วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Royal tradition II

       
              เปิดตำนาน..!! "เผาจริง เผาหลอก" ธรรมเนียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพฯของพระมหากษัตริย์ในอดีต เพราะเหตุใดถึงต้องทำเช่นนี้??....
              การถวายพระเพลิง เป็นการน้อมส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายที่มีฐานานุศักดิ์สูงสู่สวรรคาลัยและผู้ที่สามารถประกอบพระราชพิธีในเขตกำแพลเมืองได้ (หรือที่เรียกว่า เมุกลางเมือง ซึ่งกระทำบริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้องสรามหลวงในปัจจุบัน) ต้องเป็นเจ้านายที่มีฐานานุศักิ์สูงเท่านั้น ส่วนเจ้านายที่มีฐานานุศักดิ์ไม่สูง ข้าราชการ และราษฎรทั่วไป ต้องไปประกอบพิธีนอกกำแพงเมืองทางประตูสำราฐราษฎร์ หรือ ประตูผี ดังนั้นจะเห็นว่าวัดในเขตกำแพงเมืองจะไม่มีเมรุเผาศพ
              ขั้นตอนของพระราชพิธีถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณีนั้นมีหลายขึ้นที่สำคัญ ตั้งแต่วันก่อนถวายพระเพิลง ซึ่งจะมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตไปสมโภชที่พระเมรุ พิธีอัญเชิญพระโกศพระบรมศพไปประดิษฐานที่พระมรุ และพิธีเวยนรอบพระเมรุ และใวันถวายพระเพลิงก็จะต้องอัญเชิญพระบรมศพออกมาสรงน้ำทำความสะอาดแล้วจึงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นพระดิษฐานเหนือพระจิตกาธานแล้วจึงถวายพระเพลิง ซึ่งช่วงเวลาที่พระราชทานเพลิงนั้นมักจะถวายพระเพลิงให้เสร็จภายในครั้งเดียว ไม่มีพิธีเผาศพ 2 ครั้งอย่างที่เรียกว่า เผาจริงและเผาหลอก
           
วิธีการเผาจริงและเผาหลอก ในขณะนั้นเรียกว่า เปิดเพลิง ดังความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกไว้เกี่ยวกับที่มาและความแพร่หลายของพธีเผาจริงและเผาหลอกว่า
              "แท้จริงเปนความคิดของพวกเจ้าพนักงานเผาศพหลวงในตอนปลายๆ รัชกาลที 5 เพื่อมิให้ผุ้ที่ไปช่วยงานเผาศพเดือดร้อนรำคาญเพราะกลิ่นแห่งการเผาศพ ในเวลาที่ทำพิธีพระราชทานเพลิงจึงปิดก้นโกษฐ์หรือหีบไว้เสียและคอยระวังถอนธุปเที่ยนออกเสียจากภายใต้ เพื่อมิให้ไฟไหม้ขึ้นไปถึง ตอนดึกเมื่อผุ้คนไปช่วยงานกลับกันหมดแล้ว จึงเปิดไฟและทำการเผาศพจริงๆ
               ...ดังนั้นจึงเกิดเปนธรรมเนียมขึ้นวว่า ผุ้ที่มิใช้ญาติสนิทให้เผาในเวลาพระราชทานเพลิง ญาติสนิทเผาอีกครั้ง เมื่อเปิดเพลิง กรมนเรศน์ เป้นผุ้ที่ทำให้ธรรมเนียมนี้เฟื่องฟูขึ้น และเป็นผุ้ตั้งศัพท์ เผาพิธี และเผาจริง ขึ้น.."
             ธรรมเนียมการเผาจริงเผาหลอก นี้เร่ิมช้ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 เป้นต้นมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอกเล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้รับการถวายพระเพลิงตามธรรมเนียมนี้www.welovemyking.com/38610/
             เดินสามหาบ (พิธีทางพุทธศาสนา) เดินสามหาบ เป็นคำที่ปรากฎในเอกสารเก่าในหมากำหนดการถวายพระเพลิงพระบมศพพระราชทานเพลิงพระศพ รวมทั้งในงานปลงศพของสามัญชนในอดีต ก่อนการเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ได้จัดพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าออกเป็ฯ 9 ชุด ชุดละ 3 คน ทำหน้าที่ถือและหาบสิ่งของต่างๆ คนที่หนึ่งถือผ้าไตร (ผ้าไตรสามหาบ) นำหน้า คนที่สองหาบสาเเหรกซึ่งวางตะลุ่มและเตียบบรรจุภัตตาหารถวายพระสงฆ์ (ภัตตาหารสามหาบ) คนที่สามถือหม้อข้าวเชิงกรานซึ่งเป็เตาไฟสำหรับตั้งหม้อหุงต้นในสมัยโลราณ ในหม้อใส่ข้าวสาร พริก หอม กระเที่ยม กะปี ฯลฯ เดินเวียนรอบพระเมรุมาศ พระเมรุโดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) 3 รอบ จากนั้นพระมหากษัตริย์เสด็จฯ ขึ้นบนพระเมรุมาศ พระเมรุ ทรงทอดผ้าไตรสามหาบบนผ้าที่ถวายุคลุมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ สมเด็จะพระราชาคณะ พระราชาคณะขึ้นสดับปกรณืบนพระเมรุมาศ แรพเมรุ จากนั้นทรงเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เสด็จฯ ยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประเคนภัตตาหารสามหาบแด่สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่สดับปกรณ์ผ้าไตร เมื่อรับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา
            ทั้งนี้ ในพระราชพิธีปัจจุบันยกเลิกการเดินสามหาบรอบพระเมรุมาศ พระเมรุ คงไว้แตเพียงการถวายผ้าไตรสามหาบก่อนเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิ และถวายถัตตาหารสามหาบเมื่อเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระอัฐิมาประดิษฐานบนบุษบก เหนือพระแท่นแว่นฟ้าทอง ณ พระที่นั่งทรงธรรม ดดยภัตตาหารสามหาบจัดตามพระเกี่ยติยศคือ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี จัด 3 ชุด (เก้าสำรับ) ชั้นเจ้าฟา จัด 2 ชุด (หกสำรับ) ชั้นพระองค์เจ้าจัด 1 ชุด (สามสำรับ)
            มีข้อมูลจากสำนักรชยัณฑิตยสภาว่า เดินสามหาบเป้ฯคำเรียกพิธีกรรมอย่างกนึ่งที่ทำเมื่อเผาศพแล้ววันรุ่งขึ้นเจ้าภาพจะต้องไปเก็บอัฐิเพื่อนำมาเก็บในที่อันควร และนำเถ้าที่เหลือไปลอยน้ำ เรียกว่าลอยอังคารในการเก็ฐอัฐิเดิมลูกหลานจะจัดข้าวของและอาหารเป็นหาบ 3 หาบ พันไม้คานด้วยผ้าขาว ข้างหนึ่งของหาบมีหม้อข้าว หม้อแกง เตาไฟ ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม กะปิ ซึ่งลวนเป็นเสบียงอาหารแห่ง หาบอีกข้างหนึ่งบรรจุข้าวและอาหารควาหวานที่ทำสุกแล้ว ทำดังนี้ทั้ง 3 หาบ
            ในสมัยโบราณจะให้ลุกหลาน 3 คนแต่งกายสีขาว นำหาบทั้งสามไปเดินเวียนรอบที่เผาศพ กู่ร้อง 3 ครั้งแล้วนำหาบทั้ง 3 นั้นไปถวายพระภิกษุ 3 รูป พร้อมกับผ้าลังสุกุลอีกรูปละ 1 ชุด เมื่อพระชักผ้าบังสุกุลและรับถวายหาบแล้วก็เสร็จพิธี
            ปัจจุบันมักไม่ใช่้หาบ แค่จัดอาหารใส่ปิ่นโต หรือถาดตามสะดวก ก็เรียกว่าทำสามหาบเช่น เดียวกน ทั้งนี้ คำว่าสาม ในเดินสามหาบ และทำสามหาบ ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือ http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNekF6TVRBMk1BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE55MHhNQzB3TXc9PQ==
             ในพระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนถบพิตร ในวันที่ 27 ต.ค. 2560 จะมีพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและพระบมราชสรีรางคาร และจะมีการจัดร้ิวขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เพื่อเชิญพระโกศพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศสู่พระบรมมหาราชวัง

พิธีอัญเชิญพระบรมอัฐิ-พระบรมราชสรีรางคาร
              การเก็บพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร เป็นพิธีที่กระทำขึ้นหลังจากการถวายพระพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้วโดยประกอบพิธี ณ พระจิตกาธาน เมื่อเสด็จขึ้นพระเมรุมาศ เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลุมพระบรมราชสรีรางคารทรงสรงพระบรมอัฐิด้วยน้ำพระสุคนธ์เจ้าพนักงานแจงพระบรมอัฐิ โดยเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร เรียงเป็นลำดับให้มีลักษณะเหมือนรูปคน หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก จากนั้นหันพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคารที่แจงไ้มาทางทิศตะวันออกเรียกว่า ปแรพระบรมอัฐิ แล้วจึงถวายคลุมด้วยผ้า
             
การเก็บพระบรมอัฐิจะเลือกเก็บแต่ละส่วนของพระสรีระอย่างละเล็กน้อย พ้อมกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานสงศ์ฝ่ายในที่ได้รบพระบรมราชานุญาตขึ้นรับพระราชทานพระบรมอัฐิไปสัการบูชา แล้วทรงประมวลพระบรมอัฐิบรรจุพระโกศ หลังจากนั้นเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม ทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
              ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญลงบรรจุในพระผอบโลหะปิดทองประดิษฐานบนพานทองสองชั้นคลุมผาตาดพักรอไว้บนพระเมรุมาศ
              พระบรมราชสรีรางคาร คือ เถ้าถ่านที่ปะปนกับพระบรมอัฐิช้ินเล็กช้อนน้อยของพระบรมศพพระมหากษัตริย์ มเด็จพระราชินี และสมเด็จพระบรมราชกุมารีที่เผาแล้วซ฿่งอาจเรียกว่า พระสรีรางคาร ตามลำดับพระอิสริยยศของพระบรมวงศ์และเรียกว่า อังกคารสำหรับสามัญชน
               การบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นขึ้นตอนสุดท้ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระบรมรชบุพการี และสมเด็จพระบรมราชินี เกิดขึ้นครั้งแรกในคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุำเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเหล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมการลอยพระบรมราชสรีรางคาร และโปรดให้เขิญพระบรมราชสรีรางคารมาประดิษฐาน ณ รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชภายในพระอุโลสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จึงกลายเป็นธรรมเนียมในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระสรีรางคารไปประดิษฐานในสุสานหลวงหรือสถานที่ควรแทน โดยเจ้าพนักงงานจะเชิญพระบลรมราชสรีรางคารจากสถานที่ที่พักไว้แล้วจัดขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังสถานที่บรรจุอันเหมาะสม
               พระบรราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเชิญไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมาหสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร
                สำหรับร้ิวขบวนพระะบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 4 ในวนที่ 27 ตุลาคม 2560 จะเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ โยพระที่นั่งราเชนทรยาน และพระบรมราชสรีรางคาร ดดยพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย จากพระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงสู่พระบรมมหาราชวัง ดดยพระบรมราชสรีรางคารจะแยดเข้าวัยพระสณีรัตนศาสดารามเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพักไว้ที่พระศรีรัตนเจดีย์ ส่วนพระโกศพระบรมอัฐิจะอัญเชิญเข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานที่บุษบกแว่นฟ้าท่องhttps://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000108941
              พระโกศพระบรมอัฐิ "พระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 เรื่อง พระโกศพระบรมอัฐิสำหรับพระมหากษัตริย์"

             นอกจากพระโกศทองใหญ่ที่ใช้ทรงพระบรมศฑพระมหากษัตริย์เมื่อสวรรคตแล้ว หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศฑ พระบรมอัฐิจะได้รับการบรรจุไว้ในพระโกศพระบรมอัฐิที่สร้างขึ้นตามอย่างพระโกศทองใหญ่แต่มีขนาดย่อมกว่า การสร้างพระโกศพระบรมอัฐิที่ถายอย่างมาจากพระโกศทรงพระบรมศพ คงมีมาแล้วอย่างข้าก็ตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในกระบวนเชิญพระบรมอัฐิและพระสรีรังคารที่คัดลอกจากจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดยม จังหัดพระนครสรีอยุธยา แสดงภายพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานในพระที่นั่งราเชนทรยาน
       
 พระโกศพระบรมอัฐิที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มักซ้อนกัน 2 ชั้น "ชั้นใน" เป็นถ้ำศิลาหรือลองศิลา "ช้ันนอก" เป็นพระโกศแปดเหลี่ยมยอดทรงมงกุฎเช่นเดียวกับพระโกศทองใหญ่ ทำจากทองคำลงยาประดับเพชรพลอย เครื่องประดับ ทั้งดอกไม้เอว ดอกไม้ฝา พู่และเฟือง รวมไปถึงดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ทำจากเงินพระดับเพชร เช่นเดียวกับที่ประดับพระโกศทองใหญ่ ยอดพระโกศพระบรมอัฐิยังสร้างไว้ต่างกัน 2 แบบ ถอดเปลี่ยนสลับได้ตามวาระการใช้งาน กล่าวคือ ตามปกติเมื่อประดิษฐานบนพระวิมานในหอพระบรมอัฐิ จะสวมยอดปักดอกไม้เพชรพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อเมื่อเชิญพรดิษฐานในการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานจะถอดยอดนันช้นออกแล้วปักพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรตามพระบรมราชอิสริยยศเป็นฉัตรทองคำฉลุลาย 9 ชั้น ยอดพรหมพักตร์ ภายในกรุผ้าขาว เช่นที่ใช้ทำระไบเศวตฉัตรทุกขั้น
             การสร้างพระโกศพระบรมอัฐิสำหรับพระมหากษัตริย์ ยังมีความแตกต่างกันระหว่างพระมหากษัตริย์ที่ทรงมพระราชโอรสสืบราชสัตติวงศ์เป็นพระมหากษัริย์ และที่ไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์ด้วย ตามพระราชนิยมที่พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสไว้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" ดังนี้
             "เรื่องพระโกษฐ์พระบรมอัษฐิมีพระราชกระแสขอทูลกระหม่อม (รัชกาลที่ 5) ปรากฎอยู่ในพระราชหัตถเชขาฉบับ 1 ว่า ทูลกระหม่อมปู่ (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงแสดงพระราชนิยมไว้วว่ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดมีพระราชโอรสเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบสันตติวงศ์สนองพระองค์ให้ใช้พระโกษฐ์เปนกุดั่น
ประดับพลอย แต่ถ้าเปนพระเจ้าแผ่นดินเฉพาะพระองค์ให้ใช้เปนลงยานาชาวดี ที่ทุลกระหม่อมปุ่ทรงตั้งเกณฑ์ขึ้นเช่นนี้ พอเดาได้ว่ทรงมุ่งหมายสำหรับพระโกษฐ์พระบรมอัษฐิแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น แต่ครั้งจะมีพระราชดำรัสออกมตรงๆ ก็กระไรๆอยู่ จึงได้มีพระราชกรแสรอย่างที่ปรากฎอยู่นั้น" (ราม.วชิราวุธ 2545,135-136) (ุผู้เขียนอธิบายความในวงเล็บ)
             พระราชนิยมดังกล่าวซึ่งเร่ิมใช่ตั้งแต่พระโกศพระบรมอัฐรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา อาจสอดคล้องกับการที่พระโกศพระบรมอัฐิ รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 สังเกตได้ว่าองค์พระโกาศป็นทองคำลงยา ด้วยไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์
             ขณะที่พระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 องค์พระโกศเป็นทองคำประดับพลอยแบบที่เรียกว่ากุด่น ด้วยทรงมีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศื จึงอาจแสดงให้เห็นว่าพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 ดังกล่าวยังคงได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาในราชสำนัก ทั้งนี้ ยกเว้นพระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 6 ซึ่งปรากฎการประดับเพชรพลอยเป็นกุดันแต่ก็มีปริมาณน้อยกว่าที่ปรากฎในพระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 5 https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6059

              พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติในหลวงรัชกาลที่ 9 ประวัติศาสตร์ต้องจารึก...
              มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่

              1. พระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะอัญเชิญประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป้ฯพระโกศทองคำลงยาประดับเพชร 9 เหลี่ยม ออกแบบโดย นายอำพล สัมมาวุฒธิ
              2. พระโกศ ทองคำลงยาประดับพลอย 8 เหลี่ยม มีจำนวน 4 องค์ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ออกแบบโดย นายณัฐพงศ์ ปยมาภรณ์
             3. พระโกศทองคำลงยาประดับพลอย 8 เหลี่ยม ทูลเหล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ออกแบบโดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
              สำหรับพระโกศทรงพระบรมอัฐิที่จะนำไปประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระทีนั่งจักรีมหาปราสาทซึ่งจะเชิญออกในการพระราชพิธีสำคัญของแผ่นดินที่มีการบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณาณุปทาน กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ กลุ่มปรณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรเป็นผุ้ดำเนินการจัดสร้าง
               รูปทรงโดยทั่วไปของพระโกศองค์นี้ได้ศึกษาจากภาพถ่ายของพระโกศทรงพระบรมอัฐิอดีตบูรมหากษัตริย์ไทยทั้งจากเอกสารหนังสือ ภาพากสือสารสนเทศและแบบผลวานการออกแบบพระโกศพรอับิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้ศึกษาจากผลงานอดีตบรมครูช่างศิลปกรรมไทย ศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นแบบอย่างอีกชั้น โดยพระโกศพระบรมอัฐิ ได้ออกแบบเป็นพระโกศเก้าเหลี่ยมตลอดองค์ยกเว้นสวนยอดที่เป็นก้านของพุ่มข้าวบิณฑ์และก้านของสุวรรณฉัตรฉัตร 9 ชั้นจะเป็นทรงกลม ซึ่งลักษณะโดยรวมตามแบบอยางของพระโกศพระบรมอัฐิและพระโกศพระอัฐิที่มีการสร้างสืบตามกันมาตามพระราชประเพณี
           

         องค์ประกอบขององค์พระโกศประกอบด้วยส่วนต่างๆ จำนวน 5 ส่วน
         1. ส่วนฐาน เป็นฐานสิงห์ตามพระเกี่ยติยศสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าส่วนของฐานที่จะต่อเข้ากับองค์พระโกศ (เอวพระโกศ) จะมีพื้นที่สำหรับตั้งลายดอกไม้เอว
          2. ส่วนองค์พระโกศ เป็นลายกลีบบัวจงกล ตามแบบของพระโกศที่นิยมสร้างสรรค์สืบต่อกันมา กลีบบัวนี้ซ้อนขึ้นไปหาปากพระโกศ จำนวน 4 ชั้น ตรงกลางทำเป็นพระนามาภิไธยย่อ ภปร ส่วนขอบปากองค์พระโกศประกอบด้วย ลายบัวคว่ำ ท้องไม้ แนวลวดบัวหงาย และหน้ากระดานบนเป็นพื้นเรียบ เพ่อบอกระยะสุท้อยขององค์พระโกศ ที่ส่วนหน้ากระดานบนนี้จะวางแนวห่วงสำหรับประกอบลายเวื่องอุบะอยู่มุมของเหลี่ยม
           3. ส่วนฝาพระโกศ ทำเป็นทรงมงกุฎเกี่ยวมาลัยทองเรียงลำดับขึ้นไป ชั้นที่ 1, 2, และ 3ทำเป็นลายประจำยามก้ามปู โดยดอกประจำยามถูกแทนที่ด้วยลายดอกไม้ประดับรัตนชาติพื้นลายลงยาสีแดง
           4. ส่วนยอดพระโกศ สร้างเป็นสองแบบ ได้แก่ สร้างเป็นพุ่มข้าบิณฑ์ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับรัตนชาติ และแบบที่สองสร้างเป็นสวรรณฉัตร คือ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร 9 ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ
           5. เครื่องประดับพระโกศ ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ ประกอบด้วย ดอกไม้เอว ทำเป็นช่อดอกประกอบใบเทศ ปักอยุ่หลังชั้นกระจังขอบเองพระโกศบริเวณมุมของเหลี่ยม 9 ช่อ และตรงกลางแต่ละด้าน 9 ช่อ ในแนวระนาบเดียวกัน รวม 18 ช่อ
                     - ช่อดอกไม่ไหว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดอกไม้เพชร ปักเหนือชั้นกระจังเหนือังถลาบริเวณมุมของเหลี่ยม 9 ช่อ และตรงกฃลางแต่ละด้าน 9 ช่ รวม 18 ช่อ และเหนือกระจังชั้นเกี่ยว อีก 3 ชั้น บริเวณมุมของเหลี่ยม ชั้นละ 9 ช่อ รวม 27 ช่อ รวมทั้งสิ้น 45 ช่อ มีรูปลักษณฑเช่นเดียวกับดอกไม่เอวแต่จะมีขนาดใหญ่ เล็กลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของขั้นเกี่ยว
                     - เฟืองอุบะ สร้างเป็นดอกเรียงร้อยต่อกันตามแนวนอน โดยปล่อยให้ดอกกลางห้อยหยอ่นลงอย่างเชือกตกท้องช้าง จากส่วนปลายแต่ละข้างที่มีขนาดดอกเล็แล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจนดอกกลางมีขนาดใหญ่สุด เรียงช่วงละ 11 ดอก มี 9 เฟื่อง ตรงช่วงต่อของเฟือ่งแต่ละแถวห้อยอุบะมีลักษระคล้ายพวงดอกมะลิตูมจับกลุ่มเป็นทรงดอกบัวตูมท้ิงยอดลงมีดอกรักครอบทับเป็นชั้นเรียงขนาดเล็กลงมาหาใหญ่ ทั้งหมดมี 9 ชุด
                    - ดอกไม้ทิศ สร้างเป็นดอกประจำมุมเหลี่ยม และประดับประจำด้าน ของเกี่ยวมาลัยทองฝาพระโกศชั้นล่าง จำนวน 18 ดอก ประดับเฉพาะประจำมุมเหลี่ยมของเกี่ยวชั้นที่ 2 และ 3 ชั้นละ 9 ดอก รวม 18 ดอก ประดับเฉพาะประจำมุมเหลี่ยมของเกี่ยวชั้นที่ 2 และ 3 ชั้นละ 9 ดอก รวม 18 ดอก และประดับประจำด้านของเกี่ยวชั้น 4 จำนวน 9 ดอก รวมทั้งิส้น 45 ดอก จะมีขนาดใหญ่ เล็ดลดหลั่นกันตามความเหมาะสมของขั้นเกี้ยว
           โดยสรุป ลักษณะดดยรมของพระโกศพระบรมอัฐิขงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นพระโกศทรงเก้าหลี่ยม ยอดทรงมงกุฎ จัดสร้างด้วยทองคำลงยาสี ประดับรัตนชาติ ยกเว้นสวนประกอบอื่น ได้แก่ พุ่มข้าวบิณฑ์ยอดพระโกศ ดอกไม้เอว ดอกไม้ไหว และเฟื่องอุบะ  ตามจำนวนที่กล่วขั้นต้นที่สร้างด้วยเงินบริสุทธิ์ประดับด้วยรัตนชาติ มีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ฉัตร 9 ชั้น ทำด้วยทองคำลงยาประดับรัตนชาติ สำหรับเปลี่ยนแทนยอดพุ่มข้าวบิณฑ์เมื่อัญเชิญออกประดิษฐานในพระราชพิธีและมีพระโกศศิลาขาวที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวล สำหรัีบทรงพระบรมอัฐิอยู่ภายในพระโกศทององค์นี้
           ขนาดของพระโกศ ฐานกว้าง 20 ซม. หากวัดจากฐานถึงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ สูง 80 ซม. เมื่อวัดจากฐานถึงยอดพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร สูง 99 ซม. รัตนชาติที่ใช้ประดับพระโกศและส่วนประกอบต่างๆ เป็นเพชรเจียระไนสีขาวทั้งสิ้น ส่วนยาสีที่ใช้ตกแต่งพระโกศเป็นประเภทยาสีร้อน มีสามสีได้แก่  สีเหลือง สีแดง และสีเขียว
           สีเหลือง หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพ
           สีแดง หมายถึง สีแห่งพลัง ความเข้มแข็ง การหลอมรวมดวงใจของคนในชาติ
           สีเขียว หมายถึง สีแห่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แห่งประเทศด้วยพระเมตตาบารมีแด่ปวงประชาชนทุกภาคส่วน
            นอกจาพระโกศทองลงยาแลพระโกศสิลาแล้ว ยังมีเครื่องประกอบที่เกี่ยวเนื่องอีก 2 ชิ้น ได้แก่ แป้นกลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน 1 ชิ้น สำหรับรองรับฝาพระโกศ และฐานไม้กลึงแกะสลักลงรักปิดทอง จำนวน 1 ชิ้น สำหรับรองรับยอดพระโกศที่เป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือที่เป็นพระนพปฎลหาเศวตฉัตร เมื่อมีการถอดผลัดเปลี่ยนกันในงานราชพิธี
          

           พระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที 9 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทำด้วยทองคำจำหลักลงยาประดับเพชรทั้งองค์ ยอดเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ สามารถอดเปลี่ยนกับยอดนพปฎลมหาเศวตฉัตรทองคำเมื่องต้องอัญเชิญออกประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ เป็นผุ้ทำพระโกศ ทองคำถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 หนัก 4 กิโล 175 กรัม ่ต่อองค์...http://www.tnews.co.th/contents/371471

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...