- การห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ใรฐบริวารมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดต่อกัน การสมาคมกันทุกด้านต้องอยู่ในสายตาของรุสเซีย และรุสเซียได้ย้ำหลักการผู้นำรวมศูนย์ คือ รวมศูนย์อยู่ที่รุเศียเท่นั้น และมีความสัมพันธ์กันได้แบบทวิภาคี ตัวต่อตัว พรรคต่อพรรค แต่ห้ามการมีความสัมพันธ์แบบรวามกลุ่ม ด้วยวิธีนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวารและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบริวารด้วยกันเองเป็นแบบทวิภาคี ทุกรัฐทุกพรรคอยู่ในภาวะโดยเดี่ยว ต้องพึ่งรุสเซียเพื่อความอยู่รอดของรัฐและของพรรค ตลอดจนความอยู่รอดของตัวบุคคลเองคือ คณะผู้นำ รุสเซีย คือ ผู้ที่จะครอบงำทุกรัฐบริวาร
ระบบรัฐบริวาร การบวนการปฏิวัติยุโรปตะวันออกให้เป้ฯคอมมิวนิสต์ระหว่าง ปี 1945-1948 อาจจะนับได้ว่า เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณปฏิวัติ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายคือ สังคมในระบอบสังคมนิยมเป็นความฝันอันสูงสุดตามอุดมการณ์ สติลินได้กำหนดแบบอย่างการพัฒนาต้องเป็นแบบรุสเซียหรือแบบสตาลินนั้นเอง เอกภาพความเป็นปึกแผ่นย่อมเกิดจากการที่อยู่ในงคมแบบเดียวกัน และมีความสมัครสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอกภาพเช่นนี้จักเกิดขึ้นได้เมื่อทุกประเทศในระบบีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้น หลักการนี้เป็นที่ยอมรับในโลกคอมมิวนิสต์ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว หลักการนั้นเป็นเพียงเคร่องมืออธิบายให้เหตุผลความถูกกต้องชอบธรรมสำหรับรุสเซียที่จะสร้างระบบคอมมิวนิสต์ที่มีเอกภาพ มีอุดมการณ์เดียวกัน และอยู่ภายใต้การนำของรุสเซีย รุสเซียคือแกนกลางหรือศูนย์กลางแห่งโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือปิตุภูมิบ่อเกิดแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ ความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซียคือแบบอย่างสำหรับการปฏิวัติต้นแบบ คือเหตุผลที่จะทำให้รุสเซียได้รับการยกย่องและยอมรับให้เป็นเจ้าลัทธิผู้มีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการตีความหมายลัทธิและเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือผู้ชี้แนะแนวทางแก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ทุกหนแห่งในปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามครรลองแบบอย่างของรุสเซีย
เพื่อเอกภาพแห่งลัทธิและเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์ รัฐบริวารจะต้องมีความสัมัพันธ์อันแนบแน่นกับรุสเซีย แต่ถ้าอธิบายโดยความเป็นจริงแล้ว มันมีความหมายหลักประการเดียวคือ เพื่อความเป็นใหญ่ในโลกคอมมิวนิสต์ หรือในจักรวรรดิ รุสเซียต้องกำหนดความสัมพันธ์กับรัฐบริวารให้ใกล้ชิดมิให้เอาใจออกห่างนั้นเอง การอ้างอุดมการณ์จึงเป็นเพียงการฉาบผิวเปลือกนอกของความสัมพันธ์ให้ดูมีหลักการและเหตุผลเป็นที่ยอมรับเท่านั้น
ด้วยความที่สตาลินเป็นนักการเมืองที่เจนจัดกุศโลบายทางการเมือง สตาลินได้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหวางรัฐบริวารกับรุสเซียโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดทางการเมืองเป็นหลัก สตาลินถือว่า โครงสร้างสูงสุด คือโครงสร้งทาการเมืองที่ต้องมีพื้นฐานเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม โลกคอมมิวนิสต์จะมีความหมายยิงใหญ่ได้ก็เฉพาะเมือได้รับการเสริมพลังด้วยการปฆิวัติเท่าน้น พลังปฏิวัตินั้นจะเสริมให้ระบอบการปกครองแข็งแกร่งในการสร้างระบอบสังคมนิยม ทุกรัฐบริวารต้องยอมรับวา เพื่ออุดมการณ์สูงสุด ผลประโยชน์ของรุสเวียมีความสำคัญลำดับแรก ปราศจากการโต้แย้งใด ๆ ในข้อนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐคอมมิวนิสต์ตองอยู่บนพื้นฐานบื้องต้นของการเมือง และผลประโยชน์ของรุสเซีย เป็นความสัมพันธ์ที่มีการริเริ่มและการทดลองใช้เป็นเบื้องต้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ มีสองระดับคือ ระดับทางการ และระดับที่ไม่เป็นทางการ
ระดับทางการ คือ ความสัมพันธ์ระดับประเทศมีการทูตต่อกันและมีข้อตกลงประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องผูกมัดความสัมพันธ์ต่อกัน ข้อตกลงประเภทสนธิสัญญามัลักษณะเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี ไม่มีสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย สนธิสัญญาที่รุเสเซ๊ยทำกับรัฐบริสวารจะมีลักษณะเหมือกันหมด คอ เกี่ยว้องกับมิตรภาพ ความร่วมมือ ความช่วยเหลือต่อกัน และความเป็นพันธมิตรต่อต้านภัยเยอมันเป็นหลัก สนธิสัญญาประเภทนี้มีข้อห้ามหลายประการเหมือนกันคือ ห้ามคู่ภาคีมีความสัมพันธ์ถึงขั้นรวมกลุ่มรวมเหล่า กันเองในหมู่รัฐบริวาร หรือกับประเทศอื่นใดนอกระบบรัฐบริวารเพื่อต่อต้านคู่ภาคีอีกฝ่าย สัญญาระบุคู่ภาคีจะปกป้องสันติภาพ ต่อต้านแผนที่มีลักาณะก้าวร้าวที่คิดจะให้เยอรมันสร้างกำลังรบ หรือคิดจะสร้างพันธมิตร สนธิสัญญาระบุการเคารพเอกราช อำนาจอธิปไตย ไม่มีการแทรกแซงกิจการภายใน และมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเสมอภาค และท้านสุด สนธิสัญญาระบุควมร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ มีข้อน่าสังเกตว่า สนธิสัญญาประเภททวิภาคีนั้นไม่มีฉบับใดกล่าวถึงบทบาทรุสเซียในฐานะผู้นำ และบทบาทรุสเซียในการแทรกแซงกิจการภายในรัฐบริวาร การที่ไม่ระบุเช่นนั้นแสดงว่า คู่ภาคีมิได้ยอมรับบทบาทนั้นหรือ ข้อนี้ไม่แจ้งัดในเจตนารมรณ์ของคู่ภาคี ฝ่ายใดต้องการหลีกเลี่ยงไม่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ความสูงเด่นเหนือรัฐบริวารของรุสเซียจึงขาดพื้นฐานทางการรองรับ มีแต่พื้นฐานทางอุดมการณ์เท่านั้น
ระดับไม่เป็นทางการ เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใช้วิธีการต่าง ๆนานัปการเป้ฯการส่วนตัว ที่สำคัญได้แก่
- สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลินสามรถจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือไม่เป็นทางการในการมีความสัมพันธ์ในลักษณะควบคุม สอดส่องดูแลรัฐบริวารได้ สตาลินมีบุคคลิกภาพเป็นคนที่มีอำนาจอยู่ในตัวมากพอทีจะทำให้รัฐบริวารครั้งคร้ามเมื่อเข้าใกล้ หวาดกลัวเมืออยู่ห่างไกล แม้ห่างตาห่างใจแต่ก็ทำให้รัฐบริวารรู้สึกเหมือสตาลินเป็นเงาติดตามพฤติกรรมตนตลอดเวลา ผู้นำรัฐบริวารทั้งเกลียด ทั้งกลัว และทั้งชื่นชมนับถือสตาลิน สตาลิน คือสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์พิเศษระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวาร และสัญลักษณ์ของผู้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ สตาลินอ้างตนเองเป็นผู้สร้างลัทธิสังคมนิยมให้มีรากฐานอันมั่นคง สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว จึงก่อเกิดผลทางจิตใจและความรู้สึกนานปการแก่ผู้นำรำฐบริวารบรรดาผู้นำรัฐบริวารล้วนสยบอยู่แทบเท้าสตาลิน ยอมเป็นรัฐบริวารก็เพราะสตาลินเป็นปัจจัยสำคัญ ความเหี้ยมหฤโหต ความชาญฉลาดในการไต่เต้าสู้ตำแหน่งทางการเมืองและความเป็นอัจฉริยะเชิงการทูต เหล่านี้ล้วนเป็ฯคุณสมบัติของสตาลินที่ให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเนทางใดทางหนึ่งเสมอ แม้แต่ศัตรูคู่แข่งที่เคียดแค้นว่าตามเขาไม่ทันในเลห์กลอุบาย ก็ญังยอมรับว่าเขาเป็นอัจฉริยะทางการทูตอย่างหาตัวจับได้ยาก ดังเช่น เชอร์ชิล และนายพลเดอโกล ซ฿งล้วนมีประสบการ์ต้องเกียวข้องกับสตาลินมานานก็อดมิได้ทีจะยอมรับในความเป็นอัจฉริยะทางการทูตของสติลิน
ด้วยความที่เกรงกลัวกันมาเป็นการส่วนตัว ทำให้บรรดาผู้นำรัฐบริวารเพียรพยายามเอาใจและอ่านใจสตาลิน ปฏิบัติตนให้เป็ฯที่พอใจของสตาลิน นโยบายหรือการกระทำต่าง ๆ ในการปกครองประเส เป็ฯนโยบายและการกระทำที่ผู้นำรัฐบริวารพยายามทำโยคาดเอาว่าจักเป้ฯที่พอใจของสตาลิน ทั้ง ๆ ที่สตาลินอาจจะมิได้มีดำริหรือสังการให้กระทำ
สตาลินเป็นผู้ที่ให้คุณและให้โทษแก่ผู้นำรัฐบริวารตำแหน่งผู้นำระดับสูงในพรรคและรัฐบาลล้วนมาจากการที่สตาลินเป็นผู้แต่งตั้งถอดถอนหรือโยกย้ายเปลี่ยนแปลง บรรดาผู้นำรัฐบริวารจึงไม่เคยรู้สึกว่ามีความมั่นคงในตำแหน่ง จำเป็นต้องเพรียรทำดีต่อสตาลิน วันใดสตาลินเพียงแต่ไม่สนับสนุนการกรทำอันใด ผู้นผู้นั้นย่อมถือเป็นวันหมดอำนาจวาสนาผู้นำรัฐบริวารจึงต้องจับตาดูสตาลินทุกย่างก้าวว่าจะคิดจะทำอะไร เพื่อจะได้ประพฤติตนให้ถูกต้อง บรรดาผุ้นำรัฐบริวารล้วนยกย่องสตาลินและรุสเซยเป็นผู้นำและเป็นเจ้าลัทธิ ทุกคนคิดไปในแนวเดียวกันกับรุสเซย ผู้ใดคิดนอกลู่นอกทางย่อมประสบวันจุดจบของความก้าวหนาในหน้าที่การงาน ประเทศใดคิดนอกรีตนกอรอยย่อมจะอยู่ในสังคมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลิน จึงเป้ฯเครื่องมือสำคัญในการควบคุมบรรดารัฐบริวารที่ได้ผลดียิ่งนัก
- การควบคุมตนเองอย่างเป็นอิสระรุสเซียสามารถใช้กรรมวิธีนี้อย่างได้ผลยิ่ง เพราะรัฐบริวารล้วนนับถือเกรงกลัวสตาลิน ความเป็ฯสตาลินทรงอิทธิพลพอที่จะทำให้รัฐบริวารควบคุมตนเองได้โดยไม่ต้องมีรุสเซียบังคับควบคุมโดยตรง แม้เพียงคำพูดเปรย ๆ หรือแสดงทีท่าให้ปรากฎ หรือบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ “ปราฟด้า” ก็เพียพอที่จะทำให้รัฐบริวารรับปฏิบัติตนให้เป็นที่ประสงค์ของรุสเซีย การกระทำบางครั้งแม้รุสเซียมิได้สั่งหรือขอร้องให้ปฏิบัติ รัฐบริวารเป็นฝ่ายปฏิบัติเองด้วยความเต็มใจเพราะคาดหมายว่าเป็นการกระทำที่รุเซียประสงค์และปฏิวัติการเป็นอิสระด้วยตนเองเพื่อความพอใจของรุสเซีย รัฐบริวารจะปกครองประเทศโดยคำนึงถึงความชอบไม่ชอบและนโยบายความพใจของรุสเซียเป็นหลัก รุสเซียไม่จำเป็นต้องควบคุมโดยออกคำสั่งหรือบีบบังคับแต่อย่างใด ความเป็ฯสตาลินมีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุมรัฐบริวารได้ดีอยู่แล้ว นแดจากควบคุมรัฐบริวานในระดับสูงแล้ว ความเป็นสตาลินยังมีอิทธิพลแผ่ครอบคลุมถึงประชาชนทั่วไปด้วยโดยวิธีต่อไปนี้
.. การปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ผู้กัพนะป็นพันธกรณ๊ต่อรุเซ๊ย การศึกษาทุกระดับของรัฐบริวารละการเผยแพร่วัฒนธรรมรุสเวียล้วนเป็นสื้อสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้ผูกพันเป็นพันธกรณีต่อรุสเซียให้ถือว่ารุสเซีย คือปิตุภูมิของลัทธิสังคมนิยม รุสเซย มีทัศนคติที่ดีต่อรุสเซียและนิยมรุสเซีย
.. การเทอดทูนบูชาสตาลินว่าเป็นปูชนียบุคลประหนึ่งเทพสตาลิน คือ เจ้าลัทธิและเจ้าโลกคอมมิวนิสต์ สตาลิน คือผู้เสียสละเพื่อโลกคอมมิวนิสต์ สตาลินคือผุ้ชุบชีวิตยุโรปตะวันออกให้รอดพ้นจากภัยนาซี สตาลิน คือผุ้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซ๊ยสู่ระบอบสังคมนิยม สตาลิน คือผู้สร้างสถาบันหลักของประเทส ที่สำคัญคือสถาบันการเมืองการปกครอง แบบอย่งของสตาลินทุกด้านคือแบบอย่างที่ทุกรัฐบริวารและชายยุโรปตะวันออกพึงเจริยรอยตาม ตามอาคารสถานที่ร้านค้า สถานที่ราชการและอาคารบ้านเรื่อน ตลอดจนสถานที่สาธารณะ ถนนนหนทางสถานีรถไฟ สนามบิน เป็นต้น ล้วนมีภาพโปสเตอร์หรือภาพ่ถ่านสตาลินขนาดต่าง ๆ ติดตั้ง และมีรูปปั้นสตาลินแบบต่าง ๆ ตั้งอยู่ทั่วไปชื่อสตาลินเป็นชื่อของสรรพสิ่งสรธารณะในสังคม การชุมนุมสมาคมทุกประเภทของชายุโรปตะวันออกล้วนแสดงความนิยมสตาลินและสดุดีสตาลินอย่างสูงสุด
การควบคุมทางการเมือง รุสเซียสามารถควบคุมการเมืองของยุโรปตะวันออกได้โดย
- การปรึกษาหารือ เมือเกิดปัญหาความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่งรุสเซียกับรัฐบริวาร หรือเมือเกิดปัญหาใดในรัฐบริวาร ที่อาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของรุสเซย สตาลินจะเรียกตัวคณะผู้บริหารระดับสูงไปพบสตาลินเป็นการส่วนตัวเพื่อปรึกษาหารือกัน แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นการพบสตาลินเพื่อรับฟังคำสั่ง คำแนะนำคำเตือนหรือคำขู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง อนึ่ง แม้สตาลินจะให้ผุ้นำรัฐบริวารเข้าพบและมีผุ้นำรัฐบริวารอื่น ไ ร่วมด้วย แต่สตาลินจะให้พบตนที่ละคณะหรือที่ละคน และจะอ้างง่า ผู้นำอื่น ๆ ห็นชอบด้วยกับรุสเซียแล้วที่จะให้รัฐนั้น ๆ ปฏิบัติตาม สตาลินไม่เปิดโอกสให้ทุกฝ่ายพบเพื่อประชุมร่วมกันกับสตาลิน เพื่อป้องกันการรวมตัวกันสร้างแรงกดดันต่อสตาลินในการกำหนดวินิจฉัยสั่งกา และป้องกันมิให้รัฐบริวารมีสิทธิร่วมการกำหนดวินิจฉัยสังการด้วย
- เอกอัครราชทูตรุเซียประจำรัฐบริวาร ทูตรุสเวียมีหน้าที่อ่นที่สำคัญกว่าหน้าที่ทูตทั่วไป คือ การควบคุม กำกับดูแลรัฐบริวารและรายงานสถานการณ์รอบด้านอย่างสม่ำเสมอต่อรุสเซียเมื่อเกิดสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น ทูตมีอนำนาจหน้าที่สั่งการคณะผู้นำระดับสูงของรับบริวาร เป็นการแทรกแซงกิจการภายในรัฐนั้น ๆ โดยตรง แม้จนถึงการอยู่เบื้องหลังการแย่งอำนาจในแวดวงผุ้นำของรัฐบริวารนั้น ในกรณีที่ไม่มีการเรียกตัวไปพบสตาลินเพื่อปรึกษาหารือ ทูต คือ ผู้ถ่านทอดคำสั่งสตาลินมาให้คณะผู้นำของรัฐบริวารเพื่อให้แก่ไปญหาสถานการณ์ อาจจะกล่วได้ว่า ทูต คือผู้ที่ “เป็นหูเป็นตา”ให้แก่รุสเซีย
- ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระดับพรรค รุสเซียอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนคณะผุ้นำพรรค ผุ้ดำรงตำแหน่งระดับสูงต้องเป็นบุคคลที่รุสเซียไว้วางใจแล้วเท่านั้นคื อเป็นผุ้ที่จงรักภักดีต่อรุสเซีย หรือเป็นผุ้ที่เคยทำงานใกล้ชิดกับรุสเซียมาก่อน ข้าราชการรุสเซียระดับสูงดำรงตำแหน่งสูงในวงราชการและพรรคของรัฐบริวาร เมือเกิดเหตุอันใดขึ้น ผู้นำพรรคระดับสูงของรุสเซียจะไปเยือนเพื่อกำกพับดูแลการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ เมื่อรุสเซียมีการเปลี่ยนนโยบายอันใดที่เกี่ยวข้องกับรัฐบริวาร ก็ถ่ายทอดคำอธิบายฝ่ายทูตหรือให้ผุ้นำระดับสูงของตนเป็นผู้ไปเยื่อนรัฐนั้น ๆ เพื่อชี้แจงนโยบาย
การแทรกซึมกลไกอำนาจรัฐ รุสเซียเข้าควบคุมกลไกอำนารัฐระดับสูง โดยเฉพาะประเภทที่เป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง คือ กระทรวงกลาโหมมหาดไทย การศึกษา สารนิเทศ กองทัพ ตำรวจ กองกำลังในรูปแบบอื่น ๆ รุสเซยจะเควบคุมโดยผ่านการแต่งตั้งข้าราชการรุสเซียหรือชาวรุสเซียให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของกลไกอำนาจรัฐนั้น ๆ หรือโดยการมีที่ปรึกษารุสเซยควบคุมแลกำกับดูแล ทุกกลไกอำนาจรัฐมีการเชื่อมต่อประสานงานกับรุสเซีย กลไกควบคุมที่สำคัญหนึ่งคือ ตำรวจลับโครงสร้างตำรวจลับเน้นการปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อรัฐบริวารประเทศตน แต่ขึ้นต่อรุสเซีย แม้แต่กองทัพของรัฐบริวารเอง รุสเซียก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมการสสร้างกำลังรบให้แก่รัฐบริวาร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพส่วนใหญ่สลายกำลังพล หรืออ่อนแอลง กองทัพไม่มีงบประมาณจะพัฒนากองทัพให้ทันสมัย รุสเซียได้กำจัดนายทหารระดับสูงที่ไม่นิยมรุสเซยและเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ออกจากกองทัพ ตำแหน่างระดับสูงในกองทัพและตำรวจล้วนเต็มไปด้วยบุคคลที่นิยมรุสเซียหรือเป็นาวรุสเว๊ยโดยตรง
การควบคุมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของแต่ละรัฐต้องเข้าร่วมระบบเศรษฐกิจของกลุ่มรัฐบริวาร คื อต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์สุขของโลกคอมมิวนิสต์โดยส่วนรวม แต่โดยเนื้อแม้แล้ว เพื่อประโยชน์สุขของรุสเซียเองมากกว่า ความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบทวิภาคีและการอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกโดยตรง ในระยะแรกรุสเซียได้เอาเปรียบระบบเศรษฐกจิของรัฐบริวารในด้านต่อไปนี้
- การเรียกค่าปฏิกรรมสงครามจารัฐบริวารที่เคยเป็นฝ่ายอักษะ คือ ฮังการี รูเมเนีย ลัลแกเรียและเยอรมันตะวันออก และตั้งตนเป็นผู้แทนของรัฐบริวารในการเรียค่าปฏิกรรมสงคราม
- การกำหนดราคาพิเศษของสินค้าและบริการ รุสเซียมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัฐบริวาร รุสเซยเป็ฯผุ้กำหนดระเบียบข้อบังคับการค้าและกำหนดราคาพิเศษของสินค้า และบิรการที่เป็นประโชน์แก่รุสเซียเอง
- เมื่อรุสเซียยึดครองดินแดนส่วนใดของยุโรปตะวันออกรุสเซยจะรื้อถอนสรรพสิ่งของเยอมันอันมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับประเทศของตน
- การจัดตั้งบริษัทร่วมหุ้น รุสเซียถือหุ้นร้อยละ 50 และรุสเซียจะถือห้นในลักษณะที่นำทรัพย์สินส่วนที่ยึดได้เป็นทุน
- การค้าท้งปวงให้ถือระบบเงินตราสกุลรุสเซีย ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1950
- ในเดือนมกราคม รุสเซยเป็นผุ้นำฐบริวารในการจัดตั้งสภาความช่วยเหลือร่วมกันทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่าโคเมคอน เพื่อร่วมกันพีฒนาเศรษฐกิจ ประสานการค่าในกลุ่ม โดยเฉพาะกับรุสเซีย และเน้นหนักการพัฒนาอุตสาหกรรมทหาร
สตาลินคือผุ้ตั้งระบบระหว่งรัฐขึ้นและต่อมา ระบบระหว่างรัฐเช่นนั้นได้มีการพัฒนาไปภายใต้ความดำริเห็นชอบของผุ้นำรุสเซียรุ่นต่อไป แต่ลักษณะแท้ของระบบแบบสตาลินมิได้เปลี่ยนแปลง มีเพียงวิธีการที่ปรับให้สอดคล้องกับสถานการเท่านนั้น
ภัยคอมมิวนิสต์ที่คุกคามระหว่าง 1945-1948 และการที่ยุโรปตะวันออกตกเป็นรัฐคอมมิวนิสต์บริวารของรุสเซีย แสดงให้เห็นว่า รุสเซียได้ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจอาณาเขต เพื่อความเป็นใหญ่ในยุโรป มากว่าจะเพียงแต่ต้องการสร้างแนวป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคงดังที่ได้กล่าวอ้างขอความเห็นใจจากมหาพันธมิตร สหรัฐและอังกฤษจึงวิตกภัยรุสเซียมากยิ่งขึ้น และความสัมพันะนธ์กับรุสเซียก็มีแต่เลวร้ายลงไปตามลำดับ เพราะไม่สามารถจะเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการลงโทษฝ่ายอักษะ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น