บทบาทในโลกตะวันออกยุคใหม่ ลักษณะที่ตั้งช่วยลิขิตชีวิตเกาหลีให้ดำเนินไปในทิสทางตรงกันข้ามกับความปรารถนาของเหลีเอง เกาหลีไม่สามารถจะหลีกหนีตะวันตกที่พยายามล่วงล้ำกำเกินพรมแดนเกินจุดประสงค์ของเกาะหลี โดยลักษณะที่ตั้ง เกาะหลีอยู่บนเส้นทางการสร้างจักรพรรดิระสเซียบนแผ่นินใหญ่อเดซียตะวันออก และโดยลักษณะที่ตั้งอีกเช่นกันที่ทำให้ญี่ปุ่นถือว่าเกาหลีคือปราการด่านแรกของการที่จะมีชาติใดรุกรานญี่ปุ่น และเป็นปราการด่านแรกของการที่ญี่ปุ่นจะสร้างจักรวรรดิบนฝืนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีนับว่าสำคัญมาก ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับจีน เพราะเกาหลีมีแม่น้ำยาลูเป็นพรมแดนธรรมชาติติดกับจีนอริราชศัตรูที่จะรุกรานจีนที่ใกล้ที่สุดเพื่อจู่โจมนครหลวงปักกิ่งและหรือโจมตีแมนจูเรีต้องผ่านเกาหลีก่อน ความสำคัญในด้านที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เช่นนั้นเป็นที่ยอมรับมาช้านานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หลีหุงจางนักการทูตอาวุโสของจีนได้ย้ำถึงความสำคัญของเกาหลีในแง่ยุทธศาสตร์ไว้ว่า “..เกาหลีมีความสำคัญต่อเรามากในฐานะที่เป็นแนวป้องกันบรรดามณฑลตะวันออก นับถอยหลังย้อนไปสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่โจมตีเยนชิง จากฐานกำลังแสนยานุภาพมหาศาลมาสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่จะโจมตีเยนชิง(ปักกิ่ง) จากฐานที่มั่นแห่งคาบสมุทรเหลียวตุง การที่ญี่ปุ่นระกรานเกาหลีจึงเป็ฯมหันตภัยต่อดินแดนเหลียวชิง “
ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีได้ลิขิตให้เกาหลีต้องเผชิญโศกนาฎกรรมครั้งแล้วคร้งเล่าตั้งแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 20 เกาหลีเปรียบเสมือนแหล่งวังน้ำวนในห้วงมหรรณพที่ดึงดูดให้มหาอำนาจเข้าไปเวียนวนและห้ำหันพิฆาตกันจนอาสัญกันจนอาสัญหลายครั้งหลายครา เกาหลีจึงเป็นเสมือนรัฐในท่านกลางปัยหาระหว่างประเทศเสมอมา มีข้อควรพิจารณามิใช้น้อยว่า เหตุใดมหาอำนาจจึงต้องตัดสินใจทำสงครามด้วเรื่องเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ รุสเซียสนใจเกาหลี เพราะต้องการเมืองท่าของเกาหลีในเขตอากาศหนาวอบอุ่นแทนไซบีเรียของตนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งไม่เหมาะแก่การสร้างเมืองท่า ญี่ป่นสนใจ เพราะเกาหลีเสมือนประการด่านแรกให้อริราชศัตรูรุกรานญี่ปุ่นได้โดยง่าย ดังที่ญี่ปุ่นได้เปรียบเปรยเสมอว่า เกาหลีนั้นคือ “กรชที่หมายมุ่งตรงสู่หัวใจ”แต่ในขณะเยวกัน เกาหลีคือบนไดขั้นที่ สำหรับญี่ปุ่นในการสร้างจักรวรรดิ ในสายตาของจีน ชนชั้นปกครองของเกาหลีมีสิทธิปกครองประเทศ เพราะจีนรับรองให้อำนาจอาญาสิทธิ เกาหลีเองยอมรับความเหนือกว่ายิ่งใหญ่ของจีน และถ่อมตนเป็นประเทศราชด้วยความเต็มใจเพราะมีความนับถือยำเกรงในความเหนือกว่า ยิ่งใหญ่หว่าของจีนมาแต่แรกแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า เกาะหลีได้ถวายเครื่องราชบรรณาการอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับนับถืออารยธรรมจีนมาก เครื่องพิสูจน์สำคัญคือการที่เกาะหลีได้ใช้ระบบปฏิทินจีน ความสัมพันธ์อันแนบแน่นโดยมีลักณะกาเมหืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอันยาวนานเช่นนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่จีนเองแสดงอำนาจอาญาสิทธิเหนือเกาหลีโดยที่ เกาหลีเองไม่เคยแสดงความเต็มใจที่จะซือตรงจงรักภักดีต่อจีน แต่กระนั้น ความสัมพันธ์ลักษณะนั้นได้สะท้อนถึงการทีจีนแสดงความสัมพันธ์อันเป็นตัวอย่างคดีนิยมที่ว่า ประเทศใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าย่อมรักใคร่ประเทศที่เล็กกว่า ประเทศเล็กต้องแสดงความนอบน้อมถ่อมตน ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เกาหลีปกครองตนเองเป็นอิสระได้และมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอก จีนจะเกี่ยวข้องเฉพาะเมือเกาหลีถูกรุกรานเท่านั้น
เมื่อเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองจน เกาหลีไม่สนใจการค้าระหว่าประเทศ เกาหลีพึงพอใจกับการปิดประเทศอยู่โดดเดี่ยวมากกว่า ภาวะอยู่โดดเดี่ยวเองนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ความหวาดกลัวซึ่งบังเกิดขึ้นเมือเกาหลีถูกญี่ปุ่นรุกราน และเกาหลีรู้สึกตนมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริงเฉพาะเมือได้อยู่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งจักรพรรดิจีนเท่านั้น และไม่ต้องการสมาคมกับประเทศใด แม้แต่การติดต่อเพื่อประโยชน์ทางการค้าเกาหลีก็ไม่ปรารถนาด้วยเชื่อมั่นว่า เกาหลียากจน ถ้าติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก จะทำให้สินค้าทรัพยากรธรรมชาติหลังไหลออกนอกประเทศ ราคาสินค้าจะขึ้นสูงเพราะสินค้าขาดแคลนในท้องตลาด ผุ้คนจะตกยากมาก เกาะหลีจะตกอยู่ในสภาวะอ่อนแอได้ เกาะหลีจึงเชื่อว่าตนเองไม่มี
ประสบการณ์ พื้นฐาน และภูมิหลังทางเศรษฐกิจเพื่อจะติดต่อค้าขายกับใครได้ อีกทั้ง เศรษฐกิจเพื่อความดำรงคงอยู่เรียบง่ายไม่สามารถาจะทำให้ประชารชนมีกิเลสใคร่ได้สินค้าใด อันจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการซ์อขายได้ เกาหลีจำกัดการค้าไว้กับจีนเท่านั้น ญี่ปุ่นเองก็มีสถานีการค้าอยู่ที่เมืองปูซาน
ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกได้เรียกร้องของติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลี แต่ไร้ผล การก่อเหตุวิวาทกันตามชายฝั่งทะเลเป็นเหตุปกติวิสัย เกาหลีกำหนดนโยบายปฏิบัติต่อชาวตะวันตกไว้ชัดเจนว่า จะให้ความข่วยเหลือเรือที่อัปปาง แต่ปกป้องมิให้ชาวตะวันตกกล้ำกรายเกาหลีได้ และมักผลักดันให้ออกไปให้พ้นชายฝั่งตนเมื่อชาวตะวันตกของเจรจาด้วยเกาหลียืนกรามแข็งขันมากที่จะไม่เจรจาอันใดด้วย และไม่ยินยิมค้าขายด้วยทรรศนะเช่นนั้นเป็นที่พึงพอใจสำหรับจีนมาก จักรพรรดิจีนได้เคยตรัสแก่ชาวอังกฤษว่า จีนไม่สามารถจะเปิดประเทศเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพาะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจี แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้อำว่าเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพราะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้ำว่าเกาหลีเปิดประเทศเองมิได้เช่นกัน เพราะเกาหลีมิได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอำนาจอธิปไตย หลักการของจีนต่อประเทศราชเยี่ยงอย่างเกาหบีได้แก่ การที่เกาหลมีอิสระในการปกครองตนเองแต่จีนมีอำนาจอธิปไตย เหนือเกาหลี หลักการปกครองตนเองโดยอิสระไม่ขัดแย้งแต่อย่างใดกับหลักการอำนาจอธิปไตยที่จีนมีเหนือเกาหลี
จีนได้กำหนดนโยบายต่อเกาหลีไว้ว่า จีนปรารถนาที่จะให้เกาหลียังดำรงตนเป็นประเทศราชของจีน และต้องการให้เกาหลีมีสถานะเหมือนเดิมทุกประการเพื่อความมั่นคงของจีนเอง จีนไม่ปรารถนาที่จะให้กาหลีเปลี่ยนแปลงอันอาจจะทำให้จีนต้องผูกมัดตนเองเข้าช่วยเกาหลีดังอดีต จีนจึงปรารถนาที่จะให้เกาหลีไม่มีเหตุพิพาทอันใดกับตะวันตก แต่จีไม่สามารถที่จะบงการมหาอำนาจตะวันตกให้ใฝ่สันติต่อเกาหลีได้ โดยสรุป จีนมีนดยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของเกาหลี และไม่แทรกแซงทางทหารเพื่อำนาจผลประโยชน์ที่พิสูจน์ได้ดีว่าอันตรายยิ่งต่อจีน จีนต้องการรักษาสถานะเดิมของเกาหลี ดังนั้น สงครามต้องไม่อุบัติขึ้นอันจะเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมของเกาหลี แต่ในขณะเดียวกัน การที่จีนพยายามดำรงตนเป้นกลางโดยยับยั้งข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีนี้นมิได้มหายความว่า จีนจะรับผิดชอบกับพฤติกรรมที่เกาหลีได้ปฏิบัติต่อต่างชาติตามที่เป็นที่คาดหมายกัน และมิได้หมายความว่าจีนจะสามารถควบคุมเหล่ามหาอำนาจได้ตามที่เกาหลีคาดไว้แต่อย่างใด ทังนั้นย่อมประจักษ์ได้จากความขัดแย้งระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม เมือญี่ปุ่นเปิดเกาหลีแล้ว มหาอำนาจอื่นก็ดาหน้ากัน “เบียบเสียดยัดเยียด”เข้าไปในประเทศเกาหลี คคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรุสเซีย เกาหลีสุดที่จะดพเนินการทูตใดได้ ด้วยไม่มีประสบการณ์ในการต่างผระเทศกับนานาประเทศมาก่อน เหาหลีใต้ทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศตะวันตกประเทศแรก กษัตริย์เกาหลีได้ทรงย้ำสถานภาพเกาหลีในพระราชสาสน์ถึงประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาไว้ว่า
“ในกิจการเกี่ยวกับเกาหลีเป็นเมืองขี้นของจีนนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำถามใดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศนั้นอันสืบเหนื่องมาจากการที่เหลีเป็นเมืองขึ้นสหรัฐอเมริกา จักไม่แทรกแซงกิจการภายในในทางใดๆ ทั้งสิ้น”
พระรสาสน์นั้นระบุชัดถึงสถานภาพเกาหลีว่าเป็นเมืองขึ้นของจีน แต่มีความเป็นอิสระในการเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศบนพื้นฐานแป่งความเสมอภาพกัน จีเองก็ยินยิมเห็นชอบด้วย โดยถือว่าการที่เกาหลีทำสนธิสัญญากับนานาประเทศไม่เป็นการขัต่อหลักการของจีนที่ถือว่า เกาหลีเป็นเมืองขึ้นของจีน
การเปิดประเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศเกาหลี กล่าวคือทฤษฎีปรัชญาการเมืองและศิลปวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าไปในเกาหลี ที่สำคัญคือ ลัทธินิยมวิทยาศาสตร์และลัทธิชาตินิยม ความเปลี่ยนแปลงถึงขึ้นปฏิวัติได้เกิดขึ้นในแวดวงประชาชนและประเทศชาติ ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญคือ วิธีการพัฒนาเกาหลี หลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมจีนแต่ต่ดต้านตะวันตก อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหัวก้าวหน้านิยมการพัฒนาชาติตามวิธีการญี่ปุ่นการแบ่งแยกนั้นย่อมเปิดช่องจังหวะโอกาสเหมาะให้จีนและญี่ปุ่นได้แทรกเข้าไปในกิจการเกาหลีได้โดยง่าย
แรงกดดันของกลุ่มชนต่างชาติกลุ่มต่าง ๆ เกาหลีไม่สามารถจะรวมกันได้ การที่จะขจัดอิทธิพลจีนและประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชนั้นเป็นเรื่องหนึ่งแตกต่างจากการที่จะจัดตั้งการปกครองตามวิถีทางของการสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น การเมืองในเกาหลีทวีความเช้มชั้นยิ่งขึ้น เมื่อนักปฏิรูปผุ้นิยมญี่ปุป่นถูกลอบสังหารในเขตนานาชาติในเซี่ยงไฮ้ เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ญี่ปุนเองประสบความล้มเหลวในการช่วยเกาหลีสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น โอกาสอำนายเมื่อเกิดเหตุลุกฮือในภาคใต้ โดยพยายามจะล้มราชบัลลังก์ แต่ไร้ผล ต่างฝ่ายต่างขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นและจีน ผลคือญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ ญ่ปุ่นได้คาบสมุทรเหลียวตุงซึ่งเป็นจุดกันชนมิให้จีนและรุสเซียล่วงล้ำพรมแดนเกาหลี แต่ถ้าญี่ป่นเห็นความสำคัญของเหลี่ยวตุง มหาอำนาจอื่นโดยเฉพาะรุสเซียก็เห็นความสำคัญเช่นนั้นด้วยรุเซียได้ยื่นบันทึก “แนะนำ” ญี่ปุ่นให้คืนเหลียวตุงให้แก่จีนญี่ปุ่นตระหนักดีว่าการขอดินแดนเหลี่ยวตุงเป็นความผิดพลาดของตน และจำต้องยินยอมคืนเหลี่ยวตุงให้แก่จีน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับรัสเซีย ซึ่งมีเยรมันและฝรั่งเศสสนับสนุนอยู่ ญ่ปุ่นจึงต้องจำใจยอมรับ
ญี่ป่นกับรัสเซีย สนธิสัญญาที่จีนทำกับญี่ปุ่นที่เมืองชิโมโนเชกิ มีข้อหนึ่งระบุกำหนดให้เกาหลีเป็นเอกราชตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากความล้มเหลวในการจัดต้งโครงสร้างการปกครองและการคลังของเกาหลีเช่นกัน องค์ผุ้สำเร็จราชการเกาหลีได้ทรงรื่อถอนการหฏฎิรูป ขับผู้บังคับบัญชาขอกองทหารผสมญี่ปุ่นกับเกาหลี ครั้นเมือ่ญี่ปุ่นส่งผู้ว่าราชการคนใหม่มา ผู้สำเร็จราชการทำการก่อรัฐประหาร จับประเจ้าโคจอง แล้วแต่งตั้งผุ้สำเร็จราชการเป็นประธานที่ปรึกษาส่วนพระองค กบฎสำเร็จโษสมเด็จพระราชินี และพลพรรคของพระนาง สร้างความตกตะลึงแก่วงการทูตทั่วโลก พระเจ้าโคจองก็ต้องเสด็จลอลหนีไปลี้ภัยประทับอยู่ในสถานทูตชั้นสองของรุสเซีย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทำให้อิทธิพลญี่ปุ่นลดฮวบและเสื่อมถอยลงเป็นเวลาสองปี
โดยเนื้อแท้แล้ว รุสเซียครอบงำราชสำนักเกาหลีให้ปกครองตามจุดประสงค์ของรุสเซีย จนถึงการที่รุสเซียมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ตามอำเภอใจ รุสเซียควบคุมการเงินการคลังโดยตึ้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี เป็นองค์กรดำเนินการ รุสเซียได้สัมปทานเข้าดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกาะเดียร์ ซึ่งอยู่ในเมืองท่าผูซาน การที่รุสเซียมีอิทธิพลในเกาหลีและฐานะที่มั่นทางทหารในเมืองท่าพอร์ต อาเธอร์และเตเรน ย่อมเป็นที่น่าวิตกสำหรับอังกฤษและญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง รุสเซียเองได้เพีรประนีประนอมกับทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการยินยอมยกเลิกการตั้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี และวเปิดการเจรจากับญี่ปุ่น ซึ่งไร้ผลเมือรุสเซียฮวยโอกาสยึดครองแมนจูเรีย ในปี 1900 ผลักดันให้ญี่ปุนตระหนักถึงภัยรุสเซียคืบคลานสู่เกาหลีมากขึ้น
สนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ได้กำหนดชี้ขาดให้ญี่ปุ่นมีฐานะสูงสุดในเกาหลีสมปรารถนา สิ่งที่ญีป่นุ่นจักต้องเร่งปฏิบัติมีเพียงประการเดียวคือ การกลืนกินเกาหลี เกาหลีเองซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกที่จำต้องเปิดประเทศ ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ย่อมต้องสยบยอมต่อญี่ปุ่นผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เมื่อสงครามเปิดฉากขึ้น เกาหลีต่องลงนามในพิธีสาร ยินยอมให้ญี่ปุ่นสถาปนาการปกครองเกาหลีโดยคณะที่ปรึกษา ซึ่งหมายถึง ญี่ปุนควบคุมการบริหาราชการแผ่นดินและการต่างประเทศของเกาหลี
ความเป็นรัฐของเกาหลีได้ถึงกาลสิ้นสุด เมื่อปี 1910 ในขณะที่ชาวเกาหลีเริ่มมีจิตสำนึกในเชื่อชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชั้นชนสูง นักปฏิรูป ทหารชาวนา ล้วนมีความรู้สึกรักชาต แต่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามคำบงการของญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง การติดต่อโลกภายนอกต้องฝ่ายความเห็นชอบของญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา
“ เกาหลีแทบจะไม่มีช่วงระยะสมัยใดที่เป็นไทแก่ตัว ในอดีต เกาหลีตกอยู่ภายใต้ฉายาอำนาจของจีน เกาหลีเป็นเสมือนประทเศ “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย” ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งจีนและญี่ปุ่นความเป็นเอกราชของเกาหลีระยะยสั้น ๆ เป็นอันตรายทั้งต่อจรเองและต่อมหาอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สงครามญี่ปุ่นกับรุสเซียอุบัติด้วยเหตุเกาหลีซึ่งเป็นที่หมายปองของทั้งญี่ปุ่นและรุสเซีย ความเป็นเอกราชสิ้นสุดลงด้วยเหตุมหาอำนาจบงการและด้วยเหตุที่เกาหลีแบ่งฝ่ายในทุกเรืองทุกกรณี เกาหลีแทบไม่ได้เป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเลย”
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น