร์เธอร์ทำหน้าที่เป็นผู้รับการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นทางการของญี่ปุ่น เนื่องจากเขามีเชื้อสายของ นาวเอก พิเศษ แมททิว คราวเรท เพอรี่ ผุ้เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และดำรงตำแหน่งผุ้บัญชาการยึดครองประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้จัดการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของญี่ปุ่นที่กำหนดให้สมเด็จพระจักรพรรดิ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและห้ามีกองกำลังทหาร ญี่ปุ่นจึงมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจและฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเนื่องจากไม่ต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ
     แมกอาเธอร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีเกือบจะสามารถเอาชนะเกาหลีเหนือ แต่ก็ถูกปลดออกจากหน้าที่ เนื่องจากการเตรียมบุกประเทศจีน และเสนอให้มีการใช้ระบิดประมาณุ กับประเทศจีนซึ่งเป็นผุ้สนับสนุนหลักของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี ซึ่งเป็นการพยายามฝ่าฝืนคำสั่งของประธานาธิบดี แฮร์รี่ เอส.ทรูแมน
การปฏิบัติการทางทหาร แบบใหม่ของกลยุทธวิวัฒนาการมาใหม่ คือ ในด้านยุทธนาวี การปฏิบัติการในระยะยาวได้ใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องยินเป็นอาวุธสำคัญในการรบรุก เป็นพัฒนาการซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสิ้นสุดความได้ปรียบที่จะเป็นฝ่ายบงมือปกิบัตการจากรเอรบหลัก ในการรบตามเกาะ การให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทหารบก ทหารเรือและกำลังทางอากาศก็เป็นการเลือกที่จะเป็นการรบภายใต้การบัญชาการอันเดียวกัน นี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคการรบอเมริกาแบบ “กระโดดที่ละเกาะ โดยมิได้มุ่งยึดดินแดนตามความหมายทั่วยไปหากแต่มุ่งรบเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานทัพเพื่อให้เรือรบและเครื่องบินสามารถครอบงำทั้งพื้นที่ในน่านน้ำแปซิฟิคตะวันตกทั้งหมด
     มกราคม 1943 ผู้นำสัมพันธมิตรเปิดการประชุมที่เมืองคาซาบลังก้า ตกลงที่จะฝันยุทธปัจจัยไปสู่สงครามกับญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม มีการดำเนินการดังกล่าวโดยประชุมที่เมืองควีเบค โดยกำหนดตัวผู้บัญชากากรทั้งหลายและร่างยุทธศาสตร์ที่จะปฏิบัติการ ภายในไม่กี่เดือน กองทัพภายใต้การนำของนายพลเรือนิมิตส์ ได้ปฏิบัติการการตัดสินใจนั้น โดยโจมตีหมู่เกาะมาร์แชลล์ในตอนกลางของน่านน้ำแปซิฟิค เป็นการแสดงครั้งแรกสำหรับอีกหลายครั้งถึงการทุ่มสรรพสิ่งอันหนักหน่วงมากมายต่อเกาะอันเป็นเป้าหมายและอัตราที่สามารถจะลดลงได้ถ้าการเสิรมกำลังของฝ่ายข้าศึกถูกกระทำจนเป็นไปไม่ได้ ฐานทัพหลักของควาจาลินได้ถูกยึภายใน 10 วัน ของการต่อสู้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1944 เกาะไซปัน ในหมู่เกาะมาเรียนาส ใช้เวลาเข้ายึดได้นานกว่า และเกี่ยวกับการปฏิบัติการเต็มขั้นของกองทัพเรือในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินส์เพื่อคุ้มครองการยกพลขึ้นบก อย่างไรก็ตาม นี่คือการทำลายสันหลังของแนวการต่อต้านของฝ่ายกองทัพเรือญี่ปุ่นแลได้ปฏิบัติการก้าวหน้ายิ่งกว่านั้นในที่อื่น ๆ เกาะกวมแตกในเดือนสิงหาคม กลุ่มเกาะปาเลาแตก ในเดือนกันยายสเป็นการทำให้การรุกคืบหน้ากว่า สองพันไมล์ เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์น้อยกว่า 1 ปี
     การเน้นหนักมุ่งไปที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของน่านน้ำแปซิฟิค ซึ่งนายพลดักกลาส แมคอาเธอร์ บัญชาการอยู่

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...