วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

๋Japan After WW2

     พันธมิตรมอบหมายให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ปกครองญี่ปุ่นในช่วงการยึครอง องกณืคอารสำคัญที่ทำหน้าที่คือ กองบัญชาการสูงสุดสำหรับมหาอำจานพันธมิตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคือนายพลดักลาส  การปกครองและการพัฒนาญี่ปุ่นเลียนแบบอย่างจากอเมริกา ถึงกระนั้นการยึดครองญี่ปุ่นก็บรรลุจุดประสงค์หลักของพันธมิตรตามที่ได้ร่างโครงการเป็นนโยบายต่อญี่ปุ่นภายหลังญี่ปุ่นแม้สงคราม    
      นายพลแมคอาเธอร์เปรียบดังโชกุนผิวขาวในสายตาญี่ปุ่นการนิรมิตรญี่ปุ่นจึงเป็นไปตามอุดมคติมากกว่าการปฏิวัติ
      องการสแค็ปได้สร้างญี่ปุ่นเป็นรัฐปลอดทหารโดยการทำลายกำลังแสนยานุภาอย่างเป็นขั้นตอน ที่สำคัญคือ การทำลายกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ยุบหน่วยราชการทหาร สลายกำลังพลกว่า 2 ล้านให้คือถ่นกำเนิด อพยพทหาร 3 ล้านนายจากดินแดโพ้นทะเลที่ญี่ปุ่นยึดครอง ให้กลับคืนประเทศ และสลายกำลังพล ดินแดนต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นครอบครองมอบคืนแก่เจ้าของเดิม หรือเป็นเอกราชตามหลักว่าด้วยเชื้อชาติ ญี่ปุ่นสิ้นสุดเขียวเล็บตั้งแต่นั้นมา มาตราที่ 9 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นได้ย้ำความสำคัญนี้ด้วยว่า ญี่ปุ่นจะใฝ่สันติและประณามสงครา มาตรานี้ได้ปิกั้นญี่ปุ่นมิไสร้างกำลังแสนยานุภาพอีกต่อไป
    อาชการสงครามชาวญี่ปุ่นและหรือเห็นชอบหรือร่วมมือกับรัฐบาลทหารในการทำสงครามถูกพิจารณาคดีในศาลภายในประเทศ และผู้ต้องหารายสำคัญถูกส่งไปพิจารณาที่ศาลระหว่างประเทศ ภารกิจที่สำคัญขององค์การสแค็ปคือ การสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ในญี่ปุ่น เพื่อถ้าญี่ปุ่นมีโอกาส ญี่ปุ่นย่อมหันไปสู่ประชาธิปไตย สิ่งแรกที่ดำเนินการคือ การลงโทษกำจัดกวาดล้าชาวญี่ปุ่นระดับสูงในทุกวงการที่มีความคิดเผด็จการ และการปล่อยนักโทษการเมืองออกจากที่คุมขัง ต่อจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ถูกร่างขึ้นและมีการส่งเสริมให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อให้มีส่วนร่วมการปกครองโดยตรงเสรีภาพทางการเมืองและการจัดตั้งองค์กรใหม่เหล่นั้น ล้วนเกิดขึ้นในกรอบโครงสร้างใหม่สุด คือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่าง 3 ปี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นเป็นแบบสหรัฐอเมริกากล่าวคือ มีระบบรัฐสภาแบบสองสภา อำนาจนิติบัญญัติเหนืออำนาจบริหารในแง่ที่มีการให้อำนาจสภาในการพิจารณารับหรือไม่รับพระราชบัญญํติบงประมาณ ถ้าสภาไม่ยอมให้งบประมาณผ่าน สามสิบวันต่อมา รัฐบาลมีอำนาจที่จะประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณได้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเพราะนายกรัฐมนตรีมาจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้เลื่อกตัวบุคคล แม้จะมีอำนาจในการยุบสภาและจัดการเลือตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นระบุการแก้ไขจะกระทำได้เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และประชาชนลงมติเห็นชอบหลักการลงมติสำหรับรัฐสภาปรากฎชัดว่า ต้องได้คะแนนเสียงสองในสามของสภาสูง และคะแนนเสียงสองในสามของสภาผู้แทนราษฎร การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการง่ายดายแต่อย่างใด
      รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจเป็นเอกภาพโดยอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมโดยประชาชนผ่านนรัฐสภา สถาบันกษัตริย์ไม่มีอำนาจแต่อย่างไร พระจักรพรรดิตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็ฯสัญลักษณ์แห่งประเทศชาติ และสถาบันนั้นดำรงอยู่โดยเจตนารมณ์แห่งประชาชาติเท่านั้น องค์จักรพรรดิทรงเป็นแกนหลางแห่งความจงรักภัดดี ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความรักมากกว่าความเกรงกลัวในองค์พระมหากษัตริย์ดังอดีต สภานภาพแห่งพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำให้สถานภาพและพระเกียรติภูมิรแห่งพระมหากษัตริย์มั่งคงขึ้นมาก
    ในระยะที่สหีฐอเมริกายึดครองญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ปกครองญี่ปุ่นแบบสหรัฐอเมริกา โดยพยายามสร้างรากฐานให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวิธีการสร้างระบอบประชาธิปไตยแนวใหม่ รากฐานนั้นได้แก่
     - การกำหนดให้ประชาชนทุดเศทุกขนชั้นมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
     - การแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงาน ให้สิทธิเสรีภาพแก่กรรมกรที่จะจัดตั้งองค์การและนัดหยุดงานได้ สหภาพการค้าได้ผุดขึ้นทั่วไปราวกับดอกเห็น เพิ่มรสชาติให้แก่การเมืองญี่ไป่นให้มีความเร่าร้อนรุนแรงมาก แต่ก็ทำให้กรรมกรมีสิทธิเสรีภาพ เป็นรากฐานสนับสนุนแก่ระบอบประชาธิปไตย
      - การประกาศพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดิน สหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นฝั่งใจมากกว่าความไม่สงบในชนบทเป็ฯปัจจัยส่งเสริมให้ญี่ปุ่นมีความก้าวร้าวรุกราน เป็นบ่อนทำลายสันติสุขในตะวันออก พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การที่ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน เป็นการแก้ปัญหาเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในชนบท แต่ะพรราชยัญญตินั้นใช้มาตการที่รุนแรงเกินไป คือ การบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มิได้ทำประโยชน์บนที่ดินและมิได้อาศัยบนที่ดินนั้น และการบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มีดินเกินเพิกัดอัตราที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดคือเกิด 30 เอเคอร์ รัฐบาลบังคับซื้อคืนในราคาที่ควบคุมแล้วขายในราคาถูกหรือให้เช่าแก่ผู้ที่ไร้ที่ดิน..
     - การจัดระบบศาลแบบสหรัฐอเมริกา มีศาลสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษา ตรวจตราการบริหารราชการตุลาการ และเป็นฝ่ายปกป้องรุฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับเป็นหารปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยปริยาย
     - การยุบเลิกกระทรวงมหาดไทย ในอดีต กระทรวงนี้มีอำนาจมาก และมีบทบาทสำคัญในการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของชาวญี่ปุ่น องค์กรสแค็ปได้กำหนดให้ทุกจังหวัด เมื่อและตำบลหมู่บ้านเรียนรู้การปกครองตนเองโดยผ่านองค์กรตังแทนที่มาจาการเลือกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล การกระจายอำนาจมีจุดประสงค์ที่จะให้ชาวญี่ปุ่นได้เรียรู้ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับล่างสุดของสังคม แต่โครงการนี้ไม่ใคร่จะสำเร็จผลนัก
    - กากรปฏิรูปการศึกษา สหรัฐอเมริกาได้ใช้รูปแบบและระบบการศึกษาของตนมาเป็นแม่แบบ โดยการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ให้มีคณะกรรมการที่มาจากการเลื่อกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล และกำหนดการศึกษาเป็นหลักสูตรระยะยเวลา ประถม 6 ปี มัยม 3 มัธยมปลาย 3 ปี ..ถึงกระนั้นการปฏิรูปการศึกษาเป็นการฝึกอบรมประชาชนให้มีความรู้และมีจิตสำนึกตื่นตัวในการักษาสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของตน เป็นการปกป้องระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวนาน ..ไม่ว่าญี่ปุ่นเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้วและยากจะหวนกลับคืน..
    สถาการโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  วงการการเมืองโลกได้แบ่งออกเป็นองฝ่ายตามความแตกต่างของอุดมการ์ คือ โลกเสรีนิยมประชาธิปไตย และ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งก่อเกิดเป็นสงครามรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าสงครามเย็น จีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาปี 1949 สหรัฐจึงต้องทบทวนนโยบายของตนในเอเซียใหม่และได้พเจารณาถึงฐานะในแง่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาใประเทศญี่ปุ่น ความคิดที่จะสร้างญ่ปุ่นเป็นพลังถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเร่งเป็นจริงขึ้นเมื่อเกิดสงครามเกาหลีในปี 1950 ญี่ป่นเป็นฐานทัพส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพสหประชาชาติ
     ญี่ปุ่น “เลี่ยงบาลี” จากรัฐธรรมนูญมาตราที่ 9 กำหนดให้เป็นสิทธิโดยอำนาจอธิปไตยของประชาชาติที่จะประณามสงครามชั่วนิรันดร์ ญี่ปุ่นทำได้เพียงจัดตั้งกองกำลังตำรวจสำรอง เป็นกำลังกึ่งทหาร ประมาณ 75,000 นาย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความมั่นคงของประเทศ กองกำลังนี้ถูกเรียกว่า “กองกำลังป้องกันประเทศ”
       ในปี 1951 การยึดครองญ่ปุ่นได้สิ้นสุดลง แต่ความผูกพันยยังเหมือนเดิมและแน่นแฟ้นเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาว่าด้วยความั่นคงร่วมกัน ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นหมดโอกาสที่จะผูกมิตรกับโลกคอมมิวนิสต์
     ความสัมพันธระหว่างญี่ปุ่นกับโลกคอมมิวนิสต์เป็นตัวอย่างที่ดีของความยากลำบากที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นใดที่มิได้อยู่ในโลกเสรี แม้ญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จีนยังคงหวาดระแวงภัยญี่ปุ่น ซึ่งจีนทั้งเกลียดทั้งกลัว ญี่ปุ่นยังคงเป็นมหันตภัยคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนและรุเซีย โดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามเย็นขึ้นในยุโรป สหรฐฯได้เปลี่นยนโยบาย จากากรมุ่งทำลายศักยภาพทางทหารของญี่ป่น มาเป็นนโยบายสร้างญ่ปุ่นเป็นมหาอำนาจเพื่อถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออก  แม้ญ่ปุ่นจะสิ้นเขี้วยเล็บ แต่สามารถสร้างกำลังแสนยานุภาพเมือใดย่อมได้ ถ้าญี่ปุ่นสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความหวาดกลัวภัยญี่ปุ่นสะท้อนในความออกมาในความสำคัญตอนหนึ่งของสนธิสัญญาระหว่างจีนกับรุสเซียว่าด้วยมิตรภาพ..
    อย่างไรก็ตามเมือสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นต่อรุสเซียดีขึ้นแล้ว รุสเซียจึงเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในปี 1956 ส่วนความสัมพันธ์กับจีนญ่ปุ่นก็ประสบปัญหาด้วยเช่นกัน เหตุที่จีนตั้งเงื่อนไขมากมาย และด้วยเหตุความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่าง ปค 1895-1945 ชาวญี่ปุ่นมีความรู้สึกละอายในพฤติกรรมไร้มนุษยธรรมที่ได้ปฏิบัติต่อชาวจีนในระหว่างสงครามปละแรรถนาจะมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน แต่ในขณะเดี่ยวกัน ญี่ปุ่นได้สร้างอุปสรรคกีดขวางความปรารถนานั้นเอง โดยการเดินตามสหรัฐอเมริกาในการถือนโยบายจีนเดียว คือ ไม่รับรองจีน หากแต่รับรองจีนชาตินิยมแห่งไต้หวัน และจีนก็กล่าวหาญีปุ่นเสมอมาว่า มีเจตจำนงที่จะสร้างกำลังแสนยานุภาพใหม่…
     เพียงแค่นั้นญ่ปุ่นก็ระย่อที่จะปฏิบัติตามความต้องการของจีน  อุปสรรคยิ่งใหญ่คือสหรัฐอเมริกาและไต้หวันซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ญี่ปุ่นจะตัดสินใจเกียวกับสัมพันธภาพกับจีน แต่ความปรารถนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็นับว่าสูงมา เพราะจีนและรุสเวยคือตลาดการค้าที่ใหญ่มากสำหรับญ่ปุ่น ทั้งสองประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลเป็นที่ปรารถนาของญี่ป่นที่จะเขาไปลงทุนพัฒนา ทั้งรุสเซียมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุในไซบีเรีย และจีนมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุทรัพยากรในประทเศมหาศาลแม้ญีปุ่นจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับสองยักษ์ใหญ่แห่งโลกคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นมิได้ปิดหนทางที่จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากสองประเทศนั้น เพราะญี่ปุ่นถือว่า การเมืองและเศรษฐกิจเป็ฯเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หลักการนั้นระบุชัดว่า “การแบ่งแยกรัฐบาลฝ่ายบริหารออกจากเรื่องของเศรษฐกิจ” คณะผู้แทนญี่ปุ่นมีคความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสองประเทศนั้นเป็นปกติวิสัย
    การค้ากับประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกญี่ปุ่นประสบปัญหาในระยะแรก เพราะความหวากกลัวญีปุ่น ไม่ต้องการจะคบค้าด้วย แต่สุดท้ายด้วีบวามสามารถในการโฆษนาสินค้าแลบริการและสินค้าที่มีราคาถูกมากทำให้ญี่ปุ่นสามารถตีตลาดการค้ารหว่างประเทศได้สำเร็จในทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Berliner Mauer

    ครุสซอฟมีความหวังมากกว่า เมื่อสหรัฐอเมริกามปรธานาธิบดีคนใหม่แล้วการเจรจาเรื่องเบอร์ลินอาจจะง่ายขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า ครุสซอฟเสนอให้มีการพบกันที่เวียนนา แต่เมือ่ได้พบกันในเดือนมิถุนายน ก็มิได้มีการอันใดก้าวหน้า เว้นเสียแต่ว่า ครุสเชฟ ได้แจ้งแก่เคนเนดีว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน ครุสเชฟได้แจ้งแก่เคนเนดี้ว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาเสริภาพกับเยอรมัน ครุสเซฟจะลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกในเดือนธันว่าคม แลเพื่อยำจุดยืนนั้นใน เวลาต่อมา ครุเชฟได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อวงการทหารว่า รุสเซีย้ำการกำหนดระยะเวลาหมดเขตและย้อเจตจำนงที่จะลงนามในสนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอมันตะวันออก ถ้าฝ่ายตะวันตกปฏิเสธที่จะเจรจาด้วย สหรัฐอเมริกาจึงตีความหมายคำพูดนั้นว่าเป็นการลองเชิงทดสอบเจตนารมณ์ของฝ่ายโลกเสรี และสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจที่จะให้คำตอบในลักษณะของการเพิ่มงลประมาณทหารและเพิ่มศักยภาพทางทหาร รุสเซียจึงยืนบันทึกต่อสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันตะวันตก โดยแจ้งว่า ควรมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน และควรมีการเจรจาเรื่องการติดต่อสื่อสารกับเบอร์ลินตะวันตกและเรื่องสภานภาพของกรุงเบอร์ลินตะวันตก ในขณะเดียวกัน รุสเซียได้สั่งปิดทางหนีทีไล่ของกรุงเบอร์ลินตะวันออก เพื่อมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหลั่งไหลอกทางด้านนั้น ด้วยวิธีการสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่สิงหาคม 1961 กำแพงเบอร์ลินเป็นเครื่องชีชัดว่ารุสเซียได้เลิกล้มความตั้งใจเดิมที่จะให้มีการทำสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและได้ทำให้เบอร์ลินกลายเป็นเหยื่อที่น่ากลัวอันตรายยิ่ง
     ฝ่ายตะวันตกแตกแยกความคิดแดละเกรงสงครามจะอุบัติขึ้น จึนจึงต้องนิ่งเฉยต่อการที่รุสเซียละเมิดข้อตกลงที่พอตสดัม ยิ่งทำให้รุสเซียย่ามใจและข่มขู่มากย่งขึ้นที่จะแทรกแซงการติดต่อทางอากาศระหว่างฝ่ายตะวันตกกับเบอร์ลินตะวนตก และข่มขู่โดขการแสดงกำลังรถถังในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งย่อมทำให้เกิดเหตุปะทะกันได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้น รุสเซียยังประกาศที่จะทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศอีกเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งจะเป็นการทดลองอาวุธนิวเคบียร์ที่มีประสทิธิภาพสูงมากอยางไม่เคยทดลองกันมากอ่น การประกาศเช่นนั้นย่อมเป็นการข่มขวัญตะวนตกอย่างแน่นอนว่า ความขัดแย้งใดมไว่จะสำคัญหรือไม่ก็ตามสามารถลุกลามเป็ฯสงครามนิวเคลียร์ได้ ถ้ามหาอำนาจนิวเคบียร์เข้าเกี่ยวข้องในความขัดแย้งกนั้น ๆ ทั้งนี้ มีข้อควรคิดมิใช่น้อยว่า เหตุใดครุสเชฟจึงใช้กลยุทธข่มขู่เช่นนั้น ครุสเชฟอาจจะเชื่อว่า อังกฤษ องค์การสหประชาชริต และสหรัฐอเมริกามีความกลัวอย่างจริงจังว่ากลยุทธขุ่มขู่นั้นอาจจะเป็นจริง และฝ่ายตะวันตกอาจจะต้องถอยออกจากเบอร์ลิน เป็นเวลากว่า 15 ปี มาแล้วที่ชนชั้นผุ้นำรุสเซียได้รับทราบจากประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่ไห้ข้อวิจารณ์ไว้ว่า กองทัพอเมริกันจะไม่อยู้ในยุโรปนานเกิด 2 ปี นับจากสงครามโลกยุติลง ครุสเชฟเองก็ต้องการให้เรื่องนี้เป็นจริง เพราะในแวดวงผู้ปกครองรุสเซียเองก็มีความรู้สึกที่สับสนเมืองประกาศว่า รุสเซียพร้อมที่จะเสียงให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ด้วยเหตุเบอร์ลิน
    ในเดือนตุลา 1961 สภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียได้เปิดประชุมครั้งที่ 22 ทั่วโลกคาดว่าจะได้ข่าวการลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและจะมีการท้าทายกันด้วยเรื่องเบอร์ลิน แต่ประกาฏว่า ไม่มีวีแววเรื่องเช่นนั้น ครุสเชฟได้กล่าวในที่ประชุม “เราจะไม่ยืนกรานให้มีสนธิสัญญสันติภาพอย่างแน่นอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม สิ่งสำคัญคือ การวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ การขจัดซากเดนสงคราม การลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน นั่นคือปัญหาที่สำคัญที่สุดและจำเป็นอย่างยิ่ง” ณที่ประชุม ครุสเชฟยังได้ย้ำความสำคัญของปัญหาการกำหนดเขตปลอดนิวเคลียร์ในยุโรปและตะวันออกไกล ทั้ง ๆ ที่ครุสเชฟก็ทราบดีว่าเป็นไปมิได้ เพราะจีนกำลังผลิตอาวุธนิวเคียร์อยู่นอกเนหือการบังคับของรุสเซีย การหยิบยกประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ข้นมาพูดถึงนั้น แสดงชัดเจนว่า รุสเซยเองในด้านหนึ่งก็ต้องการสมานฉันท์ นายอันเดร โกรมิโก รัฐมนตรี่การต่างประเทศได้กล่าวในที่ประชุมนั้นว่า “ ประเทศของเราให้ความสำคัญแก่คุณลักษณะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสองยักษ์ใหญ่ ถ้าสองประเทศนี้รวมความเพียรอุรสาหะในการมุ่งสันติภาพแล้วใครจะหาญและใครจะอยู่ในฐานะที่จะคุกคามสันติภาพ”
     ผู้ที่ให้ความสนใจแก่สุนทรพจน์ของโกรมิโก มีเพียงสองประเทศ คือ จีนและฝรั่งเศสนอกนั้นเพิกเฉยหมด สไตล์การกล่าวสุนทรพจน์และเนื้อหาสาระล้วนสะท้อนคุณลักษณะของการทูตรุสเซียได้ว่า เมื่อไดที่รุสเซียเห็นความจำเป็นที่จะต้องประนีประนอมกับตะวันตกรุสเซียจะแสดงออกโดยวิธีการทูตอย่างคลุมเครือแฝงชีน้ำ ทว่าเปิดช่องว่าให้ตีความเป็นหลายแง่มุมไ แม้ปรารถนาสิ่งใด รุสเซียไม่บอกกล่าวแสดงออำโดยตรง ทว่าจะแสดงท่าที่ผลักดันให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายริเริ่มก่อนที่สมประสงค์ของรุสเซียเอง และมักไม่เปิดเผยจุดอ่อนของตนด้วยเมื่อครุสเชฟเจรจากับสหรัฐอเมริกา ครุสเชฟระมัดระวังมากที่จะให้เป็นที่เข้าใจว่า โลกคอมมิวนิสต์ทรงไว้ซึ่งเอกภาพไม่มีวันสั่นคลอน ความร้างฉานกับจีนจะถูกซ่อนเร้นไว้เพื่อมิให้อำนาจต่อรองเรื่องเยอรมันด้อยลง และรุสเซียจะเสริมส่งให้สหรัฐอเมริกาถลำลงในห้วงมหรรณฑแห่งวิกฤติการณ์

     เมื่อกำแพงเบอร์ลินได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ครุสเชฟก็พร้อมที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดเอง เมื่อเป็นผู้ก่อสถานการณ์ ย่อมเป็นผู้ระงับเอง ดังที่เขาได้ให้สัมภาษณ์นิตยสร นิวยอร์ค ไทม์ส ฉบับเดือนกันยายน และได้ส่งสารตเป็นการกลับถึงเคนเนเ สารนั้นได้ชี้แนะให้มีการเจรจาปัญหาคิวบาและลาว และขอเชิญเคนเนดี้ไปเยื่อนมอสโก สารที่มีถ่อยความรอมชอมย่อมแตกต่างจากพฤติกรรมของครุสเชฟในการสั่งปิดเมืองเบอร์ลินด้วยกำแพง
     ข้อเรียกร้องในสารนั้นทำให้วิกฤติการณ์เบอร์ลินยุติลง และก่อเกิดภาวะการผ่อนคลายควมตึงเครียดลงได้ โดยที่รุสเซียเป็นฝ่ายเสียหายที่ได้กระทำการขัดต่อหลักมนุษยธรรม ถึงกระนั้น รุสเซียำตอ้งปฏิบัติการเช่นนั้น เพราะรุสเซียหวาดวิตกมากเรื่องเยอรมันตะวันตกจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์และวิตกกังวลที่จีนเองก็กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ฐานะด้านยุทธศาสตร์สำหรับรุสเซียนับว่าอยู่ในขั้นน่าวิตกเพราะกระหนาบด้วยประเทศเพื่อบ้านที่ทรงพลานุภาพด้วยอาวุธนิวเคลียร์เช่นอย่างเยอรมันตะวันตกและจีน
     วิกฤติการณ์เบอร์ลินได้แสดงให้เห็นว่ารุสเซียอยู่ในภาวะยากที่จะวางตัวเป็ฯพอใจแก่โลกเสรีและดลกคอมมิวนิสต์ การรักษาภาพพจน์แห่งเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์นับว่าเป็นการจำเป็นเพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการเจรจากับโลกเสรี แต่ในขณะเดียวกัน โดยผูกพันต่ออุดมการณ์ปฏิวัติโลกตามที่จีนยืนกราน รุสเซียก็ต้องแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อโลกเสรีร ซึ่งก็เป็นการทำลายโอกาสที่จะมีการสมานฉันท์กับโลกเสรีซึ่งจะช่วยยุติปัญหาเยอรมันได้ รุสเซียต้องพยายามทำลายแวดวงวัฏจักรที่มีแต่ทางตันให้ได้โดยกำหนดแผนใหม่ แต่แผนนั้นกลับทำให้โลกใกล้สู่ภาวะสงครามนิวเคลียร์ยิ่งขึ้น
        ใน ค.ศ. 1962 รุสเซียได้ลำดับความสำคัญของนดยบายที่จะปฏิบัติดังนี้
- ป้องกันมิหใจนมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง หรือต้องควบคุมหรือจำกัดกำลังรบนิวเคลียร์ของจีน
- ป้องกันมิหใขอรมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งก็หมายถึงการที่รุสเซ๊ยต้องการให้มีสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมันทั้งสองฝ่าย เป็นการประกันเยอมันให้มีสองประเทศต่อไป และจำกัดศักยภาพทางทหารของเยรมันตะวันตก
      จุดมุ่งหมายของรุสเซียเช่นนั้นมิได้เป็นสิ่งที่โลกเสรีจะอ่นออกล่วงรู้ได้โดยตลอดโดยเฉพาะโลกเสรีไม่อาจจะประเมินได้ว่า รุสเซียมีความคิดประการใดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาวุธนิวเคลียร์กับการเมือง รุสเซ๊ยเองก็ตรองไม่ตกในเรื่องเช่นนั้น เพราะรุสเซียได้ตั้งโจทก์ตุ๊กตาที่หาคพตอบมิได้ว่า รุสเซียไม่ประสงค์ที่จะให้รัฐบริวารของตนมีอาวุธนิวเคลียร์แต่ก็เกรงว่า ถ้าเยอมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์แล้วโจมตีเยอรมันตะวันออก รุสเซียจะทำอย่างไรเมืองตองเผชิญกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะทดแทนอย่างสาสม ปัญหาสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเป็นไปได้ ทำให้รุสเซียต้องไตร่ตรองปย่งหนักว่า แม้จะชนะสงครามประเภทนั้น แต่ระบอบคอมมิวนิสต์เองจะอยู่รอดหรือไม่เป็นข้อควรคิด อีกประการหนึ่ง ถ้ามีการโจมตีมอสโกด้วยอาวุธนิวเคลียร์ รุสเซียจะแก้เกมส์ด้วยวิธีใด ปัญหาเยอรมันและปัญหานิวเคลียร์จึงเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันมาก รุสเซียตระหนักดีว่า แม้โลกเสรีจะมีอาวุธนิวเคลียร์ก็คงจะไม่ใช้เว้นเสียแต่จะถูกยั่วยุสุดขคดในโลกแห่งความแตกแยกเช่นนั้น การลดกำลังรบจึงดูจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติมิได้ แต่เป็นประโยชน์แก่รุสเซียในการโฆษณาชวนเชื่อ รุสเซียเชื่อมั่นว่าตนมีจิตประสาทที่แข็งแกร่งกว่าโลกเสรีมาก การแข่งขันกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นประโยชน์แก่รุสเซีย แม้ว่ารุสเซียจะมีอาวุธนิวเคลียร์น้อยกว่าแต่ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแข่งขันเช่นนั้น วอชิงตันเองเป็นฝ่ายวิตกมาก และได้มีการพิจารณาที่จะสร้างระบบป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ เป็นเหตุให้รุศเซียยิ่งเชื่อมั่นว่า โลกเสรีกลัวสงครามนิวเคลียร์อย่างมาก รุสเซียก็มีความหวาดวิตกมาก เมื่อเห็นว่าการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์เป็นจริง รุสเซียจึงสนใจที่จะให้มีกาลดกำลังรบ และการห้ามมีกลยุทธ์นิวเคลียร์ แม้จนถึงการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่เสีย การงดทดลองเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่คาดได้ว่าจะมีผลน้อย ปม้รุสเซียเคยเสนอในปี 1958 ให้มีการพักการทดลองในชั้นบรรยากาศ ในปี 1961 เหตุผลทางการเมืองและเทคนิคกระตุ้นให้รุสเซียเป็นฝ่ายทดลองในชั้นบรรยากาศอีก เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า จะสามารถป้องกันจีนและเยอรมันตะวันตกมิให้มีอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่ด้วย

The Lao People’s Democratic Republic

     ตามข้อตกลงเจนีวาแห่งปี 1954 ลาวถูกกำหนดให้เป็นประเทศเอกราชที่ต้องดำรงตนเป็นกลาง และเวียดนามแบ่งเป็นสองประเทศโดยมีเส้นขนานทร่ 17 องศา เป็นเส้นพรมแดนนับแต่นั้นมา อำนาจอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาปรากฎเด่นชัดในเวียดนามใต้และลาว ทั้งสองประเทศได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมหาศาลเพื่อให้ดำรงความเป็นรัฐต่อไปได้เป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ภายในคุกคาม ความช่วยเหลือแก่ลาวมากมายนี้เประจยบกับรัฐบาลลาวเองมีทีท่านิยมโลกเสรีมากกว่า ทำให้เวียดนามเหนือและลาวแดง ภายใต้การสนับสนุนของจีนได้ก่อการร้ายขึ้นทั่วประเทศลาวในค.ศ.1959 ภาวะปั่นป่วนจากการที่รัฐบาลมิได้วางตัวเป็ฯกลาง และภัยคอมมิวนิสต์ได้เป็นปัจจัยก่อเกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายทหารผู้รักชาติขึ้นในเดือนสิงหาคม 1960 แต่แล้วรัฐบาลใหม่ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาก็ยึดอำนาจคืนได้อีก
     วิกฤติการณ์ในลาวยังความตื่นตระหนกมาสู่ปรเทศเพื่อนบ้าน คือไทย นายกรัฐมนตรีสุวรรณภูมาขอให้รสเซียช่วย รุสเซียส่งอาวุธยุทธโธปกรณ์มาให้ทางอากาศ ส่วนใหญ่อาวุธตกไปอยู่ในมือฝายลาวแดง ซึ่งมีกำลัเงพือ่มากขึ้นพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการล้มรัฐบาลลาวและเป็นกำลังแก่พวกเวียดนามเหนือให้แทรกซึมเวียนามใต้ได้เป็นอย่างดีความช่วยเหลือทางทหารของรุสเซียก่อเกิดวิกฤตณ์ความตึงเครียดขึ้นจนเกิดข้อสงสัยกันว่า รุสเซียจะเข้าไปมีบทบาทแข่งกับสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างจิรงจัวมากน้อยเพียงใด ต่อข้อสงสัยนี้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มิให้โลกเสรีเข้าใจผิด ครุสซอฟได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมมอสโก ในวันที่ 6 มกรราคม 1961 ว่า ขบวนการาปลดแอก (หรือ “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” ตามความหมายของรัฐบาลต่าง ๆ ) ที่เกดขึ้นในรัฐต่าง ๆ นั้น แม้จะเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ รัฐบาลรุสเซียจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางทหารเท่านั้นซึ่งหมายความว่า รุสเซียจะไม่ใช้กำลังทหารของตนเข้าแทรกแซงช่วยเหลือฝ่ายคอมมิวนิสต์พื้นเมืองต่อต้านรัฐบาล จีนถือว่า คำประกาศนั้นเป็นการปฏิเสธของรุสเซียที่จะไม่ยอมรับความเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ (เพราะเป็นผู้นำก็ต้องช่วยเหลือคอมมิวนิสต์ทุกฝ่าย เป็นภาระที่หนักเกินไป และรุสเซียต้องเสี่ยงเผชิญหน้ากับโลกเสรี)จีน จึงประมาณว่ารุสเซียถือนโยบายเอาตัวรอด
     แม้รุสเซียจะประกาศนโยบายลาวที่แจ่มชัด แต่เวียดนามเหนือและลาวแดงก็ยังคงรุกคืบหน้าต่อไปในการทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาจนสหรัฐอเมริกาคิดที่จะแทรกแซงทางทหารในสงครามนั้น แต่ก็ต้องพยายามยับยั้งชั่งใจในการเผ้าดูสภานการณ์ในลาวที่เพียบหนัก ทหารเวียดนามเหนือข้ามพรมแดนเข้าไปในลาวคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของลาวและระเทศเพื่อนบ้านคือ ไทย ปละเวียนามใต้ สหรัฐอเมริกาและรุสเซียได้ร่วมประชุม ณ เวียนนา เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 ตกลงในหลักการที่จะให้ลาวเป็นกลางตามข้อตกลงเดิม ณ ที่ประชุมเจนีวา ค.ศ. 1954 ได้มีการประชุมเจนีวาครั้งที่สองในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 1961 ถึงกรกฏาคม 1962 ผุ้แทนจีนเรียกร้องให้ยุบเลิกองค์การซีโต ซึ่งขณะนั้นที่มีท่าว่า ถ้าสงครามลาวจะขยายตัวมาถึงไทย ทหารจากองค์การนี้จะเข้าสงครามคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจี แต่ข้อเรียกร้องนิ้มิได้รับความสนใจจากบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม
      ที่ประชุมลงมติให้หยุดยิง และกำหนดลาวเป็นเขตปลอดทหาร ถึงกระนั้น ทหารเวียดนามเหนือก็ยยังคงประกฏอยู่ในลาวแต่เหตุกาณ์ไม่นับว่ารุนแรงมากนัก เพราะพวกคอมมิวนิสต์ในลาวที่เรียกกันว่า ขบวนการประเทศลาว มิได้มีพลังอำนาจเพ่มขึ้นตามนโยบายขงอเวียดนามเหนือที่พอใจที่จะเห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีอำนาจในที่ราบสูงภาคเหนือ ซึ่งใช้เป้นเส้นทางส่งกำลังบำรุงสำหรับสงครามเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคตส่วนจีนไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเผชิญหน้าสหรัฐอเมริกา ทั้งจีและเวียดนามเหนือจึงมิได้สนับสนุนาวแดงให้ทำสงคราล้าอำนาจรัฐบาลลาว อีกประการฯง การเมหืองในเอเซียอาคเนย์นั้นถ้าเหล่นเสี่ยงเกินไปก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
     นอกจากการแก้ปัญหาลาวแล้ว ที่ประชุมไม่พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องอื่นใด เลยแม้ครุสเซฟจะได้ปราศรัยต่อประชาชนทางโทรทัศน์ว่า ปี 1961 เป็นปีแห่งการตกลงข้อยุติวิกฤติการณ์เบอร์ลิน แต่ปัญหาเบอร์ลินมิได้ยุติ ปัญหาเบอร์ลินกลับทำให้โลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cuban Missle Crisis

     ปี 1962 เมื่อจอห์น เอฟ.เคเนดี้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีครุสเซฟได้อ้างง่าตนมีส่วนในชัยชนะด้วย เพราะรุสเซียไม่ยินยอมให้ไอเซนฮาวร์ได้รับความเชื่อถือจามหาชนในเรื่องการประชุมสุดยอดปี 1960 และในเรื่องผ่อนคลายความตรึงเครียด ในระยะแรกความรู้สึกเป็นมิตรมีปรากฎขัดมาก เคนเนดี้ส่งนายเลเวลลิน ทอมป์สัน ติดตามครุสเชฟซึ่งไปเยื่อนไซบีเรียเพื่อทาบทามให้มีการประชุมสุดยอดในปลายฤดูใบไม้ผลิ ณ กรุงเวียนนาหรือกรุงสตอกโฮล์ม แต่ครุสเชฟเล่นแง่ปฏิเสธ ยิ่งกว่านั้น เคนเนดี้เองเริ่มไม่แน่ใจเมื่อครุสเชฟโอ้อวดและขู่จากการทีรุสเซียประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสู่อวกาศความปั่นป่วนต่อเกมการเมืองที่ครุสเซฟกระทำต่อเคนเนดี้ จึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ในลักษณะเสมือนสงครามประสาท โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เรื่องเบอร์ลินและคิวบาซึ่งรุสเซียถือว่าเป็นเรื่องที่เกียวข้องสัมพันธ์กัน รุสเซยจะใช้คิวบาเป็นเครื่องมือให้ตะวัตกต้องผ่อนปรนแก่รุสเซียในเรื่องเบอร์ลินและเยอรมัน แต่วิกฤตคิวบากลับกลายเป็นเครื่องพิสูน์ว่า เรื่อคิวบาเกี่ยวข้องกับการที่รุสเซียสุดสิ้นหนทางที่จะแก้ปัญหาเบอร์ลินมากกว่า

   

วิกฤติการณ์คิวบา
โดยประเพณีนิยม รุสเซียดำเนินนโยบายต่อละตินอเมริกาด้วยความระมัดระวังเต็มไปด้วยความยับยั้งชั่งใจมาก เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ของละตินอเมริกาเองอ่อนหัดและอ่อนแอ ขาดฐานมวลชนกรรมกร ความเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์เหล่านั้นมักไม่เป็นที่นิยมนักในสายตารุสเซย รุสเซียมิได้
สนับสนุนให้พรรคคอมมิวนิสต์ใดของละตินอเมริกายึดอำนาจรัฐในประเทศของตน กิจกรรมของพรรคคิมมิวนิสต์ละตินอเมริกา ส่วนใหญ่มีปรากฏในรูปของรายงานตามหน้าหนังสือพิมพ์รุสเซียและโลกคอมมิวนิสต์เท่านั้น ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุสเซยสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวคึกคักมากของชนชั้นปัญญาชนละตินอเมริกาที่มีความรู้สึกต่อต้านสหรัฐแมริกา และปัญหาเศรษฐกิจของภูมิภาคก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีสหรัฐอเมริกาเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเป็นนายทุนเจ้าหนี้รายใหญ่
      โดยหลักการแล้ว ลัทธิคอมมิวนิสต์ย่อมกำหนดเสมือนเป็นรอยจากรึกไว้แล้วว่า เป็นลัทธิที่จะกำหนดให้เกิดการกู้เอกราช เพื่อทำให้ฝ่ายตะวันตกเกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วมใจ และบั่นทอน,นอำนาจของจักรวรรดินิยมนายทุน หลักการนั้นที่ต็มไปด้วยความซื่อกลายเป็นหลักการที่ลาสมัยไปแล้วโดยสิ้นเชิง และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายดังที่ได้พูดจากันที่เวียนนา  ในสายตาของนักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ความเคลื่อนไหวของนายฟีเดล คาสโตร เพื่อล้ารัฐบาลเผด็จการเป็นความเคลื่อนไหวขึ้นฝึกหัดสำหรับการปฏิวัติไม่ควรค่าแก่ความสนใจใด ๆ ด้วยถือว่า การนิยมกบฏชิงอำนาจ ไม่ควรเป็นที่นิยมยึดถือปฏิบัติ
เพราะกบฏประเภทนั้นเป็นกบฎโดยประชาชนที่สามารถกระทำการได้สำเร็จด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจสังคมทรุดโทรม เสมือนผลไม้ที่สุกงอมพร้อมที่จะร่วงหล่นอยู่แล้วในกรณีคิวบาพรรคคอมมิวนิสต์ติดต่อคาสโตร ผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านระบอบทรราชย์ที่นำโดยนายฟูเกนซิโอ บาทิสตา และได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา คาสโตรร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ในการต่อสู้จนระบอบทรราชย์ต้องสิ้นสุดลง ผุ้ที่ได้รับชัยชนะซึ่งมีหลายกลุ่มได้เชื้อเชิญคาสโตรหัวหน้าพลพรรคติดอาวุธไม่ถึง 2,000 คน มาเป็นผู้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยใหม่
      สถานการณ์เช่นนั้นเป็นที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐอเมริกา หน่วยสืบราชการลับจึงจัดตั้งกองกำลังผสมของผู้ลี้ภัยคิวบาขึ้นเพื่อเป็นกองโจรต่อสู้ ส่วนที่มอสโกเอง เรื่องคิวบาเป็นที่ถกเถียงกันมากกว่า ควรจะช่วยเหลือระบอบของคาสโตรหรือไม่ เพราะมอสโกถือว่าคาสโตรมิได้เป็นคอมมิวนิสต์  หากแต่เป็นนักการเมื่องนิยมเสียงเผชิญโชค มากว่า ที่ไม่น่าเชื่อถือและน่าจะยากแก่การควบคุมหรือครอบงำอีกทั้งประเทศคิวบาเองก็มิได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามมาตรฐานของรุสเซีย แม้ว่าจะมีผู้นำคิวบาหลายคนเป็นคือ นายรอล และนายเช เกวารา ก็ตาม
        แต่อย่างไรก็ตาม เกาะคิวบาเป็นประเทศทีรุสเซียต้องให้ความสนใจในประเด็นที่ประเทศนี้มีความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นกับสหรัฐอเมริกา เป็นช่องว่างให้รุสเซียได้ฉวยโอกาสเข้าครอบงำใหล้แผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกา  นายมิโคยัน เดินทางไปเยื่อนคิวบา แต่ยังมิได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน ถึงกระนั้น รุสเซียได้ให้ความช่วยเหลือแก่คิวบาในการพัฒนาประเทศมากมาย การโอบอุ้มคิวบาได้กลายเป็นสิ่งที่รุสเซยอดมิได้ที่จะยับยั้งได้

     หน่วยงานข่าวกรองรุสเซียทราบล่วงหน้าแล้วว่า สหรัฐอเมริกาจะมีแผนปฏิบัติการทางทหนในคิวบา แต่ก่อนหน้านั้น เคนเนดี้ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ว่า “สหรัฐฯจะไม่แทรกแซงทางทหารในคิวบาไม่ว่าจะโดยภายใต้เงื่อนไขใดรัฐบาลนี้จะทำทุกสิ่ง..เพื่อให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า จะไม่มีชาวอเมริกันปฏิบัติการอันใดที่เกี่ยวข้องภายในคิวบา” แม้สหรัฐฯจะยืนยันเช่นนั้ แต่รุสเซียกรทำตรงกันข้า รุสเซียมิได้มีการเตื่อนเคนเนดี้ว่ามิให้มีการปฏิบัติการในคิวบาแต่อย่างไร
     สหรัฐฯตัดสินใจยอพลขึ้นบกที่คิวบารุสเซียโฆษณาชวนเชื่อโจมตีอย่างหนและได้แสดงทีท่าข่มขู่เฉพาะ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ในการปฏิบัติการทางทหารครั้งน้นแล้ว รุสเซียไดแถลงขั้นตอนที่จะดำเนินการว่า “เราจะขยายความช่วยเหลือสรรพสิ่งที่จำเป็นให้แก่ประชาชนคิวบาและรัฐบาลคิวบาเพื่อขับไล่กานจู่โจมคิวบาด้วยกำลังอาวุธ” และเมื่อวิกฤติยติลง ครุสเชฟได้ส่งสารย้ำไปว่า “พฤติกรรมเยี่ยงโจรอย่างก้าวร้าวรุกรานจะไม่สามรถรักษาระบบของท่านได้” หลังจากชัยชนะทางการทูตในเรื่องคิวบาแล้ว รุสเซียมีความมั่นใจในนโยชายของตนมากขึ้นประจวบเหมาะกับภาวะการณ์ในลาวก็สุกงอมพร้อมที่จะให้รุสเซียเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เย้ยหยันจีน

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

60’s

     การเลือกตั้งในปี 1960 พรรคเดโมเครตส่งจอห์น เอฟ.เคเนดี้ เข้ารับเลื่อกในตำแหน่งประธานาธิบดี ลินตอน บี.จอห์นสัน รับเลือกในตำแหน่งรอบประธานาธิบดี พรรครีพลับบริกันส่งริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี เฮนรี่ ซี.ลอจ รับเลือกในตำแหน่งรอบปรธานาธิบดีในช่วงแรกของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผู้สันทัดทางการเมืองส่วนใหญ่เชื่อว่าริชาร์ด เอ็ม.นิกสันจะชนะการเลือตั้งเพราะนิกสันเป็นที่รู้จักของคนอเมริกันและมีความได้เปรียบลมีประสบการณ์การบริหารประเทศในตำแหน่างรองประธานาธิบดีเป็นเวลาแปดปีในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ทั้งชูประเด็นจะนำมาซึ่งสันติภาพ และความมั่งคั่งสู่อเมริกา สำรับจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ คนอเมริกันรู้จักไม่มากนัก แต่เพราะเป็นคนหน้าตาดี บุคลิกดี ฐานะดีและมีภรรยาสวยเป็นที่สะดุดตาช่วยเสริมให้ภาพและเรื่องราวของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วนช่วยจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วยช่วยจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ เป็นอย่างมาก เพราะมีการรณรงค์หาเสียงแบบเผชิญหน้ากันทางโทรทัศน์ถึงสื่ครั้ง เป็นครั้งแรกในการเมืองสหรัฐอเมริก แม้นจอห์น เอฟ. เคนเนดี้จะมีอายุน้อยเพียง 43 ปี แต่ภาพที่ออกมาทางดทรทัสน์บ่งบอกถึงความสุขุม มั่นใจและตอบฃคถ-มอย่งฉะฉานเฉียบคม เรียกเสียงสนับสนุนได้เป็นอย่งมากจากคนอเมริกัน จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ชูประเด็นจำเป็นต้องเลือกผู้นำที่มองการไกล รู้ขึดความสามารถที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกาในการดำเนืนนโยบายต่างประเทศ และเป็นที่พึ่งแก่ผุ้ยากไร้ด้อยโอกาส ภายใต้แผนชายแดนใหม๋ ผลการลงคะแนนปรากฏว่าจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ชนะ
     ทศวรรษที่ 60 ผู้เขียนตำราประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เรียกประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาช่วงนี้ว่า หกสิบที่ปี่นป่วนโกลาหลสับสนวุ่นวาย และผู้รู้บางท่านเรียกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ว่า สมัยแห่งความรุนแรง
     ทศวรรษเริ่มด้วยความสดใส คนอเมริกันศรัทธาในประธานนาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ผุ้นำหนุ่มวัย 44 ปี ประกาศแผนชายแดนใหม่ มุ่งให้เป็นที่พักพิงแก่ผู้ยากไร้ เยาวชนอเมริกันให้การสนับสนุนในอุดมการ์ ร่วมมีความคิดสร้างสรร มีความใฝ่ฝันมุ่งมั่นดำเนินการตาที่ผุ้นำกำหนด ทุกอย่างดูเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี แต่กลับจบลงด้วยความเศร้าสลด เริ่มโดย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองดัลลัส เท็กซัสในวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963,มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองเมมฟีส,เทนเนสซี ในวันที่ 4 เมษายน 1968 และโรเบิร์ท เอฟ.เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองลอสแอนเจลลิส,แคลิฟอร์เนียในวันที่ 6 มิถุนายน 1968

       สองปัญหาภายในประเทศที่ไม่ได้รับการแก้ไขนำสู่การประท้วงก่อความโกลาหลวุ่นวายได้แก่ ที่อยู่อาศัยเสือมโทรม  ความยกจน ผุ้สูงอายุไม่มีเงินเพียงพอเพื่อการรักษาพยาบาล คนงานไร้ฝีมือ ต้อง
ตกงานเพราะนายจ้างนำเครื่องจักรทุ่นแรงใช้ในโรงงาน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐขาดครูอาจารย์ผุ้สอน ขอดอุปกรณ์การเยนและเรียกันอย่างแอดัด มีการแบ่งแยกเหยียดผิด ในการทำงาน การศึกษาและที่อยู่อาศัยรวมถึงต่อต้านการ่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิดดำประท้วงเพราะต้องการให้เลิกการแบ่งปยกเหยียดผิดเรียกร้องการมีสิทธิเท่าเทียมคนอเมริกันผิวขาว เรียกร้องความสนใจและต่อต้านการเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิวขาวดดยเฉพาะเยาวชนอเมริกันส่วนใหญ่เกิดหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเป็นอยู่สุขสบาย ในปี 1964 เมื่อลินคอน บี.จอห์นสันนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามมีการเกณฑ์ทหารทำให้เยาวชนอเมริกันโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษามองสังคมอเมริกันเป็นสังคมไม่น่าอยู่มีการประท้วงเกิดกลุ่มขบวนการพูดเสรี และกลุ่มสมาคมนิสิตนักศึกษาเพื่อสังคมประชาธิปไตย นำโดยทอม เฮเดน และแอล ฮาเบอร์ ที่มิชิแกน สมาชิกส่วนใหญของทั้งสองกลุ่มนักศึกาเป็นคนอเมริกันผิวขาว จัดอยู่ในชนชั้นกลางของสังคมอเมริกัน สมาคมทั้งสองเรียกร้องสันติภาพ เลิกการแบ่งแยกเหยียดผิด ให้รัฐบาลสนใจดูแลทุกข์สุขประชาชนขจัดความยกจนให้หมดไป และให้ทหารเลิกเข้ายุ่งเกี่ยวกับพลเรือ เช่น เลิกการเกณฑ์ทหาร เลิกให้ทุนนักวิชาการทำงานวิจัยของกระทรวงกลาดหม และเลิกการผลิตอาวุธรายแรงเพื่อนำใช้ปราบปรามศัตรู ขณะเดียวกัน เยาวชนอเมริกันมีความสับสนทางจิตใจจัดตั้งกลุ่มซ้ายใหม และกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรม เยาชนทั้งสองกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรมเดิมคือไม่ต้องการมุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าและความมั่นคงของชีวิต ไม่ต้องการยึดมั่นใรกฎข้อบังคับและระเบียบวินัย ไม่ยึดมั่นในสถาบันครอบครัว ไม่มีความภูมิใจในบรรพบุรุษ ค่านิยมใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ไม่ติดกับวัตถุนิยมแต่จะแสวงหาความเชื่อใหม่เป็นที่พึ่งทางใจมุ่งที่ปรัชญาและศาสนาโลกตะวันออก ชื่นชอบแนวคิดและผลงานของเมเซตุงและฟิเดล คัสโตร มีเพศสัมพันธ์เปิดเผย เรียกหาความรักและสันติภาพ มีความเป็นอยู่เรียบง่ายไปวัน ๆ  และแสวงหาความสุขใจ
ด้วยการเสพกัญชา และยาหลอนประสาท ฮิปปี้หรือบุปผาชน เป็นรูปแบบใหม่ของเยาวชนอเมริกันในทศวรรษที่ 1960 ที่เบื่อสังคม การเมืองและวัฒนธรรมของอเมริกันเดิม ต้องการลืมปัฐหา คลายความเหวา คลายความเครียด ด้วยกาเสพกัญชาและยาหลอนประสาท เรียกหาความรักโลกีย์แลสันติภาพด้วยคำขวัญ “เมคเลิฟ น็อตวอร์” พอใจอยงุ่รวมกันเป็นชุมชนเช่นที่ซานฟรานซิสโก แบ่งปันความรัก ความรับผิดชอบ ทรัพย์สิน กินอยู่ และใช้สอยร่วมกัน ฮิปปี้นิยมใช้เสื้อผ้าเก่า สวใรองเท้าแตะหรือรองเท้าสาน ไว้ผมยาว สะพายถุงย่าม ห้อยสร้อยคอลูกประคำทีละหลายเส้น ชอบเพลงร็อค เพราะท่วงทำนองตื่นเต้นเร่าร้อนมีชีวิตชีวา วงดนตรีที่เยาวชนอเมริกันชอบมากคือ เดอะ บีเทิลส์,เดอะ วูดสต็อก,เดอะ โรลิ่งสโตนส์ เทศการดนตรีกลางแจ้งที่ยิวยอร์กโดยวง วูดสต็อก มีผุ้เข้าชมประมาณ สี่แสนคน ปลายทศวรรษที่ 1960 ฮิปปี้เสื่อมความนิยม มีสภาพเป็นคนข้างถนนหรือขอทาน และกลางทศวรรษ 1970 ฮิปปี้หมดไปจากสังคมเยาวชนอเมริกัน เนื่องจากสงครามเวียดนามยุติลง(1975) คนอเมริกันผิวดำรบการศึกษาเพี่มมากขึ้นสามารถยกสถานภาพตนเองในสังคมขึ้นทัดเทียมหรือใกล้เคียงคนอเมริกันผิวขาว การแบ่งแยกเหยียดผิวค่อยๆ หมดไป อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าอเมริกายุค 1960 ยังคงสกัดกั้นต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์  เศรษฐฏิจมีทั้งเฟื่องฟู ภาวะเงินเฟ้อ และธุกิจถอถอยซบเซา คนอเมริกันนิยมมีบ้านอยู่อาศัยบริเวณชานเมืองมากกว่าในเมือง สหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้ามากในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโยโลยี นำสู่การผลิตยาใหม่ ๆ รักษาโรค และนำความก้าวหน้าในงานโครงการอวกาศ และขบวนการเรียกร้องสิทธิอำอย่างเป็นระบบ ทวีความรุนแรงขึ้นคนอเมริกันกล้าต้อต้านการดำนเนินโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในเรื่องนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามด้วยการประท้วง นับวันทวีความรุนแรงขึ้น และประการสุดท้ายสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับมลภาวะ การฆาตกรรมและความรุนแรงอันเนื่องจากคนอเมริกันไม่พอใจสภาพที่เป็ยอยู่และไม่พอใจรัฐบาล สหรัฐฯช่วงทศวรรษ 1960 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสองคนคือ ประธานาธิบดีจอห์ เอฟ.เคนเนดี้ ด้วยแผนชายแดนใหม่ มุ่งใช้เป้นที่พึ่งแก่ผู้ยากไร้ และประธานาธิบดีลินคอม บี. จอห์นสัน ด้วยแผนสังคมที่ยิ่งใหญ่ มุ่งใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตคนอเมริกัน

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

China:World Comunist:World

       จีนแสวงหาอำนาจแข่งกับรัสเซียในโลกคอมมิวนิสต์ จีนมุ่งไปยังเอเซียอาคาเนย์ ภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียง จีนแดงเริ่มนโยบายเรียกร้องให้ภูมิภาคนั้นต่อต้านลัทธิจัรกวรรดิน์นิยมอเมริกา ขณะนั้น ทั้งภูมิภาคยังมีภาวะการเมืองที่ไม่แน่นอนนัก อำนาจอิทธิพลขจองอเมริกาปรากฏเด่นชัดในเวียดนาม และลาว ทั้งสองประเทศได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาลเพื่อให้ดำรงคงความเป็นรัฐต่อไปด้เป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ภายในคุกคาม ความช่วยเหลือแก่ลาวมากมายนี้ประจวบกับรัฐบาลลาวเองมีทีท่านิยมโลกเสรีมากกว่า ทำให้เวียดนามเหนือและลาวแดง ภายใต้การสนับสนุนของจีนแดงได้ก่อการร้ายขึ้นทั่วประเทศในปี 1959 ภาวะปั่นป่วนเนื่องจากรัฐบาลมิได้วางตัวเป็นกลาง และภัยคอมมิวนิสต์ ได้เป็นปัจจัยก่อเกิดรัฐประหารโดยผู้รักชาติจากฝ่ายทหารขึ้น ในเดือนสิงหาคม 1960 แต่แล้วรัฐบางใหม่ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกาก็ยึดอำนาจคืนได้อีก

      วิกฤตการณ์ในลาวยังความตระหนกมาสู่ประเทศเพื่อบ้าน คือไทย นายกรัฐมนตรีสุวรรมาขอให้สหภาพโซเวียตรัสเซียช่วย รัสเซียส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาให้ทางอากาศ ส่วนใหญ่อาวุธเหล่านี้ไปอยู่ในมือฝ่ายลาวแองซึ่งมีกำลังเพิ่มมากขึ้นพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการล้มรัฐบาลลาวและเป็ฯกลำงแก่พวกเวียตนามเหนือให้แทรกซึมเวียดนามใต้ได้อย่างดี ความช่วยเหลือของรัสเซยทางทหารก่อเกิดวิกฤติการณ์ความตึงเครียดขึ้น จนเกิดข้อสงสัยกันว่า รัฐเซียจะเข้าไปมีบทบาทแข่งกับอเมริกาและจีนแดงอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด และจริงจังเพียงใด ต่อข้อสงสัยนี้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มิให้โลกเสรีเข้าใจผิด ครุสเซฟได้กล่าวสุทรพจน ณ ที่ประชุมมอสโคว์ ว่า ขบวนการปลดแอกที่เกิดขึ้นนรัฐต่าง ๆ นั้นแม้จะเป็ฯขบวนการอมมิวนิสต์ รัฐบาลรัสเซียจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางทหารเท่านั้น ซึ่งหมายถึง รัฐเซียจะไม่ใช้กำลังทหารของตนเอข้าแทรกแซงช่วยเหลือฝ่ยคอมมิวนิสต์พื้นเมืองต่อต้านรัฐบาล จีนแดงถือว่า คำประกาศเป็นการปฏิเสธของรัสเซียที่จะไม่ยอมรับควาเป็นผู้นำโลกอมมิวนิสต์ จีนแดงประณามว่ารัสเซยถือนโยบายเอาตัวรอด
     สิ่งที่ทำให้จีนแดงแน่ใจยิ่งขึ้น คือการที่รัสเซียดำเนินนโยบายสมานฉันท์กับอเมริกามากขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐคใหม่คือ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ มีทีท่าต้องการความร่วมมือกับรัสเซย ต่างฝ่ายต่างประณีประณอมกันทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นสถานะการณ์ในลาวหนักแล้วทหารเวียดนามเหนือข้ามพรมแดนเข้ามาในลาว ถุกถามเสถียรภาพความมั่นคงของลาวและประเทศเพื่อนบ้าน คือ ไทยและเวียนามใต้ อเมริกาและรัสเซยได้ร่วมปรชุม ณ วียนนา ตกลงในหลักการที่จะให้ลาวเป็นกลาง ตามข้อตกลงเดิม ณ ที่ประชุมเจนีวา ได้มีการประชุมเจนีวาครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคม ผุ้แทนจีนแดงเรียกร้องให้ยุบเลิกองค์การ ซีโต้ ซึ่งขณะนั้นมีทีท่าว่า ถ้าสงครามลาวจะขยายตัวมาถึงไทย ทหารจากองค์การนี้จะเข้าสงครามคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนแดง แต่ข้อเรียกร้องนี้มิได้รับความสนใจจากบรรดประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม
     ที่ประชุมลงมติให้ยุติการยิง และกำหนดลาวเป็นเขตปลอดทหาร ถึงกระนั้น ทหารเวียดนามเหนือก็ยังคงปรากฎอยู่ในลาว วิกฤติการณ์ในลาวสั่นสะเทือนเสถียรภาพความั่นคงของจีนแดงมิใช่น้อย เพราะถ้าตกลงกันมิไดในระหว่งมหาอำนาจ ลาวก็อาจเป็นยุทธภูมิของโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ ซึ่งจีนแดงไม่ปรารถนา เพราะสงครามใกล้ประเทศตน จีนแดงพยายามหลีกเลี่ยงเต็มที่ ดังเห็นไดจากกรณีที่จีนแดงบีบังคับเวียดนามเหนือมิให้ใช้กำลังรวมประเทศ
     คอมมิวนิสต์ในลาว ขบวนการประเทศลาวนั้นมิได้มีพลังอำนจเพื่อขึ้นเท่าที่ควร เพราะเวียดนามเหนือพอใจทีจะเห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีอำนาจในทีราบสูงภาพเหนือใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังอาวุธและเสบียงอาหารส่งเสริมแก่สงครามเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนจีนแดงไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเผชิญหน้าอเมริกา ทั้งจีนแดงและเวียดนามเหนือจึงมิได้หนุนหลังลาวแดงให้ทำสงครามล้มอำนาจรัฐบาลลาว อีกประการหนึ่งการเมืองในเอเซียอาคเนย์ ถ้าเล่นเสียงเกินไปก้เป็นอันตรายต่อตนเอง จีนแดงได้เลือยุทธภูมิใหม่ที่ไกลตัวเองแล้ว คือ อัฟริกา
     ตั้งแต่ปี 1960 อัฟริกาเพิ่งจะได้รับเอกราชมากขึ้น จักรวรรดิ์ใหญ่น้อยของยุโรปค่อย ๆ สลายตัวลงก่อเกิดช่องว่างแห่งอำนาจขึ้นในอัฟริกา อเมริกาก็ดี รัสเซียก็ดี ก้าวเข้าไปแทนที่จีนแดงถือเป็นนิมิตหมายของพลังปฏิวัติเหนือพลังจักรวรรดินิยมในอัฟริกาจีนแดงเริ่มแสดงตนเป็นผู้นำโดยปริยาย จีนแดงถือทวีปนี้เป็นที่มาแห่งแนจเดียรติภูมิของจีนแดงในการก่อเกิดปฏิวัติตามแบบจีนแดงซึ่งจะมีอำนาจอิทธิพลพอที่จะดึงดุดความสนใจของอเมริกาจากอาเซียนมาสู่อัฟริกา ตลอจนการทุ่มกำลังความช่วยเลืหแก่อาเซียนและอัฟริการวมทั้งการใช้กำลังทหารจะทำให้อเมริกาต้องอ่อนกำลังด้วยเผชิญศึกหลายด้าน เสมือนคนไข้ถูกภัยไข้เจ็บคุกคามจนหมดแรง
      ตามนโยบายกร่อนกินอำนาจอเมริกานี้ จีนแดงได้ส่งเสริมการปฏิวัติขึ้นในที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ คองโก ทั้งที่เป็นของเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส บูรุนดี สาธารณรับอัฟริกากลาง ผู้นำจีนแดงได้เดินทางไปเยื่อรัฐเหล่านี้เป็นการผูกสัมพันธไมตรีและหาสมัครพรรคพวกด้วยในเวลาเดียวกัน จีนแดงถือว่าอนาคตของการปฏิวัติสดใจ่งนักในอัฟริกา คองโกเป็นกรณีตัวอย่างที่จีนแดงหวังที่จะให้มีการปฏิวัติขึ้น ณ ไคโร (อียิปต์) จู เอน ไหล ยอมรับว่าการเชื่อมันพันธไม่ตรีกับโลกอาหรับและอัฟริกานั้นค่อนข้องจะล่าช้า การมาเยือนอาหรับและอัฟริกานั้น จีนแดงมีจุดประสงค์เรียกร้องให้มีการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และต้องการมิตรภาพตลอดจนความร่วมมือจากโลกอาหรับและอัฟริกา เป็นการเผยแพร่สปิริตอันดีมิให้ลืมไปจากใจโลกที่สาม ในขณะเดียวกัน ก็ยืนหยัดในหลักการสนับสนุนส่งเสริมการปลดแอกและต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม
     แต่ในขณะที่จีนแสดงบทบาทเจ้าตำรับการปฏิวัติในอัฟริกา พรมแดนจีนทางตอนใต้ติดอินเดียเริ่มเกิดความตึงเครียดขึ้นที่ละน้อย เพราะการเจรจาระหว่างจีนแดงกับอินเดียยังไม่ยุติลงได้ แม้จูเอน ไล จะเดินทางไปเจรจาด้วยตนเอง จีนแดงคงไม่มีจุดประสงค์ที่จะก่อศึกหรือควมตึงเครียดดวยกรณีพิพาทพรมแดนกับอินเดียในระยะนั้น เพราะจีนแดงเริ่มแตกแยดกับรัสเซียแล้ว จีนไม่ต้องการศัตรูทั้งรัสเซียและอินเดียกระหนาบอย่างแน่นอน การที่อินเดียผูกมิตรกับรัสเซีย ซึงแม้แต่ครุสซอฟก็เดินทางไปเยื่อนอินเดียซึ่งเป็นการข้ามหน้าข้ามตาจีนเป็นอันมากซึ่งมีข้อสังเกตว่า รัสเซยเริ่มแสวงหาอิทธิพลในอาเซียนมากขึ้นแข่งกับจีนแดง เป็นหมายที่สำคัญคือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึงสองชาตินี้มีสัมพันธภาพไม่ราบรื่นกับจีนแดง
     อินโดนีเซียไม่มีข้อตกลงกับจีนแดงเรื่องชาวจีนโพ้นทะเลในอินโดนิเวีย ต่อมาอินโดนีเญียทนรอมิได้ จึงต่อต้านพ่อค้าคนจีนมากขึ้นกดขค่ต่าง ๆ  จีนแดงได้ประท้วงอย่างแข็งขัน ซึ่งแทนที่สัมพันธภาพจะเลวร้ายลงกับดีขึ้น เพราะการที่รัสเซียเข้าแทรกแซง รัสเซียแข่งขันกับจีนในการช่วยเหลืออินโดนีเซีย เป็นเหตุให้จีนต้องรักษาไม่ตรีกับอินโดนีเซียให้ดีที่สุด
     กรณีอินเดีย อินเดียรุกล้ำเข้าไปในดินแดนจีนเอง ผลจากโครงกรณ์กระโดดล้ำหน้าที่ล้มเหลวผลักดันให้ผู้นำในทณฑลนั้นอพยพข้ามพรมแดนไปสู่รัสเซีย รัสเซียให้ควมสนับสนุนเต้ฒที่ วิกฤติการณ์ในลาวที่ตึงเครียด กระตุ้นให้ไทยของกำลังทหารอเมริกา ทหรอเมริกาได้มาประจำในไทยเป็นครั้งแรกที่ทหารอเมริกาประจำในประเทศย่ายเอเซียอาคเนย์ ซึ่งคุกคามเสถียรภาพของจีนแดง ยิ่งหว่านั้น ในปีเดียวกันความไม่สงบภายในประเทศเนื่องจากโครงการณ์กระโดดล้ำหน้าล้มเหลว และกรณ๊พิพาทชายแดกับอินเดียคุกกรุ่น ส่งเสริมห้ไต้หวันเคลื่อไหวกำลัง แสดงท่าที่จะยกพลขึ้นบก
     วิกฤตณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เป็นอันตรายแก่จีนแดงมาที่สุดคือ แผนยกพลขึ้นบกของไต้หวัน เพราะมุ่งจะทำลายคอมมิวนิสต์โดยตรง จีนตระหนักดีว่าตนจะพึ่งพารัสเซียมิได้โดยแน่ จีนจำต้องใช้ความสามารถทางการทูตเจรจากับอเมริกา ณ วอร์ซอร์มิหใข้แทรกแซงช่วยไต้หวัน อเมริกาเองต้องการผูกมิตรกับจีน จึงยินยิมตกลง

     จีนประชุมกำลังแสนยานุภาพกว่า หกล้านคน ประจัญหน้ากับไต้หวัน เตรียมพร้อมที่จะปกป้องกำนาจเต็มที่ ว่าไปได้หวันมีโอกาสจะแสดงความสามารถได้ดีตาทที่ได้สัญญาแก่ชาวจีนเสมอมาว่าจะยกพลขึ้นบกทำลายล้างคอมมิวนิต์ ถ้าเพียงแต่สหรัฐอเมริกาจะยินยอมเห็นด้วยและสนับสนุนไต้หวัน แต่อเมริกไม่ต้องการเปลี่ยนสถานะเดิม นโยบายสองจีนเป็นที่ยอมรับของมหาอำนาจโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ อเมริกาไม่ต้องการหนุนหลังไต้หวัน ด้วยเกรงจะก่อให้เกิดความตรึงเครียด อันหมายถึงการที่อเมริกาและรัสเซียอาจต้องเข้าร่วมสงครามช่วยพัมธิมตรของตนด้วยความจำเป็น
     ความแตกแยกระหว่างรัสเซียและจีนแดงในระยะนั้น ยังไม่มีผู้ใดภายนอกปลงใจเชื่อนัก อเมริกาจึงมีเหตุที่จะต้องระมัดระวังไว้ก่อน แผนยกพลขึ้นบกของไต้หวันจึงล้มเหลวโดยปริยาย
     จีนระดมกำลังมุ่งสู่พรมแดนตะวันตกและใต้ทันที่ เมื่อมีการปะทะกันหลังจากจีนได้ยื่นคำขาดให้อินเดียถอนกำลังทหารมมิให้รุกล้ำเข้าไปในดินแดนที่กำลังเป็นกรณีพิพาท รัสเซียได้พยายามร้องขอให้อินเดียยินยอมแต่อินเดียยังคงก้าวต่อไป สงครามระหว่างจีนและอินเดียจึงเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วโดยจำกัดขอบเขตเฉพาะในดินแดนที่เป็นกรณีพิพาทโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายจีน
    ในขณะเดียวกัน วิกฤติการ์คิวบาได้คุกรุ่นพร้อมีที่จะระเบิด สืบเนื่องมาจากการที่รัสเซียตั้งฐญานทัพจรวดขับเคลื่อนนิวเคลียร์ไว้ในคิวบาคุกคามอเมริกา อเมริกได้ยื่นคำขาดให้รัสเซียถอนฐานทัพ มิฉะนั้นจะใช้กำลัง สถานการณ์โลกตรึงเครียด จีนแดงกลังมีความพอใจ จีแดงสนับสนุนรัสเซียเต็มที่ในกรณีคิวบา ในขณะเดียวกัน จีนแดงก็ฉวยโอกาสดำเนินการตอบโต้อินเดียดังที่กล่าวมา
    ครั้งรัสเซียถอนฐานทัพจากคิวบา คิวบาแสดงความไม่พอใจ จีนเริ่มประณามรัสเซียว่ายอมผ่อนปรนโดยไม่จำเป็น  ฝ่ายรัสเซ๊ยมิได้รอช้าที่จะประณามจีนแดงว่าเจตนารอคอยความหายนะจากการเผชิญหน้ากันระหว่างรัสเซียและอเมริกา รัสเซยตราหน้าจีนแดงว่า ม้าคลั่งสงครามล้างโลก ทั่วโลกเองก็เห็นพ้องกับรัสเซียในภายหลัง
       จีนในโลกคอมมิวนิสต์ และในสังคมโลกช่วงทศวรรษที่ 1950-1960 นั้นเป็นนโยบายที่ทั้งแสวงหาสันติภาพแลส่งเสริมการปฏิวัติโลก ในช่วงระยะเวลานั้นเองที่พันธมิตรกลายเป็นศัตรู รัสเซียคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนแดง อันตรายกว่าภัยอเมริกาหลายเท่า โลกคอมมิวนิสต์แตกแยก จีนตัดสินใจสร้างอาวุธนิวเคลียร์ นโยบายจีนแดงเริ่มเน้นหนักการพึงพาตนเอง และเน้นหลักการปฏิวัติโลก นโยบายที่ขัแย้งกันอยู่ในลักษณะ คือ แสวงหาสันติภาพโดยอยู่ร่วมกันดดยสันติและการสนับสนุนขบวนการปลดแอก เป็นลักษณะเด่นชัดและเป็นปัญหาแก่จีนมิใช้น้อย มหามิตรกลายเป็นศัตรู ศัตรูของจีนเพิ่มเป็นสามประเทศ คือ รัสเซีย อเมริกา และอินเดีย คุกคามเสถียรภาพของจีนแดง นโยบายล้อมกรอบจีนแดงแผ่ขยายวงล้ำเข้าไปในโลกคอมมิวนิสต์ และเข้าไปในโลกที่สาม อเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในเอเซียอาคเนย์ ภัยทั้งสามด้านปรากฎเป็นเงาดำทะมึนคุกคามจีนแดง

vietnam war

ข้อตกลงเจนีวาปี 1954 นำสู่การเกิดสงครามเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงเจนีวาจักรพรรดิเบาไดนำการปกครองในเวียตนามใต้แต่งตั้งให้โงดินเดียม เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 1955 เวียดนามใต้หรือรัฐแห่งเวยดนามเปลี่ยนชื่อประเทฆใกม่ว่าสาธารณรัฐเวียดนาม และเปลี่ยนแกรปกครงเป็นสาธารณรัฐมีโงดินเดียมเป็นประธานาธิบดี นำการบริหารประเทศช่วงปี 1955-1963 ภายใต้การสนับสนุนของimages (14) สหรัฐอเมริกา การปกครองของโงดินเดียมมีการทุจริตในวงการเมือง ยึดถือพวกพ้อง ที่ดินส่วนใหญ๋เป็ฯของคนรวยชาวเวียดนามส่วนใหญ่ยากจนโดยเฉพาะเกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของตนเองในการทำเกษตรกรรมการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมมีน้อยมาก และโงดินเดียมไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเจนีวา ในประเด็นปฏิเสธจัดการเลือกตั้งในเวียดนามใต้ในเดือนกรกฎาคม อันมีผลทำให้เวยดมินในเวียดนามใต้ซึ่งไม่ศรัทธาในโงดินเดียมอยู่แล้วไม่พอใจ เวียดมินในเวียดนามใต้ประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลโงดินเดียมภายใต้ชื่อว่าเวียดกง รวมตัวจัดตั้งแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติมุ่งปฏิบัติการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลโงดินเดียม ปฏิบัติการสู้รบแบบกองโจร เวียดนามเหนือภายใต้การนำของโฮจิมินให้การสนับสนุนยุทธปัจจัยแก่เวียดกงด้วยเส้นทางจากเวียดนามเหนือผ่านลาวและกัมพูชาสู่เวียดนามใต้เรียกเส้นทางนี้ว่าเส้นทางโฮจิมิน The Ho Chi Minh Trail
    สงครามเวียดนามเริ่มจากสงครามกลางเมือง The Civil War โดยชาวเวียดนามสองกลุ่มเพื่อการตัดสินใจการมีรูปแบบรัฐบาลปกครองประเทศ จากสงครามกลางเมืองพัฒนากลายเป็นข้อขัอแย้งระหว่างประเทศดึงสหรัฐอเมริกาให้ต้องเข้าร่วมสงครามเป็นเวลายาวนาน พวกเวียดมินและเวียดกงเรียกสงครามเวียดนาม ว่าสงครามเพื่อการปลดแอกชาติ อันหมายถึง เวียดนามเหนือต้องการยุติการสนับสนุนของสหรับอเมริกาที่ให้แก่เวียดนามใต้และรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เป็นชาติเดียวกัน ในสงครามเวียดนามครั้งนี้จีนและรุสเซียให้การสนับสนุนด้านยุทธปัจจัยเท่านั้นแก่เวียดนามเหนือที่ให้แก่เวียดกง สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนเวียนามใต้
     สงครามเวียดนาม เป็นข้อพิพาททางทหารยุคสงครามเย็นที่เกิดในเวียดนาม ลาวและกัมพูชา สงครามเวียดนามเกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพัมธมิตรคอมมิวนิสต์เป็ฯคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ติดอาวุธเบาซึ่งได้รับการสั่งการจากเวียดนามเหนือสู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ กองทัพประชาชนเวียดนาม ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ๋เข้าสู่ยุทธการกำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความได้เปรียบทางอากาศและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏฺบัติการค้นหาและทำลายซึ่งวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ รัฐบาลสหรัฐมองว่ากาเข้ามามีส่วนในสงครามเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใจ้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัด ที่ใหญ่กว่า รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียกงมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มต้นสู้กับฝรั่งเศสโดยได้รับการสนับนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้น การเข้ามามีส่วขจองสหรัฐเพ่มขึ้นในช่วงต้นคริสตทศวรรษ ที่ 1960 โดยมีระดับทหารเพ่มเป็นสามเท่า และเพิ่มอีสามเท่าในเวลาต่อมา ไน่วยรบของสหรัฐถูกจัดวางเพื่อปฏิบัติการข้ามพรหมแดน ดดยลาวและกัมพูชาถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก การเข้ามามี่ส่วนในสงครามของสหรัฐถึงขีดสุด ขณะเดียกับการรุกตรุษญาว หลังจานี้ กำลังภาคพื้นดินของสหรัฐค่อย ๆ ถูกถอนออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยลายที่เรียกว่าการแผลงเป็นเวียดนาม แม้จะมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสโดยภาคีทุกฝ่ายเมื่อแล้วก็ตาม การรบยังคงดำเนินต่อไป
     การแทรกแซงของสหรัฐเร่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถะชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน เวยดนามเหนือส่วนใหญ่เกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สิ่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผุ้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์ หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครากับเวียดนามใต้อีกครั้งเพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อทฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะถูกคุกคามแลตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉพียงใต้มิหใปนไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล
      สหรัฐอเมริกาเร่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบีไอเซนเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมืองเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผุ้นำสหรัฐแทน ได้ส่งกำลังพลนับแสนคสพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนสิต์ในเวียนาม ทำให้สงครามเวียนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น
     ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์ สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆ เสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียนามที่อ่อนแอกว่า
     ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้าใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมิข้ากับเวียดนามในฐานกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้
    สหรัฐและพัมธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้ารบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญเวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารราวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ทั่วโลกประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกา
     CIA ของสหรัฐฯยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลเวยดนามใต้บ่อยครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามรถแก้ปัญหาการคอรับชั้นในรัฐบาลที่ตั้งขึ้นได้ ทำให้งบประมาณที่สหรัฐให้ไปปรับปรุงกองทัพหรือพัฒนาชนบท กลับไปตกอยู่ในมือของข้าราชการระดับสูงและนายทหารของเวียดนามใต้
     การรบในเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐสูญเสียทหารจำนวนมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศและมีความกดดันจากการเผชิญกับเวียดกงที่รบในประเทศตนเอง ยากต่อการเอาชนะimages (17)
     คนหนุ่มสาวในสหรัฐจึงเดินขบวนเรียกร้องสันภิภาพทั่วประเทศ เรียกร้องให้ถอนทหารจากสงครามเวียดนาม เมื่อมีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีจอนห์นสันจึงไม่ลงสมัครอีก ทำให้นิกสันซึ่งเสนอนโยบายถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนามและลดบดบาททางทหารทั่วดลกได้รับชนะการเลือกตั้งเป็นประธานธิบดีคนต่อมา นิกสันจึงเจรจากับจีน สนับสนุนนโยบายจีนเดียวแลกกับการให้จีนยอมรับการถอนทหารจากเวยนามตั้งแต่ปี 1973 หลังจากนั้นสหรัฐได้ตกลงถอนทหารจนสิ้นสุดในเดือนเมษายน 1975 กองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดครองไซ่ง่อนได้สำเร็จและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น โฮจิมินห์ซิตี้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...