วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Royal tradition II

       
              เปิดตำนาน..!! "เผาจริง เผาหลอก" ธรรมเนียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพฯของพระมหากษัตริย์ในอดีต เพราะเหตุใดถึงต้องทำเช่นนี้??....
              การถวายพระเพลิง เป็นการน้อมส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายที่มีฐานานุศักดิ์สูงสู่สวรรคาลัยและผู้ที่สามารถประกอบพระราชพิธีในเขตกำแพลเมืองได้ (หรือที่เรียกว่า เมุกลางเมือง ซึ่งกระทำบริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้องสรามหลวงในปัจจุบัน) ต้องเป็นเจ้านายที่มีฐานานุศักิ์สูงเท่านั้น ส่วนเจ้านายที่มีฐานานุศักดิ์ไม่สูง ข้าราชการ และราษฎรทั่วไป ต้องไปประกอบพิธีนอกกำแพงเมืองทางประตูสำราฐราษฎร์ หรือ ประตูผี ดังนั้นจะเห็นว่าวัดในเขตกำแพงเมืองจะไม่มีเมรุเผาศพ
              ขั้นตอนของพระราชพิธีถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณีนั้นมีหลายขึ้นที่สำคัญ ตั้งแต่วันก่อนถวายพระเพิลง ซึ่งจะมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตไปสมโภชที่พระเมรุ พิธีอัญเชิญพระโกศพระบรมศพไปประดิษฐานที่พระมรุ และพิธีเวยนรอบพระเมรุ และใวันถวายพระเพลิงก็จะต้องอัญเชิญพระบรมศพออกมาสรงน้ำทำความสะอาดแล้วจึงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นพระดิษฐานเหนือพระจิตกาธานแล้วจึงถวายพระเพลิง ซึ่งช่วงเวลาที่พระราชทานเพลิงนั้นมักจะถวายพระเพลิงให้เสร็จภายในครั้งเดียว ไม่มีพิธีเผาศพ 2 ครั้งอย่างที่เรียกว่า เผาจริงและเผาหลอก
           
วิธีการเผาจริงและเผาหลอก ในขณะนั้นเรียกว่า เปิดเพลิง ดังความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกไว้เกี่ยวกับที่มาและความแพร่หลายของพธีเผาจริงและเผาหลอกว่า
              "แท้จริงเปนความคิดของพวกเจ้าพนักงานเผาศพหลวงในตอนปลายๆ รัชกาลที 5 เพื่อมิให้ผุ้ที่ไปช่วยงานเผาศพเดือดร้อนรำคาญเพราะกลิ่นแห่งการเผาศพ ในเวลาที่ทำพิธีพระราชทานเพลิงจึงปิดก้นโกษฐ์หรือหีบไว้เสียและคอยระวังถอนธุปเที่ยนออกเสียจากภายใต้ เพื่อมิให้ไฟไหม้ขึ้นไปถึง ตอนดึกเมื่อผุ้คนไปช่วยงานกลับกันหมดแล้ว จึงเปิดไฟและทำการเผาศพจริงๆ
               ...ดังนั้นจึงเกิดเปนธรรมเนียมขึ้นวว่า ผุ้ที่มิใช้ญาติสนิทให้เผาในเวลาพระราชทานเพลิง ญาติสนิทเผาอีกครั้ง เมื่อเปิดเพลิง กรมนเรศน์ เป้นผุ้ที่ทำให้ธรรมเนียมนี้เฟื่องฟูขึ้น และเป็นผุ้ตั้งศัพท์ เผาพิธี และเผาจริง ขึ้น.."
             ธรรมเนียมการเผาจริงเผาหลอก นี้เร่ิมช้ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 เป้นต้นมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอกเล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้รับการถวายพระเพลิงตามธรรมเนียมนี้www.welovemyking.com/38610/
             เดินสามหาบ (พิธีทางพุทธศาสนา) เดินสามหาบ เป็นคำที่ปรากฎในเอกสารเก่าในหมากำหนดการถวายพระเพลิงพระบมศพพระราชทานเพลิงพระศพ รวมทั้งในงานปลงศพของสามัญชนในอดีต ก่อนการเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ได้จัดพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าออกเป็ฯ 9 ชุด ชุดละ 3 คน ทำหน้าที่ถือและหาบสิ่งของต่างๆ คนที่หนึ่งถือผ้าไตร (ผ้าไตรสามหาบ) นำหน้า คนที่สองหาบสาเเหรกซึ่งวางตะลุ่มและเตียบบรรจุภัตตาหารถวายพระสงฆ์ (ภัตตาหารสามหาบ) คนที่สามถือหม้อข้าวเชิงกรานซึ่งเป็เตาไฟสำหรับตั้งหม้อหุงต้นในสมัยโลราณ ในหม้อใส่ข้าวสาร พริก หอม กระเที่ยม กะปี ฯลฯ เดินเวียนรอบพระเมรุมาศ พระเมรุโดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) 3 รอบ จากนั้นพระมหากษัตริย์เสด็จฯ ขึ้นบนพระเมรุมาศ พระเมรุ ทรงทอดผ้าไตรสามหาบบนผ้าที่ถวายุคลุมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ สมเด็จะพระราชาคณะ พระราชาคณะขึ้นสดับปกรณืบนพระเมรุมาศ แรพเมรุ จากนั้นทรงเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เสด็จฯ ยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประเคนภัตตาหารสามหาบแด่สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่สดับปกรณ์ผ้าไตร เมื่อรับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา
            ทั้งนี้ ในพระราชพิธีปัจจุบันยกเลิกการเดินสามหาบรอบพระเมรุมาศ พระเมรุ คงไว้แตเพียงการถวายผ้าไตรสามหาบก่อนเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิ และถวายถัตตาหารสามหาบเมื่อเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระอัฐิมาประดิษฐานบนบุษบก เหนือพระแท่นแว่นฟ้าทอง ณ พระที่นั่งทรงธรรม ดดยภัตตาหารสามหาบจัดตามพระเกี่ยติยศคือ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี จัด 3 ชุด (เก้าสำรับ) ชั้นเจ้าฟา จัด 2 ชุด (หกสำรับ) ชั้นพระองค์เจ้าจัด 1 ชุด (สามสำรับ)
            มีข้อมูลจากสำนักรชยัณฑิตยสภาว่า เดินสามหาบเป้ฯคำเรียกพิธีกรรมอย่างกนึ่งที่ทำเมื่อเผาศพแล้ววันรุ่งขึ้นเจ้าภาพจะต้องไปเก็บอัฐิเพื่อนำมาเก็บในที่อันควร และนำเถ้าที่เหลือไปลอยน้ำ เรียกว่าลอยอังคารในการเก็ฐอัฐิเดิมลูกหลานจะจัดข้าวของและอาหารเป็นหาบ 3 หาบ พันไม้คานด้วยผ้าขาว ข้างหนึ่งของหาบมีหม้อข้าว หม้อแกง เตาไฟ ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม กะปิ ซึ่งลวนเป็นเสบียงอาหารแห่ง หาบอีกข้างหนึ่งบรรจุข้าวและอาหารควาหวานที่ทำสุกแล้ว ทำดังนี้ทั้ง 3 หาบ
            ในสมัยโบราณจะให้ลุกหลาน 3 คนแต่งกายสีขาว นำหาบทั้งสามไปเดินเวียนรอบที่เผาศพ กู่ร้อง 3 ครั้งแล้วนำหาบทั้ง 3 นั้นไปถวายพระภิกษุ 3 รูป พร้อมกับผ้าลังสุกุลอีกรูปละ 1 ชุด เมื่อพระชักผ้าบังสุกุลและรับถวายหาบแล้วก็เสร็จพิธี
            ปัจจุบันมักไม่ใช่้หาบ แค่จัดอาหารใส่ปิ่นโต หรือถาดตามสะดวก ก็เรียกว่าทำสามหาบเช่น เดียวกน ทั้งนี้ คำว่าสาม ในเดินสามหาบ และทำสามหาบ ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือ http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNekF6TVRBMk1BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE55MHhNQzB3TXc9PQ==
             ในพระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนถบพิตร ในวันที่ 27 ต.ค. 2560 จะมีพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและพระบมราชสรีรางคาร และจะมีการจัดร้ิวขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เพื่อเชิญพระโกศพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศสู่พระบรมมหาราชวัง

พิธีอัญเชิญพระบรมอัฐิ-พระบรมราชสรีรางคาร
              การเก็บพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร เป็นพิธีที่กระทำขึ้นหลังจากการถวายพระพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้วโดยประกอบพิธี ณ พระจิตกาธาน เมื่อเสด็จขึ้นพระเมรุมาศ เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลุมพระบรมราชสรีรางคารทรงสรงพระบรมอัฐิด้วยน้ำพระสุคนธ์เจ้าพนักงานแจงพระบรมอัฐิ โดยเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร เรียงเป็นลำดับให้มีลักษณะเหมือนรูปคน หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก จากนั้นหันพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคารที่แจงไ้มาทางทิศตะวันออกเรียกว่า ปแรพระบรมอัฐิ แล้วจึงถวายคลุมด้วยผ้า
             
การเก็บพระบรมอัฐิจะเลือกเก็บแต่ละส่วนของพระสรีระอย่างละเล็กน้อย พ้อมกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานสงศ์ฝ่ายในที่ได้รบพระบรมราชานุญาตขึ้นรับพระราชทานพระบรมอัฐิไปสัการบูชา แล้วทรงประมวลพระบรมอัฐิบรรจุพระโกศ หลังจากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
              ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญลงบรรจุในพระผอบโลหะปิดทองประดิษฐานบนพานทองสองชั้นคลุมผาตาดพักรอไว้บนพระเมรุมาศ
              พระบรมราชสรีรางคาร คือ เถ้าถ่านที่ปะปนกับพระบรมอัฐิช้ินเล็กช้อนน้อยของพระบรมศพพระมหากษัตริย์ มเด็จพระราชินี และสมเด็จพระบรมราชกุมารีที่เผาแล้วซ฿่งอาจเรียกว่า พระสรีรางคาร ตามลำดับพระอิสริยยศของพระบรมวงศ์และเรียกว่า อังกคารสำหรับสามัญชน
               การบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นขึ้นตอนสุดท้ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระบรมรชบุพการี และสมเด็จพระบรมราชินี เกิดขึ้นครั้งแรกในคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุำเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเหล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมการลอยพระบรมราชสรีรางคาร และโปรดให้เขิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชภายในพระอุโลสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จึงกลายเป็นธรรมเนียมในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระสรีรางคารไปประดิษฐานในสุสานหลวงหรือสถานที่ควรแทน โดยเจ้าพนักงงานจะเชิญพระบลรมราชสรีรางคารจากสถานที่ที่พักไว้แล้วจัดขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังสถานที่บรรจุอันเหมาะสม
               พระบรราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเชิญไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมาหสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร
                สำหรับร้ิวขบวนพระะบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 4 ในวนที่ 27 ตุลาคม 2560 จะเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ โยพระที่นั่งราเชนทรยาน และพระบรมราชสรีรางคาร ดดยพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย จากพระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงสู่พระบรมมหาราชวัง ดดยพระบรมราชสรีรางคารจะแยดเข้าวัยพระสณีรัตนศาสดารามเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพักไว้ที่พระศรีรัตนเจดีย์ ส่วนพระโกศพระบรมอัฐิจะอัญเชิญเข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานที่บุษบกแว่นฟ้าท่องhttps://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000108941
              พระโกศพระบรมอัฐิ "พระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 เรื่อง พระโกศพระบรมอัฐิสำหรับพระมหากษัตริย์"

             นอกจากพระโกศทองใหญ่ที่ใช้ทรงพระบรมศฑพระมหากษัตริย์เมื่อสวรรคตแล้ว หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศฑ พระบรมอัฐิจะได้รับการบรรจุไว้ในพระโกศพระบรมอัฐิที่สร้างขึ้นตามอย่างพระโกศทองใหญ่แต่มีขนาดย่อมกว่า การสร้างพระโกศพระบรมอัฐิที่ถายอย่างมาจากพระโกศทรงพระบรมศพ คงมีมาแล้วอย่างข้าก็ตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในกระบวนเชิญพระบรมอัฐิและพระสรีรังคารที่คัดลอกจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดยม จังหัดพระนครสรีอยุธยา แสดงภายพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานในพระที่นั่งราเชนทรยาน
       
 พระโกศพระบรมอัฐิที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มักซ้อนกัน 2 ชั้น "ชั้นใน" เป็นถ้ำศิลาหรือลองศิลา "ช้ันนอก" เป็นพระโกศแปดเหลี่ยมยอดทรงมงกุฎเช่นเดียวกับพระโกศทองใหญ่ ทำจากทองคำลงยาประดับเพชรพลอย เครื่องประดับ ทั้งดอกไม้เอว ดอกไม้ฝา พู่และเฟือง รวมไปถึงดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ทำจากเงินพระดับเพชร เช่นเดียวกับที่ประดับพระโกศทองใหญ่ ยอดพระโกศพระบรมอัฐิยังสร้างไว้ต่างกัน 2 แบบ ถอดเปลี่ยนสลับได้ตามวาระการใช้งาน กล่าวคือ ตามปกติเมื่อประดิษฐานบนพระวิมานในหอพระบรมอัฐิ จะสวมยอดปักดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อเมื่อเชิญพรดิษฐานในการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานจะถอดยอดนันช้นออกแล้วปักพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรตามพระบรมราชอิสริยยศเป็นฉัตรทองคำฉลุลาย 9 ชั้น ยอดพรหมพักตร์ ภายในกรุผ้าขาว เช่นที่ใช้ทำระไบเศวตฉัตรทุกขั้น
             การสร้างพระโกศพระบรมอัฐิสำหรับพระมหากษัตริย์ ยังมีความแตกต่างกันระหว่างพระมหากษัตริย์ที่ทรงมพระราชโอรสสืบราชสัตติวงศ์เป็นพระมหากษัริย์ และที่ไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์ด้วย ตามพระราชนิยมที่พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสไว้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" ดังนี้
             "เรื่องพระโกษฐ์พระบรมอัษฐิมีพระราชกระแสขอทูลกระหม่อม (รัชกาลที่ 5) ปรากฎอยู่ในพระราชหัตถเชขาฉบับ 1 ว่า ทูลกระหม่อมปู่ (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงแสดงพระราชนิยมไว้วว่ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดมีพระราชโอรสเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบสันตติวงศ์สนองพระองค์ให้ใช้พระโกษฐ์เปนกุดั่น
ประดับพลอย แต่ถ้าเปนพระเจ้าแผ่นดินเฉพาะพระองค์ให้ใช้เปนลงยานาชาวดี ที่ทุลกระหม่อมปุ่ทรงตั้งเกณฑ์ขึ้นเช่นนี้ พอเดาได้ว่ทรงมุ่งหมายสำหรับพระโกษฐ์พระบรมอัษฐิแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น แต่ครั้งจะมีพระราชดำรัสออกมตรงๆ ก็กระไรๆอยู่ จึงได้มีพระราชกรแสรอย่างที่ปรากฎอยู่นั้น" (ราม.วชิราวุธ 2545,135-136) (ุผู้เขียนอธิบายความในวงเล็บ)
             พระราชนิยมดังกล่าวซึ่งเร่ิมใช่ตั้งแต่พระโกศพระบรมอัฐรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา อาจสอดคล้องกับการที่พระโกศพระบรมอัฐิ รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 สังเกตได้ว่าองค์พระโกาศป็นทองคำลงยา ด้วยไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์
             ขณะที่พระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 องค์พระโกศเป็นทองคำประดับพลอยแบบที่เรียกว่ากุด่น ด้วยทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศื จึงอาจแสดงให้เห็นว่าพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 ดังกล่าวยังคงได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาในราชสำนัก ทั้งนี้ ยกเว้นพระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 6 ซึ่งปรากฎการประดับเพชรพลอยเป็นกุดันแต่ก็มีปริมาณน้อยกว่าที่ปรากฎในพระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 5 https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6059

              พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติในหลวงรัชกาลที่ 9 ประวัติศาสตร์ต้องจารึก...
              มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่

              1. พระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะอัญเชิญประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป้ฯพระโกศทองคำลงยาประดับเพชร 9 เหลี่ยม ออกแบบโดย นายอำพล สัมมาวุฒธิ
              2. พระโกศ ทองคำลงยาประดับพลอย 8 เหลี่ยม มีจำนวน 4 องค์ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ออกแบบโดย นายณัฐพงศ์ ปยมาภรณ์
             3. พระโกศทองคำลงยาประดับพลอย 8 เหลี่ยม ทูลเหล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ออกแบบโดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
              สำหรับพระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะนำไปประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระทีนั่งจักรีมหาปราสาทซึ่งจะเชิญออกในการพระราชพิธีสำคัญของแผ่นดินที่มีการบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณาณุปทาน กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ กลุ่มปรณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรเป็นผุ้ดำเนินการจัดสร้าง
               รูปทรงโดยทั่วไปของพระโกศองค์นี้ได้ศึกษาจากภาพถ่ายของพระโกศทรงพระบรมอัฐิอดีตบูรมหากษัตริย์ไทยทั้งจากเอกสารหนังสือ ภาพากสือสารสนเทศและแบบผลวานการออกแบบพระโกศพรอับิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้ศึกษาจากผลงานอดีตบรมครูช่างศิลปกรรมไทย ศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นแบบอย่างอีกชั้น โดยพระโกศพระบรมอัฐิ ได้ออกแบบเป็นพระโกศเก้าเหลี่ยมตลอดองค์ยกเว้นสวนยอดที่เป็นก้านของพุ่มข้าวบิณฑ์และก้านของสุวรรณฉัตรฉัตร 9 ชั้นจะเป็นทรงกลม ซึ่งลักษณะโดยรวมตามแบบอยางของพระโกศพระบรมอัฐิและพระโกศพระอัฐิที่มีการสร้างสืบตามกันมาตามพระราชประเพณี
           

         องค์ประกอบขององค์พระโกศประกอบด้วยส่วนต่างๆ จำนวน 5 ส่วน
         1. ส่วนฐาน เป็นฐานสิงห์ตามพระเกี่ยติยศสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าส่วนของฐานที่จะต่อเข้ากับองค์พระโกศ (เอวพระโกศ) จะมีพื้นที่สำหรับตั้งลายดอกไม้เอว
          2. ส่วนองค์พระโกศ เป็นลายกลีบบัวจงกล ตามแบบของพระโกศที่นิยมสร้างสรรค์สืบต่อกันมา กลีบบัวนี้ซ้อนขึ้นไปหาปากพระโกศ จำนวน 4 ชั้น ตรงกลางทำเป็นพระนามาภิไธยย่อ ภปร ส่วนขอบปากองค์พระโกศประกอบด้วย ลายบัวคว่ำ ท้องไม้ แนวลวดบัวหงาย และหน้ากระดานบนเป็นพื้นเรียบ เพ่อบอกระยะสุท้อยขององค์พระโกศ ที่ส่วนหน้ากระดานบนนี้จะวางแนวห่วงสำหรับประกอบลายเวื่องอุบะอยู่มุมของเหลี่ยม
           3. ส่วนฝาพระโกศ ทำเป็นทรงมงกุฎเกี่ยวมาลัยทองเรียงลำดับขึ้นไป ชั้นที่ 1, 2, และ 3ทำเป็นลายประจำยามก้ามปู โดยดอกประจำยามถูกแทนที่ด้วยลายดอกไม้ประดับรัตนชาติพื้นลายลงยาสีแดง
           4. ส่วนยอดพระโกศ สร้างเป็นสองแบบ ได้แก่ สร้างเป็นพุ่มข้าบิณฑ์ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับรัตนชาติ และแบบที่สองสร้างเป็นสวรรณฉัตร คือ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร 9 ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ
           5. เครื่องประดับพระโกศ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ ประกอบด้วย ดอกไม้เอว ทำเป็นช่อดอกประกอบใบเทศ ปักอยุ่หลังชั้นกระจังขอบเองพระโกศบริเวณมุมของเหลี่ยม 9 ช่อ และตรงกลางแต่ละด้าน 9 ช่อ ในแนวระนาบเดียวกัน รวม 18 ช่อ
                     - ช่อดอกไม่ไหว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกไม้เพชร ปักเหนือชั้นกระจังเหนือังถลาบริเวณมุมของเหลี่ยม 9 ช่อ และตรงกฃลางแต่ละด้าน 9 ช่ รวม 18 ช่อ และเหนือกระจังชั้นเกี่ยว อีก 3 ชั้น บริเวณมุมของเหลี่ยม ชั้นละ 9 ช่อ รวม 27 ช่อ รวมทั้งสิ้น 45 ช่อ มีรูปลักษณฑเช่นเดียวกับดอกไม่เอวแต่จะมีขนาดใหญ่ เล็กลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของขั้นเกี่ยว
                     - เฟืองอุบะ สร้างเป็นดอกเรียงร้อยต่อกันตามแนวนอน โดยปล่อยให้ดอกกลางห้อยหยอ่นลงอย่างเชือกตกท้องช้าง จากส่วนปลายแต่ละข้างที่มีขนาดดอกเล็แล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจนดอกกลางมีขนาดใหญ่สุด เรียงช่วงละ 11 ดอก มี 9 เฟื่อง ตรงช่วงต่อของเฟือ่งแต่ละแถวห้อยอุบะมีลักษระคล้ายพวงดอกมะลิตูมจับกลุ่มเป็นทรงดอกบัวตูมท้ิงยอดลงมีดอกรักครอบทับเป็นชั้นเรียงขนาดเล็กลงมาหาใหญ่ ทั้งหมดมี 9 ชุด
                    - ดอกไม้ทิศ สร้างเป็นดอกประจำมุมเหลี่ยม และประดับประจำด้าน ของเกี่ยวมาลัยทองฝาพระโกศชั้นล่าง จำนวน 18 ดอก ประดับเฉพาะประจำมุมเหลี่ยมของเกี่ยวชั้นที่ 2 และ 3 ชั้นละ 9 ดอก รวม 18 ดอก ประดับเฉพาะประจำมุมเหลี่ยมของเกี่ยวชั้นที่ 2 และ 3 ชั้นละ 9 ดอก รวม 18 ดอก และประดับประจำด้านของเกี่ยวชั้น 4 จำนวน 9 ดอก รวมทั้งิส้น 45 ดอก จะมีขนาดใหญ่ เล็ดลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของขั้นเกี้ยว
           โดยสรุป ลักษณะดดยรมของพระโกศพระบรมอัฐิขงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นพระโกศทรงเก้าหลี่ยม ยอดทรงมงกุฎ จัดสร้างด้วยทองคำลงยาสี ประดับรัตนชาติ ยกเว้นสวนประกอบอื่น ได้แก่ พุ่มข้าวบิณฑ์ยอดพระโกศ ดอกไม้เอว ดอกไม้ไหว และเฟื่องอุบะ  ตามจำนวนที่กล่วขั้นต้นที่สร้างด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ มีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร 9 ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ สำหรับเปลี่ยนแทนยอดพุ่มข้าวบิณฑ์เมื่อัญเชิญออกประดิษฐานในพระราชพิธีและมีพระโกศศิลาขาวที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวล สำหรัีบทรงพระบรมอัฐิอยู่ภายในพระโกศทององค์นี้
           ขนาดของพระโกศ ฐานกว้าง 20 ซม. หากวัดจากฐานถึงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ สูง 80 ซม. เมื่อวัดจากฐานถึงยอดพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร สูง 99 ซม. รัตนชาติที่ใช้ประดับพระโกศและส่วนประกอบต่างๆ เป็นเพชรเจียระไนสีขาวทั้งสิ้น ส่วนยาสีที่ใช้ตกแต่งพระโกศเป็นประเภทยาสีร้อน มีสามสีได้แก่  สีเหลือง สีแดง และสีเขียว
           สีเหลือง หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพ
           สีแดง หมายถึง สีแห่งพลัง ความเข้มแข็ง การหลอมรวมดวงใจของคนในชาติ
           สีเขียว หมายถึง สีแห่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แห่งประเทศด้วยพระเมตตาบารมีแด่ปวงประชาชนทุกภาคส่วน
            นอกจาพระโกศทองลงยาแลพระโกศสิลาแล้ว ยังมีเครื่องประกอบที่เกี่ยวเนื่องอีก 2 ชิ้น ได้แก่ แป้นกลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน 1 ชิ้น สำหรับรองรับฝาพระโกศ และฐานไม้กลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน 1 ชิ้น สำหรับรองรับยอดพระโกศที่เป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือที่เป็นพระนพปฎลหาเศวตฉัตร เมื่อมีการถอดผลัดเปลี่ยนกันในงานราชพิธี
          

           พระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที 9 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทำด้วยทองคำจำหลักลงยาประดับเพชรทั้งองค์ ยอดเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ สามารถอดเปลี่ยนกับยอดนพปฎลมหาเศวตฉัตรทองคำเมื่องต้องอัญเชิญออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ เป็นผุ้ทำพระโกศ ทองคำถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 หนัก 4 กิโล 175 กรัม ่ต่อองค์...http://www.tnews.co.th/contents/371471

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Royal tradition

         พระบรมโกศ หรือ พระโกศทรงพระศพ ตามโบราณราชประเพณี
         พระบรมโกศ หรือพระโกศ คือ ภาชนะเครื่องสูง สำหรังรรจุพระบมศพของพระมหากษัตริย์หรือพระศพของพระบรมวงศ์ นอจากนี้ยังมีโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูงซึ่งการใช้โกศบรรจุพระศพพระราชวงศ์ไทยเป็นธรรมเนียมทำกันมานานแล้ว แต่ไม่มีผุ้ใดทราบแน่ชัดว่าเร่ิมมาตั้งแต่สมัยใด ทราบเพียงว่ามีหลักฐานการใช้พระโกศในสมัยกรุงศรีอยุธยา
          ลักษณะพระโกศมีรูปทรงกระบอก ปากผาย ก้นสอบเล็กน้อย มียอดแหลม ผาทรงกรม อาจแยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเป็น 2 ประเภทคือ พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ และพระโกศพะบรมอัฐิหรือพระอัฐิ สำหรับพระโกศพระบรมศพมี่ 2 ชั้น คือ
          - ชั้นนอก เรียกว่า "ลอง" ทำด้วยโครงไม้หุ้มทองปิดทอง ประดับกระจกอัญมนี ใช้สำหรับประกอบปิด"โกศชั้นใน"
          - ชั้นใน เรียกว่า "กศ"ทำดวยเหล็ก ทองแดงหรือเงิน ปิดทองทั้งองค์
          เมื่อเชิญพระบรมศฑลงสถิตในพระโกศแล้ว จังเชิญเอา "พระลอง" หุ้มพระโกศอีกชั้นหหนึ่ง ต่อมานิยมเรียกพระลอง เป็นพระโกศแทน จนเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

             พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยโปรดให้รื้อทองที่หุ้มพระโกศกุดันมาทำพระโกศทองใหญ่ขึ้นไว้สไหรับพระบรมศพของพระองค์ เมื่อทำพระโกศองค์น้สำเร็จแล้ว จึงโปรดให้เอาเข้าไปตั้งถว่ายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทว่าในปีนั้นสมเ็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ จึงโปรดให้เชิญพระโกศท่องใหญ่ไปประกอบพระศพเป็นครั้งแรก จึงเกิดเป็นประเพณีใรัชกาลต่อมาที่มีการพระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นนอกจาพระบรมศฑได้ และได้ใช้ทรงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระศพเจ้านายในพระบรมราชวงศ์สืบต่่อมาทุกรัชกาล
            พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่ห้ว โปรดเหล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทรงสร้างถวายเมื่อ พ.ศ. 2443 เป็นพระโกศแปดเหลี่ยมยอด ทรงมงกุฎ ทำจากไม้หุ้มทองคำประดับหลอยขาว โดยทั่วไปเชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพระลอง เป็นการชั่วคราว แทนพระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 1 ซึ่งต้องเชิญออกไปขัดแต่งก่อนออกพระเมรุ ทำให้เรียกกันว่าพระโกศทองรองทรง
            ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวิจารณ์ว่า ควรเรียกพระโกศทองใหญ่ เพราะมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเพื่อใช้ทรงพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายที่มีศักดิ์สูงพร้อมกัน จึงมีศักดิ์เสมอด้วยพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 เช่นกัน และใช้ทรงพระศพเจ้านายสืบมา เช่น พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, พระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัฒฒวดี และใช้ในการพระบรมศพ พระบาทสมเด้จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรณเบญจดลภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
              พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 5 ค่อนข้างชำรุดเพราะผ่านการใช้งานมาหลายคราวแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงโปรดเหล้าฯ ให้สร้างพระโกศทองใหญ่ขึ้น เมื่อราว พ.ศ. 2543 นับเป็นพระโกศทองใหญ่องค์ที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป้ฯพระโกศแปดเหลี่ยม ยอดทรงมงกุฎทำจากไม้หุ้มท่องคำ ประับพลอยขาวทรวดทรงและลวดลายผสมผสานกันระหว่างพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 5 ยอดพระโกศปักพุทมดอกไม้เพชร, ฝาพระโกศ ประดับดอกไม้ไหว ดอกไม้เพชร, ปากพระโกศ ห้อยเฟืองเพชร ระย้าเพชร อุบะดอกไม้เพชร, เอวพระโกศ ปักดอกไม้เพชร ใช้ในการพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นครั้งแรก

             การอัญเชิญพระศฑลงพระโกศ ในส่วนของการบรรจุพระบรมโกศ หรือพระโกศนั้นตามคตินิยมของพราหมณ์เชื่อว่า เมื่อพระมหากษัตริยืและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพลงในพระโกศ โดยต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์
            โดยจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 กล่าวถึงการทำสุกำพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทำให้เป็นแบบแผนและวิธีการแต่ครั้งอดีตว่า เร่ิมจากการถวายเครื่องสำหรับค้ำพระเศียร คือ ไม้กาจับหลัก หรือ พระปทุมปัตนิการ รองที่พระบาท (เท้า) ซึ่งมีก้านออกมาค้ำพระหนุ (คาง) ให้พระเศียรอยู่ในท่าที่เหมาะสม อาจเพื่อให้พระเศียรไม่ก้มต่ำลงมาหรือขยับเขยื้อน ก่อนจะจัดพระอิริยาบทให้อยูในท่านั่งต่อไป
             หลังจากถวายเครื่องค้ำพระเศียรแล้วจึงถวาย พระกัปปาสิกะสูตร (ด้ายสายสิญจน์หรือด้ายดิบ)ทำสุกำพระบรมศพหรือมัดตราสัง แล้วเตรียมผ้าห่อเหมี้ยง รหือ พระกัปปาสิกะเศวตพัสตร์ (ผ้าฝ้ายสีขาว) ปูซ้อนกันเป็นรูปหกแฉก แล้วเชิญพระบรมศพให้ประทับในท่านั่งเหนือผ้านั้น แล้วรวบชายผ้าไว้เหนือพระเศียรซึ่งจะปล่อยชายผ้าไว้สำหรับผุกพระภูษาโยงสดับปกรณ์ จากนั้นห่อด้วยผ้าตั้งแต่พระบาท (เท้า) พันขึ้นไปจนถึงพระกัณฐฐา (คอ) แล้วเหน็บไว้ หลังจากนั้นจึงเชิยพระบรมศพลงพระโกศหนุนด้วยหนอนโยรอบเพื่อกันเอียงเป็นเสร็จขั้นตอน
            อย่างไรก็ตามได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อรั้งงานพระบรมศพสมเด็จพระศรรีนครินทราบรมราชชนนี (โดย แผนเพจ คลังประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศ) เมื่อคราวสมเด็จย่าสวรรคตนั้น พระองค์ได้รับสั่งว่าให้นำท่านลงหีบ ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งนี้เกิดขึ้นเมื่อคราพิธีสรงน้ำสมเด้จพระราชินี ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งสมเด็จย่าเสด็จอ้วย และได้เห็นการทำพระสุกำหรือมัดตราสังพระบรมศพแล้วอัญเชิญลงสู่พระบรมโกศ เป็นไปด้วยความทุลักทุเล พระองค์ จึงตรัสว่า "อย่าทำกับฉันอย่างนี้ อึดอัดแย่"
หีบพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ัชการที่ 9
สร้างจากมไ้สักทองอายุนับร้อยปีปิทองแท้ร้อยเปอร์เซ็นทั้งใบ
             ด้วยเหตุนี้ งานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี เมื่อ พ.ศ. 2538 ก็ได้เปลี่ยนมาเป้นการเชิญลงหีบพระศพแทน เช่นเดี่ยวกับงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึงสามารถทำได้รามพระราชอัธยาศัย ดังนั้นในพระโกศจึงไม่มีพระบรมศพสถิตอยู่ ตั้งไว้เพื่อเป็นพระเกี่ยติยศเท่านั้น ส่วนหีบทรงพระบรมศฑประกิษฐานหลังพระแท่นโดยมีฉากกั้นอยู่
              อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการบรรจุพระศพลงพระโกศ หรือบรรจุศพลงโกศนั้นยังคงมีอยู่ เพียงแต่จะบรรจุลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับพระทายาทหรือทายาท ซึงงานพระศพเจ้านายบางพระอค์ก็ยังบรรจุศพลงโกศเหมือนแต่ก่อน...hilight.kapook.com/view/143615
            ลักพระศพ
            น้ำตาไหลเลย!!!...ลัก "พระศพแล้ว" นักข่าวดังเผยเมื่อหัวค่ำที่สนามหลวง
            ภายใต้ความโศกเศร้าของพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ที่ได้มาร่วมกันสักาาระพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นก็ได้มีภาพที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี ความสมัครสมานสามัคคีและความมีน้ำใจของคนไทยออกมามากมายจนถึงวันนี้..
            ซึ่งมีเรื่องหนึ่งที่หลายคนคงไม่รุ้มาก่อน โดยล่าสุดทางผุ้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Wassana Nanuam ได้โพสต์เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความและคลิปวิดีโอขณะทีเจอขบวน "การลักพระศพ" ในหลวง รัชกาลที่ 9 ประทับที่พระเมรุมาศ กลางสนามหลวง ซึ่งตามประเพณีจะทำก่อนวัน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบมศพ จะมาถึงอีกหนึ่ง แม้จะเป้นการทำแบบเงี่ยบ แต่หลับทำให้บรรดาพสกนิกรไทยที่พบเห้นใจหายไปตามๆ กัน โดยได้ระบุข้อความว่า...
             "ในหลวง ร.9" ทรงมาประทับที่ พระเมรุมาศ กลางสนามหลวงแล้ว..การ"ลักพระศพ"จากเวลา 19.49-20.18 น. ...เสร็จสิ้น..." ร.10 เสด็จกกลับ ส่วน สมเด็จพระเทพฯ กลับเข้าวัง อีกครั้ง   ใจหาย!!! เป็นการสันนิษฐาน จากการดูด้วยสายตา แลอยู่ในบริเวณนี้ แม้จะเป็น ว.5"
              โดยต่อมาทางผุ้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Wassana Nanuam ได้ออกมาเผยแพร่ข้อความพร้อมคำชี้แจ้งถึงเรื่องราวที่มีกาอัญเชิญ "พระศพ ไปขึ้นพระเมรุมาศ ก่อนวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จะมาถึง ถูกเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ พร้อมระบุข้อความว่า"
              "กำลัง สารวัตรทหารเรือ" มาวางกำลัง ยืนยามโดยรอบสนามหลวงแล้ว...มีคำชี้แจงว่า..ประเพณี หรือ พิธีลักพระศพ ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อเท่านั้น ว่า มีการอัญเชิย พระศพ ไปขึ้นพระเมรุมาศ ก่อน ....แต่ก็ไม่เคยมีหลักฐานว่ามีเกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับครั้งนี้ ก็เป็นแค่การสันนิษฐาน จากที่อยุ่ในบริเวณโดยรอบ แต่ไม่ได้เห็นด้วยตา ใกล้ๆ แต่าการที่ได้อ่านในสื่อหลายแขนงว่า จะมีพิธีนี้...จึงคอยเฝ้าดู จากพื้นที่ โดยรอบเท่านั้น..การพิธี แบบนี้มีจริงหรือไม่ ไม่มีใครพิสูจน์ได้ เป้นแค่ความเชื่อ เท่านั้น"...www.today.jackpotded.com/4638/
              ที่มาธรรมเนียม "ลักพระศพ" ก่อนเคลื่อนริ้วขบวนพระราชพิธีฯ ทำในเวลากลางคืน
               พระราชพิธีพระบรมศพและการทำพระศพเจ้านายแต่ดั้งเดิม มีธรรมเนียมซึ่งเรียกว่า "ลักพระศพ" หรือ "ลักศพ" โดยเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมงานก่อนวันถวายพระเพลิง หรือพระราชทานเพลิง โดยเจ้าพนักงานที่รับผิดชอบจะอัญเชิญพระบรมศพ หรือ พระศพจากที่ประดิษฐานเวลากลางคืนมายังพระราชยานหือ ยานพาหนะเพื่อตั้งกระบวนรอที่จะเคลื่นไปยังพระมรุหรือเมรุในเช้าวันนั้น
             
 ทั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกาลสมัย เมื่อปี พ.ศ.2430 ในงานพระศฑของสมเด็จเจ้าหฟ้ามหามาลา ที่ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ให้รายละเอียดในงานพระศพครั้งนั้นความว่า "ณ วันอาทิตย์ ขึ้นสามค่ำ เป็นเตรยมชัดพระศพ ครั้งเวลาค่ำได้ตั้งขบวนแห่แต่วังสมเด็จฯ เจาฟ้ามหามาลา เชิญพระศพไปลงเรือที่ท่าพระล่องลงไปขึ้นที่ศาลต่างประเทศ ตั้งขบวนแห่งเชิญพระศพไปขึ้นพระมหาเวชยันตราชรถที่หน้าวัดเชตุพนเป็นการเงียบอย่างลักพระศพ
             อนึ่ง การลักพระศพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกพระศพ แต่จะเกิดขึ้นกับบางกรณีเท่านั้น เช่น วังที่ตั้งพระศพนั้นอยุ่ไกล หรือ อยุ่อีกฝั่งของแม่น้ำ ห่างไกลจากวัดจากพระเมรุ ที่จะทำการพระราชทานเพลิง ดังนั้น การลักพระศพก็คือ กาอัญเชิญพระศพมายังสถานที่ ที่สะดวกต่อการจัดริ้วขบวน และที่สำคัญคือเป็นรย่นเวลาให้เร็วขึ้น...www.yumzaap.com/6179
            คำว่า "ลักพระศพ"เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของเจ้าพนักงานภูษามาลาที่มช้พุดถึงขั้นตอนการอัญเชิญพระศพไปยังพระเมรุกอ่นงานพระราชพิธี จะรีบกระทำในเวลากลางคือ หรือเช้ามือก่อนงานพระราชพิธี โดยจะอัญเชิญพระโกศทรงพระศพออกจากตำหนัก หรือวังที่ประทับ ขึ้นยังพระราชยานรถม้า หรือราชยานคนกาม ไปยังสถานที่ใดทีหนึ่งเืพ่อตั้งรอริ้วขบวนงานพระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในตอนเช้า ดังตัวอย่งเหตุการณ์ลักรพะศพที่เคยบันทึกไว้ข้างต้น..royal.jarm.com/view/99200
           

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Royal Cremation Ceremony

              พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
              ประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นผุ้นำในการก่อตั้งพระราชอาณาจักรแล้ว ยังทรงทำนุบำรุงสร้างศิลวัฒนธรรม และระเบียบประเพณีต่างๆ ในการดำรงชีวิตให้เป็นมรดกของชาติสืบทอดมา หลักฐานที่กล่าวถึงการจัดพระราชพิธีพระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดปรากฎอยุ่ในหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง
               การจัดพิธี พระบรมศพ นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานเรื่องการ พระบรมศพ เช่นเดียวกับสมัยรุปแบบของอยุธยาตอนกลาง ในพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงเฉพาะลักษณะพระเมรุ มิได้กล่าวถึงรายละเอียดพระราชพิธี ต่อมาในสมัียอยุธยา ตอนปลายปรากฎหลักฐานในจุดหมายเหตุพระบรมศพ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พรรณนาเฉพาะการถวายพระเพลิง และการแห่พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐาน ณ พระอารามหลวง และงานพระบรมศพสมเด็จเจ้าฟ้าสุตาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จนารายณ์มหาราชา พรรณนารายละเดียวการพระราชพิธีกพระบรมศพไว้ คค่อนข้างละเอียด
               พระมหากษัตริย์ผุ้ทรงทศพิธราชธรรมมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อชาติและประชาชน ชาวไทย ทรงได้รับการเทิดทูนเสมอด้วยสมมติเทพ ตามคติพราหมษ์เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ถือเป็นเทพ อวตาร คือ เทวดาจุติลงมาอุบันบนโลกมนุษย์ ครั้งเมื่อ เสด็จสวรรคตจึงถือเป็นการเสด็จกลับสู่สวรรค์ อันเกี่ยวเนื่องกลับพระบรมศพจึงถือเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพ่อเฉลิมพระเกี่ยรติอย่างสูงสุด
             
การพระราชพิธีพระบรศพของพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นโบราณราชประเพณีที่มีแบบแผน ธรรมเนียมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย มีความสำคัญ ทัดเทียมกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แม้ว่าจะมีการปรับ เปลี่ยนในรายละเอดียดปลีกย่อยของพระราชพิธีต่างๆ อยู่บ้าง ตามยุคสมัยและสภาวะของสังคม แต่ยังคงยึดถือคติตามที่กล่าว ในไตรภูมิกถาอยู่อย่างมั่นคง มีการประดิษฐานพระบรมศพ บนพระเมรุมาศซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุล้อมรอบ ด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์เพื่อเป็นการส่งดวงพระวิญญาณ กลับสู่สรวงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทพยดาทั้งหลาย มีการประกอบพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่อลังการเริ่มตั้งแต่การ สรงน้ำพระบรมศพการเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระบรมโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล การเชิญพระบรมศฑจากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศท้องสรามหลวง การถวายพระเพลิงพระบรมศพการเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลัยสู่พระบรมมหาราชวัง ลำดับพระราชพิธี เหล่านี้มีแบบแผนทำเนียมปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ และการเตรียมการต้องใช้เวลานานหลายเดือน
             หลังจากเชิญพระบรมโกศขึ้นปะดิษฐานบน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้วจึงจัดให้มีการพระราชพิธีบำเพ็ยพระราชกุศลเป็นประจำทุกวัน และพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน (สัตตมวาร) ครบ 15 วัน (ปัณรสมวาร) ครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) และครบ 100 วัน (สตมวาร) การบำเพ็ยพระราชกุศล ณ พระที่นั่งดุสิตมหา ปราสาทภายใน พระบรมมหาราชวังในแต่ละวัน จะมีัพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาบำเพ็ยพระกุศล จนครบ 100 วัน แตะละวันมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระพะธีธรรมจาก พระอารามหลวง 10 แห่งได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดประยูรวงศาวาสวัดอนงคาราม วัดราชสิทธาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสัป
เปลี่ยนหมุนเวียนกันไป พระพิธีธรรมแต่ละพระอารามจะใช้ทำนองสวดแตกต่างกัน ปัจจุบันมี 4 ทำนอง คือทำนองกะ ทำนองเลือน ทำนอง ลากซุง และทำนองสรภัญญะ นอกจากนี้ยังมีการประโคมยำยามในงานพระบรมศพ หรือพระศพ ซึ่งเป็นราชประเพณีโบราณ เพื่อเป็นสัญญาณ ให้ข้าราชการรู้กำหนดเวลาในการปโิบัติหน้าที่ การประโคม ย่ำยามนนี้ใช้ในงานที่พระบรมศพและพระศพพระราชวงศ์ ขุนนางผุ้ให่ แต่เดิมดนตรีที่ใช้ประโคมย่ำยามมีเฉพาะ วงแตรสังข์ และวงปีโฉน กลองชนะ โดยกำหนดประโคม ย่ำยามทุกสามชั่วโมงคือเวลา 06.00 น. -12.00 น.  18.00 น. -21.00 น. และ 24.00 น. การประโคมนี้จะทำทุกวันจน ครบกำหนดไว้ทุกข์ 100 วัน 2 เดือน 1 เดือน 15 วัน 7 วัน ตามพระเกียรติยศพระบรมศพ หรือ พระศพ การประโคมย่ำ ยามพระบรมศพพระมหากษัตริย์ เครื่องประดคมจะประกอบด้วยมโหระทึก-สังข์-แตรงาน-เปิง-และกอลงชนะ-หากเป็นพระศพ ไม่มีมโหระทึก
             เมื่อถึงกาลอันควรคือสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ ที่ท้องสนามหลวงเสร็จพร้อมที่จะถวายพระเพลิงได้ จะเชิญพระบรมศพพระศพจากพระบรมมหาราชวังไปยังท้องสนามหลวงเพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศซึ่งสร้างเป็น พิเศษดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "งานออกพระเมรุ"
             การเชิญพระบรมศพ พระศพ สู่พระโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล ตลอดจนการสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ณท้องสนามหลวง การเคลื่อนพระบรมศพ พระศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง การตกแต่งพระจิตการธาน การเชิญพระบรมอัฐิ พระอั๙ิ พระบรมราชสรีรางคาร และพระสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรม มหาราชวังล้วนมีแบบแผนกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบติ ขึ้นตอนพระราชพิธีในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวต้องใช้ เวลาเตรียมการเป็นแรมเดือนนับตั้งแต่การสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ การดูแลและตกแต่งราชรถ ราชยาน คานหาม สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ตลอดทั้งเครื่องประอบอื่นๆ ในการออกพระเมรุ เช่ พระโกศไม้จันทน์ เครืองพินไม้จันทน์ พระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ผอบบรรจุพระสรรางคาร หรือ พระราชสรีรางคาร ทั้งนี้ไม่รวมเครื่องสดที่ประดับพระเมรุมาศ และงานแทงหยวกเป็นลวดลายประดับพระจิตกาธาน ซึ่งต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนการถวายพระเพลิงเพียงไม่กี่ชั่วโมง
          นอกจากนั้น ยังต้องมีการซ้อมริ้วขบวนในแต่ละจุด แต่ละพิธีการด้วย ตามโบราณราชประเพณีพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ หรือเรียกว่า "งานออกพระเมรุ" มีขั้นตอน การปฎิบัติที่ถูกกำหนดไว้อย่างมีแบบแผน การเตรียม การแต่ละขั้นตอนใช้เวลาหลายเกือนหรือนานนับปี เพื่อให้สง่างามสมพระเกียรติ โดยเฉพาะศูนย์กลางของพระราชพิธีถวายพระเพลิงคือการก่อสร้างพระเมรุมาศ และเครื่องประกอบอื่นๆ ในการออกพระเมรุต้องมีการออกแบบให้ เหมาะสม
           จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป ถวายพระเพลิงในช่วงเย็น วันรุ่งขึ้นอัญเชิญพระโกศพระบรม อัฐิประกิษฐานบนรพะที่นั่งราเชนทรยานและพระบรมราชสรีรางคารดารประดิษญานบนพระที่ยั่งราเชนยานน้อย ยาตราด้วยกระบวนพระบรมราชอิสริยยศจากพระเมรุมาศ ไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง
            การสร้าง "พระเมรุมาศ" จะมีขนาดและแบบงดงาม วิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัยและตามความบันดาลใจ ของข่างที่มีปรัชฐญาในการออกแบบว่าเป็นพระเมรุของ กษัตริย์ นักรบ หรือฝ่ายสตรี ซึ่งจะระกอบขึ้นเป็นพระเมรุมาศและปริมณฑล โดยยึดคติโบราณที่สืบทอดกันม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงสันนิษฐานคติการสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุว่า ได้ชื่อมาจากการปลูกสร้างปราสาทอันสูงใหญ่ท่ามกลางปราสาทน้อยที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียบเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติ เป็นชั้นๆ ลักษณะหมือนเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขา สัตบริภัฒฑ์ล้อม จึงเรียกเลี่ยนชื่อว่า "พระเมรุ" ภายหลังทำ ย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแค่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียก เมรุ

           แผนผังพระเมรุมาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  พระเมรุมาศอยู่กลาง แวดล้อมด้วยอาคารรายรอบเป็นปริมณฑลประดุจโบสถ์หรือวิหารซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ คือ ทับเกษตร เป็นที่พักก ช่างหรือสำส้าง คือมุมคด ของทับเกษตร ทั้ง 4 มุม เป็นที่พระสวดพระอภิธรรม ตรงข้ามพระเมรุมาศจะเป็นพระที่นั่งทรงธรรมสำหรับ พระมหากษัตริย์ประทับในการถวายพระเพลิง บริเวณองค์พระเมรุมาศจะประดับตกแต่งด้วยราชวัติฉัตรธง เสา ดอกไม้พุ่ม สรรพสัตว์ตกแต่งใหเประดุจเขาพระสุเมรุราชในเรื่องไตรภูมิ กล่าวกัน่าในสมัยโบราณพระเมรุ มีขนาดสูงใหญ่โอฬารมาก เช่น พระเมรุมาศของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยอยุธยา
            การถวายพระเพลิง หรือ "ออกพระเมรุ" ในสมัยโบราณจะทำเป็นงานใหญ่แล้วแต่กำหนดตั้งแต่ 3 วัน 5 วัน 9 วัน ถึง 15 วัน สุดแต่สะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระราชพิธีจะมีขอบเขต คือ
            พิธีสามหาบตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วเชิญ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระอิสริยยศสมโภชภายในพระบรมมหราชวัง พระบรมอัฐิ พระอัฐิบรรจุในพระโกศทองคำ แล้วประดิษฐานไว้บนพระมหาปราสาท จัดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วนพระบรมราชสรีรางคารพระสรรีรางคารจะนำไปประดิษฐาน ไว้ยังพุทธสถาน พระอารามหลวงตามราชประเพณี
              ศิลาหน้าเพลิง คือ หินเหล็กไฟ ที่ใช้เหล็กสับกับหินให้เกิดประกายไฟ โดยมีดินปะทุเป็นเชื้อให้ติดไฟง่าย แล้วทรงจุดเที่ยนพระราชทานแก่เจ้า
              พนักงาน หากแต่การใช้หินเหล็ไฟไม่สะดวก ในสมัยต่อมาพระมหากษัตริย์จึงทรงใช้พระแว่นสูรยกานต์ส่องกับแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟ แล้วจึงนำเอาเพลิงนั้นจุดถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพสันนิษฐานว่า การจุดเพลิงด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นวิะีเดียวกับการจุดเพลิงไฟฟ้าเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ปรากฎในคำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวยังปฏิบัติสืบมในการถวายพระเพลิงเจ้านาย ดังในคราวถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงส่องพลังความรอยจากแสงอาทิตย์ด้วยพระแว่นสูรยกานต์แล้วให้เจ้าพนักงานตั้งแต่มณฑปสำหรับเลี้ยงเพลิงไว้ แล้วเชิญมายงพระเมรุมาศ
          ในปัจจับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไฟที่เกิดจากพระเว่นสุรยกานตืไปจุดเลี้ยงไว้ที่พระอุโบสถพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อมีผุ้มาขอไฟพระราชทานจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังเชิญ "ไฟหลวง" มาพระราชทานเพลิงศพผุ้นั้นต่อไป
         -รูปภาพจาก web.facebook.com/pirasri.povatong

             "รูปแบบและธรรมเนียม"ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ  การถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือการพระราชทานเพลิงพระศพนั้น ถือวาเป็นงานพระราชพิธีใหญ่ซึ่งมีะรรมเนียม และวิธีการปฎิบัติที่ตรงตามตำราดังที่ราชสำนักสืบทอดกันมา แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันั้นการถวายพระเพลิงพระบรมศพได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพ่ิมมากขึ้น สืบเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปโดยในปัจจุบันนั้นในราชสำนักมีรูปแบบของการถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังภาพ
            ภาพที่ 1. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีที่พรบรมศพอยู่ในพระบรมโกศ) การสุมเพลิงรุปแบบนี้เป็นแบบโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ในปัจจุบันันี้ไม่พบว่ามีการถวายพระเพลิงพระศพบนพระจิตกาธานอีกแล้วเนื่องจากควบคุมเพลิงได้ยากเจ้าพนักงานจะต้องอยฉีดน้ำและควบคุมทิศทางลมอยู่ตลอดเวลาประกอบกับปัจจุบันมีการนำเตาเผาสมัยใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ดังภาพจะห็นว่ามีเปลวเพลิงลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา โดยเกิดจากการสุมเชื้อเพลิงด้านล่างของพระจิตกาธาน จากภาพคืองานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชนีในรัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ.2528
           ภาพที่ 2 การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระบรมศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ในงานถวายพระเพลิงบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนรี หรือสมเด็จย่า เนื่องจากพระบรมศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในหีบ ทางสำนักพระราชวังจึงทำการตั้งหีบพระบรมศพบนพระจิตกาธานแล้วนำพระบรมโกศ (โกศเปล่า) วางบนหีบพระบรมศพอีกชั้นหนึ่งดังภาพประกอบ ในคราวนั้นสมเด็นพระเจ้าอยุ่หัวมหาวชิราลงกรณ์ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หลังจากที่ผุ้มาร่วมงานกลับกันหมดแล้วทั้งสามพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังพระเมรุมาศเพื่อควบคุมการถวายพระเพลิงด้วยพระองค์เอง
         ภาพที่ 3 การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกันจนถึงงนพระรชทานเลิพงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในพระจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  ซึงมีกระบวนการต่างๆ คล้ายกับงานพระบรมศพของสมเด็จย่า แต่จะแตกต่างกันตรงที่ได้อัญเชิญหีบทรงพระศพลงจากพระจิตกาธาน เข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเมรุแทน จากภาพคือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
        ภาพที่ 4 การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ) ในรูปแบบนี้ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่น กน จนถึงปี พ.ศ. 2555 ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาฯ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่พระศพของพระอค์ประดิษฐานอยู่ในพระโกศตามโบราณราชประเพณี แต่เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริงนั้น เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศลงจากพระจิตกาธานเพื่อไปพระราชทานเพลิงยังเตาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกแทน ดังจะเห้นในภาพที่ขนาดของเตาไฟฟ้านั้นมีขนาดใหญ่ และสูงกว่าปกติ เพื่อที่สามารถอัญเชิญพระโกศเข้าไปภายในเตาไฟฟ้าได้ (จิตกาธาน คือ เชิงตะกอนหรือฐานที่ทำขึ้นสำหรับเผาศพ)
           พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑ,พิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พงศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พงศ. 2560 เป้นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรี จึงกำหนดให้เป็นวัหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ
                สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้นคณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เข่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น สวนการบูรณปฏิสังขรณราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นังราเชนทรยานน้อย รวมทั้งประติมากรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีคร้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย คาดการณ์ว่าการจัดสร้างพระเมรุมาศจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 โดยมีสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์วินิฉัยในกรจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี    
              พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เร่ิมเตรียมการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบการบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาพิชัยราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงการเตรียมงานมหรสพในงานออกพระเมรุมาศ
             คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯกำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ.2560 พร้อมทั้งพิจาราหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระราชพิธีสำคัญได้แก่ พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรี กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม
            วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 
                 - 15.00 น. ถวายพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหา
ปราสาท
              แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และมงกุฎไทย ไว้ทุกข์
             วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย)
                  - 07.00 น. พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยริ้วขบวนที่ 1
                  - 07.30 น. เชิญพระบรมโกศจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยริ้วขบวนที่ 2 
                  - 08.30 น. เชิญพระบรมโกศเวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฎ 3 รอบ แล้วอัญเชิญพระบรมโกศประดิษฐานบนพระเมรุมาสโดยริ้วขบวนที่ 3 
                  - 16.30 น. พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (พระราชพิธีทางการ) 
                      แต่งกายเต็มยสศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และช้างเผือก ไว้ทุกข์
                  - 22.30 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (พระราชพิธีจริง) 
                      แต่งกายปกติขาว ไว้ทุกข์
                วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560
                   - 08.00 น. พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
                   - 11.00 น. เชิญพระบรมอัฐิ ออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาาชวัง โดยริ้วขบวนที่ 4 
                   - 12.00 น. เชิญพระบรมอัฐิ เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานบนแว่นฟ้าทองด้านทิศเหนือ และเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารไปยัง พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
                         แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
                วันเสาร์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 
                    - เวลา 17.30 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ยพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
                         แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และ ช้างเผือก ไว้ทุกข์
                วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560
                    - 10.30 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
                    - 12.00 น. เชิญพระอัฐิออกพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง โดยริ้วขบวนที่ 5 
                    - 12.05 น. เชิญพระอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทประดิษฐานบนพระที่นั่งมุลสถานบรมอาสน์ ด้านทิศตะวันออก
                           แต่งกายเต็มยส ปฐมจุลจอมเกล้า และปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
                    - 17.30 น. พระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธมหาสีมาราม และ วัด บวรนิเวศวิหาร โดยริ้วขบวนที่ 6  
                           แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
            การแสดงมหรสพจะยึดตามธรรมเนียมปฏิบัติและโบราณราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ สำหรับครั้งนี้เวทีโขนและหนังใหญ่ตั้งอยุ่ทางด้านทิศเหนือของท้องสรามหลวง เวทีละครทั้งหมดจะตั้งอยุ่ทางทิศตะวัออก และเวทีดนตรีสากลตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตก ส่วนพระเมรุมาศซึ่งเป็นประธานในมณฑลพิธีตั้งอยู่ทางทิศใต้ เนื่องจากการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบครั้งนี้ใช้พื้นที่ที่เป็นจำนวนมาก
             เวทีมหารสพทั้ง 3 เวที จะมีขนาดใหญ่กว่างานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี, งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิสวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุด สิริโสภาพัฒณวดี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรนายก โดยจะประสานสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิปลากร เพื่อกำหนดจุดสร้างเวทีอย่างชัดเจนอีกครั้ง ส่วนแบบโรงมหรสพโครงสร้างจอโขนและหนังใหญ่ ผุ้ทรงคุณวุฒิศิลปกรรมได้ออกแบบเสร็จแล้ว โดยส่วนนี้จะเป็นการแสดงนอกมณพลพิธี ส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศจะเป้นการแสดงโขนชุดใหญ่ ตอนยกรบ และระบำอู่ทอง ซึ่งใช้นักแสดงเป็นจำนวนมาก
          การแสดงมหรสพสมโภชในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือประกอบด้วยการแสดงโขนหน้าไฟหน้าพระเมรุมาศ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณา และระบำอู่ทอง ส่วนการแสดงมหรสพสมโภช ประกอบด้วยการแสดงหนังใหญ่ และโขนพระราชทาน ตอน รามาวตาร การแสดงละครหุ่นหลวงและหุ่นกระบอก และการบรรเลงดนตรีสากล "ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า" ล่าสุดได้จัดเตรียมผุ้แสดงทั้งใน่วยของสถาบันบัฒฑิตพัฒนศิลป์วิทยาลัยนาฎศิลป์ 12 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย ศิบปินแห่งชาติ ครูนาฎศิลป์ และนิสิต- นักศึกษา ทั้งหมดประมาณ 2.000 คน
           
โดยการแสดงโขนเบื้องต้นได้ประสารงานกับสำนักการสังคีต กรมศิปลากร ซึ่งมอบหมายให้ประเมษฐ์ บุณยะชัย ผุ้เชียวชาญด้านนาฎศิลป์ของสถาบันบัฒฑิตพัฒนศิลป์เป็นผุ้จัดทำบทโขนพระราชทานทุกตอนเพื่อกำหนดจำนวนผุ้แสดงด้านต่างๆ อาทิ ผุ้แสดงโขนพระราชทานทั้งตัวพระนาง เสนายักษ์ 18 มงกุฎ หนุมาน เสนาลิง สุครีพ ชมพูพาน ซึ่งนักแสดงบางส่วนเคยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แสดงโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์          พระบรมราชินีสาถมาแล้ว ส่วนละครในเรื่องอิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช สถาบันบัฒฑิตพัฒนศิลป์จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีผุ้แสดงละครนอก แสดงเรื่องมโนราห์ ผุ้แสดงบัลเลต์เรื่องมโนราห์ นักดนตรีสากล ส่วนนักดนตรีวงดนตรีไทยที่จะเข้าไปบรรเลงบรเวณพระเมรุมาศส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศได้เตรียมผุ้สแดง แสดงโขนพระรามข้ามสมุทร,, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และผู้แสดงระบำอู่ทอง ซึ่งจัดทำบทใหม่โดยใช้คุ่พระนางจำนวน 35 คู่ ถือว่าครั้งนี้ใช้ผุ้แสดงมากที่สุดเท่าที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฎศิลป์เคยจัดการแสดงมหรสพมา โดยขณะนี้ได้เริ่มทดสอบและคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นผุ้รวมแสดงมหรสพสมโภช ทั้งโขน ละครใน ละครนอก หุ่นหลวง หุ่นกระ
บอก และมีการจัดทำสูจิบัตรผุ้แสดงแล้ว สำหรับการแสดงมหรสพสมโภชเป็นงานที่จัดขึ้นตามจากรีตประเพณีในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิพระบรมศพพระมหากษัตริย์ฉะนั้น ผุ้แสดงต้องมีทักษะความสามารถด้านนาฎศิลป์ และมีประสบการณ์การแสดงมาพอสมควร ซึ่งขณะนี้สถาบันวางผุ้แสดงแบล้วจากบทละครที่กำหนด ทั้งตัวพระ นาง ทหาร ระบำ แต่ละสถาบันทั้งครุและนักเรียนผุ้แสดงจะแยกกันซ้อมในที่ตั้ง เมื่อใกล้งานพระราชพิะีถวายพระเพลิงจะมีกำหนดการตรางซ้อมการแสดงร่วมกัน พร้อมดนตรีสด ผุ้เชียวชาญนาฎศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผุ้ควบคุม ซึ่งคาดว่าจะใช้ดรงละครวังหน้าฝึกซ้อมรวม การแสดงที่สนามหลวงจัดบนเวที มีการผุกโรแสดง ทั้งนี้การกำหนดวันซ้อมร่วมกนจะมีการแจ้งอีกครั้ง
             
           นอกจากนี้ สถาบันดนตรีกัลยาณีวัฒนา จะร่วมแสดงในเวทีดนตรีสากลด้วย ดดยจะมีวงดนตรี 7 วง ประกอบด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งในเบื้องตนจะมีนักศึกษาของสถาบันฯ และวงดุริยางค์เยาชนสถาบันดนตรีกัลยาณีวัฒนาจำนวนประมาณ 40 คน ที่มีความสามารถด้านขับร้องประสานเสรียงและเล่นดนตรีเข้าร่วมแสดงดนตรีในชุดดุจหยาดทิพย์ชโลมหล้า ร่วมกับวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร สมชิกวง อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีสหายพัฒนา สถาบันบัฒฑิตพัฒนศิลป์ โรงเรียนราชินี และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ สำหรับบทเพลงที่นำมาบรรเลงจะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหมด ได้แก่ แผ่นดินของเรา, อเล็กซานเดอร์, ไร้จันทร์, ไร้เดือน
และ โนมูน นอกจากนี้ จะมีการแสดงบัลเลย์เรื่องมโนห์รา  หนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย เพริง เนเธอร์ วอทท์, เดอะ ฮันเตอร์, คินาริ วอลท์, อะ เลิฟ สตอรี่, ภิรมย์รัก และ บลูเดย์ แล้วยังมีบทเพลงเทิดพระเกียรติที่ทางสถาบันฯ จะแสดง 2 เพลงคือ พระราชาผุ้ทรงะรรม และในหลวงของแผ่นดิน โดยนักร้องประสานเสียง 89 คน มีอาจารย์วานิช โปตะวณิช เป็นวาทยกร โดยหลังจากได้รับโน๊ตเพลงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร แต่ละวงจะแยกกันฝึกซ้อมท้งนี้ ในเดือนกันยายน จะนัดฝึกรวมซ้อมใหญ่ ณ เวที จริง ก่อนวันประกอบพระ
ราชพิธีจริงวันที่ 26 ต.ค. นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงดนตรีภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วยดดยจะใช้วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณีวัฒนาทำการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงจะมีศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่จะร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย และตลอดทั้งปีสถาบันตนตรีกัลยานิวัฒนาจะจัดกิจกรรมน้ำมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาแสดงทุกครั้ง
            เวทีตนตรีสากลในงานในงานมหรสพครั้งนี้ดนตรีทั้ง 7 วง จะแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์จำนวน 44 บทเพลง เริ่มการแสดงวงแรกตั้งแต่ 23.00 น. ของวันที่ี่ 26 ตุลาคม ต่อเนื่องถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 ตุลาคมดดยงงของสถาบันกัลยาณิวัฒนาจะเปิดการแสดงเป็นวงแรก ตามด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายด้วยวงดนตรีจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีกรมศิปากรควบคุมตลอดการแสดงth.wikipedia.org/wiki/พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    - ภาพจาก https://web.facebook.com/ArmyNews2017/
           

           

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Royal Crematorium

           
พระเมรุมาศ ศูนย์รวมแห่งศาสตร์และศิลป์ทุกแขนงในการถวายพระเกียรติยศแด่พระเจ้าแผ่นดินหลังจากเสด็จสวรรคต รายละเอียดมากมาย รวมยกมาเป็นเกร็ดพึงรู้
           ตามโบราณราชประเพณีของไทย การก่อสร้างพระเมรุมาศ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดการปกครองแบบเทวนิยมท ใช้เปนที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงมีแนวคิดมาจาก "เขาพระสุเมรุ" อันเป็นความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ เสด็จลงมายังดลก เมื่อสวรรคตก็มีการส่งเสด็จกลับเขาพระสุเมระตามเดิม
            พระเมรุมาศในพระราชพิธีพระบรมศพ สามารถสืบค้นย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฎการจัดพระราชพิธีพระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดใน หนังสือไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง การสร้างพระเมรุมาศยิ่งใหญ่
โอฬารมาก ปรากฎตามจดหมายเหตุ และพระราชพงศาวดารว่ พระเมรุมาสสูงถึง 2 เส้น มีประมณฑลกว้างใหญ่ เช่น พระเมรุมาศของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์งานพระบรมศพก็ยังคงรักษาธรรมเนียมดั้งเดิมไว้เช่นกัน ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
         
สำหรับ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระเมรุมาศก็ยังยึดถือตามคติความเชื่อ และโบราณราชประเพณี อีกทั้งยังคงแก่นความสำคัญใการสะท้อนความจงรักภักดของปวงชนชาวไทยที่มีต่อพระองค์ท่าน ผ่านส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้พระเมรุมาศสมพระเกี่ยรติที่สุด นับจากนี้ คือ 9 ใจความสำคัญของพระเมรุมาศ ที่เรียบเรียงมา
           1. พระเมรุมาศ เพรีบเหมือน เขาพระเมรุ ใจกลางหลักจักรวาล ตั้งอยู่เหนือน้ำ 84,000 โยชน์ มีภูเขารองรับ 3 ลูก โดยส่วนฐาน คือ ตรีกูฎ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ 7 ทิว เรียกว่า สัตตบริภัฒฑคีรี ประกอบไปด้วยทิวเขา ยุคนธร กรวิก อสินธร สุทัศ เนมินธร วินตก และอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิกและบริวารสถิตอยู่ ซึ่งทิวเขาเหล่านั้นก็คือ อาคารประกอบ ได้แก่ประดุจโบสถ์วิหาร มีระเบียงล้อมรอบซึงเรียกว่าทับเกษตร หรือที่พัก
           บนยอดขาพระสุเมรุ คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งยอดบนสูงสุดของพระเมรุมาศ มีการจารึกพระปรมาภิไธย และเศวตฉัตร
           การสร้างพระเมรุมาศในแต่ละครั้งถือเป็นงานใหญ่ มีหลักฐานปรากฎมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบทอดเป็นแบบแผนให้กับงานพระราชพิธีจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชั้นสูงที่ต้องเรียนรู้การสร้างอาคารหมู่และอาคารหลังเดี่ยวทั้งเล็กใหญ่ รู้กระบวนการช่างไทยทุกสาขา ทั้งด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมรวมกันทุกแขนง
          2. ลักษณะพระเมรุมาศที่ปรากฎมาแต่โบราณมีทั้ง พระเมรุทรงปราสาท และพระเมรุทรงบุษบก
พระเมรุ รัชกาลที่ 4
           พระเมรุปราสาท คือ อาคารพระเมรุมีรูปลักษณะอย่างปราสาท สร้างเรือนบุษบกบัลลังก์ คือ พระเมรุทองซ้อนอยู่ภายใน พระเมรุทองประดิษฐานบนเบญจา พระจิตกาธานรองรับพระโกศพระศพ ปิดทองล่องชาด พระเมรุทรงปราสาทนี้ยังแยกได้อีก 2 ลักษณะ คือ พระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์ และพระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป ซึ่งปรากฎในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
           พระเมรุทรงบุษบก คือ พระเมรุที่สร้างบนพื้นที่ราบโดยดัดแปลงอาคารปราสาทเป็นเรือนบุษบกขยายพระเมรุทองในปราสาททีเป็นเรื่อนบุษบกบัลลังก์แต่เดิมให้ใหญ่ขึ้น เพื่อการถวายพระเพลิง ตังเบญจาพระจิตการธานรับพระโกศพระบรมศพ ซึงเกิดขึ้นครั้งแรกในงานถวาย พระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว
           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับ คติการสร้าง "พระเมรุ" ว่าได้ชื่อมา แต่การปลูกสร้
ปราสาทอันสูงใหญ่ ท่ามกลางปราสาทน้อย มีลักาณดุจเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางเขาสัตตบิรภัฒฑ์ล้อมรอบ จึงเรียกว่าพระเมรุ
พระเมรุ รัชกาลที่ 5
           ภายหลัง เมื่อทำย่อลง ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก้ยังคงเรียกเมรุ ด้วยคนไทยมีความเชื่อและยึดถือเรื่องไตรภูมิตามคติทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภาพจักรวาล มีเขาพระสุเมรุเป้นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม รายล้อมด้วยสรพพสิ่งนานา อันเป็นวิมานของท้าวจตุดลกบาล และเขาสัตตบริภัฒฑ์ดังนั้นจึงนำคติความเชื่อจาก ไตรภูมิมาเป็นแนวทางในการจัดพิธีถวายพระเพลิง เพื่อได้ถึงภพแห่งความดีงานอันมีแดนอยู่ที่เขาพระสุเมรุ สิ่งก่อสร้างในพระราชพิธีถวายพระเพลิง จะจำลองให้ละม้อยกับดินแดนเขาพระสุเมรุด้วย
           4. ความสำคัญของการจัดพระราชพิธีพระบรมศพนั้น นอกจากจะถือเป็นการถวายพระเกียรติยศ แสดงความเคารพอย่างสุสำหรับพระมหากษัตริย์แล้ว ในสมัยโบราณ พระราชพิธีนี้ ยังถือเป็นการประกาสความมั่นนคงของบ้านเมือง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแผ่นดินสืบสันตติวงศ์ต่อไป
            สวนหนึ่ง ดูจากการสร้างพระเมรุมาศประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพว่า สามารถทำได้ยิ่งใหญ่เพียงได เพราะส่วนที่บ่งบอกถึงญานะ และอำนาจของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ได้อย่างดีประการหนึ่ง จึงถือได้ว่ งานพระเมรุเป็นศักดิ์ศรีและเป็ฯเกี่ยรติยศที่ปรากฎแผ่ไพศาลตั้งแต่ต้นแผ่นดิน
       
 5.ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยมปลูกสร้างเป็นรูปพระเมรุขนาดใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็น
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการสร้งพรมรุมาศให้มีขนาด "ย่อมลง" อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวที่ทรงต้องการให้จัดงานแต่เหมาะสมมิให้สูงถึง 2 เส้นดังแกต่กาลก่อน ดดยยกพระเมรุชั้นนอกทรงปราสาทออกเสีย สร้างแต่องค์ใน คือ พระเมรุทองเหรือพรเมรุมาศ ภายในตั้งพระจิตกาะานสำหรับประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ
            ครั้งถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชันทึกตัดทอนการปลูกสร้างพระเมรุมาศ และการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระองค์ลงอีกหลายประการ งานพระเมรุจึงลดขนาดลงตั้งแต่นั้นมา
       

นอกจากขนาดของพระเมรุมาศแล้ว ในสมัยงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระบรมราชโองการแสดงพระราชประสงค์ให้รวบรัดหมายกำหนดการให้น้อยลง เพื่อประหยัดตามกาลสมัย โดยพระราชพินัยกรรมระบุถึงการจัดงานพระบรมศพให้งดราชประเพณีเห่า ๆหลายอย่าง อาทิ การงดการโยงโปรย ยิกเลกนางร้องไห้ ซึ่งรบกวนพระราชหฤทัยตั้งแต่งานพระบรมศพพระราชบิดา เป็นเหตุให้ประเพณีดังกล่าวงดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การยกเลิกการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว เป็นต้น
          ในอดีต การถวายพระเพลิงพระศพแต่โบราณ มีรายละเดียดมาก กำหนดเป็นงานใหญ่ในช่วงฤดูกาลที่ไม่มีฝนอย่างเดือนเมษายน ใช้เวลาประมาณ 14 วัน 14 คืน เป้นเกณฑ์ มักจะเร่ิมงาน ตังแต่ขึ้น 5 หรือ 6 ค่ำ ไปจนถึงแรม 4 ค่ำ ที่เป็นแบบนั้น ก็เพราะในสมัยโบราณ จำเป็นต้องอาศัยแสงจันทร์ช่วยให้ความสว่างด้วยนั่นเอง
         
สำหรับรายละเดียดในงานออกพระเมรุ จะเริ่มด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกสู่พระเมรุพระราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ในวันแรก แล้วค่อยจัดสมโภชพระบรมสารีริกธาตด้วยการจุดดอกไม้ไฟในค่ำวันที่ 23 ก่อนจะอัญเชิญพระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุ  สมโภช 1 วัน กับ 1 คืน แล้วจึงอัญเชิญกลับ
          จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมศพออกจากพระมหาปราสาทไปสมโภช ณ พระเมรุมาศ 7 วัน 7 คืน โดยหลังจากถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ก็จะสมโภชพระบรมอัฐิ อีก 3 วัน 3 คืน รวม 14 วัน 14 คืน
          ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด และตัดทอนพิธีกรรมหลายอย่าง  เช่น งดการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมอัฐิออก สมโภชก่อนงานพระราชพิะีอัญเชิญพระบรมศพ พระศพ ทำให้ตัดทอนพิธีอื่นๆ  ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการจุดดอกไม้ไฟสมโภช หรือ ลอการสมโภชพระศพเมื่อประดิษฐานบนพระเมรุแล้ว เป็นต้น
         8 . ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยบเดช งานภูมิสถาปัตยกรรมเชื่เมดยงกับตัวอาคาร เข้ากับสิ่งที่แสดงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 อันมีความเกี่ยวพันกับโครงการพระราชดำริ ในพื้นที่ด้านทิศเหนือ เป็นทางเข้าหลักสู่พระเมรุมาศ
         มีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม การจำลองนาขั้นบันได หญ้าแผก แก้มลิง และกังหันน้ำชัยพัฒนา รวมทั้งพันธุ์ข้าวจากภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ พันธุ์ปทุมะานี 1 เป็นตัวแทนของข้าวภาคกลาง พันธ์ุข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็ตัวแทนของข้าวในภาคอีสานและหนือที่นิยมปลูกข้าวพันธุ์นี้ พันธุ์ข้าว กข 31 หรือพันธุ์ปทุมธานี 80 ที่ตั้งชื่อเพื่อร่วมเฉลิมพระเกี่ยรติในโอากสทรงเจริญพระชนมพรราครล 80 พรรษา โดยออกแบบแปลงนาเชิงสัญลักษณ์ให้เป็นเลขเห้าไทยสีดินทอง เป็นสัญลักษณ์สื่อว่าพระเมรุมาศนี้สร้างขึ้นเพื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ฺนักพัฒนา
          9. พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประกอบด้วยอาคารทรงบุาบก จำนวน 9 องค์ ตั้งอยุ่บนฐานชาลารูปสีเหลี่ยมจัตุรัศ 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้น ทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าพระที่นั่งทรงะรรม ทิศตะวันออกติดตั้งลิฟต์ และทิศเหนือติดตั้งสะานเกรินสำหรับเชิญพระบรมโกศจากราชรถปืนใหญ่ขึ้นบนพระเมรุมาศ
           โดยโครงสร้างพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ลานอุตราวรรค หรือพื้นฐานพระเมรุมาศ มีสระอโนดาดทั้งสี่ทิศ และเขามอจำลอง มีประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงค์ ม้า แลสัตว์หิมพานต์ ตระกูลต่างๆ ประดับโดยรอบ
           ฐานชาลาชั้นที่ 1 มีฐานสิงห์เป็นรั่วราชวัตร แัตร แสดงอาณเขตพระเมรุมาศ และมีเทวดานั่งคุกเข่าถือบังแทรก
           ฐานชาลาชั้นที่ 2 มีหอเปลื้องทรงบุษบกรูแแบบเดี่ยกันตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่  ใช้สำหรับจัดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้จันทน์ รวมถึงอุปกรณืสำหรับงานพระราชพิธี
           ฐานชาลาชั้น 3 ฐานบุษบกประธานประดับประติมากรรมเทพชุมนุม จำนวน 132 องค์โดยรอบรองรับด้วยฐานสิงห์ซึ่งประดับประติมากรรมครุฑยุดนาคดดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มุมทั้งสี่ของฐานขั้นที่ 3 นี้ เป็นที่ตั้งของช่างทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น
           จุดกึ่งกลางชั้นบนสุดมีบุษบกองคืประธานตั้งอยู่ เป็นอาคารทรงบุษบกยอดมณพปขั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ภายในมีพระจิตกาธาน เป้นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสุตร (ม่าน) และฉากบังเพลิงเชียนภาพพระนารายณ์อวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตอนล่างที่ยอดบนสุด ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตรwww.bangkokbiznews.com/news/detail/778316
            เย็นวันที 20 ต.ค. 2560 พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างตรวนความเรียบร้อยการก่อสร้าพระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภุมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่า
           
การสร้างพระเมรุมาศ อาคารประกอบ ซ่อมสร้างราชรถ ราชยาน พระบรมโกศ และทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพถือว่าเสร็จสมบูรณืเรียบร้อยอย่างเป้ฯทางการ 100% หลังหน่วยงนที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจกันตลอด 9 เพือนเต็มจนทุกอย่างเสร็จสิ้นสมูรณ์งดงามสมพระเกียรติ
             โดยในวันที่ 21 ต.ค. จะ่งมอบพท้ที่ให้ฝ่ายตำรวจ และเหลือเจ้าหน้าที่ไว้บำรุงรักษาให้ทุกอย่าวคงสภาพสมบูรณ์
             "สภาพดอกไม้จะบาน 100% คือวันที่ 26 ตุลาคม และจะสมบูรณ์เรื่อยไปจนถึงวันที่ 30 พศจิิกายน ซึ่งเป้นวันสุดท้ายของงานนิทรรศการ" พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว
               พล.อ.ธนศักดิ์ กลาด้วยว่า ด้วยประบารมีทำให้ตลอดการทำงานก่อสร้างพระเมรุมาศ แม้แต่ช่างสักคนเดียวก็ไม่ถูกลวดเกี่ยว ตะปูดำ ทุกคนปลอดภัยทั้งหมด ส่วนกรณีฝนตกน้ำท่วมยืนบันว่าพร้อมรบมือและไม่กังวลเพราะแม้แต่ช่วงที่ฝนตกหนักที่สุดครั้งที่ผ่านมาก็สามารถรับอได้อย่างไม่มีปัญหา
               พล.อ.ธนศํกดิ์ ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคนไทยทั้งประเทศพร้อมย้ำหลายครั้งตลอดการสัมภาษณ์ว่าผลงานทั้งหมดสำเร็จด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศทีร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงให้ทั้งโลกเห็นว่าในเรื่งอของการเทิดทูนถาบันพระมหากษัตริย์ของคนไทยน้นเหนือสิ่งอื่นใด
             ทั้งนี้หลักเสร็จงานพระราชพิธีฯ จะจัดนิทรรศการเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมระหวางวันที่ 2-30 พ.ย. 2560 โดยจะรักษาสภาพความงดงามสมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาจัดงานนิทรรศการ ถ้าดอกไม้เหี่ยวก็จะเปลี่ยนให้เพื่อคงความงดงามสมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาจัดงานนิทรรศการ ถ้าดอกไม้เหี่ยวก็จะเปลี่ยนให้เพื่อคงความงดงามให้ทุกคนได้ชมอย่างเท่าเที่ยมกัน สำหรับนิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 7.00-22.00 น. ประชาชนได้เข้าชมรอบละ 5,000 คน ใช้เวลารอบละประมาณ 45 นาที แต่ถ้าประชาชนมามากอาจจะขยายเวลาปิดเลย 22.00 น. ออกไป แต่ทั้งนี้ช่วงเวลากการจัดนิทรรศการจะสิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. ยืนยันยังไม่มีการขยายเวลาออกไป
           " ณ ขณะ นี้ยืนยันว่า ยังเป็ฯ 2-30 พ.ย. ทุกคนควรจะมารับชม อย่างไปคิดว่าเดี๋ยวเขาก็ขยายเวลา เพราะขณะนี้ยืนยันว่านิทรรศการมีถึงวันที่ 30 พ.ย." พล.อ. ธนะศักดิ์ กล่าวthestandard.co/kingrama9-cremation-complete/

           

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...