วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

The price

     แนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยใหม่ Modren Strategy แนวคิดเกียวกับเรื่องยุทธศาสตร์สมัยใหม่นั้น ได้เริ่มในตอนปลายศตวรรษที่ 15 ต่อตอนต้นศตวรษที่ 16 กล่าวคือ ได้มีรัฐบุรุษที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียนผู้ไน่งชื่อ มาเคียวเวลลี ซึ่งนับเป็นบุคคลแรกที่ได้พัฒนากฎเกณฑ์ในการใช้กำลังอำนาจทางการเมือง

     ในโลกปัจจุบัน มาเคียเวลลี ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน สิ่งสำคัญที่มาเคียเวลลีกล่าวถึงก็คือ รูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ “พลังอำจาจของรัฐ”ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “องค์ประกอบของพลังอำนาจแห่งชาติ”ตามแนวคิดของมาเคียวเวลลี่ นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสำคัญ 3 ประการ การเมือง สังคม และการทหาร ซึ่งแต่ละประเทศมีพลังอำนาจไม่เท่ากัน บางประเทศีพลังอำนาจมากบางประเทศมีพลังอำนาจน้อย ประเทศที่มีอำนาจมากสามารถใช้พลังอำนาจบับบังคับให้ประเทศที่มีพลังอำนาจน้อยปฏิบัติตามในส่งที่ตนต้องการ ในสมัยนั้นไม่มีการคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญอีกประการคือ “เศรษฐกิจ” ซึ่งมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในระยะต่อมา
     “พลังอำนาจแห่งชาติ” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการศึกษายุทธศาสตร์สมัยใหม่เพราะพลังอำนาจแห่งชาติเป็นเสมือนเครื่องมือ หรืออาวุทธหรือพาหนะที่จะนำไปสู่เป้าหมายอันพึงประสงค์
     แนวคิดเรื่องการใช้พลังอำนาจแห่งชาตินั้น หาใช่เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะตั้งแต่ได้มีการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เป็นต้นมานั้น ไม่ว่าระบบการปกครองจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ต่างก็มีแนวความคิดที่จะใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ทำการปกป้องผลประโยชน์ของตนทั้งนั้น ดังนั้น ประเทศเอกราชต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างพลังอำนาจของตนไว้ให้มากพอ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศอื่นใช้พลังอำนาจที่มากกว่าเข้ามาบับบังคับและทำลายความเป็นอิสระหรือล้มล้างอำนาจสูงสุดของชาติ
     มาเคียเวลลี ได้กล่าวถึงความสำคัญของการข่าว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประมาณสถานการณ์ เรื่องภัยคุกคามทางทหารว่า “สำหรับนายพลแล้ว ไม่มีอะไรที่มีค่ามากไปกว่าความพยายามที่จะหาข่าว่า ฝ่ายข้าศึกกำลังทำอะไรอยู่”
     เมื่อพิจารณาแนวคิดทางยุทธศาสตร์ของมาเคียเวลลร จะเห็นได้ว่า มีลักษณะของการมุ่งเน้นไปสู่จุดหมายปลายทาง และยังเน้นถึงเครื่องมือต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเป็นส่วนมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงความยุติธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์แต่อย่างใดของเพียงแต่ให้ได้มาซึ่งชัยชนะเท่านั้น มาเคียเวลลีได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ The Prince” ตอนหนึ่งว่า
     “กษัตริย์ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะยุติธรมหรือไม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความคงอยู่และความเป็นเอกราชของประเทศ กษัตริย์ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาคำมั่นสัญญา ถ้าหากว่าการรักษาคำมั่นสัญญานั้นจะเป็นผลร้ายต่อประเทศของตน กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนใจบุญ ซื่อตรง หรือเคร่งศาสนาอย่างจริงจังแต่อย่างใด แต่ควรจะแสดงให้คนอื่นเขาเห็นว่าตนเป็นคนใจบุญ ซื่อตรง และเคร่งศสนา ก็เพื่อหลอกคนอื่นให้เขาหลงเชื่อเท่านั้น กษัตรยิ์ต้องรู้จักใช้วิธีของสัตว์โดยเฉพาะของสิงโต และของสุนัขจิ้งจอก..”
     มาเคียเวลลี ได้ชื่อว่าเป็นบิดแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ เป็นักคิดคนสำคัญของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกว่าสัจนิยมในบรรดานักคิดทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ๆ มีบุคคลหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดและอุดมการณ์ของนักการเมืองในทุกยุคทุกสมัย ผุ้ที่ชื่อว่าเป็นทั้ง “นักคิดที่ไร้ศีลธรรม” และบางที่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักคิดที่กล้าหาญ” เพราะว่าเขาพูดความจริงที่ไม่เคยมีใครในโลกพูด เขาพูดถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ในทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา “ The Prince” เผยแพร่ในปี 1532 ซึ่งเสนอแนวความคิดในทางการเมืองแบบใหม่ ก่กึ่งระหว่างประโยชน์และโทษ เนื่อจากผู้นำทรราชหลายๆ คนบนโลกแห่งความจริงได้ยึดเนื้อหาหนังสือเรื่องนี้มาเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศ อาทิ มุสโสลินี ฮิตเลอร์ สตาลินหรือเมาเจ๋อ ตง เลนินล้วนแต่ดำเนินตามทฤษฎีขอเขาทั้งสิ้น เนื้อหาของหนังสือพอสรุปได้ดังนี้
- แยกการเมืองออกจากศาสนา การเมืองและศาสนาเป็นคนละเรื่องกัน การเล่นการเมืองไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรมจรรย ซึ่งไม่เคยมีใครเสนอแนวคิดแบบนี้มาก่อนในขณะที่นักกการเมืองสมัยเก่าบอกว่าผู้ปกครองควรมีคุณธรรม ศีลธรรมจรรยา และพระเจ้า
- รัฐเป็นสิ่งสูงสุด ความต้องการของแต่ละคนที่เข้ามารวมตัวเป็นรัฐคือผลประโยชน์ ดังนันการคงอยู่ของรัฐและเจตจำนงของรัฐจะตองอยู่เหนือสิ่งอื่นใด แม้กระทั้งปัจเจกบุคคล
- ต้องแยกรัฐออกจากศีลธรรมจรรยา ดังนั้นจึงไม่อาจพูดได้ว่ารัฐทำผิดหรือถูก เช่นเดียวกับบุคคลที่เป็นตัวแทนของรัฐ จะไปวินิจฉัยว่าเขาทำผิดหรือถูกไม่ได้เช่นกัน เพราะผลประโยชน์ของรัฐยย่อมเหนือความถูกผิดทั้งปวง
- ผู้ครองนครหรือนักการเมืองเป็นนักฉวยโอกาส ทุกคน แรงจูงที่ทำให้เกิดการเมือง คือผลประโยชน์ ดังนั้นนักการเมืองหรือผุ้ครองนครต้องกระทำการทุกอย่างเมือมีโอกาส เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ
- อย่ากลัวถ้าจะต้องทำผิดบ้าง ผุ้ปกครองที่ประสบความสำเร็จต้องทำผิดบ้าง และควรใช้ประโยชน์จากการทำผิดนั้นด้วย เพราะบางสิ่งบางอย่างที่คนภายนอกมองเห็นว่าดี แต่ในทางปฏิบัติกลับไมได้ผลดีตามที่เห็น ในขณะที่ของที่ดูไม่ดีก็อาจจะใช้การได้ ดังนั้นผุ้ปกครองไม่จำเป็นต้องเลือกแต่สิ่งที่ดี ๆ แต่ควรดูว่าสสิ่งๆ นั้นเมือ่นำไปปฏิบัติแล้วได้ประโยชน์หรือไม่ เพราะเมือจุดหมมายปลายทางหรือผลที่ได้มันได้ประโยชน์ จะถือว่าสิ่งๆ นั้นเป็นสิ่งทีดี
- ผุ้ปกคองไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี แต่ควรแสร้งแสดงใหคนอื่นคิดวาเป็นคนดี ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการเป็นคนดีเสียเองซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร
- ผุ้ปกครองควรให้คนกลัวมากกว่าคนรัก เพราะความรักอาจกลายเป้นความเกลียด ผู้ปกครองจึงควรใช้อำนาจและความรุนแรงเพื่อให้ผุ้อื่นกลัว
- หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ เพราะการปนะจบสอพลอ คือความอ่อนแอ และทำให้ลุ่มหลง ไม่อาจมองเห็นความจริงได้ ผุ้ปกครองจึงควรสนับสนุนการพูดความจริงและตั้งคนฉลาดเป็นที่ปรึกษา และรับประกันเสรรภาพ ของที่ปรึกษาที่จะพูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา
- ผู้มีอำนาจย่อมเป็นผู้ถูกเสมอ เพราะคนมีอำนาจจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีมครกล้าว่าผิด จุดมุ่งหมายย่อมสำคัญกว่าวิธีการ จะทำอะไรก็ไดเพื่อให้บรรลุจุดหมาย
- ผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่ที่ทางสายกลาง เมื่อจะทำอะไรเต็มที่และเปิดเผย มาดเคียเวลลีกว่าวว่า เราไม่สามารถรับใช้พระเจ้า และซีซาร์ได้ในขณะเดียวกัน หรือเราไม่สามรถถือดาบกับไบเบิลได้พร้อมๆ กัน…..
       มาเคียเวลลีนั้นถือว่าการใช้กำลังหรือการหลอกลวงไม่เป็นที่น่าละอายแต่อย่างใดถ้าหากวิธีการนั้นจะทำให้เปรเทศมั่นคงขึ้น ความคิดดังกล่าวมีผุ้นำไปใช้แก้ปัญหาทั้งในประเทศประชาธิปไตยและอำนาจนิยม ในทางประชธิปไตยนั้นไม่มีปัญหามากนัก แต่ในทางอำนาจนิยมนั้นมักจะต้องประสบกับภัยสงครามอยู่เนื่องๆ เพราะผุ้ชนะก็จะเป็นฝ่ายถูกเสมอ “ อำนาจคือธรรม” มาเคียเวลลี มีส่วนในการก่ออิทธิพลอย่างสำคัญต่อนักยุทธศสตร์และวีรบุรุษสำคัญๆ หลายท่าน ทั้งจากมาเคียเลลีเองและจากสานุศิษย์ของมาเคียเวลลีด้วย ผุ้ที่ได้รับอิทธิพลที่สำคัญๆ อาทิ โทมมัส เจปเฟอร์สัน นิโคไล เลนิน และอดอฟ ฮิตเลอร์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...