ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า การศักษาปัญหาขั้นพื้นฐานของแต่ละระบบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใด ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าอยางใดบ้างเพื่อเป็นการศึกษาปัญหาขั้นพื้นฐานของแต่ละสังคมที่มีส่วนแตกต่างและคล้ายคลึงกัน
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจกันมากโดยเฉพาะรูปแบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมาสเซ๊ยเร่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก ในปี 1930 และหลังจากนั้น 20 ปีจึงเกิดกลุ่มประเทศบริวารเกิดตามมา
การวิเคราะห์พื้นฐานรูปแบบของระบบเศรษฐกิจ ต้องทราบปัจจัย คือ ชาตินิยม สังคม,ความสัมพันธ์กับวิชาแขนงอื่นพอควร,ปรัชญา,โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ
หน้าที่ของกลไกทางเศรษฐกิจ คือ ตัดสินว่าใคร หน่วยใด จะเป็นผุ้มีอำนาจตัดสินใจด้านเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจ การบริโภค การผลิต รวมั่งตัดสินจในรูปใด โดยมีเป้าหมายวัตถุประสงค์เป็ฯสำคัญ โดยเป้าหมายคือ
.. จะทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
..ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็ฯธรรมให้เท่าเทียมกัน
.. ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง
สังคมนิยม
สังคมนิยม หมายถึง ชุมชนทางเศรษฐกิจที่ยอมรับกรรมสิทธิและปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยเน้นหนัก หรือการผลิตอุตสาหกรรมในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นของส่วนรวม การดำเนินการมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ในแง่ว่าเพื่อให้รายได้เท่าเทียมกัน และในขณะเดียวกันระบบก็มิได้ทำลายเสรีภาพของบุคคลในการบริโภค การอาชีพแบ่งเป็นสังคมนิยมภายใต้ระบบเศรษฐกิจมีการวางแยปส่วนกลาง และสังคมนิยมประชาธิปไตย
ระบบทุนนิยมไม่สามารถสร้างอุปสงค์รวมให้ได้เพียงพอ แล้วในขณะเดียวกัน ไม่สามารถตอบสนองได้เสมอไป และพบว่าบางครั้งอุปสงค์รวมมากกว่าอุปทาน ผลจะทำให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกลไกของราคาไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ระบบนายทุนไม่สามารถแห้ไขได้เพราะฉะนั้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามาควบคุมราคา การผลิต กำหนดอุปทานรวม และค้านว่าการควบคุมราคา การผลิต กำหนดอุปทานรวม และค้าวาการควบคุมราคา โดยอาศัยนโยบายการเงินและการคลัง ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ จึงต้องมีการปฏิรูปพื้นฐานทางเศรษฐกิจก่อน
ในระบบนายทุนทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจ เกิดความไม่เท่าเทียมทั้งทางการศึกษาและการเงิน เน้นบทบาทเอกชน ซึ่งระบบสังคมนิยมโจมตีว่าให้เสรีภาพแก่เอกชนมากเกินไปการแข่งขัน การโฆษณา เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ระบบเศรษฐกิจเน้นหนักด้านสินค้าอุปโภคบริโภค มากว่าสินค้าทุนซึ่งมีผลสะท้อนไปถึง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ทางแก้ไขคือ แก้ไขระบบของสังคมเสียใหม่
การควบคุมเศรษฐกิจในระบบสังคมนิยมทำได้ 2 ทางคือ การควบคุมทางด้านราคาและการควบคุมทางด้านปริมาณการผลิตแต่ละชนิด โดยรัฐเข้าควบคุมการผลิตทั้งหมด โดยมีหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลาง เข้าทำการควบคุม
การวางแผนจากส่วนกลาง
เร่มจะเด่นชัดเมื่อประเทศเมื่อรัสเซียเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบสังคมนิยมแบบบังคับ ส่วนกลางจะเป็นผู้จัดสรรปัจจัยการผลิตให้เกิดความสมดุลกัน
ปัจจุบันประเทศที่มีการวางแผนจากสวนกลาง ได้กลายเป็นหลักและวิธีปฏิบัติ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สแกนดิเนเวย ฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายของการวางแผนจากส่สวนกลางคือ มุ่งพัฒนาอัตราการขยายตัวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มุ่งให้ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ การจะบรรลชุผลตามแผนเศรษฐกิจส่วนกลางที่ได้วางไดว้ขึ้นอยู่กับชนิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้วางไว้ถายใต้การปกครองรูปแบบสังคมนิยม สังคมนิยมประชาธิปไตย ถ้ารูปแบบเศรษฐกิจเป็นแบบทุนนิยม แผนที่ออกมาจะเป็นในรูปแบบแผนของการชี้แนะ มากกว่าสร้างแบบขึ้นมามิได้บังคับต้องเป็นไปตามแผนเพียงแต่เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ต้องการให้การเจริญเติบโตเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีสมดุล ระบบทุนนิยมจะรวบรวมข่าวสารข้อมูลจากหน่วยผลิตทุกระดับเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการตัดสินใจที่จะวางแผนการผลิต การลงทุนในอนาคตได้
การวางแผนจากส่วนกลางเป็นความตั้งใจที่จะให้เกิด ความกลมกลืน ความประสานงานระหว่างหน่วยผลิตกับการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของตน รัฐบาลกลางจะรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน การบริโภค การเคลื่อนไหวของสภาวะตลาด ดัชนีราคาสินค้า รัฐบาลสมารถจะชี้แนะปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหารเศรษฐกิจ ถ้าการกระทำเช่นนี้ประสบผลสำเร็จถือว่าเป็นส่วนดีของระบบเศษฐกิจที่เกิดการประหยัดต้นทุน ไม่เกิดความซ้ำซ้อน ในแต่ละหน่วยงานอันจะเกิดการไม่ประหยัดทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น
การวางแผนจากส่วนกลาง ผสมผสานกับการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง
จะเปิดโอกาสให้หน่วยผลิตเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการวางแผนจากส่วนกลาง กระจายความรับผิดชอบไปยังหน่วยงานภูมิภาคหรือองค์กรภูมิภาคด้วยเหตุผลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับหน่วยผลิต โดยมีโครงสร้างการบริหารดังนี้
การกระจายอำนาจการบริหาร ยุคครุสซอฟ โครงสร้างการปบริหาร..มีจุดมุ่งหมายเพ่อเป็นแรวทางในการสร้างแรงจูงใจ ยอมรับว่า “กำไร” เป็นหน่วยงานบรรทัดฐานที่สำคัญต่อหน่วยผลิต เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงขีดความสามารถของหน่วยผลิตรัฐพยายามก็จะไม่ส่งเสริมการอุดหนุนให้แก่หน่วยผลิต
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม รูปแบบของการกระจายอำนาจการวางแผน ยังคงสงวนให้ “ราคาสินค้า”ถูกกำหนดโดยตรงมาจากผุ้บริหารจากการวางแผนจากส่วนหลาง แต่มีข้อดีตรงที่ว่า ราคาสินค้าที่กำหนดให้นั้นจะใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายในการผลิต ราคาสินค้าจะมีการปรับให้เกิดการสมดุลกับท้องตลอดอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการเลือการบริโภคแต่ถึงอย่งไร การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็ยังไม่เกิดขึ้นในรูปแบบนี้
แม้นว่าจะมีการวางแผนจากสวนกลางแบบกระจายอำนาจ แต่กลไกราคายังไม่มีโอกาศเข้ามามีบทบาทได้อย่างเต็มที่
ยูโกสลาเวียแม่แบบ “Democratic Socialism”
ยูโกสลาเวียนำกลไกตลาดมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ ยูโกสลาเวยเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่เคยตกอยู่ในอิทธิพลของกลุ่มคอมมิวนิสต์ ในฐานะประเทศบริวาร โดยมีรัสเซียเป็นหัวหน้ากลุ่ม ภายหลังขัดแย้งกับรัสเซียจึงแยกตัวออกมา
ระบบเศรษฐกิจยูโกสลาเวียมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นคอมมิวนิสต์ แบบประชาธิปไตย ได้พยายามต่อสู้ขจัดความขัดแย้งและการครอบงำ ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ จากรัสเซีย แม้จะเป็นคอมมิวนิสต์ แต่การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจอาศัยลาด และกลไกต่างๆ อยู่
ยูโกสลาเวียมีการดำเนินรูปแบบเศรษฐกิจแบบ Democratic Socialism ยูโกสลาเวียได้พยายามที่จะต่อสู้ ขจัดการขัดแย้งการครอบงำทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ ในที่สุดยูโกสลาเวียสามารถหลุดพ้นจากรัสเซียโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ยูโกสลาเวียยังคงไว้ซึ่งความเป็นคอมมิวนิสต์ การดำเนินเศรษฐกิจยูโกสลาเวียแตกต่างไปจากประเทศอเมริกาปละปรเทศอื่น ๆ ในแถบยุโรปตะวันตก ยูโกสลาเวียยังคงรักษาไว้ซึ่งความเป็ฯประเทศคอมมิวนิสต์ ทั้ง ๆ ที่การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจ จะยังคงอาศัยกลไกต่าง ๆ ในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ
ยูโกสลาเวียก้านการปกครองเป็นรูปแบบคอมมิวนิสต์ แต่ด้านการบริหารด้านเศรษฐกิจเป็นปบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสด้านการให้เสรีภาพด้านการผลิตการบริหาร
ยูโกสลาเวียแยกตัวจากรัสเซีย มีความจำเป็นต้องพึ่งตนเองโดยอาศัยความร่วมือทางด้านกรรมกร เพราะฉะนั้นขาดความช่วยเหลือจากรัศเซีย ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ด้านทุน โดยอาศัยคนงานเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะนำเศรษฐกิจให้อยู่รอด ซึ่งเป็นที่มาของการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง
สาระสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบยูโกสลาเวียถือเป็นระบบเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตย แม้รัฐบาลจะเข้ามามีส่วนร่วมคุมแต่รัฐจะเข้ามายุ่งดดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ
ระบบเศรษฐกิจของยูโกสลาเวีย เน้นความสำคัญของประสิทธิภาพการผลิตมากเพราะการที่อุตสาหกรรมของยูโกสลาเวียจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับตลาดของต่างประเทศอื่นๆ ได้ และให้การผลิตภายในประเทศเพียงพอ
ลักษณะพิเศษของเศรษฐกิจยูโกสลาเวีย
ความคิดที่ขึ้นค่าแรงงานของกรรมกร จัดการโรงงานที่เกิดขึ้นนี้มาจากเหตุผลที่ว่ากรรมกรหรือกลุ่มของกรรมกรย่อมรู้ปัญหาต่าง ๆ ของโรงงานได้ดีหว่ารัฐ กรรมกรในฐานะผู้บริหารจะได้ดูแลความมั่นคง และการครองชีพที่ดีพอให้แก่กรรมกรด้วยกัน ขจัดการเอาเปรียบและถือว่ากรรมกรเป็นคนต่างชั้น
สาเหตุที่ยูโกสลาเวียตีตัวออกห่างจากรัสเซีย เพราะการดำเนินเศรษฐกิจตามแบบรัสเซียก่อให้เกิดปัญหา
ลักษณะพิเศษในระบบเศรษฐกิจยูโกสลาเวียคือ รัฐเป็นเจ้าของหน่วนผลิตทุกหน่วย แต่การจ้างทำงานเป็นของกรรมกรของโรงงาน โดยให้กรรมกรเป็นผู้บริหารโรงงาน โดยที่โรงงานแต่ละแห่ง จะมีสภากรรมกรของโรงงาน ที่ได้รับเลือกตั้งโดยกรรมกรของโรงงานนั้น และดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี จะทำหน้าที่เลือกคณะผู้บริหารงานเพื่อจะมาทำหน้าที่บริหารงานตามนโยบายที่สภากรรมกรได้วางไว้ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของรัฐบาลด้วย การปฏิบัติหน้าที่เพิ่มนี้ กรรมกรจะไม่รับเงินเพิ่มแต่อย่างใดคงได้แต่เงนิเดือนตามปกตอก่อนได้รับเลือก
โรงงานแต่ละแห่งจะมีหัวหน้าผู้จัดการ Chief Nanager คนหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่บริหารประจำวันต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาตำบลที่โรงงานนั้นตั้งอยู่ จะมีการแข่งขันตำแหน่งผู้จัดการจากบุคคลทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นคนงานในโรงงานนั้น จึงทำให้ผู้จัดการไม่อยู่ในบังคับของสภากรรมกรโดยเด็ดขาด แต่มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
ระบบราคาในยูโกสลาเวีย ไม่สามรถจะดำเนินตามกลไกตลาดได้ และยังคงเป็นปัญหาในยูโกสลาเวีย ทางด้านการควบคุมทุน และการตัดสินใจ ยังคงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่มิได้ผ่าน “ตลาดอัตราดอกเบี้ย”
ระบบสังคมประชาธิปไตยแบบอังกฤษ
รูปแบบเศรษฐกิจมีการควบคุมการดำเนินเศรษฐกิจการคลังรวมอยู่ด้วยกันภายใต้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมประชาธิปไตย จะยึดถือหลักกลไกทางการเมือง โดยอาศัยกฎหมายผ่านสภาเป็นองค์กรที่จะให้มีการรับรองประเทศ เปลี่ยนไปสู่ประเทศสังคมนิยม ประเทศแม่แบบคือ อังกฤษ
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเกิดขึ้น ประเทศอังกฤษมีเศรษฐกิจดี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษประสบปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียความเป็นผุ้นำทางเศรษฐกิจ ประมาณการส่งสินค้าไปขายยังตลาดต่าประเทศลดลง ประสบปัญหาคู่แข่งขันรายใหม่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศลูกค้าผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า ..อังกฤษได้รับความเสียหายจากสงครามมาก รายจ่ายจำนวนมากมายมหาศาลที่ใช้ทำสงคราม การลงทุนต่างประเทศหยุดชะงัก รัฐบาลต้องเข้าแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจทรุดโทรม โดยใช้ “ระบบเสรีนิยม”ระบบนี้ส่งเสริมการค้าเสรี เอกชนดำเนินการค้าได้เต็มที่รัฐบาลใช้มารตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเก็บภาษีขาเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในอัตราที่สูง
ในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการปรับปรุงวิทยาการที่ทันสมัย นำเอาเครื่งอจักรมาใช้ในการผลิตแทนแรงงาน ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม คาร์ล มาร์กซ์ได้แนวความคิดจากอังกฤษ นักเศรษฐศาสตร์ของอังกฤษคือ ได้เห็นว่าการที่เอกชนยังมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินต่าง ๆ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคมเกิดขึ้น ใครมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินมากบุคคลนั้นจะมีความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดน ได้โจมตีการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันระวห่างเอกชน เป็นการนำความชั่วร้ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เกิดการขูดรีด เกิดการเอารัดเอาเปรียบ สร้างอำนาจการผูกขาด ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาที่จะให้เกิดในระบบ การขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกิดขึ้นหากกรรมกรจะมารวมตัวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อขจัดการเอรัดเอาเปรียบ การรวมตัวของกรรมกรครั้งนี้เป็นที่มาของพรรคกรรมกรในเวลาต่อมา
กรรมกรแต่ละกลุ่มจะรวมตัวกันเป็น เทรด ยูเนียนขนาดเล็กๆ รวมกลุ่มกันเป็นพรรคขนาดใหญ๋เกิดขึ้น นับตั้งแต่ปี 1924 เป็นต้นไป พรรคแรงงานได้รับการเลื่อกตั้งเข้าบริหารประเทศเป็นครั้งแรก ตามประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ เมื่อใดที่พรรคกรรมกรได้มีโอกาสเป็นรัฐบาล เมื่อนั้นจะมีแนวโน้มที่จะโอนกิจการขั้นพื้นฐานเข้าเป็นของรัฐ
ระบบเศรษฐกิจของอังกฤษเป็นแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีการโอนกิจการต่าง ๆ เข้าเป็นของรัฐแต่ได้ใช่วิธีเผด็จการ แต่อาศัญวิธีการทางด้านประชาธิปไตย…
ระบบทุนนิยม
โครงสร้างระบบทุนนิยมมีการพัฒนาโดยได้รับแนวความคิด นักเศรษฐศาสตร์ตามลำดับดังนี้ คือ อดัมสมิธ คลาสสิค และเคนส์
อดัม สมิธ เป็นผู้มีบทบาทในการวางโครงสร้างแบบทุนนิยม รุปแบบระบบทุนนิยม บรรดาปัจจัยการผลิตทั้งหมดจะตกอยู่กับกรรมสิทธิส่วนบุคคล เน้นถึงความสำคัญของการประกอบการวิสาหกิจแบบเสรี โดยที่รัฐบาลมไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว
แนวความคิดการดำเนินกลไกเศรษฐกิจของคลาสสิค จะเป็นไปโดยกลไกอัตโนมัติ ไม่ว่าระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปใด ราคาจะเป็นตัวแข้ปรับไม่ว่าจะเป็นด้านอัตราดอกเบี้ย ค่าเช่า ค่าจ้าง การมีงานทำ ขณะใดขณะหนึ่ง ที่ระบบเศรษฐกิจการว่างงานเกิดขึ้นระดับค่าจ้างก็จะลดลงจนกว่าเข้าจุดสมดุล การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นแนวความคิดของคลาสสิค ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐได้นำแนวความคิดแบบนี้มาใช้ในกลไกเศรษฐกิจตรบเท่าหลักสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แนวความคิดของเคนส์ มามีอิทธิพลต่อการแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจตกตำได้สำเร็จ
เคนส์ ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของคลาสสิค การปรับตัวของอัตราค่าจ้าง โดยอาศัยกลไกราคา ไม่ประสบผลสำเร็จ ยังไม่สามารถในการแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1932 ปรากฏว่าการใช้มาตรการปรับตัวดดยอัตโนมัติ และกลไกราคา ไม่ช่วยแขสภาวะการว่างงานมีจำนวนมากในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เลย รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าแทรกแซง เคนส์ ได้เสนอให้นำนโยบายการเงิน และนธยบายการคลัง มาใช้ ในการควบคุมอัตราดอกเบี้ย เป็นการปิจารณาด้านเงินเฟ้อ การว่างงานซึ่งจัดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ในระยะเริ่มแรกมีการคัดค้านเกิดขั้น เคนส์ แก้ไขเศรษฐกิจทั้งระบบ กล่าวคือ มองในแง่มหภาค ซึ่งในระยะต่อมากลาเป็นที่ยอมรับเมื่อสหรัฐอเมริกามีบทบาทด้านอำนาจในทางเศรษฐกิจแทนอังกฤษ
ข้อดีของระบบทุนนิยม
- สามารถแก้ไขสภาวะเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว จัดเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความยือหยุ่นดีกว่าบบเศรษฐกิจแบบอื่น
- มาตรฐานการครองชีพ ระบบทุนนิยมตั้งความหวังไว้ว่าจะยกระดับมารตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดีขึ้นพร้อม ๆ กับการเพื่อของประชากร
- พลังในทางประกอบการ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะของสังคมที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้ดีมากเพียงไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผุ้ประกอบการ ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นของระบบทุนนิยม
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ระบบทุนนิยมจะมีสถาบันต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้บุคคลมีความต้องการที่จะค้นพบวิธีการต่างๆ เพื่อจะลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งมีผลต่อการก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมโอกาสของแต่ละบุคคล จุดเด่นระบบทุนนิยมเน้น ภายใต้ระบบทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเหรือบริษัทก็ตามจะอาศัยกำไรเป็นแรงจูงใจในการผลิต ตลอดจนแสวงหามาตรฐานการครองชีพที่สูงสุด สนับสนุนในภายใต้ระบบมีการเสียง โดยมีกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายอันสำคัญ
ข้อบกพร่องระบบทุนนิยม
- ความไม่เท่าเทียมการกระจายรายได้ สาเหตุการนำไปสู่ความไม่เท่าเทียม ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกันอาทิ ชนิดของปัจจัยการผลิตสามารถเกิดมูลค่าเพิ่มได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความสามารถของแรงงาน สถาบันทรัพย์สินส่วนบุคคล การสืบทอดมรดก เป็นต้น ซึ่งนำมาสู่ผลกระทบอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ จะกอ่ให้เกิด โอกาสในการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน,สถาบันพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ไม่อาจจะช่วยให้มีสวัสดิการสูงขึ้นได้,คุณต่าของชีวิตกับคุณค่าของเงิน ควาสำเร็จของธุรกิจเอกชนในระบบทุนนิยม วัดด้วยผลกำไรที่ได้รับ ราคาสินค้า ต้นทุนการผลิต เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเงินตราล้วนแต่มองข้ามสวัสดิการมนุษย์จะได้รับ
- นำไปสู่การผูกขาด ระยะเริ่มแรกจะมีการผลิตในรูปแบบของการแข่งขัน ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่มีบทบาทในการกำหนดราคา กลไกราคาจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า แต่ระยะหลังต่อมาผู้ผลิตรายใหญ่จะพยายามใช้วิถีทางของการได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจ เข้าช่วงชิงการผลิตอาจจะมาใน สภาพการผูกขาดราคาสินค้าที่กำหนด จะมีราคาสูงกว่าระบบราคาในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การผูกขาดย่อมก่อให้เกิดการแจกจ่ายทรัพยากรการผลิตแบบไม่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เพราะราคาต่อหน่วยสุดท้ายที่ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้า จะสูงมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดจากการผลิต กำไรเช่นนี้มิได้เกิดจากประสิทธิภาพในการผลิต แต่เกิดจากสภาพการผูกขาด