WWII:Douglas MacArthur


     แมคอาร์เธอร์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯตะวันออกไกลและช่วงชิงพื้นที่มหาสทุทรแปซิกฟิก ด้านตะวันตกเฉียงใต้จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ออสเตรเลียเป็นฐาน วลีที่ที่มีชื่อเสียงที่แมกอาเธอร์กล่าวแก่ชาวฟิลิปปินส์ระหว่างถอยหนีกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์คือ “ข้าพเจ้าจะกลับมา I shall Return” และเมื่อกลับมาตามคำสัญญาหลังการถอยไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย แมกอาเธอร์ ได้ประกาศอีกครั้งในขณะที่เดินลุยน้ำลงจาเรือที่อ่าวเลย์เตว่า “ข้าพเจ้ากลับมาแล้ว I Have Return” พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ Douglas MacArthur เป็นจอมพลชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงในการบัญชาการรบลภาคพื้นแปซิกฟิก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการผู้ที่ให้ญี่ปุ่นจดสนธิสญญาพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายพันธมิตร ณ เรือประจัญบานยูเอสเอส มิซูรี นอกจานี้เขายังเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ ญี่ปุ่น พัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังเป็นผู้บัญชาการสมัยสงครามเย็นในสงครามเกาหลี อีกด้วย

   พลเอก แมกอาร์เธอร์ทำหน้าที่เป็นผู้รับการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นทางการของญี่ปุ่น เนื่องจากเขามีเชื้อสายของ นาวเอก พิเศษ แมททิว คราวเรท เพอรี่ ผุ้เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และดำรงตำแหน่งผุ้บัญชาการยึดครองประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้จัดการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของญี่ปุ่นที่กำหนดให้สมเด็จพระจักรพรรดิ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและห้ามีกองกำลังทหาร ญี่ปุ่นจึงมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจและฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเนื่องจากไม่ต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ
     แมกอาเธอร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีเกือบจะสามารถเอาชนะเกาหลีเหนือ แต่ก็ถูกปลดออกจากหน้าที่ เนื่องจากการเตรียมบุกประเทศจีน และเสนอให้มีการใช้ระบิดประมาณุ กับประเทศจีนซึ่งเป็นผุ้สนับสนุนหลักของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี ซึ่งเป็นการพยายามฝ่าฝืนคำสั่งของประธานาธิบดี แฮร์รี่ เอส.ทรูแมน
การปฏิบัติการทางทหาร แบบใหม่ของกลยุทธวิวัฒนาการมาใหม่ คือ ในด้านยุทธนาวี การปฏิบัติการในระยะยาวได้ใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องยินเป็นอาวุธสำคัญในการรบรุก เป็นพัฒนาการซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสิ้นสุดความได้ปรียบที่จะเป็นฝ่ายบงมือปกิบัตการจากรเอรบหลัก ในการรบตามเกาะ การให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทหารบก ทหารเรือและกำลังทางอากาศก็เป็นการเลือกที่จะเป็นการรบภายใต้การบัญชาการอันเดียวกัน นี่คือส่วนหนึ่งของเทคนิคการรบอเมริกาแบบ “กระโดดที่ละเกาะ โดยมิได้มุ่งยึดดินแดนตามความหมายทั่วยไปหากแต่มุ่งรบเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานทัพเพื่อให้เรือรบและเครื่องบินสามารถครอบงำทั้งพื้นที่ในน่านน้ำแปซิฟิคตะวันตกทั้งหมด
     มกราคม 1943 ผู้นำสัมพันธมิตรเปิดการประชุมที่เมืองคาซาบลังก้า ตกลงที่จะฝันยุทธปัจจัยไปสู่สงครามกับญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม มีการดำเนินการดังกล่าวโดยประชุมที่เมืองควีเบค โดยกำหนดตัวผู้บัญชากากรทั้งหลายและร่างยุทธศาสตร์ที่จะปฏิบัติการ ภายในไม่กี่เดือน กองทัพภายใต้การนำของนายพลเรือนิมิตส์ ได้ปฏิบัติการการตัดสินใจนั้น โดยโจมตีหมู่เกาะมาร์แชลล์ในตอนกลางของน่านน้ำแปซิฟิค เป็นการแสดงครั้งแรกสำหรับอีกหลายครั้งถึงการทุ่มสรรพสิ่งอันหนักหน่วงมากมายต่อเกาะอันเป็นเป้าหมายและอัตราที่สามารถจะลดลงได้ถ้าการเสิรมกำลังของฝ่ายข้าศึกถูกกระทำจนเป็นไปไม่ได้ ฐานทัพหลักของควาจาลินได้ถูกยึภายใน 10 วัน ของการต่อสู้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1944 เกาะไซปัน ในหมู่เกาะมาเรียนาส ใช้เวลาเข้ายึดได้นานกว่า และเกี่ยวกับการปฏิบัติการเต็มขั้นของกองทัพเรือในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินส์เพื่อคุ้มครองการยกพลขึ้นบก อย่างไรก็ตาม นี่คือการทำลายสันหลังของแนวการต่อต้านของฝ่ายกองทัพเรือญี่ปุ่นแลได้ปฏิบัติการก้าวหน้ายิ่งกว่านั้นในที่อื่น ๆ เกาะกวมแตกในเดือนสิงหาคม กลุ่มเกาะปาเลาแตก ในเดือนกันยายสเป็นการทำให้การรุกคืบหน้ากว่า สองพันไมล์ เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์น้อยกว่า 1 ปี
     การเน้นหนักมุ่งไปที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของน่านน้ำแปซิฟิค ซึ่งนายพลดักกลาส แมคอาเธอร์ บัญชาการอยู่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)