Royal tradition

         พระบรมโกศ หรือ พระโกศทรงพระศพ ตามโบราณราชประเพณี
         พระบรมโกศ หรือพระโกศ คือ ภาชนะเครื่องสูง สำหรังรรจุพระบมศพของพระมหากษัตริย์หรือพระศพของพระบรมวงศ์ นอจากนี้ยังมีโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูงซึ่งการใช้โกศบรรจุพระศพพระราชวงศ์ไทยเป็นธรรมเนียมทำกันมานานแล้ว แต่ไม่มีผุ้ใดทราบแน่ชัดว่าเร่ิมมาตั้งแต่สมัยใด ทราบเพียงว่ามีหลักฐานการใช้พระโกศในสมัยกรุงศรีอยุธยา
          ลักษณะพระโกศมีรูปทรงกระบอก ปากผาย ก้นสอบเล็กน้อย มียอดแหลม ผาทรงกรม อาจแยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเป็น 2 ประเภทคือ พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ และพระโกศพะบรมอัฐิหรือพระอัฐิ สำหรับพระโกศพระบรมศพมี่ 2 ชั้น คือ
          - ชั้นนอก เรียกว่า "ลอง" ทำด้วยโครงไม้หุ้มทองปิดทอง ประดับกระจกอัญมนี ใช้สำหรับประกอบปิด"โกศชั้นใน"
          - ชั้นใน เรียกว่า "กศ"ทำดวยเหล็ก ทองแดงหรือเงิน ปิดทองทั้งองค์
          เมื่อเชิญพระบรมศฑลงสถิตในพระโกศแล้ว จังเชิญเอา "พระลอง" หุ้มพระโกศอีกชั้นหหนึ่ง ต่อมานิยมเรียกพระลอง เป็นพระโกศแทน จนเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

             พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยโปรดให้รื้อทองที่หุ้มพระโกศกุดันมาทำพระโกศทองใหญ่ขึ้นไว้สไหรับพระบรมศพของพระองค์ เมื่อทำพระโกศองค์น้สำเร็จแล้ว จึงโปรดให้เอาเข้าไปตั้งถว่ายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทว่าในปีนั้นสมเ็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ จึงโปรดให้เชิญพระโกศท่องใหญ่ไปประกอบพระศพเป็นครั้งแรก จึงเกิดเป็นประเพณีใรัชกาลต่อมาที่มีการพระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นนอกจาพระบรมศฑได้ และได้ใช้ทรงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระศพเจ้านายในพระบรมราชวงศ์สืบต่่อมาทุกรัชกาล
            พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่ห้ว โปรดเหล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทรงสร้างถวายเมื่อ พ.ศ. 2443 เป็นพระโกศแปดเหลี่ยมยอด ทรงมงกุฎ ทำจากไม้หุ้มทองคำประดับหลอยขาว โดยทั่วไปเชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพระลอง เป็นการชั่วคราว แทนพระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 1 ซึ่งต้องเชิญออกไปขัดแต่งก่อนออกพระเมรุ ทำให้เรียกกันว่าพระโกศทองรองทรง
            ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวิจารณ์ว่า ควรเรียกพระโกศทองใหญ่ เพราะมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเพื่อใช้ทรงพระบรมศพหรือพระศพเจ้านายที่มีศักดิ์สูงพร้อมกัน จึงมีศักดิ์เสมอด้วยพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 เช่นกัน และใช้ทรงพระศพเจ้านายสืบมา เช่น พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, พระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัฒฒวดี และใช้ในการพระบรมศพ พระบาทสมเด้จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรณเบญจดลภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
              พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 5 ค่อนข้างชำรุดเพราะผ่านการใช้งานมาหลายคราวแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงโปรดเหล้าฯ ให้สร้างพระโกศทองใหญ่ขึ้น เมื่อราว พ.ศ. 2543 นับเป็นพระโกศทองใหญ่องค์ที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป้ฯพระโกศแปดเหลี่ยม ยอดทรงมงกุฎทำจากไม้หุ้มท่องคำ ประับพลอยขาวทรวดทรงและลวดลายผสมผสานกันระหว่างพระโกศทองใหญ่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 5 ยอดพระโกศปักพุทมดอกไม้เพชร, ฝาพระโกศ ประดับดอกไม้ไหว ดอกไม้เพชร, ปากพระโกศ ห้อยเฟืองเพชร ระย้าเพชร อุบะดอกไม้เพชร, เอวพระโกศ ปักดอกไม้เพชร ใช้ในการพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นครั้งแรก

             การอัญเชิญพระศฑลงพระโกศ ในส่วนของการบรรจุพระบรมโกศ หรือพระโกศนั้นตามคตินิยมของพราหมณ์เชื่อว่า เมื่อพระมหากษัตริยืและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพลงในพระโกศ โดยต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์
            โดยจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 กล่าวถึงการทำสุกำพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทำให้เป็นแบบแผนและวิธีการแต่ครั้งอดีตว่า เร่ิมจากการถวายเครื่องสำหรับค้ำพระเศียร คือ ไม้กาจับหลัก หรือ พระปทุมปัตนิการ รองที่พระบาท (เท้า) ซึ่งมีก้านออกมาค้ำพระหนุ (คาง) ให้พระเศียรอยู่ในท่าที่เหมาะสม อาจเพื่อให้พระเศียรไม่ก้มต่ำลงมาหรือขยับเขยื้อน ก่อนจะจัดพระอิริยาบทให้อยูในท่านั่งต่อไป
             หลังจากถวายเครื่องค้ำพระเศียรแล้วจึงถวาย พระกัปปาสิกะสูตร (ด้ายสายสิญจน์หรือด้ายดิบ)ทำสุกำพระบรมศพหรือมัดตราสัง แล้วเตรียมผ้าห่อเหมี้ยง รหือ พระกัปปาสิกะเศวตพัสตร์ (ผ้าฝ้ายสีขาว) ปูซ้อนกันเป็นรูปหกแฉก แล้วเชิญพระบรมศพให้ประทับในท่านั่งเหนือผ้านั้น แล้วรวบชายผ้าไว้เหนือพระเศียรซึ่งจะปล่อยชายผ้าไว้สำหรับผุกพระภูษาโยงสดับปกรณ์ จากนั้นห่อด้วยผ้าตั้งแต่พระบาท (เท้า) พันขึ้นไปจนถึงพระกัณฐฐา (คอ) แล้วเหน็บไว้ หลังจากนั้นจึงเชิยพระบรมศพลงพระโกศหนุนด้วยหนอนโยรอบเพื่อกันเอียงเป็นเสร็จขั้นตอน
            อย่างไรก็ตามได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อรั้งงานพระบรมศพสมเด็จพระศรรีนครินทราบรมราชชนนี (โดย แผนเพจ คลังประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศ) เมื่อคราวสมเด็จย่าสวรรคตนั้น พระองค์ได้รับสั่งว่าให้นำท่านลงหีบ ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งนี้เกิดขึ้นเมื่อคราพิธีสรงน้ำสมเด้จพระราชินี ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งสมเด็จย่าเสด็จอ้วย และได้เห็นการทำพระสุกำหรือมัดตราสังพระบรมศพแล้วอัญเชิญลงสู่พระบรมโกศ เป็นไปด้วยความทุลักทุเล พระองค์ จึงตรัสว่า "อย่าทำกับฉันอย่างนี้ อึดอัดแย่"
หีบพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ัชการที่ 9
สร้างจากมไ้สักทองอายุนับร้อยปีปิทองแท้ร้อยเปอร์เซ็นทั้งใบ
             ด้วยเหตุนี้ งานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี เมื่อ พ.ศ. 2538 ก็ได้เปลี่ยนมาเป้นการเชิญลงหีบพระศพแทน เช่นเดี่ยวกับงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึงสามารถทำได้รามพระราชอัธยาศัย ดังนั้นในพระโกศจึงไม่มีพระบรมศพสถิตอยู่ ตั้งไว้เพื่อเป็นพระเกี่ยติยศเท่านั้น ส่วนหีบทรงพระบรมศฑประกิษฐานหลังพระแท่นโดยมีฉากกั้นอยู่
              อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการบรรจุพระศพลงพระโกศ หรือบรรจุศพลงโกศนั้นยังคงมีอยู่ เพียงแต่จะบรรจุลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับพระทายาทหรือทายาท ซึงงานพระศพเจ้านายบางพระอค์ก็ยังบรรจุศพลงโกศเหมือนแต่ก่อน...hilight.kapook.com/view/143615
            ลักพระศพ
            น้ำตาไหลเลย!!!...ลัก "พระศพแล้ว" นักข่าวดังเผยเมื่อหัวค่ำที่สนามหลวง
            ภายใต้ความโศกเศร้าของพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ที่ได้มาร่วมกันสักาาระพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นก็ได้มีภาพที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี ความสมัครสมานสามัคคีและความมีน้ำใจของคนไทยออกมามากมายจนถึงวันนี้..
            ซึ่งมีเรื่องหนึ่งที่หลายคนคงไม่รุ้มาก่อน โดยล่าสุดทางผุ้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Wassana Nanuam ได้โพสต์เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความและคลิปวิดีโอขณะทีเจอขบวน "การลักพระศพ" ในหลวง รัชกาลที่ 9 ประทับที่พระเมรุมาศ กลางสนามหลวง ซึ่งตามประเพณีจะทำก่อนวัน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบมศพ จะมาถึงอีกหนึ่ง แม้จะเป้นการทำแบบเงี่ยบ แต่หลับทำให้บรรดาพสกนิกรไทยที่พบเห้นใจหายไปตามๆ กัน โดยได้ระบุข้อความว่า...
             "ในหลวง ร.9" ทรงมาประทับที่ พระเมรุมาศ กลางสนามหลวงแล้ว..การ"ลักพระศพ"จากเวลา 19.49-20.18 น. ...เสร็จสิ้น..." ร.10 เสด็จกกลับ ส่วน สมเด็จพระเทพฯ กลับเข้าวัง อีกครั้ง   ใจหาย!!! เป็นการสันนิษฐาน จากการดูด้วยสายตา แลอยู่ในบริเวณนี้ แม้จะเป็น ว.5"
              โดยต่อมาทางผุ้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Wassana Nanuam ได้ออกมาเผยแพร่ข้อความพร้อมคำชี้แจ้งถึงเรื่องราวที่มีกาอัญเชิญ "พระศพ ไปขึ้นพระเมรุมาศ ก่อนวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จะมาถึง ถูกเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ พร้อมระบุข้อความว่า"
              "กำลัง สารวัตรทหารเรือ" มาวางกำลัง ยืนยามโดยรอบสนามหลวงแล้ว...มีคำชี้แจงว่า..ประเพณี หรือ พิธีลักพระศพ ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นความเชื่อเท่านั้น ว่า มีการอัญเชิย พระศพ ไปขึ้นพระเมรุมาศ ก่อน ....แต่ก็ไม่เคยมีหลักฐานว่ามีเกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับครั้งนี้ ก็เป็นแค่การสันนิษฐาน จากที่อยุ่ในบริเวณโดยรอบ แต่ไม่ได้เห็นด้วยตา ใกล้ๆ แต่าการที่ได้อ่านในสื่อหลายแขนงว่า จะมีพิธีนี้...จึงคอยเฝ้าดู จากพื้นที่ โดยรอบเท่านั้น..การพิธี แบบนี้มีจริงหรือไม่ ไม่มีใครพิสูจน์ได้ เป้นแค่ความเชื่อ เท่านั้น"...www.today.jackpotded.com/4638/
              ที่มาธรรมเนียม "ลักพระศพ" ก่อนเคลื่อนริ้วขบวนพระราชพิธีฯ ทำในเวลากลางคืน
               พระราชพิธีพระบรมศพและการทำพระศพเจ้านายแต่ดั้งเดิม มีธรรมเนียมซึ่งเรียกว่า "ลักพระศพ" หรือ "ลักศพ" โดยเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมงานก่อนวันถวายพระเพลิง หรือพระราชทานเพลิง โดยเจ้าพนักงานที่รับผิดชอบจะอัญเชิญพระบรมศพ หรือ พระศพจากที่ประดิษฐานเวลากลางคืนมายังพระราชยานหือ ยานพาหนะเพื่อตั้งกระบวนรอที่จะเคลื่นไปยังพระมรุหรือเมรุในเช้าวันนั้น
             
 ทั้งนี้ มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกาลสมัย เมื่อปี พ.ศ.2430 ในงานพระศฑของสมเด็จเจ้าหฟ้ามหามาลา ที่ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ให้รายละเอียดในงานพระศพครั้งนั้นความว่า "ณ วันอาทิตย์ ขึ้นสามค่ำ เป็นเตรยมชัดพระศพ ครั้งเวลาค่ำได้ตั้งขบวนแห่แต่วังสมเด็จฯ เจาฟ้ามหามาลา เชิญพระศพไปลงเรือที่ท่าพระล่องลงไปขึ้นที่ศาลต่างประเทศ ตั้งขบวนแห่งเชิญพระศพไปขึ้นพระมหาเวชยันตราชรถที่หน้าวัดเชตุพนเป็นการเงียบอย่างลักพระศพ
             อนึ่ง การลักพระศพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกพระศพ แต่จะเกิดขึ้นกับบางกรณีเท่านั้น เช่น วังที่ตั้งพระศพนั้นอยุ่ไกล หรือ อยุ่อีกฝั่งของแม่น้ำ ห่างไกลจากวัดจากพระเมรุ ที่จะทำการพระราชทานเพลิง ดังนั้น การลักพระศพก็คือ กาอัญเชิญพระศพมายังสถานที่ ที่สะดวกต่อการจัดริ้วขบวน และที่สำคัญคือเป็นรย่นเวลาให้เร็วขึ้น...www.yumzaap.com/6179
            คำว่า "ลักพระศพ"เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของเจ้าพนักงานภูษามาลาที่มช้พุดถึงขั้นตอนการอัญเชิญพระศพไปยังพระเมรุกอ่นงานพระราชพิธี จะรีบกระทำในเวลากลางคือ หรือเช้ามือก่อนงานพระราชพิธี โดยจะอัญเชิญพระโกศทรงพระศพออกจากตำหนัก หรือวังที่ประทับ ขึ้นยังพระราชยานรถม้า หรือราชยานคนกาม ไปยังสถานที่ใดทีหนึ่งเืพ่อตั้งรอริ้วขบวนงานพระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในตอนเช้า ดังตัวอย่งเหตุการณ์ลักรพะศพที่เคยบันทึกไว้ข้างต้น..royal.jarm.com/view/99200
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)