วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

disaster


       ภัยพิบัติ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากพบอยากเจอ   ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้จาก ธรรมชาติ ภัยพิบัติจากโรคระบาด และภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์  จากสถิติภัยพิบัติทางธรรมชาติของไทยในรอบ 20 ปีอุกทกภัยสร้างความเสียหายมากที่สุด โดยเฉพาะมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมือปี 2544  แต่ภัยพิบัติที่คร่าชีวิตและมีผุ้บาดเจ็บมากที่สุดคือภัยจากการคมนาคมและขนส่ง ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ภาคเหนือมีปัญหาไฟป่าที่สร้างปัญหาหมอกควัน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงฤดู๔แล้วเป็นประจำทุกและนับจากปี 2550 ก็ทวีความรุนแรงมากยิงึ้น จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช ผู้อำนายการศูนย์วิจัยและจัดการคุณาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ศูนย์ทะเบียนมะเร็งเชียงใหม่ปี 2550 พบว่า “คนเชียงใหม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนไทยทั่งไปถึงเกือบ 7 เท่าตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
                อย่างไรก็ตาม แม้ถัยธรรมชาติจะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเอง แต่บ่อยครั้งพบว่าการกระทำของมนุษย์กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่ง “ซ้ำเติม” ให้ภัยธรรมชาติรุนแรงและเสียหายมากขึ้น เห็นได้ชัดจากเหตุกาณ์ดินโคลนและซุงถล่มหลังผนตกหนักที่บ้านกะทูนเหนือ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ทั้งสองพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ ทำให้เมีผุ้บาดเจ็บและเสียชิวิตประมาณ 230 คน บ้านเรือนเสียหายประมาณ 1,500หลัง พื้นที่การเกษตณเสียหาย 6,150 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000ล้านบาท
                หรือเหตุการณ์ฝนตกหนักเมือ  10-11 สิงหาคม 2544 ที่ยบ้านน้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ จนเกิดดินถล่มน้ำป่าบนภูเขาสูงไหลทะลักเข้าใส่หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมีทางน้ำหอบเอาทั้งดินโคลนและซากต้นไม่หลากลงมาพร้อมกระแสน้ำรุนแรง ซัดเอาบ้านเรือนจำนวนมากหายไปในพริบตากลางดึก และคร่ชีวิตชาวย้านไปอีก 147 คน
                ทั้งสองเหตุการณ์ล้วนเป็นผลมาจากการลักลอบตัดไม่ทำลายป่า เมื่อเกิดฝนตกหลักอย่างต่อเนื่อง หน้าดินจึงอุ้มน้ำไม่ไหวและพังทลาย จนกลายเป็ฯโศกนาฎกรรมที่สร้างความเสียหายครั้งใหญ่
                อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สะท้อพลังแห่งการ “ซ้ำเติม”ให้ภัยธรรมชาติในบ้านของเรารุนแรงมากขึ้นนั้นคือ การก่อสร้างโครงการพัฒนาต่าง ที่กีดขวางเส้นทางเดินของน้ำ จนนำไปสู่เหตุอุทกภัยครั้งร้ายแรงใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จากเหตุการณ์ผนตกหนักระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤศจิการยน 2543 เส้นทางระบายน้ำที่เคยผ่านคลองอู่ตะเภา ผ่านเขต อ.หากใหญ่ ก่อนไหลลงสุ่อ่าวไทยที่บริเวณทะเลสาบสงขลา ถูกแทนที่ด้วยถนนลพบุรีราเมศวร์ที่สร้างเร็จเมือปี 2533 ถนนสายสนามบิน – ควนลัง และทางรถไฟ อีทั้งคูคลองก็ตื้อเขินพื้นที่ลุ่มแอ้งกระทะของหาดใหญ่จึงจมอยู่ใต้น้ำทันที สร้างความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาททางการประกาศผุ้เสียชีวิต 35 คนแต่ข้อมูลไม่เป็นทางการสูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ
                สึนามิ.. คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกว่าเหตุกาณ์แผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว แม้พงศาวดารจะเคยจารึกเหตุแผ่นดินไหว เช่น ณ เมืองโยนกนครหลายครั้ง จนทำให้เวียงล่มลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ในปีพ.ศ. 1558 พงศวดารน่านยังบันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในเขตดินแดนล้านนาจำทำให้ยอดพระธาตุและวิหารหลฃายหลังชำรุดหักพังลงมาในปี  2344 หรือในบันทึกของหมอบรัดเลย์ ก็เคยกล่าวถึงแผ่นดินไหวที่รู้สึกสั่นสะเทือนในกรุงเทพฯทั้งที่จุดศูนย์กลางอยู่ในพม่า
                ด้วยความที่รู้สึกว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว และยิ่งไม่มีความรู้ว่าแผ่นดินไหวในที่ต่าง ๆก่อให้เกิดอะไรได้บ้างเมื่อเหตุการณ์แผ่นไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ ที่ระดับความลึกจากพื้นท้องทะเล 28.6 กิโลเมตร ศูนย์กลางอยู่ในทะเลนอกชายฝังด้านตะวนตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อ 26 ธันวาคม 2547 ส่งพลังงานมหาศาลเทียบเท่าระเยิดปรมฯูที่เมืองฮิโรชิมา 23,000 ลูก ก่อให้เกิดการสั่นไหวนรุนแรงของแผ่นดินและเกิดสึนามิตามมาในมหาสมุทรอินเดียเข้าถล่มชายฝั่ยประเทศต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย มัลดีฟส์ พม่า แทนซาเนีย บังคลาเทศ และเคนยา ประเทศไทย โดยเฉพาะพื้อนที่ 6 จังหวัดของชายฝั่งอันดามันคื อภูเก็ต พงงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล จึงเผชิญหน้ากับคลื่อยักษ์ สึนามิครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในทะเลอันดามัน โดยปราศจากการป้องกันหรือรับมือใดๆ 
                ตัวเลขจากสำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า มีผุ้เสียชีวิต 5,401 คน บาดเจ็บ 11,775 คน สูญหาย 2,921 คน มูลค่าความเสียหายรวม 44,491 ล้านบาท ...
                 คลืนยักษ์สึนามิในปี 2547 ถือเป็นธรณีพิบัติครั้งรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ คร่ชีวิตผุ้คนใน 14 ประเทศ รวมมากกว่า 2.3 แสนคน และสูญเสียกว่าสี่หมื่นคน ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดตาลำดับ คือ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย และไทย...
                หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้ประเทศไทยเริ่มหันมาเตรียมพร้อมเพื่อรับมอกับภัยธรรมชาติอย่างคลื่นยักษ์สึนามิในหลายระดับ โดยเฉพาะการสร้างระบบเตือนภัยทั้งระดับชาติและท้องถิ่น รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมกับมีการซักซ้อมแผนการอพยพเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง
                มหาอุทกภัย 2554
                เริ่มจากฝนที่ตกหนักและเร็วกว่าปกติ รวมทั้งพายุหลายลุก ประเดิมด้วยพายุโซนร้อนในช่วงปลายเดืนอมิถุนายน ตามมาด้วยพรยุโซนร้อน..และพายุไต้ฝุ่นรวม พายุ ถ ลูกโหมกระหน่ำไล่เลียกัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ิกฤติกิมหาอุทกภัย...
                 น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้อที่ถาคเหนือ แล้วค่อย ๆ รุกไล่งสูพื้อภาคกลาง การรับมือของรัฐบาลล้มเหลว ปริมาณรนำ้มากเกินกว่าจะรับมือไหว โดยเฉาพะเมื่อเขื่อนใหญ่อย่า่งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าศํกฯ กักเก็ฐน้ำว้มากเป้นปวัติการณ์ จนต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนทันที ..
                 มวลน้ำล้นจากเขื่อนทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสำลักน้ำอย่างสาหัสสากรรจ์ และหลังจากพนังกั้นน้ำแตก ทำให้พื้อนที่เมืองนครสวรรค์จมอยุ่ใต้บาดาล ซึ่งไม่ต่างกับการนับถอยหลังแห่งความหายนะของชาวเมืองหลวง
                 กรุงเทพตกอยู่ในอาการโกลาหลกับการเตรียมรับมือน้ำ..น้ำมาไวดังไฟลามทุ่งกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงพื้อนที่สูงอย่างทางด้่วนและสะพานลอยกลายสภาพเป็นลานจอดรถ ไม่เหลือเส้นทางสำหรับการอพยพ คำสังอพยพถูกประกาศครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ผุ้นส่วนหนึ่งก็ไม่ยอมทิ้งบ้านแม้จะจมอยู่ใต้น้ำเหลือเพียงชั้นบนหรือหลังคา เพระเกรงว่าทรัพย์สินจะสูญหาย อาหารและน้ำดือ่มขาดแคลน ไฟฟ้า น้ำประปาถูกตัดขาด ถุงยังชีพจำนวนมหาศาลถูกแจกจ่าย แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 1,085 รายทั้งจมน้ำและถูกไฟฟ้าช๊อต..
                 เหตุการณ์สิ้นสุดลงเมือก้าวเข้าสู่เดือนมกราคม ปีถัดมา ท่ามกลางขยะอกงโตกลางกรุ..และตัวเลขความเสียหายที่สูงลิบลิ่ว ธนาคารโลกประเมินความเสียหายจากมหาอุทกภัยครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ต้องใช้เงินฟืนฟูเศรษฐกิจสูงถึึงกว่า 755,000 ล้านบาท ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 13.5 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 150 ล้านไร่ ใน 65 จังหวัด 26 นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งจมน้ำ ความเสียหายของภาคอุตสาหกรรมทั้งที่อยุ่ในและนอกนิคมอุตสาหกรรม 474,750 ล้านบาทและยังส่งผลกระทบต่อกิจกราเอสเอ็มอีจำนวน 285,000 ราย ภาคการเกษตรได้รับความเสียหาย 2.7 หมื่นล้าน โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในส่ววนการคมนาคมอีกว่า 2.2 หมื่นล้าน...
               

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

tragedy

Posted Image     เหตุการณ์โศกนาฎที่เกิดขึ้นในประเทศและเป็นความสูญเสียของประเทศครั้งสำคัญๆ และก่อให้เกิดความสูญเสียและผลกระทบเป็นอย่างมากพอจะกล่าวเป็นเหตุการณ์สำคัญๆ ได้ดังนี้
      ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์
       10 พฤษภาคม 2536 ณ บริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานตุ๊กตาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยอาคาร 5 ชั้น จำนวน 4 อาคาร ตั้งอยูบนถนนพุทธมณฑลสาย ภ ตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ขณะเกิดเพลิงไหม้คนงานกำลังทำงานกว่า 1,400 ชีวิต พยายามวิ่งหนีออกจากอาคารอย่างอลหม่าน ทว่าไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยสถานที่เกิดเหตุมีเศษผ้าและวัตถุไวไฟอยู่เป็นจำนวนมาก
        มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 469 รายและเสียชีวิต 188 ราย เจ้าหน้าที่ทำการสืบสวนหาสาเหตุของเพลิงไหม้ครั้งนี้ ซึ่งพบว่า เกิดจากความ "ประมาท" ของพนักงานที่สูบบุหรี่ในโรงงาน ทำให้เกิดไฟลุกไฟม้วัสดุที่ใช้ผลิตตุ๊กตา และเมื่อตรวจสอบในเชิงยังพบว่า โรงงานไม่ได้มาตรฐานความปลอภัยหลายประการ ไม่มีบันไดหนีไฟ ประตูทางออกฉุกเฉินกว้างไม่ได้มาตรฐษน และมีจำนวนน้อบเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนของพนักงาน รวมั้งไม่เคยมีการซ้อมการหนีไฟอย่างเป็นระบบ

      รถก๊าซระเบิด โศกนาฏกรรมบนถนนเพชนบุรี
      คืนวันจันทร์ ที่ 24 กันยายน เวลาประมาณ 22.00 น. รถบรรทุกแก๊สที่ขับโดยนาย สุทัศน์ ฟักแคเล็กพยายามขับลงทางด่วนเพชนบุรีตัดใหม่ด้วยความเร็วเพื่อที่จะข้ามผ่านไฟแดง แต่รถได้เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำจากนั้นตัวรถได้ไถลไปกับพื้น ด้วยแรงเสียดสีกับพื้นถนนทำให้ถึงบรจุแก๊สรูปแคปซูล 2  ถัง ถึงละ 20,000 ลิตร หลุดออกจากตัวรถ และเกิดเป็นความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มแรงอดให้กับแก๊สที่บรรจุอยู่ภายในถังเหล็กไม่อาจทนแรงเสียดสีได้ปริแตก แก๊สบรรจุอยู่ภายในได้พวยพุ่งออกมาและเกิดเป็นประกายไฟและระเบิดขึ้นมาด้วยเสียงสนั่นหวั่นไหวหลายครั้ง ทำให้บริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่และละแวกใกล้เคียงกลายเป็นทะเลเพลิงภายในชั่วเวลาไม่กี่วินาที
Posted Image      ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ซและครอกผู้คนที่ิดอยู่ในรถยนต์ซึ่งกำลังติดไฟแดงอยู่ ณ บริเวณนั้น หลายรายเสียชีิวิตทั้นที่ บางรายเสียชีิวิตเนื่องจากสำลักควัน บางคนที่หนีออกมาได้ ก็อยู่ในสภาพที่บาดเจ็บสาหัสเนื้อตัวเป็นแผลพุพองจากเปลวไฟ ขณะเดียวกันถังแก๊สอีกถึงทนความร้อนไม่ได้ เกิดระเบิดขึ้นมาอีกครั้ง ตึกแถวสองฟากถนนเกิดไฟลุกไหม้สูงท้วมตึกสามชั้น หม้อแปลงไฟฟ้าช๊อตกระแสไฟถูกตัดขาด ไฟดับเป็นบริเวณกว้างลูกไฟพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสีแดงฉาน ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวกว่ร้อยหลังคาเรือนพากันพยายามหนีเอาชีวิตรอด
      ไฟยังคงไหม้กว่าชั่วโมงแม้เจ้าหน้าทตำรวจดับพเลพงพยายามฉีดน้ำสกัด ไฟมาสงบในเวลา22.00 ของวันต่อมา ยี่สิบสี่ชัวโมงเต็ม เจ้าหน้าที่เข้าเคลียร์พื้นที่ ปรากฏเป็นภาพที่สลดหดหู่ใจ ซากศพของผุ้เสียชีวิตไหม้ดำ บางรายเหลือเพียงแค่เศษเนื้อและเถ้ากระดูกเท่านั้น
       อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 59 ราย บาดเจ็บ 89 ราย รวมทั้งตึกแถวสามชั้น ตั้งแต่ซอยจารุรัตน์ หรือซอยเพชรบุรี 37 เรื่อยไปได้รับความเสียหาย21 คูหา ขณะที่ฝั่งตรงข้ามถูกเผาเสียหาย 17 คูหา ขณะที่ชุมชนแอดอัดด้านหลังถูกเผาวอดกินพื้นที่รวม 2 ไร่ มีบ้านเรื่อนได้รับความเสียหายหว่าร้อยหลังคาเรือน รถยนต์ถูกเผาไป 43 คน จักรยานยนต์ 4 คัน
     โรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่ม พ.ศ.2536 โรงแรมรอยัลพลาซ่า หรือชื่อเดิมคื โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่ซึ่งติดอันดับ หนึ่งในห้าของจังหวันครราชสีมา เจ้าของโรงแรมดังกล่าวได้ทำการลักลอบต่อเติมอาคาอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการตัดเสาขนาดใหญ่ตรงกลางห้องอาหารของโรงแรม เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย และต้องการให้แขกเห็นหน้านักร้องได้ชัดเจนขึ้น สิบนาฬิกากว่า ของวันที่ 13 สิงหา พ.ศ. 2536 ตัวโรงแรมเกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากน้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็วก่อให้เกิดเสียงดังปานฟ้าถล่มดินทลาย ฝุ่นผงจากซากอาคารตลอคลุ้งทั่วบริเวณ
     กองดซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ชั้นล่าง และไหวตัวทัน รอดพ้นไปได้อย่างหวุดหวิด
     ซากปรักหักพังทัถมอย่างแน่นหนา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งยวด เพราะการเร่งรื้อซากอย่างไม่ระมัดระวังอาจหมายถึงการสูญเสียหลายชีวิตที่ยังมีลมหายใจ ระหวา่งกการค้นหาเจ้าหน้าที่ปรพกาศห้ามเข้ามาในบริเวณ เกรงว่าจะเกิดเหตุชุลมน ฝ่ายทหารได้นำรถทหารช่างมาช่วยรื้อถอนซากอาคารและระดมกำลังพลกว่า 200 นาย เพื่อบริจาเลือดเป็นกรณีเร่งด่วน
     จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออำมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกฌได้เแฑาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจาย มีผู้รอดชีวิตที่สามารถช่วยออกมาได้ ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่ขนัดแทบล้นโรงพยาบาล การค้นหาผูรอดชีวิตยาวนานถึง ุ วัน จึงเลิกค้นหา มีผู้เสียชีวิต 137 คน และบาดเจ็บกว่า300 คน
    ตำรวขสรุปคดีนี้ว่า เกิดจาความบกพร่อง ของเจ้าของอาคารที่มีการต่อเติมอาคารผิดจาแบบเดิม ทำให้อาคารไม่สามารถ รองรับน้ำหนักได้ จึงได้แจ้งขอ้หารแก่ผู้บิรหารโรงแรม รวมท้ังวิศวกรผู้ออกแบบในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต กว่า 10 ปี คดีในชั้นศาลจึงสิ้นสุดลง เมื่อศาลฏีกาตัดสินจำคุกนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ วิศวกรผู้ออกแบบ เป็นเวลา20 ปี ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้ง 6 คนศาลยกฟ้อง...

         ซานติก้าผับ 1 ม.ค. เช้ามือ พล.ต.อ.จงรัก จุฆานนท์(รอง ผบ.ตร.)เกินทางมาที่ ซานติก้าผับพร้อม ตรวจสอบที่เกิดเหตุ เบื้องต้นตรวจสอบพบมีผู้เสียชีวิต 58 คนและบาเจ็บรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาล 200 คน โดยได้มีการตั้งศูย์ช่วยเหลือและรับแจ้งความที่สน.ทองหล่อ โดยทำการตรวจสอบผู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด รวมถึงผุ้ที่อยู่บนเวทีทั้งนักดนตรี นกร้อง มือกลอง ซึ่งมีคนให้การว่า ผู้ที่อยู่บนเวทเป็นผู้จุดพลุไฟทไให้เกิดไฟไหม้..
      จากที่ดินทำเลทองย่านเอกมัย เพียงชั่วข้ามคือของวันแรกของการย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ กลับกลายเป็นสุสานของเหยือเพลิงนรก
      นายสมชาย เฟรนดี้ นักท้องเที่ยวที่ประสบเหตุไฟไหม้ซานติก้าผับ  เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุทางผับได้จัดพลุเอฟเฟคไว้ที่ด้านหน้าเวทีเพื่อจุฉลอง โดยเมื่อเคานท์ดาวน์แล้วทางผับได้จุดพลุดังกล่าวเป็นตัวอังษร แฮปปีนิวเยียร์ แต่พลุเกิดระเบิดรุนแรงกว่าจนลุกลามไปติดยังฝ้าเพดานที่หุ้มด้วยฟองน้ำเก็บเสียง ให้ไฟลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
Posted Image      สุทธิรักศ์ คุ้มสม เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพร่วมกตัญญู ผู้ที่ได้เข้าทำการช่วยเหลือผู้บาเจ็บและผู้เสียชีวิต กล่าว่าเวลาประมาณ 00.10 น. เมื่อคือที่ผ่านมาตนได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ ตั้งอยู ซ.เอกมัย 9-11 ตนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ได้เดินทางมาในเวลาเทียงคือครึ่ง เมื่อมาถึงพบกลุ่มควันไฟออามาจากบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเข้าหน้าร้านซึ่งขณะนั้นผุ้คนที่อยู่ภายในได้เบียบเสียดออกมาจากนอกร้อนซึ่งทางออกมีเพียงทางเดียวเมื่อตนกับเจ้าหน้าทได้เข้าไปที่บริเวณด้านใน พบเห็นผุ้คนที่นอนร้องของความช่วยเลหือ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามรถที่จะเข้าำปได้ เนื่องจากมีกลุ่มควันหนาแน่น และมีคนตายอยู่บริเวณด้านหน้าอยู่เป็นจำนวนมากทุกคนพยายามดิ้นรนเอาตัวรอด ในช่วงนั้นมีรถดัเพลงมาแค่ 2-3 คัน ทำให้ดับไม่ทัน ซึ่งก็ต้องรอให้รถดับเลพิงมาก่อนเืพ่อทำการสลายกลุ่มควันที่มีอยู่หนาแน่น และทางเข้าบริเวณด้านหน้าเป็ฯทางเข้าทางแคบ ซึ่งยากแก่การเข้าช่วยเหลือ


    

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Suffer

     ทุกข์ หรือ ทุกขัง เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาษนา แปลว่ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึงสังขาร ทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซ฿่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
       ในทางพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์เป้ฯกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเกตุในการดับทุกข์ (สมุหทัย)แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์(นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์(มรรค)
      ทุกข์คือความเป็นจิรงอันประเสริฐหนึ่งในสี่ข้อของ อริยสัจ4  ทุกขสัจ ประกอบด้วย
-ชาติ คือ ความเกิด ความปรากฎแห่งขันธ์ ความอายตนะครอบ
- ชรา ความแก่
- มรณะ ความเคลื่อนภาวะความแคลื่อน ความแตกทำลาย มฤตยู ความตาย..
- โสกะ ความแห้งใจ ภาวะที่บุคคลประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ปริเทวะ ความคร่ำครวญ รำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
- ทุกข์ คือ ความลำบากทางกาย ความไม่รำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
- โทมนัส คือความทุกข์ทางจิต ความทุกข์ทางมโนสัมผัส
- อุปายาส คือ ความคับแค้นภาวะของผู้คับแค้น
- ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความรู้สึกทางกายที่ไม่น่าปรารถนา หรือด้วย บุคคลผู้ไม่ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ(กิเลส)ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
- ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก คือ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ระคนด้วยกามคุณ 5 อันน่าปารถนา หรือบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลจากโยคะ
- ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น  เช่นการปารถนาการไม่เกิด การปารถนาการไม่แก่เป็นต้น
         ทุกข์ที่กล่าวมานี้มีใจความกว้างขวางกว่าทุกขเวทนา

      เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกและยังคงเป็นปริศานากระทั่งทุกวันคือ กรณีสวรรคตซึ่งเกี่ยวพันต่อทุกสถาบันของประเทศ ตั้งแต่สถาบันกษัตริย์ ชาติ และรวมถึงศาสนาด้วย
        กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 "พระบาทสมเด็จพรปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีนทร" เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498 ทรงสวรรคตด้วยพระแสงปืนซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่เกิดขึ้นได้ยอย่างไร ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ก่อให้เกิดผลต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณี นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และกลุ่มการมเืองสาายนายปรีดีถูกกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงครามทำการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 ด้วยเหตุผลเกี่ยวเนื่องกับคดีสวรรคตดังกล่าว
        เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลย์เดช ทรงมีพระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญา ณ สวนจิตลดา เมื่อ 12 พ.ค. 2493 ดังนี้
       - ในวันที่ 8 ข้าพเจ้าไปในงานพระราชทางเพลิงศพพระองค์เจ้าอาทิตย์แทนในหลวงรัชกาลที่ 8 และในคืนเดีวกันได้ไปกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เหตุที่รัชกาลที่ 8 ไม่ได้เสด็จในงานพระศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ก็เพราะทรงประชวรแต่อาการประชวรนั้นไม่ถึงขนาดต้องบรรทมอยู่กับพระแท่น ยังทรงพระราชดำเนินไปมาในพระที่นั่งได้ จะทรงประชวรด้วยโรคอะไรข้าพเจ้าไม่ทราบ ได้ยินรับสั่งเพียวงว่าไม่สบาย
       - ในเช้าวันที่ 9 มิ.ย. 2489 ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าประมาณเวลา แปดโมงสามสิบนาที ทุ่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า รับประทานอาหารแล้วพข้าพเจ้สได้เดินไปทางห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ ค ซึ่งเป็นเวลา เก้าโมงตรง ได้พบนายชิตกับนายบุศย์นั่งอยูที่หน้าห้องแต่งพระองค์ ข้าพเจ้าได้ถามเขาว่า "ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร" ไ้ดรับคำตอบว่าพระอาการดีขึ้นได้เสด็จห้องสรงแล้ว ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ ต่อจากนั้นข้พเจ้าได้เดินไปยังห้องของข้าพเจ้าโดยเดินไปตามเฉลี่ยงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของข้าพเจ้าแล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆ ออกๆ อยู่ที่สองห้อง ระหว่างนั้นเวลาประมาณ เก้าโมงยี่สิบห้านาทีได้ยินเสียงคนร้องเป้ฯเสียงใครนั้นจำไม่ได้ ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้องเครรื่องเล่นข้าพเจ้าได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลี่งด้านหน้า โดยผ่านห้องบันไดได้พบ น.ส. จรูญที่หน้อห้องข้าหลวง สอบถาม น.ส. จรูญว่าเกิดเรื่องอะไร ได้รับคำตอบว่าในหลวงทรงยิงพระองค์ ข้าพเจ้าได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทอในหลวงรัชกาลที่ 8
       ทรงประทานสัมภาษณ์ สำนักข่าว บีบีซี ประเทศอังกฤษกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ซึ่งปรากฎอยู่ในสารคดี Soul of Nation ดังนี้
       - ท่านเชื่อว่า ร.8 สิ้นพระชนม์อย่างไร
       - จากหลักฐานทางราชการ รับกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์ด้วยลูกปืนที่ยิ่งเข้าที่ พระนลาฎ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ใช่การฆ่าตัวตายแต่ไม่มีใครทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นมีัจึงเป็นความจริงที่ไม่แน่ชัด ข้าพเจ้าทราบเพียงแค่ว่าอะไรเกิดข้นหลังจากเกิดเหตุร้ายขึ้นหลักฐานต่างๆ ก็ถูกสับเปลี่ยนไป และเพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แม้แต่อธิบดีตำรวจก็เล่นการเมือง เพราะเมือไปถึงรัชกาลที่ 8 ก็สิ้นพระชนม์แล้ว ในเรื่องนี้ประชาชก็ต้องการที่จะทราบความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนเสียใจต่อเหตุการณ์ครั้งนี้....

        นายปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรี และว่าการสไนักพระราชวังให้เรียกตัวนายชิต นายบุศย์ นางสาวเนื่อง มาสอบถาม
        นายชิตให้ถ้อยคำในเวลานั้นว่าในหลวงยิงพระองค์  นายปรีดีให้ทำท่าให้ดูนายชิดจึงลงนอนหวายมือจับปืนทำท่าส่องหน้าที่หน้าผาก ม.จ.ศุภสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ในที่นั้นรับสั่งว่า ปืนอย่างนี้ยิงเองที่พรนลาฏอย่างนั้นไม่ได้ จึงปรึกษากันว่าจะออกแถลงการณ์อย่างไรดี นายปรีดีพูดว่าออกแถลงการณ์ว่าสวรรคตเพราะนาภีเสียได้ไหม ..หลวงนิตย์ตอบว่า ถ้าเช่นนั้นผมไปก่อนเพื่อนแน่ๆ เพราะเมือวานนี้ยังดีๆอยู่ วันนี้สวรรคตไม่ได้..พันเองช่วงว่า ถ้าอย่างนั้นเอเป็นโรคหัวใจได้ไหม..หลวงนิตย์ฯตอบว่า ไม่ได้เหมือนกัน..
       กรมพรยาชัยนาทนเรนทรรับสั่งว่าเห็นจะต้องแถลงตามความจริง นายปรีดีว่า เพื่ถวายพระเกี่ยรติให้ออกแถลงการณ์ว่าเป้ฯอุบัติเหตุ จึงออกแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเป็นฉบับแรก ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2489...
        เกี่ยวกับบาดแผลที่พระบรมศพ คร้งแรกหลงนิตย์ ฯไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียร เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาฏด้านเดียวบรรดาท่านที่ประชุมกันอยู่ก็พลอยเข้าใจเช่นัี้น ครั้นรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็นมีพระเกศากคลุมบาดแผลทำให้แลเห็นเป็นแผลเล็กกว่าแผลที่พระนลาฎจึงมีเสียงกล่าวกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาฎ
       ด้วยเหตุนี้ คำแถลงการณ์ฉบับแรกจึงมีเสียงครหาว่าไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริง
       และจากแถลงการณ์ฉบับแรกไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริง นายกรัฐมนตรีและพระบรมวงศานุวงศ์ได้ปผระชุมกันพิจารณารายงานของอธิบดีกรมตำรวจ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน แล้วได้ออกเป็นคำแถลงการณ์ของกรมตำรวจในวันที่ 10 มิถนายน 2489 มีข้อความประกอบคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง เพื่อจะให้ฟังได้อนักแน่แนยิ่งขึ้น โดยอ้างการสอบสวนอย่างกว้างขวาง ตั้งเป้นข้อสังเกตคือ มีผู้ลอบปลงพระชนม์ ทรงปลงพระชนม์เอง และ อุบัติเหตุ..........
     
ข้อความบางตอนจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497
      คำพิพากษาของศาลได้สรุปให้เห็นข้อเท็จจริงว่า หลักฐานของกลางที่เป็นอาวุธในที่เกิดเหตุรวมทั้งกระสุนปืน และปลอกกระสุนปืนที่จำเลยนำมามอบให้นั้นไม่ใช่ของจริง แสดงว่าต้องมีคนร้ายจงใจสร้างหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อให้เกดความเข้าใจผิดในการสืบสวนว่าเป็นอุบัติเหตุ และมีพยานหลายปากหลายเหตุกาณ์ที่ยืนยัยตรงกันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีการวางแผนลอบปลงพระชนม์จริง จากหลักฐานจำเลยทั้ง 2 คนยังได้เผลอเที่ยวอวดตัวไปพูดกับบุคคลต่างๆ ว่า ร.8 จะไม่ได้เสด็จกลับต่างประเทศในวันที่ 13 มิถุนายน 2489 อีกจากหลักฐานและพยานทีี่แน่นหนาดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง หาใช่การปลงพระชนม์เองหรืออุบัติเหตุไม่
      สำหรับนายปรีดีย์  พนมยงค์นั้น ถึงแม้จะมีพยานที่ให้ถ้อยคำต่อศาลพาดพิงถึง แต่ศาลก็มิได้ตัดสินว่ามีความผิดแต่อย่างใด ด้วยศาลมีดุลพินิจว่าจะฟังเฉพาะถอ้ยคำที่พยานกล่าวพาดพิงให้เป็นที่แน่ชัดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ถนัดนัก ซึ่งข้อพิจารณานี้ผู้เขียนเองก็เห็นด้วยกับศาลนอกจากนั้นกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นผลเสียต่อนายปรีดี เอง ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยุ่ในขณะนั้น ส่วนนายปรีดี หรือพรรคพวก จะมีมูลเหตุจูงใจประการใดก็ไม่เป็นที่ชัดเจน
      จำเลยทั้ง 3 คนมีความผิดด้วยพยานหลักฐานชัดเจนว่า
- นายบุศย์ และนายชิต อยู่ใกล้ชิดกับที่เกิดเหตุมีความบกพร่องต่อการปฏิบัตหน้าที่ ปล่อยให้คนร้ายลอบปลงพระชนม์ได้สำเร็จ
- นายชิด บังอาจเพทุบายนำเอาปลอกกระสุนปืนที่เป็นหลักฐานเท็จส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อเพื่อช่วยเหลือคนร้าย
- นายเฉลียว และนายชิด รู้เห็นเป็นใจ จนถึงสมรู้ร่วมคิดต่อการลอบปลงพระชนของคนร้าย โดยทราบล่วงหน้าแล้ว แต่ปกปิดไว้มิได้แจ้งข่าวให้ทางการทราบ


         






วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

change(III)

        ประเทศกำลังพัฒนาจะประสบกับวัฏจักรของการมีส่วนร่วมแบบเทคโนเครตและบางประเทศที่อยู่ในรูปของมวลประชา นั้นคือลักษณะการเมืองของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งผู้ปกครองมักจะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อที่จะให้เกิดความสัมฤทธิผลในการนี้ได้ ก็จำเป็นต้องจำกัดการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของบรรดาสมาชิกของสังคม
        แต่เมื่อพัฒนาไป ผลพวงของความเจริญตลอดจนความทั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นำมาซึงความไม่เสมอภาคทางสังคมขึ้น กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับประโชน์ก็คือกลุ่มชนชั้นสูงและนักธุรกิจจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กับคนส่วนใหญ่ที่กลับยากจนกว่าเดิม ช่องว่างระหว่างชนชั้นจึงกว้างมากขึ้นทุกที ในที่สุดเหตุการณ์ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้กำลังรุนแรง เพื่อล้มล้างผู้ปกครองเก่า หรือสถรบันทางการเืองแบบเก่าที่ไม่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่

        การไร้เสถียรถาพทางการเมือง จะเกิดขึ้นเมื่อสถาบันทางการเมืองตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ไม่ได้พัฒนาอย่างเป็นสัดส่วนกบระดับของการเข้ามมามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อระบบพัฒนาไป แต่ละกลุ่มต่างก็พยายามใช้วิธีการที่เป็นของต้นเอง อาทิ การให้สินบน นักศึกษเดินขบวน กรรมกรประท้อง การจลาจล การรัฐประหาร

        ในประเทศกำลังพัฒนาอาจกล่าวได้ว่า การต่อสู้สับเปลี่ยนกันในระหว่างพลังของสถานภาพเดิมกับพลังของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการเมืองหนึ่ง ก็เป็นตัวแทนของระเบียบทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้น จึงไม่อาจที่จะแก้ไปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดไป

                                      รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงแบบสถิตย์ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในขอบเขตจำกัด จะเกิดขึ้นในสังคมหรือระบบการเมืองแบบดั้งเดิมเป้ฯส่วนใหญ่ซึ่งสังคมเหล่านี้มีลักษณะของวัฒนธรรมร่วมและมีระดับของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในสังคมสูง การเปล่ียนแปลงจึงเกิดขึ้นได้ยากจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเมื่อกษัตริย์หรือผู้ปกครองของสังคมนั้น ๆ สิ้นชีวิตและมีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองเท่านั้น
   เราจะพบว่าการที่สังคมชนิดนี้อยู่รอดได้ หาใช่เป็นผลมาจากความสามารถของสังคมเองในการที่จะแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นผลมาจากความสามารถในการักษาหรือพิทักษ์ไว้ไม่ให้มีสาเหตุของการเปลี่นแปลงเกิดขขึ้น และถ้าเผอิญเกิดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา สังคมนี้จะตอกยู่ในภาวะอันตรายทันที
- การเปลี่ยนแปลงแบบกลมกลืน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองที่สมารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างผสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองที่สามารถปรับตนให้เข้ากันได้อย่างปสมกลมกลืน โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบเองไม่กระทบกระเทือนโครงร่างของอำนาจหน้าที่ทั่วๆ ไปของการเปลี่ยนแปลงแบบนี้คงอยู่ในลักษณะเกี่ยวกันกับแผนสถิตย์ แต่ต่างกันที่ว่าแบบนี้มีเสถียรภาพอยู่ได้ไม่ใช่เป็นผลมาจากการปิดกั้นไม่ให้เกิดพลังของการเลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม แต่เป็นผลมาจากความสามารถของระบบในการซึมซาบเอาผละกระทบของพลังต่างๆ ไว้ได้และในขณะเดียวกัน ระบบก็ยังคงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของกฎระเบียบทางการเมืองให้ดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าพื้นฐานของระบบจะไม่เปลี่ยนแปลง ในระยะเวลาต่อมา กฎหมายนโยบาย วิธีการในการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการเมือง รูปแบบของกลุ่มการเมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีรัีฐธรรมฉบับเดียว ในขณะที่มีการเลือกตั้ง มีระบบพรรคการเมืองที่ไม่เปล่ียนแปลงและมีวิวัฒนาการของประเพณีและค่านิยมทางการเมืองที่เป็ไปตามขึ้นตอนมาตลอด
- การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งที่ระบบ คือเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งการปฏิวัติจึงมักใช้กำลังรุนแรง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติโซเวียต การปฏิวัติจีน
     การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัตินั้น จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างทันทีทันใด แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบใหม่ หรืออุดมการณ์แบบใหม่ การปฏิบัติจึงไม่ใช่เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้นำหรือกลุ่มทางการเมืองเท่านั้น
- การเปี่ยนแปลงแบบไร้เสถียรภาพ หมายถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่ปะติดปะต่อกัน โดยมากจะใช้กำลังรุนแรงเข้าห้ำหั่นกันโดยที่ความสัมพันะ์ในเชิงอำนาจภายในสังคมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้มักจะพบกันมากในประเทศด้วยพัฒนาแถบลาตินอเมริกาและเอเซีย

                                       สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
      โดยทั่วไป เมื่อสัฝคมใดเกิดขบวนการอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง และขบวนการนี้จะใช้วิะีการต่างๆ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ กัน สังคมนั้นจะประสบกับภาวะตึงเครียดอย่างหนัก และจะมีปัญหาเกิดขึ้น ความอยู่รอดของสังคม ขึ้นอยู่กับความสามารถของสังคมเองในการที่จะสนองตอบ หรือซึมซาบเอาพลังของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ได้มากน้อยขนาดใด สามารถที่เพิ่ม ซับพอร์ต และลด ดีมาร์น ได้หรือไม่ในระดับใด สาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงอาจกล่าวได้ดังนี้
     - การสร้างความเป็นทันสมัย  ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยต่างๆ มากมาย ฮันติงตัน กล่าวว่า ถ้าการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพ่ิมมากขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่างความสามารถของระบบหรือสถาบันทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรูปแบบที่รุนแรงก็จะเกิดขึ้น
     - สภาพทางจิตวิทยา Gurr แบ่งประเด็นในการวิเคราะห์หลักๆคือ
            ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงร่วมกันในบรรดาประชาชน
            ศักยภาพที่จะนำไปสู่การใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
            ขนาดของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
            รูปแบบของการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
กูรร์ วางแนวทางในการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันในระหว่างประเด็นทั้งสี่ข้างต้นเป็น 3 ขั้นตอนคือ
            พัฒนการหรือการขยายตัวของความไม่พอใจ
            การทำให้ความไม่พอใจนั้นเป็นประเด็นทางการเมือง
            เปลี่ยนสภาพของความไม่พอใจให้กลายเป็นการใช้กำลังรุนแรงทางการเมือง
      พัฒนการ "ความไม่พอใจ" มีสาเหตุมาจากการที่คนรับรู้ว่าตนเองถูกแย่งชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ ซึ่งสภาวะนี้หมายถึง ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีคุณค่าอันเป็นที่คาดหวังกัยสิ่งที่มีคุณค่าที่สามารถจะหามาได้จริงๆ  ในระดับหรือความเข้มข้นของความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ไม่มีการเพิ่มในความสามารถก็จะเป็นผลให้ควมเข้มข้นในความไม่พอใจจะสูงมากขึ้น แนวโน้มที่จะนำไปสู่กำลังรุนแรงก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย แต่แรงผลัักที่จะทำให้คนใช้กำลังรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อเกี่ยวกับที่มาของการถูกแย่งสิทธิและการยอมรับในความถูกต้องของการใช้กำลังรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบด้วย
     นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่กระทบต่อความมุ่งหมายที่ความไม่พึงพอใจมีต่อเป้าหมายทางการเมืองอื่นๆ อีก เช่น ขอบเขตของการลงโทษในทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยที่มีต่อการกรทำที่ก้าวร้าว ขอบเขตและระดับของความสำเร็จในการใช้กำลังรุนแรงในอดีต ความชอบธรรมของระบบการเมืองใช้เพื่อแก้ไขสภาวะของความรู้สึกว่าถูกแย่งชิง เป็นต้น
       - วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึงระบบความเชื่อสัญญลักษณ์ที่แสดงออก ตลอดจนค่านิยมของทั้งผุ้นำกและประชาชนอันจะนำไปสู่พฤติกรรมทางการเมืองในรูปแบบใดๆ ขึ้น บางสังคมมีวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้กำลังรุนแรง
       
              ตัวนำของการเปลี่ยน
     ตัวนำที่สำคัญยิ่งอันจะนำไปสู่การเปล่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมก็คือ "คน" แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทุกคนไป จะมีก็เพียงบางคนเท่านั้นที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวนำที่แท้จริง พวกนี้จะเป็นผุ้วิพากษ์วิจารณ์สังคม ตลอดจนให้แนวทางใหม่ ๆ แต่ก็ใช่ว่าคนเหล่านี้จะต้องมาจากคนชั้นต่ำ ผุ้นำของขบวนการก้ายหน้า มักจะเป็นผุ้ที่ได้รับการศึกษามาอย่างดีเป็นคนชั้นกลางหรือ คนชั้นสูง เช่น ฟิเดล คาสโตร ..มหาตมะ คานธี เป็นต้น
             วิธีการเปลี่นแปลงทางการเมือง โดยทั่วไปอาจแบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ
      - การเปลี่ยนแปลงโดยสันติ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับกาพัฒนาและนำมาใช้ในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยกันมาก กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปล่ียนแปลงวิะีนี้จะใช้ได้ดีก็ต่อเมือระบบการเมืองได้ให้ความั่นใจต่อมลชนในระดับหนึ่งว่า แม้จะมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายเกิดขขึ้นในช่วงดำเนินการบ้าง รัฐก็จะไม่ใช้เครื่องมอของรัฐ คือ ตำรวจทหารทำลายขบวนการนั้นๆ
      - การเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง ในการดำเนินการเพื่อหใ้ได้มาซึ่กงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น การใช้กำลังรุนแรงถือเป็นวิธีการที่จะนำมาใช้กันจนเป็นปกติวิสัยทางการเมืองปัจจุบันวิธีการใช้กำลังรุนแรงทางการเมืองนี้ อาจแบ่งหยาบๆ ได้เป็น
             การก่อการร้าย เป็นวิธีการที่สามารถสร้างความสพึงกลัวได้มากกว่าแบบอื่นๆ เพื่อที่จะโจมตีหรือท้าทายอำนาจรัฐในการที่จะรักษากฎ ระเบียบ ตลอดจนให้ความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ประชาชน หรือบางครั้งการก่อการร้ายถูกใช้เพื่อสร้างความสนใจให้แก่กลุ่มของตน
      - การจลาจล คือ การที่กลุ่มบุคคลเข้ากระทำการรุนแรงต่อทรัพย์สินหรือบุคคล แต่เป็นการดำเนินการที่ปราศจากการางแผน หรือมีขบวนการควบคุมอย่างเช่น การก่อการร้ายทั้งผู้ที่เข้าร่วมในการดำเนินการโดยที่ไม่จำกัดจำนวน
      - การรัฐประหาร หมายถึงการโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้กำลังเป็นการเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ ซึ่งอาจจะมีผลให้เกิดนโยบายใหม่ แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองอย่างเช่นการปฏิวัติ
      - สงครามปฏิวัติ เป็นลักษณะหนึ่งของวิธีการปฏิวัติซึ่งเกิดขึ้นเมือมีข้อขัดแย้งในเรื่องการปกครอง โดยมีกลุ่มชนเข้าใช้กำลัง ด้วยความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง รูปแบบของสงครามปฏิวัติในโลกปัจจุบัน ก็คือสงครามกองโจรซึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองคือบ่อนทำลายรัฐบาล พร้อมกับสร้างความจงรักภักดีทางการเมืองที่มีต่อขชบวนการปฏิวัติให้เกิดขึ้นกับประชาชน
     
      
   

   

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

change(II)


       เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุนธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์

        กระบวนการในการที่จะนำสังคมไปสู่ความกินดีอยุ่ดีทางเศรษฐกิจของสังคมนั้น W"W" Rostow กล่าวว่าต้องผ่านขั้นตอนคือ
              ภาวะเศรษฐกิจทีมีระดับของความสามารถในการผลิตต่ำ การทำกินบนผืนแผ่นดิน หรือการเกษตร ใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ
              เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง มีการนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงผลักจากการรุกรานของประเทศที่ก้านหน้ากว่า แลละแ่กให้เกิลัทะิชาตินิยมอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางการเมืองและสังคม ตลอดจนค่านิยมบางประการ
               ช่วงที่อุปสรรคต่างๆที่กีดขวางการพัฒนาได้ถูกขจัดไปเป็นส่วนใหญ่เป็นผลให้เกศรษฐกิจของสังคมก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก วิทยาการสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยให้การผลิตเป้นอย่างมีประสิทธิภาพ
               ขั้นตอนวิทยาการสมัยใหม่ถุกนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยทั่วไป ความสามารถในการใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนอยู่ในระดับสูง
                และขั้นของความกินดีอยู่ดีของประชาชน รายได้ของประชาชนจะอยุ่ในระดบที่สุงเกินกว่าระดับเพื่อยังชีพ
       การที่สังคมจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการกินดีอยู่ดีได้นั้น สังคมย่อมที่จะประสบปัญหาที่แตกต่างกันไปรอสโทว์ จึงสเสอนทางเลือก 3 ปรกรดังนี้
- สร้างเสริมอำนาจและอิทธิพลของประเทศให้เป็นที่เกรงกลังของประเทศอื่น
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีปะสิทธิภาพเพื่อให้สวัสดิการแก่สมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมโดยถ้วนหน้า
-  เพิ่มระดับของการบริโภคให้สุงเกินกว่าระดับความจำเป็ฯ โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำกัด
     จากทางเลือกทั้งสามทาง สังเกตุห้ว่าทางแรกเป็นแนวปฏิบัติของสังคมเผด็จการ ทางที่สองเป็นของสังคมนิยม และทางเลือกที่สามเป็นแนวปฏิบัติของเสรีนิยมนั้นเอง
      ผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
- ความซับซ้อนทางโครงสร้างทางสังคมที่เพ่ิมมากขึ้น เช่น เกิดระบบอุตสาหกรรมโรงงานขึ้นแทนที่อุตวาหกรรมในครัวเรือน มีระบบแบ่งงานกันทำ ระบบการศึกษาอยู่ในลักษณะที่เป็นทางการยิ่งขึ้น โรงเรียนเข้ามามีบทบาท
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเก่าๆ จะเปลี่ยนแปลงไป มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เกิดขึ้น ระบบเงินตราจะเป็นตัวบังคับ และจะตัวทำลายระบบเก่าๆทีเป็นสถาบันที่ควบคุมกิจกรรมการผลิตในอดีต
- ครอบครัวจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างมากขึ้น  ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป ครอบครัวจะเร่ิมออกจากบ้านเพื่อหางานทำในตลาดแรงงาน
      กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่จะเป็นตัวสร้างค่านิยมและปทัสถานใหม่ๆ ระบบอาวุโสเร่ิมหมกความสำคัญ คัดเลือกคนจากความสามารถ
      การเปลี่ยนแปลงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ดังนี้
- กระบวนการสร้างความแตกต่างซับซ้อน จะอ่กให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆ มีค่านิยมปทัสถานแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจให้เกิดความขัดแย้งกับค่านิยม และปทัสถานในแบบเก่าๆ
- ความไม่เท่าเที่ยมกันในการเปลียนโครงสร้าง และการไม่กลมกลืนกันของการเปลี่ยนแปลงเองก็เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
     การศึกษา จะเป้นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสัคมไปสู่ภาวะการณ์ที่ทันสมัย การเปลียนแปลงทางสังคมเพื่อให้ไปสู่ภาวะการณ์ที่มุ่งหมายอย่างสัมฤทธิผลนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างสอดคล้องกันไปด้วย
      เราจะเห็นได้ว่าทั้งกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการศึกษซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่นแปลงส่วนหนึ่งของสังคมนั้นมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในทางการเมืองด้วยเช่นกัน กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเป็ฯกระบวนการหนึ่งที่จะนำความเป็นทันสมัยมาสู่สังคม มีการสร้างระบบอุตสาหกรรม พัฒนาเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ประชากรเองก็จะอพยพเข้ามาหางานทำในแหล่งอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เมืองจึงเกิดขึ้นตามมา
      เมื่อมีเมือง มีการอุตสาหกรรมก็จะเป็นผลให้รัฐจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับเยาชนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
      ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพ่ิมมากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้
      ผลที่ตามมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจะให้รัฐสนองตอบก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมที่เคยมองว่าสภาพแร้นแค้น อับจนนั้นเป็นผลมาจากกรรมเก่าหรือการลงโทษจากเทวดาฟ้าดินจะเปลี่ยนไป แน่นอนว่าถ้าสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ไม่สามารถสกัดกั้นข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นได้ การไร้เสถียรภาพทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา....

       เศรษฐกิจไทย ช่วงต้นทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชิาตฉบับที่ 1 คำว่า "พัฒนา"และ "ความเจริญ" ก็ติดปากคนไทย เศรษฐกิจไทยยุคจอมพล รวม 13 ปี อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปสู่การผลิตเพื่อส่งออก แลสภาพเศรษฐกิจโดยรวมถูกผูกขาดในมือกลุ่มตระกูลไม่กี่กลุ่มโดยเฉพาะนายทุน ธนาคารทีถูกนักวิชาการ และสื่อมวลชน ให้สมญาเสื่อนอนกิน โดยใช้แบ่งค์ เป็นปลาหมึกยกษ์ตลัดหนวดเกี่ยวพันธุรกิจไว้ในมือมากมาย อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลานั้น อำนาจทางการเมืองอยู่ในท็อปบู๊ต อำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือนายแบงค์
       ยุคโชิช่วง ในยุคป๋าเปรม คนไทยผันถึงความมั่งคั่งกันถ้วนหน้า เมื่อรัฐบาลเดินหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดทุนต่างชาติข่าวการค้นพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทยจนคนไทยรุ้สึกโชติช่วงชัชวาลไปตามๆกัน
        พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีเจ้าของวาทะ "โนพร็อบเปล็ม"เข้ารับช่วงต่อจากรัฐป๋าซ฿เปรมซึ่งได้รับอานิสงค์บวกทางเศรษฐกิจทั้งจากรัฐบาลก่อนและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ตวมถึงความสามารถในการใช้โอกาสของ พล.อ.ชาติชายเอง เศรษฐกิจไทยเติบโตมากว่า 10 เปอร์เซนต์จนได้รับการขนานนามว่ายุคทอง...
        ณ เวลานั้น ผุ้รู้ต่างชาติฟันธงแบบไม่เฉลี่ยวใจว่าประเทศไทยกำลังจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ห้าแห่งเอเซีย หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่คนไทยรู้จักกันในนาม นิกส์(NICs : new industrialized countries)
         วิกฤตต้มยำกุ้ง  ความผันจะเป็ฯนิกส์มีพลังมาก แม้รัฐบาลชาติชายจะถูก รสช.ยึดอนาจในปี 2534 แต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารต่อคงไม่ละท้ิงความพยายามที่จะไปสู่ฝันอันยิ่งใหญ่คือ "ประเทศอุตสาหกรรมใหม่" แต่ทว่าในปี 2540 ในสมัยรัฐบาลชวลิต ความผันนั้นแตกสลายเป็นเสี่ยง เมื่อประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นต้นตอวิกฤติต้มยำกุ่ง วิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในชั่วอายุคน เจ้าสังหลายคนกลายเป็ฯเจ้าสัวเมือวันวาน ประเทศไทยต้องยอมเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจกับ IMF เพื่อแรกกับเงินกู้พร้อมคำพูดที่สวยหรูว่า "ความช่วยเหลือทางวิชาการ" เพราะสำรองเงินตราเหลือไม่พอค้ำยันความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจของประเทศ
         วิกฤติการณ์ครั้งนี้นั้นเกิดจาภาคเอกชนไทยก่อหนี้เกินตัว แบงก์ชาติพลาดทา่โจสลัดทางการเงิน สูญสำรองเงินตราของชาติเกือบหมด  ที่มาของวิกฤติสะสมมาจากการบริหารเศรษฐฏิจโดยไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโล และไม่มีประสบการณ์ในการับมือกับเศรษฐฏิจฟองสบู่ ทุกรัฐบาลก่อนหน้านี้บริหารเศรษฐกิจแบบมุ่งโตไปข้างหน้าโดยละเลยทำความเข้าใจกับวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีช่วงเฟื่องฟู กับถดถอยสลับกนไป ไม่ใช่ขาขึ้นตลอด
         จากเหตุการณ์ดังกล่าว นำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมธนาคารและการเสื่อมถอยของทุนแบงก์ที่ผูกขาดเศรษฐกิจมากกว่า 3 ทศวรรษ และทำให้มีคำถามถึง การขับเคลื่อนทิสทางเศรษฐกิจโดยผูกกับกระแสโลกแบบที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นหนทางที่ใช่หรือไม่... นักการเมืองของเรามีความรู้พอสำหรับบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตามคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือไม่... นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าแนวคิด พัฒนาด้วยการสร้างเมืองให้โตแล้วหวังว่าความเจริญจะกระฉอกออกไปสู่ชนบทเองนั้น เป็นจริงามสมมติฐานที่เชื่อหรือไม่...
       ทักษิโนมิกส์ หลังวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้น คนไทยเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของคำว่าพอเพียง..
       การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุครัฐบาลทักษิณ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณหวือหวาและเเปลกใหม่กว่ารัฐบาลที่ผ่านมา ดังคำกล่วในการประชุมครั้งหนึ่งว่า "วันนี้ภาคการเมืองอำนวยให้แล้ว ผมจะต้องเปลี่ยน..ทุกคนที่ถูกกระทบต้องเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน"..และแทรกแนวคิดการแก้ปหัญหาความยากจนลงในนโยบายเศรษฐกิจทุกครั้งที่มีการนำเสนอมุมอง ตัวอย่งที่ฮือฮาที่สุดเมื่อเขารับความคิดของ ซินญอร์ เอดอซาโต หรือ มานโต เดอ ซา โต นักวิชาการชาวเปรูเจ้าของงานเขียน The Mystery of capital หรือ ความลี้ลับของทุนมปรับใช้เป็นนโยบายแปลงทรัพย์สินเป็นทุน โดยมุ่งนำที่ดินในเขตปฏิรูป 12.8 ล้านไร่มาแปลงเป็นทรัพย์สินให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์หาทุนจากธนาคาร อีกทั้งชุดนโยบายของรัฐบาลทักษิณที่มีความแปลกใหม่ถูกสื่อมวลชนตะวันตกให้คำจำกัดความว่า ทักษิโนมิกส์...
       การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณนั้นถ้าถามคนส่วนใหญ่ถึงสิ่งที่จดจำเกี่ยวกับอดีตนายกฯทักษิณนอกจากความชื่นชมในการบริหารเศรษฐฏิจแระเทศแบบกล้าได้กล้าเสีย หนึ่งในความจดจำที่แทรกตัวอู่ด้วยก็คือ เขาเป็นผู้แพร่เชื้อนโยบายประชานิยมในไทยจนกลายเป็นโรคเรื้อรังในวงการเมืองไทย จบชีวิตทางการเมืองจากนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน และพยายามกลัยมามีอำนาจด้วยการชักใยอยู่เบื้องหลัง...
       หลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ  ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจถูกบดบังจากวิกฤติการการเมือง และความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกจกาวิกฤติซับไพร์ รัฐบาลหลังการยึดอำนาจใช้เวลาส่วนใหญ่กับการับมือปัญหาการเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับการบรรเทาความเดือนร้อนให้กับปรชาชนในนาม ประชานิยม หรือ ประชาวิวัฒน์ จนไม่มีเวลาคิดคำนึงเรื่อง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เท่าทันสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลก และสร้างความเท่าเทียม 

       

    

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

change

      นักคิดในสมัยโบราณให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า ในเวลาที่หมุนเวียนไป ทุกสิ่งในโลกจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแนวควาคิดของนักปรัชญาโบราณพยายามที่จะศึกษาถึงความจริงข้อนี้ โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง
       ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีสภาพมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สังคมและวัฒนธรรมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ไม่มีสงคมและวัฒนธรรมใดหยุดอยู่กับที่่โดยแท้จริงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ อันเป็นลักษณะธรรมดาของสังคมมนุษย์
       การเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในรูปใด แม้แต่เวลาที่นับการครบรอบเหตุการ์หนึ่ง เช่นฤดูกาล ลักษณะหรือสถานภาพของสิ่งนั้นจะแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นหลัก ในสังคมมีเหตุการร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองอย่างคือ การเกิดและการตาย แต่กระบวนการตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกันโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด
   
        อนิจจลักษณะ คือ เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง อนิจจัง หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง และเป็นชื่อหนึ่งของขันธ์ 5
        อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่ขชันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลง
         บางตอนจาก วิสุทธิมรรค
         ก็ลักษณะทั้งหลายยอมไม่ปรากฎ เพราะอะไรปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงอะไร.. อับดับแรก อนิจจลักษณะไม่ปรากฎ เพราะถูกสัตติปิดบังไว้เหตุไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อไป ทุกขงักษณไม่ปรากฏเพราะถูกอิริยาลปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนัตตลักาณะไม่ปรากฏเพราะถูกฆนะ(กลุ่มก้อน) ปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความแยกจากกันไ้ดแห่งธาตุต่าง ๆ ต่อเมือสันตติถูกทำให้ยกเลิกไป เพราะกำหนดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปได้ อนจจลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่ออิริยาบทถูกเพิกเพราะมนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ ทุกขลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่อทำฆนวินิพโภค(ย่อมก้อนออก) ได้เพราะปยกธาตุต่างๆ ออกอนัตตลักษณะจึงปรากฎจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริง....

        สังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง
        การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคม และในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็ฯพวกเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ ที่บุคคลจะปฏิบัติต่อกันได้จากที่เคยกำหนดกันอยู่ก่อน

        สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในระดับ จุลภาค และระดับ มหาภาคจากหนังสือ "ฝูงชนผุ้เปล่าเปลี่ยว" ของศาสตราจารย์ เดวิด ริสแมน ซึ่งเขียนร่วมกับ นาทาร์น แกลเซอร์ และ โรลแนล เดนนี่ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยหรือลักษณะประจำาติของชาวอเมริกัน ดดยถือว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะทางประชากรศาสตร์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ริสแมน สังคมที่ภวะเกี่ยวกับประชากรสามประเภทคือ มีการขยายตัวมาก ประชากรขยังขึ้นสูงระยะหนึ่ง และเริ่มทีอัตราการเพิ่มขยายตัวลดน้อยลง
       สังคมสามยุค ได้แก่ สังคมประเพณีนำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประชากกรมีโอกาสขยายตัวมาก, สังคมสำนึกนำ สังคมประเภทนี้มีประชากรซึ่งขยับตัวสูงขึ้นระยะหนึ่ง และยึดถือหลักการเป้นแนวทางแห่งชีวิตมีขึ้นในยุโรปพร้อมกับการฝื้นูทางวัฒนธรรม(เรอแนสซอง)การปกิรูปทางศาสนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี การมีสินค้าและตลาดมากยิ่งข้ึน การสำรวจการแสวงหาหาอาณานิคม และการใช้ระบบจักรวรรดินิยมมากยิ่งขึ้น, สังคมผู้นำ
       กลไกที่ควบคุมพฤติกรรมในสังคมประเภทต่างๆ ในระบบ "ประเพณีนำ" หรือ "ธรรมเนียมบัญชา" กลไกที่ควบคุมให้คนในสังคมอยู่ในกรอบ ได้แก่ ความรู้สึก "ละอาย" ต่อผุ้ใหญ่ ต่อวงศาคณาญาติ หรือต่อบรรพบุรุษ ในระบบ "สำนึกนำ" หามีการทำผิดจุดประสงค์หรือหลักการที่วางไว้ จะเกิดความรู้สึกทำนอง หิริ โอตตับปะ หรือมีความ "รู้สึกผิด" หรือสำนึกผิด ความสำนึกผิดเป็นความรู้สึกซึ่งประทุอยู่ในจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทราบเลย ผุ้มี "สำนึกนำ" หรือ "ผุ้ร่วมสมัยนำ" กลไกที่บังคับให้ทำตามผู้อื่นอยู่เสมอ คือ ความกระวนกระวายใจ โดยคอนึกกังวลว่าจะล้าสมัย และเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยว่าเชยเป็นต้น
       การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม วัฒนะรรมมีลักษณะที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหากเป็นไปอย่างช้าๆ เรียกว่า สตาติค ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไดดามิค การเปลี่ยนแปลในด้านนี้ เช่น ภาษา มารมีการคิดค้นคำใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด กฎเกณฑ์ ศีลธรรม จรรยา รูปแบบของดนตรี ศิลป ความเสมอภาคของชายและหญิง ...
       การเปลียนแปลงทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในอุดคติ และที่ปกิบัติกันจริง ๆ ย่อมปรากฎให้เห็นได้ชัดในกาเลือปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติมีแนวโน้มที่แยกออกจาด้านอุดมคติมากขึ้น วัฒนธรรมยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ หรือทางอุดมคติ แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นได้ยากแต่ก็มีผลลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฟติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม
       วัฒนธรรมย่อมไม่อยู่คงที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้ายังยึดมั่นอยู่ในสิ่งเดิมโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้แก่วัฒนธรรม เพราะสิ่งใดถ้าอยู่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนานมากเกินไป สิ่งนั้นจะรัดตัวแข็.กระด้าง และเข้าไม่ได้กับเหตุการณ์ปรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะสลายตัวลงถ้าต้านทานเหตุการณ์ใหม่ไม่อยู่ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมในสังคมนั้นยังคงมีอยุ่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำไปโดยรวดเร็วก็จะเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของวัฒนธรรมนั้น หมดเอกลักษณ์ของตัวเอง การมีวัฒนธรรมจะมีความเจริญงอกงามได้ ก็ต้องมีหลักในการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเสถียรภาพอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมก็จะมีขึ้นไม่ได้ การเปล่ียนแปลงใดๆ ก็ตามในวัฒนธรรม จึงควรยึดหลักของขงจื้อที่ว่า "สิ่งเก่าไม่ใช่จะดีเสมอไป และสิ่งใหม่ก็ไม่ใใช่ว่าจะไใ่ดีเสมอไป ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือเฟ้นเมื่อได้ทดลองชิมดูแล้ว"
       การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอไป กระบวนการการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งสิ่งนั้นจะถุกยอมรับทั้งหมด และบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับบางอย่างอาจถูกปฏิเสธไปเลย และบางอย่างอาจยอมรับเพียงบางส่วน การยอมับสิ่งใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติจะต้องมีการเลือกสรร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสังคม


       
     

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...