Korean War


     การที่เกาหลีถูกบรรดามหาอำนาจลิขิตให้แบ่งเป็นสองประเทศตามประเพณีนิยมแห่งการทูตยุคสมันั้น ทำให้การพัฒนาประเทศเกาลหีมีปัญหามาก และขีดคั่นความสามารถในการพัฒนาแตกต่างกันมาก เมือกาลเวลาฝ่านไป เกาหลีเหนือดูจะมีพลกำลังเขม้มแข็งกว่เกาหลีใต้เพราะรุสเซียได้เสริมสร้างกำลังแสนยานุภาพให้เกาหลีเหนือเพื่อยุทธการรบรุก และเป็นเพราะเกาหลีเหนือเองมีแร่ธราตุทรัพยากรและพลังน้ำเหลือเฟือเพื่อการพัฒนา ความเหนือกว่านั้นเองที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ใหญ่ที่มีผลมหันต์ต่อเสถียรถาพความมั่นคงของเกาหลี วิกฤตกาณ์เกิดขึ้นด้วยน้ำมือชาวเกาหลีเหนือเองเป็นผู้ยั่วยุก่อน แต่แม้เกาหลีเหนือไม่ปฏิบัติการทางทหารก่อนเกาหลีไต้ก็อาจจะกระทำ เพราะต่างก็รณรงค์ทางการเมืองเพื่อรวมประเทศ
     นโยบายรุสเซียที่จะปฏิวัติเกาหลีเป็นคอมมิวนิสต์ด้วยการเสี่ยงทำสงครามใช้กำลังอาวุทธต่อสู้เพื่อรวมประเทศเกาหลีนั้น เป้ฯนโยบายที่จะมไย่วยุให้เกิดสงครามเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา รุสเซียไม่คาดคิดว่าจะมีมหาอำนาจใดแทรกแซงทางทหารในการรวมประเทศซึ่งเป็นกิจการภายในประเทศ การรวมประเทศโดยยุทธวิธีนั้นจะบีบบังคับให้ทั่วโลกต้องตกกระไดพลอยโจนยอมยอมรับการรวมประเทศโดยปริยาย สงครามเกาหลีจึงเป็ฯความพยายามที่จะเปลี่ยนสภานะเดิมด้วยวิธีการต่อสู้โดยใช้กำลังอาวุธ อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้วิจารณ์ว่า รุสเซียส่งเสริมให้เกิดสงครามเกาหลีเพื่อเป็นการตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกามีที่ท่าจะทำสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น ความเป็นไปได้ของการที่สหรัฐฯจะเป็นผู้ร่วมมือกันทางทหารกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้รุสเซียสนับสนุนให้เกิดสงครามเกาหลี
     บทบาทของรุสเซียในสงครามเกาหลีค่อนข้องจะเด่นชัด คือเป็นผู้ชีแนะทางการเมือง ให้คำปรึกษาทางทหาร ให้อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ให้นักบิน และดำเนินการทูต “ป้องปราม”โดยข่มขู่ว่าลั่นกลองรบ รุสเซียย่ามใจยิ่งขึ้นเมือสหรัฐอเมริกาประกาศแนวป้องกันน่านน้ำแปซิฟิกที่มิได้รวมถึงเกาหลีใต้ ส่วนเกาหลีเหนือเองมิได้รอช้า ทันที่ที่มหาอำนาจรุสเซียและสหรัฐฯถอนทหารออกจากเกาหลีในปี 1948 เกาหลีเหนือก็วางแผนรวมประเทศ เดือนมกราคม 1950 รุสเซียเปิดไฟเขียวให้เกาหลีเหนือและรุสเซียหนุนช่วยเกาหลีเหนือโดยเตรียมพร้อมทางการเมืองและการทหาร อาวุธยุทโธปกร์รุสิว๊ยได้หลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี่หนือโดยผ่านแมนจูเรีย พร้อมกันนั้นจีนส่งมอบกำลังทหารเกาหลี่ที่ส่งไปช่วยจีนต่อสู้ในแมนจูเรียคือแก่เกาหลี
      ในเดือนมิถุนายน 1950 เกาหลีเหนือรุกเกาหลีใต้ชนิดสายฟ้าแลบ และมีทีท่าจะสำเร็จผล หากแต่องค์กรสหประชาชาติเข้าขัดขวางเสียก่อน การแทรกแซงทางการทหารขององค์การนั้นเป็นปัจจัยสคัญที่รุเซียและเกาหลี่เหนือมิได้คาคการณ์มาก่อน
    นายพลแมคอาเธอร์กล่าวข่มขู่จีน ว่าจะมีการขยายสงครามข้ามแม่น้ำยาลู โจมตีทำลายแมนจูเรียทางอากาศ ปิดล้อมจีนด้วยกำลังแสนยานุภาพทางทะเล และจะสนับสนุนให้จีนชาตินิยมยกพลขึ้นบกแผ่นดินใหญเพื่อล้มระบอบคอมมิวนิสต์ คำแถลงท้าทายยั่วยุจีนเช่นนั้นจะมีผลยั่วยุให้รุสเว๊ยถูกภาวะบีบบังคับจำยอมให้ต้องเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างหลีแหลี่ยงมิได้ สหรัฐอเมริกาจึงพิจารณาเห็นว่าการขยายสงครามเข้าสู่แผ่นดินใหญ่จีนจะทำให้ “เราจะต้องเผชิญกับการทดแทนสองเท่า เนื่องจากปักกิ่งและมอสโกเป็นพัมธมิตรกันตามสนธิสัญญาและตามความผูกพันทางอุดมการณ์ ถ้าเราโจมตีจีนคอมมิวนิสต์ เราจะต้องเผชิญกับการที่รุสเซียจะเข้าแทรกแซงทางทหาร”อีกทั้งขณะนั้น กองทัพสหประชาชาติเองสามารถผลักดันทหารจีนอาสาสมัครและเกาหลีเหนือพ้นเส้นขนานที่ 38” ไปแล้วเกาหลี่ใต้ปลอดภัยแล้ว กองทัพสหประชาชาติจึงไมมีความจำเป็นที่จะต้องขยายสงครามอันจะเป็นการก่อเกิดวิกฤติการณ์ที่ใหญ่หลวงมากในเอเซยตะวันออก แผนของแมคอาเธอร์จึงเป็นอันมิได้นำไปปฏิบัติแต่มิได้หมายความว่าสงครามจะยุติลงได้
     ทั่วโลกเริ่มแสดงความคิดเห็นที่จะให้สงครามยุติ แต่จะยุติโดยวิธีใดและโดยเงื่อนไขใดเท่านั้นที่ยังเป็นข้อควรคิด จีนปรารถนาที่จะยุติสงคราม แต่ต้องการจะปฏิบัติการทางทหารให้ได้ตัวเมืองโซลก่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองในการเจรจายุติสงคราม การรบรุกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อจะรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ล้มเหลว แต่ไม่มีฝ่ายใดมีชัยชนะโดยเด็ดขาดเช่นกัน ต่างได้รบความเสียหายอย่างหนัก สงครามเกาหลีมีทีท่าจะกลายเป้นสงครามยือเยื้อควรแตการวิตกสำหรับคู่สงครามและมหาอำนาจที่เกี่ยวข้อง
     ท่ามกลางความแตกแยกของวงการเมืองโลก เกาหลีได้กลายเป็นเหยืออธรรมเสมือนลูกไก่ในกำมือมหาอำนาจที่จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด เกาหลี่คือกรณีพิพาทอันร้อนแรงที่เปิดฉากสงครามเย็นในเอเซีย กรณีพิพาทนั้นยือเยื้อยากที่จะยุติได้ ทั้ง ๆ ทมี่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักดีว่ามีอันตรายใหญ่หลวงในการที่สงครามยืดเยื้อโดยปราศจากจุดจบเช่นนั้น รุสเซียตระหนักถึงภัยมหันต์นั้นได้ดี ณ ที่ประชุมสภาสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย รุสเซียเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมเสียงสงครามาเป็นการฝ่านอคลายความตึงเครียด เพื่อหลีกเลื่ยงการเผชิญหน้ากับฝ่ายโลกเสรีอันจะเป็นประโยชน์แก่สถียรภาพความมั่นคงของรุสเซียเอง โดยผลพลอยได้ก็จะตกแก่จีนและเกาหลีรุสเซียได้เป็นฝ่ายริเริ่มการเจรจาสันตุภาพตั่งแต่เดือนกรกฎาคม เมือถึงปีต่อมาดังกล่าวการเจรจารุดหน้าไปมาก แต่หาข้อยุติมิได้ในประเด็นสำคัญคือ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนแชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึกเอง แต่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยมิต้องคำนึงถึงความสมัครใจของเชลยศึก ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าประมาณร้อยละ 70 ของเชลยศึกจีนและเกาหลี่เหนือแสดงความประสงค์ที่จะไม่กลับคนประทเศของตนถ้ายินยอมตามเช่นนั้น ทั่วดลกย่อมจะเล็งเห็นว่า ระบอบคอมมิวนิสต์มิได้มีคุณวิเศษแต่อย่างใดดังที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เพรียรโฆษณาชวนเชื่อเสมอมา ฝ่ายคอมมิวนิสต์จึงไม่ยินยอมโดยเด็ดขาด
      เมื่อการเจรจาหยุดชะงักลง สหรัฐอเมริกาได้ขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขวัญและบีบบังคับให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยอมอ่อนข้อ สหรัฐอเมริกาได้ข่มขู่ว่าจะโจมตีแม่น้อยาลูทางอากาศ เป็นเหตุให้จีนกับรุสเซียต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาว่าควรตอบโต้อย่างไรดี ทั้งนี้และทั้งนั้น ความปริวิตกของสองปรเทศมิได้เกิดจากความห่วงกังวลในความมั่นคงของเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกาที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา ที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีใต้เพียงประการเดียว ทั่วโลกเบื่อสงครามเกาหลีมาก สงครามนั้นไม่เป็นที่ต้องการของฝ่ายใด การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยได้นายพลไอเซนฮาวรร์เข้าดำรงตำแหน่งมีผลต่อชะตากรรมเกาหลีหย่างมาก ประธานาธิบดีคนใหม่ได้เร่งรัดให้จีนรับข้อเสนอยุติสงครามของฝ่ายองคก์การสหประชาชาติ โดยข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถ้าจีนยังบิดพริ้วไม่ยอมยุติสงคราม การข่มขู่นั้นได้ผลมาก จีนเร่งรุดเจรจากับสตาลินในปี 1953

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)