วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Mass Communication


 


  


     แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของสื่อมวลชน เป็นแนวทางในการศึกษาสื่อมวลชนทฤษฎีนี้จัดอยู่ในประเภททฤษฎีทางสังคมวิทยา ซึ่งอธิบายถึงกิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก และกิจกรรมต่าง ๆเหล่านี้ถูกรวบรวมจัดขึ้นในรูปของความเป็นสถาบันด้วย เหตุผลในแง่ความจำเป็นทางสังคม สังคมนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆหรือระบบย่อยมีความเหี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย ระบบย่อยๆ แต่ละระบบเหล่านี้จะช่วยกันผดุงรักษาระบบใหญ่เอาไว้ ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนถูกเน้นว่าเป็นตัวเชื่อม เพื่อมำให้เกิดการรวมตัวกันเข้าของทุกส่วนในสังคม เพื่อความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของสังคม สื่อมวลชนพยายามที่จะสนองต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม ทั้งที่เป็นรายบุคคลและที่เป็นกลุ่มก้อนอย่างสมำ่เสมอ ผลก็คือสื่อมวลชนได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่ได้ตั้งใจ ในแง่ที่สามารถรวมสมาชิกทั้งหมดเข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่จึงไม่ต้องยึดกับฐานคติที่เกี่ยวกับว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ชี้นำทางอุดมการณ์ที่ถูกกำหนดมาจากสถาบันอื่นๆ ในสังคม แต่สื่อมวลชนเป็นทั้งผู้ชี้นำและผู้แก้ไขด้วยตัวของสื่อมวลชนเอง ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดมาจากสถาบันที่ควบคุมสื่อมวลชน

      การสื่อสารมวลชน คือ การสื่อสารที่เกี่ยงข้องกับสื่อพิมพ์ หรือสื่ิออเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ เพื่อทการสื่อสารกับคนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ หรือทั่วโลก ผู้รับสารของการส่อสารมวลชน อาจเป็นหลุ่มคนที่มีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป หรืออาจจะเป็นคนเพียงคนเดียวก็ได ปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันในสื่อการสื่อสารมวลขน คือ ภาลักษณ์  ภาษาการพูด ภาษาเขียน เสียงประกอบ ดนตรี สี แสง และเทคนิคต่างๆ ที่ถูกใช้ในกาสือสาร เนื้อหา และในผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ
     ปัจจุบัน สื่อสารมวลชนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรามาก เราใช้เวลามากเท่าใดในการรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯ สินค้าทั้งหลายที่เราซื้อ ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน หรือสิ่งที่ได้อ่านจากสื่อมวลชน
     สื่อมวลชนเป็นแหล่งที่สำคัญของข่าวสารและความบันเทิงสำหรับเรา ทุกวันนี้เราอยู่โดยที่มีสื่อสารมวลชนล้อมรอบอยู่ การทำความเข้าใจสื่อมวลชนว่ามีผลกระทบต่อการสื่อสารอย่างไรเป็นทสิ่งที่สำคัญสำหรับเราทุกคน
     ชิรลีย์ ไบย์จิ อธิบายถึงการสื่อสารมวลชนว่า คือ การสื่อสารจากคนๆ หนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง ผ่านเครื่องมือถ่ายทอดข่าวสาร (สื่อกลาง)ไปยังผู้รับารกลุ่มใหญ่
     Charles Wright กล่าวถึง "คุณลักษณะที่สำคัญของการสื่อสารมวลชน" ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
           - ลักษณะของผู้่งสารมวลชน มีลักษณะการดำเนินงาน ในรูปแบบของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้น ผู้ส่งสาร จึงไม่ได้เป็นใครคนใดคนหนึ่งที่ทำงานเพียงคนเดียว แต่ผู้ส่งสารเป็นผู้ทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ มีฌครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เช่น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย...
           - ลักษณะของผู้รับสารมวลชน
                    ผู้รับสารมีจำนวนมา ไม่สามารถกำหนดได้ว่า จำนวนผู้รับสารมจำนวนเท่าไร แต่มีหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ตัดสินว่า จำนวนผู้รับสารมีลักษณะที่จะเป็นผู้รับสารมวลชนได้ ถ้าผู้รับสรจำนวนหนึ่งมีส่วนในกิจกรรมการสื่อสารในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบได้ในทันที ก็ถือว่าเป็นลักษณะของผู้รับสารมวลชน
                    ผู้รับสารมีลักษณะทางสังคมที่แตกต่างกัน
                    ผู้สื่อสารและผู้รับสารไม่รู้จักกัน
           - ลักษณะของประสบการณ์ภูมิหลังของการสื่อสารมวลชน มีลักษณะสำคัญดังนี้
                     มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือเกี่ยวกับใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาของสารเป็นเรื่อสำหรับสาธารณชน
                     มีความเร่งด่วยน สารในการสื่อสารมวลชน จะต้องส่งไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาพร้อมกัน
                     ไม่ยั้งยืนถาวร สารในการสื่อสารมวลชน มีลักษณะที่ไม่ยั่งยืน เพราะสารในการสื่อสารมวลชนจะต้องผลิตขึ้นใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อสถานกาณ์ มีความใหม่สดเสมอ
      กระบวนการสื่อสารมวลขนแนวเส้นตรง สามารถให้ข้อคิดภายในขอบเขตกว้าง ๆ ของแบบจำลอง ซึ่งช่วยอธิบายการสื่อสารแบบเผชิญหน้ากัน แต่ละขั้นตอนมีความซับซ้อนมาก แต่ก็สามารถมองเห็นถึงความซับซ้อนได้ การสื่อสารแบบเผชิญหน้าขั้นพ้นฐาน และขั้นตอนของการสื่อสารมวลชนมีความเหมือนกันมากกังนี้
     1. การสื่อสารมวลชน เริ่มต้นที่ผู้ส่งสารมืออาชีพ เลือกสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสาร โดยคำนึงถึงธรรมชาิตและจุดมุ่งหมายของสารที่จะส่งไปยังผู้รับสาร โดยใช้สื่อใดสื่อหนึ่งโดยเฉพาะ สารที่ส่งอาจเป็ฯรายงานข่าว การโฆษณา ภาพยนตร์ หรืออาจเป็นการนำเสนอทางสื่ออื่นด้วย
     2. การเข้ารหัสความหมายของสาร โดยผู้ส่งสารมืออาชีพ เช่นทีมงานข่าว บริษัทภาพยนตร์ ทีมงานของนิตยสารฯ กระบวนการเข้ารหัสสาร รวมถึงการเลือกสัญลักษณ์ ไม่เฉพาะแต่วัจนและอัจนสัญลักษณ์ เท่านั้ แต่รวมถึงผลที่เกิดขึ้นโดยเกิดกับสื่อด้วย เช่น เสียง รูปภาพ สี เป็นต้น
     3. สารถูกเผยแพร่ โดยผ่่านการใช้เทคนิคพิเศษของสื่อภาพยนตร์ ส่ิงพิมพ์ หรือการกระจายเสียง ไปอย่างกว้างไกล เท่าที่สามารถจะทำได้
     4. ผู้รับสารมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย ในการรับสารและเข้าใจสาร ในช่องทางได้ที่เลือก
     5. ผู้รับสารแต่ละบุคคล แปลความหมายของสาร โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ภูมิหลังของผู้รับสารแต่ละคนด้วย ซึ่งอย่างน้อยควรจะเหมือนๆ กันกับผู้ส่งสาร เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของสารได้ตรงกัน
      6.ผลของประสบการณ์ในการแปลความหมายเหล่านี้ ผู้รับสารจะหด้รับอิทธิพลในทางใดทางหนึ่ง ในความรู้สึก ความคิด หรือการกระทำ และสิ่งนี้คือ การสื่อสารทำให้มีผลบางอย่าง
             ทั้ง 6 ขั้นตอนของแบบจำลองของการสื่อสารมวลชนนี้ ไม่เพียงได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารมวลชน แต่ยังเป็นกรอบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับการให้คำจำกัดความอย่างรอบคอบ หลังจากอภิปรายแต่ละขั้นตอยอย่างละเอียด เราจะสามารถกำหนดคำจำกัดความที่ถูกต้องของการสื่อสารมวลชนได้

     ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน
      Harold Lasswell & Charles Wright เป็นผู้พิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของสื่อมวลชนในสังคมอย่างจริงจัง
      ลาสเวลล์ กำหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ 3 ประการ คือ
      - การรวบรวมและกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อม ทั้งที่เกิดขึ้นภายในสังคมและภายนอกสังคม ในการปฏิบัติหน้าที่นี้ สื่อมวลชนจะเตือนในเราทราบถึงอันตรายที่คาดว่าจะมี รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนทั่วไป
      - การประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อม คือการตีความข้อมูลซึ่งถูกเสนอเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และการแนะนำว่าควรปฏิบัติต่อเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างไร หน้าที่นี้ถูกมองว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ชักชวนให้ปฏิบัติ และธำรงไว้ซึ่งความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์
     - การถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป คือ การถ่ายทอดและปลูกฝังค่านิยมความเชื่อ บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้ และส่วนประกอบอื่นๆ ทางด้านวัฒนธรรมสู่สมาชิกในสังคม
      ต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ประการที่ 4 ขึ้นมาอีกหน้าที่หนึ่งคือ
     - การให้ความบันเทิง คือ การสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่สมาชิกในสังคม เพื่อเป็นการพักผ่อน และลดความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่แต่ละคนประสบอยู่
       แนวคิดทฤษฎีผู้กรองสาร กระบวนการสื่อสารเป็นเรื่องของการถ่ายทอดข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล หรือบุคคลหนึ่งกับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งการถ่ายทอดข่าวสารนี้ อาจเกิดขึ้นโดยตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นโดยทางอ้อมจากจุดหนึ่งผ่านจุดอื่นก่อนที่จะถึงผู้รับสาร
      การสื่อข่าวสารในสังคม ทั้งการส่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม หรือการสื่อข่าวสารในการสื่อสารมวลชน ต่างก็มีลักษณะที่การไหลของข่าสารมีการผ่านตัวกลาง จากผู้ส่งสารคนหนึ่งไปยังผู้ส่งสารอีกคนหนึ่ง หรือจากผู้รับสารคนหนึ่งไปยังผู้รับสรคนอื่นๆ ซึ่งการไหลของข่าวสารที่ต้องผ่านหลายขั้นตอนนี้ อาจทำให้ข่าวสารมีการแต่เติม ตัดทอน หรืออาจบิดเบืนได้ เคิร์ท เลวิน ได้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการที่ข่าวสารผ่านตัวกลางโดยชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารจะผ่านประตู ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก ตีความสาร เรียกว่า ผู้เฝ้าประตู ซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร
     วิลเบอร์ ชแรมม์ กล่าวว่า ผู้กรองสารเป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่่านไปยังประชาชน ผู้กรองสาร เป็นผู้มีสิทธิในการเปิดเผย หรือปิดบังข่าวสารที่จะส่งผ่านไปยังประชาชน ผู้กรองสารจึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งสารขององค์การทางสื่อสารมวลชน เป็นบุคคลที่ควบคุมการไหลของข่าวสาร และตัดสินว่า ข่าวอะไรควรจะส่งต่อไป ข่าวอะไรควรจะตัดออกไป ทั้งหมด บุคคลดังกล่าวได้แก่ นักข่าว บรรณาธิการ ผู้เขียน ผู้พิมพ์ นักวิจารณ์ เป็นต้น

      วิลเบอร์ ชแรมม์ อธิบายว่า สื่อมวลชนปฏิบติหน้าที่ไปตามรูปแบบและสีสันของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองถ้าจะดูความแตกต่างระหว่างระบบสื่อมวลชนได้อย่างครบถ้วน จึงต้องดูที่ระบบสังคมที่สื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ ในการมองความสัมพันะ์ที่แท้จริงของระบบสังคมกับสื่อมวลชน จำเป็นต้องดูถึงความเชื่อและสมมติฐานพื้นฐานของสังคม ได้แก่ ลักษณะของคน ลักษณะของสังคม ลักษณะของรัฐ ความสัมพันะ์ของคนกับรัฐและลักษณะของความรู้กับความจริง การจำแนกระบบของสื่อมวลชนในโลกนี้ สามารถจำแนกตามเหตุผลหรือทฤษฎีทางปรัชญาและการเมืองได้เป็น 4 ทฤษฎีตามวิวัฒนาการของระบบสื่อมวลชนดังนี้
    1.ทฤษฎีอำนาจนิยม
    2.ทฤษฎีเสรีนิยม
    3.ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
    4.ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
    - ทฤษฎีอำนาจนิยม ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีนี้เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศอำนาจนิยมของช่วงท้ายในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หลังกำเนิดของการประดิษฐ์การพิมพ์ สังคมแบบนี้ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโยมวลชน แต่ถูกกำหนดโดยคนที่อยู่ในตำแหน่งที่จะนำและสั่งประชาชน ความจริงจึงถูกจัดวางอยู่ใกลืศูนย์กลางของอำนาจ การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงเป็นการกระทำตามคำสั่งจากเบื้องบนสู่เเบื้องล่าง สื่อมวลชนใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงความคิดของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะรู้ และนโยบายของผู้ปกครองที่ประชาชนควรจะสนับสนุน
     ทฤษฎีอำนาจนิยมนี้ สื่อมวลชนจะเป้ฯผู้รับใช้รัฐหรือผู้ปกครอง และรับผิดชอบเหนื้อหาของสื่อมวลชนต่อผู้มีอำนาจในรัฐบาลที่บริหารประเทศ ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ปฏิบัตกัอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 16 และ 17
     - ทฤษฎีเสรีนิยม เกิดขึ้นหลังทฤษฎีอำนาจนิยม ประเทศต่างๆ มีความเจริญมากขึ้นเกิดเมืองใหญ่ๆ ขึ้นมากมาย แนวคิดทางการเมืองเปลี่ยนแปลงจาสมบูรณาญามาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความเป็นอิสระทางศาสนา การขยายการค้ามีการท่องเี่ยวที่เป็นระบบเสรี ยอมรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และยอมรับปรัชญาในยุคของการรู้แจ้ง ทฤษฎีนี้มีมุมมองแตกต่างจาอำนาจนิยม โดยให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ สามารถพึงตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น มนุาญืเป็นนที่มีเหตุผล สามารถมองเห้ฯความแตกต่างระหว่างความจริง และความผิด สามารถตัดสินใจเลือกทางทีดีกับทางเลือกที่เลว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ขัดแย้งหรือต้องเลือกทางเลือกต่างๆ ความจริงไม่ได้ถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจ
     ตามทฤษฎีนี้สื่อมวลชนไม่ได้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลแต่เป็นเครื่องมือในการควบคุมจากรัฐบาล จึงสามารถทำให้ความจริงปรกกฎขึ้นความคิดทุกความคิดจะต้องได้รับการับฟัง จะต้องมี "ตลาดเสรี" ของความคิดและข่าวสาร คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก คนอ่อนแด และคนแข็งแรงจะต้องมีโอกาสในการเข้าถึงสื่อมวลชนได้เท่าเทียมกัน
     จริยธรรมของสื่อมวลชน ตามพจนานุกรมฉบับราชยัณฑิตสถาน หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบีติของสื่อมวลชน
     จริยธรรมสำหรับสื่อสารมวชน คือ หลักประพฤติปฏิบัติสำหรับนักสื่อสารมวลชนหรือธรรมะที่บุคคลควรประพฤติปฏิบัติ จริยธรรมจึงเป้นคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพด้านสื่อสารมวลชน
     จรรยาบรรณสำหรับสื่อสารมวลชน คือ หลักจริยธรรมซึ่งได้ตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยกลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และให้มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตน
      หลักจริยธรรมที่ได้ตราขึ้นไว้ไม่ใช่กฎหมาย ความประพฤติบางอยางไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรมหรือไร้จรรยาบรรณ จรรยาบรรณจะให้หลักเกณฑ์ซึ่งชี้แนะให้ผู้ประกอบอาชีพสื่อสารมวลชนสามารถตัดสินใจได้ในเรื่องที่เกี่ยกับจริยธรรม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการตัดสินว่า การกระทำใดนั้นผิดหรือถูก ดีหรือเลว มีความรับผิดชอบ
     จรรยบรรณ หรือจริยธรรม จึงเป็นเรื่องของความสมัครใจในการที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณ การมีจริยธรรมหรือไม่ จะก่อให้เกิดผลแก่ตัวสื่อมวลชนเองผู้ใดปฏิบัติตามจรรยาบรรณจะได้รับความเชื่อถือ เลื่อมใส และยกย่อง
      จรรยาบรรณของสื่อมวลชน มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้สื่อมวลชนทำงานอย่างเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริง ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และยึดถือประโยชน์ของสาธารณชนเป็นใหญ่ ดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดแห่งจรรยาบรรณของสื่อมวลขนประเภทต่างๆ ที่ตราไว้อย่างละเอียดซึ่งหากสื่อมวลชนสามารถรักษาจริยธรรมของตนคือการปฏิบัติตามหลักแห่งจรรยบรรณได้อย่างที่แล้ว


     
      
     

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Publics (มหาชน)

                สังคมที่คนจำนวนหนึ่งอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในสังคมเดี่ยวกันลักษณะต่างคนต่างอยู่และสามารถใช้ของส่วนกลางร่วมกันตามกติกาสังคม มีการติดต่อกันโดยอาศัยสื่อสารมวลชนเป็นหลัก มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปของทุติยภูมิ และความเป็นทางการมากขึ้นเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง อันแสดงให้เห็นว่าเป็นสังคมที่สมาชิกแต่ละคนแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่สามารถติดต่อกันได้ทางสื่อสารมวลชน อันเป็นการรวมกลุ่มกันของคนหมู่มาก โดยไม่ได้เป็นตัวแทนหรือรูปแบบในลักษณะที่เป็นทางการเลย ไม่มีความสัมพันธ์ด้านกายภาพต่างคนต่างอยู่กระจัดกระจายกำันออกไป



     มหาชนเป็นคำที่หากนำมาใช้แยกก็เป็นคุณศัพท์ หมายถึงให้คนทั่วไปตรวจได้ใช้ได้หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งตรงข้ามกับส่วนตัว หากใช้เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มที่รวมบุคคลอื่นนอกจากครอบครัวหรือญาติมิตร และเป็นคำนามรวมหมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็ฯการบ่งบอกให้รู้ความหมายการอยู่ของคนในสังคมในรูปของมหาชน
     การที่มหาชนแต่ละกลุ่มต่างมาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตรงกัน ต่างมีความสนใจปัญหา หรือประเด็นใดๆ ตรงกัน จัดเป็นมหาชนประเภทหนึ่ง จะมีจำนวนเท่าใดไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสนใจปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆการพิจาณาปัญหาหรือประเด็นใดๆ ตลอดจนคำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาปรึกษา เรียกว่า มติ แต่ความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม กันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล เรียกว่า มติมหาชน อันถือว่าเป็นมติที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือประเด็นใด ๆ ด้วยหลักวิชาและเหตุผล ผลสรุปรวบยอดจากการพิจารณาหรือวิเคราะห์ดังกล่าวของคนหมู่มาก ก็จัดเป็นมติมหาชนเช่นกัน
     ลักษณะเฉพาะ คือ ขาดความสัมพันธ์ด้านกายภาพสำหรับสมาชิก ซึ่งผิดกับฝูงชนและมาวลชนส่วนที่มีลักาะมวลชนนั้นก็คือ เป็นการรวมหมู่แบบกระจัดกระจายออกไปแตกต่างกันตรงที่มหาชนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกัน และรู้ประเด็นปัญหาโดยผ่านทางสื่อมวลชน
       มหาชนจัดเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่ง เป็นรูปแบบชนิดหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ที่มีลักษณะเป็นการรวมกันของประชาชนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกัน เกี่ยวกับผลประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ บางครั้งอาจเกิดปัญหาหรือข้อโต้เถียงที่อาจจะร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงกันได้การกระทำต่อกันบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างบรรดามหาชนที่ต่างร่วมอภิปรายปัญหากันโดยตรง ซึ่งการกระทำนั้นเหมือนกับว่าเป็ฯการสนทนาหรือว่าโต้เถียงอยู่กับเพื่อฝูงหรือสมาชิกครอบครัวเดียวกัน แต่ส่วนมากของการกระทำร่วมกันนั้น จะถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่่อโดยอ้อมของการสื่อสารมวลชนอีกด้วย มหาชนนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามโครงสร้าง ที่ยอมให้มีการสนทนาโต้เถียงและอภิปรายกันได้ โดยถือเป็นแบบอย่างหนึ่งที่จะทำให้บรรลุถึงการเกิดขึ้นชั่วคราวของประเด็นที่ขัดแย้งกัน เมื่อเป็นเชนนี้มหาชนจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มของคนที่มีความสนใจตรงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีมติหรือความเห็นอันเป็นข้อสรุปประเด็นปัญหาตรงกันเสมอไป
      เนื่องจากมหาชนมักเกิดขึ้นมาจากประชาชนซึ่งไม่จำเป็นต้องีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพดังเช่นผูงชน ถึงแม้ว่าประชาชนจะอยู่ภายใต้การควบคุมทางอารมณ์ก็ตาม แต่ก็ยังมีลักษณะของการโต้เถียงกันอยู่ ความหลากกลายของสมาชิกเองก็ดี การดำรงอยู่นานกว่าฝูงชนก็ดี ตลอดจนการเป็นสมาชิกมหาชนก็ดีไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว หรือกำหนดแน่นอนลงไป ยกเว้นแต่การกระทำของปัจเจกบุคคลในด้านการตัดสินใจ ไม่ว่าแต่ละคนจะมีการติดต่อกับคนอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่่งก็มีส่วนร่วมด้านชีวิตสังคมกันโดยเฉพาะ ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่องของการร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผยในรูปของมหาชน
     ในบางโอกาสมหาชนอาจได้รับอิทธิพลบางอย่างจากการแพร่ติดต่อทางสังคม ในกรณีเช่นนี้สามารถทำให้บรรดาปัจเจกบุคคลเกิดจิตผูกพันะป็นอันหนึ่งอันเดียวกันชั่วคราว เมื่อเกิดกลุ่มขึ้นแล้วก็สลายตัวไป นอกจากนี้การสนใจส่ิงเดียวกัก็ทำให้เกิดมหาชนได้เช่นกัน
     จากลักษณะที่แสดงออกมาของมหาชนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นว่ามหาชนนั้นมีลักษณะที่น่าพิจารณาก็คือ เป็นกลุ่มประชาชนที่อยู่แยกกันกระจัดกระจาย ต่างมีความสนใจและตัิดสินใจเกี่ยวกับประเด็น หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมีการอฎิปรายถกเถียงกันในทัศนะต่างๆ ซึ่งสมาชิกต่างแสดงความคิดเห็ฯอย่างอิสระเสรีเต็มที่ เพื่อให้มีมติรวมอมู่อันเป็นมติของคนส่วนมากออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน อันเป็นการคาดหวังเพื่อให้เกิดการกระทำหรือการปฏิบัติการของคนบางคนหรือบางกลุ่มขึ้น ส่วนมหาชนจะมีความคล้ายคลึงกับมวลชนตรงที่ว่า เป็นการรวมหมู่กันแบบกระจายแต่แตกต่างกัตรงที่มหาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์เชิงปัญหาที่ต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันโดยเหตุผล มีการยุติการถกเถียงอภิปรายโดยความเห็นของคนจำนวนมากอันถือเป็น "มติ") มหาชนสามารถติดต่อกถึงกันและล่วงรู้ประเด็นปัญหาต่างๆ โดยผ่านทางสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัสน์ ภาพยนตร์  และอื่นๆ ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบของมหาชนด้านอื่นๆ
     องค์ประกอบที่สำคัญของมหาชนคือ
     ประกอบด้วยบุคคลซึ่ง
- ถือว่าพวกตนได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุกาณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
- สามารถแสดงความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งและ
- เห็นว่าความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของพวกตนได้รับการพิจารณา
     มหาชนเป็นคำที่นำมาใช้กันทั่วไปในกิจการต่าง ๆ อาจใช้ได้กับกลุ่มผู้เป็นสมาชิกวารสาร ผู้ถือหุ้นในบริษัท ผู้ออกเสียงเลือกตั้งและกลุ่มหรือประเภทบุคคลอื่นๆ อีก ความสนใจส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่มหาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมือง โดยกลุ่มเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีประเด็นหรือปัญหา กล่าวคือ เกิดความคิดเห็นแตกแยกในหมู่ประชาชนว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำ เช่น รัฐควรจะสนับสนุนโครงการช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ประชาชนหรือไม่ การเมืองเกิดขึ้นเมื่อประชาชนแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายต่างดำเนินการตามความคิดเห็นและผลประโยชน์ของตน
     มหาชนอาจประกอบด้วยบุคคลที่อยู่กระจัดกระจาย ไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกแน่นอนและไม่จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบว่าผุ้ใดจะมีบทบาทอย่างใด เนื่องจากมหาชนประกอบด้วยบุคคลผู้เกี่ยวข้องในผลของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง องค์ประกอบของมหาชนจึงเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์ เปลี่ยนและมีการมองปัญหาเกียวกันนี้ในแง่ใหม่ คนใหม่จะเกิดความสนใจ คนเก่าจะหมดความสนใจและหันไปทางอื่น จะมีการเคลื่อนไหวในมหาชนขึ้น บางคนจะถอนตัวออกจากการอภิปรายเม่อมีผู้ประนามการสนับสนุนการช่วยเลหือทางการแพทย์แก่ประชาชนของรัฐบาลว่าเป็น "การแพทย์แบบสังคมนิยม" คนอื่นอาจจะเข้าร่วมในแผนการรักษาพยาบาล ซึ่งจัดขึ้นเฉพาะคนงานในสถานที่ทำงานของพวกตนและไม่มีความสนใจในประเด็นทั่วไป มหาชนจึงเป็นการรวมกันชั่วคราวสังเกตได้โดยดูที่ความสนใจร่วมกันที่มีต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และชนาดและองค์ประกอบจะเปลี่ยนแปลงไปตามประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
     เมื่อประเด็นเกิดขึ้นบ่อยๆ มหาชนที่มีคามคิดเห็ฯทางการเมืองบางพวกอาจจะมีลักษณะแนนอนมากขึ้น ในแต่ละเรื่องที่อยู่ในความสนใจมักจะมีจุดศูนย์กลางประกอบด้วยบุคคลที่ติดตามพัฒนาการของเรื่องอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในกรณีการช่วยเหลือทางการแพทย์ เราอาจคาดหมายได้ว่ากลุ่มนักธุรกิจอาจมีความเห็นอย่างหนึ่ง สหภาพแรงงานอาจจะมีความเห็นอีกอย่างหนึ่ง กลุ่มทหารผ่านศึกอาจจะมีความเห็นแตกแยกกันออกไปอีก
     การที่มหาชนเกิดขึ้นโดยค่อนข้างจะเป็นรูปแบบที่แนนอนเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ความพยายามติดต่อกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่งต่อเนหื่องกัน จริงอยู่เราจะทราบได้ว่าเป็นมหาชนกลุ่มใด ก็ดูที่หนังสือ หนังสือพิมพ์ และวารสารที่สมาชิกในกลุ่มอ่าน บุคคลที่ทราบข่าวคราวจากสื่อการติดต่อประเภทเดียวกันมักจะมองปัญหาในแง่เดียวกันและมักจะมีความเห็นเช่นเดียวกันเสมอในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น
     นิยามมหาชน
     มหาชนมีลักษณะการรวมตัวกันที่ทุกคนสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได ดังนั้น มหาชนจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมถึงการรวมบุคคลอื่นนอกจากวงศาคณาญาติหรือมิตรสหาย ซึ่งหมายถึง ประชาชนโดยทั่วไปนั้นเอง
      หมายถึงกลุ่มคนที่กระจัดกระจายกันประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างมีความสนใจประเด็นปัญหาอย่างเดียวกัน และมีทัศนะในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนปัญหาและความคิดเห็นในการวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้นๆ แตกต่างกันออกไป การวิเคราะห์หรืออภิปรายประเด็นปัญหานั้น ๆ มีแนวทางที่จะสร้างมติรวมหมู่ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการกระทำของบางกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลขึ้นมา
     จากนิยามดังกล่าวข้างต้น มหาชนเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางออกไปมาก เพราะเป็นคำที่มีลักษณะใช้เป็นคุณศัพท์ในรูปที่ให้คนทั่วไปตรวจได้ ใช้ได้ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ซึ่งบ่งถึงความเป็นของกลางสำหรับคนทั่วไป เช่น ถนนหลวง หรือทางสาธารณะ
     ในความหมายทั่วไปที่ใช้ในรูปของนามรวม อันเป็นความหมายโดยนตรงของมหาชนหมายถึงประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งอาจหมายถึงใครก็ได้ ตามปกติแล้วหมายถึงกลุ่มของคนซึ่งต่างมีความสนใจตรงกันหรือมีความสนใจร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน ไม่จำเป็นต้องมีความใกล้ชิดด้านกายภาพ ขอแต่เพียงมีอารมณ์ร่วมมกันเท่านั้น ...
     ตามปกติแล้ว คำว่า มหาชนนี้ มักจะไม่ค่อยเคร่งครัดในการใช้มากนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากการหมายถึงคนทั่วๆ ไปดังที่กล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือมีประเด็นปัญหาอาจจะมีความแตกต่างกันทางด้านความคิดเห็นขึ้น ซึ่งข้อนี้เองที่ทำให้มหาชนเกิดความหลากหลายขึ้นมา และความคิดเห็นอันหลากหลายเหล่านี้ มิได้ทำใ้มหาชนสิ้นสภาพไปได้เลย
     มหาชนเป็นการรวมตัวกันของคนที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้เข้าไปเกี่ยวข้องได้ ในฐานะที่เป็นประชาชนโดยทัั่วไป รวมตัวกันโดยไม่มีกฏเกณฑ์หรือกติกาใดๆ แต่ทุกคนมีเป้าหมายหรืออามณ์ร่วกัน แม้ในกรณีที่เกิดปัญหาอย่างนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่อยู่ในมหาชนนั้น ดังนั้น การนิยามมหาชนจึงขึ้นอยู่กับการรวมตัวกันของคนที่มีเป้าหมายตรงกันหรือมีอารมณ์ร่วมกันดังกล่าว
     มติมหาชน ในการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของคนจำนวนมากในสังคม มักจะประสบปัญหามากมายปัญหาต่าง ๆ เหลานั้นมีทั้งปัญหาที่หนักและปัญหาที่เบา บางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีบางอย่งก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา
     มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องหนึ่งของปัญหาในสังคม ทั้งที่มีวัฒนธรรมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกันและในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มติหรือความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน หากตรงกันและเข้ากันได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร หากไม่ตรงกันและขัดแย้งกันก็ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ อันอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งจะก่อความยุ่งยากและสับสน และก่อให้เกิดควมขัดแย้งในสังคมขึ้นมาได้
     มติหรือความเห็นนี้ มีความหมาย 3 ประการด้วยกันคือ
     - หมายถึง ข้อพิจารณาเห็นว่าเป็นจริงจากการใช้ปัญญาความคิดประกอบ ถึงแม้จะไม่ได้อาศัยหลักฐานพิสูจน์ยืนยันได้เสมอไปก็ตาม
     - ทัศนะหรือประมาณการเกี่ยวกับปัญหาหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น ทัศนะเกี่ยวกับความเหมาะสมของนโยบายวางแผนครอบครัว
     - คำแถลงของผู้ที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อปัญหาที่มีผู้นำมาขอปรึกษา
     ความจริงแล้ว มติหรือความคิดเห็น เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเป็นสื่ออย่างหนึ่งในการทำความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นกับสังคมได้ โดยที่สังคมจะไม่มีความสับสนวุ่นวายอันใดเลย
     จากนิยามหรือความหายของมติหรือความเห็นนี้ทำให้เรามองเห็นภาพกลางของมันได้ชัดขึ้นว่ามันมีความหมายและขอบเขตการใช้ที่อาจครอบคลุมได้มากน้อยเพียงใด การที่คนอยู่ในสังคมหนึ่ง ๆ สามารถที่จะมีมติหรือความเห็นได้ในข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 3 ข้อนี้เลยก็ได้
     ความจริงแล้ว มติหรือความเห็นนี้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่หากจะว่าไปแล้วบรรดามติหรือความเห็นนี้ส่วนใหญเป็นเรื่องที่เราสนใกันใน 4 ประการด้วยกัน คือ มติหรือความเห็นเกี่ยวกับระบบทางการเมือง การปกครอง..ประการที่สอง คำถามเกี่ยวกับการสรรหาผู้จงรักภักดีต่อกลุ่ม และการมีเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม มติเหล่านี้จะรวมกันได้ก็โดยกลุ่มต่าง ๆ เช่นแหล่งกำเนินดทางภูมิภาค ชาติ พเผ่าพันธ์ ศาสนา สถานะทางเมืองหลวง ชนบท และชั้นชน สถานภาพทางสังคมด้วย...ประการที่สาม คือการเลือกหัวหน้าด้วยตนเอง และประการที่สี่ มีเนื้อหาในด้านมหาชนที่มีผลออกมาเด่นชัด เช่น การให้สิทธิพลเรือนออกกฏหมาย หรือการยอมรับจีนเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หรือการห้ามส่งสินค้าไปคิวบาเป็นต้น
     จะเห็นว่ามติหรือความเห็นส่วนใหญ่จะเน้นอยู่กับบางสิงบางอย่างที่เกี่ยวกับระบบการเมือง การถามหาความสมัครใจของสมาชิกในเรื่องเอกลักษณ์ประจำกลุ่มก็ดี การเลือกัวหน้าของตนเองก็ดี และการใช้คะแนนเสียงจากมหาชนก็ดีเหล่านี้ ล้วนเป็นมติหรือควาทเห็นที่ถูกนำมาใช้กันเป็นส่วนมาก อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ละยิ่งกว่านั้นยังเป็นมติหรือความเห็นของคนเพีียงคนเดีว หรือเป็นมติที่จำกัดอยู่ในวงแคบอีกด้วย
     สำหรับมหาชนนั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันหากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นกับมหาชนแล้ว มหาชนจะแสดงความคิดเห็นตามสติปัญญาของตน ... เป็นความคิดเห็นเฉพาะหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญที่มีต่อประเด็นสำคัญๆ ของสังคม เมื่อว่าโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับช้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหาจากการพิจารณาวินินฉยของคนหมู่มากนั่นเอง
     มติมหาชนจึงเป็นเรื่องข้อตกลงของคนส่วนมากหรือคนจำนวนากที่ต่างมีความคิดเห็นหรือมติอันเป็นข้อตกลง ซึ่งเกิดมาจากมหาชนนั้นเอง จากลักษณะดังกล่าว จะเห็นว่ามติมหาชนนั้นได้มีการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆออกไป และเมือพิจารณาในแง่ของความหมายแล้ว มติมหาชนก็คือ การรวบรวมมติต่างๆ ของประชาชนตามหัว้อที่มหาชนให้ความสนใจ และวิเคาะห์มติเหล่านี้โดยนเทคนิควิธีทางสถิติ ซึ่งมีการใช้การสุ่มตัวอย่งจากประชาชนผู้ตั้งคำถามอันเป็นสิ่งซึ่งถูกกำหนดอย่างพื้นๆ โดยมติมหาชน
     มติมหาชนนั้นเป็นความคิดเห็นเฉพาะ หรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อประเด็นสำคัญ ๆ ของสังคม โดยกลักการแล้วมติมหาชนขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องของการวิเคราะห์และการให้เหตุผล แต่บางครั้งก็มีอารมณ์เข้าไปประกอบด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปพฤติกรรมผูงชน...
     "มติมหาชน" นัน เกิดจากประเด็นปัญหาที่มาจากความคิดเห็นและมีการนำเสนอต่อมหาชนเพื่อดำนินการต่อไป โดยการอภิปรายวิเคราะห์แยกแยะปัญหานั้นๆ โดยหลักเหตุผล ข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ได้จากการอภิปรายหรือการแก้ปัญหานั้นเป็นข้อตกลงที่มหชน่วนใหญ่หรือเสียงสวนมากของสังคมนั้น ยอมรับกัน นั้นคือ "มติมหาชน"

      การอยู่รวมกันของคนจำนวนหนึ่งซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ทัี่วไป โดยที่แต่ละคนต่างมีความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน มีแบบฉบับการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตน แต่ไม่อาจรมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้ สามารถใช้สิ่งของหรือวัตถุบางอยางอันเป็นของกลางร่วมกันได้โดยกาปฏิบัติตนตามกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้ มักเรียกกันว่า มหาชน ซึ่งจัดเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทหนึ่ง เป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของมันเอง.....
    


วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Noam Chomsky

     ดร. แอฟแรม โนม ชอมสกี (Avram Noam Chomsky) เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐแพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1928 และสำเร็จการศึกษาขึ้นสูงสุดในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนียในปี 1955 งานวิจัยทีผลักดันให้เขาสำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่มาจากการที่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ต ระหว่างปี 1951-1955 หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนีย ซอมสกี็ได้เข้าสอนในภาควิชาภาษาและภาษาศาสตณ์ ของสถาบันเทคโนโลนีแห่งแมชซาซูเซส สหรัฐอเมริกาในปี 1961 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาศาสตร์และจากนั้นในปี 1976 เขชาได้รับเกี่ยติให้เป็นศาสตราจารย์เกี่ยติคุณผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่ทางสถาบัน
      แนวคิดพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ชอมสกี้ ได้พยายามแสดงแนวคิดในการอธิบายภาษามนุษย์ โดยการนำเสนอทฤษฎีไวยกรณ์ปริวรรตเพีิมพูน ซึ่แสดงให้รู้ถึงการที่เ้าของภาษหนึ่ง ๆ จะเขาใจระบบไวยกรณ์ในการใช้ภาษาจริงๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่เขาชี้ให้เห็นว่าเจ้าของภาษานั้นๆ จะสามารถสร้างประโยคในภาษาได้ยอ่างไม่จำกัดหรือไม่รู้จบโดยอาศัยกฎของภาษาในจำนวนที่จำกัน และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวนำผู้ที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับภาษานั้นได้กลายเป็นผู้ใช้ภาษาที่สมบูรณ์แบบที่เป็นเช่นนี้ สืบผลเนืองมาจากการทำงานอันทรงประสิทธิภาพของสมองมนุษย์ซึ่งถ้าว่่าไปแล้วอาจมีข้อจำกัดในการเรียรู้ที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ในเรื่องของการแสดงออกทางภาษาและ้วนั้น มนุษย์ที่มีสติปัญญาสมประกอบย่อมสามารถสร้างและเข้าใจประโยคในภาษาของตนเองที่ยาวและยากอย่างไม่มีปัญหา ในปี 1960 ชอมสกี็ได้เสนอความคิดหลักที่สำคัญนี้ในการอธิบายภาษมนุษย์ดังนี้
     - ความรู้ในภาษาและการใช้ภาษา
     - โครงสร้างลึก และโครงสร้างผิว
นอกจากจะเป็นบุคคลพิเศษในฐานะนักภาษาศาสตร์ เขายังเป็นักวิจารณ์นโยบายด้านต่างประเทศ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงมากที่สุด
       ชอมสกี้มักมีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามกับกระแสหลัก การวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งและเฉลียวฉลาดของเขาเกี่ยวกับระเบียบโลก ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ก็ดี ช่วยให้เราเห็นว่านโยบายด้านต่างประเทศ บรรษัทต่างๆ ในอเมริกาและนักวิชาการอเมริกันต่างยอมรับใช้รัฐและนโยบายของรัฐบาลอย่างไร ทั้งเขายังชี้ให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ร่วมมือกับพันธมิตรทางทหาร รัฐบาลและชนชั้นนำในประเทศโลกที่สามทั่วโลกอย่างไร ดังประเทศไทยเองเดินตามนโยบายของรัฐบาลและบรรษัทในสหรัฐอเมริกาอย่างเซื่อง ๆ ผลงานด้านภาษาศาสตร์และการวิเคราะห์นโยบายด้านต่างประเทศของเขา เป้นความสำเร็จที่นำชื่อเสียงมาแก่เขามากที่สุด รวมทั้งภาพชองนักวิจารณ์ปากกล้าด้วยคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ิวยอร์กไทมส์ที่มีชื่อเสียงมากกว่าวถึงชอมสกี้ว่า "ในช่วงอายุยี่สิบ นอม ชอมสกี้ปฏิวัติทฤษฎีด้านภาษา ในช่วสงสามสิบเขาพยายามจะปฏิวัติสังคม ในช่วงอายุสี่สิบ ซึ่งกำลังจะมาถึง คงแทบจะไม่มีประเด็นใดในโลกเหลือให้เขา
      บทวิเคราะห์การเมืองของเขาชัดเจน ตรงประเด็นท้าทายและอยู่บนฐานความจริง การนำเสนอแต่ความจริงเป็นแนวทางการเขียนที่สำคัญของเขา บทความและหนังสือของเขาเต็มไปด้วยความเห็นค้านซึ่งมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและตวจสอบได้ "ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ไม่มีงานเขียนของนักเขียนคนใดที่สร้างความวุ่นวายได้มากเท่ากับงานของ นอม ชอมสกี้ ชอมสกี้เป็นนักคิดในแนวค้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ส่ิงที่เขาเขียนไม่เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของสำนักวิชาการใด และเขาเหลี่ยดการคิดตามกรอบเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีพรรคไหนถือเขาเป็ฯพวก และเขาเองไม่เคยเชิดชูอุดมการณ์ใดเป็นสำคัญ จุดยืนของเขาไม่ใช่ทั้งพวกเสรีนิยมที่ขบทหรือพวกอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการแหกคองออกจากกรอบธรรมเนียม สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความคิดที่ถอนรากถอนโคนของเขาไม่อาจจำแนกเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้"
     ทัศนะเกี่ยวกับลัทธิก่อการร้ายของ "นอม ชอมสกี้"
     : คุณประณามลทธิก่อการรร้ายใช่ไหม? เราสามารถตัดสินได้อย่างไรว่าการกระทำใดเป็นลัทธิก่อการร้าย และการกระทำใดเป็นเนื่องการต่ต้านของประเทศที่เขาตาจน ต่อ ผู้กดขี่ หรือผู้ใช้อำนาจเข้าครอบครอง ? เกี่ยวกับการจัดประเภทต่าง ๆ ข้างต้น คุนได้ "แบ่งแยก"การโจมตีสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ เนี้เป็นอย่างไหน?
     : ผลเข้าใจศัพท์คำว่า "ลัทธิก่อการร้าย"ในความหมายที่นิยามกันในเอกสารทางราชการของสหรัฐอเมริกาดี นั้นคือ มีการใช้คำๆนี้ในลักษณะของการคาดการณ์เกี่ยกับความรุแรง หรือการคุกคามด้วยความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายถ่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง ศาสนา หรืออุดมการณ์ใดก็ตาม มันถูกกระทำโดยผ่านการทำให้เกิดความกลัว การข่มขู่ การคุกคาม หรือค่อยๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสอดคล้องกันและลงรอยสนิทกับการนิยามข้องต้น การโจมตีตึกเวิร์ดเทรด เป็นการกระทำของลัทธิก่อการร้าย ในข้อเท็จจริง มันเป็นอาชกญกรรมของผู้ก่อการร้ายที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะมีใครไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้...
       แท้จริงแล้ว การใช้ประโยชน์ทางด้านการโฆษณาเป็นไปในลักษณะสากล ทุกๆคนต่างตำหนิประณามลัทธิก่อการร้ายในความหมายของรูปศัพท์ดังกล่าว พวกนาซีก็ประณามลัทธิก่อการร้ายอย่างเกรี้ยวกรด และวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิก่อการร้ายในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับพวกผู้ก่อการร้าย ใกรกเป็นตัวอย่าง โดยพื้นฐานแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วย
        ในการรวมตัว และปฏิบัติการในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายในกรีกและที่อื่นๆ ในช่วงปีหลังสงคราม โครงการด้านการทหารที่เรกียกว่า counter-insurgency ซึ่งมีมีการปฏิบัติการต่อสู้กับสมาชิกกางโจรและการและการปฏิวัติได้นำเอาแบบจำลองมาจากพวกนาซีมาใช้อย่างชัดเจนที่เดียว และได้รับการนำมาปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง  กองกำลัง Wehrmacht กอกำลังเยอรมันจากปี 1921-1945 ได้รับการนำมาหารือ และคู่มือต่าง ๆของกองกำลังนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงการต้านการทหารที่เรียกว่า counter-insurgency program ไปทั่วโลกซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการวว่า การต่อต้านลัทธิก่อการร้าย
     ขนบธรรมเนียมต่างๆ ที่ยกมา คนๆเดียวกันแท้ๆและการกระทำอย่างเดียวกันก็ว่าได้ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วจาก "การเป็นผู้ก่อการร้าย"มาเป็น "นักต่อสู้เพื่อิสรภาพ"และเปลี่ยนกลับไปอีกครั้ง อันนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเช่นในกรีก...
     ไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่า ลัทธิก่อการร้ายส่วนใหญ่เป็นสิ่งประดิษญ์มาตรฐานอันหนึ่งของรัฐต่าง ๆ ที่ทรงอำนาจดังข้อสังเกตว่า เช่นสงครามสหรัฐฯที่มีต่อนิคารากัว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ผู้คนชาวนิคารากัวเสียชีวิตกว่าหมื่นคน และประเทศตกอยู่ในความหายนะ นิคารากัวดึงดูดความสนใจต่อศาลโลกซึ่งได้มีการประณามสหรัฐสำหรับการกระทำที่ไม่ต่างอะไรกับลัทธิก่อการร้ายระหว่างประเทศ แล๐ด้วยการใช้กำลังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"และได้มีคำสั่งให้ระงับการใช้กำลังดังกล่าวในทันที่ พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ แต่สหรัฐฯกลับใช้อำนาจวีโต้(สิทธิยับยั้ง)
     : มีข้อถกเถียงกนมาก ว่าตลอดเวลาทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์มันไม่เคยมีอภิมหาอำนาจทางด้านจริยธรรม หรือหลักปฏิับัติที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียวโดดๆ
       นักวิเคราะห์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการทั้งหลายอ้างถึงอภิมหาอำนาจ รัฐชาติ และสถาบันของมนุษย์ต่างๆ ทั้งหมดว่า สนใจเพียงทำตัวของพวกมันให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กล่าวอีกนัย พลังและอำนาจหน้าที่มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณค่าจริยธรรม ความคิด พวกมันเพียงเกี่ยวข้องกันเรื่องของพลังที่เพิ่มขึ้น เงินทองที่มากขึ้น อิทธิพลที่เพิ่มพูนขยายออกไปและอำนาจหน้าทที่ใหญ่โตมโหราฆ คุณเชื่อเช่นนั้นไหม พวกเรามีตัวอย่างในประวัติศาสต์สักตัวอย่างหรือไม่เกี่ยวกับจักรวรรดิ์ใดจักรวรรดิ์หนึ่ง รัฐใดรัฐหนึ่ง หรืออภิมหาอำนาจหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับโลกและพลโลกที่เหลือในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าซึ่งมีอยู่ในใจบ้าง
     : ผลรู้สึกประหลาดใจที่ยังมีการโต้เถียงเรื่องนี้กันอยู่ รัฐต่างๆ ไม่ใช่ตัวแทนทางศีลธรรม พวกมันคือระบบของอำนาจ ซึ่งโต้ตอบกับการกระจายอำนาจภายใน แต่อย่างไรก็ตามในทางตรงข้ามนั้นมนุษย์เป็นตัวแทนทางศีลธรรม และสามารถกำหนดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญต่อความรุนแรงของรัฐต่างๆ ของพวกเขาเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมต่าง ๆ ที่ค่อนข้างอิสระ พวกเขาอาจล้มเหลวที่จะกระทำเช่นนั้นก็ได้ กล่าวในกรณีหนึ่ง พฤติกรรมระหว่างประเทศของเอเธนส์สมัยคลาสสิคไม่ค่อยน่ายินดีมากนัก และเราไม่ต้องพูดถึงตัวอย่างของประวัติศาสตร์สมัยใหม่เลย แต่พวกเขาสามารถทำได้และต้องทำ
     : เป็นที่ชัดเจนว่า บรรดานักการเมืองอเมริกันและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ที่ทรงสติปัญญาทั้งหลายต่าง ๆ รู้อะไรมากมายกับโศกนาฎกรรมดังกล่าว ในหลายๆ กรณีเราจะได้ยินข้อเท็จจริซึ่งมีความจริงเพียงครึ่งเดียว และคำโกหกซึ่งๆหน้า ผมได้อ่านบทความและหนังสือขจองคุณมากมายที่ว่า เมื่อนักการเมืองพูดโกหกเพียงในระยะเวลาสั้นๆเขาก็จะเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คำถามคือเราสามารถที่จะอธิบายท่าที่หรือทัศนคติเช่นนี้อย่างไร และ คุณคิดไหมว่านั้นคือคำโกหกคำใหญ่ที่สุดและเป็นข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียวที่เราได้ยินมา จนกระทั่งถึงโศกนาฎกรรมล่าสุดนี้
     : ผมไม่เห็นด้วย ผมสงสัยว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯรู้อะไรมากมายที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ นันคือกรณีทั่วๆไป จากที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ใครก็ตามที่หใ้ความสนใจน้อยที่สุดต่อข้อเท็จจริงพวกนี้ต่างรู้ว่า เหตุผลหลายหลากนั้นมันแตกต่างไปเลยที่เดียว ไม่เพียงท่านกลางเครือข่ายผู้ก่อการร้ายต่างๆ ที่ซีไอเอ ให้การช่วยเหลือในการจัดตั้ง สนับสนุนทางด้านอาวุธ ให้การฝึกฝน และอุปถัมภ์ค้ำชู เพื่อสงครามอันศักดิ์สทิธิ์ต่อชาวรัสเซีย แต่ยังรวมถึงท่ามกลางความมั่งคั่ง สิทธิพิเศษ และส่วนของประชาชนที่สนับสนุนอเมริกันด้วย
     วอลสตรีท จอยเนอร์ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่างๆ ของ "มุสลิมที่มั่งคั่งร่ำรวย" ในภูมิภาคนั้น พวกเขารู้สึกตกใจและโกรธแค้นเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯที่มีต่อรัฐเผด็จการที่เกรี้ยวกราด และอุปสรรคต่างๆ ที่วอชิงตันวางไว้กับการพัฒนาที่เป็ฯอิสระ และประชาธิปไตยทางการเมืองโดยนโยบายของมันเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนการปกครองที่กดขี่ขูดรีดทั้งหลาย"....
     และที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Balance of Power and Terror Theory

     ทฤษฎีดุลญือำนาจ องค์ประกอบทฤษฎีมีดังนี้
     - จะต้องมีชาติหลายชาติจำนวนมากเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละชาตินอกจากจะมีกำลังอำาจที่แตกต่างกันออกไปแล้ว ยังพยายามหาทางที่จะเพิ่มกำลังอำนาจของตนให้มีมากยิ่งขึ้น ในกรณีอังกล่าว จะมีแนวโน้มทำให้เกิดดุลยภาพในระบบโลกตราบเท่าที่อำนาจที่เข้มแข็งเหนือกว่า เมื่อใดก็ตาม มีรัฐที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่ารัฐอื่นๆ รัฐนั้นจะถูกถ่วงดุลย์จากชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ หรือจากพวกที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม ตราบใดที่กำลังอำนาจของชาติในแต่ละค่ายมีความทัดเทียมกัน ดุลยภาพหรือสภาพความสมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพโลก
     - จะต้องมีชาติทุกหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุล ในกรณีที่กำลังอำนาจที่อยู่ด้านหนึ่งของตราชั่งได้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดเสียดุลยภาพ
      ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจอธิบายการแบ่งกำลังอำนาจอย่างทัดเทียมกันระหว่างชาติหรือกลุ่มชาติที่เป็นปรกักษ์ต่อกัน และบางครั้งใช้ปะปนกับคำว่า "ดุลยภาพ"ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ๆ ซึึ่งถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดีแล้ว อาจเกิดความสับสนได้ นอกจากนี้แล้ว  ทฤษฎีดุลย์แห่งอำนาจบางครั้งอธิบายถึงการมีอำนาจครอบงำที่เด่นของชาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่วงดุลย์
     ริดชาร์ด คอบเดน Richard Cobden กล่าวเตือนใจไว้ว่า "ดุลย์แห่งอำนาจเป็นเรื่องความฝันที่แสนจะเพ้อเจ้อ ไม่ใช่เป็นเรื่องการเข้าใจผิดผลาดหรือเป็นการหลอกลวง แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะอธิบายให้เห็นชัดได้ สุดเหลือที่จะพรรณนาได้ และไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีลัษณะที่ยังพอรับฟังได้"
     ทฤษฎีแห่งความหวาดกลัว  วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ " นักศีลธรรมอาจมีจิตใจห่อเหี่ยวเมื่อเจอกับแนวความคิดที่ว่า โลกเราจะไม่มีสันติภาพอันมั่นถาวรจนกว่าจะมีวิธีที่ทำให้ชาติต่างๆ มีความเหรงขามหวาดกลัวซึ่งกันและกัน"
     ดุลย์แห่งความหวาดกลัว มีความหมายในแง่ที่ว่า จะต้องมีชาติสองชาติหรือมากกว่านั้นขึ้นไป มีความหวาดกลัวเกรงขามซึ่งกันและกัน และไม่กล้าที่จะเสี่ยงภัยกระทำการใด ๆ อันเป็นการกรุตุ้นให้อีกฝ่าหนึ่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์กล่าวคือต่างฝ่ายต่างเกรงกลัวว่าเกิดเป็นสงครามนิวเคลียร์จงมีความเกรงขามซึ่งกันและกัน
      ทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวมีสาระที่สำคัญคือ

      - ตราบใดที่ระบบป้องกันการโจมตี ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่มีประสิทธิภาพเียงพอ ประเทศที่ถูกโจมตีก่อนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จะโจมตีตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์อย่างเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพฤติรรมดังกล่าวมีส่วนทำให้แต่ละฝ่ายไม่กล้าที่จะลงมือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ก่อน และทำให้ต่างฝ่ายต่างอยู่ในสภาวะของดุลย์แห่งควาหวาดกลัว
      - ความเสียหายอันเกิดจากการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของทฤษฎีดุลย์แห่งความหวาดกลัวเพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับความเสียหายจากการโจมตีได้อย่างไม่สะทกสะท้านแล้วดุลย์แห่งความหวาดกลัวคงจะเกิดได้ยาก
    

Human Rights


      มักเชื่อกันว่ามนุษย์โดยทั่วไปเป็นส่ิงมีชีวิตที่มีความรุนแรงอยู่โดยธรรมชาติ มีคนสรุปว่า "มนุษย์" คือสัตว์ล่าเหยื่อที่มีการฆ่าโดยใช้อาวุธเป็ฯสัญชาตญาณตามธรรมชาติผู้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางคนก็เชื่อว่า ความก้าวร้าวรุนแรงนั้นเป็ฯสิ่งที่มีคุณต่อสิงมีชีวิตทั้งนี้เพราะความก้าร่วงรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หากปราศจากสัญชาติญาณนี้แล้วสิ่งมีชีวิตก็จะอดตาย ยิ่งไปกว่านั้นความก้าวร้าวรุนแรงนี้เป็ฯสิ่งที่เกิดขึ้น-ายในตัวส่ิงมีชีวิตและไม่ใ่ผลของปัจจัยแวดล้อม ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ด้วยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยว่างเว้นความขัดแย้ง ไม่ว่าะเป็นในระดับบุคคล หรือในระดับสังคม มนุษย์มิได้ถือกำเนิดมาเหมือนกันทุกประการ หากมีความแตกต่างอันเป็นผลมาแต่ "พันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคม ความแตกต่างทำนองนี้มักเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งแต่ขณะเดียวกันบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเป็น "พลังทะยานชีวิต"ของมนุษย์เพราะมันโน้มนำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อันยังประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ แต่จุดสำคัญนั้นคือความรุนแรงหรือสงครามมิใช่ผลของความขัดแย้ง หากเป็นวิธีการแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ไขหาข้อยุติให้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ

      กฎบัติสหประชาชาติ แม้นว่าในแต่ละระบบการเมืองจะมีความกังวลห่วงใยต่อมนุษย์อันเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์มูลฐานที่สำคัญของสังคม และต่างก็มีความพยายามที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มนุษยชาติมีสภาพการณ์ต่างๆ ที่ดีขึ้น แต่ในสังคมของมนุษยชาตินั้น การกดขี่และการฆ่าฟันต่อกลุ่มชนต่างๆ ก็เกิดขั้นมากมาย ชีวิตและเสรีภาพของแต่ละบุคคลต่างก็ดูไร้ค่า ไม่มีราคาแต่อย่งใด มีผู้คนล้มตายผู้อพยพและผู้ไร้ถิ่นฐานเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน สหประชาชาติจึงมีจุดมุ่งมั่นและได้กล่วยืนยันไว้ในคำปรารภของกฎบัติสหประชาชาติโดยยืนยันถึงความตั้งใจที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมเพื่อประชาชนแห่งสหประชาชาติ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวรับรองเรื่องสิทธิมนุญชนไว้โดยตรงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีองค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นกลไกการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในคำปรารภได้ยืนยันถึงหลักการนี้ว่า "..ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุาย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาิตใหญ่น้อย" จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่า สหประชาชาติมีความปรารถนาในความตั้งมั่นและจริงจังโดยความผูกพันทางกฎหมายที่จะตามมา
      แม้จะมีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการร่วมมือระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่การเคารพสิทธิมนุษยชนโดยหลักการไม่เลือปฏิบัตินั้นก็กลายเป็นปัญหาในการคุ้มครองระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะภายใต้กฎบัติสหประชาชาติไม่ได้มีการกำนหดถึงรายละเอียดของสิทธิว่ามีอะไรบ้าง ดังนั้งจังมีการพิจารณาจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยพันธกรณีที่กำหนดไว้ให้มีการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลมีความหมายค่อยช้างกว้าง และกฎบัติสหประชาชาติเองก็ไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าอะไรคือสิทธิมนุษยชน และอะไรคืออิสรภาพอันเป็นหลักมูลที่สามารถเห็นได้โดยชัดเจนคือการส่งเสริมให้มีการเคารพโดยสกกลและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการยอมรับหลักการพื้นฐานใหม่ที่สำคัญอันเป็นสากลคือบุคคลทุกๆ คนควรจะได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งพึงมี ดังนั้นเพื่อให้การเคารพและปฏิบัติตามเป็นจริงได้นั้น รัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศจะต้องดำเนินการโดยเป็นรูปธรรมและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ
      รัฐสมาชิกนอกจากจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีในรัฐของตนแล้วยังต้องดำเนินการร่วมมือกบรัฐอื่น ๆ และกับองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะอย่งยิ่งกับองค์กรซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
     กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเปรีบเสมือนกฎหมายที่มีการอกล่าวอ้างโดยทั่วไปในเวลทีระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตา สิทธิมนุษยชนตามกฎบัติสหประชาชาตินั้น ย่อมไม่มีลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนในแต่ละรัฐเป้ฯเรื่องเขตอำนาจภายในของแต่ละรัฐนั้น
      แต่เดิมนั้นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยโดยเฉพาะเท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า "รัฐ" นั้นเป็น "เป้าประสงค์" ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถใช้หรือดำเนินการตามขอบเหขตที่กำนดแม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศจะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ แต่ในช่วงระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่างประเทก็ยังเป็นเพียง "ผลของเป้าประสงค์" อยู่เหมือนเดิม ขณะเดียวกันเมื่อสิทธิมนุษยชนเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น "บุคคล" ตามกฎหมายระหว่งปรเทศก็ค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะ จาก "ผลของเป้าประสงค์" เป็น "เป้าประสงค์" แทน และยัะงเป็น "เป้าประสงค์" ที่กระตือรือร้นส่งผลตามมาให้เกิดกฎกมายและการดำนเนนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้นองค์การระวห่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันใก้เป็นจริงทั้งในระดับภูมิภาคและสากร สิทธิมนุษยชนจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญส่้วนกนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศนับตั้งแต่นี้ไป
   
     สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากสิทธิมนุษยชน โศกนาฎกรรมที่เกกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ความไม่สงบสุขที่เกิดขึ้นในทางสังคมและทางการเมือง ความรุนแรงในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเป็นมูลเหตุที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อจัดทำข้อกำหนดในการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นมูลญานต่างๆ นับได้ว่าเป็นแนวความคิดร่วมกันของประชาชนทุกคนและของรัฐต่างๆ ทุกรัฐในความปรารถนาให้มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป้นมนุษชาติอันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
     เป็นที่ยอมรับกันว่า กฎหมายพื้นฐานที่มีเนื้อหาไม่มากนักได้ส่งผลต่อมา ทำให้เกิดเป็นกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศร่วมกันซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายดังกล่าวจึงเป็ฯของทุกชนชาติและศาสนาโดยไม่อาจมีการแบ่งแยกได้ปฏิญญาสากำลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเปรียบเสมือนเป็นกฎหมายพื้นฐนของสิทธิมนุษยชนทั้งมวล ปฏิญญาฯนี้ไม่มีผลผูกพันให้รัฐต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นผลให้เกิดกฎหมายต่างๆ ตามมา ทั้งกฎหมายระหว่างปะเทศและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็กล่าวอ้างถึงหลักการสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมด้วยสำหรับกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้บัญญัติถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆ ไว้
      คงกล่าวได้ว่ากฎหมายระหว่างปรเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิของปัจเจกชน ส่วนกฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นเป็นกฏหมายที่ให้การเคารพต่อความเป็นมนุษยชนแย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการให้ความเคารพและคุ้มครองประชาชนให้มีศักดิ์ศรีสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยเท่าเทียมกันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยกับสิทธิมนุษยชนโยทั่วไป นั้นจะมีการกำหนดถึง "สิทธิและเสรรีภาพบางประการที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ไว้ด้วย" สิทธิต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจึงมีการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสที่เป็นกฎหมายทั่วไปซึ่งกำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพบางประการทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มีอยู่ 3 ฉบับ
     หลักการและจุดมุ่งหมายของสหประชาชาติ
      " เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเจตจำนง ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณนามาสู่มนุษยชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว และที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกี่ยรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์บุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี และของประชาชาติใหญ่น้อย และที่จะสถาปนาภาวการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญาและที่มาอื่นๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐานอันดีย่ิงขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น"
      การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในระดับประเทศและระว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเมื่อพิจารณากฎบัติสหประชาชาติแล้วะเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีหลักการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการร่วมกันหรือแยกกันเพื่อให้มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนโดยสากล แต่ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับหลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักการสน่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
      กลไกในการทำงานและดำเนินงานที่สหประชาชาติจะต้องจัดตั้งขึ้นจัดทำกฎหมายและพัฒนามาตรฐานของกฎหมาย ติดตามเผ้าดูสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก และผลักดันให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีผลใช้บังคับและมีการปฏิบัติตามอย่างได้ผล การจัดตั้งกลไกในการทำงานเพื่อให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนแาจจะเกิดขึ้นได้โดยกฎบัติสหประชาชาติส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งจากฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

The Mass


       มวลชน มีลักษณะดังนี้ คือ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างเดียวกัน แต่ละคนก็ยังมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล กล่าวคือมีความรู้สึกแยกตนเองออกจากผู้อื่นโดยต่างคนต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีความประสงค์ที่จะรู้จักกัน ทั้งนี้เพราะมวลชนนั้นแต่ละคนต่างมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ผิวเผิน มีความรู้สึกร่วมเป้ฯอันหนึงอันเดียวกันหรือเป็นนำ้หนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็นผลทำให้มีการหล่อหลอมจิตใจของสมาชิกเข้าด้วยกัน แม้จะยังไม่เกิดขึ้น หรือมีอยู่น้อยก็ตามที ก็จัดว่าเป็นมวลชน 

        มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ จัดเป็นปรากฎณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกัน แต่มาอยู่ใกล้กัน ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันแต่เพียงหลวม ๆ โดยต่างคนต่างมีอารณ์ร่วมกันหรือมวัตถุประสงค์ตรงกัน พฤติกรรมรวมอมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นกับบรรดาบุคคลต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายกันออกไป และไม่มีการกระทำอย่งใดต่อกันทางสังคมกับคนอื่นเช่นในสังคมปกติ แม้ว่าบุคคลจะขาดการติดต่อกันก็ตาม แต่ทิศทางแห่งการกระทำต่างก็ลู่เข้าสู่วัตถุประสงค์ร่วมกันได้
       พฤติกรรมรวมหมู่เช่นนี้จัดเป็น "มวลชน" คือบรรดาบุคคลจำนวนมากที่ต่างคนต่างอยู่ต่างมีแบบแห่งการดำเนินชีวิตซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีความสัมพันธ์ติดต่อกันกับคนจำนวนหนึ่ง โดยแต่ละบุคคลจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกันอย่างที่สุดที่มีอยู่ในสมัยนิยมชนิดเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ มวลชนจึงเป็นเรื่องของคนที่กระจัดกระจายต่างคนต่างอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฎในสังคมเมืองหลวงหรือสังคมอุตสาหกรรม อันเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เรามักรู้จักกันในนามว่าชนกลุ่มน้อยหรือชนต่างวัฒนธรรม คือคนจำนวนมากที่มาจากแหล่งต่างๆ และมาอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันนั้นเอง
       สมาชิกของมวลชนมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ รู้เรื่องของกันและกัน โดยผ่านทางสื่อสามมวลชน นกอจากนั้น ทุกคนยังต่างมีความสนใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสื่อมวลชนเป็นสวนใหญ่ ที่เป็นสื่อชี้นำมวลชนจนอาจก่อมติมวลชนได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปลุกระดมของสื่อมวลชนที่จะมีอิทธิพลเพียงใดต่อมวลชนนั้นๆ
        มวลชนโดยลำพังตนเองไม่สามารถกรทะการสำคัญร่วมกันได้ เพราะสมาชิกต่างคนต่างมีภูมิหลังความสนใจ และประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันแต่เพียงเล็กน้อยความรู้สึกเป็นอนหนึ่งอนเดียวกันในลักษณะการผนึกกำลังกันจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
       มวลชนอาจถูกปลุกปั่นยุยงโดยนักโฒษณาชวนเชื่อหรือผู้เข้าใจจุดอ่อน ความกดดันและปัญหาต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีอยู่ร่วมกันและมวลชนที่ถูกปลุ่กปั่นยุยงนี้อาจกลายสภาพเป็นฝูงชนวุ่นวาย(mob)ที่มีอารมณ์ร้อนแรงร่วมกัน ต่างมีความเห็นตรงกันและสามารถกระทำการรุนแรงได้
       ความคิดเห็นของมวลชนที่เกิดขึ้นจากการถูกปลุกปั่นยุยงนี้จัดเป็ฯ มติมวลชน จะมีความแตกต่างกับมติมหาชนซึ่งถือว่าเป็นความเห็นหรือมติที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ ได้ปรึกษาหารือถกเถียงกันโดยใช้หลักเหตุผลในกลุ่มมหาชนต่าง ๆ เช่น สมาคม - อาชีพ สโมสร สหภาพแรงงานพรรคการเมือง สภาท้องถิ่น ประชาชนะมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด เมื่อมีประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในสังคม กลุ่มต่าง ๆ เลห่านี้จะนำมาพิจารณา และเมื่อส่วนใหญ่ตัดสินใจอยางไร ก็จะหลายเป็น "มติมหาชน" ไปในที่สุด
        จากลักษณะของมวลชนดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่ามวลชนมีความหลากกหลายในด้านต่างๆ ซึ่งในลักษณะเหล่นนั้นมวลชนยังจะคงความเป็นปัเจกบุคคลเป็นจุดเด่นอยู่เสมอ เราะมวลชนย้ำความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีลักษณะหลวมๆ อยู่ในสังงคมแบบตัวใครตัวมันดังกรณีประชาชในเมืองหลวงหรือในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่รวมของชนต่างวัฒนธรรม จึงทำให้เป็นที่รวมของวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ หรือเป็นศูนย์กลางของอนุวัฒนธรรม และความเป็ฯอยู่ของประชาชนก็สามารถเห็นได้จากการอยู่อาศัยในบ้านจัดสรร แฟลต ทาวน์เฮาส์ อพาร์ทเมนท์ ตลอดจนตามแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น ซึ่งประชาชนที่อยู่ตามที่อยู่อาศัยดังกล่าวเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้จักกัน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันน้อยมาก ดังนั้น ความเป็นปัจเจกชนที่มีความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ จะเห็นอย่างเด่นชัดเจนที่เดียว
        มวลชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำทางสัคม โดยการติดต่อกับกลุ่มที่มีการจัดระดับขั้นทางสังคมหรือจัดเป็ฯประเภทที่ยอมรับกันในรูปแบบอื่นๆ โดยจัดให้เก็นความหลากหลายของการรวมกลุ่มทั้งที่เป็ฯระดับ ทั้งที่เป็นประเภทโดยใช้เป็นคำรวมๆ ว่า "กลุ่ม - Category โดยใช้เป็นการแบ่งออกเป็นประเภทตามระดับทางสังคม "มวลชนนันเป็นเพียงระดับชั้นประเภทหนึ่งของบรรดาชั้นทั้งของกลุ่มทางสังคมขั้นพื้นฐาน" ระดับชั้นประเภทอื่น ๆ ที่ควรกล่าวถึง ได้แก่ ชุมชน  มิตรภาพ และสังคม ซึ่งแต่ละคำต่างล้วนมีความหมายแสดงถึงมวลชนทั้งนั้น เพราะต่างมีลักษณะเช่นเดี่ยวกับมวลชนทั้งสิ้น
         สังคมมวลชนนั้นจัดเป็ฯสังคมอีกรูปแบบหนึ่งขอพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันแตกต่างจากพฤติกรรมรวมหมู่ประเภทอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมฝูงชน พฤติกรรมสาธารณชน เป็นต้น กล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก สังคมมวลชนเป็นสังคมที่ใช้หลักการและเหตุผลมากกว่าความสัมพันธ์กันส่วนตัว เป็นสังคมของประชาชนต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่มีความหลากหลายด้านพฤติกรรม ส่วนใหญ่แล้วมักปรกกฎในสังคมเมืองหลวง หรือสังคมอุตสาหกรรมอันเป้ฯสังคมที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ หรือเป็นสังคมอุดโภคา และเป็นสังคมที่รวมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ที่รู้กันว่าเป็นชนต่างวัฒนธรรม ซึ่งสังคมลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมผู้อื่นนำสมาชิกส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบอันแตกต่างไปจากสังคมดั้งเดิม เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของความเป้ฯกลุ่มทุติยภูมิที่ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว แต่ละคนจึงต่างมีแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของตนเอง ขาดความไว้วางใจในกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในลักษณะเช่นนี้จึงมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยุ่บนเพื้นฐานของกฎเกฑณ์ทางสังคมมากกว่าส่วนตัว การสื่อสารจึงมีบทบาทมาก ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันที่เป็นส่วนตัวมักไม่ค่อยแน่นแฟ้น เพราะสมาชิกสังคมมวลชนต่างอาศัยการสื่อสารเป้นสื่อในการติดต่อ
        จากลักษณะดังกว่าง สังคมมวลชนนั้นเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาทางสังคม โดยถือว่าการพัฒนานั้นจะเน้นด้านวัตถุเป็นหลัก และที่สำคัญที่สุดของวามเปลี่ยนแปลงก็คือการแสดงง
หาความสะดวกสบายมาสนองความต้องการของสังคมมวลชนโดยการลดพฤติกรรมบางอยางบางประเภทที่ขัดต่อความสำนึกของมวลชนออกไป โดยเน้นด้านผลประโยชน์เป้ฯสำคัญ
         มติมวลชน โดยปกติ มวลชนหากปราศจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ควบคุมสังคมแล้ว ไม่อาจทำการใดๆ ที่สำคัญๆ ร่วมกันได้ เพราะสมาชิกมวลชนต่างมีความสัมพันธ์กับอย่างหลวมๆ แต่ละคนมักจะมีภูมิหลังความสนใจ และประสบกาณ์ต่างๆ ร่วมกันเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ขาดความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมผนึกกำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ความสัมพันธ์กันในรูปของญาติสนิทก็ดี ความเป็นผู้ครอบครอชุมชนก็ดี จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ มติมวลชนที่เกิดขึ้น จึงเป็ฯเพียงปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่อาจนำไปใช้ในสังคมโดยทั่วไปได้
         ดังนั้น มติมวลชนนั้นเป็นข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่มบุคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์กันหลวมๆ และแต่ละฝ่ายมักมีภูมิหลังต่าง ๆกัน อันทำให้ความสัมพันธ์ของมวลชนไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร แม้ว่าสมาชิกมวลชนนั้น จะมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันก็ตา สภาพดังกล่าวแล้ว ฏ็ไม่อาจทำให้มติมวลชนเป็นที่ยอมรับในวงการทั่วไปได้
         พฤติกรรมมวลชน  เมื่อเราถือว่า ฝูงชนเป็นรูปแบบของพฤติกรรมรวมหมู่รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านกายภาพแต่นั้นเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก พฤติกรรมรวมหมู่บางรูปแบบอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลได้เหมือนกัน แม้ต่างคนต่างแยกกระจัดกระจายกันอยุ่ และแต่ละคนก็ไม่ได้มีการกระทำระหว่างกัและกันกับคนอื่น ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้บรรดาสมาชิกขาดการติดต่อกันแต่มีการกระทำที่แสดงออกถึงวัตถุปรเสงค์ร่วมกัน การแสดงออกลักษณะนี้ จัดเป็น "มวลชน" ซึ่งหมายถึงคนจำนวนมากที่กระจัดกระจายกันอยู่ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนต่างตอบสนองโดยความเป็นอิสระของตนต่อสิ่งเร้าอย่างเดียวกัน การแสดงออกของมวลนส่วนใหญ่มักเอาอย่างหรือเลีวยแบบผู้อื่นหรือสังคมอื่น ซึ่งจะปรากฎในรูปของพฤติกรรมมวลชน เรื่องพฤติกรรมมวลชนนี้ หากดูเผินๆ แม้จะไม่มีความรุนแรงก็ตาม แต่มีอิทธิพลบางอย่างอันเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสังคม เป็ฯตัวการที่จะทำให้พฤติกรรมมวลชนเป็นที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับในสังคมต่อไป
        รูปแบบของพฤติกรรมมวลชน เป็นพฤติกรรมมวลชนมีกาจัดรูปแบบออกไปเป็นประเภทต่างๆ ดันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ ข่าวลือ ความคลั่งนิยมชั่วขณะ สมัยนิยม ความคลั่งไคล้ ฮีสทีเรียหมู่
        "ข่าวลือ" เ็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ๋มักออกจากปากคนคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แพร่กระจายออกไปทั่วทั้งกลุ่ม จนบางครั้งสมารถแพร่ไปทั่วทั้งสังคม ดดยไม่มีการตรวจตรา ให้ถูกต้องถี่ถ้วน ข่าวลือจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในบางสงคม แต่ส่วนใหญ่แล้วข่าวลือจเป็นเสมือนเกิดขึ้นในสถานกาณ์ที่เน้นด้านสังคมมากที่สุด
        "ความคลั่งนิยมชัวขณะ" เป็ฯพฤติกรรมมวลชนรูปแบบหนึ่ง อันเป็นรูปแบบที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และยินดีรับมาใช้ระหว่างช่วงเวลาอันจำกัดของสังคม ความคลั่งนิยมชั่วขณะนี้จะมีความแตกต่างกับสมัยนิยม ก็โดยอาศัยความพึงพอใจในช่วงเวลาที่ถูกจำกัดมากว่า และมักจะดำรงอยุ่ในเวลาอันสันด้วย จะเห็นได้ว่าความคลั่งนิยมชัวขณะนี้เป็นพฤติกรรมที่ดำรงอยู่ไม่นาน โดยขึ้นอยู่กับความพอใจและยินดียอมรับของสังคมที่จะนไมาใช้ด้านพฤติกรรมมากน้อยเพียงใด
         " สมัยนิยม" เป็นรูปแบบของพฤติกรรมหนึ่งขอพฤติกรรมมวลชน อันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมตามระยะเวลที่กำหนดไว้ แต่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สมัยนิยมจึงเป็ฯการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบในปทัสถานที่แน่นอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในแง่ของวัฒนธรรม และมีเป้าหมายต่อการเปลี่ยนแปลง การยึดติดสมัยนิยมนั้น เป็นวิธีการอันหนึ่งในการผนวกเอาความเบี่ยงเบนและความคล้ายคลคงกันเข้าไว้ด้วย นั้นคือความเบี่ยงเบนนั้นเนื่องมาจากการปฏิบัติตามประเพณีและความคล้ายคลึงกันตามมาตรฐานที่นิยมกันอย่างจริงจัง การขยายตัวของสมันนิยมอาจจะยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่ และมีความลงรอยเดียวกัน ตามสมัยนิยมอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยปกติสมัยนิยมจะถูกบังคับด้านรูปแบบที่ไม่เป็นทางการด้านการควบคุมทางสังคม เพราะเป็นไปตามพอใจและนิยมยอมรับของสังคมเอง สังคมหนึ่ง ๆ อาจจะยอมรับสมัยนิยมรูปแบบหนึ่ง ๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลายาวนานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันสมัยนิยมนั้นอาจไม่เป็นที่นิยมยอมรับของสังคมอื่นๆ ก็ได้เป็นต้น
         " ความบ้าคลั่ง" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมมวลชน เช่นเดียวกับรูปแบบอื่นๆ ของพฤติกรรมมวลชน จัดเป็ฯพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลามากที่สุดในบรรดาพฤติกรรมมวลชนทุกประเภท เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ปราศจากการพิจารณาไตรีตรองตามเหลักเหตุผล จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถคงทนดำรงอยู่ในสังคมได้นาน โดยผูกพันอยู่กับความพอใจและอารมณ์ของตนเองเป็นหลัก ตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ถือว่าความบ้าคลั่นนั้นเป็นปทัสถานที่เกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติมักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบางอย่างที่ฉาบฉวยและผิวเผินมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกทางอารมณ์ของคน
          " ฮีสทีเรียหมู่" เป็นเรื่องของปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งอันเป็นปรากฎการณ์ด้านรูปแบบพฤติกรรมมวลชน ความจริงแล้วมักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางจิตของสมาชิกสังมเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ทางจิตประเภทหนี้ มักเกิดกับสมาชิกสังคมบางส่วนหรือบางคนเท่านั้น ไม่ทั่วไปทั้งสังคมจึงไม่่ค่อยปรากฎเด่นชัดมากนัก
           ฮีสทีเรียหมู่ เป็นปรากฏการ์ทางสังคมประเภทหนึ่งในรูปแบบของพฤติกรรมมวลชน อันเป็ฯพฤติกรรมที่เกิดจากความวิปลาสหรือความผิดปกติทางจิต ในลักษณะของความฝังใจจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ได้ประสบมาทั้งทางตรงและทางอ้อม อันถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต ทำให้เกิดความกระวนกระวายใจ ไม่เป็นระเบียบและสับสนทางพฟติกรรมพฤติกรรมที่แสดงออกมามักปราศจากการควบคุม ส่วนใหญ่จะปรกกฏในอาการต่าง ๆ เช่น จิตหลอน อารมณ์ไม่มั่นคง คือมีอาการทางอารมณ์หวั่นไหวไม่คงที่แน่วแน่และอ่อนแอ
         พึงเข้าใจว่าฮีสทีเรียหมู่นั้น เป็นโรคจิตชนิตหนึ่งของสังคม เป็ฯโรคที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่อาจถ่ายทอดกันทางพฟติกรรมได้ เพราะฉะนั้นฮีสทีเรียหมู่จึงเป็นเพียงปรากฏกาณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น และอาจมีอิทธิพลทำให้สังคมเกิดความอ่อนแอ ในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นได้
         
      

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Crowd


        การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่งที่ต่างมีจุหมายหรือความสนใจตรงกันโดยแต่ละคนจะมีความใกล้ชิดกันด้านกายภาพ และไม่เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำ ความสัมพันธ์ ความรู้จักมักคุ้นสนิทสนมต่อกันและกันเป็นส่วนตัวมาก่อนเลย โดยปกติแล้วเมื่อแต่ละคนต่างมีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน สภาพฝูงชนก็จะสลายตัวไป เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของมวลรวมกันเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจและป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการศึกษาฝูงชน จะของแยกอธิบายตามแนวต่อไปนี้

     การที่คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนบ้าง เคยรู้จักกันมาบ้าง มารวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง จะโดยนดหมายกันมาก่อนหรือไม่ได้นัดหมายกันมากก่อนก็ตา แต่ละคนที่มารวมกันนั้นต่างมีเป้หมายหรือวัตถุประสงค์ของการมารวมกันนั้นตรงกัน หรือร่วมอย่างเดียวกัน และเมื่อได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการแล้ว สภาพการรวมกันก็สลายไป ลักษณะเช่นนี้ จัดเป้น "ฝูงชน" เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมสภาพฝูงชน การรวมตัวกันใรรุ)ของฝูงชน จึงมีความหลากหลายออกไปตามปัจจัยแวดล้อมอันทำให้มีการจัดประเภทแก่งพฤติกรรม
        "ฝูงชน"ตามแนวสังคมวิทยา เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคมมิใช่ศึกษาเจาะจงเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
        อนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมรวมหมู่ คำว่า "ฝูงชน" ที่เรานำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมรวมหมู่นั้น ยังได้ถูกนำมาใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวางมาก โดยใช้แสดงถึงการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่างมีการแสดงออกหรือการกระทำตามวัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายของตน และการที่ใช้ฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงเป็ฯการแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของบบรรดาสมาชิกฝูงชนดังได้กล่าวแล้ว
        ในจิตวิทยาสังคม ได้กล่าวถึงฝูงชนในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้แสดงนัยอันเป็นความหมายทีบ่งบอกให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง ๆ ซึ่งต่างมีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ตามปัจจัยอันเป็นสาเหตุให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยใช้คำที่มีัลัษณะและความหมายที่สามารถเข้ากันได้และลงรอยเดียวกัน การศึกษาฝูงชนตามแนวจิตวิทยาสังคมนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ฯพฤติกรรมที่แสดงออกตามความรู้สึกของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีทั้งความรุนแรงก้าวร้าว และความสมานฉันท์ด้านนันทนาการ
        ตามปกติ ฝูงชนจะมัลัษณะสำคัญที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ เป็นผลของการแสดงออกของพฤติกรรมรวมหมู่ในด้านรูปธรรม อันทำให้พฤติกรรมรวมหมู่ปรากฎเป็นรูปร่างตัวตนขึ้นมา โดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎออกมาตามลักษณธที่เห็นว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝูงชนขึ้น โดยจะมีภพความปั่นป่วนระสำ่ระสายของฝูงชนในลักษณธของการวนเวียนจับกลุ่ม การเดินไปเดินมาโดยไร้จุดหมายที่แน่นอน และยังถือว่าเป็นความกระวนกระวายอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมายของคนในฝูงชน อันหมายถึง ภาวะขัดแย้งที่ปราศจากผู้นำ และความกระวนกระวายนี้ยังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปลุกเร้าทางจิตอันเป็ฯความผิดปกติทางอารฯ์ร่วมกันระหว่างสมาชิก ซึ่งเป็ยผลมาจากการที่สามชิกมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน มีการเร้าทางอารณ์ ทำให้บรรดาสมาชิกเกิดความตื่นเต้น และมีอารมณ์ร่วมเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยภาวะแห่งการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เหล่านั้นไปยังบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดอันเป็นการช่วยกระจายความรู้สึกให้ขยายเป็นวงกว้างออกไป ซึ่งสภาพเช่นนี้ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพฝูงชนขึ้น และสามารถลงมือกระทำการต่างๆ ได้
        อีกประการหนึ่ง ยังมีฝูงชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไปจากผู้รับสร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าทางอารมณ์ที่แต่ละคนต่างมีข้อกำหนดระหว่างบุคคลแต่ละบุคลที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกัน และยังมีความแตกต่างจากมหาชน อีกด้วย โดยที่แต่ละคนจะมีความใกล้ชิดด้านกายภาพระหว่างสมาชิกด้วยกัน ดังกรณีนักศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่มีการแข่งขันกีฬาต่างก็จะมีอารมณ์ร่วมกัน และมีสภาพการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนในรูปของความเป็นฝูงชนได้ ประชาชนต่างมายืนรอรถประจำทางตามป้ายจอดรถก็จะดเป็นฝูงชนเช่นกัน เรียกว่า ฝูงชนบังเอิญ แม้พฤติกรรมฝูงชนก็จัดเป็นรูปแบบพื้นฐานของพฟติกรรมรวมหมู่ การพิจารณาฝูงชนดังกล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวในแง่ของสังคมวิทยา ที่พิจารณาฝูงชนทั้งฝูงชนหรือพิจารณาหมดทั้งกลุ่ม มิได้พิจารณาเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบคคลหนึ่งหรือบางกลุ่มบางส่วนในฝูงชนนั้น
        สภาวะรวมหมู่ ฝูงชนมัเป็นที่ยอรับกันว่า เป็นสภาวะรวมหมู่ทั้งนี้ เนื่องจากมีลักษณะที่แน่นอน ซึ่งมักจะไ้รับการกล่าวขานในด้านโครงสร้างทางจิตวิทยาโดยตรงแต่บรรดนักการศึกษาต่างพยายามหานิยามอันเป็นที่ยอมรับกัน  จนเป็ฯที่ตกลงด้านจำนวนเป้าหมายที่กำนดตายตัวลงไปเท่านั้นว่า
   - ฝูงชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มที่เป็ฯทางการในบางรูปแบบ
   - ฝูงชน เป็ฯการรวมตัวกันเพียงชัวคร้งชั่วคราวเท่านั้น โดยอาจจะก่อรูปขึ้นมาเป็ฯกลุ่มที่เป็นทางการก็ได้ หรือกาจเกิดขึ้นในรูปขององค์การที่ถาวรก็ได้
   - มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของบรรดาปัจเจกบุคคลประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ จะเป็ฯไปตามเงื่อนไขตามที่ยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม แต่ถือว่าสามารถสื่อความหมายกันภายฝูงชนนั้น ๆ ได้ แม้กระน้นก็ตามก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะทำให้คนมารวมกัน หรือทำให้คนเหล่านั้นได้รับความรู้เหมือนกันกับคนอื่น ๆ ในกรณีเช่นนี้ ฝูงชนจึงประกฎเป็นรูปร่างทางกายภาพขึ้นโดยทันทีทันใด..
   - ฝูงชนนั้นยังอยู่ในกระบวนการตลอดไป เนื่องจากมีลักาณะเป็ฯเด็กหลงพ่อแม่ อย่างหนึ่ง
   - ฝูงชนนั้น ส่วนใหญ๋แล้วจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก คนเพียงสามคนไม่อาจจัดเป็นฝูงชนได้
            ทั้งนี้เนื่องจากฝูงชนเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่ต่างมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินการต่าง ๆ เฉพาะตน ฝูงชนจึงเป็นผลรวมหรือมวลรวมทางพฤติกรรมของสมาชิกเองเมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ฝูงชนในฐานะสภาวะรวมหมู่ พอสรุปได้ดังนี้
   - บางรูปแบบมัลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่เป็นทางการ
   - เป็นการรวมกันชั่วคราวของคนจำนวนหนึ่ง
   - แต่ละคนสามารถสื่อความหมายกันได้
   - อยู่ในกระบวนการตลอดไปคือมีความเป็นไปโดยไร้ระเบียบแบบแผนตายตัว
   - ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก
ดังนั้น ฝูงชนในสภาวะรวมหมู่จึงมีลักาณะการรวมกันที่ไม่ได้มีการวางแผนกำหนดการแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องการรวมหลุ่มกันตามความพอใจและความประสงค์ของแต่ละคนนั้นเอง
         ลักษณะเฉพาะของฝูงชน ที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
         - มีสภาวะนิรนาม ฝูงชนจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งด้านชื่อเสียง และภูมิหลังของกนและกัน มักปรากฎในช่วงเวลาอันั้น โดยเป็นไปเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ที่มารวมกันนั้นแต่ละคนจะไม่สนใจในกันและกน คือไม่มีความรู้สึกต่อกันและกันในฐานะส่วนตัว หรือเป็นส่วนบุคคลเลย ทุกคนจะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การแสดงออกทางพฤติกรรมก็เป็นไปในรูปของกลุ่ม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดีต่าง ๆ ทางสังคมไม่ว่าจะด้านกฎหมายและด้านศีลธรรมจะถูกลืมและขจัดออกไป ทุกคนจะมีความรู้สึกว่าอิสระเสรีในการกระทำและแสดงออก การกระทำบางอย่างก็ดี การแสดงออกก็ดีในเวลาปกติจะไม่กรทำ เพราะถือว่าขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคม
         - มีลักษณะเป็นอบุคลิก  เป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะลักษณะเช่นนี้เป้ฯลักษณะที่ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยแตละคนต่างทำหน้าที่ของตนตามบทบาทที่เกิดจากสถานภาพเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะปรากฎเด่นชัด เมื่อมีการจลาจลวุ่นวายที่เกิดจาปัญหาเชื้อชาติไม่ว่าจะโดยทางชาติพันธุ์ หรือความสัมพันธ์ทางเชื่อชาติ แม้คนในฝ่ายตรงข้ามจะไม่เคยประพฤติผิดเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จะเป็นคนดีเพียวใดก็ตาม ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์เชนนั้นขึ้น เกณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องวัด "ความดี" ก็ดี  "ความเป็นเพื่อน" ก็ดี ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ เพราะไร้ประโยชน์ ต่อเมื่อเหตุการณ์สวบหรือสลายตัวแล้ว ความสัมพันธ์ที่มีอยูต่อกันก็จะกลับกลายมาเป้นสวนบุคคลเช่นเดิม
          - สภาวะแนะนำง่าย สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดฝูงชนนั้นไม่ได้กำหนดสถานภาพและบทบาทของฝูงชนมาแต่เดิม เป็นแต่เพียงกำหนดระเบียบและโครงสร้างไว้ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงไม่มีผู้นำที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเฉพาะรวมถึงไม่มีรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับกัน ฝูงชนในลัษณะเช่นนี้จึงมีความว้าเหว่ อ้างว้างขาดที่พึ่งพิง ปราศจากหลักยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทางใจ เพื่อที่จะให้ฝูงชนดำเนินการและปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนจะพงมี กลุ่มจึงเป็นผู้รับผิดชอบโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมาให้สมาชิกปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้สถานะของกลุ่มจึงมักมีการชัดแย้งกันและสร้างความยุ่งเหยิงเสมอในภาวะของสถานกาณ์เช่นนั้นประชาชนอาจปฏิบัติตากการชี้แนะของใครก็ได้..
          - การแพร่ติดต่อทางสังคม หรือการแพร่ติดต่อทางอารมณ์เป็นการกระทำระหว่างกันทางสังคม โดยที่แรงดลเหรือความรู้สึกที่แพร่จากบุคคลไปยังบุคคลอื่น ยังผลไใ้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน มักใช้ในสถานกาณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคลั่งไคล้ ความแตกตื่น หรือความระเริงใจ...
          - คุณสมบัติเฉพาะของฝูงชน ฝูงชนเป็ฯสภาพแห่งการรวมตวกันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของปัจเจกบุคคล อันเกิดขึ้นจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวการเร้าหรือจูงใจให้เกิดขึ้นมาดังนี้นเรื่องของฝูงชน แม้ว่าเราจะทราบกันแล้วว่าเป็นการรวมกันของคนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่ว่าจะโดยการนัดหมายกันหรือมิได้นัดหมายกันไว้ก็ตาม แต่พึงเข้าใใจว่าฝูงชนนั้มีจุดรวมอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องจูงใจให้แต่ละคนมารวมตัวกันก่อสภาพเป็นฝูงชนขึ้น นั้นคือ จุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่แต่ละคนมีอยู่ จุดประสงค์หรือเป้าหมายอันนี้ จะเป็นตัวการหรือเป็นปัจจัยจูงใจให้คนมารวมกันในสภาพของฝูงชนขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงชนจึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวมันเองว่ามีคุณสมบัติเช่นใดอันจะทำให้เห็นสภาพที่แท้จริงของฝูงชนได้
           - นิยาม "ฝูงชน" ฝูงชนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนจำนวนหนึงมารวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดดยแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันด้านการกระทระหว่างกันเฉพาะตัวบุคคลหรือต่างมีความรู้สึกและพฤติกรรมตรงกันก็ได้ คำว่า "ฝูงชน" นี้ บางครั้งในที่บางแห่งถูกนำมาใช้หมายถึงกลุ่มของคนที่เป็ฯโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือภาวะของจิตภาวะหนึ่ง ที่อยู่ในภาวะของความเป็นฝูงชน ที่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้
     มีข้อน่าสนใจเกี่ยวกับฝูงชนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ฝูงชนนั้นถึงแม้จะเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมก็ตามแต่จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและมักจะปรากฎอยู่ในสถานที่เดียวกันโดยมักจะปรากฎในสภาพที่มีลัษณะของการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และอาจรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นการเคลื่อไหวที่บางครั้งไม่เคยมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอีกด้วย
     เมื่อว่ากันตามลักษณะของปรากฎการณ์แล้ว ฝูงชน เป็ฯการรวมกลุ่มกันอย่งหนึ่งของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในลักษณะที่มีการกระทำทางสังคมระหว่างกันและกัน เพียงแต่ว่ากลุ่มนั้นไม่ใช่การรวมตัวกันของบรรดาบุคคลต่าง ๆ ที่อาจจะพอนับกันได้ แต่เป็นการติดต่อเกี่ยวขข้องกันของบรรดาบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ด้านการให้และการรับ นั้นคือการกระตุ้นและการตอบสนองระหว่างบรรดาสมาชิกด้วยกัน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...