วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Publics (มหาชน)

                สังคมที่คนจำนวนหนึ่งอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในสังคมเดี่ยวกันลักษณะต่างคนต่างอยู่และสามารถใช้ของส่วนกลางร่วมกันตามกติกาสังคม มีการติดต่อกันโดยอาศัยสื่อสารมวลชนเป็นหลัก มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปของทุติยภูมิ และความเป็นทางการมากขึ้นเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง อันแสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่สมาชิกแต่ละคนแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่สามารถติดต่อกันได้ทางสื่อสารมวลชน อันเป็นการรวมกลุ่มกันของคนหมู่มาก โดยไม่ได้เป็นตัวแทนหรือรูปแบบในลักษณะที่เป็นทางการเลย ไม่มีความสัมพันธ์ด้านกายภาพต่างคนต่างอยู่กระจัดกระจายกำันออกไป



     มหาชนเป็นคำที่หากนำมาใช้แยกก็เป็นคุณศัพท์ หมายถึงให้คนทั่วไปตรวจได้ใช้ได้หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งตรงข้ามกับส่วนตัว หากใช้เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มที่รวมบุคคลอื่นนอกจากครอบครัวหรือญาติมิตร และเป็นคำนามรวมหมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็ฯการบ่งบอกให้รู้ความหมายการอยู่ของคนในสังคมในรูปของมหาชน
     การที่มหาชนแต่ละกลุ่มต่างมาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตรงกัน ต่างมีความสนใจปัญหา หรือประเด็นใดๆ ตรงกัน จัดเป็นมหาชนประเภทหนึ่ง จะมีจำนวนเท่าใดไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสนใจปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆการพิจาณาปัญหาหรือประเด็นใดๆ ตลอดจนคำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาปรึกษา เรียกว่า มติ แต่ความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม กันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล เรียกว่า มติมหาชน อันถือว่าเป็นมติที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือประเด็นใด ๆ ด้วยหลักวิชาและเหตุผล ผลสรุปรวบยอดจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ดังกล่าวของคนหมู่มาก ก็จัดเป็นมติมหาชนเช่นกัน
     ลักษณะเฉพาะ คือ ขาดความสัมพันธ์ด้านกายภาพสำหรับสมาชิก ซึ่งผิดกับฝูงชนและมาวลชนส่วนที่มีลักาะมวลชนนั้นก็คือ เป็นการรวมหมู่แบบกระจัดกระจายออกไปแตกต่างกันตรงที่มหาชนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกัน และรู้ประเด็นปัญหาโดยผ่านทางสื่อมวลชน
       มหาชนจัดเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง เป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ที่มีลักษณะเป็นการรวมกันของประชาชนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกัน เกี่ยวกับผลประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ บางครั้งอาจเกิดปัญหาหรือข้อโต้เถียงที่อาจจะร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงกันได้การกระทำต่อกันบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างบรรดามหาชนที่ต่างร่วมอภิปรายปัญหากันโดยตรง ซึ่งการกระทำนั้นเหมือนกับว่าเป็ฯการสนทนาหรือว่าโต้เถียงอยู่กับเพื่อฝูงหรือสมาชิกครอบครัวเดียวกัน แต่ส่วนมากของการกระทำร่วมกันนั้น จะถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่่อโดยอ้อมของการสื่อสารมวลชนอีกด้วย มหาชนนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามโครงสร้าง ที่ยอมให้มีการสนทนาโต้เถียงและอภิปรายกันได้ โดยถือเป็นแบบอย่างหนึ่งที่จะทำให้บรรลุถึงการเกิดขึ้นชั่วคราวของประเด็นที่ขัดแย้งกัน เมื่อเป็นเชนนี้มหาชนจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มของคนที่มีความสนใจตรงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีมติหรือความเห็นอันเป็นข้อสรุปประเด็นปัญหาตรงกันเสมอไป
      เนื่องจากมหาชนมักเกิดขึ้นมาจากประชาชนซึ่งไม่จำเป็นต้องีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพดังเช่นผูงชน ถึงแม้ว่าประชาชนจะอยู่ภายใต้การควบคุมทางอารมณ์ก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะของการโต้เถียงกันอยู่ ความหลากกลายของสมาชิกเองก็ดี การดำรงอยู่นานกว่าฝูงชนก็ดี ตลอดจนการเป็นสมาชิกมหาชนก็ดีไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว หรือกำหนดแน่นอนลงไป ยกเว้นแต่การกระทำของปัจเจกบุคคลในด้านการตัดสินใจ ไม่ว่าแต่ละคนจะมีการติดต่อกับคนอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่่งก็มีส่วนร่วมด้านชีวิตสังคมกันโดยเฉพาะ ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่องของการร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผยในรูปของมหาชน
     ในบางโอกาสมหาชนอาจได้รับอิทธิพลบางอย่างจากการแพร่ติดต่อทางสังคม ในกรณีเช่นนี้สามารถทำให้บรรดาปัจเจกบุคคลเกิดจิตผูกพันะป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชั่วคราว เมื่อเกิดกลุ่มขึ้นแล้วก็สลายตัวไป นอกจากนี้การสนใจส่ิงเดียวกัก็ทำให้เกิดมหาชนได้เช่นกัน
     จากลักษณะที่แสดงออกมาของมหาชนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นว่ามหาชนนั้นมีลักษณะที่น่าพิจารณาก็คือ เป็นกลุ่มประชาชนที่อยู่แยกกันกระจัดกระจาย ต่างมีความสนใจและตัิดสินใจเกี่ยวกับประเด็น หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีการอฎิปรายถกเถียงกันในทัศนะต่างๆ ซึ่งสมาชิกต่างแสดงความคิดเห็ฯอย่างอิสระเสรีเต็มที่ เพื่อให้มีมติรวมอมู่อันเป็นมติของคนส่วนมากออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน อันเป็นการคาดหวังเพื่อให้เกิดการกระทำหรือการปฏิบัติการของคนบางคนหรือบางกลุ่มขึ้น ส่วนมหาชนจะมีความคล้ายคลึงกับมวลชนตรงที่ว่า เป็นการรวมหมู่กันแบบกระจายแต่แตกต่างกัตรงที่มหาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันโดยเหตุผล มีการยุติการถกเถียงอภิปรายโดยความเห็นของคนจำนวนมากอันถือเป็น "มติ") มหาชนสามารถติดต่อกถึงกันและล่วงรู้ประเด็นปัญหาต่างๆ โดยผ่านทางสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัสน์ ภาพยนตร์  และอื่นๆ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบของมหาชนด้านอื่นๆ
     องค์ประกอบที่สำคัญของมหาชนคือ
     ประกอบด้วยบุคคลซึ่ง
- ถือว่าพวกตนได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุกาณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
- สามารถแสดงความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งและ
- เห็นว่าความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของพวกตนได้รับการพิจารณา
     มหาชนเป็นคำที่นำมาใช้กันทั่วไปในกิจการต่าง ๆ อาจใช้ได้กับกลุ่มผู้เป็นสมาชิกวารสาร ผู้ถือหุ้นในบริษัท ผู้ออกเสียงเลือกตั้งและกลุ่มหรือประเภทบุคคลอื่นๆ อีก ความสนใจส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่มหาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมือง โดยกลุ่มเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีประเด็นหรือปัญหา กล่าวคือ เกิดความคิดเห็นแตกแยกในหมู่ประชาชนว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำ เช่น รัฐควรจะสนับสนุนโครงการช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ประชาชนหรือไม่ การเมืองเกิดขึ้นเมื่อประชาชนแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายต่างดำเนินการตามความคิดเห็นและผลประโยชน์ของตน
     มหาชนอาจประกอบด้วยบุคคลที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกแน่นอนและไม่จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบว่าผุ้ใดจะมีบทบาทอย่างใด เนื่องจากมหาชนประกอบด้วยบุคคลผู้เกี่ยวข้องในผลของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง องค์ประกอบของมหาชนจึงเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์ เปลี่ยนและมีการมองปัญหาเกียวกันนี้ในแง่ใหม่ คนใหม่จะเกิดความสนใจ คนเก่าจะหมดความสนใจและหันไปทางอื่น จะมีการเคลื่อนไหวในมหาชนขึ้น บางคนจะถอนตัวออกจากการอภิปรายเม่อมีผู้ประนามการสนับสนุนการช่วยเลหือทางการแพทย์แก่ประชาชนของรัฐบาลว่าเป็น "การแพทย์แบบสังคมนิยม" คนอื่นอาจจะเข้าร่วมในแผนการรักษาพยาบาล ซึ่งจัดขึ้นเฉพาะคนงานในสถานที่ทำงานของพวกตนและไม่มีความสนใจในประเด็นทั่วไป มหาชนจึงเป็นการรวมกันชั่วคราวสังเกตได้โดยดูที่ความสนใจร่วมกันที่มีต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และชนาดและองค์ประกอบจะเปลี่ยนแปลงไปตามประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
     เมื่อประเด็นเกิดขึ้นบ่อยๆ มหาชนที่มีคามคิดเห็ฯทางการเมืองบางพวกอาจจะมีลักษณะแนนอนมากขึ้น ในแต่ละเรื่องที่อยู่ในความสนใจมักจะมีจุดศูนย์กลางประกอบด้วยบุคคลที่ติดตามพัฒนาการของเรื่องอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในกรณีการช่วยเหลือทางการแพทย์ เราอาจคาดหมายได้ว่ากลุ่มนักธุรกิจอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง สหภาพแรงงานอาจจะมีความเห็นอีกอย่างหนึ่ง กลุ่มทหารผ่านศึกอาจจะมีความเห็นแตกแยกกันออกไปอีก
     การที่มหาชนเกิดขึ้นโดยค่อนข้างจะเป็นรูปแบบที่แนนอนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ความพยายามติดต่อกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่งต่อเนหื่องกัน จริงอยู่เราจะทราบได้ว่าเป็นมหาชนกลุ่มใด ก็ดูที่หนังสือ หนังสือพิมพ์ และวารสารที่สมาชิกในกลุ่มอ่าน บุคคลที่ทราบข่าวคราวจากสื่อการติดต่อประเภทเดียวกันมักจะมองปัญหาในแง่เดียวกันและมักจะมีความเห็นเช่นเดียวกันเสมอในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น
     นิยามมหาชน
     มหาชนมีลักษณะการรวมตัวกันที่ทุกคนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได ดังนั้น มหาชนจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการรวมบุคคลอื่นนอกจากวงศาคณาญาติหรือมิตรสหาย ซึ่งหมายถึง ประชาชนโดยทั่วไปนั้นเอง
      หมายถึงกลุ่มคนที่กระจัดกระจายกันประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างมีความสนใจประเด็นปัญหาอย่างเดียวกัน และมีทัศนะในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนปัญหาและความคิดเห็นในการวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้นๆ แตกต่างกันออกไป การวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้น ๆ มีแนวทางที่จะสร้างมติรวมหมู่ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการกระทำของบางกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลขึ้นมา
     จากนิยามดังกล่าวข้างต้น มหาชนเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางออกไปมาก เพราะเป็นคำที่มีลักษณะใช้เป็นคุณศัพท์ในรูปที่ให้คนทั่วไปตรวจได้ ใช้ได้ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งบ่งถึงความเป็นของกลางสำหรับคนทั่วไป เช่น ถนนหลวง หรือทางสาธารณะ
     ในความหมายทั่วไปที่ใช้ในรูปของนามรวม อันเป็นความหมายโดยนตรงของมหาชนหมายถึงประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจหมายถึงใครก็ได้ ตามปกติแล้วหมายถึงกลุ่มของคนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกันหรือมีความสนใจร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน ไม่จำเป็นต้องมีความใกล้ชิดด้านกายภาพ ขอแต่เพียงมีอารมณ์ร่วมมกันเท่านั้น ...
     ตามปกติแล้ว คำว่า มหาชนนี้ มักจะไม่ค่อยเคร่งครัดในการใช้มากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากการหมายถึงคนทั่วๆ ไปดังที่กล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือมีประเด็นปัญหาอาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านความคิดเห็นขึ้น ซึ่งข้อนี้เองที่ทำให้มหาชนเกิดความหลากหลายขึ้นมา และความคิดเห็นอันหลากหลายเหล่านี้ มิได้ทำใ้มหาชนสิ้นสภาพไปได้เลย
     มหาชนเป็นการรวมตัวกันของคนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้เข้าไปเกี่ยวข้องได้ ในฐานะที่เป็นประชาชนโดยทัั่วไป รวมตัวกันโดยไม่มีกฏเกณฑ์หรือกติกาใดๆ แต่ทุกคนมีเป้าหมายหรืออามณ์ร่วกัน แม้ในกรณีที่เกิดปัญหาอย่างนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่อยู่ในมหาชนนั้น ดังนั้น การนิยามมหาชนจึงขึ้นอยู่กับการรวมตัวกันของคนที่มีเป้าหมายตรงกันหรือมีอารมณ์ร่วมกันดังกล่าว
     มติมหาชน ในการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของคนจำนวนมากในสังคม มักจะประสบปัญหามากมายปัญหาต่าง ๆ เหลานั้นมีทั้งปัญหาที่หนักและปัญหาที่เบา บางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีบางอย่งก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา
     มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องหนึ่งของปัญหาในสังคม ทั้งที่มีวัฒนธรรมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันและในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มติหรือความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หากตรงกันและเข้ากันได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร หากไม่ตรงกันและขัดแย้งกันก็ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ อันอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งจะก่อความยุ่งยากและสับสน และก่อให้เกิดควมขัดแย้งในสังคมขึ้นมาได้
     มติหรือความเห็นนี้ มีความหมาย 3 ประการด้วยกันคือ
     - หมายถึง ข้อพิจารณาเห็นว่าเป็นจริงจากการใช้ปัญญาความคิดประกอบ ถึงแม้จะไม่ได้อาศัยหลักฐานพิสูจน์ยืนยันได้เสมอไปก็ตาม
     - ทัศนะหรือประมาณการเกี่ยวกับปัญหาหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น ทัศนะเกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายวางแผนครอบครัว
     - คำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาขอปรึกษา
     ความจริงแล้ว มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการทำความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นกับสังคมได้ โดยที่สังคมจะไม่มีความสับสนวุ่นวายอันใดเลย
     จากนิยามหรือความหายของมติหรือความเห็นนี้ทำให้เรามองเห็นภาพกลางของมันได้ชัดขึ้นว่ามันมีความหมายและขอบเขตการใช้ที่อาจครอบคลุมได้มากน้อยเพียงใด การที่คนอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ สามารถที่จะมีมติหรือความเห็นได้ในข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 3 ข้อนี้เลยก็ได้
     ความจริงแล้ว มติหรือความเห็นนี้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่หากจะว่าไปแล้วบรรดามติหรือความเห็นนี้ส่วนใหญเป็นเรื่องที่เราสนใกันใน 4 ประการด้วยกัน คือ มติหรือความเห็นเกี่ยวกับระบบทางการเมือง การปกครอง..ประการที่สอง คำถามเกี่ยวกับการสรรหาผู้จงรักภักดีต่อกลุ่ม และการมีเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม มติเหล่านี้จะรวมกันได้ก็โดยกลุ่มต่าง ๆ เช่นแหล่งกำเนินดทางภูมิภาค ชาติ พเผ่าพันธ์ ศาสนา สถานะทางเมืองหลวง ชนบท และชั้นชน สถานภาพทางสังคมด้วย...ประการที่สาม คือการเลือกหัวหน้าด้วยตนเอง และประการที่สี่ มีเนื้อหาในด้านมหาชนที่มีผลออกมาเด่นชัด เช่น การให้สิทธิพลเรือนออกกฏหมาย หรือการยอมรับจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หรือการห้ามส่งสินค้าไปคิวบาเป็นต้น
     จะเห็นว่ามติหรือความเห็นส่วนใหญ่จะเน้นอยู่กับบางสิงบางอย่างที่เกี่ยวกับระบบการเมือง การถามหาความสมัครใจของสมาชิกในเรื่องเอกลักษณ์ประจำกลุ่มก็ดี การเลือกัวหน้าของตนเองก็ดี และการใช้คะแนนเสียงจากมหาชนก็ดีเหล่านี้ ล้วนเป็นมติหรือควาทเห็นที่ถูกนำมาใช้กันเป็นส่วนมาก อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ละยิ่งกว่านั้นยังเป็นมติหรือความเห็นของคนเพีียงคนเดีว หรือเป็นมติที่จำกัดอยู่ในวงแคบอีกด้วย
     สำหรับมหาชนนั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันหากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นกับมหาชนแล้ว มหาชนจะแสดงความคิดเห็นตามสติปัญญาของตน ... เป็นความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม เมื่อว่าโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับช้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหาจากการพิจารณาวินินฉยของคนหมู่มากนั่นเอง
     มติมหาชนจึงเป็นเรื่องข้อตกลงของคนส่วนมากหรือคนจำนวนากที่ต่างมีความคิดเห็นหรือมติอันเป็นข้อตกลง ซึ่งเกิดมาจากมหาชนนั้นเอง จากลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นได้มีการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆออกไป และเมือพิจารณาในแง่ของความหมายแล้ว มติมหาชนก็คือ การรวบรวมมติต่างๆ ของประชาชนตามหัว้อที่มหาชนให้ความสนใจ และวิเคาะห์มติเหล่านี้โดยนเทคนิควิธีทางสถิติ ซึ่งมีการใช้การสุ่มตัวอย่งจากประชาชนผู้ตั้งคำถามอันเป็นสิ่งซึ่งถูกกำหนดอย่างพื้นๆ โดยมติมหาชน
     มติมหาชนนั้นเป็นความคิดเห็นเฉพาะ หรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญ ๆ ของสังคม โดยกลักการแล้วมติมหาชนขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการให้เหตุผล แต่บางครั้งก็มีอารมณ์เข้าไปประกอบด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปพฤติกรรมผูงชน...
     "มติมหาชน" นัน เกิดจากประเด็นปัญหาที่มาจากความคิดเห็นและมีการนำเสนอต่อมหาชนเพื่อดำนินการต่อไป โดยการอภิปรายวิเคราะห์แยกแยะปัญหานั้นๆ โดยหลักเหตุผล ข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ได้จากการอภิปรายหรือการแก้ปัญหานั้นเป็นข้อตกลงที่มหชน่วนใหญ่หรือเสียงสวนมากของสังคมนั้น ยอมรับกัน นั้นคือ "มติมหาชน"

      การอยู่รวมกันของคนจำนวนหนึ่งซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ทัี่วไป โดยที่แต่ละคนต่างมีความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน มีแบบฉบับการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน แต่ไม่อาจรมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้ สามารถใช้สิ่งของหรือวัตถุบางอยางอันเป็นของกลางร่วมกันได้โดยกาปฏิบัติตนตามกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้ มักเรียกกันว่า มหาชน ซึ่งจัดเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทหนึ่ง เป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของมันเอง.....
    


วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Noam Chomsky

     ดร. แอฟแรม โนม ชอมสกี (Avram Noam Chomsky) เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐแพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1928 และสำเร็จการศึกษาขึ้นสูงสุดในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนียในปี 1955 งานวิจัยทีผลักดันให้เขาสำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่มาจากการที่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ต ระหว่างปี 1951-1955 หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนีย ซอมสกี็ได้เข้าสอนในภาควิชาภาษาและภาษาศาสตณ์ ของสถาบันเทคโนโลนีแห่งแมชซาซูเซส สหรัฐอเมริกาในปี 1961 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาศาสตร์และจากนั้นในปี 1976 เขชาได้รับเกี่ยติให้เป็นศาสตราจารย์เกี่ยติคุณผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่ทางสถาบัน
      แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ชอมสกี้ ได้พยายามแสดงแนวคิดในการอธิบายภาษามนุษย์ โดยการนำเสนอทฤษฎีไวยกรณ์ปริวรรตเพีิมพูน ซึ่แสดงให้รู้ถึงการที่เ้าของภาษหนึ่ง ๆ จะเขาใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่เขาชี้ให้เห็นว่าเจ้าของภาษานั้นๆ จะสามารถสร้างประโยคในภาษาได้ยอ่างไม่จำกัดหรือไม่รู้จบโดยอาศัยกฎของภาษาในจำนวนที่จำกัน และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวนำผู้ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับภาษานั้นได้กลายเป็นผู้ใช้ภาษาที่สมบูรณ์แบบที่เป็นเช่นนี้ สืบผลเนืองมาจากการทำงานอันทรงประสิทธิภาพของสมองมนุษย์ซึ่งถ้าว่่าไปแล้วอาจมีข้อจำกัดในการเรียรู้ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในเรื่องของการแสดงออกทางภาษาและ้วนั้น มนุษย์ที่มีสติปัญญาสมประกอบย่อมสามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาของตนเองที่ยาวและยากอย่างไม่มีปัญหา ในปี 1960 ชอมสกี็ได้เสนอความคิดหลักที่สำคัญนี้ในการอธิบายภาษมนุษย์ดังนี้
     - ความรู้ในภาษาและการใช้ภาษา
     - โครงสร้างลึก และโครงสร้างผิว
นอกจากจะเป็นบุคคลพิเศษในฐานะนักภาษาศาสตร์ เขายังเป็นักวิจารณ์นโยบายด้านต่างประเทศ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงมากที่สุด
       ชอมสกี้มักมีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามกับกระแสหลัก การวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งและเฉลียวฉลาดของเขาเกี่ยวกับระเบียบโลก ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ก็ดี ช่วยให้เราเห็นว่านโยบายด้านต่างประเทศ บรรษัทต่างๆ ในอเมริกาและนักวิชาการอเมริกันต่างยอมรับใช้รัฐและนโยบายของรัฐบาลอย่างไร ทั้งเขายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ร่วมมือกับพันธมิตรทางทหาร รัฐบาลและชนชั้นนำในประเทศโลกที่สามทั่วโลกอย่างไร ดังประเทศไทยเองเดินตามนโยบายของรัฐบาลและบรรษัทในสหรัฐอเมริกาอย่างเซื่อง ๆ ผลงานด้านภาษาศาสตร์และการวิเคราะห์นโยบายด้านต่างประเทศของเขา เป้นความสำเร็จที่นำชื่อเสียงมาแก่เขามากที่สุด รวมทั้งภาพชองนักวิจารณ์ปากกล้าด้วยคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ิวยอร์กไทมส์ที่มีชื่อเสียงมากกว่าวถึงชอมสกี้ว่า "ในช่วงอายุยี่สิบ นอม ชอมสกี้ปฏิวัติทฤษฎีด้านภาษา ในช่วสงสามสิบเขาพยายามจะปฏิวัติสังคม ในช่วงอายุสี่สิบ ซึ่งกำลังจะมาถึง คงแทบจะไม่มีประเด็นใดในโลกเหลือให้เขา
      บทวิเคราะห์การเมืองของเขาชัดเจน ตรงประเด็นท้าทายและอยู่บนฐานความจริง การนำเสนอแต่ความจริงเป็นแนวทางการเขียนที่สำคัญของเขา บทความและหนังสือของเขาเต็มไปด้วยความเห็นค้านซึ่งมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและตวจสอบได้ "ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ไม่มีงานเขียนของนักเขียนคนใดที่สร้างความวุ่นวายได้มากเท่ากับงานของ นอม ชอมสกี้ ชอมสกี้เป็นนักคิดในแนวค้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ส่ิงที่เขาเขียนไม่เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของสำนักวิชาการใด และเขาเหลี่ยดการคิดตามกรอบเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีพรรคไหนถือเขาเป็ฯพวก และเขาเองไม่เคยเชิดชูอุดมการณ์ใดเป็นสำคัญ จุดยืนของเขาไม่ใช่ทั้งพวกเสรีนิยมที่ขบทหรือพวกอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการแหกคองออกจากกรอบธรรมเนียม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่ถอนรากถอนโคนของเขาไม่อาจจำแนกเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้"
     ทัศนะเกี่ยวกับลัทธิก่อการร้ายของ "นอม ชอมสกี้"
     : คุณประณามลทธิก่อการรร้ายใช่ไหม? เราสามารถตัดสินได้อย่างไรว่าการกระทำใดเป็นลัทธิก่อการร้าย และการกระทำใดเป็นเนื่องการต่ต้านของประเทศที่เขาตาจน ต่อ ผู้กดขี่ หรือผู้ใช้อำนาจเข้าครอบครอง ? เกี่ยวกับการจัดประเภทต่าง ๆ ข้างต้น คุนได้ "แบ่งแยก"การโจมตีสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ เนี้เป็นอย่างไหน?
     : ผลเข้าใจศัพท์คำว่า "ลัทธิก่อการร้าย"ในความหมายที่นิยามกันในเอกสารทางราชการของสหรัฐอเมริกาดี นั้นคือ มีการใช้คำๆนี้ในลักษณะของการคาดการณ์เกี่ยกับความรุแรง หรือการคุกคามด้วยความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายถ่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ใดก็ตาม มันถูกกระทำโดยผ่านการทำให้เกิดความกลัว การข่มขู่ การคุกคาม หรือค่อยๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสอดคล้องกันและลงรอยสนิทกับการนิยามข้องต้น การโจมตีตึกเวิร์ดเทรด เป็นการกระทำของลัทธิก่อการร้าย ในข้อเท็จจริง มันเป็นอาชกญกรรมของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะมีใครไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้...
       แท้จริงแล้ว การใช้ประโยชน์ทางด้านการโฆษณาเป็นไปในลักษณะสากล ทุกๆคนต่างตำหนิประณามลัทธิก่อการร้ายในความหมายของรูปศัพท์ดังกล่าว พวกนาซีก็ประณามลัทธิก่อการร้ายอย่างเกรี้ยวกรด และวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิก่อการร้ายในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับพวกผู้ก่อการร้าย ใกรกเป็นตัวอย่าง โดยพื้นฐานแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วย
        ในการรวมตัว และปฏิบัติการในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายในกรีกและที่อื่นๆ ในช่วงปีหลังสงคราม โครงการด้านการทหารที่เรกียกว่า counter-insurgency ซึ่งมีมีการปฏิบัติการต่อสู้กับสมาชิกกางโจรและการและการปฏิวัติได้นำเอาแบบจำลองมาจากพวกนาซีมาใช้อย่างชัดเจนที่เดียว และได้รับการนำมาปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง  กองกำลัง Wehrmacht กอกำลังเยอรมันจากปี 1921-1945 ได้รับการนำมาหารือ และคู่มือต่าง ๆของกองกำลังนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงการต้านการทหารที่เรียกว่า counter-insurgency program ไปทั่วโลกซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการวว่า การต่อต้านลัทธิก่อการร้าย
     ขนบธรรมเนียมต่างๆ ที่ยกมา คนๆเดียวกันแท้ๆและการกระทำอย่างเดียวกันก็ว่าได้ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วจาก "การเป็นผู้ก่อการร้าย"มาเป็น "นักต่อสู้เพื่อิสรภาพ"และเปลี่ยนกลับไปอีกครั้ง อันนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเช่นในกรีก...
     ไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่า ลัทธิก่อการร้ายส่วนใหญ่เป็นสิ่งประดิษญ์มาตรฐานอันหนึ่งของรัฐต่าง ๆ ที่ทรงอำนาจดังข้อสังเกตว่า เช่นสงครามสหรัฐฯที่มีต่อนิคารากัว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนชาวนิคารากัวเสียชีวิตกว่าหมื่นคน และประเทศตกอยู่ในความหายนะ นิคารากัวดึงดูดความสนใจต่อศาลโลกซึ่งได้มีการประณามสหรัฐสำหรับการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับลัทธิก่อการร้ายระหว่างประเทศ แล๐ด้วยการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"และได้มีคำสั่งให้ระงับการใช้กำลังดังกล่าวในทันที่ พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ แต่สหรัฐฯกลับใช้อำนาจวีโต้(สิทธิยับยั้ง)
     : มีข้อถกเถียงกนมาก ว่าตลอดเวลาทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มันไม่เคยมีอภิมหาอำนาจทางด้านจริยธรรม หรือหลักปฏิับัติที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวโดดๆ
       นักวิเคราะห์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการทั้งหลายอ้างถึงอภิมหาอำนาจ รัฐชาติ และสถาบันของมนุษย์ต่างๆ ทั้งหมดว่า สนใจเพียงทำตัวของพวกมันให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กล่าวอีกนัย พลังและอำนาจหน้าที่มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณค่าจริยธรรม ความคิด พวกมันเพียงเกี่ยวข้องกันเรื่องของพลังที่เพิ่มขึ้น เงินทองที่มากขึ้น อิทธิพลที่เพิ่มพูนขยายออกไปและอำนาจหน้าทที่ใหญ่โตมโหราฆ คุณเชื่อเช่นนั้นไหม พวกเรามีตัวอย่างในประวัติศาสต์สักตัวอย่างหรือไม่เกี่ยวกับจักรวรรดิ์ใดจักรวรรดิ์หนึ่ง รัฐใดรัฐหนึ่ง หรืออภิมหาอำนาจหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับโลกและพลโลกที่เหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าซึ่งมีอยู่ในใจบ้าง
     : ผลรู้สึกประหลาดใจที่ยังมีการโต้เถียงเรื่องนี้กันอยู่ รัฐต่างๆ ไม่ใช่ตัวแทนทางศีลธรรม พวกมันคือระบบของอำนาจ ซึ่งโต้ตอบกับการกระจายอำนาจภายใน แต่อย่างไรก็ตามในทางตรงข้ามนั้นมนุษย์เป็นตัวแทนทางศีลธรรม และสามารถกำหนดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญต่อความรุนแรงของรัฐต่างๆ ของพวกเขาเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมต่าง ๆ ที่ค่อนข้างอิสระ พวกเขาอาจล้มเหลวที่จะกระทำเช่นนั้นก็ได้ กล่าวในกรณีหนึ่ง พฤติกรรมระหว่างประเทศของเอเธนส์สมัยคลาสสิคไม่ค่อยน่ายินดีมากนัก และเราไม่ต้องพูดถึงตัวอย่างของประวัติศาสตร์สมัยใหม่เลย แต่พวกเขาสามารถทำได้และต้องทำ
     : เป็นที่ชัดเจนว่า บรรดานักการเมืองอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ที่ทรงสติปัญญาทั้งหลายต่าง ๆ รู้อะไรมากมายกับโศกนาฎกรรมดังกล่าว ในหลายๆ กรณีเราจะได้ยินข้อเท็จจริซึ่งมีความจริงเพียงครึ่งเดียว และคำโกหกซึ่งๆหน้า ผมได้อ่านบทความและหนังสือขจองคุณมากมายที่ว่า เมื่อนักการเมืองพูดโกหกเพียงในระยะเวลาสั้นๆเขาก็จะเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คำถามคือเราสามารถที่จะอธิบายท่าที่หรือทัศนคติเช่นนี้อย่างไร และ คุณคิดไหมว่านั้นคือคำโกหกคำใหญ่ที่สุดและเป็นข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียวที่เราได้ยินมา จนกระทั่งถึงโศกนาฎกรรมล่าสุดนี้
     : ผมไม่เห็นด้วย ผมสงสัยว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯรู้อะไรมากมายที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ นันคือกรณีทั่วๆไป จากที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ใครก็ตามที่หใ้ความสนใจน้อยที่สุดต่อข้อเท็จจริงพวกนี้ต่างรู้ว่า เหตุผลหลายหลากนั้นมันแตกต่างไปเลยที่เดียว ไม่เพียงท่านกลางเครือข่ายผู้ก่อการร้ายต่างๆ ที่ซีไอเอ ให้การช่วยเหลือในการจัดตั้ง สนับสนุนทางด้านอาวุธ ให้การฝึกฝน และอุปถัมภ์ค้ำชู เพื่อสงครามอันศักดิ์สทิธิ์ต่อชาวรัสเซีย แต่ยังรวมถึงท่ามกลางความมั่งคั่ง สิทธิพิเศษ และส่วนของประชาชนที่สนับสนุนอเมริกันด้วย
     วอลสตรีท จอยเนอร์ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่างๆ ของ "มุสลิมที่มั่งคั่งร่ำรวย" ในภูมิภาคนั้น พวกเขารู้สึกตกใจและโกรธแค้นเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯที่มีต่อรัฐเผด็จการที่เกรี้ยวกราด และอุปสรรคต่างๆ ที่วอชิงตันวางไว้กับการพัฒนาที่เป็ฯอิสระ และประชาธิปไตยทางการเมืองโดยนโยบายของมันเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนการปกครองที่กดขี่ขูดรีดทั้งหลาย"....
     และที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Balance of Power and Terror Theory

     ทฤษฎีดุลญือำนาจ องค์ประกอบทฤษฎีมีดังนี้
     - จะต้องมีชาติหลายชาติจำนวนมากเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละชาตินอกจากจะมีกำลังอำาจที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ยังพยายามหาทางที่จะเพิ่มกำลังอำนาจของตนให้มีมากยิ่งขึ้น ในกรณีอังกล่าว จะมีแนวโน้มทำให้เกิดดุลยภาพในระบบโลกตราบเท่าที่อำนาจที่เข้มแข็งเหนือกว่า เมื่อใดก็ตาม มีรัฐที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่นๆ รัฐนั้นจะถูกถ่วงดุลย์จากชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ หรือจากพวกที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ตราบใดที่กำลังอำนาจของชาติในแต่ละค่ายมีความทัดเทียมกัน ดุลยภาพหรือสภาพความสมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพโลก
     - จะต้องมีชาติทุกหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล ในกรณีที่กำลังอำนาจที่อยู่ด้านหนึ่งของตราชั่งได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดเสียดุลยภาพ
      ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจอธิบายการแบ่งกำลังอำนาจอย่างทัดเทียมกันระหว่างชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ต่อกัน และบางครั้งใช้ปะปนกับคำว่า "ดุลยภาพ"ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ซึึ่งถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดีแล้ว อาจเกิดความสับสนได้ นอกจากนี้แล้ว  ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจบางครั้งอธิบายถึงการมีอำนาจครอบงำที่เด่นของชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุลย์
     ริดชาร์ด คอบเดน Richard Cobden กล่าวเตือนใจไว้ว่า "ดุลย์แห่งอำนาจเป็นเรื่องความฝันที่แสนจะเพ้อเจ้อ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเข้าใจผิดผลาดหรือเป็นการหลอกลวง แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะอธิบายให้เห็นชัดได้ สุดเหลือที่จะพรรณนาได้ และไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีลัษณะที่ยังพอรับฟังได้"
     ทฤษฎีแห่งความหวาดกลัว  วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ " นักศีลธรรมอาจมีจิตใจห่อเหี่ยวเมื่อเจอกับแนวความคิดที่ว่า โลกเราจะไม่มีสันติภาพอันมั่นถาวรจนกว่าจะมีวิธีที่ทำให้ชาติต่างๆ มีความเหรงขามหวาดกลัวซึ่งกันและกัน"
     ดุลย์แห่งความหวาดกลัว มีความหมายในแง่ที่ว่า จะต้องมีชาติสองชาติหรือมากกว่านั้นขึ้นไป มีความหวาดกลัวเกรงขามซึ่งกันและกัน และไม่กล้าที่จะเสี่ยงภัยกระทำการใด ๆ อันเป็นการกรุตุ้นให้อีกฝ่าหนึ่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กล่าวคือต่างฝ่ายต่างเกรงกลัวว่าเกิดเป็นสงครามนิวเคลียร์จงมีความเกรงขามซึ่งกันและกัน
      ทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวมีสาระที่สำคัญคือ

      - ตราบใดที่ระบบป้องกันการโจมตี ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่มีประสิทธิภาพเียงพอ ประเทศที่ถูกโจมตีก่อนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จะโจมตีตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์อย่างเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพฤติรรมดังกล่าวมีส่วนทำให้แต่ละฝ่ายไม่กล้าที่จะลงมือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน และทำให้ต่างฝ่ายต่างอยู่ในสภาวะของดุลย์แห่งควาหวาดกลัว
      - ความเสียหายอันเกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวเพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับความเสียหายจากการโจมตีได้อย่างไม่สะทกสะท้านแล้วดุลย์แห่งความหวาดกลัวคงจะเกิดได้ยาก
    

Human Rights


      มักเชื่อกันว่ามนุษย์โดยทั่วไปเป็นส่ิงมีชีวิตที่มีความรุนแรงอยู่โดยธรรมชาติ มีคนสรุปว่า "มนุษย์" คือสัตว์ล่าเหยื่อที่มีการฆ่าโดยใช้อาวุธเป็ฯสัญชาตญาณตามธรรมชาติผู้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางคนก็เชื่อว่า ความก้าวร้าวรุนแรงนั้นเป็ฯสิ่งที่มีคุณต่อสิงมีชีวิตทั้งนี้เพราะความก้าร่วงรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หากปราศจากสัญชาติญาณนี้แล้วสิ่งมีชีวิตก็จะอดตาย ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวร้าวรุนแรงนี้เป็ฯสิ่งที่เกิดขึ้น-ายในตัวส่ิงมีชีวิตและไม่ใ่ผลของปัจจัยแวดล้อม ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยว่างเว้นความขัดแย้ง ไม่ว่าะเป็นในระดับบุคคล หรือในระดับสังคม มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันทุกประการ หากมีความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่ "พันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม ความแตกต่างทำนองนี้มักเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งแต่ขณะเดียวกันบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเป็น "พลังทะยานชีวิต"ของมนุษย์เพราะมันโน้มนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันยังประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ แต่จุดสำคัญนั้นคือความรุนแรงหรือสงครามมิใช่ผลของความขัดแย้ง หากเป็นวิธีการแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ไขหาข้อยุติให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ

      กฎบัติสหประชาชาติ แม้นว่าในแต่ละระบบการเมืองจะมีความกังวลห่วงใยต่อมนุษย์อันเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์มูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์ต่างๆ ที่ดีขึ้น แต่ในสังคมของมนุษยชาตินั้น การกดขี่และการฆ่าฟันต่อกลุ่มชนต่างๆ ก็เกิดขั้นมากมาย ชีวิตและเสรีภาพของแต่ละบุคคลต่างก็ดูไร้ค่า ไม่มีราคาแต่อย่งใด มีผู้คนล้มตายผู้อพยพและผู้ไร้ถิ่นฐานเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน สหประชาชาติจึงมีจุดมุ่งมั่นและได้กล่วยืนยันไว้ในคำปรารภของกฎบัติสหประชาชาติโดยยืนยันถึงความตั้งใจที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเพื่อประชาชนแห่งสหประชาชาติ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวรับรองเรื่องสิทธิมนุญชนไว้โดยตรงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นกลไกการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในคำปรารภได้ยืนยันถึงหลักการนี้ว่า "..ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุาย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาิตใหญ่น้อย" จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า สหประชาชาติมีความปรารถนาในความตั้งมั่นและจริงจังโดยความผูกพันทางกฎหมายที่จะตามมา
      แม้จะมีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการร่วมมือระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยหลักการไม่เลือปฏิบัตินั้นก็กลายเป็นปัญหาในการคุ้มครองระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะภายใต้กฎบัติสหประชาชาติไม่ได้มีการกำนหดถึงรายละเอียดของสิทธิว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้งจังมีการพิจารณาจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยพันธกรณีที่กำหนดไว้ให้มีการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลมีความหมายค่อยช้างกว้าง และกฎบัติสหประชาชาติเองก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน และอะไรคืออิสรภาพอันเป็นหลักมูลที่สามารถเห็นได้โดยชัดเจนคือการส่งเสริมให้มีการเคารพโดยสกกลและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการยอมรับหลักการพื้นฐานใหม่ที่สำคัญอันเป็นสากลคือบุคคลทุกๆ คนควรจะได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งพึงมี ดังนั้นเพื่อให้การเคารพและปฏิบัติตามเป็นจริงได้นั้น รัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการโดยเป็นรูปธรรมและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ
      รัฐสมาชิกนอกจากจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีในรัฐของตนแล้วยังต้องดำเนินการร่วมมือกบรัฐอื่น ๆ และกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะอย่งยิ่งกับองค์กรซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
     กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเปรีบเสมือนกฎหมายที่มีการอกล่าวอ้างโดยทั่วไปในเวลทีระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตา สิทธิมนุษยชนตามกฎบัติสหประชาชาตินั้น ย่อมไม่มีลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐเป้ฯเรื่องเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐนั้น
      แต่เดิมนั้นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยโดยเฉพาะเท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า "รัฐ" นั้นเป็น "เป้าประสงค์" ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถใช้หรือดำเนินการตามขอบเหขตที่กำนดแม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ แต่ในช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่างประเทก็ยังเป็นเพียง "ผลของเป้าประสงค์" อยู่เหมือนเดิม ขณะเดียวกันเมื่อสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่งปรเทศก็ค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะ จาก "ผลของเป้าประสงค์" เป็น "เป้าประสงค์" แทน และยัะงเป็น "เป้าประสงค์" ที่กระตือรือร้นส่งผลตามมาให้เกิดกฎกมายและการดำนเนนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้นองค์การระวห่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันใก้เป็นจริงทั้งในระดับภูมิภาคและสากร สิทธิมนุษยชนจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญส่้วนกนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนับตั้งแต่นี้ไป
   
     สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิมนุษยชน โศกนาฎกรรมที่เกกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ความไม่สงบสุขที่เกิดขึ้นในทางสังคมและทางการเมือง ความรุนแรงในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อจัดทำข้อกำหนดในการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นมูลญานต่างๆ นับได้ว่าเป็นแนวความคิดร่วมกันของประชาชนทุกคนและของรัฐต่างๆ ทุกรัฐในความปรารถนาให้มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป้นมนุษชาติอันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
     เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายพื้นฐานที่มีเนื้อหาไม่มากนักได้ส่งผลต่อมา ทำให้เกิดเป็นกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายดังกล่าวจึงเป็ฯของทุกชนชาติและศาสนาโดยไม่อาจมีการแบ่งแยกได้ปฏิญญาสากำลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเปรียบเสมือนเป็นกฎหมายพื้นฐนของสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ปฏิญญาฯนี้ไม่มีผลผูกพันให้รัฐต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นผลให้เกิดกฎหมายต่างๆ ตามมา ทั้งกฎหมายระหว่างปะเทศและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็กล่าวอ้างถึงหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมด้วยสำหรับกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้บัญญัติถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไว้
      คงกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างปรเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของปัจเจกชน ส่วนกฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นเป็นกฏหมายที่ให้การเคารพต่อความเป็นมนุษยชนแย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการให้ความเคารพและคุ้มครองประชาชนให้มีศักดิ์ศรีสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยเท่าเทียมกันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยกับสิทธิมนุษยชนโยทั่วไป นั้นจะมีการกำหนดถึง "สิทธิและเสรรีภาพบางประการที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ไว้ด้วย" สิทธิต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจึงมีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพบางประการทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 3 ฉบับ
     หลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
      " เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานอันดีย่ิงขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น"
      การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในระดับประเทศและระว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อพิจารณากฎบัติสหประชาชาติแล้วะเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีหลักการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันเพื่อให้มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนโดยสากล แต่ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับหลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักการสน่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
      กลไกในการทำงานและดำเนินงานที่สหประชาชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นจัดทำกฎหมายและพัฒนามาตรฐานของกฎหมาย ติดตามเผ้าดูสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก และผลักดันให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีผลใช้บังคับและมีการปฏิบัติตามอย่างได้ผล การจัดตั้งกลไกในการทำงานเพื่อให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนแาจจะเกิดขึ้นได้โดยกฎบัติสหประชาชาติส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งจากฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

The Mass


       มวลชน มีลักษณะดังนี้ คือ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างเดียวกัน แต่ละคนก็ยังมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล กล่าวคือมีความรู้สึกแยกตนเองออกจากผู้อื่นโดยต่างคนต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีความประสงค์ที่จะรู้จักกัน ทั้งนี้เพราะมวลชนนั้นแต่ละคนต่างมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ผิวเผิน มีความรู้สึกร่วมเป้ฯอันหนึงอันเดียวกันหรือเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็นผลทำให้มีการหล่อหลอมจิตใจของสมาชิกเข้าด้วยกัน แม้จะยังไม่เกิดขึ้น หรือมีอยู่น้อยก็ตามที ก็จัดว่าเป็นมวลชน 

        มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ จัดเป็นปรากฎณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกัน แต่มาอยู่ใกล้กัน ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันแต่เพียงหลวม ๆ โดยต่างคนต่างมีอารณ์ร่วมกันหรือมวัตถุประสงค์ตรงกัน พฤติกรรมรวมอมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นกับบรรดาบุคคลต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายกันออกไป และไม่มีการกระทำอย่งใดต่อกันทางสังคมกับคนอื่นเช่นในสังคมปกติ แม้ว่าบุคคลจะขาดการติดต่อกันก็ตาม แต่ทิศทางแห่งการกระทำต่างก็ลู่เข้าสู่วัตถุประสงค์ร่วมกันได้
       พฤติกรรมรวมหมู่เช่นนี้จัดเป็น "มวลชน" คือบรรดาบุคคลจำนวนมากที่ต่างคนต่างอยู่ต่างมีแบบแห่งการดำเนินชีวิตซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีความสัมพันธ์ติดต่อกันกับคนจำนวนหนึ่ง โดยแต่ละบุคคลจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกันอย่างที่สุดที่มีอยู่ในสมัยนิยมชนิดเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ มวลชนจึงเป็นเรื่องของคนที่กระจัดกระจายต่างคนต่างอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฎในสังคมเมืองหลวงหรือสังคมอุตสาหกรรม อันเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เรามักรู้จักกันในนามว่าชนกลุ่มน้อยหรือชนต่างวัฒนธรรม คือคนจำนวนมากที่มาจากแหล่งต่างๆ และมาอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันนั้นเอง
       สมาชิกของมวลชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ รู้เรื่องของกันและกัน โดยผ่านทางสื่อสามมวลชน นกอจากนั้น ทุกคนยังต่างมีความสนใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสื่อมวลชนเป็นสวนใหญ่ ที่เป็นสื่อชี้นำมวลชนจนอาจก่อมติมวลชนได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปลุกระดมของสื่อมวลชนที่จะมีอิทธิพลเพียงใดต่อมวลชนนั้นๆ
        มวลชนโดยลำพังตนเองไม่สามารถกรทะการสำคัญร่วมกันได้ เพราะสมาชิกต่างคนต่างมีภูมิหลังความสนใจ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันแต่เพียงเล็กน้อยความรู้สึกเป็นอนหนึ่งอนเดียวกันในลักษณะการผนึกกำลังกันจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
       มวลชนอาจถูกปลุกปั่นยุยงโดยนักโฒษณาชวนเชื่อหรือผู้เข้าใจจุดอ่อน ความกดดันและปัญหาต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีอยู่ร่วมกันและมวลชนที่ถูกปลุ่กปั่นยุยงนี้อาจกลายสภาพเป็นฝูงชนวุ่นวาย(mob)ที่มีอารมณ์ร้อนแรงร่วมกัน ต่างมีความเห็นตรงกันและสามารถกระทำการรุนแรงได้
       ความคิดเห็นของมวลชนที่เกิดขึ้นจากการถูกปลุกปั่นยุยงนี้จัดเป็ฯ มติมวลชน จะมีความแตกต่างกับมติมหาชนซึ่งถือว่าเป็นความเห็นหรือมติที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ ได้ปรึกษาหารือถกเถียงกันโดยใช้หลักเหตุผลในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ เช่น สมาคม - อาชีพ สโมสร สหภาพแรงงานพรรคการเมือง สภาท้องถิ่น ประชาชนะมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด เมื่อมีประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในสังคม กลุ่มต่าง ๆ เลห่านี้จะนำมาพิจารณา และเมื่อส่วนใหญ่ตัดสินใจอยางไร ก็จะหลายเป็น "มติมหาชน" ไปในที่สุด
        จากลักษณะของมวลชนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่ามวลชนมีความหลากกหลายในด้านต่างๆ ซึ่งในลักษณะเหล่นนั้นมวลชนยังจะคงความเป็นปัเจกบุคคลเป็นจุดเด่นอยู่เสมอ เราะมวลชนย้ำความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีลักษณะหลวมๆ อยู่ในสังงคมแบบตัวใครตัวมันดังกรณีประชาชในเมืองหลวงหรือในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่รวมของชนต่างวัฒนธรรม จึงทำให้เป็นที่รวมของวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ หรือเป็นศูนย์กลางของอนุวัฒนธรรม และความเป็ฯอยู่ของประชาชนก็สามารถเห็นได้จากการอยู่อาศัยในบ้านจัดสรร แฟลต ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเมนท์ ตลอดจนตามแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น ซึ่งประชาชนที่อยู่ตามที่อยู่อาศัยดังกล่าวเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้จักกัน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันน้อยมาก ดังนั้น ความเป็นปัจเจกชนที่มีความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ จะเห็นอย่างเด่นชัดเจนที่เดียว
        มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำทางสัคม โดยการติดต่อกับกลุ่มที่มีการจัดระดับขั้นทางสังคมหรือจัดเป็ฯประเภทที่ยอมรับกันในรูปแบบอื่นๆ โดยจัดให้เก็นความหลากหลายของการรวมกลุ่มทั้งที่เป็ฯระดับ ทั้งที่เป็นประเภทโดยใช้เป็นคำรวมๆ ว่า "กลุ่ม - Category โดยใช้เป็นการแบ่งออกเป็นประเภทตามระดับทางสังคม "มวลชนนันเป็นเพียงระดับชั้นประเภทหนึ่งของบรรดาชั้นทั้งของกลุ่มทางสังคมขั้นพื้นฐาน" ระดับชั้นประเภทอื่น ๆ ที่ควรกล่าวถึง ได้แก่ ชุมชน  มิตรภาพ และสังคม ซึ่งแต่ละคำต่างล้วนมีความหมายแสดงถึงมวลชนทั้งนั้น เพราะต่างมีลักษณะเช่นเดี่ยวกับมวลชนทั้งสิ้น
         สังคมมวลชนนั้นจัดเป็ฯสังคมอีกรูปแบบหนึ่งขอพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันแตกต่างจากพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมฝูงชน พฤติกรรมสาธารณชน เป็นต้น กล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก สังคมมวลชนเป็นสังคมที่ใช้หลักการและเหตุผลมากกว่าความสัมพันธ์กันส่วนตัว เป็นสังคมของประชาชนต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่มีความหลากหลายด้านพฤติกรรม ส่วนใหญ่แล้วมักปรกกฎในสังคมเมืองหลวง หรือสังคมอุตสาหกรรมอันเป้ฯสังคมที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ หรือเป็นสังคมอุดโภคา และเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ที่รู้กันว่าเป็นชนต่างวัฒนธรรม ซึ่งสังคมลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมผู้อื่นนำสมาชิกส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบอันแตกต่างไปจากสังคมดั้งเดิม เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของความเป้ฯกลุ่มทุติยภูมิที่ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว แต่ละคนจึงต่างมีแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนเอง ขาดความไว้วางใจในกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะเช่นนี้จึงมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยุ่บนเพื้นฐานของกฎเกฑณ์ทางสังคมมากกว่าส่วนตัว การสื่อสารจึงมีบทบาทมาก ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันที่เป็นส่วนตัวมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะสมาชิกสังคมมวลชนต่างอาศัยการสื่อสารเป้นสื่อในการติดต่อ
        จากลักษณะดังกว่าง สังคมมวลชนนั้นเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางสังคม โดยถือว่าการพัฒนานั้นจะเน้นด้านวัตถุเป็นหลัก และที่สำคัญที่สุดของวามเปลี่ยนแปลงก็คือการแสดงง
หาความสะดวกสบายมาสนองความต้องการของสังคมมวลชนโดยการลดพฤติกรรมบางอยางบางประเภทที่ขัดต่อความสำนึกของมวลชนออกไป โดยเน้นด้านผลประโยชน์เป้ฯสำคัญ
         มติมวลชน โดยปกติ มวลชนหากปราศจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ควบคุมสังคมแล้ว ไม่อาจทำการใดๆ ที่สำคัญๆ ร่วมกันได้ เพราะสมาชิกมวลชนต่างมีความสัมพันธ์กับอย่างหลวมๆ แต่ละคนมักจะมีภูมิหลังความสนใจ และประสบกาณ์ต่างๆ ร่วมกันเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ขาดความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ความสัมพันธ์กันในรูปของญาติสนิทก็ดี ความเป็นผู้ครอบครอชุมชนก็ดี จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ มติมวลชนที่เกิดขึ้น จึงเป็ฯเพียงปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่อาจนำไปใช้ในสังคมโดยทั่วไปได้
         ดังนั้น มติมวลชนนั้นเป็นข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่มบุคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์กันหลวมๆ และแต่ละฝ่ายมักมีภูมิหลังต่าง ๆกัน อันทำให้ความสัมพันธ์ของมวลชนไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร แม้ว่าสมาชิกมวลชนนั้น จะมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันก็ตา สภาพดังกล่าวแล้ว ฏ็ไม่อาจทำให้มติมวลชนเป็นที่ยอมรับในวงการทั่วไปได้
         พฤติกรรมมวลชน  เมื่อเราถือว่า ฝูงชนเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านกายภาพแต่นั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก พฤติกรรมรวมหมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลได้เหมือนกัน แม้ต่างคนต่างแยกกระจัดกระจายกันอยุ่ และแต่ละคนก็ไม่ได้มีการกระทำระหว่างกัและกันกับคนอื่น ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้บรรดาสมาชิกขาดการติดต่อกันแต่มีการกระทำที่แสดงออกถึงวัตถุปรเสงค์ร่วมกัน การแสดงออกลักษณะนี้ จัดเป็น "มวลชน" ซึ่งหมายถึงคนจำนวนมากที่กระจัดกระจายกันอยู่ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนต่างตอบสนองโดยความเป็นอิสระของตนต่อสิ่งเร้าอย่างเดียวกัน การแสดงออกของมวลนส่วนใหญ่มักเอาอย่างหรือเลีวยแบบผู้อื่นหรือสังคมอื่น ซึ่งจะปรากฎในรูปของพฤติกรรมมวลชน เรื่องพฤติกรรมมวลชนนี้ หากดูเผินๆ แม้จะไม่มีความรุนแรงก็ตาม แต่มีอิทธิพลบางอย่างอันเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสังคม เป็ฯตัวการที่จะทำให้พฤติกรรมมวลชนเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับในสังคมต่อไป
        รูปแบบของพฤติกรรมมวลชน เป็นพฤติกรรมมวลชนมีกาจัดรูปแบบออกไปเป็นประเภทต่างๆ ดันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ ข่าวลือ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ สมัยนิยม ความคลั่งไคล้ ฮีสทีเรียหมู่
        "ข่าวลือ" เ็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ๋มักออกจากปากคนคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แพร่กระจายออกไปทั่วทั้งกลุ่ม จนบางครั้งสมารถแพร่ไปทั่วทั้งสังคม ดดยไม่มีการตรวจตรา ให้ถูกต้องถี่ถ้วน ข่าวลือจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในบางสงคม แต่ส่วนใหญ่แล้วข่าวลือจเป็นเสมือนเกิดขึ้นในสถานกาณ์ที่เน้นด้านสังคมมากที่สุด
        "ความคลั่งนิยมชัวขณะ" เป็ฯพฤติกรรมมวลชนรูปแบบหนึ่ง อันเป็นรูปแบบที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และยินดีรับมาใช้ระหว่างช่วงเวลาอันจำกัดของสังคม ความคลั่งนิยมชั่วขณะนี้จะมีความแตกต่างกับสมัยนิยม ก็โดยอาศัยความพึงพอใจในช่วงเวลาที่ถูกจำกัดมากว่า และมักจะดำรงอยุ่ในเวลาอันสันด้วย จะเห็นได้ว่าความคลั่งนิยมชัวขณะนี้เป็นพฤติกรรมที่ดำรงอยู่ไม่นาน โดยขึ้นอยู่กับความพอใจและยินดียอมรับของสังคมที่จะนไมาใช้ด้านพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด
         " สมัยนิยม" เป็นรูปแบบของพฤติกรรมหนึ่งขอพฤติกรรมมวลชน อันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมตามระยะเวลที่กำหนดไว้ แต่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สมัยนิยมจึงเป็ฯการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบในปทัสถานที่แน่นอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในแง่ของวัฒนธรรม และมีเป้าหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การยึดติดสมัยนิยมนั้น เป็นวิธีการอันหนึ่งในการผนวกเอาความเบี่ยงเบนและความคล้ายคลคงกันเข้าไว้ด้วย นั้นคือความเบี่ยงเบนนั้นเนื่องมาจากการปฏิบัติตามประเพณีและความคล้ายคลึงกันตามมาตรฐานที่นิยมกันอย่างจริงจัง การขยายตัวของสมันนิยมอาจจะยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ และมีความลงรอยเดียวกัน ตามสมัยนิยมอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยปกติสมัยนิยมจะถูกบังคับด้านรูปแบบที่ไม่เป็นทางการด้านการควบคุมทางสังคม เพราะเป็นไปตามพอใจและนิยมยอมรับของสังคมเอง สังคมหนึ่ง ๆ อาจจะยอมรับสมัยนิยมรูปแบบหนึ่ง ๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลายาวนานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันสมัยนิยมนั้นอาจไม่เป็นที่นิยมยอมรับของสังคมอื่นๆ ก็ได้เป็นต้น
         " ความบ้าคลั่ง" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมมวลชน เช่นเดียวกับรูปแบบอื่นๆ ของพฤติกรรมมวลชน จัดเป็ฯพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลามากที่สุดในบรรดาพฤติกรรมมวลชนทุกประเภท เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ปราศจากการพิจารณาไตรีตรองตามเหลักเหตุผล จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถคงทนดำรงอยู่ในสังคมได้นาน โดยผูกพันอยู่กับความพอใจและอารมณ์ของตนเองเป็นหลัก ตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ถือว่าความบ้าคลั่นนั้นเป็นปทัสถานที่เกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติมักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบางอย่างที่ฉาบฉวยและผิวเผินมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกทางอารมณ์ของคน
          " ฮีสทีเรียหมู่" เป็นเรื่องของปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งอันเป็นปรากฎการณ์ด้านรูปแบบพฤติกรรมมวลชน ความจริงแล้วมักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตของสมาชิกสังมเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ทางจิตประเภทหนี้ มักเกิดกับสมาชิกสังคมบางส่วนหรือบางคนเท่านั้น ไม่ทั่วไปทั้งสังคมจึงไม่่ค่อยปรากฎเด่นชัดมากนัก
           ฮีสทีเรียหมู่ เป็นปรากฏการ์ทางสังคมประเภทหนึ่งในรูปแบบของพฤติกรรมมวลชน อันเป็ฯพฤติกรรมที่เกิดจากความวิปลาสหรือความผิดปกติทางจิต ในลักษณะของความฝังใจจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ได้ประสบมาทั้งทางตรงและทางอ้อม อันถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต ทำให้เกิดความกระวนกระวายใจ ไม่เป็นระเบียบและสับสนทางพฟติกรรมพฤติกรรมที่แสดงออกมามักปราศจากการควบคุม ส่วนใหญ่จะปรกกฏในอาการต่าง ๆ เช่น จิตหลอน อารมณ์ไม่มั่นคง คือมีอาการทางอารมณ์หวั่นไหวไม่คงที่แน่วแน่และอ่อนแอ
         พึงเข้าใจว่าฮีสทีเรียหมู่นั้น เป็นโรคจิตชนิตหนึ่งของสังคม เป็ฯโรคที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่อาจถ่ายทอดกันทางพฟติกรรมได้ เพราะฉะนั้นฮีสทีเรียหมู่จึงเป็นเพียงปรากฏกาณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น และอาจมีอิทธิพลทำให้สังคมเกิดความอ่อนแอ ในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นได้
         
      

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Crowd


        การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่งที่ต่างมีจุหมายหรือความสนใจตรงกันโดยแต่ละคนจะมีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพ และไม่เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำ ความสัมพันธ์ ความรู้จักมักคุ้นสนิทสนมต่อกันและกันเป็นส่วนตัวมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเมื่อแต่ละคนต่างมีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน สภาพฝูงชนก็จะสลายตัวไป เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของมวลรวมกันเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการศึกษาฝูงชน จะของแยกอธิบายตามแนวต่อไปนี้

     การที่คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนบ้าง เคยรู้จักกันมาบ้าง มารวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง จะโดยนดหมายกันมาก่อนหรือไม่ได้นัดหมายกันมากก่อนก็ตา แต่ละคนที่มารวมกันนั้นต่างมีเป้หมายหรือวัตถุประสงค์ของการมารวมกันนั้นตรงกัน หรือร่วมอย่างเดียวกัน และเมื่อได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการแล้ว สภาพการรวมกันก็สลายไป ลักษณะเช่นนี้ จัดเป้น "ฝูงชน" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมสภาพฝูงชน การรวมตัวกันใรรุ)ของฝูงชน จึงมีความหลากหลายออกไปตามปัจจัยแวดล้อมอันทำให้มีการจัดประเภทแก่งพฤติกรรม
        "ฝูงชน"ตามแนวสังคมวิทยา เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคมมิใช่ศึกษาเจาะจงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
        อนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ คำว่า "ฝูงชน" ที่เรานำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่นั้น ยังได้ถูกนำมาใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวางมาก โดยใช้แสดงถึงการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างมีการแสดงออกหรือการกระทำตามวัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายของตน และการที่ใช้ฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงเป็ฯการแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของบบรรดาสมาชิกฝูงชนดังได้กล่าวแล้ว
        ในจิตวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แสดงนัยอันเป็นความหมายทีบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง ๆ ซึ่งต่างมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ตามปัจจัยอันเป็นสาเหตุให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยใช้คำที่มีัลัษณะและความหมายที่สามารถเข้ากันได้และลงรอยเดียวกัน การศึกษาฝูงชนตามแนวจิตวิทยาสังคมนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ฯพฤติกรรมที่แสดงออกตามความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีทั้งความรุนแรงก้าวร้าว และความสมานฉันท์ด้านนันทนาการ
        ตามปกติ ฝูงชนจะมัลัษณะสำคัญที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ เป็นผลของการแสดงออกของพฤติกรรมรวมหมู่ในด้านรูปธรรม อันทำให้พฤติกรรมรวมหมู่ปรากฎเป็นรูปร่างตัวตนขึ้นมา โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎออกมาตามลักษณธที่เห็นว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยจะมีภพความปั่นป่วนระสำ่ระสายของฝูงชนในลักษณธของการวนเวียนจับกลุ่ม การเดินไปเดินมาโดยไร้จุดหมายที่แน่นอน และยังถือว่าเป็นความกระวนกระวายอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมายของคนในฝูงชน อันหมายถึง ภาวะขัดแย้งที่ปราศจากผู้นำ และความกระวนกระวายนี้ยังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปลุกเร้าทางจิตอันเป็ฯความผิดปกติทางอารฯ์ร่วมกันระหว่างสมาชิก ซึ่งเป็ยผลมาจากการที่สามชิกมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการเร้าทางอารณ์ ทำให้บรรดาสมาชิกเกิดความตื่นเต้น และมีอารมณ์ร่วมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยภาวะแห่งการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เหล่านั้นไปยังบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดอันเป็นการช่วยกระจายความรู้สึกให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป ซึ่งสภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพฝูงชนขึ้น และสามารถลงมือกระทำการต่างๆ ได้
        อีกประการหนึ่ง ยังมีฝูงชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปจากผู้รับสร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าทางอารมณ์ที่แต่ละคนต่างมีข้อกำหนดระหว่างบุคคลแต่ละบุคลที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกัน และยังมีความแตกต่างจากมหาชน อีกด้วย โดยที่แต่ละคนจะมีความใกล้ชิดด้านกายภาพระหว่างสมาชิกด้วยกัน ดังกรณีนักศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่มีการแข่งขันกีฬาต่างก็จะมีอารมณ์ร่วมกัน และมีสภาพการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของความเป็นฝูงชนได้ ประชาชนต่างมายืนรอรถประจำทางตามป้ายจอดรถก็จะดเป็นฝูงชนเช่นกัน เรียกว่า ฝูงชนบังเอิญ แม้พฤติกรรมฝูงชนก็จัดเป็นรูปแบบพื้นฐานของพฟติกรรมรวมหมู่ การพิจารณาฝูงชนดังกล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวในแง่ของสังคมวิทยา ที่พิจารณาฝูงชนทั้งฝูงชนหรือพิจารณาหมดทั้งกลุ่ม มิได้พิจารณาเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบคคลหนึ่งหรือบางกลุ่มบางส่วนในฝูงชนนั้น
        สภาวะรวมหมู่ ฝูงชนมัเป็นที่ยอรับกันว่า เป็นสภาวะรวมหมู่ทั้งนี้ เนื่องจากมีลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะไ้รับการกล่าวขานในด้านโครงสร้างทางจิตวิทยาโดยตรงแต่บรรดนักการศึกษาต่างพยายามหานิยามอันเป็นที่ยอมรับกัน  จนเป็ฯที่ตกลงด้านจำนวนเป้าหมายที่กำนดตายตัวลงไปเท่านั้นว่า
   - ฝูงชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่เป็ฯทางการในบางรูปแบบ
   - ฝูงชน เป็ฯการรวมตัวกันเพียงชัวคร้งชั่วคราวเท่านั้น โดยอาจจะก่อรูปขึ้นมาเป็ฯกลุ่มที่เป็นทางการก็ได้ หรือกาจเกิดขึ้นในรูปขององค์การที่ถาวรก็ได้
   - มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของบรรดาปัจเจกบุคคลประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ จะเป็ฯไปตามเงื่อนไขตามที่ยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าสามารถสื่อความหมายกันภายฝูงชนนั้น ๆ ได้ แม้กระน้นก็ตามก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะทำให้คนมารวมกัน หรือทำให้คนเหล่านั้นได้รับความรู้เหมือนกันกับคนอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ฝูงชนจึงประกฎเป็นรูปร่างทางกายภาพขึ้นโดยทันทีทันใด..
   - ฝูงชนนั้นยังอยู่ในกระบวนการตลอดไป เนื่องจากมีลักาณะเป็ฯเด็กหลงพ่อแม่ อย่างหนึ่ง
   - ฝูงชนนั้น ส่วนใหญ๋แล้วจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก คนเพียงสามคนไม่อาจจัดเป็นฝูงชนได้
            ทั้งนี้เนื่องจากฝูงชนเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่ต่างมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินการต่าง ๆ เฉพาะตน ฝูงชนจึงเป็นผลรวมหรือมวลรวมทางพฤติกรรมของสมาชิกเองเมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ฝูงชนในฐานะสภาวะรวมหมู่ พอสรุปได้ดังนี้
   - บางรูปแบบมัลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่เป็นทางการ
   - เป็นการรวมกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่ง
   - แต่ละคนสามารถสื่อความหมายกันได้
   - อยู่ในกระบวนการตลอดไปคือมีความเป็นไปโดยไร้ระเบียบแบบแผนตายตัว
   - ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก
ดังนั้น ฝูงชนในสภาวะรวมหมู่จึงมีลักาณะการรวมกันที่ไม่ได้มีการวางแผนกำหนดการแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องการรวมหลุ่มกันตามความพอใจและความประสงค์ของแต่ละคนนั้นเอง
         ลักษณะเฉพาะของฝูงชน ที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
         - มีสภาวะนิรนาม ฝูงชนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งด้านชื่อเสียง และภูมิหลังของกนและกัน มักปรากฎในช่วงเวลาอันั้น โดยเป็นไปเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ที่มารวมกันนั้นแต่ละคนจะไม่สนใจในกันและกน คือไม่มีความรู้สึกต่อกันและกันในฐานะส่วนตัว หรือเป็นส่วนบุคคลเลย ทุกคนจะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การแสดงออกทางพฤติกรรมก็เป็นไปในรูปของกลุ่ม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีต่าง ๆ ทางสังคมไม่ว่าจะด้านกฎหมายและด้านศีลธรรมจะถูกลืมและขจัดออกไป ทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอิสระเสรีในการกระทำและแสดงออก การกระทำบางอย่างก็ดี การแสดงออกก็ดีในเวลาปกติจะไม่กรทำ เพราะถือว่าขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคม
         - มีลักษณะเป็นอบุคลิก  เป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะลักษณะเช่นนี้เป้ฯลักษณะที่ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยแตละคนต่างทำหน้าที่ของตนตามบทบาทที่เกิดจากสถานภาพเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎเด่นชัด เมื่อมีการจลาจลวุ่นวายที่เกิดจาปัญหาเชื้อชาติไม่ว่าจะโดยทางชาติพันธุ์ หรือความสัมพันธ์ทางเชื่อชาติ แม้คนในฝ่ายตรงข้ามจะไม่เคยประพฤติผิดเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จะเป็นคนดีเพียวใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์เชนนั้นขึ้น เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องวัด "ความดี" ก็ดี  "ความเป็นเพื่อน" ก็ดี ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ เพราะไร้ประโยชน์ ต่อเมื่อเหตุการณ์สวบหรือสลายตัวแล้ว ความสัมพันธ์ที่มีอยูต่อกันก็จะกลับกลายมาเป้นสวนบุคคลเช่นเดิม
          - สภาวะแนะนำง่าย สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดฝูงชนนั้นไม่ได้กำหนดสถานภาพและบทบาทของฝูงชนมาแต่เดิม เป็นแต่เพียงกำหนดระเบียบและโครงสร้างไว้ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงไม่มีผู้นำที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเฉพาะรวมถึงไม่มีรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับกัน ฝูงชนในลัษณะเช่นนี้จึงมีความว้าเหว่ อ้างว้างขาดที่พึ่งพิง ปราศจากหลักยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทางใจ เพื่อที่จะให้ฝูงชนดำเนินการและปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนจะพงมี กลุ่มจึงเป็นผู้รับผิดชอบโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมาให้สมาชิกปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้สถานะของกลุ่มจึงมักมีการชัดแย้งกันและสร้างความยุ่งเหยิงเสมอในภาวะของสถานกาณ์เช่นนั้นประชาชนอาจปฏิบัติตากการชี้แนะของใครก็ได้..
          - การแพร่ติดต่อทางสังคม หรือการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม โดยที่แรงดลเหรือความรู้สึกที่แพร่จากบุคคลไปยังบุคคลอื่น ยังผลไใ้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน มักใช้ในสถานกาณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคลั่งไคล้ ความแตกตื่น หรือความระเริงใจ...
          - คุณสมบัติเฉพาะของฝูงชน ฝูงชนเป็ฯสภาพแห่งการรวมตวกันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของปัจเจกบุคคล อันเกิดขึ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวการเร้าหรือจูงใจให้เกิดขึ้นมาดังนี้นเรื่องของฝูงชน แม้ว่าเราจะทราบกันแล้วว่าเป็นการรวมกันของคนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่ว่าจะโดยการนัดหมายกันหรือมิได้นัดหมายกันไว้ก็ตาม แต่พึงเข้าใใจว่าฝูงชนนั้มีจุดรวมอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องจูงใจให้แต่ละคนมารวมตัวกันก่อสภาพเป็นฝูงชนขึ้น นั้นคือ จุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่แต่ละคนมีอยู่ จุดประสงค์หรือเป้าหมายอันนี้ จะเป็นตัวการหรือเป็นปัจจัยจูงใจให้คนมารวมกันในสภาพของฝูงชนขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวมันเองว่ามีคุณสมบัติเช่นใดอันจะทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของฝูงชนได้
           - นิยาม "ฝูงชน" ฝูงชนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนหนึงมารวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดดยแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันด้านการกระทระหว่างกันเฉพาะตัวบุคคลหรือต่างมีความรู้สึกและพฤติกรรมตรงกันก็ได้ คำว่า "ฝูงชน" นี้ บางครั้งในที่บางแห่งถูกนำมาใช้หมายถึงกลุ่มของคนที่เป็ฯโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือภาวะของจิตภาวะหนึ่ง ที่อยู่ในภาวะของความเป็นฝูงชน ที่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
     มีข้อน่าสนใจเกี่ยวกับฝูงชนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ฝูงชนนั้นถึงแม้จะเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมก็ตามแต่จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและมักจะปรากฎอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยมักจะปรากฎในสภาพที่มีลัษณะของการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และอาจรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นการเคลื่อไหวที่บางครั้งไม่เคยมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอีกด้วย
     เมื่อว่ากันตามลักษณะของปรากฎการณ์แล้ว ฝูงชน เป็ฯการรวมกลุ่มกันอย่งหนึ่งของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในลักษณะที่มีการกระทำทางสังคมระหว่างกันและกัน เพียงแต่ว่ากลุ่มนั้นไม่ใช่การรวมตัวกันของบรรดาบุคคลต่าง ๆ ที่อาจจะพอนับกันได้ แต่เป็นการติดต่อเกี่ยวขข้องกันของบรรดาบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านการให้และการรับ นั้นคือการกระตุ้นและการตอบสนองระหว่างบรรดาสมาชิกด้วยกัน

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Stratification and Social Change (ช่วงชั้นและการเปลี่ยนแปลงทาสังคม)


      แม้ว่าช่วงชั้นจะมีอยู่ในทุกสังคม แต่รูปแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคมและเป็นการยากที่จะใช้เกณฑ์อันใดเพียงอันเดียว เช่น ความมั่นคง การศึกษา ความกล้าหาญ อำนาจฯ เป็นตัวกำหนดในตำแหน่งทางสังคมให้กับบุคคล จะเป็นการช่วยได้มากหากคิดว่า ช่วงชั้นทางสังคมเป็ฯเสมือนบันไดไปสู่ชั้นสูงสุดในสถานภาพของบุคคลจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง ช่วงชั้นจะเป็นรากฐานซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่ง บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในชั้นต่ำสุดจะถูกมองว่าต่ำต้อยที่สุด เช่นเดียวกับผู้ซึ่งอยู่ในชั้นสูงสุด จะถูกมองอย่งยกย่องชื่นชมในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคมนั้น ตำแหน่งของบุคคลถูกกำหนดโดยค่านิยมซึ่งสมาชิกของสังคมได้ให้ไว้ในการแสดงบทบาทางสังคมและใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินโดยการใช้ค่านิยมแบบอัตตวิสัย อย่างไรก็ตาม การตัดสินนี้อาจพบว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยฝช้วัตถุวิสัย เข้าเกี่ยวข้องด้วย ระบบช่วงชั้นทางสังคมเป็นสิ่งต่อเนื่องซึ่งเมื่อทุกคนมีตำแหน่งและตำแหน่งนั้นในทางกลับกันได้แบ่งแยกในพื้นฐานของสิทธิและอภิสิทธิ์

      ในทุกสังคม ถ้ามองในแง่ปฏิบัติแล้วจะเห็นว่ามนุษย์มีบทบาทและความแตกต่างกันในศักดิ์ศรีหรือสถานภาพซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทเหล่านี้ ถ้าพูดง่าย ๆ มนุษย์ทุกคนไม่มีสิ่งที่เท่ากัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเที่ยมกัน อาจกล่าวได้ดังนี้
     - ตัวการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเราไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ เพศ ความสามารถทางร่างกาย สมองสติปัญญา เป็นต้น
     - ลักษณะที่ได้มาโดยการสร้างขึ้นหรือหามาภายหลัง เป็นสิ่งซึ่งได้รับเนื่องจากความสามารถ
     - เป็นลักษณะที่เห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ แต่เกือบจะหลายเป็นเรื่องติดตัว เช่น ยศฐาบรรดาศักดิ์ วรรณะ
      การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม เป็นระบบซึ่งใช้เพื่อแบงแยกระดับความแตกต่าง ของตำแหน่งของแต่ละบุคคล หรือช่วงชั้นของศักดิ์ศรี หรือสถานภาพของบุคคลและลักษณะความแตกต่างของชุมชนเมื่อเปรียบเทียบกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคมแต่ละกลุ่ม
       หน้าที่และประโยชน์ของช่วงชั้นทางสังคม การแบ่งช่วงชั้นทางงสังคมมีทั้ง หน้าที่ ประโยชน์ โดยตรง และโดยทางแอบแฝง ซึ่ง มีผลต่อสังคมทัี้งหมดและจะมีผลต่อกลุ่มต่างๆ ในสังคม ผลบางอย่งของช่วงชั้นเป็นไปในทางที่ยอมรับเป็นประโยชน์ บางอย่างก็เป็นไปในทางปฏิเสธหรือไม่เป็นประโยชน์
       หน้าที่ ประโยชน์ของช่วงชั้นก็เพื่อคงไว้ซึ่งระบบสังคมโดยเป็นกลไก ซึ่งบุคคลที่อยู่ในช่วงชั้นที่ได้รับการยกย่องนับถือของสังคม เข้าใจในบทบาทและอภิสิทธิ์ สิทธิ์ ที่เขาคาดหวังหรือต้องรการ ซึ่งเป็นผลจากการมีบทบาทของเขา ระบบช่วงชั้นก่อให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมของแต่ละบทบาทสถานภาพซึ่งจะแตกต่างกัน แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวัฒนธรรมทั่งไปที่คล้ายคลึงกัน
       การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- วรรณะ ระบบวรรณะเป็นการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคลที่จะหใ้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมือเขาเกิด ระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
- ฐานันดร เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งตายตัวน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป้นไปได้และม่มีศาสนาค้ำจุนเหมือนอย่างระบบวรรณะ ฐานนัดรเกิดขึ้นตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานัดร นักบวช และฐานันดรขุนนาง ต่อมาภายหลังมีเพิ่มขึ้นอีก ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนชั้นต่างๆ แตกต่างกันไ โดยทั่วไป ชนชั้นและฐานันดรเป็นคำแทนกันได้ ฐานันดรจะเปลี่ยนเป็นชนชั้นเมื่อมีความเกี่ยวข้องผูกพ้นกับการกระทำที่ท้าทาย  เช่น การขัดกันระหว่างชั้นจะหลายเป็นการต่อสู้ของชนชั้น แม้จะเรียกว่าการชัดกันระหว่างฐานันดรก็ตาม โดยปกติเราจะแยกความแตกต่างของคำทั้งสองในลักษณะที่ว่า ฐษนันดรจะถูกมองในส่วนของชุมชน และชนชั้นจะเกี่ยวข้องทั้งสังคม
- ชนชั้น ในระบบวรรณะ ตำแปน่งทางสังคมถูกกำหนดขึ้นเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้ถือกำเนิโดยขึ้นอยู่กับวรรณะของบิดามารดา  ชนชั้นของสังคมประกอบด้วยจำนวนของบุคคลผุ้ซึ่งมีความเท่าเที่ยมกันในตำแหน่งซึ่งจะได้รับโดยความสามารถมากกว่าจะเป็นไปโดยกำเนิด มีโอกาสที่จะขยิบฐานะขึ้นหรือลงจากชั้นหนึ่ง Max weberได้เขียนถึง "ชนชั้น" วาประกอบด้วย กลุ่มของคนซึ่งมีโอกาสในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายนอกและประสพการณ์ในชีวิตของบุคคล ซึ่งถูกกำหนดโดยเงื่อนไขแห่งอำนาจ เพื่อช่วยการจัดระเบียบรายได้แลเศรษฐกิจ Ely Chinoy จำกัดความตาย "ชนชั้น" โดยเน้นถึงด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีความสามารถในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
           ชนชั้นทางสังคมประกอบด้วยจำนวนคนผู้ซึ่งมีสถานภาพโดยเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ตามความคิดนี้ใช้กับกลุ่มคนซึ่งถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งได้แก่ ชนชั้นสูง ซึ่งเป็ฯพวกที่มีสถานภาพสูงและมีเกียรติ ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ ซึ่งเป็นพวกที่มีสถานภาพต่ำที่สุดและมีเกียรติน้อย
     ความไม่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีเกียรติยศ
     หลักในการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับ เกียรติของอาชีพ ศักดิ์ศรีเกี่ยติยศมีส่วนสัมพันธ์กับรายได้และการศึกษาของผู้ที่ทำงาน  แต่มีข้อที่น่าสนใจ คื อรัฐมนตรี และ ครู มีศักดิ์สูงกว่ารายได้ แต่สัปปะเหร่อกับนักร้อง จะมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ     และเกียรติซึ่งได้รับในชุมชน
      ชนชั้นทางสังคมเป็นเสมือวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ตำแหน่งชั้นของบุคคลกลายเป็นวิถีชีวิตของเขา โดยมีอิทธิพลต่อรูปแบบของทัศนคติและค่านิยม ความคิดทางการเมือง พฤติกรรมทั่วไปของเขา สิ่งซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ คือ
      - ความแตกต่างของชนชั้นในจำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวต่างๆ ซึ่งเขาจะมีวิถีชีวิต ตามแบบของครอบครัวของเขา ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของเขาเอง
      - ชนชั้นจะแตกต่างกันเนื่องจากค่านิยมซึ่งขึ้นกับการศึกษาในระดับต่างๆ
      - จะมีความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของชนชั้นและพฤติกรรมทางการเมือง
      - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาจะผูกพันกับชนชั้นหนึ่ง ๆ ของสังคม
      - ชนชั้นทางสังคมใหญ่ ๆ ทั้งสาม อันได้แก่ ชนชั้นสูง ชั้นกลาง และต่ำ แต่ละชั้นมีแนวโน้มในการประพฤติตามบันทัดฐานและระบบค่านิยมที่เข้มงวดอย่างมีความสุขและความพอใจต่างกันไป
     
        การเปลี่ยนแปลงในชาติที่กำลังพัฒนา
        สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสังคมหรือการทำให้นำสมัยใหม่เสมอ ในอัฟริกา และเอเชีย ซึ่งได้รับประสบการณ์จากตะวันตก ในกรณีของช่วงชั้นก็เช่นเดี่ยวกัน
        ชาติต่างๆ เหล่านนี้เดิมถูกปกครองโดยพวกขุนนาง ในอินเดียและประเทศส่วนมากในอัฟริกาปัญญาชนได้แก่พวกที่ส่งมาปกครอง ซึ่งพวกนี้จะอยู่ในชั้นที่เหนือกว่าคนที่เป็นเจ้าของประเทศ แม้จะมีเกี่ยรติก็ตาม ในลาตินอเมริกา ปัญญาชนประกอบไปด้วยพวกศักดินา ขุนนางเจ้าของที่ดิน ซึ่งโครงสร้างนี้่อนข้างจะเป็นช่วงชั้นที่ตายตัว และเป็นปิรามิดสูงชัน ปัญญาชนที่มีอำนาจมีเพียงจำนวนน้อย ซึ่งอยู่บนส่วนสูงสุดของปิรามิด และที่เหลือซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศเป็นพวกชาวนา
        จากการผสมผสานของพลังงานทางสังคมต่าง ๆ การจัดแจงสิ่งซึ่งคงอยู่เป็นการท้าทายในสังคม ซึ่งมีผล คือ มีการปรับปรุง ตัวแทนสังคมที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ พวกซึ่งเป็นชสชั้นกลางใหม่ของประเทศซึ่งจะต้องเข้าใจว่า ชนชั้นกลางเช่นนี้ ไม่ใช่แบบซึ่งพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นชนชั้นกลางซึ่งมีอยู่ในสมัยเริ่มแรกของประเทศ เป็นกลุ่มซึ่งเรียกว่า Bourgeoisec ในประวัติศาสตร์ของตะวันตก กลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกที่เป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นผลถึงการเมืองเพื่อว่าจะได้รักษาตำแหน่งของตนไว้อย่างมั่นคง
        พวกชนชั้นกลางในประเทศที่กำลังพัฒนา ปัจจุบันไม่ใช่พวกเจ้าของกิจการ แต่จะเป็นพวกที่ทำงานทนายความ ครู นักการเมือง ทหาร ซึ่งส่วนประกอบของชนชั้นนี้จะต่างจากตะวันตก เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และมีอาชัพอื่นๆ ที่สำคัญกว่า และเนื่องจากการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และเครื่องมือต่างๆ  เป็นไปได้อย่างมากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รัฐบาลมีส่วนช่วยให้กิจการต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจสำเร็จลุล่วงไปได้มากกว่าบุคคลแต่ละคนได้ทำ
       ชนชั้นกลางเปลี่ยนจากซึ่งเคยเป็น ในตะวันตกกลุ่มชนชั้นกลางที่ทำกิจการซึ่งช่วยให้กิจการปฏิวัติทางสังคมในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันชาติที่กำลังพัฒนา หน้าที่เช่นนี้เป็นของชนชั้นกลางเช่นกัน การแสดงบทบาทของชนชั้นกลางก็ได้รับความสำเร็จในการพัฒนาจากสังคมแบบประเพณีมเป็นความนำสมัย และเืพ่การมีอำนาจและการบังคับ กลุ่มนี้ซึ่งส่วนมากได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งต้องท้าทายต่อชนชั้นที่สนับสนุนพวกขุนนางเก่า เขาจะได้ชัยชนะก็โดยที่ำทความเชื่อมั้นแก่มวลชน ซึ่งคนพวกนี้ในอนาคตจะมีส่วนผูกพันต่อความสำเร็จของชนชั้นกลาง อุดมกาณ์ รายได ความสำเร็จเหล่านี้ได้กลุ่มเป็นชาตินิยม
    
       
      

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...