วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

LifeStyle ASEAN (Malaysia)

         
เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีเศรษฐกิจที่พัฒนาไปในระดับค่อนข้างสูงแล้ว ทำให้ชาวมาเลเซียมีกำลังซื้อสุง มีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น กลุ่มวัยรุ่นให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มีการใช้จ่ายสินค้าไอทีสูงกว่าด้านอาหารและการพักผ่อนอื่นๆ คนมาเลเซียมีคความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีและสนใจเรื่องข้อมูลข่าวสาร 
          มาเลเซียมีความหลฃากหลายทางเชื้อาติ กลุ่มหลักๆ คือ ชาวมาเลย์ ชาวจีนและชาวอินเดีย รสนยมจึงแบ่งย่อยตามกลุ่มเชื้อชาติด้วย แต่กลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและรายได้สูงมักสนใจและชืนชอบวัฒนธรรมตะวันตก นิยมสินค้าฟุ่มเฟือยเพ่ิมขึ้น ด้านอาหารนิยมบริโภคอาหารสด แต่ด้วยความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น อาหารแปรรูปก็เริ่มแนวโน้มได้รับความนิยม ระหว่างวันมักพักดื่มน้ำชาพร้อมอาหารว่างเป็นขนมต่างๆ เช่น บิสกิต ประชนกลุ่มวัยทำงานิยมบริโภคอาหารและเครื่องดือมเพื่อสุขภาพ..(http://www.rd.go.th/.."ไลฟ์สไตล์ รสนิยม และวัฒนธรรมของคนประเทศต่างๆ ในอาเซียน)
ชาวมาเลเซียสามารถนับถือและประกอบพิธีทางศาสนาได้อย่างอิสระ ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงเป้นประเทศที่มีความหลากหลายทางจิตวิญญาณ ทุกศาสนาอยุ่ร่วมกันอย่างสันติ หากคุณไปเยือนมาเลเซีย ย่อยครั้งจะเห็นสุเหร่า โบสถ์คริสต์ วัดพุทธ และวัดฮินดู ตั้งเรียงรายกันอยุบนถนนเส้นเดียวกัน ในขณะที่สมาชิกในครอบครัวใหญ่ของมาเลเซียอาจนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ไม่วว่าจะเป็นอิสลามหรือคริสต์                  เนื่องจากชาวมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ตังนั้น วัฒนะรรมมาเลบย์ดั้งเดิมจึงไได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามอย่างแยกไม่ออก เมือคุณเดินไปตามถนนที่พลุพล่านในเมืองกัวลาลัมเปอร์ คุณอาจได้ยินเสียงประกาศให้ชาวมุสลิมทำกรละหมาดจากเครื่องขยายเสียงของสุเหร่าที่อยุ่ใกล้ ๆ บ่ายวันศุกร์ คุณจะเห็นกลุ่มชายมุสลิมกลุ่มใหญนุงโสร่งและสวมหมวกซอเกาห์ (หมวกไม่มีปีกของชาวมุสลิม) เดินมุ่งหน้าไปทกการละหมาดที่สุเหร่า...(http://www.nuks.nu.ac.th/..ศาสนาของชาวมาเลเซีย)
            อาหารมาเลเซีย มีจุดเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผลกระหรี่ปละไม่มีใครปฏิเสธิอาหารที่มีผลการหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถ่ินซึ่งมีอยู่มากมายย บางครั้งบยังมีการวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีเกลุ่นหอม มัใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็ฯ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อเเกะ และอาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย
            อาหารจะมีลักษระเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกระหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประทเศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอยาง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมอของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางม้อเป็นเนื้อหลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจ้ิมคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง
           
อาหารมเลเซียมีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่ชวนให้ไปสัมผัส..(th.answers.yahoo.com..ประวัติอาหารมาเลเซีย) เมนูอาหารที่ขึ้นชื่อของมาเลเซียอาทิ
            Mee Goeng Mamak อาหารที่ขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซียที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาวอินเดียมุสลิมที่ย้ายมาอยู่ในประเทศแห่งนี้ไว้อย่างจัดจ้าน เมนูที่เป็ฯการผสมผสานอาหารจีนและเครื่องเทศของอินเดียไว้อย่างลงตัว ดดยจะทำจากบะหมี่ไข่เส้นเหนียวนุ่ม ผัดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ ตามชอบไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ กุ้งหรือเนื้อวัน พร้อมกับเติมไข่และผักเพิ่มความเข้มข้น ก่อนจะปรุงรสด้วยซีอิ๊ว บางท้องถ่ินอาจจะเติมพริกและเครื่องเทศลงไปให้รสเผ็ดนิดๆ พอกลมกล่อม เมนูนี้สามารถหารับประทานได้ทั่วไป โดยเฉพาะที่ปีนังตามตลาดชาวอินเดียจะมีให้เห็นอยู่หลายร้าน
            Fried Beehoon หรือหมีข้าวผัดกับผักต่างๆ อาหารจีนแต้จิ่วหน้าตาบ้านๆ ที่รสชติไม่บ้านตาม เป็นอาหารที่หาไ้ตามร้านอาหารจีนทั่วไปในกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่ร้านที่คุณไม่ควรพลาดคือ เรสเตอแรน เซตาแพก เทียเชียว ที่ยืนหยัดมากกว่า ร้อยปี ภายในร้านมีอาหารจีนสำตล์แต้จิ๋วแบบดั้งเดิมให้เลือกมากมาย 
          Asam Laksa ชื่อเมนูนี้คงคุ้นหูใครหลายคนด้วยเปนอีกหนึ่งเมนูที่ติดอันดับที่ 26 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2011 จากการจัดอันอับโดย CNN GO ทั้งยังเป็นเมนูเอาใจคนชอบกินรสจัดเพราะ ลัดซา เป็นอาหารลักษณะคล้ายขนมจีนที่น้ำราดจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค มีทั้งน้ำราดจากกะทิผสมเครื่องเทศรศเผ็ดร้อน หรือจะเป็นลักซาที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ ปีนังลักซา ที่เลือกใช้ปลาทูเป็นส่วนผสมหลักให้ได้กลิ่นอายทะเลอยางลงตัว เข้ากันดีกับน้ำราดรสเปรียวจากมะขามหรือส้มแขก อีกทั้งยังได้กล่ินหอมๆ จาก คอนเคซุป (ผักแพว) และ บุหงากันตัน (ดอกขิงป่า) จากนั้นตัดด้วยรสหวานจากสับปะรด เป็นอีกหนึ่งเมนูรสเข้มข้น ที่หากใครไปเยือนปีนังแล้วไม่ได้ลองกินก็เหมือนกับไปไม่ถึง
           
Nasi Lemak เป็นอาหารประจำชาติของประเทศมาเลเซียที่คุณสามารถเห็นได้ทั่วทุกภูมิภ-าคดดยจะห่อในใบตองให้รบประทานได้สะดวก ข้าวนาซิเลอมัก มีปรากฎให้เห็นเป็นหลักฐานในปี 1909 คำว่า นาซิเลอมักในภาษามลายูแปลว่าข้าวมัน โดยนำข้าวไปแช่กับกะทิแล้วนึ่งให้สุกจนได้ความหอมมันเป็นเอกลักษณ์แล้วกินคู่กับซอสซัมบัลรสเผ็ด แตงกว่าหั่นหรือไก่ทอดทำให้ไม่เลี่ยนจนเกินไป โดยเครื่องเคียงนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละภุมิภ-าคและวัมนธรรม เช่นที่เกาะรีเยาะจะรับประทานคู่กับอีกันดัมบันซึ่งเป็นปลาชิ้นเล็กๆ ทอดให้กรอบ คนมาเซียเชื้อสายจีนจะกินคู่กับเนื้อหมุ หรือคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดียจะรับประทานกับแกงรสนจัดต่างๆ จึงทำให้นาซิเลอมักเป้นทั้งอาหารประจำชาติและมรกดทางสวัฒนธรรมของประเทศมาเลซียอยางแท้จริง
           Steamboat เป็นเมนูที่กลายมเป็นคู่ของพื้นที่ราบสูง ในรัฐอิโปห์ไปแล้ว ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้องชื้นด้วยฝนตกชุกตลอดปี ทั้งยังเป็นแหลงทอลองปลูกพืชหลากหลายชนิดจึงทำให้เป็ฯอาหารช่วยคลายหนาวได้อย่างลงตัว โดยจะมีลักษระเป็นหม้อน้ำซุปร้อนๆ บางร้านจะเสิร์ฟแบบดั้งเดิมด้วยเตาถ่านทำให้ได้กลิ่นหอมควันไฟเป็นเอกลักษณ์ และคุณสามารถนำเอาเครื่อง เชื่อ เนื้อสัตว์ และผักลงไปลวกจนสุกก่อนจะซดน้ำซุปที่ได้รสหวานธรรมชาิจากเนื้อและผัก สถานที่ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือเมือง บริงชาง ที่มีกลากหลายแบบให้เลือไม่ว่าตจะเป็นร้านที่เต็มไปด้วยผักออร์แกนนิคหรือร้านที่คัดเลือกเนื้อชั้นดีให้ได้ลิ้มลอง อีกทั้งยังมีคลาดนัดกลางคือซึ่งคุณสามารถเดินเลือกซื้อของได้มากมายอีกด้วย
       
 Nasi Kerabu อาหารประจำรัฐกลันตัน ที่มีข้าวเป็นส่วนผสมหลักหุงกับอกอัญชันจนได้สีฟ้าใสสวยงาน แล้วกินคู่กับผักและสมุนไพรหลากชนิด บางที่อาจจะเสิร์ฟมาพร้อมเนื้อสัตว์เช่นไก่ทอด ทั้งยังรดหน้าด้วยน้ำบูดุ และมะพร้าวคั่วให้เนื้อสัมผัสกรุลปรอบ ทั้งยังได้กลิ่นหอมๆ จากสมุนไพรหลกชนิดทไใ้ นาซิเกอราบู กลายเป็นอีกหนึงอาหารที่เหล่านักเดินทงไม่ควรพลาด 
            ด้วยผุ้คนหลากหลายเชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่ปสมปสานรวมอยุ่ในประเทศมาเลเซียอยางกลมกล่อม ก่อให้เกิดอาหารหลากหลายชนิดที่ไม่เพียงแต่จะดึงดูดนักเดินทางจากทั่วดลกให้มาล้ิมลองแต่ยังอเป็นการบอกเล่าประวัจติและวัฒนธรรมอย่าลงตัวอีกด้วย
             กีฬาที่ได้รับความนิยมในมาเลเซียได้แก่ silat โดยศิลปะกอรป้องกันตัวชนินี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว ลักษระของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
             Silat คื อการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคุ่ต่อสุ้
              Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
              Silau คือการตอบดต้ทใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรุหรือคุ่ต่อสู้ดจมตีตัวเรา
              ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว นี้จึงสามารถที่จะหล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวช่วงจังหวะและลีลา การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นดดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่หนในการป้องกันตัวจากการดจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการ้องปันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเียนรู้ที่อยุ่ในระดับที่แตกต่างกนตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน ดดยปกติแล้วระดับความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยุ่ 5 ระดับ คือ ระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้ ระดับการเรียนรุ้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว, ระดับการศึกษาเชิงลักของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว, ระดับการเรียนรุ้ เขาใจกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว, ระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว, ระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว และสร้างหรือรักษากฎเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว ให้อยุ่ในจิตวิญญาณของนักศิปละการป้องกันตัว
             
 ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีกาีเคลื่อไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครุศิลปะการป้องกันตัวต่างๆ เป็นผุ้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัวจึงมีหลากหลายชื่อ..(
http://sportasean2012.blogspot.com/..กีฬาประจำชาติของประเทศในอาเซียน)
              การแต่งกายของชาวมาเลเซีย เนื่องจากศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชติของมาเลเซียน ซึ่งเคร่งครัดในระเบียบปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา ดดยฌแาพะการแต่งกายที่สภาพมิดชิดทั้งหญิงและชาย ในอดีต ผุ้ชายชาวมาเลเซียมักนุ่งดสร่งไม่สวมเส้อ หรือถ้าจะสวมใส่ก็เป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงขาสั้นแทนโสร่งแทน ส่วนผุ้หยิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอก บางคนอาจมีผ้าบางๆ ไว้คลุ่มไหล่ องค์สุลต่านอาบูกาการ์แห่งรัฐยะโฮร์ ทรงเห็นว่การแต่งกายของชาวมาเลเซียไม่เรียบร้อย อีกทั้งไม่มีชุดประจำชาติที่ดูสภาพพระองค์จึบทรงคิดให้ชุด บาจู กูทรง ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลว่าปกปิด มิดชิด
              ลักษณะเด่นของชุดบาจู กูทรงไม่วาของผุ้ชายหรือผุ้หญิง มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดี่ยวกัน เพาระฉะนั้นทั้งสีแลดลวดลายบนผืนผ้า จึงป็นแบบเดี่ยวกันทั้งชุด แต่ชุดของผุชายกลับมีเครื่องเครามากว่าของผุ้หญิงชุดผุ้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด
ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผุ้ชายเป็นแขนยาว ทั้งแบบคอลมแและคอจีน ซึ่งรังดุมราว 2-5 เม็ด ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้ ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน หรือมองดุคล้ายดสร่งสั้น จากสะดือถึงเข่า ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า ซัมปิ่น ซึ่งสัไม่ฉูดฉาด แต่ก็สวยงามบางที่เป็นผ้าไหม ดิ้นทาง ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดุสภาพเรียบร้อย ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย ที่ศรีษะผุ้ชายจะสวมหมวกแขกกำมะหยี่สีดำ ภาษามลายูเรียก่า ซองโก๊ะ แต่ถ้าจะให้เต็มยสก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น รูปนกอินทรีปีกหัก รูปช้างรบ รุปสู้ลม ถือเป็นศิลปะทีต้องใช้เวลาประดิดประดอย จึงไม่เป็นที่นิยม ในอดีตการสวมผ้าพับรูปมงกุฎนี้เป็นเครื่องบอกชนชั้นในสังคมมาเลเซียน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงขององค์สุลต่านและราชขวงศื ส่วนสามัญชน จะสวมใส่ผ้าพันมงกุฎนี้ในวันสำคัญเช่นในวันแต่างงาน ซึ่งหมายถึงเจ้าบ่ายเป็นเจ้าชายในวันั้นสิ่งสำคญอีกอย่่างหน่งของชาวมาเลเซีย คือ กริซ ซึงเยเป็นอาวุธประจำกายของผู้ชายที่ต้องติดตัวอยุ่ตลอดเวลา แต่ปัจจุบันกรซ ใช้เป็นเครืองประดับในชุดบาจุ กูทรง โดยเหร็บข้างเอวให้เห็นเท่านั้น การแต่งการแบบนี้สำหรับชาวมาเลเซียถือว่าสุภาพมาก  มักแต่งไปในงานพิธีเช่นงานแต่างงาน
             ที่กล่ามานี้ค่อนข้างเป็ฯการแต่างกายที่เป็นางการ แต่ถ้าต้องการความสะดวกเรียบว่าย เพื่อไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด ก็เพรียงโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชายยาวคลุมทับดสร่ง สวมหมวกกำมะหยี่สีดำบางครั้งผุ้ชายก็แต่งตัวอย่างสกล ใส่เสื้อแขนยาวสีขาวหรือสีอ่อน ดุสุภาพ กับกางเกงสีเข้ม และที่ขาดไม่ได้คือใส่หมวกกะปิเยะห์ชุดผุ้หญิง มีเครื่องแต่งการน้อยิ้นกว่าชาย ทั้งสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด หรือสีที่เข้ากัดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผุ้หยชญิงเป็นปบบปขนยาว ชายเส้ื้อยาวลงมาถึงเข่า บางคนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ ไม่เน้นรูปร่างส่วนท่อนล่างเป้ฯกระฏปรงยวคบุมตาตุ่ม ไม่ผ่าข้า เมื่อออกนอกบ้าน ผุ้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศรีษะด้วยผ้าบางเบา มีสีสันลวดลายดุกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง ผ้านี้บางที่ก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครืองประดับได้ดวยสตรีมุสลิมที่เคี่งคัดก็มักคลุมฮิญาบ หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า ตุดล ซึ่งปัจจุบัเป็นที่นิยมมากขึ้น..(amoreiiz.wordpress.com/..การแต่งกายของชาวมาเลเซีย)
             
ไนท์ไลท์ที่ กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองที่มีการผสมผสานกันระหว่างประวัติศาสตร์ และความโมเดิร์นอย่างลงตัว
             ตึกแฝดปิโตรนาส ตึกแฝดปิโตนาสคืออาคาร 88 ชั้น รุ้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อาคาร KLCC อาหารแห่งนี้เป็นตึกแผดที่สุงที่สุดในโลกความสูง 451.9 เมตร สร้างขึ้นนโดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงเรขาคณิตของสถาปัตยกรรมอิสลาม อีกฝั่งหนึ่งของตกนี้ติดกับสวน KLCC ที่กินเนื้อที่กว้างขวางและตกแต่างอย่างสวยงาม สถานที่ที่น่าสนใจในอาคาร KLCC คือ ซูเรียชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์, ปิโตรนาส ฟิลฮาร์โมนิก ฮอลล์, ศุนย์วิทยาศาสตร์ เปโตรซินและศุนย์ประชุมกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ลักษณะเด่นของตึกแผดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับตึกระฟ้าอื่นๆ ของโลก คือการที่เป็นอาคารหอคอย 2 อาคาร เชื่อโดยสะพานลอยฟ้า สถาปัตยกรรมดดยเด่นูงตระหงานแห่งนี้หลายเป็นแลนด์มาร์ดใจกลางย่านฑุรกิจของกรุงกัวลาลัมเปอร์ จากกาลงวันเปลี่ยนสู่กลางคือนตึกแผดแห่งนี้จะถูกประดับประดาไปด้วยแสงไฟที่อลังการยิ่งทำให้ตึกที่สูงดูสูงขึ้นอีก ท่ามกลางท้องฟ้าสีดำ 
           ถนนฟู้ดทรัค กระแสเมนูติดล้อมาแรง ที่กัวลาลัมเปรอื เหล่า ฟู้ดทรัค จะยกทัพปิดทนน จาแลน สุลตาน อิสมาอิล บริเวณจตุรัสเมอร์ดิก้าเพื่อสร้างสีสันยามค่ำคือ พร้อมจัดเต็มเรื่องกินด้วยอาหารนานาชนิดหลากหลายเชื้อชาติ ให้ได้ลิ้มรสกันอย่างจุใจ โดยงานจะจัดทุกวันเสา 9.00-01.00น.(ค่ำ) และอาทิตย์ตั้งแต่ 6.30-9.30น.(เช้า) ในสัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของทุกเดือน งานนี้ใครที่เป็นนักชิมตัวยงไม่ควรพลาด งานเดียวครบรส
         
ย่านบูกิตบินตัง คือสวรรค์ของนักช้อปที่ไม่ว่มองไปทางไหนก็เนืองแน่นไปด้วยห้าสรรพสินค้า และสถานที่สำหรับช้อปปิ้งแบบที่เลือกเดินกันไม่ถูกเลยที่เดียว นอกเหนือจากที่ช้อปปิ้งทังกลงวัน  ละกลางคืนแล้ว ที่นี้ยังมีตรอกซอยให้ได้เดินเล่น สัมผัสวัฒนะรรมท้องถ่ินยามค่ำคือน เช่น อาหรับ สตรีท ตามชื่อถนน ซึ่งเป็นแหล่งรวมอาหารสไตล์อาหรับซึ่งเป็นอีกหนึ่งที่ ที่ชาวต่างชาติและชาวมาเย์นิยม หรือหากชอปปิ้งแล้วหิว ก็แวะไปที่ จาราน อลอ ถนนสายสตรรีทฟู้ดชื่อดังที่ถนนทั้งถนนเต็มไปด้วยอหารแบบท้องถิ่นให้เหลือทานทั้ง จีน มาเลย์ อินเดีย 
          ไชน่าทาวด์ ไนท์ มาเก็ตติ้ง ที่นี่จะเปิดตั้งแต่กลางวันแต่จะคึกคักเป็นพิเศษช่วงกลางคืน เพราะอากาศไม่ร้อน และมีร้านค้ามาเปิดขายของเยอะกว่า สินค้าทั่วไปจะเป็นของฝากและอาหาร ของท้องถ่ินต่างๆ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อยเพระสามารถเดินไปกินไปช้อปของฝากได้ในที่ที่ทเดียว
           กำปง บารู แม้กัวลาลัมเปอร์จะเป็นเมืองทันสมัย เป็นเมืองธุรกิจที่มีตคึกสูงตระหวาน แต่ในใจกลางกรุงนั้น ยังมีตรอกเล็กๆ ที่มีหมู่บ้านดบราณอย่าง กัมปง บารู ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมดั้งเดิม หลังจากเป็นเอกราชการการปกครองของอังกฤษ ชาวบ้านที่นี้ก็ลุกข้นต่อต้านการเป็น โมเดิร์น ซิตี้ ที่จะลุกล้ำเข้า ทำให้ กัมปง บารู กลายเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านดบราณจกลายกรุงจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ดีชาวบ้านที่นี้มีการปรับตัวได้ออย่างดีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการปสมปสานวิถีชิวิตแบบใหม่และดั้งเดิม แม้กลางวันจะดูเป็นหมู่บ้านอนุรักษ์ธรรมดา ที่นักท่องเที่ยมาเยี่ยมเยือน แต่เมื่ออาทิตย์ตกดินที่นี่จะกลายเป็นอีกตลาดสตรีทฟู้ดกลางคืนที่อยู่ท่ามกลางหมุ่บ้านดบราณ ในบรรยากาศย้อยุคแบบมาเลย์ มาเลย์ ดดยเฉพาะร้านขายข้าวแกงมาเลย์ที่โด่งดัง เมนูเด็ดคือ นาซิเลอมัก อาหารประจำชาติมาเลเซีย..(http://travel.trueid.net..5 แหล่ง ไนท์ไลฟ์ ในกัวลาลัมเปอร์ ย่ำเท้าเดินเลี้ยว เที่ยวชิมเพลินๆ)

วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

LifeStyle ASEAN (Loas)

         
 ชาวลาวมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย รักสบาย รู้จัพอ ไม่ใช่คนขีเกี่ยจ แต่ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ไม่เร่งรีบ ไม่โลภ ส่วนใหญ่มีกำลังซื้อไม่สูง มีความเหลื่อมล้ำทางเศราฐกิจน้อย การตัดสินใจตซื้อสินค้าเน้นพิจารณาจากประโยชน์การใช้งานเป็นสำคัญ อาหารการกินของชาวลาวได้รับอิทะพลทางวัฒนธรรมทางอาหารจากฝรั่งเศสมากพอสมควร แต่อาหารท้องถ่ินก็ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นหลัก นิยมทำอาหารทานเองที่บ้าน หากออกไปทานอาหารที่ร้านอาหารต้องเป็นโอกาสพิเศษและเลือกทานในร้านอาหารระดับกลางถึงสูง ซึ่งยังมีให้เลือกน้อย
           เมื่องหลวงเวียงจันทน์เป็นเมืองที่กำลังโต การก่อสร้างมีมากขึ้นประชาชนในเมืองโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นติดตามกระแสแฟชั่นสมัยใหม่จากไทย สื่อโทรทัศน์ของไทยมีอิทะพลต่อการเลือกซื้อสินค้า สินคัาด้านเครื่องแต่งกายและการดุแลสุขภ-าพได้รับความสนสนใจมากขึ้นในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง ลาวไม่นิยสินค้าเงินผ่อนมักเก็บออกมแล้วซื้อเงินสด คนลาวยังมีทศนคติที่ไม่ดีกับสินค้าเงินผ่อนอยู่ สินค้าอุปโภาคบริโภคในตลาดยังมีให้เลือกไม่หลากหลายนักในขณะที่ตลาดมีกำลังซื้อเพ่ิมขึ้นเรนื่อยๆ สินึค้าส่วยหใญ่เป็นสินค้าจากไทย จีน และเวียดนาม แต่ถ้าเป็นกลุ่มสินค้าที่ใช้บริโค ของกินของใขช้สสินค้าทีใช้กับร่างกายและมีผลต่อสุขภาพ ชาวลาวเช่อถือในคุณภาพ ความปลอดภัย และนิยมสินค้าไทยมากว่าสนิค้าจากจีนและเวียดนาม..(http://www.rd.go.th/..ไลฟ์สไตล์ รสนิยม และวัฒนธรรมของคนประเทศต่างๆ ในอาเซียน"
           ประชากรลาวประมาณร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16317 นับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถ่ินที่เหลือเป็นคริสต์ มุสลิม และอื่นๆ แม้ว่าทางรัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาท ได้นำมาสร้างอำนาจความชอลธรรมในการปกครองของรัฐและเป็นแบบแผนหลักของวัฒนะรรมลาวซึ่งปรากฎให้ก็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา ศิลปะ วรรณคดี วิถีชีวิตการเป็นอยุ่ ทำให้ลาวมีประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาาสนาเช่นเดียงกับไทย เห้นได้จากวันและเทศกาลสำคัญต่างตามารีตประเพณีของลาวจะเรียกว่า "ฮิตสิบสองคองสิบสี่ ฮิตยี่คองเจียง" ซึ่งบางวันรัฐบาลได้กำหนดให้เป็วันหยุดสำคัญของทางราชการได้แก่ วันสงกรานต์ปีใหม่ลาว วันวิสาขบูชา วันอาฬหบูา และวันมาฆบุชา โดยวันสำคัญดังกบ่าวจะถูกกำหนดตามปฏฺิทินจันทรคติ ดังนี้ เดือน 3 วันมาฆบูชา มีงานแลองพระธาติงฮังที่แขวงสะหวันนะเขต และงานวัตถุจำปาสักเดือน 5 วันสงคกรานต์ปีใหม่ลาว เดือน 6  วันวิสาขบุชาเดือน 8 วันเข้าพรรษา และอาสาฬหบูชา เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน เดือน 10 บุญช้าวฉลาก เดือน 11 ออกพรรษา งานแข่งเรือ ที่นครเวียงจันทน์เดิืน 12 บุญพระธาตุหลวงเวียงจันทน์..(http://www.boi.go.th..ศาสนาและวัฒนธรรม)
           
  อาหารลาวหลายอย่างคล้ายอาหารอีสานของประเทศไทยเรา โดยทั่วไปแล้วอาหารลาวรสชาติมักไม่ค่อยจัดจ้าน มีรสชาติมาก เครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรส(คนลาวเรียกแป้งนัว) กันมากขึ้น ถึงขนาดร้านอาหารหลายร้านต้องมีกระปุกผงชูรสไว้บนโต๊ะกันเลยที่เดียว
             เมนูท้องถ่ินที่ขึ้นชื่อ เฝอ เป็นอาหารจานด่วยที่มีทั่วไปทุกเมือง หน้าตาไม่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวน้ำใสประเทศไทยนิยมใส่เนื้อสัตว์เพิ่มรสชาติและจะมีผักสดเป็นเครืองเคียง ปรุงอยุ่กลางโต๊ะ พริกเผา และน้ำปลา จะให้อร่อยมันต้องเติมซอสพริก (ที่นำเข้าจากไทย) ซึ่งวางเป็นเครื่องปรุงอยู่กลางโต๊ะ มันจะทำให้นำ้ซุปเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้า รสชาติหวานๆ เปรี้ยวๆ
           บาแกตต์ (ข้าวจี่, แป้งจี่) เป็นขนมปังฝรั่วเศส หน้าตาคล้ายแซนด์วิช สามารถใส่ไส้ ผักสด เนื้อสัตว์ "ฉม หมูยอ ตับบด เป็นต้น มีให้เลือกทั้งก้อนเล็ก กลาง ใหญ่ เรียกได้วาก้อนเดี่ยวอ่ิมไปทั้งมื้อ
           ลาบ เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของคนลาวอีกอย่างกนึ่ง ส่วนกค่งมาจากชื่อของอาหารที่มีความหมายดี ฉะนั้นในงานเลี้ยงต่างๆ ของประเทศลาวมักจะมีัลาบเสิร์ฟอ้วย และลาบที่นิยมมากที่สุด คือ ลาบไก่งวงที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวคือ จะใส่ดีวัวลงไปด้วยให้มีรสชลาติขมนิดๆ
         
ส้มตำ หรือตำหมากห่ง หน้าตา รสชาติ วัตถุดิบ เหมือส้มตำประเทศไทย แต่ที่ประเทศลาวบางร้านจะใส่กะปิลงไปด้วยจึงทำให้รสชาติมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยัวถือว่าส้มตำเป็นอาหารที่นิยมของคนลาวที่หากินได้ง่าย  
           ข้าวเปียก หน้าตาจะคล้ายก๋วยเตี๋ยวประเทศไทยและเผอของประเทศลาว แต่ที่จะแตกต่างอย่รางเห็นได้ชัดคือเส้นของข้าวเปี่ยวจะเป็นเส้นกลมๆ และมีความเหนี่ยวกว่า จะดรยหน้าด้วยผักชี หมูยอและมีผักสดเป็นเครื่องเคียง  
            ไคแผ่นทอด เป็นอาหารกินเล่น ยอดนิยชอสข่สบ่ส "ไค" คือสาหร่ายน้ำจืด ที่ล้างสะอาดแล้วมาทำเป็นแผ่นแล้วนำไปตากให้แห้ง และนำไปทอด โรยด้วยงาและมะเขือเทศ เป็นอาหารกินเล่นขึ้นชื่อของหลวงพระบาง
            กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง เป็นกีฬาสาะิตในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศลางเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมี่วิธีการเล่นเหมือนกับประเทศไทยลูกข่างถอเป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นดดยการผุถกด้วยเชือก และขว้างลุกขว้างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติการการเล่น คือ หากขว้างลูกข่างไม่หมุนเหรืออกนอกวงถือว่าแพ้ และผุ้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลุกข่างที่พันเชื่อก ขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นประกอบด้วย ลูกข่าง ส่วนมากจะทำจากไม่มะยมกลึงมีตะปูเป็นเดือยแปลมตรงกลางคนละ 1 ลุก, เชือกยาวประมาณ 40-50 เชนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผุกด้วยไม้ หรือร้อยด้วยผาเบียร์ และวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตร
         
ในการเล่นลูกข่างไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ก่อนเล่นจะมีขีดวงกลมขนาด 50-60 เซนติเมตรบนพ้นดิน แล้วจัดลำดับการเล่นตามวิธีการจัดลำดับก่อนการเล่นดังกล่วแล้วก่อนเล่นทุกคนใช้เชือกพันลูกข่างของตน ดดยพันจากปลายเดือยขึ้นมาจนถึงตัวลูกข่าง แล้วถือายหนึ่งไว้ระหว่างซอกน้ิวชี้และนิ้วกลาง ส่วนหัวแม่มือหงายรองรับปลายเดือยลูกข่างไว้ เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นจะข้างลุกข่างตกถึงพื้นจะหมุนหากลุกข่างของผุ้ใดไม่ หมุน หรือออกนอกวงถือว่าแพ้จะถูกทำโทษด้วยการให้เจ้าของลูกข่างนำลูกข่างของตวาง ไว้ในวงกลม ให้ผุ้อื่นนำลูกข่างที่พันเชือกเตรียมไว้ขว้างลงไปบนลูกข่างนั้นเรียกว่า "โจ๊ะลุกช่าง" ที่ละคน หากลูกข่างทำจากไม้ไม่ดีจะแตก แถ้ถ้าทำจากไม้มะยมจะเป็นรอยเจาะเท่านั้น..(sites.google.com/..กีฬาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
           ประเทศลาวอยุ่ชิดชายแดนไทยทางด้านตะวันออกเแียงเหนือทางจังหวัดหนองคาย ข้ามแม่น้ำโขงไปอีกฟากหนึ่งก็จะถึงเวียงจันทน์ นอกจากชนชาติลาวซึ่งบางครั้งเรียกว่าลัวะ หรือละว้า ยังมีชนเผ่าต่างๆ อีก ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าไทย-ลาว คือพวกไทยแดง ไทขาว ไทยดำ ย้อ ลื้อ กลุ่มม้ง-เย้า กลุ่มพม่า-ธิเบต รวมถึงมูเซอ ล่าฮู และกลุ่มมอญ-เขมร รวมถึงขมุ
          การทอผ้าของกลุ่มชาวไท-ลาว ใช้เทคนิการทออาทิ มัดหมี่ จก ชิด และเหยียบเกาะ ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่างงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตรียวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจจะใช้เทคนิคการทอแบบ "หมากไม" คือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อแบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ
         การแต่งกาย ผู้หญิง นุ่งผ้าลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย นิยมทำเป้นลายทางๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหมเชิงก็จะเป็นไหด้วย มีกจะทอทองและเงนิแทรกเข้าไป ไว้ผมเหล้ามวยประดับดอกไม้  ผุ้ชายนุ่งผ้านุ่งเป็นกระโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด
       
ไนท์ไลท์ในเวียงจันทน์ประเทศ มีกิจกรรมต่างๆ อาทิ โยนโบว์ลิ่งที่ลานโบว์ลิ่งลาว หรือ ลาวโววีวิ่งเซ้นเตอร เป็นสถานบันเทิงอีกลักษณะหนึ่งของเวียงจันทน์ สถานที่โอโถงดีมาก มีทั้งคนลาวและนักท่องเที่ยวมาใชข้บริการมากมาย โดยเฉพาะอย่างิย่ง ช่วง 22.00 น. คนจะเยอะ เปิดบริการตั้งแต่ 0.900-01.00น. ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาแห่งชาติลาว อละอยู่ใกล้กับตลาดแลงเวียงจันทน์
           สปริตเฮ้าส์ เป็นร้านอหารบรรยากาศสวยงาน เปิดตั้งแต่ 7 โมงเข้า -ห้าทุ่ม เมากสำหรับการนั่งชมบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดิน อาหารมีตั้งแต่อาหารฝรั่งกระทั่งซูชิ
     
   ร้านบ่เป็นหยัง เป็นร้านดังมากร้านนึงของเวียงจันทน์ อยุ่ติดกับแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวมากายต่างต้องแวะมาร้านนี้ เป็นร้านนั่งชิว อาหารอาจไม่หลากลาย เน้นอาหารง่ายๆ เช่น เบอร์เการ์ บาเก็ต พิซซ่าแบเวฟก่อนรับประทาน "ตลาดกลางคือเวียงจันทน์" เป็นจุดสำคัญที่ใครมาเวียงจันทน์ก็ควรที่จะมาเดินมาชมกันสักหน่วย ลักษณะเหมือนไนท์บาซ่า มีของขายมากมาย ต่อรองได้นิดหน่อยมีของฝากของที่รึกวางขายมากมาย "ตลาดแลงเวียงจันทน" อันนี้เป็นแนวแซป กินดิ่มจุกอก เดินไปกินไป มีโต๊ะนั่งเป็นร้านๆ ได้แซปกับอาหารท้องถิ่นอย่างแท้จริง ไก้ย่าง ตำบักหุ่ง ปลาเผา เป็นต้น..(http://www.huglaos.com ร้านอาหารลาว..)

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

LifeStyle ASEAN (Indonesia)

          ชาวอินโดนีเซียมีความเลื่อมล้ำทางเศราฐกิจสูง มีช่องว่างเรื่องรายได้  คนมีรายได้น้อยมีอยุ่จำนวนมาก     ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงยังอ่อนไหวกับราคาสินค้า ไม่ค่อยนอยมสินค้าราคาแพง ในกลุามผุ้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปนิยมบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศทั้งสินค้านำเข้าจากเเอเซียและจากประเทศตะวันตก มีแนวโน้มใส่ใจกับการดุแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
          ขาวอินโดนีเซียนใช้จายเพื่อซื้ออาหารค่อนข้างสูง สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของรายได้ นิยมออกมารบประทานอาหารนอกบ้านเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เนื่องจากมีความเป็นสังคมเมืองเพ่ิมขึ้นจึงมีแนวโน้มเร่ิมหันมานิยมซ้ออาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทานมทาเก็บไว้ที่บ้านแทนการออกไปซื้ออาหารสดทุกวันเช่นเดิน อาหารจำพวกซีเรียลเป้ฯอาหารหลักในชิวิตประจำวันสำหรับทุกกลุ่มรายได้ และคนอินโดนีเซียนชอบรับประทานอาหารรสเผ็ด              
เกือบ 90 เปอร์เซ็นของประชากรอินโดนีเซีย นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ แคทอลิก ฮินดู และพุทธตามลำดับ อินโดนีเซีย เป็นรัฐอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียไม่เหมือนกับอิสลามทั่วไปที่พบอยู่ในประเทศอาหรับ หรืออินเดีย ความแตกต่างที่เห็นชัดคือสตรีมุสลิมในอินโดนีเซียไม่ต้องแต่งกายหรือคลุมร่างกายทุกส่วนเหมือนสตรีอาหรับ สำหรับเทศการทางศาสนาอิสลามที่สำคัญได้แก่ รอมฎอน คือ เดือนที่ชาวมุลิมถือศีลอดไม่รับประทานอาหารหรือน้ำ ระหว่างอาทิตย์ขึ้งถึง
อาทิตย์ตก โดยจะรับประทานอาหารได้หลังดวงอาทิตย์ตกดอินไปแล้ว, "วันตรุษอิดุลฟิตริ" หรือ "ฮารีรายา" หรือวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันแรกของเดือนสิบในปฏิทินมุสลิมและเป็นวันสิ้นสุดของการถือศีลอด โดยจะมีพิธีฉลองใหญ่ 2 วัน 2 คือ, "วันตรุษอิดุลอัฐฮา คืองานเฉลิมฉลองประจำปี ซึ่งตรงกับช่วงการทำพิธีฮัจย์เสร็จสิ้น โดยชาวอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลามจะนิยมทำพิฑีฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว แพาะ เเกะ  เพื่อให้เนื้อสัตคว์แก่คนยากจน, "เทศกาลกาลุงงัน เป็นงานประจำปีของชาวบาหลีเทศกาล 10 วันนี้จัดขึ้นเพื้อฉลองชัยชนะของเทพเจ้าที่มีต้อวิญญาณร้าย และชเื่อว่ัญญาณบรรพบุรุษจะมาร่วมงานเฉลิมแลองนี้ด้วย ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะจัดไม่ตรงกัน , "กาซาด้า คืองานประจำปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคมของทุกปี โดยเป็นการบวงสรวงภูเขาไฟไบรโม ทางตะวันออกของเกาะชวา เพื่อมอบสิ่งของต่างๆ ทั้งอาหาร และครื่องใช้ต่างๆ ให้แก่ภูเขาไฟ..(http://www.aseanthai.net/กิจกรรมทางศาสนาในอินโดนีเซีย)
           
อินโดนีเซียมีวิธีการปรุงอาหารที่น่าสนใจ อาทิ อาหารของชาวบาหลี, เบตาวี หรือปาดัง ซึ่งก็ต้องไปแยกย่อยอีกตามชนชาติที่อาศัยอยุ่ในพื้นที่นั้นๆ แต่โดยหลักแล้วอาหาของประเทศอินโดนีเซียนมีส่วนผสมของเครื่องเทศค่อนข้างมาก และการใช้เครื่องเทศอย่างแพร่หลายในอาหารนี้ ก็มีที่มาจากการค้าขายเครื่องเทศอันเฟื้องฟูในอดีตกับชาวดัชต์นั่นเอง
            ส่วนผสมสำคัญอีกย่างของอาหารอินโดนีเซียนก็เห็นจะเป็นพืชและผลไม่พื้อนเมือง ซึ่งโดยมากใช้วิธีการปรุงที่เรียบง่ายเช่น การย่างหรือการผัด ซึ่งไม่มีการเพ่ิมเครื่องปรุงดัดแปลงกลิ่นหรือรสชาติมากนัก จึงทำให้อาหารแต่ละจานยงคงประโยชน์ สีสัน  และรูปแบบที่เป้ฯธรรมชาิมากที่สุด ตังอย่าง สไตล์อาหรที่มีขายกันอยางแพร่หลายในอินโดนีเซียนและนักท่องเที่ยวได้รับคำแปนะนำว่าให้ลองชิมรสชาติดูก็คือ โตราจา ฟู้ดส์ ศึ่งเป็นอาหารของชาว โตราจา ซึ่งมักจะปรุงจากหมูและผักนำไปย่างหรือต้มปรุงรสชาติด้วยผลไม้พื้นเมือง ส่วนใหญ่รับประทานคู่กับข้าวสวยและ ราวอน ซึ่งเป็นซุปข้นที่ทำจากผักและหมูเช่นเดี่ยวกัน
           อาหารอีประเภทที่น่าสนใจคือ มินิน ริสตาฟเฟล สไตล์ ที่นิยมกันมากในจาร์กาต้า ซึงจัดเนรียงกับข้าวหลากหลายไว้ให้เลือกกินคู้กับข้าวสวย ไข่ต้ม และเนื้อย่าง ดูคล้ายข้าวแกงในเมืองไทย หรือสูตรเฉพาะของร้าน แพค อัน ที่ประสบความสำเร็จบนเกาะ บังก้า ไอแลนด์ ซึ่งจะเสิร์ฟอาหารจานปลาเป็นหลัก ที่มีเมนูซิกเนเจอร์ของร้านอย่าง  lempah ซึ่งเป็นแกงเผ็ดที่ทำจากปลาท้องถ่ินเจ้าของร้านบอกว่าหากมีคอนเมนต์จากลูกค้าเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร นันก็หมายถึงวัตถุดิบไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งทางร้านก็จะเปลี่ยนจานใหม่ให้ลูกคาฟรีทันที่ เพื่อรักษามาตรฐานของอาหารเอาไว้ เชฟในร้านอาหารชื่อดังหลยแห่งในอินโดนีเซียได้บอกไว้ว่าอาหารของอินโดนีเซียส่วนใหญ่ ส่วนผสมก็แทบจะไม่ต่างกันมากนัก แต่เคล็ดลับของรสชาติว่าแต่อาหารแต่ละจานจะอร่อยหรือไม่นั้นอยู่ที่ความสดของวัตถุดับที่มาจากธรรมชาติซึ่งหาจากที่ไหนไม่ได้ในโลกนี้ และพวกเขาก็กังวลว่าธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้วัตถุดับที่ดีของพวกเขาจะหมดไปด้วย..(http://www.dooddot.com/.. วัฒนธรรมอาหารกับวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติของดินแดนภูเขาไฟประเทศอินโดนีเซีย)
         
อาหารอินโดนีเซีย  "สะเต๊ะ"ซึ่งมีจุดกำเนิดอยู่ที่อินโดนีเซีย เป็ฯอาหารอยางหนคึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นอ้น อาจจะเป็นเหนื้อหมุ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบลดวยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึงแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตรานประเทศอินโดนีเวยน แต่ก็ยังได้รับวามนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซียน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน สะเต๊ะของอินโดนีเซีนอาจได้รับอทะิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งด้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชินหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียนและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบทหรือเนื้องทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู ชวา จึงหลายเป็น
สะเต๊ะอย่างในปัจจุบันนี้ "บักโซ" เป็นเนื้อปั้นก้อนแบบอินโดนีเซียมีลักษณะคล้ายลูกชิ้นแบบจีน ปกติทำจากเน้อวัว แต่ก็สามารถทำจากเนื้อชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ไก่ ปลากุ้ง อาจเิร์ฟในชาวน้ำซุปกับหมี่เหลือง หมี่หุน ผักดอง เต้าหู้ ไข่ กะหล่ำปลี ถั่วงอก ขนมจีบ เกี๊ยวกรอบ หอมเจียวและเซเลอรี พบได้ทั่วไปที่อินโดนีเซียน บักโซหั่นเป็นชิ้นใช้เป็นส่วนผสมของหม่โกเร็ง นาซีโกเร็ง "นาซีโกเร็ง" เป็นข้าวผัดที่ผัดกับน้ำมันหรือเนยเที่ยม ปรุงรสด้วยซีอิ็วหวาน หอมแดง หระเที่ยม มะขามและ
พริกอาจมีส่วนปสมอืนได้วย เช่น ไข่ ไก่ กุ้ง "กาโดกาโด" หรือโลเต็ก เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้มและผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว ทั้งแคร์รอต มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้าสุก และกินกับข้าวเกรียบทอดหลายชนิด เช่น กรูปุก์ ซึ่งเป็นข้าวเกรียบกุ้งหรือปลา เอิมปิง เป็นขช้าวเกรียบใส่เมล็ของผักเหมียง หรือจะกินกับเต็มเปทอด หรือข้าต้มแบบลตงก็ได้ รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสะเต๊ะ ซึ่งประกอบด้วย กะปิ ถัวลิสงบด กะทิ น้ำตาลโตนด พริกแดง กระเที่ยวม กะทิ มะขามเปียก คำว่ากาโดนี้ ภาษาอินโดนีเซียหมายถึงยำ กาโด-กาโด มีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ในซุราบายาเรียว่า "กาโด-กาโดซีรัมไ ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบกอร์ จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครืองปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตาเรียกว่า "กาโ-กาโด
โบโปล" ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง "โซโต" เป็นซุปแบบพื้นเมืองในอาหารอินโดนีเซีย ใส่เนื้อและผัก ในบางครั้งจัดเป็นอาหารประจำชาติ มีรับประทานตั้งแต่สุมาตราไปจนถึงปาปัว ดยมีความแตกต่างกันมากมีตั้งแต่ขายข้างถนนไปจนถึงในภัตตาคาร ผุ้อพยพาวชวาได้้นำอาหารชนิดนี้ไปยังสุรินมเมและเรียกว่าเซาโต..(http://www.aeckids.com/ อาหารอินโดนีเซีย)
              กีฬาประจำชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แก่ เคมโป คาราเต้ เป็นกีฬาที่มีรากฐานมาจากประเทศญีปุ่่น ดดยมีสำนักงานใหญ่ของสหพันธ์อยุ่ที่โอซากา ประเทศญี่ปุ่น ได้รับความนิยมในมาเล
เซย, เวียดนาม, ติมอร์และบรูไน โดยในอินโดนีเซียมีคนเล่นกีฬาชนิดนี้กว่า สีแสนคน ซึ่งจะแตกต่่างจากคาราเต้ ดดยจะเป้นการผสมผสานกันระหว่างเทควันโด-ยูโด-คาราเต้ ซึ่งการแต่งตัวก็มีลัษณะคล้ายกันด้วย ส่วนการออกอาวุธจะใช้ทั้งการเตะ ต่อย ทุ่ม บิด ล็อก ตัดสินแพ้ชนะด้วยคะแนน แบ่งการแช่งชขันเป็นรุ่นน้ำหนัก.."ตารุง เดราจัด เป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวชวาตะวันตก เเป็นกีฒาที่ใช้ทอสอบความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตใจ เป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวที่คนอินโดนีเซียทุกเพศทุกวัยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีนายอัชหมัด เดดจัต หรือคนที่นี่เรียกว่า "ซาง กูรู" เป็นผุ้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน
              การแต่งกายของชาวอินโดนีเซีย ผุ้หญิงจะสวมเสื้อ "คะบาบ่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็ฯผ้าพื้นเมืองที่เรยกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสใมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล ผู้ชาย จะสวนเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้าหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่างสีและลงคลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีการแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ..(http://www.asean-info.com/ อินโดนีเซีน-ศิลปะ/วัฒนธรรม/ประเพณี)
              อินโดนีเซียมัีกจะถูกมองข้ามดดยการบดบังของประเทศเพื่อบ้านจำนวนชาวตางชาติมีน้อยแม้แต่ในห้างสรรพสิค้าสุดหรุหรือย่านคนต่างชาติคือสิ่งที่คุณสามาถสังเกตเห็นได้ทันที ดดยเฉพาะหากคุณเดินทางมาแล้วหลายที่ทั่วโลก มันไม่ใช่เรื่องร่าประหลาดใจเพราะจาการ์ต้าไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวมากเท่ากับประเทศเพื่อบ้าน แลที่นี่ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของมลภาวะและกาจราจร
               แต่หากคุรเป็นหนุ่มโสดที่มองการการปาร์ต้และอาจจะมองหาเพื่อร่วมเส้นทางปาร์ต้ การที่มไ่มีชาวต่างชาติที่นี่จะเป็นผลดีกับคุน ชาวจาการ์ตาโดยเฉพาะสาวๆ นั้นจะต้อนรบคุณอย่างดีแบบทีไม่เคยสัมผัสมาก่อน เหตุผลง่ายๆ เพราะชาวต่างชาติถือเป็นของแปลกสำหรับพวกเธอ สำหรับหนุ่มโสดนั่นหมายคึวามว่าหากคุณเดินเกมส์อย่างถูกต้ง โอกาสที่คุณจะ ท่องราตีอย่างเดียวดายแทบจุไม่มีเลย (และโดยไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าเช่นกัน)
           
  ด้วยจำนวนประชากร 20 ล้านคนทำให้จาการ์ตาเป็นเมืองใหญ่ แต่จริงๆ แล้วไมได้ยากที่จะหาสถานที่ปาตรีที่ดีที่สุดในเมืองนี้ สถารที่ส่วนใหญ่ที่คุณต้องไปเยือนในฐานะหนุมโสดตั้งวอยงุ่ในทางตอนใต้ของเมือง โดยเฉพาะในย่าน โกลเด้น ไทแองเจิล ออฟ เจแปน สุไลมาน, จาลาน กาทอท และจาแลน ราสุนะ หากคุณพักในดรงแรมย่าน พลาซ่า อินโดนีเซียน คุณจะสามารถพบบาร์และคลับที่ดี่ที่สุดได้ในาัศมี 30 นาที
             ช่วงหัวค่ำหลายๆ คนอาจจะชอบเร่ิมการท่องราตรีในช่วงดึกมากว่าหัวค่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรี่ติดขัด แต่ไม่มีเหตุผลอะไรที่คุฯตะไม่สามารถเริ่มต้นตอนหัวค่ำได้ หากคุณกำลังมองหาการดือมเพื่อเริ่มต้นเพียงแก้วสองแก้วก่อนจะปาร์ตี้จริง สถานที่ที่ดีที่สุดคือ Loewy, Bluegrass, Cork and Screw และ Social House อีกทั้งมันยังเป็นที่ที่ยอดเยี่ยมในการพบปะสาวๆ ที่คุณอาจจะได้ออกท่องราตรีด้วยทั้งคืน
            บาร์บนดานฟ้า เป็นของขึ้นชื่อของอินโดนีเซียนเช่นกัน และสองที่ที่ทขึ้นชื่อที่สุดได้แก่ จาการ์ตา แอนด์ สกาย และ โคลด เลาจ์ ทั้งสองที่นี้มีดนตรีที่ไพเราะและวิวที่มหัศจรรย์และยังเป็ฯสถานที่สุดเพอร์เฟ็คในการพบปะสาวๆ อีก้วย อีกทั้งยังตั้งอยุ่ใกล้กับ พลาซ่า อินโดนีเซีย
             ไนท์คลับ หากดนตรีและการเต้นรำคือส่ิงที่คุฯชื่นชอบ คุณไม่ควรพลาด อิมมิแกรน, กราก้อนฟลายด์หรือ X2ทั้งสามที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับชาวต่างชาติการปาร์ตี้ในจาการ์ต้ามีบรรยากาศที่จิดจรัสเสมอ ผุ้คนที่นีเป็นมิตรและคุณจะไม่รุ้สึกเครียดเมื่อพูดคุยกับพวกเขา (http://www.10010688.com/ ปาร์ตี้ไม่เคยเดียวดายที่อินโดนีเซีย)

วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

LifeStyle ASEAN (Cambodia)

             กัมพูชามีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วยเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าไปลงทุนสูงขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ยังมกำลังซื้อไม่สูงนัก การตัดสินใจซื้อเน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินจ้าและราคาเป็นสำคัญ สินค้าอุปโภคบริโภคยังมีให้เลือกไม่หลากหลายนัก ส่งนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน มักเป็นสินค้าจากไทย จีนและเวียดนามแนวโน้มความนิยมสินค้าฟุ่มเฟื่อยและสิ่งอำนวยความสะดวกเร่ิมได้รับความนิยมในกลุ่มผุ้มีรายได้สูง นักการเมืองและนักธุรกิจ (http://www.rd.go.th/
"ไลฟ์สไตล์ รสนิยม และวัฒนธรรมของคนประเทศต่ารงๆ ในอาเซียน")
         
ประเทศกัมพุชามีศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นศาสนาประจำชาติ มีศาสนิกชนกว่าร้อยละ 95 ถือเป็นศาสนาที่แข็งแกร่งและเป็นที่แพร่หลายในทุกจังหวัด มีอารามในพทูศาสนา 4,392 แห่งทั่วประเทศ ชาวเขมรมีความผูกพันกับพุทธศาสนามากทั้งประเพณีและวัมนธรรม แม้ศาสนาพทุธรวมถึงศาสนาอื่นๆ จุถูกยกเลิกในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ในกลุ่มชนเชื้อสายจีน ยงมีการนับถือควบคู่กันระหว่างมหายานกับลัทะิเต๋า
             ศาสนาอิสลาม เปนที่ยอมรับนับถือในชุมชนที่มี่เชื้อสายจามและมาเลย์ มีคำสนอกชนราว 300,000 คน ในจังหวัดกำปงจามมีดรงเรียนสอนศาสนาอิสลามจำนวนหลายแห่ง ส่วนศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ตามด้วยนิกายโรปเตสแตนต์ มีชาวคาทอลิกราว 20,000 คนเหรือร้อยละ 0.15 นอกจากนี้ยังมีนิกายอื่นๆ เช่น แบปติสต์ พยานพระยะโฮวา และศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย...(sites.google.com/...ศาสนา)
            อาหารกัมพูชาคล้ายกับอาหารไทย ปละได้รับอิทธิพลจากอาหารต่างชาติค่อนข้ามาก เช่น นเมืองใหญ่จะมีอาหารเวียดนามบริการ เช่น เฝอ ปอเปี๊ยะ ปากหม้อ ข้าวเกรียบอ่อน ขนมจีนหมูย่าง อาหารประเภทผัดผัก หรืออาหารเส้นได้รับวัฒนะรรมจากประเทศจีน ก๊วยเตี๋ยวน้ำ (บะหมี่ไข้เส้นสีเหลือง) บะหมีผัดแห้ง, ก๋วยเตี๋ยวผัด (เส้นทำจากแป้งข้าว), แกงกะหรีได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ซึ่งีบทบาทต่อกัมพุชามากในประวัติศาสตร์ ยังพบเห้นอาหารที่รับวัฒนธรรมจากทางตะวันตก เช่น ลกละ ซึ่งเป็น สเต็กเนื้อหั่นเป็นลูกเต๋า ขนมปังปะเตขนมปังฝรั่งเศส ใส่ไส้แฮม ต้นหอม เนื้อบด นิยมรับประทาน เป็ฯอาหารเช้า กาอหารกัมพูชารสชาติไม่จัดจ้าน การปรุงรสเผ็ดใช้พริกไทยเป็นหลัก ในน้ำพริก นั้นจะใช้พริกไทยทำให้เกิดรสเผ็ด ใช้น้ำปลา กะปิ และปลาร้า ชาวกัมพุชารับประทานข้าวเจ้าเป็นหลัก ข้าวเหนียวนิยมทำขนมและของหวาน ขชองหวานจากข้าวเหนียวที่เป็นที่นิยมคือ ข้าวต้มมัด/ข้าวต้มผัด ใส่กล้วย และ ชรุค ข้าวต้มมัด/ผัด ใส่หมูและถั่วเขียว(คล้ายไส้ขนมเทียน) ซึ่งใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่
  กรรมวิธีการปรุงอาหารปรุงเน้นเรียบง่ายไม่ยุ่งยากแต่ได้รสชาติอาหารสดๆ จากธรรมชาติ เช่นการต้ม การป้ิง ย่าง พืชผักมีทั้งจากสวนจากไร่ ผลูกไว้ข้างบ้านและผักป่า ผักที่นิยมใช้คือ ขมิ้น ข่า ชิง กระเที่ยม มะกรูด นิยมใช้ใบมะกรูดในอาหารหลายๆ อย่าง มะขาม มะนาวใช้ปรุงรสเปรี้ยว จำพวกต้มยำต้มโคล้
 ผักติ้ว แตงกว่า โหระพา สะระแหน่ ทองหลาง ผักกาดเขยว ผักปัง ผักขแยงนา ใบบัวบก สายบัว รากบัว ชะพลู มะยม แค ผักแพว ผักไผ่
ยอด-ดอก-ผลอ่อนของฟักทอง มะเขื้อ ยาวสด ยักชีญน ผักคาวตอง มะม่วง มะกอก (มะก๊ะ) นิยมนำมายำเป็ฯอาหารว่าง เช่น ยำมะม่วงใส่กะปิ ยำมะกอกกับ
ปลากรอบในอาหารกัมพุชาใช้น้ำตาลโตนดมากกวา่น้ำตาลทราย เนื่องจากปลูกต้นตาลมากกวาการปลูกอ้อยใช้กะทิในแกงกระหรี่และของหวานเนื่องจากภูมิประเทศยังเป็นป่าอยู่มาก การกินอาหารป่าจึงเป็นเรืรองปกติ แต่แหล่งอาหารสำคัญคือ โตนเลสาบ (ทะเลสาบเขมร) ซึ่งมีปลาอุดมสมบูรณ์และรสชาติดีมากอหารโปรตีนหลักจึงเป็นปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ สัตว์น้ำที่เหลือจากบริโภคนิยมทำปลาร้า ปลาจ่อม และกะปิ อาหารส่งออกหรือเป้ฯของฝากจากกัมพูชา มีกเป็นปลากรอบ ปลาตากแห้ง ปลรารมควัน นิยมกินปลากรอบโดยนำมายำกับมะกอก ย่าง หรือนำมาแกง ปลาแห้งก็แกงใส่ผัก เช่น ฟักเขียว หรือตำน้ำพริกเนื้อปลานำมาทำทอดมัน ทำอามุก คือ ห่อหมา ใช้ปลาน้ำจืดหั่นเป็นชิ้นมาทำห่อหมก..(mekongcuisine.wordpress.com/..กินแบบกัมพุชา)
              กัมพูชามีความเกี่ยวข้องกับกีฬามากกว่า 30 ปี มีกีฬาที่เป็ฯที่นิยมคือฟุตบอลและศิลปะป้องกันตัว ได้แก่ ปกกอโต หรือกระบี่กระบอง ประดัลเสรี และมวยปล้ำกัมพุชาที่นิยมไปทั่วประเทศ
              ปกกอโต หรือ บกกอโต หรือชื่อที่เป็นทางการ ลปกกอโต(หมายถึงการสู้สิงโตด้วยไม้) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบโบราณของกัมพุชา เป้ฯการต่อสู้บนพื้น คล้ายกับประบี่กระบองของไทย มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ต่างจากประดัลเสรีที่เป็นศิปละการต่อสู้แต่ปกกอโตเป็นกีฬาของทหาร มีการใช้อาวุธต่างๆ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการต่อสู้ผุ้เล่นจะแต่งตัวแบบทหารเขมรในสมัยโบราณ ใช้ผ้าขาวม้า ผกร็อมา) พันมือและมีมงคลสีแดงหรือสีน้ำเงินสวมหัวสีของผ้าขาวม้าจะแสดงความชำนาญในการต่อสู้ ต่ำสุดคือสีขาว สูงสุดคือสีดำ การต่อสู้มี 341 ท่า ซึ่งตั้งชื่อเลี่ยนแบบชื้อสัตว์ต่างๆ
             
ประดัลเสรี เป็นการชกมวยแบบพื้นบ้านในกัมพูชา ลักษระคล้ายมวยไทยและมีการจัดการแข่งขันทั่วไปในกัมพูชา โดยแข่งครั้งละ 5 ยก ยกละ 3 นาที พักยกละ 1-2 นาท ก่อนชกจะมีการไหวครู มีการบรรเลงดนตรีระหว่างการแข่งขันซึ่งประกอบด้วยกลอง ปี่ และฉิ่ง กติกาการแแข่งขันที่สำคัญได้แก่ ไม่อนุญาตให้ซ้ำเติมคนล้ม ห้ามกัด หากอีกคนสู้ไม่ได้ กรรมการจะยุติการแข่งขัน ผุ้ชนะอาจชนะโดยชนะน็อค เมื่อทำให้คู่ต่อสู้ล้มแล้วไม่สามารถสู้ต่อได้ภายใน 10 วินาที ดดยกรรมการเป็นผุ้นับ ถ้าสู้กับครบยกจะตัดสินด้วยคะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันถือว่าเสมอ
               รูปแบบการชกมวยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคล้ายคลึงกัน คาดว่าในอดีตเป็นศิปละการตอสู้ที่พัฒนาขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากอนเดีย ชาวเขมรเชื่อวาประดับเสรีเกิดขึ้นก่อนการต่อสุ้แบบอื่นไในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหลักฐานจากรูปสลักหินในปราสาทนครวัดแต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
               ในช่วงที่กัมพูชาเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสประดัลเสรีกลายเป็นกีฬาโดยเพ่ิมการสวมนวมและการแข่งขันเป็นยก ระหว่างสงครามกลางเมืองกัมพุชา เมืองเขมรแดงโค่นล้มรัฐบาลนอยมตะวัตกของ ลน นลเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 เขมรแดงมีแผนจะกำจัดอิทธิพลของตะวันตกออกไปและสร้างสังคมในอุดมคติ บุคคลที่มีความรู้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเก่าและผู้เคยเป็นครู แพทย์ ทหาร นักแสดง นักร้องจะถูกประหารชีวิต ชาวกัมพูชาถูกบงคับให้อยู่ภายในค่ายใช้แรงงาน ในช่วงนี้ประดัลเสรีดูกห้ามแข่ง นักมวยส่วนมากถูกประหารเช่นกัน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ลดลงอย่างมาก ในเือนมกราคม พงศ. 25522 กองกำลังเขมรฝ่ายตรงข้ามกับเขมรแดงร่วมกับกองทัพเวียดนามโค่นล้มรัฐบาลเขมรแดขงลบ หลังจากนั้น ประดัลเสรีจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง
               หลังจากที่มีการฟื้นฟู ประดัลเสีได้เป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ มีการเปิดค่ายฝึกเป็นจำนวนมาก และมีผุ้มาฝึกเป็นจำนวนมากเช่นกัน ทั้งชาวกัมพูชาและชาวต่างชาติ มีการจัดการเข่งขันทุกสัปดาห์ และมีถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ปัจุบัน กัมพุชาพยายามสนับสนุนประดัลเสรีเพื่อแข่งกัีบมวยไทยในเชิงการตลาด กัมพูชาเคยพยายามที่จะรวมกีฬามวยสุวรรณภูมิเข้าด้วยกันในการประชุมอาเซียน พ.ศ. 2538 ในช่วงที่มีการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ กัมพูชาต้องการรให้เปลี่ยนแชื่อมวยไทยเป็นมวยสุวรรณภูมิ ซึ่งจะรวมมวยไทย มวยลาว ประดับเสรีของกัมพูชา และมวยในพม่า แต่ไทยไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าแต่ละชาติมีการชกมวยในรูปแบบของตนเอง อีกทั้งมวยไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติแล้ว ต่อมา กัมพูชาจึงไม่ร่วมแข่งขันมวยไทยในกีฬาซีเกมส์ พ.ศ. 2548
           
  มวยปล้ำกัมพูชา จะแข่งขันกันสามยก ผุ้ชนะในแต่ละยกคือผุ้ที่ดันคุ่ต่อสู้ให้ถอยหลังได้ ผุ้ชนะคือผุ้ชนะสองในสามยก ในระหว่างการแข่งขันจะมีการตีกลองให้จังหวะ แนิยมแข่งกีฬาชนิดนี้ในวันขึ้นปีใหม่เขมรและงานตามประเพณีอื่นๆ... (th.wikipedia.org/wiki/กีฬาในประเทศกัมพูชา)
               การแต่งกายของชาวกัมพูชา เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับไทยมาก่อน จึวมีลักษณะศิลปะเหมือนกับไทย เช่น ที่จังหวัด สุโขทัยมีศิลปะสมัยขอมอยู่มาก เช่น การทำตะกร้าหวาย เครื่องจักสาน เครื่องไม้ เครื่องเงิน ทองแดง ทอผ้าพื้นเมือง เรียกผ้าซัมปอด และผ้าปูม คนไทยสมัยนี้ก็ยังนิยมอยู่
               การแต่างการยของชาวกัมพุชาจะนุ่งผ้าซัมปอต เป็นผ้าทอมือ ถือว่าเป็นการ แต่างกายประจำชาติ สำหรับข้าราชการผุ้ใหญ่จะนุ่งผ้าโอลกับเสื้อมีกระดุมสีทอง ในงานพิธีจะนุ่ง ผ้าโตตจงกระเบนเวลาไปวัดจะนุ่งผ้าม่วง
               ผ้าซัมปอต มีท้งที่เป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหม มีหลายแบบ ถ้าเป็นผ้าที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะใช้เส้นใยพื้นเมืองทอ ถ้าใมช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทสญี่ป่นุ นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง
               ผ้าโอล เป็นผ้าที่วยงามประณีต และเก่าแก่ที่สุด จะเป้ฯผ้าทัดหมี่ชนิดหนึ่งเป็น ปบบที่มัดเส้นพุ่ง ผ้าโฮลที่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพแลเนื้อผ้าจะทอจาก กัมปะจาน และเทีอค ชอร์ ผ้าโอลจะมีลวดลาย
สำหรับผุ้หญิงและชาย เช่น ลายโกฎจะเป้ฯลายของผุ้ชาย ส่วนลายต้นไม้ ดอกไม้ เป็นของผู้หญิง แต่ในระยะหลังผ้า โอล์ จะใช้เฉพาะสตรีเท่านั้น การแต่งกาย หญิง นิยมนุ่งผ้าถุงสีดำ เน้ือมทัน คาดเขํ็มขัด ใส่เสื้อสี งานพิธีนุ่งผ้ายก พวกในวังักนุ่งผ้า โจงกระเบน ไว้ผมตัด ทานหมากจนฟันดำ ผู้ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิด ขัดกระดุมห้าเม็ด..(http://www.nuks.nu.ac.th..การแต่งการของชายเขมร)
                ชีวิตยามค่ำคืนที่พนมเปญ เมืองหลวงกัมพูชามีเสน่ไม่น้อยกว่าถนนข้าวสารของไทย ถ้าพูดถึงร้านอาหารแนวๆ ผับบาร์ ไนท์คลับ ในเมืองพนมเปญ ถือว่ามีอยู่มากกระจายอยู่ทั่วเมือง หลากหลายสำตลบ์ ทั้งญี่ปุ่น, เกาหลี และอาหารตะวันตก แต่ถ้าอย่างจะท่องเที่ยวแนวๆ ถนนข้าสาร หรือ สตรีท ผับ ในเมืองเสียมเรียบ ต้องมาที่  Pasteur Street ซึงกลางวันจะมีสถานที่ให้ช๊อปป้งของฝากและร้านขายของเป็นล๊อคเล็กๆ เรียกว่า โกล์เด้น โซรยะ มอลล์ รวมถึงร้านอาหารที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนในตอนกลางคือ ที่นี้เต็มไปด้วยผับบาร์และนักท่องเที่ยวต่างชาติื ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวตะวันตก ที่นี่ผับจะเป็น 3 ทุึ่น และปิด ตี5 ผับที่ได้รับความนิยม อาทิ Pontoon Vibe Pub จะเป็นแนวผับดีเจเปิดแผ่นเสียง, Howie's Bar ร้านนี้เป็นเพลิงแนวดิสโก้-เพลงแดนส์ มีสนุ๊กเกิให้เล่น, Heart of Darkness ผับเกย์ยอดนิยมที่สุดในเมืองพนมเปญ มีทั้งคนท้องถ่ินและชาวต่างชาติ..( http://www.nightphoomin.com./..พนมเปญ เที่ยวกลางคือนที่ไหนดี)

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

LifeStyle ASEAN (Brunei)

           
บูรไน บ้านเมืองสงบเรียบร้อย เป็นระเบียบ ไม่มีการขายเครื่องดื่อมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ประชากรมีรายได้สูงเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เน่องจากเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักมีประชากรเพียง 4 แสนคน ร้อยละ 80 เป็นข้าราชการ ชาวบรุไนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ในหความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามาก นิยมสินค้าแบรนด์เนมหรูหราราคาแพงและสินค้าฟุ่มเฟือยนำเข้าจากต่างประเทศ มีรสนยมทันสมัยและสนใจติดตามวัฒนธรรมตะวันตก  นิยมอาหารที่ผลิตตามหลักการของศาสนาอิสลาม ใส่ใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารมาก วัฒนธรรมการบริโภคอาหารคล้ายชาวมาเลเซีย..(http://www.rd.go.th.."ไลท์สไตล์ รสนิยม และวัฒนธรรมของคนประเทศต่างๆ ในอาเซียน")
            บรูไนเป็นประเทศที่นิยมการรับประทานอาหารทอดและใช้เคื่องเทศกับกะทิเป็นหลัก อาหารที่ขึ้นชื่ออาทิ "นาซิ เลอมัก" คือข้าวหุงกับกะทิและใบเตย หรือในประทเศไทยเรียก "ข้าวมัน" นั่นเอง รับประทานกับไก่ทอด หรือแกงกะรี่ไก้ และเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจะบันิกลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ
               " อุดัง ซามบาล ซีไร เบอซานตาน" เป็นลักษระคล้ายแกงกะหรีกุ้งราดข้าา ควรรับประทานร่วมกับไข่ต้มแตงกว่า และถั่วลิสง.."เรินดังเนื้อ" เป็นแกงเนื้อที่คล้ายพะแนงเนื้อของไทย เครื่องแกงของเรินดังมีสวนผสมของพริกแห้ง หอม กระเทียม ขิง ข่รา ตะไคร้ ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทร์ป่น พริกไทยมะหร้าวคั่วและแคนเดิลนัท เป็นอาหารที่สามารถทานได้ทุกมื้อ มักจะเเสิร์ฟพร้อมกับข้าวสวยและรับประทานกัเครื่องเคียงต่างๆ ได้แก่ ใบมันสำปะหลังลวกผักบุ้งลวก เป็นต้น.. "อัมบูยัต" ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก และตังวแป้งอัมบูบตไม่มีรชาต ควรรับประ
ทานขณะร้อๆ โดยใช้แท่งไม่ไผ่ 2 ขา ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสลไม้เปรี้ยว หรือซอสที่ทำจากกะปิ รับประทานคู่กับเครื่องเคียงดีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด เป็นต้น.."เกอตูปัต" ซึ่งจะเป็นข้าวห่อด้วยใบมะพร้าวสานเป็นรูปตะกร้อ ทรงสี่เหลี่ยม หรือข้าวเหนียวห่อด้วยใบกะพ้อสานเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนำไปต้ม ดดยชาวบรูไนจะรับประทนอาาหารชนิดี้กับสะเต๊ะ หรืออาหารจำพวกกแกงกะหรี่
                 การรับประทานอาหร ควรฝึกรับประทานด้วยมือเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวชาวบรูไน ควรเรียนรุ้การรับประทานอาหารควาร่วมกับชาวบรูไนที่มักมีข้าวเป็นอาหารหลัก และมีน้ำจิ้มปลาเค็ม และผักเป็นเครื่องเคียง ควรเลือกซื้อกาหารที่มีการปรุงตามวิธีฮาลาล เมื่อเชิญชาวบรูไนร่วมรับประทานอาหาร ชาวบรูไนนิยมอาหารฮาลาลที่ผลิตตามหลักการของศาสนาอิสฃลาม การปรุงอาหารของชาวบรุไนที่ใช้ "ส้มจี๊ด" เพื่อเพิ่มความเปรี้ยวในอหารชาวบรูไนไม่นิยมใช้มะนาวในการปรุงอาหาร
                 ชาวบรูไนนิยมอาหารรสค่อนข้างจัด ซึ่งมักประกอบด้วยเครืองเทศเป็นหลักในการปรุง การเดินรับประทานอาหารในที่สาธารณะ ชาวบรูไนถือว่าเป็นเรื่องไร้อารยธรรมรุแรง ประเทศบรูไนเป็นประเทศอิสลาม จึงไม่ควรสั่งอาหารที่ปรุงด้วยหมู่เมื่องร่วมรับประทานอาหารกับชาวบรูไน ไม่ควรรับประทานอาหารต่อหน้าชาวบรูไนในช่วงถือศิลอด และห้ามทุกคนในประเทศห้ามนั่งกินอหารในร้านอาหารในช่วงกลางวัน ในช่วงถือศีลอด แต่ซื้อกลับบ้านได้ และยังห้ามร้านอหาร รวมท้งสถานที่ทำงานทั้งหมดเป็นให้บริการในช่วงวันศุกร์ เวลา 12.00-14.00 น. เพราะเป็นวันสวดมนต์ใหญ่ ชาวมุสิมต้องเข้ามัสยิด ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ ห้ามโฆษณาอหารจำพวกจานด่วน ก่อเวลา 22.00 น. เพื่อป้องกันไม่ใ้เด็กๆ ติดอาหารเหล่านี้และเพื่อส่งเสริมการรับประทานอหารเชิงสุขภาพ
               
เมื่อร่วมโต๊ะกับชาวบูรไน ห้าสั่งอาหรต้องห้ามดังนี้ สัตว์ที่ตายเอง, เลือดสัตว์ ,สุนัข, สัตว์ที่ถูกฆ่าจากจุดประสงค์เพื่อบูชารูปเคารพ, สัตว์ที่เช่อโดยไม่ระบุนามของพระเจ้า, สัตว์ดุร้ายที่ใช้เขี้ยวจับเหยื่อเป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต , สัตว์ปีกที่ใช้กรงเล็บจับเหยื่อ เช่น เรเร้ง เหยี่ยว ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีผุ้ยื่นอาหารให้ เพราะถือเป็นการเสียมารยาทมาก หากต้องการปฏิเสธอาหารจานนั้นจริง ๆต้องใช้มือขวาและแตะที่จานอย่างสุภาพ เมื่อต้องการเชิญชาวบรูไนรับประทานอาหาร ควรของให้ชาวบรูไนเป็นผู้เลือกร้านอาหาร เพื่อเป็นการเลี่ยงปัญหาอาหารที่เป็นข้อห้ามของชาวมุสลิม
                ปันจักสีลัต เปนคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซีนมาจากคำว่าปันจัก หมายถึง การป้องกันตนเงอ และคำว่า สีลัต หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ใน ภาีพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซียน ดินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สต
ูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า "สิละ" "ดีกา" หรือ "บือดีกา" เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลา การเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านหล่าว่า สิลามีรากคำว่า สิลา ภาษาสันสกฤต
                 ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนนะรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีคำ สันสกฤตปรากฎอยู่มาก ประวัติวความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึงมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบาง บางตำนานว่า การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วดดยกำเนินที่เกาะสุมตรา ต่อมาผุ้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำนานว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา เชื่อ บูฮันนุดดินซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน เดินทางจาก มินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหนาผาสุงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดกลมกลืนกับสีนกกินปลา ึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเนื่องนิตย์ วันหนึ่ง ฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่น หมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมมอร์ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อนกลับไปใกล้
ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่่ามีชีวิต จิตใจ ฮามินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม่ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำแล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรับคว้าดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาไปนำลีลาการลอยของดอกบอมอร์มาประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสอง และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่ป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละ จึงเกิดขึ้นด้วยประการนี้..(www.nuks.nu.ac.th/.. ปันจักสีลัด..กีฬาประจำชาติ ของบนรูไนดารุสซาลาม)
                บรูไนเป็นประเทศมุสลิม จัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของศาสนาอย่างเคร่งครัด วิถีการดำเนินชีวิตของประชากรจึงเป็นไปตามหลักศาสนาดอสลาม ด้านความเป็นอยุนั้นสะดวกสบาย เนื่องจากเป็นประเทศที่ร่ำรวย รัฐมีเงินดูแลประชากรในเรื่องปัจจัยพื้นฐานเป็นอย่างดี คนบรูไนสวนใหญ่จึงไม่มีปัฐหาทางเศรษฐกิจมากนัก และส่วนใหญ่มีรถส่วนตัวใข้
                การแต่งการของชาวบรูไน ผู้ชาย สวนเสื้อแขนยาว คอปิด กระดุมผ่าหน้าถึงหน้าอก สวนหมวกหรือมีผ้าพันศีรษะ กางเกงขายาว โดยให้สีเสื้อและกางเกงเป็นสีเดียวกัน มีผ้าพันรอบเอว เป็นผ้ายกดิ้นหรือผ้าพ้น โดยนุ่งพับมาด้านหน้าทั้งสองพับ ผู้หญิง สวนเสื้อแขนยาว อกเสื้อผ่าหน้า ความยาวของตัวเสื้อคลุมสะโพกลงไป สวมผ้าคลุมศรีษะอย่างสตรีชาวมุสลิมทัวไป กระโปรงยาวมิดชิด เครื่องประดับก็จะมีมงกุฏเพื่เพิมความสวยงานอีกได้
                 สำหรับชุดของผู้ชายเรียกว่า Baju Melayu และชุดของผุ้หยิ.เรียกว่า Baju Kurung คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผุ้หญิ่งบรูไนจะแต่างกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสีนสดใสดดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผุ้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่านุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง..(www.nuks.nu.ac.th/.. การแต่งการประจำชาติ บรูไน)
                 สังคมบรุไน มีลักษระพื้นฐานที่ยึดหลักครอบครัวประชาชนมีความเป็นอยุ่อย่างสงบเรียบง่าย  ศาสนาอิสลามมีบทบามากในการกำหนดพฤติกรรมทางสังคม ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของศาสนามุสลิมและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด วัฒนธรรมบรุไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียนและอินโดนีเซียมา จึงมีประเพณี ภาษา และการแต่างกายที่คล้ายคลึงกัน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...