๋Japan After WW2

     พันธมิตรมอบหมายให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ปกครองญี่ปุ่นในช่วงการยึครอง องกณืคอารสำคัญที่ทำหน้าที่คือ กองบัญชาการสูงสุดสำหรับมหาอำจานพันธมิตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคือนายพลดักลาส  การปกครองและการพัฒนาญี่ปุ่นเลียนแบบอย่างจากอเมริกา ถึงกระนั้นการยึดครองญี่ปุ่นก็บรรลุจุดประสงค์หลักของพันธมิตรตามที่ได้ร่างโครงการเป็นนโยบายต่อญี่ปุ่นภายหลังญี่ปุ่นแม้สงคราม    
      นายพลแมคอาเธอร์เปรียบดังโชกุนผิวขาวในสายตาญี่ปุ่นการนิรมิตรญี่ปุ่นจึงเป็นไปตามอุดมคติมากกว่าการปฏิวัติ
      องการสแค็ปได้สร้างญี่ปุ่นเป็นรัฐปลอดทหารโดยการทำลายกำลังแสนยานุภาอย่างเป็นขั้นตอน ที่สำคัญคือ การทำลายกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ยุบหน่วยราชการทหาร สลายกำลังพลกว่า 2 ล้านให้คือถ่นกำเนิด อพยพทหาร 3 ล้านนายจากดินแดโพ้นทะเลที่ญี่ปุ่นยึดครอง ให้กลับคืนประเทศ และสลายกำลังพล ดินแดนต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นครอบครองมอบคืนแก่เจ้าของเดิม หรือเป็นเอกราชตามหลักว่าด้วยเชื้อชาติ ญี่ปุ่นสิ้นสุดเขียวเล็บตั้งแต่นั้นมา มาตราที่ 9 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นได้ย้ำความสำคัญนี้ด้วยว่า ญี่ปุ่นจะใฝ่สันติและประณามสงครา มาตรานี้ได้ปิกั้นญี่ปุ่นมิไสร้างกำลังแสนยานุภาพอีกต่อไป
    อาชการสงครามชาวญี่ปุ่นและหรือเห็นชอบหรือร่วมมือกับรัฐบาลทหารในการทำสงครามถูกพิจารณาคดีในศาลภายในประเทศ และผู้ต้องหารายสำคัญถูกส่งไปพิจารณาที่ศาลระหว่างประเทศ ภารกิจที่สำคัญขององค์การสแค็ปคือ การสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ในญี่ปุ่น เพื่อถ้าญี่ปุ่นมีโอกาส ญี่ปุ่นย่อมหันไปสู่ประชาธิปไตย สิ่งแรกที่ดำเนินการคือ การลงโทษกำจัดกวาดล้าชาวญี่ปุ่นระดับสูงในทุกวงการที่มีความคิดเผด็จการ และการปล่อยนักโทษการเมืองออกจากที่คุมขัง ต่อจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ถูกร่างขึ้นและมีการส่งเสริมให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อให้มีส่วนร่วมการปกครองโดยตรงเสรีภาพทางการเมืองและการจัดตั้งองค์กรใหม่เหล่นั้น ล้วนเกิดขึ้นในกรอบโครงสร้างใหม่สุด คือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่าง 3 ปี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นเป็นแบบสหรัฐอเมริกากล่าวคือ มีระบบรัฐสภาแบบสองสภา อำนาจนิติบัญญัติเหนืออำนาจบริหารในแง่ที่มีการให้อำนาจสภาในการพิจารณารับหรือไม่รับพระราชบัญญํติบงประมาณ ถ้าสภาไม่ยอมให้งบประมาณผ่าน สามสิบวันต่อมา รัฐบาลมีอำนาจที่จะประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณได้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเพราะนายกรัฐมนตรีมาจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้เลื่อกตัวบุคคล แม้จะมีอำนาจในการยุบสภาและจัดการเลือตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นระบุการแก้ไขจะกระทำได้เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และประชาชนลงมติเห็นชอบหลักการลงมติสำหรับรัฐสภาปรากฎชัดว่า ต้องได้คะแนนเสียงสองในสามของสภาสูง และคะแนนเสียงสองในสามของสภาผู้แทนราษฎร การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการง่ายดายแต่อย่างใด
      รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจเป็นเอกภาพโดยอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมโดยประชาชนผ่านนรัฐสภา สถาบันกษัตริย์ไม่มีอำนาจแต่อย่างไร พระจักรพรรดิตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็ฯสัญลักษณ์แห่งประเทศชาติ และสถาบันนั้นดำรงอยู่โดยเจตนารมณ์แห่งประชาชาติเท่านั้น องค์จักรพรรดิทรงเป็นแกนหลางแห่งความจงรักภัดดี ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความรักมากกว่าความเกรงกลัวในองค์พระมหากษัตริย์ดังอดีต สภานภาพแห่งพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำให้สถานภาพและพระเกียรติภูมิรแห่งพระมหากษัตริย์มั่งคงขึ้นมาก
    ในระยะที่สหีฐอเมริกายึดครองญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ปกครองญี่ปุ่นแบบสหรัฐอเมริกา โดยพยายามสร้างรากฐานให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวิธีการสร้างระบอบประชาธิปไตยแนวใหม่ รากฐานนั้นได้แก่
     - การกำหนดให้ประชาชนทุดเศทุกขนชั้นมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
     - การแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงาน ให้สิทธิเสรีภาพแก่กรรมกรที่จะจัดตั้งองค์การและนัดหยุดงานได้ สหภาพการค้าได้ผุดขึ้นทั่วไปราวกับดอกเห็น เพิ่มรสชาติให้แก่การเมืองญี่ไป่นให้มีความเร่าร้อนรุนแรงมาก แต่ก็ทำให้กรรมกรมีสิทธิเสรีภาพ เป็นรากฐานสนับสนุนแก่ระบอบประชาธิปไตย
      - การประกาศพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดิน สหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นฝั่งใจมากกว่าความไม่สงบในชนบทเป็ฯปัจจัยส่งเสริมให้ญี่ปุ่นมีความก้าวร้าวรุกราน เป็นบ่อนทำลายสันติสุขในตะวันออก พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การที่ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน เป็นการแก้ปัญหาเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในชนบท แต่ะพรราชยัญญตินั้นใช้มาตการที่รุนแรงเกินไป คือ การบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มิได้ทำประโยชน์บนที่ดินและมิได้อาศัยบนที่ดินนั้น และการบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มีดินเกินเพิกัดอัตราที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดคือเกิด 30 เอเคอร์ รัฐบาลบังคับซื้อคืนในราคาที่ควบคุมแล้วขายในราคาถูกหรือให้เช่าแก่ผู้ที่ไร้ที่ดิน..
     - การจัดระบบศาลแบบสหรัฐอเมริกา มีศาลสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษา ตรวจตราการบริหารราชการตุลาการ และเป็นฝ่ายปกป้องรุฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับเป็นหารปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยปริยาย
     - การยุบเลิกกระทรวงมหาดไทย ในอดีต กระทรวงนี้มีอำนาจมาก และมีบทบาทสำคัญในการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของชาวญี่ปุ่น องค์กรสแค็ปได้กำหนดให้ทุกจังหวัด เมื่อและตำบลหมู่บ้านเรียนรู้การปกครองตนเองโดยผ่านองค์กรตังแทนที่มาจาการเลือกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล การกระจายอำนาจมีจุดประสงค์ที่จะให้ชาวญี่ปุ่นได้เรียรู้ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับล่างสุดของสังคม แต่โครงการนี้ไม่ใคร่จะสำเร็จผลนัก
    - กากรปฏิรูปการศึกษา สหรัฐอเมริกาได้ใช้รูปแบบและระบบการศึกษาของตนมาเป็นแม่แบบ โดยการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ให้มีคณะกรรมการที่มาจากการเลื่อกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล และกำหนดการศึกษาเป็นหลักสูตรระยะยเวลา ประถม 6 ปี มัยม 3 มัธยมปลาย 3 ปี ..ถึงกระนั้นการปฏิรูปการศึกษาเป็นการฝึกอบรมประชาชนให้มีความรู้และมีจิตสำนึกตื่นตัวในการักษาสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของตน เป็นการปกป้องระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวนาน ..ไม่ว่าญี่ปุ่นเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้วและยากจะหวนกลับคืน..
    สถาการโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  วงการการเมืองโลกได้แบ่งออกเป็นองฝ่ายตามความแตกต่างของอุดมการ์ คือ โลกเสรีนิยมประชาธิปไตย และ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งก่อเกิดเป็นสงครามรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าสงครามเย็น จีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาปี 1949 สหรัฐจึงต้องทบทวนนโยบายของตนในเอเซียใหม่และได้พเจารณาถึงฐานะในแง่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาใประเทศญี่ปุ่น ความคิดที่จะสร้างญ่ปุ่นเป็นพลังถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเร่งเป็นจริงขึ้นเมื่อเกิดสงครามเกาหลีในปี 1950 ญี่ป่นเป็นฐานทัพส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพสหประชาชาติ
     ญี่ปุ่น “เลี่ยงบาลี” จากรัฐธรรมนูญมาตราที่ 9 กำหนดให้เป็นสิทธิโดยอำนาจอธิปไตยของประชาชาติที่จะประณามสงครามชั่วนิรันดร์ ญี่ปุ่นทำได้เพียงจัดตั้งกองกำลังตำรวจสำรอง เป็นกำลังกึ่งทหาร ประมาณ 75,000 นาย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความมั่นคงของประเทศ กองกำลังนี้ถูกเรียกว่า “กองกำลังป้องกันประเทศ”
       ในปี 1951 การยึดครองญ่ปุ่นได้สิ้นสุดลง แต่ความผูกพันยยังเหมือนเดิมและแน่นแฟ้นเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาว่าด้วยความั่นคงร่วมกัน ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นหมดโอกาสที่จะผูกมิตรกับโลกคอมมิวนิสต์
     ความสัมพันธระหว่างญี่ปุ่นกับโลกคอมมิวนิสต์เป็นตัวอย่างที่ดีของความยากลำบากที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นใดที่มิได้อยู่ในโลกเสรี แม้ญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จีนยังคงหวาดระแวงภัยญี่ปุ่น ซึ่งจีนทั้งเกลียดทั้งกลัว ญี่ปุ่นยังคงเป็นมหันตภัยคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนและรุเซีย โดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามเย็นขึ้นในยุโรป สหรฐฯได้เปลี่นยนโยบาย จากากรมุ่งทำลายศักยภาพทางทหารของญี่ป่น มาเป็นนโยบายสร้างญ่ปุ่นเป็นมหาอำนาจเพื่อถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออก  แม้ญ่ปุ่นจะสิ้นเขี้วยเล็บ แต่สามารถสร้างกำลังแสนยานุภาพเมือใดย่อมได้ ถ้าญี่ปุ่นสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความหวาดกลัวภัยญี่ปุ่นสะท้อนในความออกมาในความสำคัญตอนหนึ่งของสนธิสัญญาระหว่างจีนกับรุสเซียว่าด้วยมิตรภาพ..
    อย่างไรก็ตามเมือสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นต่อรุสเซียดีขึ้นแล้ว รุสเซียจึงเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในปี 1956 ส่วนความสัมพันธ์กับจีนญ่ปุ่นก็ประสบปัญหาด้วยเช่นกัน เหตุที่จีนตั้งเงื่อนไขมากมาย และด้วยเหตุความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่าง ปค 1895-1945 ชาวญี่ปุ่นมีความรู้สึกละอายในพฤติกรรมไร้มนุษยธรรมที่ได้ปฏิบัติต่อชาวจีนในระหว่างสงครามปละแรรถนาจะมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน แต่ในขณะเดี่ยวกัน ญี่ปุ่นได้สร้างอุปสรรคกีดขวางความปรารถนานั้นเอง โดยการเดินตามสหรัฐอเมริกาในการถือนโยบายจีนเดียว คือ ไม่รับรองจีน หากแต่รับรองจีนชาตินิยมแห่งไต้หวัน และจีนก็กล่าวหาญีปุ่นเสมอมาว่า มีเจตจำนงที่จะสร้างกำลังแสนยานุภาพใหม่…
     เพียงแค่นั้นญ่ปุ่นก็ระย่อที่จะปฏิบัติตามความต้องการของจีน  อุปสรรคยิ่งใหญ่คือสหรัฐอเมริกาและไต้หวันซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ญี่ปุ่นจะตัดสินใจเกียวกับสัมพันธภาพกับจีน แต่ความปรารถนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็นับว่าสูงมา เพราะจีนและรุสเวยคือตลาดการค้าที่ใหญ่มากสำหรับญ่ปุ่น ทั้งสองประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลเป็นที่ปรารถนาของญี่ป่นที่จะเขาไปลงทุนพัฒนา ทั้งรุสเซียมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุในไซบีเรีย และจีนมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุทรัพยากรในประทเศมหาศาลแม้ญีปุ่นจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับสองยักษ์ใหญ่แห่งโลกคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นมิได้ปิดหนทางที่จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากสองประเทศนั้น เพราะญี่ปุ่นถือว่า การเมืองและเศรษฐกิจเป็ฯเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หลักการนั้นระบุชัดว่า “การแบ่งแยกรัฐบาลฝ่ายบริหารออกจากเรื่องของเศรษฐกิจ” คณะผู้แทนญี่ปุ่นมีคความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสองประเทศนั้นเป็นปกติวิสัย
    การค้ากับประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกญี่ปุ่นประสบปัญหาในระยะแรก เพราะความหวากกลัวญีปุ่น ไม่ต้องการจะคบค้าด้วย แต่สุดท้ายด้วีบวามสามารถในการโฆษนาสินค้าแลบริการและสินค้าที่มีราคาถูกมากทำให้ญี่ปุ่นสามารถตีตลาดการค้ารหว่างประเทศได้สำเร็จในทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)