Royal Crematorium

           
พระเมรุมาศ ศูนย์รวมแห่งศาสตร์และศิลป์ทุกแขนงในการถวายพระเกียรติยศแด่พระเจ้าแผ่นดินหลังจากเสด็จสวรรคต รายละเอียดมากมาย รวมยกมาเป็นเกร็ดพึงรู้
           ตามโบราณราชประเพณีของไทย การก่อสร้างพระเมรุมาศ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดการปกครองแบบเทวนิยมท ใช้เปนที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงมีแนวคิดมาจาก "เขาพระสุเมรุ" อันเป็นความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ เสด็จลงมายังดลก เมื่อสวรรคตก็มีการส่งเสด็จกลับเขาพระสุเมระตามเดิม
            พระเมรุมาศในพระราชพิธีพระบรมศพ สามารถสืบค้นย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฎการจัดพระราชพิธีพระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดใน หนังสือไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง การสร้างพระเมรุมาศยิ่งใหญ่
โอฬารมาก ปรากฎตามจดหมายเหตุ และพระราชพงศาวดารว่ พระเมรุมาสสูงถึง 2 เส้น มีประมณฑลกว้างใหญ่ เช่น พระเมรุมาศของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์งานพระบรมศพก็ยังคงรักษาธรรมเนียมดั้งเดิมไว้เช่นกัน ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
         
สำหรับ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระเมรุมาศก็ยังยึดถือตามคติความเชื่อ และโบราณราชประเพณี อีกทั้งยังคงแก่นความสำคัญใการสะท้อนความจงรักภักดของปวงชนชาวไทยที่มีต่อพระองค์ท่าน ผ่านส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้พระเมรุมาศสมพระเกี่ยรติที่สุด นับจากนี้ คือ 9 ใจความสำคัญของพระเมรุมาศ ที่เรียบเรียงมา
           1. พระเมรุมาศ เพรีบเหมือน เขาพระเมรุ ใจกลางหลักจักรวาล ตั้งอยู่เหนือน้ำ 84,000 โยชน์ มีภูเขารองรับ 3 ลูก โดยส่วนฐาน คือ ตรีกูฎ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ 7 ทิว เรียกว่า สัตตบริภัฒฑคีรี ประกอบไปด้วยทิวเขา ยุคนธร กรวิก อสินธร สุทัศ เนมินธร วินตก และอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิกและบริวารสถิตอยู่ ซึ่งทิวเขาเหล่านั้นก็คือ อาคารประกอบ ได้แก่ประดุจโบสถ์วิหาร มีระเบียงล้อมรอบซึงเรียกว่าทับเกษตร หรือที่พัก
           บนยอดขาพระสุเมรุ คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งยอดบนสูงสุดของพระเมรุมาศ มีการจารึกพระปรมาภิไธย และเศวตฉัตร
           การสร้างพระเมรุมาศในแต่ละครั้งถือเป็นงานใหญ่ มีหลักฐานปรากฎมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบทอดเป็นแบบแผนให้กับงานพระราชพิธีจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชั้นสูงที่ต้องเรียนรู้การสร้างอาคารหมู่และอาคารหลังเดี่ยวทั้งเล็กใหญ่ รู้กระบวนการช่างไทยทุกสาขา ทั้งด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมรวมกันทุกแขนง
          2. ลักษณะพระเมรุมาศที่ปรากฎมาแต่โบราณมีทั้ง พระเมรุทรงปราสาท และพระเมรุทรงบุษบก
พระเมรุ รัชกาลที่ 4
           พระเมรุปราสาท คือ อาคารพระเมรุมีรูปลักษณะอย่างปราสาท สร้างเรือนบุษบกบัลลังก์ คือ พระเมรุทองซ้อนอยู่ภายใน พระเมรุทองประดิษฐานบนเบญจา พระจิตกาธานรองรับพระโกศพระศพ ปิดทองล่องชาด พระเมรุทรงปราสาทนี้ยังแยกได้อีก 2 ลักษณะ คือ พระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์ และพระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป ซึ่งปรากฎในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
           พระเมรุทรงบุษบก คือ พระเมรุที่สร้างบนพื้นที่ราบโดยดัดแปลงอาคารปราสาทเป็นเรือนบุษบกขยายพระเมรุทองในปราสาททีเป็นเรื่อนบุษบกบัลลังก์แต่เดิมให้ใหญ่ขึ้น เพื่อการถวายพระเพลิง ตังเบญจาพระจิตการธานรับพระโกศพระบรมศพ ซึงเกิดขึ้นครั้งแรกในงานถวาย พระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว
           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับ คติการสร้าง "พระเมรุ" ว่าได้ชื่อมา แต่การปลูกสร้
ปราสาทอันสูงใหญ่ ท่ามกลางปราสาทน้อย มีลักาณดุจเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางเขาสัตตบิรภัฒฑ์ล้อมรอบ จึงเรียกว่าพระเมรุ
พระเมรุ รัชกาลที่ 5
           ภายหลัง เมื่อทำย่อลง ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก้ยังคงเรียกเมรุ ด้วยคนไทยมีความเชื่อและยึดถือเรื่องไตรภูมิตามคติทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภาพจักรวาล มีเขาพระสุเมรุเป้นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม รายล้อมด้วยสรพพสิ่งนานา อันเป็นวิมานของท้าวจตุดลกบาล และเขาสัตตบริภัฒฑ์ดังนั้นจึงนำคติความเชื่อจาก ไตรภูมิมาเป็นแนวทางในการจัดพิธีถวายพระเพลิง เพื่อได้ถึงภพแห่งความดีงานอันมีแดนอยู่ที่เขาพระสุเมรุ สิ่งก่อสร้างในพระราชพิธีถวายพระเพลิง จะจำลองให้ละม้อยกับดินแดนเขาพระสุเมรุด้วย
           4. ความสำคัญของการจัดพระราชพิธีพระบรมศพนั้น นอกจากจะถือเป็นการถวายพระเกียรติยศ แสดงความเคารพอย่างสุสำหรับพระมหากษัตริย์แล้ว ในสมัยโบราณ พระราชพิธีนี้ ยังถือเป็นการประกาสความมั่นนคงของบ้านเมือง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแผ่นดินสืบสันตติวงศ์ต่อไป
            สวนหนึ่ง ดูจากการสร้างพระเมรุมาศประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพว่า สามารถทำได้ยิ่งใหญ่เพียงได เพราะส่วนที่บ่งบอกถึงญานะ และอำนาจของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ได้อย่างดีประการหนึ่ง จึงถือได้ว่ งานพระเมรุเป็นศักดิ์ศรีและเป็ฯเกี่ยรติยศที่ปรากฎแผ่ไพศาลตั้งแต่ต้นแผ่นดิน
       
 5.ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยมปลูกสร้างเป็นรูปพระเมรุขนาดใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็น
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการสร้งพรมรุมาศให้มีขนาด "ย่อมลง" อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวที่ทรงต้องการให้จัดงานแต่เหมาะสมมิให้สูงถึง 2 เส้นดังแกต่กาลก่อน ดดยยกพระเมรุชั้นนอกทรงปราสาทออกเสีย สร้างแต่องค์ใน คือ พระเมรุทองเหรือพรเมรุมาศ ภายในตั้งพระจิตกาะานสำหรับประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ
            ครั้งถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชันทึกตัดทอนการปลูกสร้างพระเมรุมาศ และการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระองค์ลงอีกหลายประการ งานพระเมรุจึงลดขนาดลงตั้งแต่นั้นมา
       

นอกจากขนาดของพระเมรุมาศแล้ว ในสมัยงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระบรมราชโองการแสดงพระราชประสงค์ให้รวบรัดหมายกำหนดการให้น้อยลง เพื่อประหยัดตามกาลสมัย โดยพระราชพินัยกรรมระบุถึงการจัดงานพระบรมศพให้งดราชประเพณีเห่า ๆหลายอย่าง อาทิ การงดการโยงโปรย ยิกเลกนางร้องไห้ ซึ่งรบกวนพระราชหฤทัยตั้งแต่งานพระบรมศพพระราชบิดา เป็นเหตุให้ประเพณีดังกล่าวงดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การยกเลิกการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว เป็นต้น
          ในอดีต การถวายพระเพลิงพระศพแต่โบราณ มีรายละเดียดมาก กำหนดเป็นงานใหญ่ในช่วงฤดูกาลที่ไม่มีฝนอย่างเดือนเมษายน ใช้เวลาประมาณ 14 วัน 14 คืน เป้นเกณฑ์ มักจะเร่ิมงาน ตังแต่ขึ้น 5 หรือ 6 ค่ำ ไปจนถึงแรม 4 ค่ำ ที่เป็นแบบนั้น ก็เพราะในสมัยโบราณ จำเป็นต้องอาศัยแสงจันทร์ช่วยให้ความสว่างด้วยนั่นเอง
         
สำหรับรายละเดียดในงานออกพระเมรุ จะเริ่มด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกสู่พระเมรุพระราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ในวันแรก แล้วค่อยจัดสมโภชพระบรมสารีริกธาตด้วยการจุดดอกไม้ไฟในค่ำวันที่ 23 ก่อนจะอัญเชิญพระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุ  สมโภช 1 วัน กับ 1 คืน แล้วจึงอัญเชิญกลับ
          จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมศพออกจากพระมหาปราสาทไปสมโภช ณ พระเมรุมาศ 7 วัน 7 คืน โดยหลังจากถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ก็จะสมโภชพระบรมอัฐิ อีก 3 วัน 3 คืน รวม 14 วัน 14 คืน
          ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด และตัดทอนพิธีกรรมหลายอย่าง  เช่น งดการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมอัฐิออก สมโภชก่อนงานพระราชพิะีอัญเชิญพระบรมศพ พระศพ ทำให้ตัดทอนพิธีอื่นๆ  ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการจุดดอกไม้ไฟสมโภช หรือ ลอการสมโภชพระศพเมื่อประดิษฐานบนพระเมรุแล้ว เป็นต้น
         8 . ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยบเดช งานภูมิสถาปัตยกรรมเชื่เมดยงกับตัวอาคาร เข้ากับสิ่งที่แสดงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 อันมีความเกี่ยวพันกับโครงการพระราชดำริ ในพื้นที่ด้านทิศเหนือ เป็นทางเข้าหลักสู่พระเมรุมาศ
         มีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม การจำลองนาขั้นบันได หญ้าแผก แก้มลิง และกังหันน้ำชัยพัฒนา รวมทั้งพันธุ์ข้าวจากภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ พันธุ์ปทุมะานี 1 เป็นตัวแทนของข้าวภาคกลาง พันธ์ุข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็ตัวแทนของข้าวในภาคอีสานและหนือที่นิยมปลูกข้าวพันธุ์นี้ พันธุ์ข้าว กข 31 หรือพันธุ์ปทุมธานี 80 ที่ตั้งชื่อเพื่อร่วมเฉลิมพระเกี่ยรติในโอากสทรงเจริญพระชนมพรราครล 80 พรรษา โดยออกแบบแปลงนาเชิงสัญลักษณ์ให้เป็นเลขเห้าไทยสีดินทอง เป็นสัญลักษณ์สื่อว่าพระเมรุมาศนี้สร้างขึ้นเพื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ฺนักพัฒนา
          9. พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประกอบด้วยอาคารทรงบุาบก จำนวน 9 องค์ ตั้งอยุ่บนฐานชาลารูปสีเหลี่ยมจัตุรัศ 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้น ทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าพระที่นั่งทรงะรรม ทิศตะวันออกติดตั้งลิฟต์ และทิศเหนือติดตั้งสะานเกรินสำหรับเชิญพระบรมโกศจากราชรถปืนใหญ่ขึ้นบนพระเมรุมาศ
           โดยโครงสร้างพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ลานอุตราวรรค หรือพื้นฐานพระเมรุมาศ มีสระอโนดาดทั้งสี่ทิศ และเขามอจำลอง มีประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงค์ ม้า แลสัตว์หิมพานต์ ตระกูลต่างๆ ประดับโดยรอบ
           ฐานชาลาชั้นที่ 1 มีฐานสิงห์เป็นรั่วราชวัตร แัตร แสดงอาณเขตพระเมรุมาศ และมีเทวดานั่งคุกเข่าถือบังแทรก
           ฐานชาลาชั้นที่ 2 มีหอเปลื้องทรงบุษบกรูแแบบเดี่ยกันตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่  ใช้สำหรับจัดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้จันทน์ รวมถึงอุปกรณืสำหรับงานพระราชพิธี
           ฐานชาลาชั้น 3 ฐานบุษบกประธานประดับประติมากรรมเทพชุมนุม จำนวน 132 องค์โดยรอบรองรับด้วยฐานสิงห์ซึ่งประดับประติมากรรมครุฑยุดนาคดดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มุมทั้งสี่ของฐานขั้นที่ 3 นี้ เป็นที่ตั้งของช่างทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น
           จุดกึ่งกลางชั้นบนสุดมีบุษบกองคืประธานตั้งอยู่ เป็นอาคารทรงบุษบกยอดมณพปขั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ภายในมีพระจิตกาธาน เป้นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสุตร (ม่าน) และฉากบังเพลิงเชียนภาพพระนารายณ์อวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตอนล่างที่ยอดบนสุด ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตรwww.bangkokbiznews.com/news/detail/778316
            เย็นวันที 20 ต.ค. 2560 พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างตรวนความเรียบร้อยการก่อสร้าพระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภุมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่า
           
การสร้างพระเมรุมาศ อาคารประกอบ ซ่อมสร้างราชรถ ราชยาน พระบรมโกศ และทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพถือว่าเสร็จสมบูรณืเรียบร้อยอย่างเป้ฯทางการ 100% หลังหน่วยงนที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจกันตลอด 9 เพือนเต็มจนทุกอย่างเสร็จสิ้นสมูรณ์งดงามสมพระเกียรติ
             โดยในวันที่ 21 ต.ค. จะ่งมอบพท้ที่ให้ฝ่ายตำรวจ และเหลือเจ้าหน้าที่ไว้บำรุงรักษาให้ทุกอย่าวคงสภาพสมบูรณ์
             "สภาพดอกไม้จะบาน 100% คือวันที่ 26 ตุลาคม และจะสมบูรณ์เรื่อยไปจนถึงวันที่ 30 พศจิิกายน ซึ่งเป้นวันสุดท้ายของงานนิทรรศการ" พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว
               พล.อ.ธนศักดิ์ กลาด้วยว่า ด้วยประบารมีทำให้ตลอดการทำงานก่อสร้างพระเมรุมาศ แม้แต่ช่างสักคนเดียวก็ไม่ถูกลวดเกี่ยว ตะปูดำ ทุกคนปลอดภัยทั้งหมด ส่วนกรณีฝนตกน้ำท่วมยืนบันว่าพร้อมรบมือและไม่กังวลเพราะแม้แต่ช่วงที่ฝนตกหนักที่สุดครั้งที่ผ่านมาก็สามารถรับอได้อย่างไม่มีปัญหา
               พล.อ.ธนศํกดิ์ ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคนไทยทั้งประเทศพร้อมย้ำหลายครั้งตลอดการสัมภาษณ์ว่าผลงานทั้งหมดสำเร็จด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศทีร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงให้ทั้งโลกเห็นว่าในเรื่งอของการเทิดทูนถาบันพระมหากษัตริย์ของคนไทยน้นเหนือสิ่งอื่นใด
             ทั้งนี้หลักเสร็จงานพระราชพิธีฯ จะจัดนิทรรศการเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมระหวางวันที่ 2-30 พ.ย. 2560 โดยจะรักษาสภาพความงดงามสมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาจัดงานนิทรรศการ ถ้าดอกไม้เหี่ยวก็จะเปลี่ยนให้เพื่อคงความงดงามสมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาจัดงานนิทรรศการ ถ้าดอกไม้เหี่ยวก็จะเปลี่ยนให้เพื่อคงความงดงามให้ทุกคนได้ชมอย่างเท่าเที่ยมกัน สำหรับนิทรรศการดังกล่าวจะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 7.00-22.00 น. ประชาชนได้เข้าชมรอบละ 5,000 คน ใช้เวลารอบละประมาณ 45 นาที แต่ถ้าประชาชนมามากอาจจะขยายเวลาปิดเลย 22.00 น. ออกไป แต่ทั้งนี้ช่วงเวลากการจัดนิทรรศการจะสิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. ยืนยันยังไม่มีการขยายเวลาออกไป
           " ณ ขณะ นี้ยืนยันว่า ยังเป็ฯ 2-30 พ.ย. ทุกคนควรจะมารับชม อย่างไปคิดว่าเดี๋ยวเขาก็ขยายเวลา เพราะขณะนี้ยืนยันว่านิทรรศการมีถึงวันที่ 30 พ.ย." พล.อ. ธนะศักดิ์ กล่าวthestandard.co/kingrama9-cremation-complete/

           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)