พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940)
กรณีพิพาทอินโดจีน สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2483(ค.ศ.1940)เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองรวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคือจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112(Franco-Siamese War “สงครามฝรั่งเศษ-สยามการหาประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนไม่ได้ทั่งถึง
การก่อกบฏในเวียดนาม ที่เกิดเป็นระยะๆ การปราบฮ่อ ซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฎไท่ผิงในจีน สร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่ปารีสมากยิ่งขึ้น ผลคือไทยต้องยอมยกดอนแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งนำมาซึ่งการสูญเสียดินแดนประเทศราชของไทยใรเขมรและลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา)
พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941)
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และผุ้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที่ ท่านกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เกิดการยิงต่อสู้ระหว่างทหารไทยกับฝรั่งเศส ยุทธนาวีที่เกาะช้าง จ.ตราดเป็นการยุทธที่กล่าวถึงกันมากที่สุดแม่เรื่อหลวงธนบุรจะถูกจมลง แต่ก็สร้างความเสียหายแก่ทางฝรั่งเศสยังผลให้ฝรั่งเศสไม่รุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำไทยอีก การต่อสู้คงดำเนินมาถึงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ.1941)ไม่มีที่ท่าว่าจะ
ยุติญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ยุติลงโดยทางฝรั่งเศสคืนดินแดนบางส่วนให้แก่ไทย
หลังจากการเข้ามามีบทบาทของญี่ปุ่นในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีการคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสุประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน
ญี่ปุ่นยกพลขึ้นขึ้นบกที่ประเทศไทยและมาลายา ในวันเดียวกันกับการโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบิร์ล ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศณีธรรมราช สงขลา สุราษฏร์ธานี ปัตตนี และบางปู สมุทรปราการ และบุกเข้าประเทศภาคพื้นดินที่อรัฐประเทศ ยุวชนทหารไทยต่อสู้อย่างกล้าหาญภายใต้การนำของ ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ที่สะพานท่านางสังฆ์… รัฐบาลไทยพ่ายแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่น
พ.ศ. 2485 (ค.ศ.1942)
“กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย” มีผลให้ไทยเข้าร่วมกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว และตามด้วยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 (ค.ศ.1942)
กติการสัญญาฯ สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายทางการทหารของญี่ปุ่นต่อไทยที่เน้นการดึงไทยเข้าเป็นพันธมิตรในการทำสงครามมากกว่าที่จะชเครอบครองเหตุปัจจัยเนื่องจากไทยเป็นดินแดนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองตะวันตกและโดยหลักการยังคงดำเนินนโยบายเป็นกลางในสงคราม นอกจานั้นสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยที่เชื่อมต่อกับอาณานิคมของอังกฤษคือพม่าและมลายู ทำให้ไทยมีความสำคัญในฐานะเป็นฐานปฏิบัติกาทางการทหารที่จะสนับสุนกองทัพญี่ปุ่นในการโจมตีดินแดนทั้งสอง อีกทั้งไทยเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตเสบียงอาหารเพื่ป้อนกองทัพญี่ป่น และความอุดมสมบูรณ์ในการผลิตอาหารนี่เองยังทำให้ไทยเหมาะเป็นพื้นที่ตั้งรับในกรณีที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบอีกด้วย
ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นจึงดำเนินไปด้วยดีประกอบกั่บหลวงพิบูลสงครามยังเล็งผลเลิศบางประการจากากรให้ความร่วมือกับญี่ปุ่น ดังปรากฎในกติกาสัญญาพันธไมตรีที่มีข้อตกลลับต่อท้าย ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างไทยและญี่ปุ่น..
ความร่วมมือระหว่งกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยเกิดขึ้นภายหลังจกาการทำ “ข้อตกลงร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทย”เมื่อต้นปี ถึงแม้ข้อตกลงฉบับนี้จะใช้คำว่าร่วมรบแต่อันที่จริงแล้ว กองทัพญี่ปุ่นหมายถึงการที่กองทัพไทยจะต้องอยู่ภายใต้การชี้นำของญี่ปุ่น ซึ่งการร่วรบระหว่างทหารญี่ปุ่นและทหารไทยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมืองกองทัพญี่ปุ่นได้เปรียบในการรบด้านพม่าตลอดจนถึงยูนนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลพิบูลสงครามมีความปรารถนาอย่างรแกล้าที่จะได้ครอบครอง เนื่องจากความเชื่อที่ว่าดินแดนดังกล่าวคือดินแดนที่ไทยสูญเสียให้กับอังกฤษในสมัยล่าอาณานิคม
“เค้าโครงในการร่วมรบระหว่างญี่ปุ่น-ไทยต่อจีน”ในเค้าโครงดังกล่าวกองทัพพายัพของไทยซึ่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของญี่ปุ่นโดยมีพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์เป็นแม่ทัพ มีหน้าที่รับผิดชอบในการบุกพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ได้บุกเข้าไปทางรัฐฉานของบพม่าและเข้ายึดเชียงตุงแต่เมื่อเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวเกิดความขัดแย้งระหว่งกองทัพใหญ่ภาคใต้ของญี่ปุ่นกับกองทัพพายัพของไทยในเรื่องการครอบครองดินแดนในรัฐฉาน ซึ่งสุดท้ายความขัดแย้งดังกล่าวส้นสุดลงภายหลังจากญี่ปุ่นยกเมื่องเชียงตุงและเมืองพานให้กับไทยในปี 2486 เมื่อครั้งที่นายพล โตโจ เดินทางมาเยื่อนกรุงเทพฯ
- “กรณีบ้านโป่ง” เป็นเพียงชนวนที่ทำให้ความไม่พอใจของรัฐบาลไทยต่อญี่ปุ่นที่สั่งสมมาก่อนหน้านี้เปิดเผยให้เห็นชัดเจนขึ้นเท่านั้น อันที่จริงความสัมพันธ์ระหว่งประเทศพันธมิตรทังสองเริ่มสั่นคลอนภายหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจตั้งกระทรวงมหาเอเซียบูรพาขึ้นในเดือนพฤศจิกา พ.ศ. 2485 เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการที่สัมพันธ์กับดินแดนต่าง ๆ ในวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเซียบูรพา ยังความไม่พอใจแก่รัฐบาลไทยเป็ยอย่างยิงเนื่องจากการที่กิจการที่เกี่ยวกับประเทศไทยต้องเข้าไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาเอเซียบูรพาเช่นเดียวกับแมนจูก็กและจีนที่มีรัฐบาลหุ่นของญี่ปุ่นปกครองอยู่ ทำให้สถานะของไปทยเปรียบเสมือนประเทศที่อยู่ในการควบคุมของญี่ปุ่น ซึ่งประเนเรื่องสถานะของไทยในความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากต่อผู้นำรัฐบาลไทยในขณะนั้น
- เหตุการณ์น้ำท้วม ปลายปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญที่พระนครและธนบุรี ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายไปอีก สภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ขาดแคลน เกิดการกักตุนสินค้าเกิดเป็น “ตลาดมืด” และพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้ร่ำรวยไปตามๆ กันเกิดเป็น “เศรษฐีสงคราม” แต่เครื่องบิน บี 29 หยุดทำการทิ้งระเบิดเช่นกัน
- กองพลทหารรถไฟที่ 9 เข้ามาปฏิบัติภารกิจภายหลังจากญี่ปุ่นวางโครงสร้างทางรถไฟเชื่อมไทย-พม่า สังกัดอยู่กับกองทัพใหญ่แป่งภาคพื้นทิศใต้ ซึ่งมีกองบัญชากากรอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ในมลายู มีสำนักงานแยกต่างหากอยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติในกรุงเทพ กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยมีหน้าทีเฉพาะการติดต่อกับรัฐบาลไทยและให้ความช่วยเหลือโครงการสร้างทางรถไฟเท่านั้น
พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943)
“กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยมีกองบัญชากากรอยู่ที่หอการค้าจีนที่ถนนสาทร กรุงเทพ อยู่ภายใต้การบลังคับบัญชาของพลโทนากามุระ อาเคโตะ มีหน้าที่สำคัญสองประการคือ ป้องกันไทยซึ่งเป็นที่มั่นแนวหลังให้กับสมรุภูมิพม่าและมลายู และหน้าที่ในการดูแลกองทัพญี่ปุ่นที่เดินทัพผ่านประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักทั้งสองของกองทัพญ่ปุน่นประจำประเทศไทยมีลักษณะในการดูแลความสงบเรียบร้อยมากกว่ามี่จะเป็นกองทัพเพื่อการสู้รบ กองกำลังญี่ปุ่นในประเทศไทยจึงไม่มีกำลังที่ใหญ่โตนัก เป็นการรวบรวมกองกำลังบางส่วนที่เคยสังกัดอยู่กับกองลัญาการใหญ่ภาคพื้อนทิศใต้(สิงคโปร์)ย้ายมาสังกัดกับหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ ภาระกิจอันดับแรกคือการจัดการกับปัญหาหนี้สินที่กองทัพญี่ปุ่นติดค้างรัฐบาลและราษฎรท้องถ่นตลอดระยะเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามรตั้งฐานในไทย และจัดพิมพ์คู่มือสำหรับทหารเกียวดับ
มารยาทและการปฏิบัติตัวกับชาวไทย แต่โดยเนื้อแท้สภานะการณ์สงครามเท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรักษาพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสอง ความเสียปรียบในสงครามของกองทัพญ๊ปุ่นปรากฎให้เห็นและรับรู้กันทั่งไปภายหลังจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มโจมตีกรุงเทพในปลายปี 2486 การเปลี่ยนแปลงบทบาทของกองทัพญี่ปุ่นต่อประจำประเทศไทยก็เริ่มเกิดขึ้น
“การทิ้งระเบิดในประเทศไทย” ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการทิ้งระเบิด ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิด ระหว่าง ปี พ.ศ. 2485-2488 เช่น สถานนีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยาดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น…เป็นต้น
ทางรถไฟสายหนองปลาดุก-กาญจนบุรี-ทันบีอูซายัด จะถูกขนานนามว่า “ทางรถไฟสายมรณะ”แต่ความสำเร็จในการก่อสร้างที่ใช้เวลาเพียงประมาณหนึ่งปีก็สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทัพญี่ปุ่น ตลอดจนถึงกลุ่มพ่อค้าเมืองหลงและพ่อค้าท้องถ่นที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการจัดจ้างแรงงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น