ปี 1962 เมื่อจอห์น เอฟ.เคเนดี้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีครุสเซฟได้อ้างง่าตนมีส่วนในชัยชนะด้วย เพราะรุสเซียไม่ยินยอมให้ไอเซนฮาวร์ได้รับความเชื่อถือจามหาชนในเรื่องการประชุมสุดยอดปี 1960 และในเรื่องผ่อนคลายความตรึงเครียด ในระยะแรกความรู้สึกเป็นมิตรมีปรากฎขัดมาก เคนเนดี้ส่งนายเลเวลลิน ทอมป์สัน ติดตามครุสเชฟซึ่งไปเยื่อนไซบีเรียเพื่อทาบทามให้มีการประชุมสุดยอดในปลายฤดูใบไม้ผลิ ณ กรุงเวียนนาหรือกรุงสตอกโฮล์ม แต่ครุสเชฟเล่นแง่ปฏิเสธ ยิ่งกว่านั้น เคนเนดี้เองเริ่มไม่แน่ใจเมื่อครุสเชฟโอ้อวดและขู่จากการทีรุสเซียประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสู่อวกาศความปั่นป่วนต่อเกมการเมืองที่ครุสเซฟกระทำต่อเคนเนดี้ จึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ในลักษณะเสมือนสงครามประสาท โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เรื่องเบอร์ลินและคิวบาซึ่งรุสเซียถือว่าเป็นเรื่องที่เกียวข้องสัมพันธ์กัน รุสเซยจะใช้คิวบาเป็นเครื่องมือให้ตะวัตกต้องผ่อนปรนแก่รุสเซียในเรื่องเบอร์ลินและเยอรมัน แต่วิกฤตคิวบากลับกลายเป็นเครื่องพิสูน์ว่า เรื่อคิวบาเกี่ยวข้องกับการที่รุสเซียสุดสิ้นหนทางที่จะแก้ปัญหาเบอร์ลินมากกว่า
วิกฤติการณ์คิวบา
โดยประเพณีนิยม รุสเซียดำเนินนโยบายต่อละตินอเมริกาด้วยความระมัดระวังเต็มไปด้วยความยับยั้งชั่งใจมาก เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ของละตินอเมริกาเองอ่อนหัดและอ่อนแอ ขาดฐานมวลชนกรรมกร ความเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์เหล่านั้นมักไม่เป็นที่นิยมนักในสายตารุสเซย รุสเซียมิได้
สนับสนุนให้พรรคคอมมิวนิสต์ใดของละตินอเมริกายึดอำนาจรัฐในประเทศของตน กิจกรรมของพรรคคิมมิวนิสต์ละตินอเมริกา ส่วนใหญ่มีปรากฏในรูปของรายงานตามหน้าหนังสือพิมพ์รุสเซียและโลกคอมมิวนิสต์เท่านั้น ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุสเซยสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวคึกคักมากของชนชั้นปัญญาชนละตินอเมริกาที่มีความรู้สึกต่อต้านสหรัฐแมริกา และปัญหาเศรษฐกิจของภูมิภาคก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีสหรัฐอเมริกาเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเป็นนายทุนเจ้าหนี้รายใหญ่
โดยหลักการแล้ว ลัทธิคอมมิวนิสต์ย่อมกำหนดเสมือนเป็นรอยจากรึกไว้แล้วว่า เป็นลัทธิที่จะกำหนดให้เกิดการกู้เอกราช เพื่อทำให้ฝ่ายตะวันตกเกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วมใจ และบั่นทอน,นอำนาจของจักรวรรดินิยมนายทุน หลักการนั้นที่ต็มไปด้วยความซื่อกลายเป็นหลักการที่ลาสมัยไปแล้วโดยสิ้นเชิง และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายดังที่ได้พูดจากันที่เวียนนา ในสายตาของนักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ความเคลื่อนไหวของนายฟีเดล คาสโตร เพื่อล้ารัฐบาลเผด็จการเป็นความเคลื่อนไหวขึ้นฝึกหัดสำหรับการปฏิวัติไม่ควรค่าแก่ความสนใจใด ๆ ด้วยถือว่า การนิยมกบฏชิงอำนาจ ไม่ควรเป็นที่นิยมยึดถือปฏิบัติ
เพราะกบฏประเภทนั้นเป็นกบฎโดยประชาชนที่สามารถกระทำการได้สำเร็จด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจสังคมทรุดโทรม เสมือนผลไม้ที่สุกงอมพร้อมที่จะร่วงหล่นอยู่แล้วในกรณีคิวบาพรรคคอมมิวนิสต์ติดต่อคาสโตร ผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านระบอบทรราชย์ที่นำโดยนายฟูเกนซิโอ บาทิสตา และได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา คาสโตรร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ในการต่อสู้จนระบอบทรราชย์ต้องสิ้นสุดลง ผุ้ที่ได้รับชัยชนะซึ่งมีหลายกลุ่มได้เชื้อเชิญคาสโตรหัวหน้าพลพรรคติดอาวุธไม่ถึง 2,000 คน มาเป็นผู้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยใหม่
สถานการณ์เช่นนั้นเป็นที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐอเมริกา หน่วยสืบราชการลับจึงจัดตั้งกองกำลังผสมของผู้ลี้ภัยคิวบาขึ้นเพื่อเป็นกองโจรต่อสู้ ส่วนที่มอสโกเอง เรื่องคิวบาเป็นที่ถกเถียงกันมากกว่า ควรจะช่วยเหลือระบอบของคาสโตรหรือไม่ เพราะมอสโกถือว่าคาสโตรมิได้เป็นคอมมิวนิสต์ หากแต่เป็นนักการเมื่องนิยมเสียงเผชิญโชค มากว่า ที่ไม่น่าเชื่อถือและน่าจะยากแก่การควบคุมหรือครอบงำอีกทั้งประเทศคิวบาเองก็มิได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามมาตรฐานของรุสเซีย แม้ว่าจะมีผู้นำคิวบาหลายคนเป็นคือ นายรอล และนายเช เกวารา ก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตาม เกาะคิวบาเป็นประเทศทีรุสเซียต้องให้ความสนใจในประเด็นที่ประเทศนี้มีความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นกับสหรัฐอเมริกา เป็นช่องว่างให้รุสเซียได้ฉวยโอกาสเข้าครอบงำใหล้แผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกา นายมิโคยัน เดินทางไปเยื่อนคิวบา แต่ยังมิได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน ถึงกระนั้น รุสเซียได้ให้ความช่วยเหลือแก่คิวบาในการพัฒนาประเทศมากมาย การโอบอุ้มคิวบาได้กลายเป็นสิ่งที่รุสเซยอดมิได้ที่จะยับยั้งได้
หน่วยงานข่าวกรองรุสเซียทราบล่วงหน้าแล้วว่า สหรัฐอเมริกาจะมีแผนปฏิบัติการทางทหนในคิวบา แต่ก่อนหน้านั้น เคนเนดี้ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ว่า “สหรัฐฯจะไม่แทรกแซงทางทหารในคิวบาไม่ว่าจะโดยภายใต้เงื่อนไขใดรัฐบาลนี้จะทำทุกสิ่ง..เพื่อให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า จะไม่มีชาวอเมริกันปฏิบัติการอันใดที่เกี่ยวข้องภายในคิวบา” แม้สหรัฐฯจะยืนยันเช่นนั้ แต่รุสเซียกรทำตรงกันข้า รุสเซียมิได้มีการเตื่อนเคนเนดี้ว่ามิให้มีการปฏิบัติการในคิวบาแต่อย่างไร
สหรัฐฯตัดสินใจยอพลขึ้นบกที่คิวบารุสเซียโฆษณาชวนเชื่อโจมตีอย่างหนและได้แสดงทีท่าข่มขู่เฉพาะ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ในการปฏิบัติการทางทหารครั้งน้นแล้ว รุสเซียไดแถลงขั้นตอนที่จะดำเนินการว่า “เราจะขยายความช่วยเหลือสรรพสิ่งที่จำเป็นให้แก่ประชาชนคิวบาและรัฐบาลคิวบาเพื่อขับไล่กานจู่โจมคิวบาด้วยกำลังอาวุธ” และเมื่อวิกฤติยติลง ครุสเชฟได้ส่งสารย้ำไปว่า “พฤติกรรมเยี่ยงโจรอย่างก้าวร้าวรุกรานจะไม่สามรถรักษาระบบของท่านได้” หลังจากชัยชนะทางการทูตในเรื่องคิวบาแล้ว รุสเซียมีความมั่นใจในนโยชายของตนมากขึ้นประจวบเหมาะกับภาวะการณ์ในลาวก็สุกงอมพร้อมที่จะให้รุสเซียเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เย้ยหยันจีน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น