Berliner Mauer

    ครุสซอฟมีความหวังมากกว่า เมื่อสหรัฐอเมริกามปรธานาธิบดีคนใหม่แล้วการเจรจาเรื่องเบอร์ลินอาจจะง่ายขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า ครุสซอฟเสนอให้มีการพบกันที่เวียนนา แต่เมือ่ได้พบกันในเดือนมิถุนายน ก็มิได้มีการอันใดก้าวหน้า เว้นเสียแต่ว่า ครุสเชฟ ได้แจ้งแก่เคนเนดีว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน ครุสเชฟได้แจ้งแก่เคนเนดี้ว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาเสริภาพกับเยอรมัน ครุสเซฟจะลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกในเดือนธันว่าคม แลเพื่อยำจุดยืนนั้นใน เวลาต่อมา ครุเชฟได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อวงการทหารว่า รุสเซีย้ำการกำหนดระยะเวลาหมดเขตและย้อเจตจำนงที่จะลงนามในสนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอมันตะวันออก ถ้าฝ่ายตะวันตกปฏิเสธที่จะเจรจาด้วย สหรัฐอเมริกาจึงตีความหมายคำพูดนั้นว่าเป็นการลองเชิงทดสอบเจตนารมณ์ของฝ่ายโลกเสรี และสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจที่จะให้คำตอบในลักษณะของการเพิ่มงลประมาณทหารและเพิ่มศักยภาพทางทหาร รุสเซียจึงยืนบันทึกต่อสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันตะวันตก โดยแจ้งว่า ควรมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน และควรมีการเจรจาเรื่องการติดต่อสื่อสารกับเบอร์ลินตะวันตกและเรื่องสภานภาพของกรุงเบอร์ลินตะวันตก ในขณะเดียวกัน รุสเซียได้สั่งปิดทางหนีทีไล่ของกรุงเบอร์ลินตะวันออก เพื่อมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหลั่งไหลอกทางด้านนั้น ด้วยวิธีการสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่สิงหาคม 1961 กำแพงเบอร์ลินเป็นเครื่องชีชัดว่ารุสเซียได้เลิกล้มความตั้งใจเดิมที่จะให้มีการทำสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและได้ทำให้เบอร์ลินกลายเป็นเหยื่อที่น่ากลัวอันตรายยิ่ง
     ฝ่ายตะวันตกแตกแยกความคิดแดละเกรงสงครามจะอุบัติขึ้น จึนจึงต้องนิ่งเฉยต่อการที่รุสเซียละเมิดข้อตกลงที่พอตสดัม ยิ่งทำให้รุสเซียย่ามใจและข่มขู่มากย่งขึ้นที่จะแทรกแซงการติดต่อทางอากาศระหว่างฝ่ายตะวันตกกับเบอร์ลินตะวนตก และข่มขู่โดขการแสดงกำลังรถถังในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งย่อมทำให้เกิดเหตุปะทะกันได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้น รุสเซียยังประกาศที่จะทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศอีกเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งจะเป็นการทดลองอาวุธนิวเคบียร์ที่มีประสทิธิภาพสูงมากอยางไม่เคยทดลองกันมากอ่น การประกาศเช่นนั้นย่อมเป็นการข่มขวัญตะวนตกอย่างแน่นอนว่า ความขัดแย้งใดมไว่จะสำคัญหรือไม่ก็ตามสามารถลุกลามเป็ฯสงครามนิวเคลียร์ได้ ถ้ามหาอำนาจนิวเคบียร์เข้าเกี่ยวข้องในความขัดแย้งกนั้น ๆ ทั้งนี้ มีข้อควรคิดมิใช่น้อยว่า เหตุใดครุสเชฟจึงใช้กลยุทธข่มขู่เช่นนั้น ครุสเชฟอาจจะเชื่อว่า อังกฤษ องค์การสหประชาชริต และสหรัฐอเมริกามีความกลัวอย่างจริงจังว่ากลยุทธขุ่มขู่นั้นอาจจะเป็นจริง และฝ่ายตะวันตกอาจจะต้องถอยออกจากเบอร์ลิน เป็นเวลากว่า 15 ปี มาแล้วที่ชนชั้นผุ้นำรุสเซียได้รับทราบจากประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่ไห้ข้อวิจารณ์ไว้ว่า กองทัพอเมริกันจะไม่อยู้ในยุโรปนานเกิด 2 ปี นับจากสงครามโลกยุติลง ครุสเชฟเองก็ต้องการให้เรื่องนี้เป็นจริง เพราะในแวดวงผู้ปกครองรุสเซียเองก็มีความรู้สึกที่สับสนเมืองประกาศว่า รุสเซียพร้อมที่จะเสียงให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ด้วยเหตุเบอร์ลิน
    ในเดือนตุลา 1961 สภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียได้เปิดประชุมครั้งที่ 22 ทั่วโลกคาดว่าจะได้ข่าวการลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและจะมีการท้าทายกันด้วยเรื่องเบอร์ลิน แต่ประกาฏว่า ไม่มีวีแววเรื่องเช่นนั้น ครุสเชฟได้กล่าวในที่ประชุม “เราจะไม่ยืนกรานให้มีสนธิสัญญสันติภาพอย่างแน่นอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม สิ่งสำคัญคือ การวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ การขจัดซากเดนสงคราม การลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน นั่นคือปัญหาที่สำคัญที่สุดและจำเป็นอย่างยิ่ง” ณที่ประชุม ครุสเชฟยังได้ย้ำความสำคัญของปัญหาการกำหนดเขตปลอดนิวเคลียร์ในยุโรปและตะวันออกไกล ทั้ง ๆ ที่ครุสเชฟก็ทราบดีว่าเป็นไปมิได้ เพราะจีนกำลังผลิตอาวุธนิวเคียร์อยู่นอกเนหือการบังคับของรุสเซีย การหยิบยกประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ข้นมาพูดถึงนั้น แสดงชัดเจนว่า รุสเซยเองในด้านหนึ่งก็ต้องการสมานฉันท์ นายอันเดร โกรมิโก รัฐมนตรี่การต่างประเทศได้กล่าวในที่ประชุมนั้นว่า “ ประเทศของเราให้ความสำคัญแก่คุณลักษณะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสองยักษ์ใหญ่ ถ้าสองประเทศนี้รวมความเพียรอุรสาหะในการมุ่งสันติภาพแล้วใครจะหาญและใครจะอยู่ในฐานะที่จะคุกคามสันติภาพ”
     ผู้ที่ให้ความสนใจแก่สุนทรพจน์ของโกรมิโก มีเพียงสองประเทศ คือ จีนและฝรั่งเศสนอกนั้นเพิกเฉยหมด สไตล์การกล่าวสุนทรพจน์และเนื้อหาสาระล้วนสะท้อนคุณลักษณะของการทูตรุสเซียได้ว่า เมื่อไดที่รุสเซียเห็นความจำเป็นที่จะต้องประนีประนอมกับตะวันตกรุสเซียจะแสดงออกโดยวิธีการทูตอย่างคลุมเครือแฝงชีน้ำ ทว่าเปิดช่องว่าให้ตีความเป็นหลายแง่มุมไ แม้ปรารถนาสิ่งใด รุสเซียไม่บอกกล่าวแสดงออำโดยตรง ทว่าจะแสดงท่าที่ผลักดันให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายริเริ่มก่อนที่สมประสงค์ของรุสเซียเอง และมักไม่เปิดเผยจุดอ่อนของตนด้วยเมื่อครุสเชฟเจรจากับสหรัฐอเมริกา ครุสเชฟระมัดระวังมากที่จะให้เป็นที่เข้าใจว่า โลกคอมมิวนิสต์ทรงไว้ซึ่งเอกภาพไม่มีวันสั่นคลอน ความร้างฉานกับจีนจะถูกซ่อนเร้นไว้เพื่อมิให้อำนาจต่อรองเรื่องเยอรมันด้อยลง และรุสเซียจะเสริมส่งให้สหรัฐอเมริกาถลำลงในห้วงมหรรณฑแห่งวิกฤติการณ์

     เมื่อกำแพงเบอร์ลินได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ครุสเชฟก็พร้อมที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดเอง เมื่อเป็นผู้ก่อสถานการณ์ ย่อมเป็นผู้ระงับเอง ดังที่เขาได้ให้สัมภาษณ์นิตยสร นิวยอร์ค ไทม์ส ฉบับเดือนกันยายน และได้ส่งสารตเป็นการกลับถึงเคนเนเ สารนั้นได้ชี้แนะให้มีการเจรจาปัญหาคิวบาและลาว และขอเชิญเคนเนดี้ไปเยื่อนมอสโก สารที่มีถ่อยความรอมชอมย่อมแตกต่างจากพฤติกรรมของครุสเชฟในการสั่งปิดเมืองเบอร์ลินด้วยกำแพง
     ข้อเรียกร้องในสารนั้นทำให้วิกฤติการณ์เบอร์ลินยุติลง และก่อเกิดภาวะการผ่อนคลายควมตึงเครียดลงได้ โดยที่รุสเซียเป็นฝ่ายเสียหายที่ได้กระทำการขัดต่อหลักมนุษยธรรม ถึงกระนั้น รุสเซียำตอ้งปฏิบัติการเช่นนั้น เพราะรุสเซียหวาดวิตกมากเรื่องเยอรมันตะวันตกจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์และวิตกกังวลที่จีนเองก็กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ฐานะด้านยุทธศาสตร์สำหรับรุสเซียนับว่าอยู่ในขั้นน่าวิตกเพราะกระหนาบด้วยประเทศเพื่อบ้านที่ทรงพลานุภาพด้วยอาวุธนิวเคลียร์เช่นอย่างเยอรมันตะวันตกและจีน
     วิกฤติการณ์เบอร์ลินได้แสดงให้เห็นว่ารุสเซียอยู่ในภาวะยากที่จะวางตัวเป็ฯพอใจแก่โลกเสรีและดลกคอมมิวนิสต์ การรักษาภาพพจน์แห่งเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์นับว่าเป็นการจำเป็นเพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการเจรจากับโลกเสรี แต่ในขณะเดียวกัน โดยผูกพันต่ออุดมการณ์ปฏิวัติโลกตามที่จีนยืนกราน รุสเซียก็ต้องแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อโลกเสรีร ซึ่งก็เป็นการทำลายโอกาสที่จะมีการสมานฉันท์กับโลกเสรีซึ่งจะช่วยยุติปัญหาเยอรมันได้ รุสเซียต้องพยายามทำลายแวดวงวัฏจักรที่มีแต่ทางตันให้ได้โดยกำหนดแผนใหม่ แต่แผนนั้นกลับทำให้โลกใกล้สู่ภาวะสงครามนิวเคลียร์ยิ่งขึ้น
        ใน ค.ศ. 1962 รุสเซียได้ลำดับความสำคัญของนดยบายที่จะปฏิบัติดังนี้
- ป้องกันมิหใจนมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง หรือต้องควบคุมหรือจำกัดกำลังรบนิวเคลียร์ของจีน
- ป้องกันมิหใขอรมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งก็หมายถึงการที่รุสเซ๊ยต้องการให้มีสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมันทั้งสองฝ่าย เป็นการประกันเยอมันให้มีสองประเทศต่อไป และจำกัดศักยภาพทางทหารของเยรมันตะวันตก
      จุดมุ่งหมายของรุสเซียเช่นนั้นมิได้เป็นสิ่งที่โลกเสรีจะอ่นออกล่วงรู้ได้โดยตลอดโดยเฉพาะโลกเสรีไม่อาจจะประเมินได้ว่า รุสเซียมีความคิดประการใดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาวุธนิวเคลียร์กับการเมือง รุสเซ๊ยเองก็ตรองไม่ตกในเรื่องเช่นนั้น เพราะรุสเซียได้ตั้งโจทก์ตุ๊กตาที่หาคพตอบมิได้ว่า รุสเซียไม่ประสงค์ที่จะให้รัฐบริวารของตนมีอาวุธนิวเคลียร์แต่ก็เกรงว่า ถ้าเยอมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์แล้วโจมตีเยอรมันตะวันออก รุสเซียจะทำอย่างไรเมืองตองเผชิญกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะทดแทนอย่างสาสม ปัญหาสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเป็นไปได้ ทำให้รุสเซียต้องไตร่ตรองปย่งหนักว่า แม้จะชนะสงครามประเภทนั้น แต่ระบอบคอมมิวนิสต์เองจะอยู่รอดหรือไม่เป็นข้อควรคิด อีกประการหนึ่ง ถ้ามีการโจมตีมอสโกด้วยอาวุธนิวเคลียร์ รุสเซียจะแก้เกมส์ด้วยวิธีใด ปัญหาเยอรมันและปัญหานิวเคลียร์จึงเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันมาก รุสเซียตระหนักดีว่า แม้โลกเสรีจะมีอาวุธนิวเคลียร์ก็คงจะไม่ใช้เว้นเสียแต่จะถูกยั่วยุสุดขคดในโลกแห่งความแตกแยกเช่นนั้น การลดกำลังรบจึงดูจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติมิได้ แต่เป็นประโยชน์แก่รุสเซียในการโฆษณาชวนเชื่อ รุสเซียเชื่อมั่นว่าตนมีจิตประสาทที่แข็งแกร่งกว่าโลกเสรีมาก การแข่งขันกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นประโยชน์แก่รุสเซีย แม้ว่ารุสเซียจะมีอาวุธนิวเคลียร์น้อยกว่าแต่ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแข่งขันเช่นนั้น วอชิงตันเองเป็นฝ่ายวิตกมาก และได้มีการพิจารณาที่จะสร้างระบบป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ เป็นเหตุให้รุศเซียยิ่งเชื่อมั่นว่า โลกเสรีกลัวสงครามนิวเคลียร์อย่างมาก รุสเซียก็มีความหวาดวิตกมาก เมื่อเห็นว่าการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์เป็นจริง รุสเซียจึงสนใจที่จะให้มีกาลดกำลังรบ และการห้ามมีกลยุทธ์นิวเคลียร์ แม้จนถึงการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่เสีย การงดทดลองเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่คาดได้ว่าจะมีผลน้อย ปม้รุสเซียเคยเสนอในปี 1958 ให้มีการพักการทดลองในชั้นบรรยากาศ ในปี 1961 เหตุผลทางการเมืองและเทคนิคกระตุ้นให้รุสเซียเป็นฝ่ายทดลองในชั้นบรรยากาศอีก เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า จะสามารถป้องกันจีนและเยอรมันตะวันตกมิให้มีอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)