วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

38th Parallel


      ชะตากรรมเกาหลีถูกผูกพันอยู่กับลักษณะที่ตั้งของตนเอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดฝดยที่เกาหลีอยู่กึ่งกลางระหว่างจีน ญี่ปุ่นและรุสเซีย ทำให้เกิดความพิบัติจากสงครามวามขัดแย้งและความแตกแยกอย่างรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีก็ยังคงแบ่งแยกด้วยเหตุผลทางการเทหารเพื่อสะดวกแก่การปอดอาวุธญี่ปุ่น รุสเซียปลดอาวุธในภาคเหนือ สหรัฐฯปลดอาวุธในภาคใต้
      ในที่ประชุมที่ไคโร ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “เกาหลีจะเป็นอิสระและเป็นเอกราชในเวลาอันสมควร ความนั้นสะท้อนหลักการว่าด้วยการกำหนดวินิจฉัยด้วยตนเอง แต่ก็สะท้อนว่า ปัญหาเกาหลีเองเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และความนั้นแสดงความไม่แน่ใจของมหาพันธมิตรต่อเกาหลีเองว่า เกาหลีควรจะปกครองตนเองด้วยระบบใด เมื่อหาข้อยุติมิได ประเด็นเกาหลีก้ต้องถูกกำหนดให้แก้ไขด้วยวิธีการชัวคราวก่อนคือ การปลดอาวุธญย๊ปุ่นซึ่งการตกลงนี้เป็นการตกลงทางการทหาร และกลายเป็นข้อตกลงทางการเมืองในที่สุด



     ในการปลดอาวุธญี่ปุ่นรุสเซียได้ส่งทหารเข้าภาคเหนือของเกาหลีเพื่อปลดอาวุธญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าภาคใต้ ปัญหาเกาหลีของเกาหลีได้มาถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจแก้ไขกันอีกวาระหนึ่ง อังกฤษ รุสเซย จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ตกลเห็ฯชอบที่จะให้เกาหลี่อยู่ภายใต้การดูแลของนานาชาติ คือภายใต้ภาวะทรัสตี้ต่มา ปที่ประชุมเมืองมอสโก บรรดารัฐมนตรีว่าการต่างประเทศได้ตกลงเห็นชอบที่จะให้สหรัฐอเมริกาและรุสเซียตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อดำเนินการสร้างระบบการปกครองให้แก่เกาหลีภายใต้ภาวะทรัสตี้ของนานาชาติ แต่ปรากฏว่าชาวเกาหลีเองไม่เห็นด้วย และรุสเซียเองมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะควบคุมเกาหลีด้วย ทำให้การดูแลเกาหลีโดยนานาชาติไร้ความหวัง อย่างไรก็ตามตามคำบงการของสหรัฐและรุสเซียเกาหลีถูกแบ่งโดยปริยาย เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นเส้นการเมืองในปี 1946 เป็นต้นมา การรวมประเทศและการให้นานาชาติดูแลเกาหลีสิ้นสุดหนทางที่เป็นไปได้
     สู่การแบ่งแยก
ภาคเหนือ รุสเซียมีจุดประสงค์ที่จะสถาปนาเกาหลีเป็นรัฐคอมมิวนิสต์และได้เป็นปู฿ชี้แนะแนวทางให้พรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีจัดตั้งรัฐแบบโซเวียตขึ้นในภาคเหนือ ในทุกระดับของการปกครองโดยบรรดาคณะกรรมการแงประชาชาติ องค์ประกอบคอมมิวนิสต์ได้มีบทบาทสำคัญควบคุมไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระดับเทศบาล ระดับเมืองง หรือระดับมณฑล พรรคการเมืองมากมายได้ถูกส่งเสริมให้จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมกรรมกรชาวนา ยุวชนสตรีเป็นต้น ให้ออกมามีบทบาทอยู่ในแนวหน้าระดับชาติ พฤติกรรมของรุสเซียเช่นนั้นย่อมทำให้ความหวังของชาวเกาหลีที่จะเห็นการรวมประเทศสิ้นสุดลง จะเห็นได้ว่า มีการจัดการเลือกต้งขึ้น ตามติดด้วยการจัดตั้งประชุมของคณะกรรมการแห่งประชาชาติที่เมืองเปียงยางในเดื่อนกุมภพันธ์ ผลการประชุมคือ การจัดตั้งสภาแห่งประชาชาติ ซึ่งทำหน้าที่เลือกคณะกรรมการแห่งประชาชาตให้ปกครองประเทศชั่วคราว พรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินการผลปลุกระดมมวลชนและปูกฝังอบรมลัธิแก่ประชาชน ที่ปรึกษาของรุสเซียได้ขชี้นำกองกำลังกึ่งทหารแห่งปราชาติ ซึ่งเป็นกำลังสนับสนุนพรรคโดยตรง
     ในชนบทพรรคคอมมิวนิสต์ได้จัดตั้งมวลชนอย่างกระตือรือร้น โดยมาในรูปของการปฏิรูปที่ดิน อันได้แก่การริบที่ดินแล้วจัดสรรที่ดินใหม่ให้แก่ชาวนา ในตัวเมือง มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมเป็นของรัฐและวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์ก็ต้องผ่านการจัดตั้งใหม่ตั้งแต่ระดับบนลงล่างโดยที่แน่นอนที่สุดว่า รุสเซียย่อมครอบงำพรรคที่เกาหลีไม่มีหนทางเลือกเป็นอื่นไปได้
     ภาคใต้  บทบาทสหรัฐอเมริกาในภาคใต้ก็มิได้น้อยหน้าไปกว่ารุสเซียเช่นกัน สหรัฐอเมริกาได้พยายามพัฒนาเกาหลีใต้ แต่ความยุ่งยากลำบากและลักษณะปัญหาอันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พร้อมที่จะเข้าพัฒนาเกาหลีได้อท่าไดนัก  สหรัฐอเมริกาจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งประชาชาติระดับท้องถิ่นขึ้นทั่วภาคใต้เพื่อให้ช่วยธำรงไว้ซึ่งความสงบสุขและระเบียบแบบแผน  และ ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐแห่งประชาชาติเกาหลี เป็นการประกาศจัดตั้งระบอบการปกครองแต่ในด้านการเศรษฐกิจยังมีปัญหามากพอควร
     เมื่อสหรัฐฯยึดครองเกาหลีได้นั้น สหรัฐอเมริกาได้เผชิญปัญหาว่า เศรษฐกิจเกาหลีระหว่างที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นผูกมัดไว้กับญี่ปุ่นมาก เมื่อเป็นเอกราชแล้วและไร้การผูกพันกับญี่ปุ่น เศรษฐกิจได้ประสบความยากลำบากมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์มิได้เป็นภาระกิจง่ายแต่อย่างใดสหรัฐอเมริกาต้องจัดระบบระเบียบใหม่ให้แก่เกาหลีไต้ ในเดือนธันวาคม สหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้มีระบบนิติบัญญติที่มาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง เพือ่อเป็นการสถาปนาการปกครองโดยใช้กฎหมายเปห็นหลักและเป็นพื้นฐานของเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกามีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกาหลีได้มีรัฐบาลที่มั่นคงจากการเลือกตั่งก่อนแล้วจึงจะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจการปฏิรูปที่ดินได้ล่าช้าออกไป เพราะกระบวนการขอการเมืองเองเป็ฯกระบวนการที่เต็มไปด้วยความคิดอนุรักษ์นิยม
     ฉากการเมืองเกาหลีไดถูกจัดตั้งขึ้นแล้วเป็ฯการเมืองสุดขั้วสองขั้ว ในเกาหลีใต้ ขบวนการปราบคอมมิวนเสต์มีความรุนแรงเหี้ยมโหดมาก พวกที่มีความคิดไม่รุนแรงถูกกีดกันออกไปจากการเมืองเช่นนั้น ดังจะเห็นได้ว่าผู้นำเกาหลีใต้ถูกลอบสังหารในเดือนกรฎาคม 1947 ปัญหาเกาหลีใต้จึงเป็นปัญหามากแก่สหรัฐฯ จนท้านสุด ได้มอบเรื่องเกาหลีใต้ให้อยู่ในความดูแอลขจององค์การสหประชาชาติ องค์การได้ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่ดำเนินการรวมประเทศและการจัดตั้
การเลือกตั้ง การมีรัฐบาลเองของเกาหลีใต้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้งอยุติการยึดครองเกาหลีใต้ ส่วนในเกาหลีเหนื ได้มีการเลื่อตั้ง ในปี 1948 และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งประชาชาติเกาหลี ..ตั้งแต่กลางปี 1948 สหรัฐและโซเวียตได้ถอนกำลังทหารออกจากเกาหลี การแบ่งประเทศเป็นที่ยอมรับแล้วว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งสองประเทศได้กลายเป็นตัวแทนของสองลัทธิอุดมการณ์ที่ครอบงำโลกอยู่ในระยะนั้นคื อคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

stronghold

    บทบาทในโลกตะวันออกยุคใหม่ ลักษณะที่ตั้งช่วยลิขิตชีวิตเกาหลีให้ดำเนินไปในทิสทางตรงกันข้ามกับความปรารถนาของเหลีเอง เกาหลีไม่สามารถจะหลีกหนีตะวันตกที่พยายามล่วงล้ำกำเกินพรมแดนเกินจุดประสงค์ของเกาะหลี โดยลักษณะที่ตั้ง เกาะหลีอยู่บนเส้นทางการสร้างจักรพรรดิระสเซียบนแผ่นินใหญ่อเดซียตะวันออก และโดยลักษณะที่ตั้งอีกเช่นกันที่ทำให้ญี่ปุ่นถือว่าเกาหลีคือปราการด่านแรกของการที่จะมีชาติใดรุกรานญี่ปุ่น และเป็นปราการด่านแรกของการที่ญี่ปุ่นจะสร้างจักรวรรดิบนฝืนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีนับว่าสำคัญมาก ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับจีน เพราะเกาหลีมีแม่น้ำยาลูเป็นพรมแดนธรรมชาติติดกับจีนอริราชศัตรูที่จะรุกรานจีนที่ใกล้ที่สุดเพื่อจู่โจมนครหลวงปักกิ่งและหรือโจมตีแมนจูเรีต้องผ่านเกาหลีก่อน ความสำคัญในด้านที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เช่นนั้นเป็นที่ยอมรับมาช้านานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หลีหุงจางนักการทูตอาวุโสของจีนได้ย้ำถึงความสำคัญของเกาหลีในแง่ยุทธศาสตร์ไว้ว่า “..เกาหลีมีความสำคัญต่อเรามากในฐานะที่เป็นแนวป้องกันบรรดามณฑลตะวันออก นับถอยหลังย้อนไปสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่โจมตีเยนชิง จากฐานกำลังแสนยานุภาพมหาศาลมาสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่จะโจมตีเยนชิง(ปักกิ่ง) จากฐานที่มั่นแห่งคาบสมุทรเหลียวตุง การที่ญี่ปุ่นระกรานเกาหลีจึงเป็ฯมหันตภัยต่อดินแดนเหลียวชิง “
    ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีได้ลิขิตให้เกาหลีต้องเผชิญโศกนาฎกรรมครั้งแล้วคร้งเล่าตั้งแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 20 เกาหลีเปรียบเสมือนแหล่งวังน้ำวนในห้วงมหรรณพที่ดึงดูดให้มหาอำนาจเข้าไปเวียนวนและห้ำหันพิฆาตกันจนอาสัญกันจนอาสัญหลายครั้งหลายครา เกาหลีจึงเป็นเสมือนรัฐในท่านกลางปัยหาระหว่างประเทศเสมอมา มีข้อควรพิจารณามิใช้น้อยว่า เหตุใดมหาอำนาจจึงต้องตัดสินใจทำสงครามด้วเรื่องเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ รุสเซียสนใจเกาหลี เพราะต้องการเมืองท่าของเกาหลีในเขตอากาศหนาวอบอุ่นแทนไซบีเรียของตนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งไม่เหมาะแก่การสร้างเมืองท่า ญี่ป่นสนใจ เพราะเกาหลีเสมือนประการด่านแรกให้อริราชศัตรูรุกรานญี่ปุ่นได้โดยง่าย ดังที่ญี่ปุ่นได้เปรียบเปรยเสมอว่า เกาหลีนั้นคือ “กรชที่หมายมุ่งตรงสู่หัวใจ”แต่ในขณะเยวกัน เกาหลีคือบนไดขั้นที่  สำหรับญี่ปุ่นในการสร้างจักรวรรดิ ในสายตาของจีน ชนชั้นปกครองของเกาหลีมีสิทธิปกครองประเทศ  เพราะจีนรับรองให้อำนาจอาญาสิทธิ เกาหลีเองยอมรับความเหนือกว่ายิ่งใหญ่ของจีน และถ่อมตนเป็นประเทศราชด้วยความเต็มใจเพราะมีความนับถือยำเกรงในความเหนือกว่า ยิ่งใหญ่หว่าของจีนมาแต่แรกแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า เกาะหลีได้ถวายเครื่องราชบรรณาการอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับนับถืออารยธรรมจีนมาก เครื่องพิสูจน์สำคัญคือการที่เกาะหลีได้ใช้ระบบปฏิทินจีน ความสัมพันธ์อันแนบแน่นโดยมีลักณะกาเมหืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอันยาวนานเช่นนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่จีนเองแสดงอำนาจอาญาสิทธิเหนือเกาหลีโดยที่ เกาหลีเองไม่เคยแสดงความเต็มใจที่จะซือตรงจงรักภักดีต่อจีน แต่กระนั้น ความสัมพันธ์ลักษณะนั้นได้สะท้อนถึงการทีจีนแสดงความสัมพันธ์อันเป็นตัวอย่างคดีนิยมที่ว่า ประเทศใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าย่อมรักใคร่ประเทศที่เล็กกว่า ประเทศเล็กต้องแสดงความนอบน้อมถ่อมตน ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เกาหลีปกครองตนเองเป็นอิสระได้และมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอก จีนจะเกี่ยวข้องเฉพาะเมือเกาหลีถูกรุกรานเท่านั้น
     เมื่อเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองจน เกาหลีไม่สนใจการค้าระหว่าประเทศ เกาหลีพึงพอใจกับการปิดประเทศอยู่โดดเดี่ยวมากกว่า ภาวะอยู่โดดเดี่ยวเองนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ความหวาดกลัวซึ่งบังเกิดขึ้นเมือเกาหลีถูกญี่ปุ่นรุกราน และเกาหลีรู้สึกตนมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริงเฉพาะเมือได้อยู่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งจักรพรรดิจีนเท่านั้น และไม่ต้องการสมาคมกับประเทศใด แม้แต่การติดต่อเพื่อประโยชน์ทางการค้าเกาหลีก็ไม่ปรารถนาด้วยเชื่อมั่นว่า เกาหลียากจน ถ้าติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก จะทำให้สินค้าทรัพยากรธรรมชาติหลังไหลออกนอกประเทศ ราคาสินค้าจะขึ้นสูงเพราะสินค้าขาดแคลนในท้องตลาด ผุ้คนจะตกยากมาก เกาะหลีจะตกอยู่ในสภาวะอ่อนแอได้ เกาะหลีจึงเชื่อว่าตนเองไม่มี
ประสบการณ์ พื้นฐาน และภูมิหลังทางเศรษฐกิจเพื่อจะติดต่อค้าขายกับใครได้ อีกทั้ง เศรษฐกิจเพื่อความดำรงคงอยู่เรียบง่ายไม่สามารถาจะทำให้ประชารชนมีกิเลสใคร่ได้สินค้าใด อันจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการซ์อขายได้ เกาหลีจำกัดการค้าไว้กับจีนเท่านั้น ญี่ปุ่นเองก็มีสถานีการค้าอยู่ที่เมืองปูซาน
     ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกได้เรียกร้องของติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลี แต่ไร้ผล การก่อเหตุวิวาทกันตามชายฝั่งทะเลเป็นเหตุปกติวิสัย เกาหลีกำหนดนโยบายปฏิบัติต่อชาวตะวันตกไว้ชัดเจนว่า จะให้ความข่วยเหลือเรือที่อัปปาง แต่ปกป้องมิให้ชาวตะวันตกกล้ำกรายเกาหลีได้ และมักผลักดันให้ออกไปให้พ้นชายฝั่งตนเมื่อชาวตะวันตกของเจรจาด้วยเกาหลียืนกรามแข็งขันมากที่จะไม่เจรจาอันใดด้วย และไม่ยินยิมค้าขายด้วยทรรศนะเช่นนั้นเป็นที่พึงพอใจสำหรับจีนมาก จักรพรรดิจีนได้เคยตรัสแก่ชาวอังกฤษว่า จีนไม่สามารถจะเปิดประเทศเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพาะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจี แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้อำว่าเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพราะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้ำว่าเกาหลีเปิดประเทศเองมิได้เช่นกัน เพราะเกาหลีมิได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอำนาจอธิปไตย หลักการของจีนต่อประเทศราชเยี่ยงอย่างเกาหบีได้แก่ การที่เกาหลมีอิสระในการปกครองตนเองแต่จีนมีอำนาจอธิปไตย เหนือเกาหลี หลักการปกครองตนเองโดยอิสระไม่ขัดแย้งแต่อย่างใดกับหลักการอำนาจอธิปไตยที่จีนมีเหนือเกาหลี
     จีนได้กำหนดนโยบายต่อเกาหลีไว้ว่า จีนปรารถนาที่จะให้เกาหลียังดำรงตนเป็นประเทศราชของจีน และต้องการให้เกาหลีมีสถานะเหมือนเดิมทุกประการเพื่อความมั่นคงของจีนเอง จีนไม่ปรารถนาที่จะให้กาหลีเปลี่ยนแปลงอันอาจจะทำให้จีนต้องผูกมัดตนเองเข้าช่วยเกาหลีดังอดีต จีนจึงปรารถนาที่จะให้เกาหลีไม่มีเหตุพิพาทอันใดกับตะวันตก แต่จีไม่สามารถที่จะบงการมหาอำนาจตะวันตกให้ใฝ่สันติต่อเกาหลีได้ โดยสรุป จีนมีนดยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของเกาหลี และไม่แทรกแซงทางทหารเพื่อำนาจผลประโยชน์ที่พิสูจน์ได้ดีว่าอันตรายยิ่งต่อจีน จีนต้องการรักษาสถานะเดิมของเกาหลี ดังนั้น สงครามต้องไม่อุบัติขึ้นอันจะเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมของเกาหลี แต่ในขณะเดียวกัน การที่จีนพยายามดำรงตนเป้นกลางโดยยับยั้งข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีนี้นมิได้มหายความว่า จีนจะรับผิดชอบกับพฤติกรรมที่เกาหลีได้ปฏิบัติต่อต่างชาติตามที่เป็นที่คาดหมายกัน และมิได้หมายความว่าจีนจะสามารถควบคุมเหล่ามหาอำนาจได้ตามที่เกาหลีคาดไว้แต่อย่างใด ทังนั้นย่อมประจักษ์ได้จากความขัดแย้งระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น
     อย่างไรก็ตาม เมือญี่ปุ่นเปิดเกาหลีแล้ว มหาอำนาจอื่นก็ดาหน้ากัน “เบียบเสียดยัดเยียด”เข้าไปในประเทศเกาหลี คคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรุสเซีย เกาหลีสุดที่จะดพเนินการทูตใดได้ ด้วยไม่มีประสบการณ์ในการต่างผระเทศกับนานาประเทศมาก่อน เหาหลีใต้ทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศตะวันตกประเทศแรก กษัตริย์เกาหลีได้ทรงย้ำสถานภาพเกาหลีในพระราชสาสน์ถึงประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาไว้ว่า
     “ในกิจการเกี่ยวกับเกาหลีเป็นเมืองขี้นของจีนนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำถามใดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศนั้นอันสืบเหนื่องมาจากการที่เหลีเป็นเมืองขึ้นสหรัฐอเมริกา จักไม่แทรกแซงกิจการภายในในทางใดๆ ทั้งสิ้น”
พระรสาสน์นั้นระบุชัดถึงสถานภาพเกาหลีว่าเป็นเมืองขึ้นของจีน แต่มีความเป็นอิสระในการเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศบนพื้นฐานแป่งความเสมอภาพกัน จีเองก็ยินยิมเห็นชอบด้วย โดยถือว่าการที่เกาหลีทำสนธิสัญญากับนานาประเทศไม่เป็นการขัต่อหลักการของจีนที่ถือว่า เกาหลีเป็นเมืองขึ้นของจีน
     การเปิดประเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศเกาหลี กล่าวคือทฤษฎีปรัชญาการเมืองและศิลปวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าไปในเกาหลี ที่สำคัญคือ ลัทธินิยมวิทยาศาสตร์และลัทธิชาตินิยม ความเปลี่ยนแปลงถึงขึ้นปฏิวัติได้เกิดขึ้นในแวดวงประชาชนและประเทศชาติ ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญคือ วิธีการพัฒนาเกาหลี หลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมจีนแต่ต่ดต้านตะวันตก อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหัวก้าวหน้านิยมการพัฒนาชาติตามวิธีการญี่ปุ่นการแบ่งแยกนั้นย่อมเปิดช่องจังหวะโอกาสเหมาะให้จีนและญี่ปุ่นได้แทรกเข้าไปในกิจการเกาหลีได้โดยง่าย
     แรงกดดันของกลุ่มชนต่างชาติกลุ่มต่าง ๆ เกาหลีไม่สามารถจะรวมกันได้ การที่จะขจัดอิทธิพลจีนและประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชนั้นเป็นเรื่องหนึ่งแตกต่างจากการที่จะจัดตั้งการปกครองตามวิถีทางของการสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น การเมืองในเกาหลีทวีความเช้มชั้นยิ่งขึ้น เมื่อนักปฏิรูปผุ้นิยมญี่ปุป่นถูกลอบสังหารในเขตนานาชาติในเซี่ยงไฮ้ เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ญี่ปุนเองประสบความล้มเหลวในการช่วยเกาหลีสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น โอกาสอำนายเมื่อเกิดเหตุลุกฮือในภาคใต้ โดยพยายามจะล้มราชบัลลังก์ แต่ไร้ผล ต่างฝ่ายต่างขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นและจีน ผลคือญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ ญ่ปุ่นได้คาบสมุทรเหลียวตุงซึ่งเป็นจุดกันชนมิให้จีนและรุสเซียล่วงล้ำพรมแดนเกาหลี แต่ถ้าญี่ป่นเห็นความสำคัญของเหลี่ยวตุง มหาอำนาจอื่นโดยเฉพาะรุสเซียก็เห็นความสำคัญเช่นนั้นด้วยรุเซียได้ยื่นบันทึก “แนะนำ” ญี่ปุ่นให้คืนเหลียวตุงให้แก่จีนญี่ปุ่นตระหนักดีว่าการขอดินแดนเหลี่ยวตุงเป็นความผิดพลาดของตน และจำต้องยินยอมคืนเหลี่ยวตุงให้แก่จีน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับรัสเซีย ซึ่งมีเยรมันและฝรั่งเศสสนับสนุนอยู่ ญ่ปุ่นจึงต้องจำใจยอมรับ
    ญี่ป่นกับรัสเซีย สนธิสัญญาที่จีนทำกับญี่ปุ่นที่เมืองชิโมโนเชกิ มีข้อหนึ่งระบุกำหนดให้เกาหลีเป็นเอกราชตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากความล้มเหลวในการจัดต้งโครงสร้างการปกครองและการคลังของเกาหลีเช่นกัน  องค์ผุ้สำเร็จราชการเกาหลีได้ทรงรื่อถอนการหฏฎิรูป ขับผู้บังคับบัญชาขอกองทหารผสมญี่ปุ่นกับเกาหลี ครั้นเมือ่ญี่ปุ่นส่งผู้ว่าราชการคนใหม่มา ผู้สำเร็จราชการทำการก่อรัฐประหาร จับประเจ้าโคจอง แล้วแต่งตั้งผุ้สำเร็จราชการเป็นประธานที่ปรึกษาส่วนพระองค  กบฎสำเร็จโษสมเด็จพระราชินี และพลพรรคของพระนาง สร้างความตกตะลึงแก่วงการทูตทั่วโลก พระเจ้าโคจองก็ต้องเสด็จลอลหนีไปลี้ภัยประทับอยู่ในสถานทูตชั้นสองของรุสเซีย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทำให้อิทธิพลญี่ปุ่นลดฮวบและเสื่อมถอยลงเป็นเวลาสองปี
     โดยเนื้อแท้แล้ว รุสเซียครอบงำราชสำนักเกาหลีให้ปกครองตามจุดประสงค์ของรุสเซีย จนถึงการที่รุสเซียมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ตามอำเภอใจ รุสเซียควบคุมการเงินการคลังโดยตึ้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี เป็นองค์กรดำเนินการ รุสเซียได้สัมปทานเข้าดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกาะเดียร์ ซึ่งอยู่ในเมืองท่าผูซาน การที่รุสเซียมีอิทธิพลในเกาหลีและฐานะที่มั่นทางทหารในเมืองท่าพอร์ต อาเธอร์และเตเรน ย่อมเป็นที่น่าวิตกสำหรับอังกฤษและญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง รุสเซียเองได้เพีรประนีประนอมกับทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการยินยอมยกเลิกการตั้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี และวเปิดการเจรจากับญี่ปุ่น ซึ่งไร้ผลเมือรุสเซียฮวยโอกาสยึดครองแมนจูเรีย ในปี 1900 ผลักดันให้ญี่ปุนตระหนักถึงภัยรุสเซียคืบคลานสู่เกาหลีมากขึ้น
     สนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ได้กำหนดชี้ขาดให้ญี่ปุ่นมีฐานะสูงสุดในเกาหลีสมปรารถนา สิ่งที่ญีป่นุ่นจักต้องเร่งปฏิบัติมีเพียงประการเดียวคือ การกลืนกินเกาหลี เกาหลีเองซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกที่จำต้องเปิดประเทศ ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ย่อมต้องสยบยอมต่อญี่ปุ่นผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เมื่อสงครามเปิดฉากขึ้น เกาหลีต่องลงนามในพิธีสาร ยินยอมให้ญี่ปุ่นสถาปนาการปกครองเกาหลีโดยคณะที่ปรึกษา ซึ่งหมายถึง ญี่ปุนควบคุมการบริหาราชการแผ่นดินและการต่างประเทศของเกาหลี
     ความเป็นรัฐของเกาหลีได้ถึงกาลสิ้นสุด เมื่อปี 1910 ในขณะที่ชาวเกาหลีเริ่มมีจิตสำนึกในเชื่อชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชั้นชนสูง นักปฏิรูป ทหารชาวนา ล้วนมีความรู้สึกรักชาต แต่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามคำบงการของญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง การติดต่อโลกภายนอกต้องฝ่ายความเห็นชอบของญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา
     “ เกาหลีแทบจะไม่มีช่วงระยะสมัยใดที่เป็นไทแก่ตัว ในอดีต เกาหลีตกอยู่ภายใต้ฉายาอำนาจของจีน เกาหลีเป็นเสมือนประทเศ “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย” ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งจีนและญี่ปุ่นความเป็นเอกราชของเกาหลีระยะยสั้น ๆ เป็นอันตรายทั้งต่อจรเองและต่อมหาอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สงครามญี่ปุ่นกับรุสเซียอุบัติด้วยเหตุเกาหลีซึ่งเป็นที่หมายปองของทั้งญี่ปุ่นและรุสเซีย ความเป็นเอกราชสิ้นสุดลงด้วยเหตุมหาอำนาจบงการและด้วยเหตุที่เกาหลีแบ่งฝ่ายในทุกเรืองทุกกรณี  เกาหลีแทบไม่ได้เป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเลย”

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“Che” Ernerto Guevara

    
เอนร์เนสโต เกบารา หรือที่รู้จักในชื่อ “เช” เป็นนักปฏิวัติลัทธิมากซ์ นายแพทย์ นักเขียนผู้นำนักรบกองโจร นักการทูต และนักทฤษฎีทางการทหารชาวอาร์เจนตินา ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งจากการปฏิวัติคิวบา ภาพใบหน้าของเขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้ทั่วไปของวัฒนธรรมต่อต้านและการกบฏ และเป็นตราต้นแบบที่รู้จักกันเป็นสากลภายในวัฒนธรรมนิยม
     ขณะที่ยังเป็นนกศึกาแพทย์ เกบาราได้เดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาใต้และรู้สึกสะเทือนใจกับความยากจนข้นแค้น ความหิวโหย และโรคภัยที่เขาได้พบเห็นระหว่างการเดินทาง ความปรารถนาจะทำลายล้างสิ่งที่เขามองว่าเป็นการขูดรีดของทุนนิยมในลาตินอเมริกาผลักดันให้เขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปสังคมกัวเตมาลาภายใต้รัฐบาลนายฮโกโบ กุซมัน แต่สุดท้ายประธานาธิปดีผู้นี้ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งหลังถูกทำรั
ฐประหารซึ่งไป้รับความช่วยเหลือจากซีไอเอ นั่นทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองของเกบาราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ต่อมาขณะอาศัยอยู่และพิพากษาใหตในกรุงเม็กซิโกซิตี้ เขาได้พบกับราอุลและฟิเดล กัสโตร เข้าร่วมขบวนการ 26 กรกฎาคม และออกเดินทางสู่คิวบาโดยใช้เรือยนต์ขนาดเล็กชื่อ กรันมา ด้วยจุดประสงค์ที่จะขับไล่ผู้นำเผด็จการฟุลเฮนซีโอ บาติสตา  ไม่ช้าเกบาราก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญในกองกำลังกบฏดังกล่าว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผุ้บัญชาการ และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสู้รบแบบกองโจรซึ่งสามารถล้มระบอบบาติสตาได้สำเร็จภายในเวลาสองปี

  หลังการปฏิวัติคิวบา เกบาราเข้าไปมีบทบาทสำคัญหลายอย่างในรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพิจารณาคดีในศาลการปฏิวัติและพิพากษาในศาลการปฏิวัติและพิพากษาให้ผู้ต้องโทษ อาชญากร
สงครามถูกยิงเป้าโดยหมู่ทหาร เริ่มดำเนินการปฏิรูปที่ดินการเกษตรในฐานะรัฐมนตรีอุตสาหกรรม เป็นหัวหอกในการรณรงค์เพื่อการรู้หนงสือทั่วประเทศซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ ปฏิบัติหน้าที่ผู้การการธนาคารแห่งชาติและผุ้อำนวยการฝึกสอนให้แก่กองทัพคิวบา และเดินทางไปทั่ว”ลกในฐานะผู้แทนทางทูตจากสังคมนิยมคิวบาตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวังทำให้เขามีหน้าที่หลักในการฝึกสอนกองกำลังอาสาสมัครซึงสามารถขับไล่ผุ้รุกรานอ่าวพิกส์ออกไปได้ และชักนำนำใหสหภาพโซเวียตเข้ามาติดตั้งขีพปนาวุธนิวเคลียนร์ในคิวบาซึ่งกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธในปี 1962 นกอจานี้เขายังเป็นนักจดบันทึกและนักเขียนทีผลิตผลงานออกมาจำนวนมาก โดยเขียนคู่มือปฏิบัติการรบแบบกองโจรซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อเหตุการณ์ภายหน้า ร่วมกับบันทึกความทรงจำเกียวกับการเดินทางไปทั่วทวีปด้วยจักรยานยนต์ในวัยหนุ่มของเขา ประสบการณ์ชีวิตและความรู้เกี่ยวกับลัทธิงทางเดียวมเพียวยามียยาร์กซ์-เลนินนำพาให้เขาสรุปว่าความด้อยพัฒนาและการตกอยู่ในภาวะพึงพาของโลกที่สามเป็นผลที่แท้จริงจากจักรวรรดินยม ลัทธิอาณานิคมแนวใหม่ และทุนนิยมผูกขาด ทางเยียวยามีเพียงทางเดียวคือ การใช้แนวคิดสากลนิยมของชนชั้นกรริโลกตมาชีพและการปฏิวัติโลกเกบาราออกจากคิวบาในปี 1965 เพื่อจะก่อให้เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอีก ครั้งแรกในคองโก-กินชาซาแต่ไม่ประสบความสำเรจ และครังต่อมาใบลิเวีย ที่นี่เขาถุกจับได้โดยกองทพโบลิเวียซึงมีซีไอเอสนับสนุนอยู่และถูกสังหารโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม
   เกบาราเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับทั้งเสียงยกย่องและเสียงประณามมุมมองบรตาง ๆ เกี่ยวกับตัวเขาได้รบเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1ใน 100  บุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่  20 ภาพถ่ายของเขาได้บการยกย่องว่าเป็รนภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
      เชทิ้งฐานันดร และครอบครัวของเองไว้ที่เม็กซิโก แล้วมุ่งสู่ประเทศคิวบาเพื่อหวังจะล้ม้างระบอบการปกครองเผด็จการของผูลเจลซิโอ บาติสต้า สร้างกลุ่มกำลังของตนเอง เพื่อหวังจะทำการปฏิวัติในิวบาหลังปฏิวัติสำเร็จในคิวบา เชออกจากคิวบาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ประเทศอื่นเพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเืมืองอี เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศโลลิเวีย ซึงที่โบลิเวียนี้ เขาถูกโดยกองทัพโบลิเวียที่สนับสนุนโดยซีไอเอของสหรัฐอเมริกา และถูกประหารชีวิตทันทีหลังจากที่ถูกจับตัวได้ 9 ตุลาคม 1967 ในวันสุดท้ายของชีวิตของเขาทหารดบลิเวียกำลัของโลลิเวียกำลังจะประหารชีวิตเขา เชกล่าวประโยคสุดท้ายของชีวิตเขาว่า "ยิงฉันเลย...ฉันมันก็แค่ผู้ชายธรรมดาคนนึง..."แต่การตายของชายธรรมดาในวันนั้น มีความหมายอย่างยิ่งกับการเมืองโลก เหล่านักศึกษา หนุ่มสาวต่างรับรู้และยกย่องการกระทำที่กล้าหาญของเขา ภายหลงการตายของผู้ชายคนนึง เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสถึงการเดินประท้วงเรียกร้องอิสรภาพของประเทสเวียดนาม เหล่าวัยรุ่นใประเทสเวียดนาม นำรูปของเชมาใช้เดินขบวน และกระทั่งทุกวันนี้ ชายคนนี้ก็ยังเป็นสัญักษณ์ของการปกิวัติ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

People's Republic of China (PRC)

     ตลอดระยะเวลาตั้งแต่สงครามฝิ่นเมื่อปี 1839-1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีได้ครองอำนาจ จีนเผชิญกับความแตกแยกทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจที่คลอนแคลน และความไม่สงบภายในประเทศด้วยสงคราม รบพุ่งกันเองจีนพยายามฝ่าผันอุปสรรคมากมายในการปฏิรูปและปฏิวัติจีนให้ก้าวหน้าทัดเทียมชาติมหาอำนาจตะวันตก เป็นความพยายามที่จะเปลียนจีนทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจีนนี้ได้รเริ่มขึ้นเพราะแรงกดดำนจากภายในและภายนอกเป็นเบื้องต้น ภาวะเศรษฐกิจทีฝือเคื่องทำให้ประชาชนไม่พอใจในความเป็นอยู่ของคนและก่อความไม่สงบเป็นกบฎหลายครั้ง ในขณะเดียวกันมหาอำนาจตะวันตกได้บังคับจีนให้เป็นประทเศโดยพลการ ภาวะดังกล่าวทั้งด้านนี้เป็นความหายนะเบื้องต้นของจีนและอารยธรรมจีที่ได้ธำรงมาช้านาน ระบบการปกครองที่ค่อนข้างจะมีลักษณะศักดินาสวามิภักดิ์ สถาบันทางสังคมและทัศนคติค่านิยมของวัฒนธรรมจีนได้เปลี่ยนไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

     ความพยายามที่จะสร้างจีนใหม่ ตั้งแต่ปี 1860 เป็นต้นมา ทุกระดับขั้น ตั้งแต่การริเร่มสร้างพลังอำนาจ การปรับปรุงและการปฏิวัติ การปฏิวัติมวลปัญญาชนที่แสวงหาสัจธรรมในการสร้างชาติตลอดจนถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมือง ล้วนเต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรที่จะสร้างจีนให้ก้างหน้าทันสมัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แตก่การเปลี่ยนแปลงจีนนั้นแม้จะเร่มมาช้านานมักจะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะด้าน มีขอบเขตจำกัด การเปลี่ยนแปลงเหล่นี้มักยึดถือรูปแบบอย่างตะวันตกโดยปฏิบัติตามแบบฉบับของตนเอง นอกจากนั้นจีนยังคงไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยยึดถือมาแต่อดีต มีความดื้อดึงไม่รับรู้เปตุผลความจำเป็ฯใด  ๆ แต่เมื่อภัยใกล้ถึงตัวจึงตระหนักถึงความจำเป็นต่าง ๆ ที่จะต้องปรับปรุงตัว จีนจึงมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงจีนจึงเต็มไปด้วยการเสียเลื่อดเนื้อและชีวิต มีผู้กล่าวว่า “จีนคอมมิวนิสต์ทำอะไรรวดเร็วมากในด้านการเมืองต่างประเทศเท่า ๆ กับการเมืองภายในประเทศ ต้องการกระทำการต่าง ๆ ตามวิถีทางแนวปฏิบัติแบบจีนแท้ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะให้งานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว”
     ปัญหาสำคัญเร่งด่วนคือ เสถียรภาพความมั่นคงของวรัฐ การรวมประเทศภายใต้รัฐบาลกลาง การวางรากฐานการปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดโดยขจัดฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองทุกเหล่าทักชั้นและเป็นโครงการสร้างระบบการปกคีครองที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาท้ายสุดที่เรื้อรังร่วมศตวรรษคือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลชิงและรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการขจัดปัดเป่าทุกข์สุขแก่คนจีน จีนแดงซึ่งสืบทอดอำนาจจากรัฐบาลพรรคชาตินิยม จึงได้รับมรดก 2 ประการคือ ปัญหาทางการเมือง คือลักษณะที่แตกแยก และประเทศที่ยังรัวกันไม่ติดเพราะขาดรัฐบาลกลางที่มีประสิทธิภาพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ
     การสร้างชาติที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ เป็นการที่หนักซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์อมตระหนักดี  จีนแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของจีนได้ช่วยให้จีนรอดพ้นจากภาวะเงินเฟ้อ จีนมุ่งนดยบายสร้างจีนเป็นรัฐอุตสหกรรมด้วยการใช้นโยบาย มุ่งความสำคัญ เปลี่ยนจากกสิกรรมชนบท มาสู่ อุตสาหกรรมในตัวเมือง เป็นการปฏิบัติตามอุดมการ์ลัทะคอมมิวนิสต์ที่มาร์คซ์เคยเสนอว่า พลังปฏิวัติต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ การสร้างอุตสาหกรรมเป็นการสร้างชนชั้นกรรมาชีพตามหลักการทุกประการ จีนแดงมุ่งที่จะสร้างจีนเป็นรัฐสังคมนิยมให้ได้ใน ปี 1973
     เมื่อแก้ปัหาเศรษฐกิจทั่งไปได้แล้ว จีนมุ่งไปยังกสิกรรมซึ่งคอมมิวนิสต์จีนเองยังต้องการความสนับสนุนจากประชาชนอยู่ จนเมือได้รณรงค์รวมประเทศด้วยกำลังทหารสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1952 คอมมิวนิสต์จีนจคงเร่มโครงการปฏิรูปสังคมก่อน โดยการประกาศปฏิรูปที่ดิน
     วิธีปฏิรูปที่ดิน ได้แก่การที่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ส่งเจ้าหน้าที่พรรคไปสู่ชนบทเรียกประชุมบรรดาชาวนาทังหมด ทำการรณรงค์บังคับทุกคนให้วิพากษ์วิจารณ์กล่าวดทษตนเอง เพื่อเจาะจงดึงแต่ชนชั้นเศรษฐีที่ดินออกจากกลุ่มชาวนา จานั้น เจ้าหน้าที่ก็หนุนหลังชาวนาให้ใช้กฎหมู่ทำลายล้างลัทะชนชั้นถือที่ดิน โดยการตั้งสมาคมชาวนาขึ้นทำการวิเคราะห์วิจัยฐานะแต่ละบุคคลในกลุ่มชาวนาเพื่อแยกว่าผุ้ใดในชนชั้นใดเมื่อแยกแล้วก็ริบทรัพย์สินและที่ดินของพวกเศรษฐีที่ดิน นำมาจำหน่ายจ่ายแจกแก่พวกชาวนาทั่วไปเป็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิจากลุ่มแล็ก ๆ มาสูกรรมสิทธิเอกชน การดำเนินการดังกล่าวปรากฎว่าเป็นไปอย่างรุนแรงเกินจุดประสงค์ของพรรคเป็นอย่างยิ่ง การปฏิรูปที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเพียงมาตรการเบื้องต้นไปสู่ระบบนารวม นอกจากกำจัดชนชั้นผู้นำในชนบทคือพวกเศรษฐีที่ดินแล้ว จีนแดงได้เล็งเห็นเรแงงานมหาศาลอันพังไดรับจากหญิง และเห็ฯวัฒนธรรมเดิมมิได้ให้ความเป็นธรรมแก่หญิง จึงออกประกาศกฎหมายสมรส เมื่อปี 1950 ให้สิทธิเสมอภาคแก่หญิงชายในการเลือกทางชีวิตสมรส และประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นการปลดแอกครอบครัว  การปฏิรูปที่ดินและออกกฎหมายสมรสจึงอาจจะนับได้ว่าเป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดพลิกปฏิวัติวัฒนธรรมจีนนด้ารระบบเศรษฐกิจในชั้นต้น
     จีนประสบปญหาในการปกครองประเทศที่จะให้มีประสทิธภาพโดยมีอำนาจสิทธิชาดอยู่ที่รัฐบาลกลาง การปกครองที่อำนาจอยู่ส่วนกลางเท่านั้นจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรวมประเทศและสร้างชาติให้เจริญทัดเทียมโลกตะวันตกรัฐบาลพรรคชาตินิยมประสบความล้มเหลวในการสร้างอำนาจส่วนกลาง ไม่สามรถจะปกครองทั้งประเทศได้ จีนแดงได้ปรับปรุงข้อบกพร่องและเรียนความผิดพลาดแต่อดีตเป็นบทเรียนอันมีค่า จีนแดงในปี 1949 เป็นพวกที่มีประสบการณ์ทั้งในการรบและการปกครอง มัชนชั้นผุ้นำและมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เป็นหลัก จีนแดงได้สร้างระบบการปกครองใหม่ที่พื้นฐานอำนาจอยู่ที ไตรภาคี คือรัฐบาล กองทัพและพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการปกครองในรูปของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จควบคุมประเทศ
     ในระยะแรกที่ปกครองจีนพรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายผ่อนปรนเต็มไปด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพรรคจีนคอมมิวนิสต์และประชาชนเองมีความปรารถนาตรงกันประการหนึ่ง คือ ต้องการสันตุภาพความสงบสุข และต้องการระเบียบวินัยแบบแผนประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนจีนแดงมาแต่ต้น เพราะต้องการสิ่งเหล่านี้มากกว่าการซึมซาบในลัมะอุดมการณ์และการเมืองแต่อย่างวใด เมื่อคอมมิวนิสต์รณรงค์โฆษณาชวนเชื่อก็มิได้กล่าวพาดพงไปถึงจุดประสงค์ของตน ซึ่งได้แก่การสร้างระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน

     ตามทัศนะ ของเมาเซตุง จีนจะดำเนินการตามแบบอย่างของลัทะมาร์ค หรือลัทธิเลนินอย่างเต็มที่ไม่ได้ เพราะสถานะการณ์สิ่งแวดล้อมตลอดจนวัฒนธรรมต่างกัน อนึ่ง เลนินได้ เคยพยายามจะครอบครองรัสเซีย ดดยยอมตนให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคหนึ่งในหลายพรรคของรัฐบาลแรก ๆ ของรัสเซีย ในขณะนั้นรัสเซียมีพรรคต่าง ๆ ซึ่งล้านประกอบด้วยปัญญาชนนักธุรกิจนายทุนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผู้ปกครอง พรรคคอมมิวนิสต์ในระยะแรกมิได้เป็นผุ้ปกครองรัสเซียโดยตรง เมืองเกิดการแย่งชิงอำนาจกันจึงต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากกมายที่สำคัญคือ ต้องทำสงครามกวาดล้างฝ่ายปฏิปักษ์เมือง ซึ่งหนุนหลังโดยบรรดามหาอำนาจยุโรปตะวนตกในระยะนั้นซึ่งไม่ต้องการให้รัสเซียเปลี่ยนระบบการปกครองและการถอนตัวจากสงครามดลกครั้งที่ 1 การเมืองภายใรระส่ำระสายอยู่หลายปีกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะรวมอำนาจปกครองรัสเซียได้อย่งแท้จริง ตัวอย่างรัสเซียนั้นทำใหเมาเซตุงเล็งเห็นว่าไมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
   เมาเซตุง ได้แยกพรรคต่าง ๆ และชนชั้นต่าง ๆ ออกเป็น 4 ฝ่าย
- ชนชั้นกรรมาชีพ
- ชนชั้นชาวนา
- ชนชั้นกฏุมพีระดับต่ำ
- ชนชั้นกฏุมพีรักชาติรุนแรง
     การปกคอรงต้องอยู่ภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา ซึ่งตั้งพรรคขึ้นเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ ทุกพรรคทุกชนนชั้นรวมตัวกันภายใต้รัฐบาลของตน เลือกรัฐบาลปกครองเองำเนินการกวาดล้างบรรดาเศรษฐีที่ดิน บรรดานายทุนที่เป็นข้าราชการประจำและบรรดาพวกพรรคชาตินิยมทียังคงมีอยู่ ลักษณปกครองโดยอิสระด้วยการที่ประชาชนเหลือผุ้แทนเองนี้เป็นลักษณะประชาธิปไตยโดยมวลชนและมีลักษณะเผด็จการนด้านที่รัฐบาล ดดยประชาชนตามท้องถิ่นกวาดล้างมีอำนาจเหนือพวกที่เป็นก)ปักษ์ต่อรัฐบาลกลางที่เรียกกันว่า พวกที่ปฏิกริริยา ทั้งลักษณะประชาธิปไตยและเผด็จการในการปกครองระบอบคอมมิวนเสต์เบพื้องต้นนี้ เมาเซตคุงกล่าว่าเป็นกลัการสำคัญ เรียกว่า ประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการโดยประชาชน ซึ่งเมาเซตุงได้ปรับปรุง ให้มีสทิธิเลือกตั้งปกครองตนเอง แสดงความคิดเห็นแนะนำใด ๆ ให้คำปรึกษาได้ แต่เมื่อลงมติเป็นเอกฉันท์ยุติเมือได จะคัดค้านเป็นปฏิปักษ์ต่อมติเช่นนั้นไม่ได้
    ในด้านการปกครอง กฎหมายรัฐ คือ รัฐธรรมนูชั่วคราวระบุการตั้งรีฐบาลกลางและระบุอำนาจหน้าที่ขององค์การทุกฝ่ายทางการเมือง เป็นการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง กฎหมายนี้ได้ใช้เเป็นหลักกระทั่งมีการใชรัฐธรรมนูญที่เเท้จริงจึงเลอกใชกฎหมายนี้ การปกครองมีโครงสร้างเป็นแบบเทียบขนาน คือ พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลขนานไปด้วยกัน
     พรรคคอมมิวนิสต์มีโครงสร้างที่ประยุกต์ตามความเหมาะสม มีอุดมการของตนเอง คือลัทธิมาร์คซ์ลัทธิเลนิน และความความคิดของเมาฯ โครงสร้างของพรรครับจากแบบเลนิน เหน้หลักการรวมอำนาจมากกว่าหลักประชาธิปไตย คำนึงถึงการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นปึกแผ่นมั่งคงของพรรค

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

The Truman Doctrine 1947

      ทรูแมน เข้ารับตำแหน่งต่อจาก รูสเวลส์ที่เสียชีวิตอย่างกระทันหันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้ซึ่งลงนามอนุมัติคำสั่งทิ้งระเบิดนิวเคลียที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และเป็นผลให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข และได้ริเริ่มแผนการมาแชลล์ในกาฟื้อนฟูทวีปยุโรป
     ประธานาธิปดี ฮาร์รี่ เอส.ทรูแมน เผชิญสงครามเย็น นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีทรูแทนช่วงผี 1945-1953 นอกเนือจากยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 และก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้วยังมีอีกสองเรื่องคือ ต่อต้านและสกัดกั้นการอิทธิลพพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และสร้างความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจด้วยการขยายตลาดต่างประเทศเพื่อการค้า การลงทุนและแสวงหาวัตถุดิบราคาถูก เหตุการณ์โลกที่ประธานนาธิบดีทรูแมนต้องเผชิญและดำเนินการแก้ไขหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คือสงครามเย็น

     สงครามเย็นเป็นคำอธิบายการต่อสู้ระหว่างกลุ่มประเทศสองกลุ่มคือกลุ่มชาติคอมมิวนิสต์ยึดมั่นชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิสต์มีรุสเซียเป็นผู้นำ กับกลุ่มชาติประชาธิปไตยยึดมั่นชื่นชอบในระบอบประชาธิปไตยเรียกโลกตะวันตก มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำสาเหตุที่เรียกวาสงครามเย็นเพราะเป็นสงครามจิตวิทยาหรือการต่อสู้ที่เลี่ยงการปะทะเสียเลือดเนื้อเป็นการต่อสู้แข่งขันหรือข่มกันทางวิชาการ ความคิด เศรษฐกิจ และการเมือง ได้แก่การแข่งขันสะสมกองกำลงและอาวุธร้ายแรง เช่น การมีระเบิดปรมาณู ระเบิดไฮโดตเจน และอาวุธนิวเคลียร์ ไว้ในครอบครอง การโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้สื่อ..รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ชาติด้อยพัฒนาเพื่อนำเข้าเป็นสมาชิกในฝ่ายตน เหตุที่มาของสงครามเย็นสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อเยอรมันบุกโจมตีรุสเซีย ปี 1941 พันธมิตรด้านการทหารได้เร่มขึ้นนระหว่างรตุสเซียกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นไปด้วยดีตลอดเรื่อยมา จากการล่าถอยของกองกำลังเยอมันจากยุโรปตะวันตก  รุสเซียมั่นใจว่าเยอมันต้องเป็นฝ่ายพ่ายปพ้แน่ ความเป็นพันธมิตรระหว่างรุสเซีย กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอุดมการณ์การเทืองต่างกันชนิดที่ไปด้วยกันไม่ได้แน่ในอนาคต จำเป็นที่รุสเซียต้องหาพันธมิตรใหม่วมอุดมกาณ์การเมืองเดียวกัน และเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธเพื่อปกป้องกพันธมิตรด้วยความคิดดังกล่าว
     รัสเซียเริ่มเคลื่อนไหวทันที่หลังสิ้นการประชุมที่ยัลดฃต้าด้วยการเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน ได้แก่ แอดลาเนีย บัลกาเรีย โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย รวมถึง โปแลนด์ ฮังการี และเยอมันตะวันออกตามข้อตกลงพอทสดัม สหรัฐอเมริกาขมขื่นกับพฤติกรรมของรุสเซียดังกล่าว และตระหนักดีว่ารุสเซียเป็นชาติผู้ก้าวร้าว นำการยึดมั่นในลัทธิคมมิวนิสต์ซึ่งเป้นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีมาตรการสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
     ปฏิบัติการสงครามเย็นช่วงปี 1945-1953 ระหว่างกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก รุสเซียเป็นผุ้เปิดสงครามเย็นเร่มด้วยกลางปี 1945 กองกำลังทหารรุสเซียเข้ายึดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่าน รุสเซียควบคุมสื่อทั้งสิ่งพิมพ์และการกระจายเสียงภายในรุสเซียปฏิบัติการโฆษณาชวยเชื่อประกาศความสามารถคุนความดีของรุสเซียและหล่าวดจมตีสหรัฐอเมริกา รุสเซียลดจำนวนคนอเมริกันที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ประเทศกลุ่มตะวนออกด้วยเกรงการลดศรัทธาในลัทะคอมมิวนิสต์ของชาติสมาชิก รุสเซียปฏิเสธการเข้าตรวจสอบของคณะกรรมการพลังงานประมาฯองค์การสหประชาชาติจัดตั้งคณะกรรมการพลังงานปรมาณูองค์การสหประชาชาติในปี 1949 อันถือเป็นบทบาทแรกของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น ผลจากการศึกษาค้นคว้ารุสเซียผลิตระเบิดปรมาณูได้เป็นชาติที่สองใป  1949
     ในปี 1946 รุสเซีย มุ่งขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางเริ่มด้วยปฏิเสธการเคลื่อกองกำลังทหารรุสเซียออกจากดินแดนตอบเหนือของอิหร่านเพราะต้องการครอบครองธุรกิจนำมันรวมทั้งให้การสนับสนุนคนอิหร่านในพื้ที่ดังกล่าวก่อการกบฎ แยกตัวจากรัฐบาลอิหร่านเตหะรานเพื่อรุสเซียจะได้นำพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอุดมด้วยน้ำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของโลกคอมมิวนิสต์ในอนาคต สหรัฐแมริกาประท้วงให้โลกรู้ กองกำลังรุสเซียต้องถอยกลับรุสเซีย
     ท่าทีของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็นประการแรกในปี 1947 คือ สหรัฐเมริกาเชื่อในหลักการยับยั้งสกัดกั้นของจอร์ช เอฟ เคนแนน เคนแนนเป็นนักการทูตหนุ่มอเมริกันเชี่ยวชาญเรื่องรุสเซีย จากพฤติกรรมการก้าวร้าวในรูปสงครามเย็นของรุสเซียที่ปฏิบัติมาช่วงปี 1945-1946 เป็นผลให้ในเดื่อกรกฏาคม 1947 เคนแนนได้เขียนบทความชื่อหลักการยับยั้ง ใช้นามปากกาว่านายเอ็กซ์ ในนิตยสารชื่อฟอเรน เอฟแฟร์ กล่าวว่าลัทธิคิมมิวนิสต์ของรุสเซียจะแพร่ขยายไปในทีกพื้นที่ที่รุสเซียจะสามารถทำได้ การหยุดยั้งปฏิบัติการของรุสเย ต้องใช้นโยบายยับยั้งสกัดกั้น ทำอย่างรอบคอบระมัดระวัง แน่วแน่มั่นคงและตื่นตัวปรับเปลี่ยนรับสถานการณ์เสมอ ควรเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือการปะทะเสียเลือดเนื้อกับรุสเซีย ควรมีมาตรการขีดวงล้อมรุสเซยและชาติบริวารออกจากความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก และสหรัฐอเมริกาควรให้ความช่วยเหลือชาติด้อยพัฒนาและชาติเล็กๆ อย่างเต็มที่เพื่อให้ชาติเหล่านี้รอบพ้นจากการก้าวร้าวคุกคามของรุสเซียอันจะทำให้ชาติเหล่านี้ปฏิเสธลัทะคอมมิวนิสต์และคงระบอบประชาธิปไตยต่อไป
    ท่าทีของสหรับประการที่สอง คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน ปี 1947 The Truman Doctrine 1947 คือ ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการทรูแมน โดยในปี 1945 กรีก Greece เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในคาบสมุทรบอลข่านที่รอดพ้นการยึดครองของกองกำลังรุสเซีย เพราะอังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกเพื่อต้านรุสเซีย ตุรกีเป็นประเทศในดินแดนเอเชียไมเนอร์มีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์ รุสเซียต้องการยึดครองตุรกีเพื่อเพิ่มชาติสมาชิกโลกตะวันออกและมีสิทธิถือครองเหนือช่องแคบคาร์ดาแนลส์อันจะเป็นทางให้รุสเซียขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู้ดินแดนตะวันออกกลาง ยึดครองแอฟริกาและคลองสุเอซ ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำลัดเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย อังกฤษให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่ตุรกีเพื่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์รุสเซียและรักษาผลประโยชน์อังกฤษด้านเศรษฐฏิจการค้าและการคมนาคมเหนือพื้นที่ดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ 1947 อังกฤษบอกอย่างเป็นทางการแก่สหรัฐอเมริกาว่าหลังวันที่ 31 มีนาคม 1947 อังกฤษไม่อาจให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจแก่กรีกและตุรกีเพื่อต้านการแผ่ขยายลัทะคอมมิวนิสต์รุสเซียได้อีกต่อไ ประธานาธิบดีทรูแมนเห็นความจำเป็นต้องรับสืบทอดงานต่อจากอังกฤษด้วยเกรงว่ากรีกและตุรกีอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซีย และลัทธิคอมมิวนิสต์อาจแผ่ขยายสู่ดินแดนตะวันออกกลางกระทบต่อธุรกิจน้ำมันอเมริกัน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีทรูแมนประกาศหลักการรูแมน กำหนดสหรัฐฯจะให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่กรีกและตุรกี เพื่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของกองกำลัง รุสเซียและลัทธิคอมมิวนิสต์และเพื่อคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยสืบต่อไปในกรีกและตุรกี หลักการทรูแมนเป็นการประกาศชัดแจ้งในนโยบายยับยั้งสกัดกั้นของสหรัฐอเมริกาต่อการก้าวร้าวคุกคามของลัทะคอมมิวนิสต์รัสเซีย รัฐสภาตอบรับหลักการทรูแมนทันที่ด้วยการอนุมัติวบประมาณ 400 ล้านดอลล่าช่วยกรีกและตุรกี สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย รุสเซียตอบโต้โดยกล่าวโจมตีสหรัฐฯในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เรียกสหรัฐฯ ว่าผู้ค้าสงครามหรือผู้กระหายสงคราม
     ท่าที่ของสหรัฐฯในสงครามเย็นประการที่สาม สหรัฐฯกอบกู้ เศรษฐกิจ ยุโรปด้วยแผนมาร์แชล สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน เศรษฐกิจสังคมและการเมือง ดดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน ผู้คนอดอยาย เศรษฐกิจพังพินาส จากสภาพขาดแคลนและเศรษฐกิจล้มเหลวสหรัฐอเมริกาเกรงว่ากลุ่มประเทศยุโรปเหล่านี้อาจยอมรับความช่วยเหลือของรุสเซีย และยุโรปตะวันตกอาจต้องตกเป็นชาติบริวารรุสเซียในอนาคต ด้วยการคาดคิดดังกล่าวเป็นปลให้จอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศประกาศแผนมาร์แลล ในการกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เชิญชวนกลุ่มประเทศยุโรปร่วมมือกันกำหนดแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป โดยสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ด้วยแผนมาร์แชล อังกฤษและฝรั่งเศสนำการิชญชวนชาติยุโรปร่วมประชุมที่กรุงปารีสเพื่อร่างแผนกอบกู้ปรับปรุงเศรษบกิจยุโรป มี 16 ชาติเข้าร่วมประชุมกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรป ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป ในเดือนกันยายน 1947 คณะกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจยุโรปเสนอของความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐอเมริกาเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรปช่วงสี่ปีแรก ในวงเงิน 19-22 พันล้าน ในเดือนเมษายน รัฐสภามีมติเห็ฯชอบอนุมัติเงินเพื่อกอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรป  รุสเซียประกาศไม่ให้ชาติบริวารยุโรปตะวันออกรับความช่วยเหลือเข้าร่วมในแผนกอบกู้ยุโรป เป็นผลให้แผนกอบกู้ยุโรป จำกัดเพียงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเท่านั้น

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Lefe-Right Politics

     ในจักวรรดิโรมัน เผด้๗การเป็นสถาบันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะประกาศออกมาใช้ยามเมือจัรวรรดิอยู่ในภาวะวิกฤติ ระบบการแบ่งแยกอำนาจจะถูกยกเลิกชั่วคราว เหลือไว้แต่ผู้กุมอำนาจสูงสุดแต่เพียงผุ้เดียวได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็น “เผด็จการ” โดยให้อยู่ในตำแหน่งนี้ครั้งละ 6 เดือน ผู้ดำรงตำแหน่งเผด็จการมีสิทธิเต็มที่ในการใช้มาตรการทุกชนิเพื่อการอยู่รอดของรัฐ ระเบียบวิธีนี้คล้ายันมากกับระเบียบวิธีของกฎหมายสมัยใหม่ที่เรียกว่าเป็น “ภาวะฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก การใช้อำนาจเต็มเช่นนี้มีอยู่ในบทบัญญัติขิงดฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเทส
     ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามกรกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามหรืความสงบภายน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของรัฐมนตรีมีอำนาจสังการหรือกระทำการใด ก็ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     วิวัฒนาการของเผด็จการที่ถูกต้องตามกฎหมายตามที่นำมาอ้างถึงี้ เป็ฯที่น่าสนใจตรงที่ว่ามีหลักฐานจากประวัติศาสตร์ว่า เผด็จกานั้นมีจุดเริ่มจากผ่ายอนุรักษ์นิยม ในจักรวรรดิโรมันดั้งเดิม เผ็จการถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันระเบียบที่มีอยู่แล้วในสังคม ต่อมาถึงมีการเปลี่นยแปลงรูปแบบของสถาบันไปแล้วสีเดิมก็ยังไม่จางไปมากเท่าใด ในทางตรงกันข้ามกับเข้มขึ้นเรื่อย ๆ กับพัฒนาการของอุดมการประชาธิปไตยสมัยใหม่ ด้วยบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญที่อ้างมาแล้วนั้นฝ่ายซ้ายจะจ้องต่อต้านอยู่แล้วโดยธรมชิรติ แต่ฝ่ายขวาจะมีความรู้สึกเห็นด้วยเพราะถือว่าเป็นวิที่ดีที่สุดในการธำรงไว้ซั่งตะเบียบของสังคมที่ดีงาม เผด็จการนั้นไม่จำเป็นเสมมอไปที่จะเกิดขึ้นเป็นปฏิกริยาตอบโต้และเป็นมาตการป้องกันการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เผด็จการปฏิวัติก็เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในประวัติศาสตร์ในจำนวนครั้งที่ไม่น้อยกว่ากันเลย
     ความสัมพันธ์ของเผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัติ
สถานะการ์อย่างเดียวกันอาจก่อให้เกิดได้ทั้งเผด็จกาปฏิกริยา และเผด็จการปฏิวัติกล่าวคือเผด็จการทั้ง 2 แบบนี้เป็นคำตอบของปัญหาเดียวกันนั่นคือ ภาวะที่สังคมกำลังจะแยกจากกันเพราะการมีวิกฤติการณ์ดครงสร้างและวิกฤติการณ์ความชอบธรรม ฝ่ายหนึ่งต้องการเร่งให้แตกออกมาเร็วที่สุด อีกผ่ายหนึ่งต้องการดึงไว้ให้คงที่ให้มากที่สุด ความสำเร็จของเผด้๗การทั้ง 2 ฝ่ายโดยธรรมชาติแล้วจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ แต่จะเป็นผลแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับความสุกงอมของภาวะการณ์ที่ไม่เท่ากั กล่าวคือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นช้ากว่าการก้าวหน้าของวิกฤติการณ์ พลังสังคมแบบใหม่พัฒนาไปไกลหกว่าพลังสังคมแบบเก่า ระบอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นโอกาสขงฝ่ายปฏิวัติมากว่า หรือถ้าเผด็จการเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า ในขณะที่พลังสังคมและความคิดแบบใหม่ยังอยุ่ในระยะเริ่มผลิเป็นตัวออ่อน ระบอบเผด็จการจะเป็นไปแนวเผด็จการปฏิกริยาฝ่ายขวา
     อยางไรก็ตามคำอธิบายที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการวงรูปแย่งกว้าง ๆ เท่านั้น เนื้อหาของสถานะการณ์เฉพาะบางอย่างของบางสังคมจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งกว่านี้เป็นรายๆ ไป เพราะการเลปี่ยนแปลงระบอบของสังคมในลักษณะเผด็จการหรือการช้กำลังบังคับขึ้นอยู่โดยตรงกับระดับการพัฒนาของสังคมหนึ่ง ๆ เป็นสำคัญ
     เผด็จการปฏิกริยาและเผด็จการปฏิวัตินั้นต่างก็ผูกพันและติดตามแทนที่ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระต้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะว่าเผด็จการทุกรูปแบบต่างก็เกิดมาเพื่อกดฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้มลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพ่แรงต่อต้า ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่ายตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดระบอบตรงกันข้าม เพราะวาเผด็จการใดทุกรูปแบบต่าง ไกดมาเพื่อกฝ่ายตรงกันข้ามให้ล้าลงและยิ่งกดก็ยิ่งเพิ่มแรงต่อต้าน ถ้าเผด็จการใดแสดงประสิทธิภาพของการใช้กำลังบีบบังคับ ในเวลาเดียวกันฝ่าตรงกันข้ามก็มีความจำเป็นที่จะโต้กลับด้วยกำลังอย่างเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เผด็จการปฏิวัติยิ่งเพีมกำลังขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับปฏิกริยาตอบโต้รุนแรง ในเวลาเยวกันเผด็จจกาปฏิกริยาก็เพิ่มอันตรายของการเกิดปฏิวัติด้วย แต่การเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานในตัวเองว่า ในระยะยาฝกลไกของฝ่ายปฏิวัติจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใกม่กว่าเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ ในขณะที่อีกฝ่ายเป็นเพียงสิ่งขัดขวาง ความผูกพันของปฏิกริยาและปฏิวัติไม่ใช้การหมุนเวียนเป็นงูกินหารชั่วนิรันดรแต่เป็นการติตามที่เป็นแรงผลฃลัก ให้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าออกไป
      ก่อนคริสตศักราช 6-7 ปี ทรราชย์ต่าง ๆ ของกรีกส่วนมากเป็นเผด็จการปฏิวัติ คือ เมือมีการต่อสู้กันระหว่างเจ้าที่คืนที่มีอำนาจอยู่ตั้งเดิมกับพวกชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เช่น พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ ปัญญาชน ฯ ทราชย์กรีกมักจะเข้าช่วยพวกชนชั้นใหม่นี้รวมทั้งมีความโน้มเอียงสนับสนุนพวก “เพรปิเยี่ยน” หรือมี่เรียกันในศัพท์ใหม่ว่า “มวลชน” ในการปกครองนั้นทรราชย์กรีกไม่ได้ใช้แต่เพียงกำลังเท่านั้น แต่ใช้โวหารโน้มน้าวจิตใจนให้เชื่อถือด้วย มีนโยบายเพ่มภาพษีแก่คนรวย เพื่อยกฐานะคนยากจน นอกจากนี้นดบายเรื่องคามเสมอภาคก็เป็นตำนานเล่าขากันต่อ ๆ มาจากนักเขียนสมัยโบราณ เช่น รเอที่ว่า ทรราชย์คอรินท์ เมือไปเยือนทรราชย์มิลเล็ทเป็นทางการ ได้ถามเจ้าของย้านถึงวิธีการปกครองบ้านเมืองที่ดีที่สุดทำอย่างไร ฝ่ายทรราชย์มิลเล็ทไม่ได้ตอบเป็นคำพูด แต่หยิบรวงข้าวขึ้นมากำหนึ่งแล้วค่อย ๆ ตัดส่วนยอดของรวงที่สูงขึ้นมาเหนือรวงข้าวรวงอื่น ๆ จนกระทั่งรงข้าวทั้งกำสั้นเหมือนกัน
    ตัวอย่างระหว่างเผด็จการขวาและเผด็จการซ้ายมีมาในอดีตสมัย กรีก โรมันมากมายเมือมาถึงสมัยใหม่ ตัวอย่างของการปฏิวัติฝรั่งเศส นับวว่าเป็นตัวอย่างประเดิมของยุคใหม่ได้ทันที
      ระบอบปฏิวัตและปฏิกรียาพลัดกันเดิดขึ้นบ่อยต่อมาในลาตินอเมริการาว ๆ ปลายศตวรรษที่ 19 และต่อมาที่เอเซีย และอาฟริกา ซึ่งเมือมีวิวัฒนาการมาถึงสมัยนี้ ความสำคัญของการต่อสู้กลายเป็นเรื่องระหว่าง ฟาสซิสม์ และคอมมิวนิสต์เป็นส่วนหใญ่
     ในสมัยโบราณปฏิวัติเกิดขึ้นก่อน เผด็จการปฏิกริยาจึงเกิดขึ้นติดตามมา แต่สม้ยปัจจุบันนี้สถานะการณ์กลับกันเป็นส่วนใหญ๋ หลายประเทศ คอมมิวนิสต์ติดตามฟาสซิสต์มา ส่วนน้อยเท่านันที่คอมมิวนิสต์จะเกิดขึ้นก่อนฟาสซิสม์ เพราะเผด็จการฟาสซิสม์ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นการป้องกันมากกว่าจะเป็นฝ่ายรุกเสียเอง
       อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนเหล่นี้รวบรวมขึ้นจากสถิติต่าง ๆ จากเหจุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วการกลับไปกลับมาระหว่งฟาสซิสฒ์กับคอมมิวนิสต์ยังอยูใกล้ตัวมากเกินกว่าจะหาข้อสรุปเป็นหลักฐานได้ ขณะนี้ยังคงอยุ่เป็นรอบแรกก็ได้รอบสองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเผ้าสังเกตกันต่อไป
    นอกจากนี้ ฝ่ายขวาและฝ่ายซ้านยไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต่อสู้ระหวางหัวรุนแรงทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ส่วนมาแล้วภายหลังจากระบอบเผด็จการ ระบอบตรงกันข้ามจะเกิดขึ้นตามคือจากรัฐบาลขวาก็จะเป็นรัฐบาลซ้าย หรือรัฐบาลซ้านก็จะเป็นรัฐบาลขวา ในสมยดบราณมาก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา ด้วยการพยายามหาข้อยุติระหว่างกลางของข้อเสนอของฝ่ายปฏิวัติและข้อค้านของฝ่ายปฏิกริยา อย่างไรก็ตามระบอบกลางที่เป็นข้อยุตินั้นอาจจะเป็นได้ทั้งในกรอบของระบอบประชาธิปไตย หรืออาจจะเกิดเผด็จการรูปใหม่ขึ้นก็ได้

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Making strategy(Democracy)

     ยุทธศาสตร์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
     ในสังคมที่มีเสถียภาพทางการเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายขวา และฝ่ายซ้อยไม่รุนแรงถึงขั้นมีวิกฤติการณ์โครงสร้างและวิกฤติการณ์ความเชื่อ ลูกต้อมการเมืองจะไม่เหวี่ยงจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวาอย่างเต็มี่ท แต่จะเหวี่ยง ไปจากตอนกลางของทางขวาไปยังตอน กลางของทางซ้าย การต่อสู้ทางการเมืองจะเป็ฯการต่อสู้ด้วยยุทธศาสตร์รนนิยมสายกลาง ดังนั้นทั้งสองฝ่ายขวาซ้อนจึงต้องวางแนวนโยบายสู่สายกลาง ภายในแต่ละค่ายฝ่ายหัวรุนแรงจะต้องยอมให้ฝ่ายหัวอ่อนควบคุม เพื่อให้ผู้ออกเสียงส่วนใหญ่เลือกพรรคของตน ทั้งพรรคขวาและพรรคซ้ายต่างก็แสดงท่าทีว่าอยู่สายกลาง จากท่าทีดังกล่าวทำให้กลุ่มปฏิรูปมีอิทธิพลเหนือกลุ่มปฏิวัติในค่ายฝ่ายซ้ายและในทำนองเดีวกันกลุ่มขวาอ่อนก็จะมีอิทธิพลเหนือกลุ่มขวาจัดด้วยเหตุผลเช่นนี้ทำให้การต่อสู้ระหว่างขวากับซ้ายลดความรุนแรงลงมาก
     การเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มอนุรักษณ์นิยมสายกลาง กับกลุ่มปฏิรูปของฝ่ายซ้ายเป็นสิ่งที่น่าเป็นไปได้ เพราะต่างฝ่ายก็มีขอบเขตการยอมรับร่วมกันได้ คือการยอมรับการปฏิรูปแต่สำหรับการปฏิรูปมีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่าฝ่ายขวาอ่อนเห็นว่าควรมีการจำกัดขอบเขตการปฏิรูป แต่สำหรับการปฏิรูป มีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่าฝ่ายขวาอ่อนเห็นว่าควรมีการจำกันขจอบเขตการปฏิรูปส่วนฝ่ายซ้ายกลับมีความเห็นว่าการปฏิรูปเป็นความจำเป็น ดังนั้นจึงควรปรับปรุงให้ขยายออกเรื่อย ๆ ด้วยเหจุที่จุดประสงค์และความคิดพื้นฐานแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ทางการเมืองด้านปฏิบัติ ทั่งฝ่ายขวาอ่อนและซ้ายอ่อนอาจจะร่วมมือกันได้บางประการคือ อาจกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางอย่างเดียวกันได้ แต่วิธีที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางย่อมต่างกัน กล่าวคือภายในพันธมิตรของฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่นิยมสายกลางแต่ละฝ่ายก็พยายามที่จะสร้างชัยชนะให้แก่ฝ่ายของตนเองความพยายามนี้ในบางครั้งจงมคีความจำเป็นที่แต่ละฝ่ายจะต้องของความสนับสนุนจากพวกหัวรุนแรงในค่ายของตน เพื่อให้มีกำลังภายในเพ่มขขึ้นสามารถมีอทิธิพลเหนือพันธมิตรที่อยุ่ในค่ายตรงกันข้าม ด้วยเหตุมาตราการบางอย่างหรือกร๊บางกรณีสายสัมพันธ์ของซ้ายปฏิรูปกับซ้ายปฏิวัติ และสายเชื่อมโยงของขวาอ่อนและขวาจัดก็ยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่จะปรากฎขึ้นให้เห็นชัดเมือใดนั้นก็แล้วแต่สถานะการณ์แต่ละครั้งไป
     อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายหัวรุนแรงต้องถูกจำกัดบทบาทเป็นเพียงกำลังเสริมเพื่อประโยชน์ทางการเมืองภาคปฏิบัติเท่านั้น ทให้พวกหัวรุนแรงซึ่งมีแนวโน้มทางธรรมชาติเป็นพวกรุนแรงอยู่แล้วถูกเพิ่มความกดดันมากยิ่งขึ้น นาน ๆ ก็จะระเบิดขึ้นมาที่หนึ่ง ดังที่เราจะเห็นตัวอย่างได้ว่าแม้แต่ในประเทศที่ระบอบการเมืองมีเสถียรภาพอย่างอังกฤษก็ดี สหรัฐอเมริกาก็ดี ฝรั่งเศสอิตาลี ญี่ปุ่น พวกหัวรุนแรงทั่งขวาและซ้ายก่อความวุ่นวายรุนแรงในที่สาธารณะขึ้นบ่อย ๆ เพราะเขาเห็นว่าพวกนิยมสายกลางไม่มีหลักการ ที่เห็นได้ยอ่างชัแจ้ง ไสมารถแก้ปัญหาของแต่ละฝ่ายได้อย่างจริงจัง ฝ่ายหัวรุนแรงจึงมีแนวโน้มที่จะแยกการเมืองในอุดมคติ บริสทุธิ์ แต่ปฏิบัติไม่ได้ไปสู่การเมืองที่เห็นผลทัน มากกว่าการประนีประนอม ดังนั้นเพื่อต่อสู้กับพวกนิยมสายกลางพวกหัวรุนแรงสุดขั้ยขงองทั้งสองค่ายก็มีอยู่วิธีเดียวคือร่วมมือกันโค่นล้มพันธมิตรนิยมสายกลาง แต่ทั้งสองฝ่ายต่องก็ยืนอยู่บนฐานที่มีจุดมุ่งหมายต่ากันสุดกู่ พันธฒมิตรในรูปนี้ ไม่อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองแก่ตัวเอง เพราะจะทำได้ แต่เพียงขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาล แต่ไม่สามรถเข้าแทนที่เป็นรัฐบาลเองได้ ถ้าพวกหัวรุนแรงทั้งสองค่ายมีกำลังแข็งกว่าพวกนิยมสายกลางและสามารถรวมกันได้รัฐบาลในรุ)แบบใดก้อยู่ไม่ได้ทั้งสิ้น

การปิดบังซ่อนเร้น

     ยุทธศาสตร์ที่ใช้วิธีปิดบังซ่อนเร้นจุดมุ่งหมายที่แท้ริงของพฤติกรรมทางการเมืองไว้เบื้องหลังสิ่งที่โฆษณาออกมาให้เป็นที่นิยมของประชาชนส่วนมากเพื่อหาเสียงสนับสนุน เป็นวิธีที่นำใช้กับรัฐบาลทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยหือรัฐบาลเผด็จการ เพราะทุกรัฐบาลย่อมต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจากประชาชนเป็นสำคัญ
     เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นที่ใช้กันบ่อย ๆ คือการปิดบังจุดมุ่งหมายที่มีการยอมรับน้อย  เทคนิคการปิดบังคุณค่าที่ด้อยกว่าไว้เบื้องหลังคุณค่าที่เหนือกว่าถูกนำมาใช้อย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น เจ้าของปัจจัยการผลิตจะไม่ยอมรับเป็นอันขาดว่า ระบบกรรมสิทธิของเอกชนในเครืองมือการผลิตเป็นหลักประกันให้เจ้าของได้แสวงหากำไรมากที่สุด แต่จะยืนยันว่าระบบกรรมสิทธิของเอกชนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประกัน เสรีภาพส่วนบุคคล หรือจะใช้คำว่า  การลงทุนเสรีแทน คำว่า กรลงทุนของเอกชน สรุปฝ่ายนายทุนจะย้ำเรื่อง “สรีภาพ” แทนที่ “ทรัพย์สิน” ฝ่ายเสรีนิยมใช้ประโยชน์จากเสรีภาพทางการเมืองเพื่อสะสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้ แต่ถ้ารัฐบาลเข้ากำหนดราคาขายเพื่อควบคุมราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินไป ฝ่ายเสรียนิยมจะต่อต้าน แต่ในการต่อต้านนั้นเขาจะไม่พูดว่ารัฐทำให้กำไรเขาลดลง เขาจะพูดว่าขาดทุนและหว่างหารัฐบาลว่าการแทรกแซงของรัฐเป้นการจำกัดเสรีภาพ การกล่าวหาเช่นนี้ก็จะทำให้มวลชนไม่พอใจด้วยเช่นดียวกัน
     เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นขึ้นอยู่กับ “ค่านิยม” ของสังคมเป็นสำคัญ การวัดค่านิยมจะต้องทำเป็นหลาระดับ ระดับหนึ่งคือการจัดระบบค่านิยมส่วนรวม หรือที่เรียกว่าค่านิยมของชาติ ต่อจากนี้ก็วัดจากกรอบอค่านิยมของชนั้นหนึ่ง ๆ หรือกลุ่มหนึ่ง ๆ ที่ทำการต่อสู้กับชนชั้นอื่น ๆ หรือกลุ่มอื่น ๆ โดยการพิจารณาดูว่ามีความแตกต่างกันในเนื้อหาอย่างไรบ้าง ในยุทธศาสตร์การเมืองนั้น ค่านิยมของแต่ละชนชั้นหรือพรรคหรือกลุ่มจะถูกซ่อนเร้นสิ่งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของตนไว้ให้ทันแต่เพียงภายใน และจะแสดงตัวว่ามีค่านิยมเหมือนกับค่านิยมของสังคมส่วนรวมหรือของชาติไว้เสมอ การวิเคราห์หาค่านิยมส่วนรวมจึงต้องประเมินกันอยู่เสมอ เพื่อหาทางดึงดูดพลังสนับสนุนและร่วมกันต่อสู้ฝ่ายตรงกันข้ามอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันฝ่ายตรงข้ามทุกฝ่ายก็จะใช้วิธีเดียวกัน เทคนิคของการปิดบังซ่อนเร้นที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่า ฝ่ายของตนกำลังทำเพื่อผลประโชน์ของประเทศชาติ แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงหรือที่แอบแฝงอยู่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
  
เทคนิคอีกย่างอนึ่งของการปิดบังซ่อนเร้นคือการทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ผลประโยชน์ของเขากำลังอยู่ในอันตรายทั่ง ๆ ที่ความจริงสิ่งนั้น ไ เป็นเพียงผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยที่กำลงเป็นอันตรายเท่นนั้น วิธีที่ทีกันส่วนมากและบ่อย ๆ คืการสร้าง “ศึตรู” มี่มีทั้งจริง และไม่มีจริง ด้วยการเพี่มความสำคัญแลอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากศัตรูนั้น ๆ มากขึ้น เมื่อหาข้ออ้างเพีมารตรกาการป้องกัน มาตราการต่อต้านให้สมเหตุสมผล แต่กำลังที่เพี่มขึ้นนั้นก็ใช้เป็นเกราะป้องกันผลปรโยชน์ของชนชั้นที่กำลังคุมอำนาจอยูด้วย เหมือนกับกาตะโกนดัง ๆ ว่า เสือมาแล้ว คนเดินทางพะวงดูเสือและหาทางป้องกันตัว คนตะโกนก็สามารถขโมยกระเป๋าเดินทางไปได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การใช้ยุทธศาสตร์เบนความสนใจประชาชนออกไปจากปรากฎการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในประทืศด้วยการสร้างศัตรูภายนอกประเทศ เพื่อตัดกำลังของฝ่ายตรงข้ามภายในและเพื่อเตรียมการยึดอำนาจรัฐล้วนแต่เป็นยุธศาสตร์ที่รัฐบาลหลายประเทศใช้แล้วนานนับร้อยๆ ปี และบางที่ก็ถึงนำประเทศเข้าสู่สงครามเพื่อทำให้การต่อสู้ภายในลดความรุนแรง
     ยุทธศาสตร์การปิดบังซ่อนเร้นจะถูกนำมาใช้มากน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นอยูกับระดับของการพัฒนาทางเทคนิคในสังคมหนึ่ง ๆ การปิดบังซ่อนเร้นจะมีมากที่สุดในระยะกลางระหวางสังคมด้อยพัฒนาและสังคมที่พัฒนาแล้ว
      ในสังคมล้าหลัง ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ขาดอาหาร ขาดการศึกษาถูกกดขี่บีบบังคับ ดังนั้นจึงถูกกันออกไปจากการแข่งขันทางการเมือง การเมืองจึงเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยที่มีความชำนาญและในการต่อสู้ช่วงชิงำนาจ ยุธศาสตร์การปิดบังซ่อนเร้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ผู้อยู่ในเวทีการเมืองยอ่มมองออกทั้งนั้นว่าอะไรเป็นอะไร เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า อย่าสอนหนังสือสงฆราช นักการเมืองในสังคมแบบนี้ล้วนเป็นสัฆราชทั้งสิ้น
     เทคนิคของการปิดบังว่อนเร้นจะใช้กันอย่างแนแน่นในสังคมกึ่งพัฒนา ในระยะนี้ประชาชนส่วนใหญ่เร่มจะตืนตัวทางการเมืองผู้กุมอำนาจทางการเมืองไม่สามารถกันให้มวลชนเหล่านี่ออกไปจากเวทีการเมืองได้ และในขณะเดียวกันส่วนใหญก็ยังขาดการศึกษา ไม่มีความรอบรู้เลห์เหลี่ยมของนักการเมืองเพียงพอ สังคมแบบนี้ยุทธศาสนการเมืองแบบปิดบังซ่อนเร้นนับว่ามีประสิทธิภาพมาก

     การต่อสู้แบบเปิดเผยและการต่อสู้อย่างแอบแฝง

การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ในทางทฤษฎีแล้วย่อมเป็นการต่อสู้อ่างเปิดเผยมากกว่าการเมืองของระบอบเผด็จการ การแบ่งพรรคการเมืองออกจากกลุ่มอิทธพลก็เป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งให้เห็นว่ามีการต่อสู้โดยตรงและเปิดเผยระหว่างพรรคการเมืองด้วยกัน ส่วนกลุ่มอิทธิพลคือการต่อสู้ทางอ้อมหรือย่างแอบแฝง อย่างไรก็ตามถ้าวิคราะห์ให้ลึกลงไปอีก จะเห็นว่าสถานะการณ์บางอยร่างของระบอบประชาธิไตยก็มีบางส่วนที่กลับกันกับสถานะการณ์ของเผด็จการกล่าวคือ ที่ว่าการต่อสู่โดยตรงเพื่อชวงชิงอำนาจในระบอบเผด็จการจะทำได้ในระดับตำแหน่งตำ ๆ แต่ในระบอบประชาธิไตยตำแหน่งกุมอำนาจระดับตำลงมาส่วนมากแล้วจะอยู่ในกำมือของข้าราชการประจำ ซึงอยู่ในระบบข้าราชการประจำที่มีหลักประกันความมั่นคงถาวรที่อำนาจฝ่ายการเมืองไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้วด้วยพลการ ด้วยเหตุนี้การต่อสู้โดยตรงและเปิดเผยเพื่อให้ได้อำนาจระดับต่ำในระบอบประชาธิไตยจึงมีขีดจำกัด หรือทำแทบไม่ได้ นนอกจากนี้ด้วยสถนะภาพที่ถาวรของระบบข้าราชการประจำก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนกล”กการเมืองในระดับสูงมีขอบเขตจำกัด ส่วนข้อแตกต่างของระบอบเผด็จการนั้น ผุ้มีอำนาจสูงสุดสามรถแต่งตั้งถอดถอนผู้ครองตำแหน่งต่าง ๆ ในระดับตำลงมาตามความพอใจของตน การต่อสู้เพื่อครองอำนาจในระดับต่าง ๆ จึงเป็นเพียงการต่อสู้อย่างเปิดเผยเพื่อให้ได้ความไว้ใจจากผู้กุมอำนาจสูงสุดเท่านั้น การเปลี่ยน “คนโปรด” ในระบอบเผด็จการเป็นการเผลี่ยนที่ได้ผลแน่นอนเด็ดขาด มากกว่าการเปลี่ยนมือครองอำนาจด้วยผลของการเลือกตั้ง
    ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือ การต่อสู้ทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีลักษณะหมุนเป็นวงกลม การเลือตั้วทั่วไปจึงเป็นระยะที่การต่อสู้ทางการเมืองพุ่งถึงขีดสุงสุด เมื่อพ้นระยะนี้การเมืองจะดำเนินไปเป็นจังหวะปกติ 4 หรือ 5 ปี ฝ่านไป การต่สู่จะหลับมาคุกคักอีกหมุนวนไปย่างนี้เรื่อยๆ

      เมื่อการเลื่อกตั้งทั่วไปฝ่านไปแล้วและก่อนจะถึงระยะเวลาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ การต่อสู้ทางการเมืองจะดำเนนินไปอย่างปกติเช่น การอภิปรายในรัฐสภาข่าวและบทความต่าง ๆ ในหน้าหนังสือพิพ์ การชุมนุมการเจรจาต่อรอง การแสดงออกของพรรคการเมืองสหพันธ์ต่างๆ และองค์การต่าง ๆ การต่อสู้ในกลุ่มดังกล่าวเป็นไปอย่างเปิดเผย แม้กระนันลักษณะของการต่อสู้ทางการเมืองนั้น ไม่ว่าจะดำเนินไปในกรอบของระบอบการเมืองแบบใกตาม การต่อสู้อย่างเปิดเผย บริสุทธิ ยุติธรรม ย่อมเป็นไปได้ยาก ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตยการที่จะได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า พรรคการเมืองนั้น หรือพรรคการเมืองนี้ได้รับเงินอุดหนุนการเลือกตั้งมาจากไหน หรือบริษัทธุรกิจการค้าของใครใช้อิทธิพลกับรัฐบาลหรือข้าราชการเหล่านี้เป็สิ่งยากมากหรือทำไม่ได้เลย
     การต่อสู้อย่างไม่เปิดเผยหรืออย่างแอบแผงเป็นวิธีการที่ทำได้หลายแบบ เช่น สถาบันต่าง ๆ ถึงแม้จะเห็นหน่วยราชการของรัฐก็อาจกลาย เป็นกล่มที่แสดงออกแทนชนชั้นได้ ถ้าหน่วยราชการแต่ละหน่วยแสดงตนว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มสังคม และมีแนวโน้มที่จะป้องกันทรรศนะของตนจากการโต้แย้งของฝ่ายอื่น การแข่งขันระหว่างหน่วยราชการ หรือระวห่างกระทรวงต่าง ๆ ก็อาจกลายเป็นกาต่อสู้ทางกาเทือได้ ในประเทศที่ปกครองโดระบบเผด็จการ บางครั้งจะได้ข่าวออกมาว่าสหพันธ์แรงงาน ทำการต่อต้านพรรคการเมืองดังนั้จึงเห้ฯไดว่สถาบันที่เห็นภายนอกว่ามีเอกภาพก็อาจจะหลายเป็นเครื่องมือการแบ่งแยกได้ การต่อสู้อย่างแอบแผงด้วยการซ่อนจุดมุ่งหมายทางการเมืองไว้เบื้องหลังจุดมุ่งหมายที่ไม่ใช้การเมือง ดังที่อธิบายมาข้าต้น ไม่เหมือนกับเทคนิคการปิดบังซ่อนเร้น ซึ่งเป็นธีที่คู่ต่อสู้ใช้จุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ดูดีกว่มีน้ำหนักกว่าไว้บังหน้าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของตน กล่าวคือทุกชนชั้น ทุกกลุ่มของสังคมที่ทำการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์เฉพาะของตนจะต้องแสร้ง ว่าตนกำลังต่อสู้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม คือเพื่อชาติ เพื่อความเป็นธรรม เพื่อสัจจธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยก่อให้เกิดความน่าสงสัยแก่ฝ่ายตรงข้ามที่การโฆษณาไม่แข็งพอ แต่การซ่อนจุดมุ่งหมายทางการเมืองไว้เบ้องหลังจุดมุ่งหมายที่ไม่ใช่การเมืองนั้น สาเหตุมาจากการแสดงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงทางการเมืองถูกสกัดกั้นไว้ด้วยกฎหมายของสังคมนั้น ๆ

การต่อสู้ในระบอบกับการต่อสู้นอกระบอบ

     ในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าการต่อสุ้ทางกาเมืองอย่างเปิดเผยจะเป็นหลักการฟื้นฐานก็ตาม แต่ก็มิใช่ว่าจะทำได้โดยไม่มีขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้ทำให้การต่อสู้มีลักษณะแตกต่างกันอย่างสำคัญ 2 แบบคือ การต่อสู้ในระบอบ และการต่อสู้นอกระบอบ อาทิ
    อังกฤษ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เนเธอร์แลนด์ ทุกๆ พรรคการเมืองยอมรับกติกาของระบอบที่ใช้อยู่คอยึดถือระบอบเสรีประชาธิปไตยรัฐสภาเป็นพื้นฐาน ด้วยการที่ไม่มีพรรคการเมืองใดจะทำการพลิกแพลงให้ออกไปนอกกติกา การต่อสู้ทางการเมืองในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงดำเนินอยู่ในระบอบอยางเคร่งครัดแต่ในฝรั่งเศสก็ดีหรืออิตาลีก็ดี ต่างมีกลุ่มฟาสซิสม์ ซึ่งเป็นกลุ่มขวาจัดและพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรคที่ตั้งได้ตามกฏหมาย ต่างก็ไม่ยอมรับกติกาของระบบรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตยหลายฝ่ายกาต่อสู้ทางการเมืองของทั้งสองประเทศดังกล่าวนี้ จึงมีส่วนที่ต้องทำกันนอกระบอบ ในกรณีแรกทุก ๆ พรรคการเมือพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้ชัยชนะและได้รับอำนาจนำแนวทางในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของชนชั้นหรือกลุ่มสังคม ที่พรรคนั้น ๆ เป็นตัวแทน ด้วยวิธีที่ยอมรับสถาบันและกฏเกณฑ์ของการต่อสู้ที่ทุกกลุ่มร่วมกันวางไว้แล้ว ส่วนในกรณีที่สอง พรรคการเมืองบางพรรคมีความเห็นว่าผลประโยชน์ของชนชั้นและกลุ่มต่าง ๆ ที่ตนเป็นตัวแทนอยู่นั้นไม่อาจเป็นไปได้ภายในกรอบวงของระบอบที่วางไว้นั้น เรพาะฉะนั้นพรรคเหล่านี้จึงต้องการเปลี่ยนของเก่าและหาของใหม่มาแทน
     การต่อสู้นอกระบอบมีอยู่ 2 แบบที่แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการ กล่าวคือในสังคมหนึ่ง ๆ จะต้องมีประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับสถาบันที่มีอยุ่และต้องการหาสถาบันอื่นมาแทนที่  จุดประสงค์ของการต่อสู้นอกระบอบจึงมีความจำเป็นไปในตัวของมันเองต้องเป็นการปฏิวัติ แต่เพื่อการล้มล้างที่หวังไว้จะมีผลสำเร็จได้ เขาอาจจะทำทั้งปฏิเสธกฎเกณฑ์ที่มีอยู่และต่อต้านด้วยวิธีใช้กำลังรุนแรงอย่างผิดกฎหมาย หรือบางทีก็ใช้กฎเกณฑ์ที่มีอยู่นั้นเองเพื่อให้ได้อำนาจมาก่อนแล้วจึงล้มล้างระเบียบที่เป็นอยู่เพื่อสร้างะเบียบใหม่ วิธีหลังนี้มีส่วนใกล้เคียงมากกับพรรคอมมิวนิสต์ในประเทศที่ยอมให้พรรคนี้มีบทบาททางการเมืองอย่างถุกกฎหมาย เช่นในฝรั่งเศสและอิตาลี พรรคคอมมิวนิส์เลิกใช้วิธีผิดกฎหมาย และยุติวิธีการใช้กำลังรุนแรงในการแข่งขันทางการเมือง และยอมรับกฎเกฑณ์ของระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่ด้วยอุดมการของพรรค แน่นอนว่าถ้าพรรคคอมมิวนิสต์ได้รับความสำเร็จโดยชนะการเลือตั้งและสามารถกุมอำนาจรัฐเป็นรัฐบาลพรรคนี้ก็อาจใช้อำนาจทำลายระเบียบของระบอบเสรีประชาธิปไตยได้
     ในระบอบเผิด็จการ การต่อสู้นอกระบอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยไม่ว่าใครย่อมไม่อาจแสดงออกอย่างเปิดเผยที่จะทำลายสถาบันที่เป็นอยู่ นอกเสียจากทำโดยลักษณะผิดกฎหมาย และการใช้กำลังรุนแแรงเท่านั้น ส่วนสถานะการณ์ของระบอบประชาธิปไตยนั้นแตกต่างออกไปในแง่ที่ว่า ระบอบนี้ ีลักษณะธรรมชาติที่สำคัญคือการยอมให้ฝ่ายตรงข้ามาแสดงความคิดแนวทางออกมาได้อย่างเปิดเผยลักษณะนี้เองที่ยอมใ้ห้การต่อสู้นอกระบอบเกิดขึ้นได้ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า ระอบอบประชาธิปไตยต้องจำนนและวางอาวุธท่ามกลางศัตรูหรือไม่ การที่ได้ให้เสรีภาพจะทำใ้ห้เสรีภาพถูกทำลายหรือไม่คำตอบสำหรับปัญหานี้ก็คือ "ระบอบประชาธิปไตยยอมให้ศัตรูของระบอบนี้ได้มีโอกาสแสดงออกในความคิดและอุดมการของตนได้ "ระบอบประชาธปไตยยอมให้ศัตรูของระอบบนี้ได้มีโอกาสแสดงออกในการนับถือคามคิดของผู้อื่นมิได้หมายความเป็นอย่างเดียวกับการสนับสนุนความคิดในการใช้กำลังรุนแรงบังคับ ระบอบประชาธิปไตยย่อมมีสิทธิำและหน้าที่เต็มที่ที่จะห้ามและทำลายการต่อสู้ทางการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายล้มล้างระบอบประชาธิปไรขด้วยกำลังรุนแรง

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...