วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Middle East

                    ดินแดนตะวันออกกลางคือดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอเซีย  เป็นดินแดนกลางสามทวีปคือเอเซีย ยุโรปและแอฟริกา เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลก เป็นแหล่งน้ำมันดิบของโลก มีคลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะลแดง มีช่องแคบบาสฟอรัส และดาดาแนลส์ เชื่อทะเลดำกับยทะเลเมติดเตอร์เรเนียน เป็ฯเวทีชวงชิงอำนาจกันระหว่างสหรัฐฯกับรุสเซีย และเนเวทีต่อสู้กันระหว่างอาหรับและยิว ประชากรของตะวันออกกลางมีสามกลุ่มใหญ่คือเตอร์ก ในตุรกี ยิว ในอิสราเอลและอาหรับเป็นประชากร ส่วนใหญของตะวันออกกลาง และตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาหลักของโลกสองศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ในสังมฮิบรู หรือยิว ในดินแดนปาเลสไตน และศาสนาอิสลามในสังคมอาหนับ ในคาบสมุทรอารเบีย ปาเลสไตน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหย๋เป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล


                 เมือ 1900 ปีก่อนคริสต์กาลกลุ่มชนฮิบรูอพยพจาเมโสโปเตเมีย ปัจจุบันคือ อิรัก เข้าตึ้งมั่นในดินแดปากเลสไตน ฮิบรูหรือยิวมีความเจริญด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ศสนา สังคม เศรษฐกิจและการเมืองมีกรุงเยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวง 721 ก่อนคริสต์กาลเป็นต้นมาดินแดนปาเลสไตน์ต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของกลุ่มชนชาตินักรบได้แก่ อัสซีเรียน แคลเดียน เปอร์เซียน กรีก และโรมัน ในศตวรรษที่หนึ่งในคริสต์กาลศาสนาคริสต์กำเนินขึ้นในสังคมยิวขณะยอวอยู่ภายมต้การปกครองของโรมัน คริสเตียนคือผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ เพราะโรมันกดขี่ข่มเหงเป็นผลให้ยิวเร่มอพยพออกจากปาเลสไตน์สู่ยุโรป ต้นคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด ศาสนาอิสลามกำเนินขึ้นในสังคมอาหรับในคาบสมุทรอารเบีย มุสลิมคือผุ้นับถือศาสนาอิสลาม อาหนับส่วนนใหญ่เป็นมุสลิม ด้วยศรัทธาในองค์อัลลอห์เจ้า นำสู่การก่อตั้งจักรวรรดิมุสลิมและกองกำลังมุสลิมสามารถเขช้ายึดครองพื้นที่ส่วนใญ่ของตะวันออกกลางรวมถึงปาเลสไตน์ มุสลิมยอมให้ยิวที่คงเหลืออยู่ในปากเลไตน์ประกอบพิธีการในศษสนาคริสต์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบหกออกตโตมาน เตอร์ก เป็ฯมุสลิมเข้ายึดครองปาเลสไตน์ขณะประชากรส่วนใหญ่ขอวปาเลสไตน์เป็ฯอาหรับและยิวเป็นชนกลุ่มน้อย  ปาเลสไตน์ช่วภายใต้การปกครองอของออตโตมานเตอร์กนี้ยิวจากยุโรปเริ่มการอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์นิยมเข้าตั้งมั่นในกรุงยะรูซาเล็ม กล่าวได้ว่าในปี 1880 มียิวในปาเลสไตน์ประมาณ 24,000 คน
     ความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์เร่มขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 โดยผู้นำยิวในออสเตรียจัดตั้งขบวนการไซออนนิสต์กำหนดให้ชาวยิวในยุโรปรวมตัวอพยพกลับสู่ปาเลสไตน์และแสวงหาแนวทางสร้างชาติยิวในดินแดนปาเลสไตน์ ในทางปฏิบัติยิวในยุโรปและอเมริกาที่ร่ำรวยและต้องการเห็นการสร้างชาติยิวในปาเลสไตน์ได้สละเงินจัดตังกองทุนและใช้เงินกองทุนนี้ของซื้อดินแดนปาเลสไตน์เริ่มจากที่ดินผืนเล็กจากออตโตมาน เตอร์ก ยิวเข้าพัฒนาทำเกษตรกรรมในที่ดินส่วนยึดครองอย่างถูกต้องอย่างรู้คุณค่า สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับในปาเลสไตน์ ในปี 1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมประชากรในปาเลสไตน์เจ็ดแสนคน เป็นยิว แปดหมื่นห้าพันคนและอาหรบหกแสนกว่าคน ออกโตมาน เตอร์กภายใต้ชื่อตุรกี เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางนำโดยเยอรมันและออสเตรียฮังการี ในปี 1916 อังกฤษหนึ่งในชาติผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการให้อาหรับ เป็ฯมิตรกับสัมพันธมิตรและต่อต้านตุรกีได้เสนอจะให้การสนับสนุนอากรับเพื่อการหลุพ้นจากอำนาจของตุรกี และก่อตังชาติอากรับภายหลังส้นสงครามโลกครั้งที่ 1 อาหรับเชื้อในขอ้เสนอปี 1916 ของอังกฤษ  คำประกาศบัลฟอร์ ปี 1917 กำหนดอังกฤษให้การสนับสนุนจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนปาเลสไตน์ สร้างความขมขื่นไม่พอใจแก่อาหรับและอาหรับในปาเลสไตน์ สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติในปี 1918 ด้วยฝ่ายมหานาจกลางพ่านแพ้อันหมายถึงตุรกีพ่ายแพ้ด้วย สันนิบาติชาติ ในปี 1920 กำหนดให้ปาเลสไตน์เป็นดินแดนในอาณัติปกครอง ของอังกฤษ  ในทางปฏิบัติอังกฤษยึดมั่นในคำประกาศบัลฟอร์ ด้วยการแสดงความตั้งใจสนับสนุนยบิวสร้างชาติในดินแดนปาเลสไตน์ดินแดนในอาณัติปกครองของอังกฤษ ขณะเดียวกันขบวนการไซออนนิสต์คิดวว่าอาณัติปกครองคือการสนับสนุนการอพยพชนชาวยิวเพิ่มในปาเลสไตน อังกฤารูดีว่าการเพิ่มจำนวนยิวในปาเลสไตน์สร้างความไม่พอใจแก่อาหรับประชากรส่วนใหญ่ในปาเลสไตน์ อาหรับปาเลสไตน์ประท้วงอังกฤษและปฏิบัติการของขบวนการไซออนนิสต์ด้วยการเดินขบวนและก่อความวุ่นวายอังกฤษจำเป็นต้องจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน์ช่วงทศวรรษ 1930 ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิวจาเยอรมันและโปแลนด์หลีกหนีการฆ่าข่มเหงของนาซีอพยพหลั่งไหลเข้าปาเลสไตน์อาหรับในปาเลสไตน์ต่อต้านการอพยพหลังไหลของยิวสู่ปาเลสไตน์ด้วยกาฃรก่อความวุ่นวายประท้วงอังกฤษอีกอังกฟษต้องปฏิบัติการจำกัดจำนวนยิวอพยพเข้าปาเลสไตน และจำกัดการขายที่ดินแก่ยิวอย่างเคร่งครัด ยิวไม่พอใจท่าทีของอังกฤษ
     สหรัฐอเมริการ่วมสนับสนุนจัดตั้งประเทศอิสราเอลในปี 1948 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยิวและอาหรับในปาเลสไตน์หยุดต่อต้านอังกฤษและเข้าร่วมในกองกำลังสัมพันธมิตรในเวลาเดียวกันนี้นาซีเอยรมันเข่นฆ่าชาวยิวในยุโรปกว่าหกล้านคนผลักดันให้ขบวนการไซออนนิสต์จำเป็นต้องดำนเนิการบีบังคับอังกฤษให้ยกเลิกการจำกัดจำนวนยิวอพยพและรับยิวยุโรปที่เหลือรอดการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เข้าอาศัยในปาเลสไตน์และจัดตั้รัฐบิวเอย่างเป็นทางการอาหรับในตะวันออกกลางต่อต้านการจัดตั้งรัฐบิวในปาเลสไตน์ด้วยสันนิบาตอาหรับ จัดตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 1945 ประกองด้วยชาติอาหรับเริ่มแรกเจ็ดชาติ อังกฤษวางตัวลำบากและในปี 1947  อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่การชี้ขาดขององค์การสหประชาชาติ เพื่อการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์องค์การสหประชาชาติกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษในเรื่อปาเลสไตน์ขององค์การสหประชาชาติ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการพิเศษในเรื่องปาเลสไตน์ให้ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ต่อสมัชชากำหนดประการที่หนึ่งแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็นสามส่วนคือ รัฐยิว รัฐอาหรับและกรุงยะรูซาเล็มอยู่ภายใต้การดูแลของคณะมนตรีภาวะทรัสตี สองให้กองกำลังอังกฤษถอนออกจาปาเลสไตน์ อาหรับไม่เห็นด้วยกับขอ้เสนอ แต่ยิว อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเห็ฯด้วยกับข้อเสนอ สมัชชายอมรับในข้อเสนอให้มีผลในทางปฏิบัติ ทันที่ที่กองกำลังอัฏฟษถอนออกจาปาเลสไตน์ ยิวประกาศจัดตังประเทศอิสราเอง ภายใต้การนำของเดวิด เบน กูเรียน องกค์การสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาให้การรับรองในเอกราชของอิสราเอล พฤษภาคม 1948 กองำลังสันนิบาตอาหรับนำโดยอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอน บุกโจมตีอิสราเอลชาติเกิดใหม่ในดินแดนปาเลสไตน์ นับเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างอาหรับ อิสราเอล สงครามยุติในปี 1949 ชัยชนะเป็นของฝ่ายอิสราเอล และสามารถเข้ายึดครอง สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจแก่อาหรับ อาหรับในปาเลสไตน์เรียกชาวปาเลสไตน์ ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญต้องออกจากปาเลสไตน์ในเขตปกครองอิสราเอลสันนิบาติอาหรับรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เข้าอาศัยในประเทศของตน กลางปี 1949 อิสราเอลลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับสันนิบาติอาหรับแต่ไม่มีการลงนามร่วมกันอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาสันติภาพเพราะกลุ่มชาติอาหรับ(มุสลิม)ปฏิเสธการก่อต้งชาติอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
     สหรัฐอเมริกาสนับสนุนจัดตังองค์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์ในดินแดนตะวันออกกลางด้วยข้อตกลงแบกแดดปี 1955 และองค์การสนธิสัญญกาลงปี 1959 แม้นสหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนยิว จดตั้งประเทศอิสราเอลในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 สร้างความโกรธแค้นไม่พอใจแก่อาหรับ แต่สหรัฐอเมริกาคงมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอกหรับเพื่อให้กลุ่มชาติอาหรับรวมกำลังกันต่อต้านการชยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์(รุสเซีย)ในตะวันออกกลางเริ่มด้วยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 อิรักและตุรกีประเทศทางตอนใต้ของรุสเซียเกรงการถุกโจมตีของรุสเซียได้ร่วมลงนามในข้อตกลงแบกแดดปี 1955 กำหนดเป็นพันธมิตรกันทางทหารร่วมต่อต้านการก้าวร้าวคุกคามของคอมมิวนิสต์รุสเซียในดินแดนตะวันออกกลาง มีสำนักงานหญ่อยู่ทีกรุงแบกอดดในอิรัก ปลายปี 1955 อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถาน เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนการรวมตัวด้านการทหารของห้าชาตด้วยเงิน เทคโนโลยีและยุทธปัจจัย แต่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย  ปี 1959 อิรักถอนจากการเป็นพันธมิตรร่วมทางการทหารตามข้อตกลงแบกแดดปี 1955 เป็นผลให้สำนักงานใหญ่ย้ายจากกรุงแบกแดดในอิรักมาอยู่ที่กรุงอังการาในตุรกีเหลือชาติผู้ร่วมลงนามเพียงสี่ชาติคือ ตุรกี อังกฤษ อิหร่าน และปากีสถานและยุลเลิกในที่สุด

Revolution Cuba

     การปฏิวัติคิวบา เป็นหารปฏิวัติด้วยอาวุธโดยขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟิเดลกัสโตรต่อรัฐบาลผู้เผด็จการคิวบา  ฟุลเคนเซียว บาติสตา ระหว่าง ปี 1953-1959 ท้ายที่สุดบาติสตาถูกขับจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1959 และแทนที่ด้วยรัฐบาลปฏิวัตินำโดยกัสโตร รัฐบาลนี้ภายหลังปฏิรูปตามแนวทางคอมมิวนิสต์และได้กลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาในปี 1965
     การปฏิวัติคิวบาในระยะเริ่มต้นเร่มขึ้นเมื่อกฐฎติดอาวุธโจมตีค่ายทหารมองกาดาในซันเดียดกและค่ายหารในบายาโม  เมื่อเดอืนกรกฏาคม 1953 ตัวเลขผู้เสียชีวิตยังเป็นที่ถกเถียงฟิเดล กัสโตรและน้องชาย ราอุล กัสโตร รุส ผู้รอดชีวิตถูกจับกุมหลังจากนั้นไม่นาน ในการพิจารณา ฟิเดลกัสโตรแถลงแก้ต่างนานเกือบสี่ชั่วโมง และปิดท้ายด้วยประโยคที่ว่า “พิพากษาผมเลย มนไม่สำคัญหรอก ประวัติศาสตร์จะยกโทษให้ผม” ฟิเดลกัสโตรถูกตัวสินจำคุก 15 ปี ในเรือนจำเปรซีดีโอโมเดโล ตั้งอยู่บนเกาะสน ขณะที่ราอุลถูกตัดสินจำคุก 13 ปี Revolución-Cubana
     ในปี 1955 ภายใต้แรงกดดันทางการเมืองอย่างหนัก รัฐบาลบาติสตาปล่อยนักโทการเมืองบทั้งหมดในคิวบรวมทั้งมือก่อเหตุโจมตีมองกาดา บาติสตาถูกกล่อมให้ปล่อยพี่น้องกัสโตรด้วย ซึ่งบางส่วยโดยครูเยซูอิดสมัยเด็กของฟิเดล
     สองพี่น้องกัสโตรเข้าร่วมกับผู้ลี้ภัยอื่นในเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติโค่นล้มบาติสตา โดยได้รับการผึกจากอัลเอบ์โต บาโย ผู้นำกำลังสาธารณรับนิยมในสงครามกลางเมืองสเปน ระหว่างช่วงนี้ ฟิเดลพบและเข้าร่วมกำลังกับนักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา เอร์เนสโต “เช” เกบารา
     1956-1958
เรือยอตกรันมา มาถึงคิวบาในเดือนธันวาคม 1956 พี่น้องกัสโตรและสมาชิกขบวนการ 26 กรกฏาคมอีก 80 คนมากับเรือด้วย เรือดังกล่าวมาถึงสองวันซึ่งช้ากว่ากำหนด ซึ่งความล่าช้านี้ดับความหวังการประสานโจมตีร่วมกับขบวนการฝ่ายฮาโน  หลังมาถึงกลุ่มกบฏเร่มตีฝ่าเข้าไปในทิวเขาเซียร์รามาเอสตรา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคิวบา ผู้ที่โดยสารมากับกับเรือกระจัดกระจายหลังจากการเผลิญหน้าครังแรกอันนองเลือดกับกองทัพคิวบา และต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากชาวนาผู้ฝักใฝ่และจะก่อตั้งแกนนำของกองทัพกองโจร เซเลีย ซันเชสและไฮย์อีเอ ซันตามาเรีย รวมอยู่ในนักปฏิวัติหญิงผู้สนับสนุนฟิเดล กัสโตรในทิวเขาด้วย
     13 มีนาคม 1957 กลุ่มนักปฏิวัติอีกกลุ่ม เรียกวา หน่วยปฏิวัติ ซี่งมีอุดมกาณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งสวนใหญประกอลขึ้นจากนักศึกษา โจมตีทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงฮาวานา พยายามลอบสังหารบาติสตาและรัฐประหาร ซึ่งเป็ป็นการฆ่าตั่วตาย ผู้นำของหนวย นักศึกษาโคเซ อันโตนีโอ เอเซเบร์เรีย เสียชีวิตในการยิงต่อสู้กับกำลังของบาติสตรา มีผุ้รอดชีวิตกล่มหนึ่งซึ่งมี ดร. อุมเบร์โต กัสเตโย และโรลันโด กูเบลาและเฟาเร โซมอน
images (1)     หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาได้ลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลคิวบาและเรียกเอกอัครทูตกลับประเทศ ยิ่งบั่นทอนอาณัติของรัฐบาลไปอีกการสนับสนุนบาติสตาในหมู่ชาวคิวบาเรื่มจางเจือไป อดีตผุ้สนับสนุนไม่เข้าร่วมกับนักปฏิวัติก็วางตัวออกห่างจากบาติสตาแต่มาเซียและนักธุรกิจสหรัฐยังสนับสนุนบาติสตาต่อไป รัฐบาลหันไปพึงการใช้วิธีรุนแรงบ่อยครั้งเพื่อรักษานครต่าง ๆ ของคิวบาให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล อย่างไรก็ดี ในทิวเขาเชียร์รามาเอสตรา กัสโตร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากฟรังก์ปาอิส, ราโมส ลาดูร์, อูเบร์ มาโตส และคนอื่นๆ จัดการโจมตีที่มั่นขนาดเล็กของกองกำลังบาติสตาอย่างเป็นผล เช เกบาราและราอุล กัสโตรช่วยฟิเดลรวมการควบคุมทางการเมืองของเขาในทิวเขานั้นโดยบ่อยครั้งฝ่านการประหารชีวิตพวกที่ต้องสงสัยว่าภักดีบาติสตาหรือเป็นคู่แข่งอื่นของกัสโตรเปเตรอสยังได้รสนับสนุนทางทหารโดยตรงต่อกำลังหลักของกัสโตรโดยคุ้มครองเส้นทางเสบียงและแบ่งปันข่าวกรองท้ายที่สุด ทิวเขาตกอยู่ในการควบคุมของกัสโตร
     นอกเหนือไปจากการต่อสู้ด้วยอาวุธแล้ว ฝ่ายกบฏยังใช้การโฆษณาชวยเชื่อเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ มีการจัดตั้งสถานีวิทยุเถื่อน 1958 กัสโตรและกำลังของเขากระจายเสียงข้อความของเขาทั่วประเทศจากในเขตแดนของศัตรู การกระจายเสียงวิทธยุเป็นไปได้โดยการ์ลอสฟรัสกี อดีตคนรู้จักของกัสโตรผู้ซึ่งภายหลังเป็นชาวคิวบาลี้ภัยในเปอร์โตริโก
     ระหวางช่วงนี้ กำลังของกัสโตรยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย ต่ำกว่า 200 คนเล็กน้อย ขณะที่กองทัพและกำลังตำรวจคิวบาอยู่ระหว่าง สามหมื่นถึง สีหมื่นนาย อย่างไรก็ดี เมือทหารคิวบาสู้กับฝ่ายปฏวิติก็ต้องถูกบีบให้ล่าถอยแทบทุกครั้งไป การห้ามสินค้าประเภทอาวุธซึ่งสหรัฐอเมริกากำหนดต่อรัฐบาลคิวบาเมื่อวันที่ 14 มีนา 1958 มีส่วนสำคัญต่อความอ่อนแอของกองทัพบาติสตากองทัพอากาศคิวบาเสือมลงอย่างรวดเร็ว เพราะไม่อาจซ่อมแซมอากาศยานโดยไม่นำเข้าช้นส่วนจากสหรัฐอเมริกา
images (3)     ท้ายที่สุด บาติสตาสนองต่อความพยายามของกัสโตรด้วยการโจมตีทิวเขาแห่งนั้นในปฏิบัติการเบราโน ซึ่งฝ่ายกบฏเรียกว่า ลาโอเฟนซีบากองทัพส่งทหารราว 12,000 นาย ซึง่ครึ่งหนึ่งเป็นทหารเกณฑ์ที่ไม่ได้รับการฝึก เข้าไปในทิวเขา ในการปะทะกันอย่างประปรายต่อเนื่องกองโจรที่เด็ดเดียวของกัสโตรชนะกองทัพคิวบา ในยุทธการที่หมู่บ้านลาปลาตา ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 11 ถึง 21 กรกฏาคม ค.ศ. 1958 กำลังของกัสโตรเอาชนะทั้งกองพันได้ โดยจับกุมทหารเป็นเชลยได้ 240 คน ขณะที่เสียฝ่ายตนไปเพียง 3 คน อย่างไรก็ดี กระแสสงครมเกือบพลิกกลับ เมื่อกองทัพของบาติสตาเกือบทำลายกองทัพขนาดเล็กประมาณสามร้อยคนของกัสโตรที่ยุทธการที่ลัสเมร์เซเตส ด้วยกำลังของเขาเสียเปรียด้านจำนวน กัสโตรจึงร้องขอและได้รับการหยุดยิงชั่วคราว ขณะที่การเจรจาอันไร้ผลดำเนินไป กำลังของกัสโตรค่อย  ๆ หลบหนีออกจากับดักหลบหนีกลับเข้าไปในทิวเขา และปฏิวัติการเวราโนสิ้นสุดลงเด็ดขาด้วยความล้มเหลวของวรัฐบาลบาติสตา
     1958-1959
หลังการโจมตีของบาติสต้าล้มเหลว กำลังของกัสโตรเริ่มเปิดฉากบุกบ้าง กรันมา กวันตานาโม และออลลกินปัจจุบัน ฟิเดล กัสโตร ราอุล กัสโตร และคาน อัลไมย์ดา โบสเก มุ่งการโจมตีเป็นสี่สายกำลังของกัสโตรลงจากเขาพร้อมอาวุธใหม่ที่ยึดได้แลและได้รับชัยชนะขั้นแรกหลายครั้ง ชัยชนะครั้งสำคัญของกัสโตรที่กีซาและการยึดเมืองหลายเมือได้สำเร็จ
     ขณะเดียวกัน กบฏอีกสามกอง ภายใต้บัญชาของเช กาบารา,กามีโล เซียนฟวยโกส และไคย์เม เบกา รุกคืบไปทางตะวันตกมุ่งสู่ซันตากลาราเมืองหลวงของจังหวัดบียากลารา กองทัพของบาติสตาซุ่มโจมตีและทำลายกองของไคย์เม เบกา แต่อีกสองกองที่เหลือไปถึงจังหวัดตอนกลางที่ซึ่งพวกเขาพยายามร่วมกับกลุ่มต่อต้านอีกฟลายกลุ่มที่มิได้อยู่ภายใต้บัญชาของกัสโตร ตามข้อมูลของฟาเรีย เมือกองของเช เกบาราฝ่านจังหวัดบียากลารา กองทัพของบาติสตาซุ่มโจมตีและทำลายกองของไคย์เม เบกา แต่อีกสองกองที่เลหือไปถึงจังหวัดตอนกลางที่ซึ่งพวกเขาพยายามร่วมกับกลุ่มต่อต้านอีกลายกลุ่มที่มิได้อยู่ภายใต้บัญชาของกัสโตร ตามข้อมูลของฟาเรีย เมือกองของเช เกบาราฝ่านจังหวัดลัสบีอัส และโดยเฉฑาะอย่างยิ่งผ่านทิวเขาเอสกัมไบรย์ ที่ซึ่งกำลังหน่วยปฏิวัติต่อต้ารนคอมมิวนิสต์ ได้สู้รบกับกองทัพของบาติสตานานหลายเดือน ความไม่ลงรอยกันค่อย ๆมีขึ้นระหว่างกบฎทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดี กองทัพกบฎผสมยังรุกคืบต่อไ ปละเซียฟวยโกสได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในยุทธการที่เมืองฮากวาไคย์และเขาได้รับฉายาว่า “วีรบุรุษแห่งฮากวาไคย์”

ดู cuba
   
 ยุทธการซันตากลาราเกิดขึ้น นครซันตากลาราเสียแก่กำลังผสมขอ ง เช เกบารา,เชียนฟวยโกส และกบฏหน่วยปฏิวัตินำโดยผู้บัญชาการโรลันโด กูเบลา, ควน”เอลเมคีกาโน” อาบราอันเตส และวิลเลียม อเล็กซานเดอร์ มอร์แกน ข่าวความพ่ามยแพ้นี้ทำให้บาติสตาตื่นตระหนกเขาหลบหนีจากคิวบาไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน  มกราคม 1959 ผู้บัญชาการวิลเลียม อเล็กซานเดอร์ มอร์แกน ผู้นำกบฏหน่วยปฏิวัติ ยังสู้รบต่อไปเมื่อบาติสตาหลบหนีไปแล้วและยึดนครเซียฟวยโกสได้ กัสโตรทราบข่าวการหลบหนีของบาติสตาในช่วงเช้าและเริ่มเจรจาเพื่อยึดซันเดียโกเดกูบาทันที พันเอกรูบีโด ผู้บัญชาการทหารในเมือง สั่งมิให้ทหารของเขาสู้รบ กำลังกัสโตรจึงยึดเมืองได้ กำลังของเกบาราและเซียนฟวยโกสเข้ากรุงฮาวานาเกือบพร้อมกันนั้น ทั้งสองไม่พบการต่อต้านระหว่างการเดินทางจากซันตากลารามาฮังเมืองหลวงของคิวบา ตัวกัสโตรเองมาถึงฮาวานาเมืองันที่ 8 มกราคมหลังเดินขบวนฉลองชัยยชนะอันยาวนาน มานวยล์ อูร์รูเดีย เฮโอ ตัวเลือกของกัสโตรดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีวันที่ 3 มกราคม

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Dwight David Esenhower

    สหรัฐฯสนับสนุนเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี่ ดินแดนเกาหลีเป็นจุดยุทธศศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของโลก ในอดีตเกาหลี่เป็นของจีมากก่อน จีนใช้เกาหลีเป็นดินแดนสกัดกั้นการรุกรานขยายอำนาจของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ยึดครองเกาหลีต่อจากจีนมุ่งใช้เกาหลีเป็นฐานเพื่อการเข้ามีอำนาจในเอเชียตะวันออก เป็นปกล่งวัตถุดิบราคาถูก และเป็นตลาดแรงงานถูกรวมถึงเป็นตลาดรับซื้อสิค้าสำเร็จรูปญี่ปุ่น รุสเซียต้องการยึดครองเกาหลีเพื่อใช้เกาหลีเป็นแนวสกัดกั้นยับยั้งการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามมติการประชุมพอทสดัม ปี 1945 ในเรื่องดินแดนเกาหลีกำหนดแบ่งดินแดนเกาหลีเป็นการชั่วคราวด้วยเส้นขนาน 38 องศาเหนือ เรียกเกาหลีเหนือ ในสหรัฐอเมริกาเข้าปลดอาวุโละกองกำลังญี่ปุ่นและดูแลรักษาความสงบในดินแดนเกาหลีใต้เส้น 38 เรียกเกาหลี่ใต้ สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมีกรุงโซลเป็นเมืองหลวง รุสเซียสนับสนุนการก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีมีกรุงเปียยางเป็นเมืองหลวง ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างคิดเหมือนกันว่า มีชาติมหาอำนาจคอยหนุนหลัง คือรุเซียหนุนหลงเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาหนุนหลังเกาหลีใต้เป็นผลให้ต่างท้าทายกันด้วยกองกำลังบริเวฯพรมแดน 38 เหนือ นำสู่สงครามเกาหลีในปี 1950…
   ในปี 1951 คือสหรัฐอเมริการ่วมือกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์สกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภาคพื้นแปซิฟิกด้วยสนธิสัญญาแอนซัสปี 1951 The Treaty of ANZUS of 1951 สืบเนื่องจากจีนคอมมิวนิสต์ยึดแผ่นดินใกญ่จีนได้ในวันที่ 1949 กองกำลังเกาหลีเนหือเคลื่อรุกรานเกาหลีใต้ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองกำลังจีนเคลื่อนเข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ สหรัฐอเมริกาเกรงการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์จากเอเชียตะวันออกสู่แปซิฟิก รวมถึงเกรงการก้าวร้าวขงอญี่ปุ่นในแปซิฟิกในอนาคตเป็นผลให้ในวันที่ 1 กันยายน 1951 ออสเกตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาเรียกตนเองว่ากลุ่มแอนซัส T%he ANZUS Power ร่วมลงนามในสนธิสัญญาแอนซัสปี 1951 กำหนดร่วมมือกันด้านการทหารเพื่อต่อต้านการก้าวร้าวของกองกำลังชาติผู้ก้าวร้าว(คอมมิวนิสต์) ในแปซิฟิก ชาติสมาชิกใดถูกก้าวร้าวถือว่าการก้าวร้าวนี้เกิดแก่สมาชิกทุกชาติด้วย
      1 พฤศจิกายน 1950 ผู้ก่อการร้ายชาวเปอร์โรติโกสองคนปฏิบัติการลอบสังหารประธานาธิบดีทรูแมนขณะพักผ่อนที่คฤหสาสน์ ปฏิบัติการลอบสังหารประธานาธิบดีล้มเหลว เกรเซลิโอ ทอร์เรซูลา ถูกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยิงเสียชีวิต ออสการ์ คอลลาโซ ถูกยิงบดเจ็บ ประธานาธิบดีทรูแมนปลอดภัย เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวบาดเจ็บสองคน เสียชีวิตหนึ่งคน
     นับจากปี 1950 อเมริกันชนเสื่อมศรัทธาในพรรคเดโมแครตภายใต้การนำของประธานธิบดีทรูแมน เพราะหวาดกลัวในลัทธิคอมมิวนิสต์รุสเซียทีแผ่ขยายในยุโรปตะวันออก เกิดชาติบริวารแปดชาติ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถสกัดกั้นอำนาจจีนคอมมิวนิสต์ในแผ่นดินใหญ่ ในปี 1949 จีนคอมมิวนิสต์แสดงแสนยานุภาพกองกำลังเข้าช่วยเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี ประธานาธิบดีทรูแมนมีความขัดแย้งรุนแรงกับนายพลแมคอาเธอร์ในเรื่องสงครามเกาหลี ภายในประเทศมีความหวาดระแวงให้ร้ายก่าวหากันว่าเป็นคอมมิวนิสต์เพี่มความแตกแยก เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ ค้าของเถื่อและค้ายาเสพติด ในการเลือกตั้งปี 1952 พรรคเดโมเครตส่ง แอดไล อี.สติเฟนสัน ในตำแน่งประธานาธิบี จอห์น เจย์.สปาร์คแมน ในตำแหน่งรองประทธานาธิบดี พรรครีพับิกันส่งดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ในตำแหน่งประธานาธิบดี และริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์สัญญาจะสร้างสันติภาพ ความมั่งคั่งเฟืองฟูทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าสู่อเมริกา ผลการนับคะแนน ไอเซนฮาวร์ชนะการเลือกตั้ง ดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 34 จากพรรครีพับลิกัน นำการบริหารประทเศสองสมัย..

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Proxy War..(Korea War)

บทบาทและท่าทีของสหรัฐอเมริกา
       สหรัฐฯให้การสนับสนุนเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี สงครามเกาหลีเป็นการปะทะเสียเลือดเนื้อดินแดนเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลก
     สงครามเกาหลีเริ่มด้วยกองกำลังเกาหลีเหนือบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 เหนือเข้ามาในเกาหลีเกาหลีเหนือเป็นฝ่ายรุก เลขาธิการสหประชาชาติ ทวิกเว ลี ในเวลานั้น เรียกประชุมคณะมนตรีความมั่นคงเป็นการณีพิเศษเพื่อขอมติปฏิบัติการเคลื่อนกองกำลังทหารผสมสหประชาชาตช่วยเกาหลีใต้ เพราะรุสเซียเรียกตัวแทนรุสเซียกลับรุสเซียเนืองจากไม่พอใจหรัฐอเมริกาที่นำประเทศสาธารณรัฐจีนเข้าเป็นสมาชิกหนึ่งในห้าของคณะมนตรีความมั่นคงประเภทถาวร ทำให้มติไม่เป้ฯไปตามข้อตกลงกองกำลังทหารผสมไม่สามารถออกปฏิบัติการได้ กองกำลังเกาหลีเหนือยึดกรุงโซลได้  ประธานาธิบดีทรูแมนสั่งเคลื่อกองกำลังอเมริกันสามเหล่าทัพภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลดักลาส แมคอาเธอร์ และให้กองเรือรบอเมริกันที่เจ็ดเข้าคุ้มกันเกาะไต้หวันด้วยเกรงกองกำลังจีนคอมมิวนิสต์เข้าโจมตี ตัวแทนังกฤษร้องของความช่วยเหลือด้านกองกำลังจาชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติผลคือ 16 ชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติให้ความร่วมมือส่งกองกำลังเข้าช่วยเกาหลีใต้ภายใต้ชื่อกองกำลังสหประชาชาติ ประกอบดวยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา โคลัมเบีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศส กรีก ลักเซมเบิร์ก เนอเทอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปินิส์ แอฟริใต้ ตุรกี และไทย อีก 41 ชาติร่วมส่งเพียงยุทธปัจจัยอาหารและของใช้ การรบช่วงกลางปี 1950 กองกำลังสหประชาชิติเป็นฝ่ายรุกเริ่มด้วยในวันที 8 กันยายน โดยชนะการรบในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ 15 กันยายน ยกพลขึ้นบกบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของกรุงโซล ยึดกรุงเปียยางเมืองหลวงเกาหลีเหนือได้ รุกขึ้นเหนือเรื่อยไปถึงลุ่มแม่น้ำยาลูเป็นเส้นทางน้ำกั้นระหว่างกาหลีหนือกัยสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนมองว่ากองกำลังสหประชาชาตที่บลุ่มน้ำยาลูเป็นการท้าทายจีนคอมมิวนิสต์และต้องการช่วยเกาหลีเหนือซึ่งเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์การเมืองเดียวกันกับจีนคอมมิวนิสต์ ทั้งต้องการรับกษาพันธมิตรเกาหลีหนือในเอเชียตะวันออกให้คงอยู่ต่อไป ในทางปฏิบัติจีนเคลื่อนกองกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีเนหือ รุสเซียหนุนดานอาวุธยุทธปัจจัย เป็นผลให้กองกำลังสหประชาชาติถูกโจมตีต้องถอยร่นลงใต้ การรบช่วงเดือนพฤศจิกายน กองกำลังจันเป็นฝ่ายรุก นับจากช่วงปลายปี 1950 กองกำบังสหประชาชิถอยกลับสู่เกาหลีใต้ กองกำลังสหประชาชาติพยายามตรึงอยู่ที่เส้นที่ 38 เหนือ และในเดืนอมกราปี 1951 กองกำลังสหประชาชาติยึดกรุงโซลกลับคืนมาได้ ช่วงกลางปี 1951 พักรบชั่วคราวครั้งแรกเพื่อการเจรจา การเจรจาไมเป็นผลการรบจึงดำเนินต่อไป มีการเจรจากันอีกในเวลาต่อมาและยุติสงครามในวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 ในสมัยประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์
จีนแดง
      มีความหวังเปี่ยมล้นที่จะรวมประเทศทางทหารที่มุ่งหมายคือ ธิเบต และไต้หวัน แต่การอุบัติขึ้นของสงครามเกาหลีทำให้แผนการรวมประเทศต้องดำเนินไปครึ่ง ๆ กลาง ๆ สงครามเกาหลีปิดโอกาสจีนมิให้รวมไต้หวัน สหรัฐอเมริกาประกาศพิทักษ์ไต้หวัน ดดยพฤตินัยด้วยการส่งกองทัพเรือภาคที่ 7 เข้าประจำข่องแคบไต้หวัน เพื่อป้องกันจีนฉวยโอกาส
     ภาวะตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยการสงครามเกาหลี บทบาทของจนในสงครามเกาหลี การรวมไต้หวันไม่สำเร็จ ปฏิกิริยาของอเมริกาที่แสดงออกถึงความเป็นปฏิปักษ์และการที่กองทัพสหประชาชาติ การปกิวัติแต่ะละครั้ง หรือการัฐประหารก็ดี เปลี่ยนผู้นำการปกครองในรูปแบบวิธีการใดก้ดีย่อมจะทำให้ผู้ปกคอรงหรือผู้มีอำนาจกลุ่มใหญ่ตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษาอำนาจที่ได้มาการปกครองในขั้นต้นจึงมกจะเป็นแบบรวมอำนาจ ดดยเฉพาะสำหรับพวกคอมมิวนิสต์ได้มีการเร่งรีบเผยแพร่ปลูกฝังลัทะดอุดมการณ์และสร้างองค์กรต่าง ๆ ขึ้นทั่วรับ จีนแดงได้นำรูปแบบองค์กรมาใช้แทนที่การสร้างระบบและนำอุดมการ์มาปลูกฝังใจประชาชนแทนธรรมเนียมทัศนคติ
      ในระยะนั้น ฝ่ายปฏิปักษ์หรือผุ้ใดเพิกเฉยต่อระบบการปกครองมักะถูกขจัดกวาล้างดดยวิธีรุนแรง ประชาชนได้เริ่มตระหนักถึงคำพูดขงเมาเซตุง ซึ่งได้เตื่อนไว้ตั้งแต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใคประกาศ  “แนวประชาธิปไตย” เมือเป็นปฏิปักษ์เช่นนั้น เมาได้ย้ำว่า “ใครก็ตามที่เป็ฯปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ จงเตรียมตัวรอคอยการถูกทำลายล้างอยางสิ้นเชิง” ภัยสงครามเกาหลีปรากฎใกช้พรมแดนจีน เหล่านี้ล้วนเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนสั่นสะเทือนอำนาจของรัฐบาลจีนแดงเป็อย่างยิ่ง ภายในประเทศเอง จีนแดงก็มีความวิกตมิใช่น้อยในพลังอำนาจของ่ายปฏิปักษ์ซึ่งยังปรากฎทั่วไป ถัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้จีนแอดงต้องการขวัญกำลังใจอันเด็ดเดียวจากประชาชนในการสนัสนนุนอำนจของพรรคจีนคอมมิวนิสต์ให้สามารถปกครองจีนได้โดยตลอดรอดฝั่งจีนแดงจึงดำเนินการรณรงค์ ด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ
- การกวาดล้าบรรดาผุ้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของตน โดยยืมมือประชาชนให้ประหัตประหารกันเอง..
- การต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของสหรัฐอเมริกาโจมตีสหรัฐอเมริกาว่าเป็นจ้าวจักรวรรดินิยมนายทุน แทรกแซงในกิจการเมืองภายในของชาติอื่น
- การรณรงค์ ต่อต้านสิ่งชั่วร้าย สามประการ,การรณรงค์ต่อต้านสิ่งชั่วร้ายห้าประการโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการบริหารใมความตื่นตัวและเร่งรัดพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาภ
- ปัญญาชนเป็นกลุ่มคนที่นับหน้าถือตาในสังคมจีนมานานแล้วในฐานะที่เคเป็นผู้นำสังคมและเช่อมรัฐกับสังคมเข้าด้วยกัน ซคงเมาเซตุงเห็นความสำคัญข้อนี้จึงย้ำเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการกลางว่า “ถ้าปราศจากความร่วมมือจาปัญญาชน การปฏิวัติจะไม่สามารถบรรลุชัยนะได้”ถ้าปัญญาชนเป็นคอมมิวนิสต์ประชาชนส่วนใหญ่ย่อมถือเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม การกล่มเกลาบรรดาปัญญาชนให้เป็นคอมมิวนิสต์จึงเป็นหน้าที่ความจำเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
     สงครามที่พยายามจะเปลี่ยนสถานะเดิมแห่งการแบ่งแยกเกาหลีนั้นได้ยุติลงโดยเกาหลียังคงแบ่งแยกต่อไปเมือนเดิม ปัญหาภายในของสองเกาหลีหนักหน่วงยิ่งขึ้นด้วยเหตุสงครามที่ได้มีการสับประยุทธ์กันบนผืนแผ่นดินเกาหลี ระบอบคอมมิวนิสต์ตึ้งมั่นในเกาหลีเหนือ ระบอบประธิปไตยแต่เพียงผิวเปลือกนอกตั้งมั่นในเกาหลีใร้ ชาวเกาหลีจึงมีการปกครองแบบเผด็จการฝ่ายขวาและเผด็จการฝ่ายซ้ายให้เลือก การพัฒนาประเทศของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ถือเป็นกรณีตัวอย่างทดลองประสิทธิภาภาพของลัทธิอุดมการณ์ขันแข่งกันอยู่ในเวลทีการเมืองโลก
รุสเซีย
      ในช่วงสงครามเกาหลี รุสเซียได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ จีนและเกาหลีในสมัยที่สตาลินยังคงมีชีวิตอยู่สหภาพโซเวียตไม่มีข้องตกลงให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่อยู่นอกเขตอิทธิพลของตน แตหลังการตายของสตาลินสภาพการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป
     5 มีนาคม 1953 สตาลินได้ถึงแก่อนิจกรรมโดยมิได้มีทยาทสืบต่ออำนาจทางการเมืองอย่างเป็ฯทากงการ กลไกและองค์ประกอบลแห่งการปกครองรวนเร คณะผู้นำใหม่เต็มไปด้วความไม่มั่นใจและหวาระแวงในอำนาจการปกครอง ผุ้นำใหม่ที่สำคัญมีสามคนคือ นายจอร์จิ เอ็ม มาเลนคอฟ นายลาเวรนตี บีเรีย นายวยาเชสลาฟ โมโตลอฟ และผุ้ที่มีอำนาจอิทธิพลอยูเบื่องหลังคือ นาย นิกิตา เอส ครุสเชฟ การปกครองโดยบุคคลทั้งสามข้าต้นแสดงว่าไม่มีผู้ใดมีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว รุสเซ๊ยตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยหมู่คณะ
    แม้คณะผู้นำจะแย่งกันเป็นใหญ่แต่ผู้เดียวแต่ก็เห็นพ้องต้องกันที่จะสลายลักษณะเผด็จการแบบสตาลินและต้องพยายามธำรงไว้ซึ่งเอกภาพและพลกำลังให้เป้ฯที่ประจักษ์แก่สายตาโลก อสัญกรรมของสตาลินมีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศของรุสเซยมาก นโยบายต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญชี้ขาดอำนาจของผุ้นำรุสเซียได้ดีเท่าๆดับชี้ขาดสงครามหรือสันติภาพสำหรับประชาคมโลกด้วย กลุ่มผู้นำใหม่ยังไม่มีอำนาจสิทธิขาดในชั้นต้น ระยะเวลาดังกล่าว คือ 1953-1955 รุสเซียไม่มีนโยบายอันแน่วแน่ ความตึงเครียดภายในประเทศและการเมืองที่ไม่แน่นอนเป็นเครื่องกำหนดให้รุสซียต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่อำพรางจุดอ่อนดังกล่วมิหใปนที่ปรากฎ และการดำเนินนโยบายต้องมีความระมัดระวังพอควรเพื่อมิให้พลังพลาดได้ในสามวิถีทางแห่งการมืองสัมพันธภาพกับสามฝ่าย คือ ในฐานะอภิมหาอำนาจ,ในฐานะผู้นำโลกคอมมิวนิสต์,และในฐานะที่เป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์
     การเมืองโลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะการชะงักงันของสงครามเย็น และพุลยภาพแห่งอำนาจชัวขณะในเอเชียและยุโรป สถานการณ์เช่นนั้นเป็นปัจจัยเสริมให้รุสเซียต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า สตาลินได้สร้างความตึงเครียดขึ้นดดยไม่จำเป็นหลายครั้ง อันเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อรุสเซีย
    การดำเนินนโยบาบเสียงปฏิวัติยุโรปตะวันออกให้เป็นคอมมิวนิสต์ และสนับสนุนเกาหลีเหนือให้รวมประเทศ การสร้างวิกฤติการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน และการสร้างศัตรูต่อตุรกี โดยเหตุแห่งปรารถนาดินแดนบางส่วนจนตุรกีตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซีย เหล่านี้ล้วนเป็ฯการดำเนินนโยบายเสี่ยงทำสงครามที่นับว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรุสเซีย โดยไม่จำเป็น รุสเซยมีความมั่นคงในพรมแดนของตนทั้งในยุโรปและเอเซียอยู่แล้ว รุสเซียมีอาวุธนิวเคลียร์ คณะผู้นำรุสเซียจึงรู้สักว่า รุสเซียมีความมั่นคงในอำนาจแม้จะต้องถลำลงไปในภาวะความสับสนอันใดที่จะเดิกขึ้น อีกประการ การกำหนดนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดนั้นมีเหตุผลเพียงพอตามที่สตาลนได้วเคราะห์ไว้ว่า “ความขัดแย้งเข้มข้นจะรุนแรงยิ่งขึ้นในโลกเสรี เป็นโอกาสเหมาะที่รุสเซียจะสามารถรอคอยความพินาสซ่งจะบังเกิดขึ้น โดยรุศียมิต้องเผชิญหน้ากับโลกเสรีโดยตรงนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดจนถึงระดับที่สามารถจะทำให้โลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรีอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ
     สงครามเกาหลีได้พิสูจน์ให้รุสเซียเห็นว่า การปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยวิธีการต่อสู้ดวยการใชกำลังอาวุธนั้นเป็นไปมิได้ เพราะโลกเสรีกำลังอำนาจทางทหารและความเป็นปึกแผ่นมั่นคงในการต่อต้าน ตลอดจนมีการแสดงนโยบายปิดล้อมรุสเซียอยางเปิดเผย อันเป็นผลมาจากสงครามเกาหลีนั้นด้วย
     ความก้าวร้าวรุกรานของฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ผลักดันให้โลกเสรีภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาตัดสินจเสริมสร้างกำลังรบให้แก่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ในเดือนพฤษภาคม 1951 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น แม้จะเป็นการการละเมิดข้อตกลง ของที่ประชมมหาพันธมิตรทีกรุงมอสโก ข้อตกลงแห่งยังตาและพอตสดัมก็ตาม เพราะรุสเซียและจีนซึ่งเป็นคู่ศึกกับญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามด้วย การลงนามในสันธิสัญาสันติภาพนั้นเป็นการสิ้นสุดการยึดครองญี่ปุ่น และเริ่มต้นการสร้างญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจใหม่อีกครั้ง..

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Enland After WW2

     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้กลายเป็นมหางเช่นอำนาจลำดับรองลงมาจาก สหรัฐฯและรุสเซีย อังกฤษสูยเสียชีวิตผู้คนและกำลงเงิน ตลอดจนทรัพย์สินไปมาก เพราะต้องทำการรบโดดเดี่ยวเป็นเวลานาน เศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำเนื่องจากการใช้จ่ายจำนวนมากในการทำสงคราม ส่งผลให้นโยบายต่างประเทศของอังกฤษจึงไม่เข็มแข็งเด็ดเดี่ยวนักส่วนใหญ่จะคล้อยตามสหรัฐอเมริกา
     การประชุมที่ยาลต้า ได้พิจารณาเกี่ยวปัญหาต่าง ๆ และตกลงให้รุสเซียมีอิทธิพลในรูเมเนีย บุลการเรีย และอังการี กรีกอยู่ภายใต้อิทธิพลยุโรปตะวันตก ในข้อตกลงต่าง ๆ รุสเซียเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประทเศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก ซึ่งไม่ตรงกับความประสงค์ของอังกฤาและอเมริกา เพราะไมต้องการให้ประเทศเหล่านั้นปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
30_31    หลังจากการแบ่งเยอรมันแล้วย อังกฤษก็ยอมให้เอกราชแก่อาณานิคมของตน เนื่องจากการเรียกร้องเอกราชดังเช่นในอินเดีย อังกฤษจัดการแบ่งอินเดียออกเป็น 2 ส่วน คือพวกที่นับถือศาสนาอิสลามปกครองปากีสภาน และพวกฮินดูปกครองอินเดีย อาณานิคมอื่น ๆก็เรียกร้องเอกราชเช่นกันในขณะที่เศรษฐกิจของออังกฤษตกต่ำ อังกฤษจึงยอมปล่อยประเทศเหล่านั้น
     อังกฤษได้ส่งกองทหารเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี โดยช่วยเกาหลีได้ทำสงครามกับเกาหลีตามคำเรียกร้องของสหประชาชาติ
บทบาทของอังกฤษในตะวันออกกลาง คือการเข้ามามีบทบาทในการสงครามระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอล เนื่องจากชาวยิวต้องการกลับไปอยู่ในปากเลสไตน์โดยได้รบการสนับสนุนจากอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมากในตะวันออกกลาง มีอิทธิพลเหนืออียิปต์และคลองสุเอซอังกฤษให้การสนบสนุนทั้งอาหรับและยิวเพื่อเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ อังกฤาสนับสนุนเตอรกีให้ทำการต่อต้านซึงการปกครองอาหรับในเวลานั้น
ในปี 1922 สันนิบาติโลกตกลงให้อังกฤษอารกขาปาเลสไตน์ กระทั่งปี 1947 สหประชาชาติได้ตัดสินปัญหากรณีพิพาทระหว่างอาหรับและยิว โดยการแบ่งปาเลสไตน์เป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นของชาวอาหรับและส่วนที่เป็นของชาวยิวได้แก่ประเทศอิสราเอลซึ่งอาหรับไม่พอใจจึงเกิดเป็นสงครามระหว่างยิวและอาหรับ ในปาเลสไตน์เมื่อปี1947-1949 ซึ่งอังกฤษถอนกองทัพออกจากเขตนั้น ผลคืออาหรับแพ้และสูญเสียดินแดนให้แอสราเอล
     อิสราเอลเข้าโจมตีอียิปต์ อังกฤษและฝรั่งเศส ยื่อนคำขาดให้อียิปต์และอิสราเอลถอนทหารออกจากคลองสุเอวเป็นระยะทาง 10 ไมล์ ภายใน 12 ชั่วโมง แต่อียอปต์ไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษ และฝรั่งเศสจึงทำลายกองทัพอากาศของอียิปต์ผลของสงครามอียิปต์เป็นฝ่ายปราชัยแต่อังกฤษและฝรั่งเศสถูกประณาม โดยเฉพาะภายในประเทศ ประชาชนบางพวกไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ในที่สุด เซอร์  แอนโทนี่ อีเดน ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
    ตั้งแต่ปี 1956 เป็นต้นมา อังกฤษหมดความเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางอย่างไรก็ดีสหรีฐอเมริกาเป้นผู้ที่คอยส่งกำลังอาวุธให้แก่อิสราเอลและสหภาพโซเวียตก็คอยให้วามสนับสนุนอีผิปตือยู่ตลอดเวลา ทังอาหรับและอิสราเอล ก็พยายามเจรจาสันติภาพกันอยู่และคาดว่าคงประสบความสำเร็จ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Eastern Bloc


- การห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ใรฐบริวารมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดต่อกัน การสมาคมกันทุกด้านต้องอยู่ในสายตาของรุสเซีย และรุสเซียได้ย้ำหลักการผู้นำรวมศูนย์ คือ รวมศูนย์อยู่ที่รุเศียเท่นั้น และมีความสัมพันธ์กันได้แบบทวิภาคี ตัวต่อตัว พรรคต่อพรรค แต่ห้ามการมีความสัมพันธ์แบบรวามกลุ่ม ด้วยวิธีนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวารและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบริวารด้วยกันเองเป็นแบบทวิภาคี ทุกรัฐทุกพรรคอยู่ในภาวะโดยเดี่ยว ต้องพึ่งรุสเซียเพื่อความอยู่รอดของรัฐและของพรรค ตลอดจนความอยู่รอดของตัวบุคคลเองคือ คณะผู้นำ รุสเซีย คือ ผู้ที่จะครอบงำทุกรัฐบริวาร

      ระบบรัฐบริวาร การบวนการปฏิวัติยุโรปตะวันออกให้เป้ฯคอมมิวนิสต์ระหว่าง ปี 1945-1948 อาจจะนับได้ว่า เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณปฏิวัติ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายคือ สังคมในระบอบสังคมนิยมเป็นความฝันอันสูงสุดตามอุดมการณ์ สติลินได้กำหนดแบบอย่างการพัฒนาต้องเป็นแบบรุสเซียหรือแบบสตาลินนั้นเอง เอกภาพความเป็นปึกแผ่นย่อมเกิดจากการที่อยู่ในงคมแบบเดียวกัน และมีความสมัครสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอกภาพเช่นนี้จักเกิดขึ้นได้เมื่อทุกประเทศในระบบีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้น หลักการนี้เป็นที่ยอมรับในโลกคอมมิวนิสต์ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว หลักการนั้นเป็นเพียงเคร่องมืออธิบายให้เหตุผลความถูกกต้องชอบธรรมสำหรับรุสเซียที่จะสร้างระบบคอมมิวนิสต์ที่มีเอกภาพ มีอุดมการณ์เดียวกัน และอยู่ภายใต้การนำของรุสเซีย รุสเซียคือแกนกลางหรือศูนย์กลางแห่งโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือปิตุภูมิบ่อเกิดแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ ความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซียคือแบบอย่างสำหรับการปฏิวัติต้นแบบ คือเหตุผลที่จะทำให้รุสเซียได้รับการยกย่องและยอมรับให้เป็นเจ้าลัทธิผู้มีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการตีความหมายลัทธิและเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือผู้ชี้แนะแนวทางแก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ทุกหนแห่งในปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามครรลองแบบอย่างของรุสเซีย    
     เพื่อเอกภาพแห่งลัทธิและเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์ รัฐบริวารจะต้องมีความสัมัพันธ์อันแนบแน่นกับรุสเซีย แต่ถ้าอธิบายโดยความเป็นจริงแล้ว มันมีความหมายหลักประการเดียวคือ เพื่อความเป็นใหญ่ในโลกคอมมิวนิสต์ หรือในจักรวรรดิ รุสเซียต้องกำหนดความสัมพันธ์กับรัฐบริวารให้ใกล้ชิดมิให้เอาใจออกห่างนั้นเอง การอ้างอุดมการณ์จึงเป็นเพียงการฉาบผิวเปลือกนอกของความสัมพันธ์ให้ดูมีหลักการและเหตุผลเป็นที่ยอมรับเท่านั้น
     ด้วยความที่สตาลินเป็นนักการเมืองที่เจนจัดกุศโลบายทางการเมือง สตาลินได้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหวางรัฐบริวารกับรุสเซียโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดทางการเมืองเป็นหลัก สตาลินถือว่า โครงสร้างสูงสุด คือโครงสร้งทาการเมืองที่ต้องมีพื้นฐานเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม โลกคอมมิวนิสต์จะมีความหมายยิงใหญ่ได้ก็เฉพาะเมือได้รับการเสริมพลังด้วยการปฆิวัติเท่าน้น พลังปฏิวัตินั้นจะเสริมให้ระบอบการปกครองแข็งแกร่งในการสร้างระบอบสังคมนิยม ทุกรัฐบริวารต้องยอมรับวา เพื่ออุดมการณ์สูงสุด ผลประโยชน์ของรุสเวียมีความสำคัญลำดับแรก ปราศจากการโต้แย้งใด ๆ ในข้อนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐคอมมิวนิสต์ตองอยู่บนพื้นฐานบื้องต้นของการเมือง และผลประโยชน์ของรุสเซีย เป็นความสัมพันธ์ที่มีการริเริ่มและการทดลองใช้เป็นเบื้องต้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ มีสองระดับคือ ระดับทางการ และระดับที่ไม่เป็นทางการ
     ระดับทางการ คือ ความสัมพันธ์ระดับประเทศมีการทูตต่อกันและมีข้อตกลงประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องผูกมัดความสัมพันธ์ต่อกัน ข้อตกลงประเภทสนธิสัญญามัลักษณะเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี ไม่มีสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย สนธิสัญญาที่รุเสเซ๊ยทำกับรัฐบริสวารจะมีลักษณะเหมือกันหมด คอ เกี่ยว้องกับมิตรภาพ ความร่วมมือ ความช่วยเหลือต่อกัน และความเป็นพันธมิตรต่อต้านภัยเยอมันเป็นหลัก สนธิสัญญาประเภทนี้มีข้อห้ามหลายประการเหมือนกันคือ ห้ามคู่ภาคีมีความสัมพันธ์ถึงขั้นรวมกลุ่มรวมเหล่า กันเองในหมู่รัฐบริวาร หรือกับประเทศอื่นใดนอกระบบรัฐบริวารเพื่อต่อต้านคู่ภาคีอีกฝ่าย สัญญาระบุคู่ภาคีจะปกป้องสันติภาพ ต่อต้านแผนที่มีลักาณะก้าวร้าวที่คิดจะให้เยอรมันสร้างกำลังรบ หรือคิดจะสร้างพันธมิตร สนธิสัญญาระบุการเคารพเอกราช อำนาจอธิปไตย ไม่มีการแทรกแซงกิจการภายใน และมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเสมอภาค และท้านสุด สนธิสัญญาระบุควมร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ มีข้อน่าสังเกตว่า สนธิสัญญาประเภททวิภาคีนั้นไม่มีฉบับใดกล่าวถึงบทบาทรุสเซียในฐานะผู้นำ และบทบาทรุสเซียในการแทรกแซงกิจการภายในรัฐบริวาร การที่ไม่ระบุเช่นนั้นแสดงว่า คู่ภาคีมิได้ยอมรับบทบาทนั้นหรือ ข้อนี้ไม่แจ้งัดในเจตนารมรณ์ของคู่ภาคี ฝ่ายใดต้องการหลีกเลี่ยงไม่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ความสูงเด่นเหนือรัฐบริวารของรุสเซียจึงขาดพื้นฐานทางการรองรับ มีแต่พื้นฐานทางอุดมการณ์เท่านั้น
     ระดับไม่เป็นทางการ เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใช้วิธีการต่าง ๆนานัปการเป้ฯการส่วนตัว ที่สำคัญได้แก่
- สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลินสามรถจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือไม่เป็นทางการในการมีความสัมพันธ์ในลักษณะควบคุม สอดส่องดูแลรัฐบริวารได้ สตาลินมีบุคคลิกภาพเป็นคนที่มีอำนาจอยู่ในตัวมากพอทีจะทำให้รัฐบริวารครั้งคร้ามเมื่อเข้าใกล้ หวาดกลัวเมืออยู่ห่างไกล แม้ห่างตาห่างใจแต่ก็ทำให้รัฐบริวารรู้สึกเหมือสตาลินเป็นเงาติดตามพฤติกรรมตนตลอดเวลา ผู้นำรัฐบริวารทั้งเกลียด ทั้งกลัว และทั้งชื่นชมนับถือสตาลิน สตาลิน คือสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์พิเศษระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวาร และสัญลักษณ์ของผู้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ สตาลินอ้างตนเองเป็นผู้สร้างลัทธิสังคมนิยมให้มีรากฐานอันมั่นคง สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว จึงก่อเกิดผลทางจิตใจและความรู้สึกนานปการแก่ผู้นำรำฐบริวารบรรดาผู้นำรัฐบริวารล้วนสยบอยู่แทบเท้าสตาลิน ยอมเป็นรัฐบริวารก็เพราะสตาลินเป็นปัจจัยสำคัญ ความเหี้ยมหฤโหต ความชาญฉลาดในการไต่เต้าสู้ตำแหน่งทางการเมืองและความเป็นอัจฉริยะเชิงการทูต เหล่านี้ล้วนเป็ฯคุณสมบัติของสตาลินที่ให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเนทางใดทางหนึ่งเสมอ แม้แต่ศัตรูคู่แข่งที่เคียดแค้นว่าตามเขาไม่ทันในเลห์กลอุบาย ก็ญังยอมรับว่าเขาเป็นอัจฉริยะทางการทูตอย่างหาตัวจับได้ยาก ดังเช่น เชอร์ชิล และนายพลเดอโกล ซ฿งล้วนมีประสบการ์ต้องเกียวข้องกับสตาลินมานานก็อดมิได้ทีจะยอมรับในความเป็นอัจฉริยะทางการทูตของสติลิน
     ด้วยความที่เกรงกลัวกันมาเป็นการส่วนตัว ทำให้บรรดาผู้นำรัฐบริวารเพียรพยายามเอาใจและอ่านใจสตาลิน ปฏิบัติตนให้เป็ฯที่พอใจของสตาลิน นโยบายหรือการกระทำต่าง ๆ ในการปกครองประเส เป็ฯนโยบายและการกระทำที่ผู้นำรัฐบริวารพยายามทำโยคาดเอาว่าจักเป้ฯที่พอใจของสตาลิน ทั้ง ๆ ที่สตาลินอาจจะมิได้มีดำริหรือสังการให้กระทำ
      สตาลินเป็นผู้ที่ให้คุณและให้โทษแก่ผู้นำรัฐบริวารตำแหน่งผู้นำระดับสูงในพรรคและรัฐบาลล้วนมาจากการที่สตาลินเป็นผู้แต่งตั้งถอดถอนหรือโยกย้ายเปลี่ยนแปลง บรรดาผู้นำรัฐบริวารจึงไม่เคยรู้สึกว่ามีความมั่นคงในตำแหน่ง จำเป็นต้องเพรียรทำดีต่อสตาลิน วันใดสตาลินเพียงแต่ไม่สนับสนุนการกรทำอันใด ผู้นผู้นั้นย่อมถือเป็นวันหมดอำนาจวาสนาผู้นำรัฐบริวารจึงต้องจับตาดูสตาลินทุกย่างก้าวว่าจะคิดจะทำอะไร  เพื่อจะได้ประพฤติตนให้ถูกต้อง บรรดาผุ้นำรัฐบริวารล้วนยกย่องสตาลินและรุสเซยเป็นผู้นำและเป็นเจ้าลัทธิ ทุกคนคิดไปในแนวเดียวกันกับรุสเซย ผู้ใดคิดนอกลู่นอกทางย่อมประสบวันจุดจบของความก้าวหนาในหน้าที่การงาน ประเทศใดคิดนอกรีตนกอรอยย่อมจะอยู่ในสังคมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลิน จึงเป้ฯเครื่องมือสำคัญในการควบคุมบรรดารัฐบริวารที่ได้ผลดียิ่งนัก
- การควบคุมตนเองอย่างเป็นอิสระรุสเซียสามารถใช้กรรมวิธีนี้อย่างได้ผลยิ่ง เพราะรัฐบริวารล้วนนับถือเกรงกลัวสตาลิน ความเป็ฯสตาลินทรงอิทธิพลพอที่จะทำให้รัฐบริวารควบคุมตนเองได้โดยไม่ต้องมีรุสเซียบังคับควบคุมโดยตรง แม้เพียงคำพูดเปรย ๆ หรือแสดงทีท่าให้ปรากฎ หรือบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ “ปราฟด้า” ก็เพียพอที่จะทำให้รัฐบริวารรับปฏิบัติตนให้เป็นที่ประสงค์ของรุสเซีย การกระทำบางครั้งแม้รุสเซียมิได้สั่งหรือขอร้องให้ปฏิบัติ รัฐบริวารเป็นฝ่ายปฏิบัติเองด้วยความเต็มใจเพราะคาดหมายว่าเป็นการกระทำที่รุเซียประสงค์และปฏิวัติการเป็นอิสระด้วยตนเองเพื่อความพอใจของรุสเซีย รัฐบริวารจะปกครองประเทศโดยคำนึงถึงความชอบไม่ชอบและนโยบายความพใจของรุสเซียเป็นหลัก รุสเซียไม่จำเป็นต้องควบคุมโดยออกคำสั่งหรือบีบบังคับแต่อย่างใด ความเป็ฯสตาลินมีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุมรัฐบริวารได้ดีอยู่แล้ว นแดจากควบคุมรัฐบริวานในระดับสูงแล้ว ความเป็นสตาลินยังมีอิทธิพลแผ่ครอบคลุมถึงประชาชนทั่วไปด้วยโดยวิธีต่อไปนี้
      .. การปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ผู้กัพนะป็นพันธกรณ๊ต่อรุเซ๊ย การศึกษาทุกระดับของรัฐบริวารละการเผยแพร่วัฒนธรรมรุสเวียล้วนเป็นสื้อสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้ผูกพันเป็นพันธกรณีต่อรุสเซียให้ถือว่ารุสเซีย คือปิตุภูมิของลัทธิสังคมนิยม รุสเซย มีทัศนคติที่ดีต่อรุสเซียและนิยมรุสเซีย
     .. การเทอดทูนบูชาสตาลินว่าเป็นปูชนียบุคลประหนึ่งเทพสตาลิน คือ เจ้าลัทธิและเจ้าโลกคอมมิวนิสต์ สตาลิน คือผู้เสียสละเพื่อโลกคอมมิวนิสต์ สตาลินคือผุ้ชุบชีวิตยุโรปตะวันออกให้รอดพ้นจากภัยนาซี สตาลิน คือผุ้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซ๊ยสู่ระบอบสังคมนิยม สตาลิน คือผู้สร้างสถาบันหลักของประเทส ที่สำคัญคือสถาบันการเมืองการปกครอง แบบอย่งของสตาลินทุกด้านคือแบบอย่างที่ทุกรัฐบริวารและชายยุโรปตะวันออกพึงเจริยรอยตาม ตามอาคารสถานที่ร้านค้า สถานที่ราชการและอาคารบ้านเรื่อน ตลอดจนสถานที่สาธารณะ ถนนนหนทางสถานีรถไฟ สนามบิน เป็นต้น ล้วนมีภาพโปสเตอร์หรือภาพ่ถ่านสตาลินขนาดต่าง ๆ ติดตั้ง และมีรูปปั้นสตาลินแบบต่าง  ๆ ตั้งอยู่ทั่วไปชื่อสตาลินเป็นชื่อของสรรพสิ่งสรธารณะในสังคม การชุมนุมสมาคมทุกประเภทของชายุโรปตะวันออกล้วนแสดงความนิยมสตาลินและสดุดีสตาลินอย่างสูงสุด
     การควบคุมทางการเมือง รุสเซียสามารถควบคุมการเมืองของยุโรปตะวันออกได้โดย
- การปรึกษาหารือ เมือเกิดปัญหาความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่งรุสเซียกับรัฐบริวาร หรือเมือเกิดปัญหาใดในรัฐบริวาร ที่อาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของรุสเซย สตาลินจะเรียกตัวคณะผู้บริหารระดับสูงไปพบสตาลินเป็นการส่วนตัวเพื่อปรึกษาหารือกัน แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นการพบสตาลินเพื่อรับฟังคำสั่ง คำแนะนำคำเตือนหรือคำขู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง อนึ่ง แม้สตาลินจะให้ผุ้นำรัฐบริวารเข้าพบและมีผุ้นำรัฐบริวารอื่น ไ ร่วมด้วย แต่สตาลินจะให้พบตนที่ละคณะหรือที่ละคน และจะอ้างง่า ผู้นำอื่น ๆ ห็นชอบด้วยกับรุสเซียแล้วที่จะให้รัฐนั้น ๆ ปฏิบัติตาม สตาลินไม่เปิดโอกสให้ทุกฝ่ายพบเพื่อประชุมร่วมกันกับสตาลิน เพื่อป้องกันการรวมตัวกันสร้างแรงกดดันต่อสตาลินในการกำหนดวินิจฉัยสั่งกา และป้องกันมิให้รัฐบริวารมีสิทธิร่วมการกำหนดวินิจฉัยสังการด้วย
- เอกอัครราชทูตรุเซียประจำรัฐบริวาร ทูตรุสเวียมีหน้าที่อ่นที่สำคัญกว่าหน้าที่ทูตทั่วไป คือ การควบคุม กำกับดูแลรัฐบริวารและรายงานสถานการณ์รอบด้านอย่างสม่ำเสมอต่อรุสเซียเมื่อเกิดสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น ทูตมีอนำนาจหน้าที่สั่งการคณะผู้นำระดับสูงของรับบริวาร เป็นการแทรกแซงกิจการภายในรัฐนั้น ๆ โดยตรง แม้จนถึงการอยู่เบื้องหลังการแย่งอำนาจในแวดวงผุ้นำของรัฐบริวารนั้น ในกรณีที่ไม่มีการเรียกตัวไปพบสตาลินเพื่อปรึกษาหารือ ทูต คือ ผู้ถ่านทอดคำสั่งสตาลินมาให้คณะผู้นำของรัฐบริวารเพื่อให้แก่ไปญหาสถานการณ์ อาจจะกล่วได้ว่า ทูต คือผู้ที่ “เป็นหูเป็นตา”ให้แก่รุสเซีย
- ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระดับพรรค รุสเซียอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนคณะผุ้นำพรรค ผุ้ดำรงตำแหน่งระดับสูงต้องเป็นบุคคลที่รุสเซียไว้วางใจแล้วเท่านั้นคื อเป็นผุ้ที่จงรักภักดีต่อรุสเซีย หรือเป็นผุ้ที่เคยทำงานใกล้ชิดกับรุสเซียมาก่อน ข้าราชการรุสเซียระดับสูงดำรงตำแหน่งสูงในวงราชการและพรรคของรัฐบริวาร เมือเกิดเหตุอันใดขึ้น ผู้นำพรรคระดับสูงของรุสเซียจะไปเยือนเพื่อกำกพับดูแลการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ เมื่อรุสเซียมีการเปลี่ยนนโยบายอันใดที่เกี่ยวข้องกับรัฐบริวาร ก็ถ่ายทอดคำอธิบายฝ่ายทูตหรือให้ผุ้นำระดับสูงของตนเป็นผู้ไปเยื่อนรัฐนั้น ๆ เพื่อชี้แจงนโยบาย
      การแทรกซึมกลไกอำนาจรัฐ รุสเซียเข้าควบคุมกลไกอำนารัฐระดับสูง โดยเฉพาะประเภทที่เป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง คือ กระทรวงกลาโหมมหาดไทย การศึกษา สารนิเทศ กองทัพ ตำรวจ กองกำลังในรูปแบบอื่น ๆ รุสเซยจะเควบคุมโดยผ่านการแต่งตั้งข้าราชการรุสเซียหรือชาวรุสเซียให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของกลไกอำนาจรัฐนั้น ๆ หรือโดยการมีที่ปรึกษารุสเซยควบคุมแลกำกับดูแล ทุกกลไกอำนาจรัฐมีการเชื่อมต่อประสานงานกับรุสเซีย กลไกควบคุมที่สำคัญหนึ่งคือ ตำรวจลับโครงสร้างตำรวจลับเน้นการปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อรัฐบริวารประเทศตน แต่ขึ้นต่อรุสเซีย แม้แต่กองทัพของรัฐบริวารเอง รุสเซียก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมการสสร้างกำลังรบให้แก่รัฐบริวาร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพส่วนใหญ่สลายกำลังพล หรืออ่อนแอลง กองทัพไม่มีงบประมาณจะพัฒนากองทัพให้ทันสมัย รุสเซียได้กำจัดนายทหารระดับสูงที่ไม่นิยมรุสเซยและเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ออกจากกองทัพ ตำแหน่างระดับสูงในกองทัพและตำรวจล้วนเต็มไปด้วยบุคคลที่นิยมรุสเซียหรือเป็นาวรุสเว๊ยโดยตรง
     การควบคุมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของแต่ละรัฐต้องเข้าร่วมระบบเศรษฐกิจของกลุ่มรัฐบริวาร คื อต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์สุขของโลกคอมมิวนิสต์โดยส่วนรวม แต่โดยเนื้อแม้แล้ว เพื่อประโยชน์สุขของรุสเซียเองมากกว่า ความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบทวิภาคีและการอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกโดยตรง ในระยะแรกรุสเซียได้เอาเปรียบระบบเศรษฐกจิของรัฐบริวารในด้านต่อไปนี้
- การเรียกค่าปฏิกรรมสงครามจารัฐบริวารที่เคยเป็นฝ่ายอักษะ คือ ฮังการี รูเมเนีย ลัลแกเรียและเยอรมันตะวันออก และตั้งตนเป็นผู้แทนของรัฐบริวารในการเรียค่าปฏิกรรมสงคราม
- การกำหนดราคาพิเศษของสินค้าและบริการ รุสเซียมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัฐบริวาร รุสเซยเป็ฯผุ้กำหนดระเบียบข้อบังคับการค้าและกำหนดราคาพิเศษของสินค้า และบิรการที่เป็นประโชน์แก่รุสเซียเอง
- เมื่อรุสเซียยึดครองดินแดนส่วนใดของยุโรปตะวันออกรุสเซยจะรื้อถอนสรรพสิ่งของเยอมันอันมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับประเทศของตน
- การจัดตั้งบริษัทร่วมหุ้น รุสเซียถือหุ้นร้อยละ 50 และรุสเซียจะถือห้นในลักษณะที่นำทรัพย์สินส่วนที่ยึดได้เป็นทุน
- การค้าท้งปวงให้ถือระบบเงินตราสกุลรุสเซีย ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1950
- ในเดือนมกราคม รุสเซยเป็นผุ้นำฐบริวารในการจัดตั้งสภาความช่วยเหลือร่วมกันทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่าโคเมคอน เพื่อร่วมกันพีฒนาเศรษฐกิจ ประสานการค่าในกลุ่ม โดยเฉพาะกับรุสเซีย และเน้นหนักการพัฒนาอุตสาหกรรมทหาร
     สตาลินคือผุ้ตั้งระบบระหว่งรัฐขึ้นและต่อมา ระบบระหว่างรัฐเช่นนั้นได้มีการพัฒนาไปภายใต้ความดำริเห็นชอบของผุ้นำรุสเซียรุ่นต่อไป แต่ลักษณะแท้ของระบบแบบสตาลินมิได้เปลี่ยนแปลง มีเพียงวิธีการที่ปรับให้สอดคล้องกับสถานการเท่านนั้น
     ภัยคอมมิวนิสต์ที่คุกคามระหว่าง 1945-1948 และการที่ยุโรปตะวันออกตกเป็นรัฐคอมมิวนิสต์บริวารของรุสเซีย แสดงให้เห็นว่า รุสเซียได้ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจอาณาเขต เพื่อความเป็นใหญ่ในยุโรป มากว่าจะเพียงแต่ต้องการสร้างแนวป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคงดังที่ได้กล่าวอ้างขอความเห็นใจจากมหาพันธมิตร สหรัฐและอังกฤษจึงวิตกภัยรุสเซียมากยิ่งขึ้น และความสัมพันะนธ์กับรุสเซียก็มีแต่เลวร้ายลงไปตามลำดับ เพราะไม่สามารถจะเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการลงโทษฝ่ายอักษะ..

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Korean War


     การที่เกาหลีถูกบรรดามหาอำนาจลิขิตให้แบ่งเป็นสองประเทศตามประเพณีนิยมแห่งการทูตยุคสมันั้น ทำให้การพัฒนาประเทศเกาลหีมีปัญหามาก และขีดคั่นความสามารถในการพัฒนาแตกต่างกันมาก เมือกาลเวลาฝ่านไป เกาหลีเหนือดูจะมีพลกำลังเขม้มแข็งกว่เกาหลีใต้เพราะรุสเซียได้เสริมสร้างกำลังแสนยานุภาพให้เกาหลีเหนือเพื่อยุทธการรบรุก และเป็นเพราะเกาหลีเหนือเองมีแร่ธราตุทรัพยากรและพลังน้ำเหลือเฟือเพื่อการพัฒนา ความเหนือกว่านั้นเองที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ใหญ่ที่มีผลมหันต์ต่อเสถียรถาพความมั่นคงของเกาหลี วิกฤตกาณ์เกิดขึ้นด้วยน้ำมือชาวเกาหลีเหนือเองเป็นผู้ยั่วยุก่อน แต่แม้เกาหลีเหนือไม่ปฏิบัติการทางทหารก่อนเกาหลีไต้ก็อาจจะกระทำ เพราะต่างก็รณรงค์ทางการเมืองเพื่อรวมประเทศ
     นโยบายรุสเซียที่จะปฏิวัติเกาหลีเป็นคอมมิวนิสต์ด้วยการเสี่ยงทำสงครามใช้กำลังอาวุทธต่อสู้เพื่อรวมประเทศเกาหลีนั้น เป้ฯนโยบายที่จะมไย่วยุให้เกิดสงครามเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา รุสเซียไม่คาดคิดว่าจะมีมหาอำนาจใดแทรกแซงทางทหารในการรวมประเทศซึ่งเป็นกิจการภายในประเทศ การรวมประเทศโดยยุทธวิธีนั้นจะบีบบังคับให้ทั่วโลกต้องตกกระไดพลอยโจนยอมยอมรับการรวมประเทศโดยปริยาย สงครามเกาหลีจึงเป็ฯความพยายามที่จะเปลี่ยนสภานะเดิมด้วยวิธีการต่อสู้โดยใช้กำลังอาวุธ อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้วิจารณ์ว่า รุสเซียส่งเสริมให้เกิดสงครามเกาหลีเพื่อเป็นการตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกามีที่ท่าจะทำสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น ความเป็นไปได้ของการที่สหรัฐฯจะเป็นผู้ร่วมมือกันทางทหารกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้รุสเซียสนับสนุนให้เกิดสงครามเกาหลี
     บทบาทของรุสเซียในสงครามเกาหลีค่อนข้องจะเด่นชัด คือเป็นผู้ชีแนะทางการเมือง ให้คำปรึกษาทางทหาร ให้อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ให้นักบิน และดำเนินการทูต “ป้องปราม”โดยข่มขู่ว่าลั่นกลองรบ รุสเซียย่ามใจยิ่งขึ้นเมือสหรัฐอเมริกาประกาศแนวป้องกันน่านน้ำแปซิฟิกที่มิได้รวมถึงเกาหลีใต้ ส่วนเกาหลีเหนือเองมิได้รอช้า ทันที่ที่มหาอำนาจรุสเซียและสหรัฐฯถอนทหารออกจากเกาหลีในปี 1948 เกาหลีเหนือก็วางแผนรวมประเทศ เดือนมกราคม 1950 รุสเซียเปิดไฟเขียวให้เกาหลีเหนือและรุสเซียหนุนช่วยเกาหลีเหนือโดยเตรียมพร้อมทางการเมืองและการทหาร อาวุธยุทโธปกร์รุสิว๊ยได้หลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี่หนือโดยผ่านแมนจูเรีย พร้อมกันนั้นจีนส่งมอบกำลังทหารเกาหลี่ที่ส่งไปช่วยจีนต่อสู้ในแมนจูเรียคือแก่เกาหลี
      ในเดือนมิถุนายน 1950 เกาหลีเหนือรุกเกาหลีใต้ชนิดสายฟ้าแลบ และมีทีท่าจะสำเร็จผล หากแต่องค์กรสหประชาชาติเข้าขัดขวางเสียก่อน การแทรกแซงทางการทหารขององค์การนั้นเป็นปัจจัยสคัญที่รุเซียและเกาหลี่เหนือมิได้คาคการณ์มาก่อน
    นายพลแมคอาเธอร์กล่าวข่มขู่จีน ว่าจะมีการขยายสงครามข้ามแม่น้ำยาลู โจมตีทำลายแมนจูเรียทางอากาศ ปิดล้อมจีนด้วยกำลังแสนยานุภาพทางทะเล และจะสนับสนุนให้จีนชาตินิยมยกพลขึ้นบกแผ่นดินใหญเพื่อล้มระบอบคอมมิวนิสต์ คำแถลงท้าทายยั่วยุจีนเช่นนั้นจะมีผลยั่วยุให้รุสเว๊ยถูกภาวะบีบบังคับจำยอมให้ต้องเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างหลีแหลี่ยงมิได้ สหรัฐอเมริกาจึงพิจารณาเห็นว่าการขยายสงครามเข้าสู่แผ่นดินใหญ่จีนจะทำให้ “เราจะต้องเผชิญกับการทดแทนสองเท่า เนื่องจากปักกิ่งและมอสโกเป็นพัมธมิตรกันตามสนธิสัญญาและตามความผูกพันทางอุดมการณ์ ถ้าเราโจมตีจีนคอมมิวนิสต์ เราจะต้องเผชิญกับการที่รุสเซียจะเข้าแทรกแซงทางทหาร”อีกทั้งขณะนั้น กองทัพสหประชาชาติเองสามารถผลักดันทหารจีนอาสาสมัครและเกาหลีเหนือพ้นเส้นขนานที่ 38” ไปแล้วเกาหลี่ใต้ปลอดภัยแล้ว กองทัพสหประชาชาติจึงไมมีความจำเป็นที่จะต้องขยายสงครามอันจะเป็นการก่อเกิดวิกฤติการณ์ที่ใหญ่หลวงมากในเอเซยตะวันออก แผนของแมคอาเธอร์จึงเป็นอันมิได้นำไปปฏิบัติแต่มิได้หมายความว่าสงครามจะยุติลงได้
     ทั่วโลกเริ่มแสดงความคิดเห็นที่จะให้สงครามยุติ แต่จะยุติโดยวิธีใดและโดยเงื่อนไขใดเท่านั้นที่ยังเป็นข้อควรคิด จีนปรารถนาที่จะยุติสงคราม แต่ต้องการจะปฏิบัติการทางทหารให้ได้ตัวเมืองโซลก่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองในการเจรจายุติสงคราม การรบรุกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อจะรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ล้มเหลว แต่ไม่มีฝ่ายใดมีชัยชนะโดยเด็ดขาดเช่นกัน ต่างได้รบความเสียหายอย่างหนัก สงครามเกาหลีมีทีท่าจะกลายเป้นสงครามยือเยื้อควรแตการวิตกสำหรับคู่สงครามและมหาอำนาจที่เกี่ยวข้อง
     ท่ามกลางความแตกแยกของวงการเมืองโลก เกาหลีได้กลายเป็นเหยืออธรรมเสมือนลูกไก่ในกำมือมหาอำนาจที่จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด เกาหลี่คือกรณีพิพาทอันร้อนแรงที่เปิดฉากสงครามเย็นในเอเซีย กรณีพิพาทนั้นยือเยื้อยากที่จะยุติได้ ทั้ง ๆ ทมี่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักดีว่ามีอันตรายใหญ่หลวงในการที่สงครามยืดเยื้อโดยปราศจากจุดจบเช่นนั้น รุสเซียตระหนักถึงภัยมหันต์นั้นได้ดี ณ ที่ประชุมสภาสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย รุสเซียเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมเสียงสงครามาเป็นการฝ่านอคลายความตึงเครียด เพื่อหลีกเลื่ยงการเผชิญหน้ากับฝ่ายโลกเสรีอันจะเป็นประโยชน์แก่สถียรภาพความมั่นคงของรุสเซียเอง โดยผลพลอยได้ก็จะตกแก่จีนและเกาหลีรุสเซียได้เป็นฝ่ายริเริ่มการเจรจาสันตุภาพตั่งแต่เดือนกรกฎาคม เมือถึงปีต่อมาดังกล่าวการเจรจารุดหน้าไปมาก แต่หาข้อยุติมิได้ในประเด็นสำคัญคือ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนแชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึกเอง แต่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยมิต้องคำนึงถึงความสมัครใจของเชลยศึก ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าประมาณร้อยละ 70 ของเชลยศึกจีนและเกาหลี่เหนือแสดงความประสงค์ที่จะไม่กลับคนประทเศของตนถ้ายินยอมตามเช่นนั้น ทั่วดลกย่อมจะเล็งเห็นว่า ระบอบคอมมิวนิสต์มิได้มีคุณวิเศษแต่อย่างใดดังที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เพรียรโฆษณาชวนเชื่อเสมอมา ฝ่ายคอมมิวนิสต์จึงไม่ยินยอมโดยเด็ดขาด
      เมื่อการเจรจาหยุดชะงักลง สหรัฐอเมริกาได้ขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขวัญและบีบบังคับให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยอมอ่อนข้อ สหรัฐอเมริกาได้ข่มขู่ว่าจะโจมตีแม่น้อยาลูทางอากาศ เป็นเหตุให้จีนกับรุสเซียต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาว่าควรตอบโต้อย่างไรดี ทั้งนี้และทั้งนั้น ความปริวิตกของสองปรเทศมิได้เกิดจากความห่วงกังวลในความมั่นคงของเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกาที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา ที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีใต้เพียงประการเดียว ทั่วโลกเบื่อสงครามเกาหลีมาก สงครามนั้นไม่เป็นที่ต้องการของฝ่ายใด การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยได้นายพลไอเซนฮาวรร์เข้าดำรงตำแหน่งมีผลต่อชะตากรรมเกาหลีหย่างมาก ประธานาธิบดีคนใหม่ได้เร่งรัดให้จีนรับข้อเสนอยุติสงครามของฝ่ายองคก์การสหประชาชาติ โดยข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถ้าจีนยังบิดพริ้วไม่ยอมยุติสงคราม การข่มขู่นั้นได้ผลมาก จีนเร่งรุดเจรจากับสตาลินในปี 1953

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...