วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Richard M. Nixon (part 1)

     สหรัฐอเมริการภายใต้การนำของประธานนาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน Richard M. Nixon 1969-1977 ประธานารธิบดี จิมมี่ คาเตอร์ Jimmy Carter 1977-1981ความคลุมเครือน่าสงสัย มัวหมองอับจนและไม่แนนอนในทศวรรษที่ 1970 ปรากฏเด่นชันทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม สืบเนื่องมาจากคดีอื้อฉาววอเตอร์เกทปี 1972 ซึ่งเกิดจากพรรคพวกของประธานาธิบดีนิกสันส่งคนไปทำจารกรรมในอาคารวอเตอร์เกทซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการเลือกตั้งของพรรคเดโมเเครต ซึ่งประธานนาธิบดีรับรู้เรื่องราวและรู้ตัวผู้สังการแต่ปิดังเรื่องราวและปกป้องพรรคพวกผู้รทำผิด ทั้งใช้อำนาจประธานาธิบดีเกินขอบเขตคือปลดและโยกย้ายคณะผู้สอบสวน ตลอดจนไม่ให้ความร่วมมือขัดขวางขบวนการยุติธรรมไม่ยอมมอบเทปตาคำสั่งศาล ประธานาธิบดีรู้ตัวว่าผิดจริงจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นประธานนาธิบดี ก่อนจะถูกฟ้องร้อง Impeachment ถอดถอนจากวุฒิสภาออกจากความเป็นประธานาธิบดี
     เมื่อเจอรัล อาร์.ฟอร์ด ขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้ประกาศให้อภัยแก่อดีตประธานาธิบดีนิกสันที่มีส่วนพัวพันในคดีอื้อฉาววอเตอร์เกท อันมีผลให้คนอเมริกันขาดศรัทธาไม่ไว้วางใจในประธานาธิบดี นักการเมืองและพรรคการเมือง ความมัวหมองทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ตลอดช่วงทศวรรษที่ 70 โดยรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำซบเซา ปัญหาเงินเฟ้อ คนว่างงานเพื่มขึ้น และภาวะการขาดแลนน้ำมันอย่างรุนแรง ความมัวหมองทางสังคมเกิดจากชนกลุ่มน้อยก่อความวุ่นวายเพ่อเรียกร้องขอความช่วยเหลือดูแลจากรัฐบาลและเรียกร้องสิทธิที่ควรได้รับการยอมรับจากสังคม ชนกลุ่มน้อยมีหลายกลุ่มเร่มจากอเมริกันผิวดำเรียกร้องเลิการแบ่งแยกเหยีอดผิดและร้องของการมีสิทธิเท่าเทียมกันเช่นอเมริกันผิวขาว อเมริกันอินเดียนมีการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อกรบวนการอเมริกันอินเดียนเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกันยอมรับในสทิธิของอเมริกันอินเดีย  และยอมรับความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินคือที่ดินของอเมริกันอินเดียนเช่นอเมริกันผิวขาวได้รับจากรัฐบาลอเมริกัน เม็กซิกันอเมริกัน จากเม็กซิโกเข้ามาในสหรัฐอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมายช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นแรงงาน..นอกจากนี้แม็กวิกันอเมริกายังรวมตัวจัดตั้งองค์กรทางการเมือง ร่วมมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถ่นและระดับมลรัฐ ชาวเปอร์โตริโก ซึ่งได้รัการยอมรับเป็นประชากรชาวอเมริกันส่วนใหญ่อพยพเข้าตั้งถ่นฐานในนิวยอร์กมีปัญหาเรื่องภาษา ความยากจน มีการศึกษาน้อยและว่างงาน มีสภาพความเป็นอยู่ไม่ต่างจากอเมริกันผิวดำ ชาวเปอร์โตริโกต้องการให้รัฐบาลอเมริกันช่วยจัดหางานให้ เพื่อการมีสภาพเป็นอยู่ที่ดีข้น ชาวคิวบา อพยพจาคิวบาเข้ามาตั้งมั่นที่เมืองไมอามี่ ในฟลอริดา ชาวคิวลาในฟลอลิดา ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ มีชีวิตความเป็นอยู่ดี มักตกงานหรือได้งานบริการระดับต่ำ กลุ่มสตรีอเมริกัน ภายใต้การนำของเบ็ทที ไฟรเดน ทำการจัดตั้งองค์การสตรีแห่งชาติ เรียกร้องความเสมอภาคแก่สตรีในการเข้าทำงานโดยไม่ยึดเพศเป็นตัวกำหนด  เรื่องมลภาวะเกิดจากการเติบโตอย่งรวดเร็วของอุตสาหกรรมและการเพ่มมากขึ้นของประชากรทำให้สภาวะแวดล้อมสกปรก กล่าวคืออากาศปกปรกเพราะควันจากโรงงานและรถยนต์ปลายทศวรรษที่ 60 ชาวอเมริกันเรียกร้องให้มีการควบคุมมลพิษ รัฐบาลผ่านกฎหมายกำจัดมลภาวะหลายฉบับแต่แก้ไขไม่สำเร็จ
      ประธานาธิบดี ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน
เคยเป็นรองประธานาธิบดีในสมัย ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานนาธิบดีนิกสันเน้นงานด้านการต่างผระเทศมากกว่างานบริหารภายในประเทศ ซึ่งมีส่วนอย่างมากในอันคลี่คลายความตึงเครียดของโลก ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเกิดจากปัจจัยหลักสองประการคือหนึ่งปรธานาธิบดีนิกสันมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในเรื่องการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีผู้ช่วยที่ความรู้วามสามารถคือ ดร.เฮนรี่ เอ. คิสซิงเจอร์ กล่าวคือการแสวงหาแนวทางยุติสงครามเวียดนาม สร้างคามสัมพันะอันดีกับจีนโดยเดินทางไปเยือนจีนในปี 1972 สาม สหรัฐฯลดความตรึงเครียดกับรัสเซียโดยการเยื่อนรุสเซียมีการร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ปี 1972
     เข้าร่วมในสงครามเวียดนามโดยการสู้รบในสงครามตัวแทนในขณะที่ฝ่ายเวียดนามเหนือมีรุสเซียและจีนเป็นผู้การสนับสนุนกำลังด้านอาวุธยุทธปัจจัย สงครามดำเนินอยู่เป็นเวลา 8 ปี ด้วยข้อตกลงหยุดยิงปี 1973 เป็นการยุติบทบาทการร่วมสู้รบของกองกำลังอเมริกัน สงครามเวียดนามยุติลงในวันที่ 21 เมษายน 1975 โดยเวียดนามใต้พ่ายแพ้คอมมิวนิสต์เวียดกงและเวียดนามเหนือ ทหารอเมริกันเสียชีวิตเกือบหกหมืนคน บาทเจ็บกว่าสามแสนนาย สูญเสียงินในสงครามกว่าร้อยห้าสิบล้านเหรียญยูเอส. ทหารเวียดนามใต้เสียชีวิตในสงครามราวสองแสนห้าหมือนคน ทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงประมาณล้านกว่าคน เวียดนามใต้ถูกนำรวมกับเวียดนามเหนือภายใต้ชื่อประเทศเวียนามและยอมรับลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ ไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมิน ลาวและกัมพูชากลายเป็นชาติคอมมิวนิสต์
  
  ความสัมพันอันดีกับจีน สหรัฐไม่การรับรองในเอกราชของประเทศสาธารณรับประชาชนจีนและเรียกร้องสาธารณรับประชาชนจีนว่าจีนคอมมิวนิสต์หรือจีนแดง และยับยั้งทุกครั้งเมือสาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกันให้การรบรองในเอกราชของสาธารณรัฐจีน จัดตั้งที่เกาะไต้หวันมีกรุงไทเปเป็นเมืองหลวงโดยกลุ่มจีนประชาธิปไตยภายใต้การนำของเจียง ไค เชค จีนคอมมิวนิสต์มีเพียงรุสเซียเป็นพันธมิตร
     สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นต้องเสริมสร้างความสัมพันะอันดีกับจีนด้วยเหตุผลประการที่หนึ่งเพื่อแสดงการยอมรับในเอกราชของจีนคอมมิวนิสต์ สองเพื่อให้จีนคอมมิวนิสต์ลดหรือเลิกหนุนเสริมเวียดนามเหนือ และสามเพื่อให้จีนคอมมิวนิสต์และรุสเซียหวาดระแวงกันเองในความสัมพันะที่มีต่อสหรัฐฯ และเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนคอมมิวนิสต์ สหรัฐกำหนดแนวทางสร้างความสัมพันะกับจีนคอมมิวนิสต์..
     ลดความตรึงเครียดกับรุสเซียโดยการเดินทางเยื่อนรุสเซียในเดือนพฤษภาคม 1972
การเยือนรุสเซียนำสู่การลงนามร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียในสนธิสัญญาจำกันอาวุธยุทธศาสตร์ ปี 1972 และพัฒนาความสัมพันะด้านการค้าความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และรักษาสภาพแวดล้อม เหตุที่มาของการเยือนรุสเซียเนื่องจากรุสเซียช่วงนี้ภายใต้การนำของ ลีโอนิค ไอ.เบรสเนฟ เศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก รุสเซียจึงเห็นความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายสร้างความสัพันธ์อันดีกับกลุ่มประเทศโลกเสรีและผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างตะวันออกและตะวันตก ภายใต้ชื่อเดทานเต้ ตัวแทน 62 ชาติทั้งที่มีนิวเคลียร์ในครอบครองและไม่มีนิวเคลียร์ในครอบครองรวมทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และรุสเซยได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาไม่เผยแพร่นิวเคลียร์ และชาติที่ยังไม่มีนิวเคลียร์ในครอบครองจะหยุดการคิดค้นนิวเคลียร์
    ยุติปัญหาเบอร์ลินด้วยข้อตกลงปี 1971 สืบเนื่องจากในวันที่ 21 กันยายน 1949 ดินแดนเยอรมันในส่วนทางตะวันตกภายใต้การดูแลของสามชาติตะวันตก ประกาศจัดตั้งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอมนีหรือเยอรมันตะวันตก มีกรุงบอนน์เป็นเมืองเหลวง ดินแดนเยอมนีในส่วนทางตะวันออกภายใต้การดูแลของ
รุสเซียประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีเหรือเยรมนีตะวันออกเป็นเมืองหลวงในส่วนเบอร์ลินตะวันตก คงมีกองกำลังสมชาติประจำการอยู่ เพราะเศรษฐกิจตกต่ำและไม่พอใจในการปกครองในลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้คนในเยอรมันตะวันออกพากันอพยพเข้าเยอรมันตะวันตก อันเป็นกาบ่งชี้ถึงความล้มเหลวในเศรษฐกิจและการปกครองของเยอรมันตะวันออก เป็นผลให้ในเดื่อสิงหาคม รัฐบาลเยอมันตะวันออกสร้างกำแพงเบอร์ลินกั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกและเยอรมันตะวันออก ขณะเดียกันรัฐบาลเยอมันตะวันออกและรุสเซียภายใต้การนำของครุสซอฟประกาศขู่จะปิดทุกเส้นทางคมนาคมจากเยอรมันตะวันออกสู่กรุงเบอร์ลินตะวันตก เพื่อบีบกองกำลังสามชาติตะวันตกให้ถอนออกจากเยอรมันซึ่งเป็นการเพิ่มความตรึงเครียดระหว่งโลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรี
     เมื่อรุสเซียอยู่ภายใต้การนำของลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ผุ้ยึดมั่นในนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรี นำสู่การแก้ไขปัญหาเบอร์ลินในปี 1971 ด้วยข้อตกลงเบอร์ลินปี 1971 กำหนดทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกา และรุสเซีย ยุติการคุกคามแทรกแซงด้านการคมนาคมระหว่างกรุงเบอร์ลินและเยอรมันตะวันตก รวมทั้งให้การยอมรับในเอกราชของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอมันและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...