Case study Russia & China

     ความสัมพันธ์ระหวางจีนกับรุสเซียซึ่งต่างก็ชื่นชมว่าเป็นความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นลึกซึ้งนั้นจะถึง
จุดจบเร็วเช่นนี้ และจบลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ต่างฝ่ายต่างประณามอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ทำลายความสัมพันธ์ต่างโฆษราชวนเชื่อชักจูงให้บรรดาประเทศใหญ่น้อยทั้งในและนอกโลกคอมมิวนิสต์ให้สนับสนุนฝ่ายตนและเป็นปฏิปักษ์ต่ออีกฝ่าย ต่างฝ่ายต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะแสดงในใครต่อใครได้รู้ว่า ฝ่ายตนเป็นฝ่านมีสัจธรรมโดยเปิดเผยสัมพันธภาพระหว่างกันแต่อดีตให้เนที่ปรากฎ หลักฐานเอกสารการติดต่อกันในทุกรูปแบบทุกลักษณะที่มีต่อกันได้ถูกตีพิมพ์เปิดเผยออกมา แล้วต่างฝ่ายต่างก็กล่าวหาวาอีกฝ่าย “สาวไส้ให้กากิน” และเป็นฝ่ายบ่อนทำลายความสามานสามัคคีของโลกคอมมิวนิสต์
     ความร้าวฉานอย่างรุนแรงเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญมากในวงการเมือง ที่สะท้อนผลไปทั่วโลกมากที่สุด อีกทั้งอำนวยประโยชน์แก่ฝ่ายตรงข้าม คือ “โลกเสรี”อย่างที่สุด ซึ่งฝ่ายโลกเสรีมีกาตื่นตัวเรียนรู้วิเคราะห์วิจัยความแตกร้าวและคาดคะเนรูแบบความสัมพันธ์ในอนาคตของสองมหาอำนาจในโลกคอมมิวนิสต์ไปต่าง ๆ นานา การเปิดเผยหลักฐานระหว่งกันต่อชาวโลกได้ขจัดความสงสัยของผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของทั้งสองประเทศนี้ไปได้อย่างสิ้นเชิง  และสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วสัมพันธภาพของสองมหาอำนาจโลกคอมมิวนิสต์ตมีลักษณะอย่งไร และเหตุใดจึงแตกกัน….
    

     ภาวะสงครามเย็นสืบเนืองจากอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน อุดมการมีความหมายพลิกประวัติศาสตร์ มหามิตรร่วมอุดมการณ์จะเป็นปฏิปักษ์กันนั้นเป็นเรื่องยากที่จะมีใครเชื่อในทศวรรษที่ 1960 แต่เมื่อความจริงปรากฎณ์ช่วงต้นปี 1970 เป็นต้นมา ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างแท้จริงของสองอำนาจร่วมอุดมการณ์และมีการวิเคราะห์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายถึงสาเหตุเเห่งการเป็นปฏิปักษ์กัน การศึกษาย่อมต้องอาศัยประวัติศาสจร์ความสัมพันธ์ของทั่งสองประเทศเป็นหลักสำคัญ รุสเซียมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างไร ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในลักษณะใด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การที่ความแตกแยกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แลย่อมถูกลิขิตให้เป็นไปเช่นนั้นด้วยอานุภาพแห่งดครงสร้างการเมหืองระหว่างประเทศที่ได้ปลี่ยนแปลงผันผวนมาตั้งแต่ปี 1953 และความริงบางประการที่รุสเซียพัฒนาล่วงหน้าจีนกว่าชั่ว1-2 อายุคน และจีนมีประชากรมากมายกว่ารุสเซียหลายเท่า
    การวิเคราะเชิงประวัติศาสตร์
ทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีเนื้อที่กว้างขวาง มีประชากรที่แน่นหนาอุดมด้วยแร่ธาตุแลทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแท้จริงช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ลักษณะกรณีพิพาทชายแดน ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจึงไม่ราบรื่นนัก
   หลังจากจีนเปิดประเทศตั้งแต่ปี 1939 เป็นต้นมา รุสเซียได้ร่วมการบั่นทอนเอกราชอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพทางดินแดนของจีน ดดยอาศํยเชิงการูตที่เหนือกว่าจีน เมื่อจีนปฏิวัติและมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและการเมื่องไร้เสถียรภาพตามลำดับ รุสเซียให้การช่วยเหลือพรรคชาตินิยมในการพัฒนาประเทศ และครอบงำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้ดำเนินนโยบายสอดคลอ้งกับผลประโยชน์ของรุสเซียกระทั่ง ปี 1933 พรรคจีนคอมมิวนิสต์จึงเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายของตน เมื่อรุสเซยทุ่มแทให้ความขชวยเหลือแก่พรรคชาตินิยมในการต่อสู้กับญีปุ่น พรรคจีนคอมมิวนิสต์ได้มีบทบาทตกอยู่ใต้อาณัติของรุสเซียแต่แย่งใด แม้เมื่อจีนเป็นรัฐคอมมิวนิสต์แล้ว การตัดสินใจจะดำเนินนโยบายล้วนเป็นดุลพินิจของจีนเอง
      สัมพันธภาพของจีนและรุสเซียในชั้นต้น สัมพันธภาพไม่เสมอภาคกัน  จีนยอมรับตนเป็นรัฐด้อยอาวุโส  และยอมรับความเป็นเจ้าลัทธิและผุ้นำของรุสเซียในโลกคอมมิวนิสต์โดยดูษฎีภาพ เพื่อแลกกับความคุ้มครองและความช่วยเหลือจากรุสเซีย ต่างฝ่ายต่างแสดงทีท่าว่าอีกฝ่ายเป็นมหามิตรของตน แต่โดยเนื้อแท้จีนไม่เคยแสดงทีท่ายอมเป็นเบี้ยล่างขอวงรุสเซียดังที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกแสดงต่อรุสเซียรุสเซียเองก็ไม่กล้าพอมี่จะกดจีนให้อยู่ในฐานะเสมือนเป็นบริวารในแวดวงอำนาจของตนจีนจึงมีฐานะเป็นชาติอ่อนอาวุโสกว่าแต่มีความเสมอภาคกับรุสเซียอยู่ในที  แม้ว่าจีนจะยกย่องรุสเซียเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ แต่มิได้หมายความว่าจีนจะยินยิมเป็นเพียงผุ้รับคำสั่งจากรุสเซีย จีนต้องการให้รุสเซียดำเนินนโยบายทุกประกาที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรี โดยให้จีนรับรู้และปรึกษาหารือร่วมกัน
     ในฐานะที่เป็นมหาพันธมิตรของจีน รุสเซียได้กอบโกยผลประโยชน์จากจีนมากมายตามสนธิสัญญาปี 1950 ทั้งยังผลักดันให้จีนเข้าสู่สงครามเกาหลีเพื่อแลกกับการที่รุสเซียจะทุ่มให้ความช่วยเหลือแก่จีน  สัมพันธภาพดำเนินไปเพียงผิวเปลือกนอก ภายในใจจีนเต็ไปด้วยความระแวงแคลงใจในเจตนารมณ์ของรุสเซียในสองกรณีใหญ่ๆ คือ  การรับจีนเป็นสมาชิกองค์กาสหประชาชาติ และรใช้กำลังพิชิตไต้หวัน รุสเซียไม่ดำเนินการทางการทูตอย่างเต็มที่เพื่อให้จีนได้เป็นสมาชิก จีนถือว่ารุสเซียมีเจตนาจำกัดฐานะจีนให้ตำอยู่ใต้รุสเซียมิหให้เป็นอิสระ เป็นการจงใจกีดกันให้อยู่โดดเดียว อย่างไรก็ตาม สงครามเกาหลีผลักดันจีนให้ยึดรุสเซียมากขึ้นระยะระหว่างปี 1945-1953 จึงกล่าวกันว่าเป็นระยะข้าวใหม่ปลามันดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์เต็มที่ Concord,Honeymoon Period
     นอกจากการเข้าสูสงครามเกาหลี ซึ่งนำไปสู่การยุติสงคราม ตามข้อตกลงที่เจนีวาแล้ว จีนไม่เคยแสดงทีท่าสงสัยพฤติกรรมทางการเมืองต่างประเทศของรุสเซียอย่างเปิดเผยแต่อย่างใด กระทั้งสตาลินถึงแก่กรรม สัมพันธภาพระหว่างจีนกับรุสเซียจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป
     เมื่อโอกาสมาถึง ภายในมอสโกเกิดการชิงอำนาจ และต่างหวังให้จีนสนับสนุนฝ่ายตน ต่างฝ่ายต่างสรรเสริญยกย่องจีน ฐานะจีนเปลี่ยนไป จากคอมมิวนิสต์ด้อยอาวุโสมาสู่ฐานะเท่านเทียมกัน และเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายของโลกคอมมิวนิสต์ เมาเซตุงเริ่มได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโสของโลกคอมมิวนิสต์
      การแย่งชิงอำนาจในรุสเซียทำให้จีนจากความเป็นรัฐด้อยอาวุโสมาเป็นรัฐเสมอภาคกับรุสเซีย ผุ้นำรุสเซียหลายคนต้องการการสนับสนุนจากจีน ส่วนจีนต้องการรุสเซียเพื่อพิทักษ์ปกป้องและพัฒนาชาติตน ต่างฝ่ายต่างเห็นความจำเป็นที่จะผูกมิตรกัน แต่ในขณะเดียวกัน จีนเร่มดำเนินนโยบายขงตนโดยอิสระ รุสเซียเองเเม้จะยอมรับแต่เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจับตาดูจีนมากขึ้น โดยในกรณีการอยู่ร่วมกันโดยันติที่อินดเดีย ครุสเชฟยอมรับว่ายังอ่านจีนไม่ออก เขาได้วิจารณ์เมาเซตุงว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยแน่ใจได้ว่า ข้าพเจ้าเข้าใจสิ่งที่เขาตั้งใจหมายความให้รู้”  สัมพันธภาพระหว่งกันไม่มั่นคงและเต็มไปด้วยความหวาดระแวง
       การวิเคราะห์ด้านนโยบาย ด้านหลักการ
นักวิเคราะห์สวนใหญลงความเห็นคล้อยตามจีนว่า ความแตกแยกเร่มต้นจากการประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย ครั้งที่ 20 แห่งเดือนกุมภาพันธ์ 1956 ซึ่งมีการประกาศประณามสตาลินและประกาศนโยบายอยู่ร่วมกันดดยสันติ ส่วนรุสเซียว่า ที่ประชุมนั้นเป็นเพียงจุดเร่มต้นของการแตกแยก รุสเซียประกาศเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศต่อโลกซึ่งมีผลต่อจีนและประกาศประณามระบอบเผด็จการโดยเอกเทศและลัทธินิยมตัวบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อจีน การประชุมแห่งปี 1956 เป็น “ก้าวแรกไปสู่วิถีทางแห่งการแปรเปลี่ยนลัทธิอุดมการณ์”โดยผุ้นำรุสเซีย
    ความเป็นปฏิปักษ์ปรากฎเด่นชัดเมือรุสเซียร่วมกับโลกเสรีในการงดทดลองอาวุธนิวเคบียร์ และเป็นเสมือน “ฟางเส้นสุดท้าย”อันเปราะบางที่สามารถทำลายพันธมิตรได้
     ตั้งแต่สตาลินถึงแก่กรรม จีนก้าวขึ้นมาเป็ฯพันธมิตรเสมอภาคกับรุสเซีย การเมืองของทั้งสองฝ่ายได้มีลักาณะคล้ายกัน ต่างก็มีผุ้นำโดยเอกเทศและบริวารครอบงำพรรคความแตกแยกเร่มขึ้นในระดับผุ้นำคือ ระหว่างครุสเชฟกับเมา ต่อมาระหว่งพรรคต่อพรรคครั้งความขัดแย้งทวีความสลับซับซ้อนจนสุความสามารถที่จะจำกัดขอบเขต ความแตกแยกกันก็ขยายต่อจากระดับพรรคมาสูระดับชาติตั้งแต่พรรคมาสู่ระดับชาติตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมา ต่างฝ่ายต่างท้าทายและตอบโต้กันอย่างไม่ลดราวาศอก เป็นเหตุให้ความแตกแยกันรุนแรงยิงขึ้น
    
     การวิเคราะห์เชิงอำนาจ
จีนเริ่มพัฒนาประเทศหลังรุสเซีย 1-2 ชั่วอายุคน พัฒนามาสู่รัฐด้อยอาวุโส สู่รัฐเสมอภาค และเกิดความขัดแย้ง กลายเป็นคู่แข่งในการแสวงหาอำนาจอิทธิพลทั่วโลกกับรุสเซีย การเจริญเติบโตและพัฒนาการของคอมมิวนิสต์จีนเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ในขณะที่นโยบายต่างประเทศของรุสเซียผิดพลาดหลายครั้งหลายหน ประกอบกับการการแย่งชิงอำนาจกันเองในรุสเซีย ความเป็นต่อ 1-2 ช่วงอายุคนจึงไม่เป็นผลต่อจีนเท่าไรนัก
     ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ รุสเซียลงนามในสนธิสัญญางดทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ต่างฝ่ายต่างมุ่งทำลายอีกฝ่ายมิหใมพันธมิตร โดยแสวงหาอำนาจอิทธพลในโลกเสีนรและโลกที่สาม ในบั้นปลายหนทางเป็นมิตรสิ้นสุดโดยฉับพลัน เมื่อจีนก่อกรณีพิพาทชายแดนกับรุสเซีย
     และนำสู่การตอบโต้กันทั้งทางการทูตการดำเนินการแทรกแซงกจิการภายในของอีกประเทศและเกิดเป็นกรณีพิพาทในที่สุด
      ลำดับทางเหตุการและประเด็นความสัมพันธ์และนำไปสู่ความแตกแยก แบ่งออกเป็นประเด็นที่ควรศึกษาดังนี้
- ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
- บทบาทของรุสเซียต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อปี 1949
- พันธมิตรกับการเอารัดเอาเปรียบ
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรุสเซียในปี 1956
- ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์
- อุดมการณ์ “ที่แตกแยก”
- การเรียกคืนดินแดนของจีน
- การแทรกแซงกิจการภายใน
- การตอบโต้กัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)