จอมพล เกออร์กี จูคอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหภาพโซเวียต ผู้บัญชาการทหารคนสำคัญ ผู้บัญชาการกองทัพแดงในการปลดปล่อยสหภาพโซเวียต จากการรุกรานของนาซี ปลดปล่อยยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ และเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน
ซูคอฟ เกิดในครอบครัวชาวรัสเซีย 1915 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารระว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังการปฏิวัติเดือนตุลา เขาได้เข้าร่วมกับพรรคบอลเชวิค และต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซียซูคอฟขึ้นเป็นผู้บัญชาการกรมในปี 1930 ซูคอฟเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในทฤษฎีใหม่ของสงครามยานเกราะ ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องการวางแผนการรบที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย เน้นระเบียบวินัยและความเข้มงวด เขาเป็นหนึ่งในนายทหารไม่มากนักที่รอดพ้นจากการกวาดล้างกองทัพครั้งใหญ่ของสตาลิน
1938 ซูคอฟเป็นผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพโซเวียตมองโกเลียที่ 1 และบัญชากากรรบกับ กองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่น ที่บริเวณพรมแดนมองโกเลียกับรัฐแมนจูกัวของญี่ปุ่นในสงครามอย่างไม่เป็นทางการ ญี่ปุ่นหลังจะทดสอบกำลังในการป้องกันเขตแดนของโซเวียต จนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว เรียกว่า การรบแห่งฮาลฮิล โกล ซูคอฟสามารถชนะสงครามอย่างง่ายดายชื่อเสียงของเขาไม่เป็นที่รู้จักต่อภายนอกเนื่องจากเป็นช่วงเวลาการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดีซูคอฟได้รับการเลือนยศเป็นพลเอก และได้เป็นประธานเสนาธิการกองทัพแง แต่เพราะความขัดแย้งกับสตาลิน เขาจึงถูกปลด หลังจากนาซีบุกสหภาพโซเวียตได้ไม่นาน
เนื่องจากการเป็นนายทหารในไม่กี่นายที่กล้าท้วงติงผู้นำ แต่เวลาก็เป็นเครืองพิสูจน์ว่าข้อท้วงติงของเขานั้นถูก เขาถูกเรียกตัวกลับมาบัฐชาการแนวรบกลางเพื่อปกแองกรุงมอสโ ซึ่งเขาก็สามารถทำได้สำเร็จ สตาลินจึงยอมรับฟังนายทหารของเขามากขึ้น ซูคอฟกลับมาเป็นนายทหารคู่ใจสตาลินอีกครั้ง ปีต่อมา ซูคอฟได้รับแต่งตั้งเป็รรองผู้บัญชาการสูงสุดและส่งไปดูแลสตาลินกราด ซึ่งได้สร้างผลงานคือการทำให้กองทัพที่ 6 ของเยอรมันยอมจำนนแม้โซเวียตจะเสียทหารไปเป็นล้านก็ตาม
ซูคอฟ ดูแลการตีฝ่ากรปิดล้อมเลนินกราดครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีกเยวกัน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการที่เคิสก์ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม หลังจากนั้นก็ดูแลเรื่องการปลดปล่อยเลนินกราดที่ประสบความสำเร็จ เดือนมกราปี 1944 ซูคอฟ นำกองทัพโซเวียตในการรุภายใต้รหัสปฏิบัติการว่า ปฏิบัติการเบรเกรชั้น ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปฏิบัติการณ์ทางทหารที่สุดยอดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และนำกองทัพโซเวียตยึดกรุงเบอร์ลินในปี 1945 เยอรมันยอมแพ้อย่างไม่มีเงือนไข
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น