วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

The Lao People’s Democratic Republic

     ตามข้อตกลงเจนีวาแห่งปี 1954 ลาวถูกกำหนดให้เป็นประเทศเอกราชที่ต้องดำรงตนเป็นกลาง และเวียดนามแบ่งเป็นสองประเทศโดยมีเส้นขนานทร่ 17 องศา เป็นเส้นพรมแดนนับแต่นั้นมา อำนาจอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาปรากฎเด่นชัดในเวียดนามใต้และลาว ทั้งสองประเทศได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมหาศาลเพื่อให้ดำรงความเป็นรัฐต่อไปได้เป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ภายในคุกคาม ความช่วยเหลือแก่ลาวมากมายนี้เประจยบกับรัฐบาลลาวเองมีทีท่านิยมโลกเสรีมากกว่า ทำให้เวียดนามเหนือและลาวแดง ภายใต้การสนับสนุนของจีนได้ก่อการร้ายขึ้นทั่วประเทศลาวในค.ศ.1959 ภาวะปั่นป่วนจากการที่รัฐบาลมิได้วางตัวเป็ฯกลาง และภัยคอมมิวนิสต์ได้เป็นปัจจัยก่อเกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายทหารผู้รักชาติขึ้นในเดือนสิงหาคม 1960 แต่แล้วรัฐบาลใหม่ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาก็ยึดอำนาจคืนได้อีก
     วิกฤติการณ์ในลาวยังความตื่นตระหนกมาสู่ปรเทศเพื่อนบ้าน คือไทย นายกรัฐมนตรีสุวรรณภูมาขอให้รสเซียช่วย รุสเซียส่งอาวุธยุทธโธปกรณ์มาให้ทางอากาศ ส่วนใหญ่อาวุธตกไปอยู่ในมือฝายลาวแดง ซึ่งมีกำลัเงพือ่มากขึ้นพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการล้มรัฐบาลลาวและเป็นกำลังแก่พวกเวียดนามเหนือให้แทรกซึมเวียนามใต้ได้เป็นอย่างดีความช่วยเหลือทางทหารของรุสเซียก่อเกิดวิกฤตณ์ความตึงเครียดขึ้นจนเกิดข้อสงสัยกันว่า รุสเซียจะเข้าไปมีบทบาทแข่งกับสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างจิรงจัวมากน้อยเพียงใด ต่อข้อสงสัยนี้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มิให้โลกเสรีเข้าใจผิด ครุสซอฟได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมมอสโก ในวันที่ 6 มกรราคม 1961 ว่า ขบวนการาปลดแอก (หรือ “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” ตามความหมายของรัฐบาลต่าง ๆ ) ที่เกดขึ้นในรัฐต่าง ๆ นั้น แม้จะเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ รัฐบาลรุสเซียจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางทหารเท่านั้นซึ่งหมายความว่า รุสเซียจะไม่ใช้กำลังทหารของตนเข้าแทรกแซงช่วยเหลือฝ่ายคอมมิวนิสต์พื้นเมืองต่อต้านรัฐบาล จีนถือว่า คำประกาศนั้นเป็นการปฏิเสธของรุสเซียที่จะไม่ยอมรับความเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ (เพราะเป็นผู้นำก็ต้องช่วยเหลือคอมมิวนิสต์ทุกฝ่าย เป็นภาระที่หนักเกินไป และรุสเซียต้องเสี่ยงเผชิญหน้ากับโลกเสรี)จีน จึงประมาณว่ารุสเซียถือนโยบายเอาตัวรอด
     แม้รุสเซียจะประกาศนโยบายลาวที่แจ่มชัด แต่เวียดนามเหนือและลาวแดงก็ยังคงรุกคืบหน้าต่อไปในการทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาจนสหรัฐอเมริกาคิดที่จะแทรกแซงทางทหารในสงครามนั้น แต่ก็ต้องพยายามยับยั้งชั่งใจในการเผ้าดูสภานการณ์ในลาวที่เพียบหนัก ทหารเวียดนามเหนือข้ามพรมแดนเข้าไปในลาวคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของลาวและระเทศเพื่อนบ้านคือ ไทย ปละเวียนามใต้ สหรัฐอเมริกาและรุสเซียได้ร่วมประชุม ณ เวียนนา เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 ตกลงในหลักการที่จะให้ลาวเป็นกลางตามข้อตกลงเดิม ณ ที่ประชุมเจนีวา ค.ศ. 1954 ได้มีการประชุมเจนีวาครั้งที่สองในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 1961 ถึงกรกฏาคม 1962 ผุ้แทนจีนเรียกร้องให้ยุบเลิกองค์การซีโต ซึ่งขณะนั้นที่มีท่าว่า ถ้าสงครามลาวจะขยายตัวมาถึงไทย ทหารจากองค์การนี้จะเข้าสงครามคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจี แต่ข้อเรียกร้องนิ้มิได้รับความสนใจจากบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม
      ที่ประชุมลงมติให้หยุดยิง และกำหนดลาวเป็นเขตปลอดทหาร ถึงกระนั้น ทหารเวียดนามเหนือก็ยยังคงประกฏอยู่ในลาวแต่เหตุกาณ์ไม่นับว่ารุนแรงมากนัก เพราะพวกคอมมิวนิสต์ในลาวที่เรียกกันว่า ขบวนการประเทศลาว มิได้มีพลังอำนาจเพ่มขึ้นตามนโยบายขงอเวียดนามเหนือที่พอใจที่จะเห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีอำนาจในที่ราบสูงภาคเหนือ ซึ่งใช้เป้นเส้นทางส่งกำลังบำรุงสำหรับสงครามเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคตส่วนจีนไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเผชิญหน้าสหรัฐอเมริกา ทั้งจีและเวียดนามเหนือจึงมิได้สนับสนุนาวแดงให้ทำสงคราล้าอำนาจรัฐบาลลาว อีกประการฯง การเมหืองในเอเซียอาคเนย์นั้นถ้าเหล่นเสี่ยงเกินไปก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
     นอกจากการแก้ปัญหาลาวแล้ว ที่ประชุมไม่พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องอื่นใด เลยแม้ครุสเซฟจะได้ปราศรัยต่อประชาชนทางโทรทัศน์ว่า ปี 1961 เป็นปีแห่งการตกลงข้อยุติวิกฤติการณ์เบอร์ลิน แต่ปัญหาเบอร์ลินมิได้ยุติ ปัญหาเบอร์ลินกลับทำให้โลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...