ประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นผุ้นำในการก่อตั้งพระราชอาณาจักรแล้ว ยังทรงทำนุบำรุงสร้างศิลวัฒนธรรม และระเบียบประเพณีต่างๆ ในการดำรงชีวิตให้เป็นมรดกของชาติสืบทอดมา หลักฐานที่กล่าวถึงการจัดพระราชพิธีพระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดปรากฎอยุ่ในหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง
การจัดพิธี พระบรมศพ นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานเรื่องการ พระบรมศพ เช่นเดียวกับสมัยรุปแบบของอยุธยาตอนกลาง ในพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงเฉพาะลักษณะพระเมรุ มิได้กล่าวถึงรายละเอียดพระราชพิธี ต่อมาในสมัียอยุธยา ตอนปลายปรากฎหลักฐานในจุดหมายเหตุพระบรมศพ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พรรณนาเฉพาะการถวายพระเพลิง และการแห่พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐาน ณ พระอารามหลวง และงานพระบรมศพสมเด็จเจ้าฟ้าสุตาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จนารายณ์มหาราชา พรรณนารายละเดียวการพระราชพิธีกพระบรมศพไว้ คค่อนข้างละเอียด
พระมหากษัตริย์ผุ้ทรงทศพิธราชธรรมมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อชาติและประชาชน ชาวไทย ทรงได้รับการเทิดทูนเสมอด้วยสมมติเทพ ตามคติพราหมษ์เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ถือเป็นเทพ อวตาร คือ เทวดาจุติลงมาอุบันบนโลกมนุษย์ ครั้งเมื่อ เสด็จสวรรคตจึงถือเป็นการเสด็จกลับสู่สวรรค์ อันเกี่ยวเนื่องกลับพระบรมศพจึงถือเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพ่อเฉลิมพระเกี่ยรติอย่างสูงสุด
การพระราชพิธีพระบรศพของพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นโบราณราชประเพณีที่มีแบบแผน ธรรมเนียมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย มีความสำคัญ ทัดเทียมกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แม้ว่าจะมีการปรับ เปลี่ยนในรายละเอดียดปลีกย่อยของพระราชพิธีต่างๆ อยู่บ้าง ตามยุคสมัยและสภาวะของสังคม แต่ยังคงยึดถือคติตามที่กล่าว ในไตรภูมิกถาอยู่อย่างมั่นคง มีการประดิษฐานพระบรมศพ บนพระเมรุมาศซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุล้อมรอบ ด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์เพื่อเป็นการส่งดวงพระวิญญาณ กลับสู่สรวงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทพยดาทั้งหลาย มีการประกอบพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่อลังการเริ่มตั้งแต่การ สรงน้ำพระบรมศพการเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระบรมโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล การเชิญพระบรมศฑจากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศท้องสรามหลวง การถวายพระเพลิงพระบรมศพการเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลัยสู่พระบรมมหาราชวัง ลำดับพระราชพิธี เหล่านี้มีแบบแผนทำเนียมปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ และการเตรียมการต้องใช้เวลานานหลายเดือน
หลังจากเชิญพระบรมโกศขึ้นปะดิษฐานบน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้วจึงจัดให้มีการพระราชพิธีบำเพ็ยพระราชกุศลเป็นประจำทุกวัน และพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน (สัตตมวาร) ครบ 15 วัน (ปัณรสมวาร) ครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) และครบ 100 วัน (สตมวาร) การบำเพ็ยพระราชกุศล ณ พระที่นั่งดุสิตมหา ปราสาทภายใน พระบรมมหาราชวังในแต่ละวัน จะมีัพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาบำเพ็ยพระกุศล จนครบ 100 วัน แตะละวันมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระพะธีธรรมจาก พระอารามหลวง 10 แห่งได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดประยูรวงศาวาสวัดอนงคาราม วัดราชสิทธาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสัป
เปลี่ยนหมุนเวียนกันไป พระพิธีธรรมแต่ละพระอารามจะใช้ทำนองสวดแตกต่างกัน ปัจจุบันมี 4 ทำนอง คือทำนองกะ ทำนองเลือน ทำนอง ลากซุง และทำนองสรภัญญะ นอกจากนี้ยังมีการประโคมยำยามในงานพระบรมศพ หรือพระศพ ซึ่งเป็นราชประเพณีโบราณ เพื่อเป็นสัญญาณ ให้ข้าราชการรู้กำหนดเวลาในการปโิบัติหน้าที่ การประโคม ย่ำยามนนี้ใช้ในงานที่พระบรมศพและพระศพพระราชวงศ์ ขุนนางผุ้ให่ แต่เดิมดนตรีที่ใช้ประโคมย่ำยามมีเฉพาะ วงแตรสังข์ และวงปีโฉน กลองชนะ โดยกำหนดประโคม ย่ำยามทุกสามชั่วโมงคือเวลา 06.00 น. -12.00 น. 18.00 น. -21.00 น. และ 24.00 น. การประโคมนี้จะทำทุกวันจน ครบกำหนดไว้ทุกข์ 100 วัน 2 เดือน 1 เดือน 15 วัน 7 วัน ตามพระเกียรติยศพระบรมศพ หรือ พระศพ การประโคมย่ำ ยามพระบรมศพพระมหากษัตริย์ เครื่องประดคมจะประกอบด้วยมโหระทึก-สังข์-แตรงาน-เปิง-และกอลงชนะ-หากเป็นพระศพ ไม่มีมโหระทึก
เมื่อถึงกาลอันควรคือสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ ที่ท้องสนามหลวงเสร็จพร้อมที่จะถวายพระเพลิงได้ จะเชิญพระบรมศพพระศพจากพระบรมมหาราชวังไปยังท้องสนามหลวงเพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศซึ่งสร้างเป็น พิเศษดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "งานออกพระเมรุ"
การเชิญพระบรมศพ พระศพ สู่พระโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล ตลอดจนการสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ณท้องสนามหลวง การเคลื่อนพระบรมศพ พระศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง การตกแต่งพระจิตการธาน การเชิญพระบรมอัฐิ พระอั๙ิ พระบรมราชสรีรางคาร และพระสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรม มหาราชวังล้วนมีแบบแผนกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบติ ขึ้นตอนพระราชพิธีในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวต้องใช้ เวลาเตรียมการเป็นแรมเดือนนับตั้งแต่การสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ การดูแลและตกแต่งราชรถ ราชยาน คานหาม สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ตลอดทั้งเครื่องประอบอื่นๆ ในการออกพระเมรุ เช่ พระโกศไม้จันทน์ เครืองพินไม้จันทน์ พระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ผอบบรรจุพระสรรางคาร หรือ พระราชสรีรางคาร ทั้งนี้ไม่รวมเครื่องสดที่ประดับพระเมรุมาศ และงานแทงหยวกเป็นลวดลายประดับพระจิตกาธาน ซึ่งต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนการถวายพระเพลิงเพียงไม่กี่ชั่วโมง
นอกจากนั้น ยังต้องมีการซ้อมริ้วขบวนในแต่ละจุด แต่ละพิธีการด้วย ตามโบราณราชประเพณีพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ หรือเรียกว่า "งานออกพระเมรุ" มีขั้นตอน การปฎิบัติที่ถูกกำหนดไว้อย่างมีแบบแผน การเตรียม การแต่ละขั้นตอนใช้เวลาหลายเกือนหรือนานนับปี เพื่อให้สง่างามสมพระเกียรติ โดยเฉพาะศูนย์กลางของพระราชพิธีถวายพระเพลิงคือการก่อสร้างพระเมรุมาศ และเครื่องประกอบอื่นๆ ในการออกพระเมรุต้องมีการออกแบบให้ เหมาะสม
จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป ถวายพระเพลิงในช่วงเย็น วันรุ่งขึ้นอัญเชิญพระโกศพระบรม อัฐิประกิษฐานบนรพะที่นั่งราเชนทรยานและพระบรมราชสรีรางคารดารประดิษญานบนพระที่ยั่งราเชนยานน้อย ยาตราด้วยกระบวนพระบรมราชอิสริยยศจากพระเมรุมาศ ไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง
การสร้าง "พระเมรุมาศ" จะมีขนาดและแบบงดงาม วิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัยและตามความบันดาลใจ ของข่างที่มีปรัชฐญาในการออกแบบว่าเป็นพระเมรุของ กษัตริย์ นักรบ หรือฝ่ายสตรี ซึ่งจะระกอบขึ้นเป็นพระเมรุมาศและปริมณฑล โดยยึดคติโบราณที่สืบทอดกันม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงสันนิษฐานคติการสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุว่า ได้ชื่อมาจากการปลูกสร้างปราสาทอันสูงใหญ่ท่ามกลางปราสาทน้อยที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียบเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติ เป็นชั้นๆ ลักษณะหมือนเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขา สัตบริภัฒฑ์ล้อม จึงเรียกเลี่ยนชื่อว่า "พระเมรุ" ภายหลังทำ ย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแค่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียก เมรุ
การถวายพระเพลิง หรือ "ออกพระเมรุ" ในสมัยโบราณจะทำเป็นงานใหญ่แล้วแต่กำหนดตั้งแต่ 3 วัน 5 วัน 9 วัน ถึง 15 วัน สุดแต่สะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระราชพิธีจะมีขอบเขต คือ
พิธีสามหาบตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วเชิญ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระอิสริยยศสมโภชภายในพระบรมมหราชวัง พระบรมอัฐิ พระอัฐิบรรจุในพระโกศทองคำ แล้วประดิษฐานไว้บนพระมหาปราสาท จัดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วนพระบรมราชสรีรางคารพระสรรีรางคารจะนำไปประดิษฐาน ไว้ยังพุทธสถาน พระอารามหลวงตามราชประเพณี
ศิลาหน้าเพลิง คือ หินเหล็กไฟ ที่ใช้เหล็กสับกับหินให้เกิดประกายไฟ โดยมีดินปะทุเป็นเชื้อให้ติดไฟง่าย แล้วทรงจุดเที่ยนพระราชทานแก่เจ้า
พนักงาน หากแต่การใช้หินเหล็ไฟไม่สะดวก ในสมัยต่อมาพระมหากษัตริย์จึงทรงใช้พระแว่นสูรยกานต์ส่องกับแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟ แล้วจึงนำเอาเพลิงนั้นจุดถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพสันนิษฐานว่า การจุดเพลิงด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นวิะีเดียวกับการจุดเพลิงไฟฟ้าเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ปรากฎในคำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวยังปฏิบัติสืบมในการถวายพระเพลิงเจ้านาย ดังในคราวถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงส่องพลังความรอยจากแสงอาทิตย์ด้วยพระแว่นสูรยกานต์แล้วให้เจ้าพนักงานตั้งแต่มณฑปสำหรับเลี้ยงเพลิงไว้ แล้วเชิญมายงพระเมรุมาศ
ในปัจจับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไฟที่เกิดจากพระเว่นสุรยกานตืไปจุดเลี้ยงไว้ที่พระอุโบสถพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อมีผุ้มาขอไฟพระราชทานจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังเชิญ "ไฟหลวง" มาพระราชทานเพลิงศพผุ้นั้นต่อไป
-รูปภาพจาก web.facebook.com/pirasri.povatong
"รูปแบบและธรรมเนียม"ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ การถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือการพระราชทานเพลิงพระศพนั้น ถือวาเป็นงานพระราชพิธีใหญ่ซึ่งมีะรรมเนียม และวิธีการปฎิบัติที่ตรงตามตำราดังที่ราชสำนักสืบทอดกันมา แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันั้นการถวายพระเพลิงพระบรมศพได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพ่ิมมากขึ้น สืบเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปโดยในปัจจุบันนั้นในราชสำนักมีรูปแบบของการถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังภาพ
ภาพที่ 1. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีที่พรบรมศพอยู่ในพระบรมโกศ) การสุมเพลิงรุปแบบนี้เป็นแบบโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ในปัจจุบันันี้ไม่พบว่ามีการถวายพระเพลิงพระศพบนพระจิตกาธานอีกแล้วเนื่องจากควบคุมเพลิงได้ยากเจ้าพนักงานจะต้องอยฉีดน้ำและควบคุมทิศทางลมอยู่ตลอดเวลาประกอบกับปัจจุบันมีการนำเตาเผาสมัยใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ดังภาพจะห็นว่ามีเปลวเพลิงลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา โดยเกิดจากการสุมเชื้อเพลิงด้านล่างของพระจิตกาธาน จากภาพคืองานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชนีในรัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ.2528
ภาพที่ 2 การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระบรมศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ในงานถวายพระเพลิงบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนรี หรือสมเด็จย่า เนื่องจากพระบรมศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในหีบ ทางสำนักพระราชวังจึงทำการตั้งหีบพระบรมศพบนพระจิตกาธานแล้วนำพระบรมโกศ (โกศเปล่า) วางบนหีบพระบรมศพอีกชั้นหนึ่งดังภาพประกอบ ในคราวนั้นสมเด็นพระเจ้าอยุ่หัวมหาวชิราลงกรณ์ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หลังจากที่ผุ้มาร่วมงานกลับกันหมดแล้วทั้งสามพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังพระเมรุมาศเพื่อควบคุมการถวายพระเพลิงด้วยพระองค์เอง
ภาพที่ 3 การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกันจนถึงงนพระรชทานเลิพงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในพระจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึงมีกระบวนการต่างๆ คล้ายกับงานพระบรมศพของสมเด็จย่า แต่จะแตกต่างกันตรงที่ได้อัญเชิญหีบทรงพระศพลงจากพระจิตกาธาน เข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเมรุแทน จากภาพคือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ภาพที่ 4 การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ) ในรูปแบบนี้ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่น กน จนถึงปี พ.ศ. 2555 ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาฯ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่พระศพของพระอค์ประดิษฐานอยู่ในพระโกศตามโบราณราชประเพณี แต่เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริงนั้น เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศลงจากพระจิตกาธานเพื่อไปพระราชทานเพลิงยังเตาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกแทน ดังจะเห้นในภาพที่ขนาดของเตาไฟฟ้านั้นมีขนาดใหญ่ และสูงกว่าปกติ เพื่อที่สามารถอัญเชิญพระโกศเข้าไปภายในเตาไฟฟ้าได้ (จิตกาธาน คือ เชิงตะกอนหรือฐานที่ทำขึ้นสำหรับเผาศพ)พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑ,พิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พงศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พงศ. 2560 เป้นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรี จึงกำหนดให้เป็นวัหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้นคณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เข่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น สวนการบูรณปฏิสังขรณราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นังราเชนทรยานน้อย รวมทั้งประติมากรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีคร้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย คาดการณ์ว่าการจัดสร้างพระเมรุมาศจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 โดยมีสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์วินิฉัยในกรจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เร่ิมเตรียมการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบการบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาพิชัยราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงการเตรียมงานมหรสพในงานออกพระเมรุมาศ
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯกำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ.2560 พร้อมทั้งพิจาราหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระราชพิธีสำคัญได้แก่ พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรี กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม
วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560
- 15.00 น. ถวายพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหา
ปราสาท
แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และมงกุฎไทย ไว้ทุกข์
วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย)
- 07.00 น. พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยริ้วขบวนที่ 1
- 07.30 น. เชิญพระบรมโกศจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยริ้วขบวนที่ 2
- 08.30 น. เชิญพระบรมโกศเวียนพระเมรุมาศโดยอุตราวัฎ 3 รอบ แล้วอัญเชิญพระบรมโกศประดิษฐานบนพระเมรุมาสโดยริ้วขบวนที่ 3
- 16.30 น. พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (พระราชพิธีทางการ)
แต่งกายเต็มยสศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และช้างเผือก ไว้ทุกข์
- 22.30 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (พระราชพิธีจริง)
แต่งกายปกติขาว ไว้ทุกข์
วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560
- 08.00 น. พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
- 11.00 น. เชิญพระบรมอัฐิ ออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาาชวัง โดยริ้วขบวนที่ 4
- 12.00 น. เชิญพระบรมอัฐิ เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานบนแว่นฟ้าทองด้านทิศเหนือ และเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารไปยัง พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
วันเสาร์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560
- เวลา 17.30 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ยพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
แต่งกายเต็มยศ มหาจักรีบรมราชวงศ์ และ ช้างเผือก ไว้ทุกข์
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560
- 10.30 น. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
- 12.00 น. เชิญพระอัฐิออกพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง โดยริ้วขบวนที่ 5
- 12.05 น. เชิญพระอัฐิเข้าสู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทประดิษฐานบนพระที่นั่งมุลสถานบรมอาสน์ ด้านทิศตะวันออก
แต่งกายเต็มยส ปฐมจุลจอมเกล้า และปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
- 17.30 น. พระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธมหาสีมาราม และ วัด บวรนิเวศวิหาร โดยริ้วขบวนที่ 6
แต่งกายเต็มยศ ปฐมจุลจอมเกล้า และปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ไว้ทุกข์
การแสดงมหรสพจะยึดตามธรรมเนียมปฏิบัติและโบราณราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ สำหรับครั้งนี้เวทีโขนและหนังใหญ่ตั้งอยุ่ทางด้านทิศเหนือของท้องสรามหลวง เวทีละครทั้งหมดจะตั้งอยุ่ทางทิศตะวัออก และเวทีดนตรีสากลตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตก ส่วนพระเมรุมาศซึ่งเป็นประธานในมณฑลพิธีตั้งอยู่ทางทิศใต้ เนื่องจากการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบครั้งนี้ใช้พื้นที่ที่เป็นจำนวนมาก
เวทีมหารสพทั้ง 3 เวที จะมีขนาดใหญ่กว่างานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี, งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิสวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุด สิริโสภาพัฒณวดี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรนายก โดยจะประสานสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิปลากร เพื่อกำหนดจุดสร้างเวทีอย่างชัดเจนอีกครั้ง ส่วนแบบโรงมหรสพโครงสร้างจอโขนและหนังใหญ่ ผุ้ทรงคุณวุฒิศิลปกรรมได้ออกแบบเสร็จแล้ว โดยส่วนนี้จะเป็นการแสดงนอกมณพลพิธี ส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศจะเป้นการแสดงโขนชุดใหญ่ ตอนยกรบ และระบำอู่ทอง ซึ่งใช้นักแสดงเป็นจำนวนมาก
การแสดงมหรสพสมโภชในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือประกอบด้วยการแสดงโขนหน้าไฟหน้าพระเมรุมาศ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณา และระบำอู่ทอง ส่วนการแสดงมหรสพสมโภช ประกอบด้วยการแสดงหนังใหญ่ และโขนพระราชทาน ตอน รามาวตาร การแสดงละครหุ่นหลวงและหุ่นกระบอก และการบรรเลงดนตรีสากล "ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า" ล่าสุดได้จัดเตรียมผุ้แสดงทั้งใน่วยของสถาบันบัฒฑิตพัฒนศิลป์วิทยาลัยนาฎศิลป์ 12 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย ศิบปินแห่งชาติ ครูนาฎศิลป์ และนิสิต- นักศึกษา ทั้งหมดประมาณ 2.000 คน
บอก และมีการจัดทำสูจิบัตรผุ้แสดงแล้ว สำหรับการแสดงมหรสพสมโภชเป็นงานที่จัดขึ้นตามจากรีตประเพณีในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิพระบรมศพพระมหากษัตริย์ฉะนั้น ผุ้แสดงต้องมีทักษะความสามารถด้านนาฎศิลป์ และมีประสบการณ์การแสดงมาพอสมควร ซึ่งขณะนี้สถาบันวางผุ้แสดงแบล้วจากบทละครที่กำหนด ทั้งตัวพระ นาง ทหาร ระบำ แต่ละสถาบันทั้งครุและนักเรียนผุ้แสดงจะแยกกันซ้อมในที่ตั้ง เมื่อใกล้งานพระราชพิะีถวายพระเพลิงจะมีกำหนดการตรางซ้อมการแสดงร่วมกัน พร้อมดนตรีสด ผุ้เชียวชาญนาฎศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผุ้ควบคุม ซึ่งคาดว่าจะใช้ดรงละครวังหน้าฝึกซ้อมรวม การแสดงที่สนามหลวงจัดบนเวที มีการผุกโรแสดง ทั้งนี้การกำหนดวันซ้อมร่วมกนจะมีการแจ้งอีกครั้ง
และ โนมูน นอกจากนี้ จะมีการแสดงบัลเลย์เรื่องมโนห์รา หนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย เพริง เนเธอร์ วอทท์, เดอะ ฮันเตอร์, คินาริ วอลท์, อะ เลิฟ สตอรี่, ภิรมย์รัก และ บลูเดย์ แล้วยังมีบทเพลงเทิดพระเกียรติที่ทางสถาบันฯ จะแสดง 2 เพลงคือ พระราชาผุ้ทรงะรรม และในหลวงของแผ่นดิน โดยนักร้องประสานเสียง 89 คน มีอาจารย์วานิช โปตะวณิช เป็นวาทยกร โดยหลังจากได้รับโน๊ตเพลงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร แต่ละวงจะแยกกันฝึกซ้อมท้งนี้ ในเดือนกันยายน จะนัดฝึกรวมซ้อมใหญ่ ณ เวที จริง ก่อนวันประกอบพระ
ราชพิธีจริงวันที่ 26 ต.ค. นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงดนตรีภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วยดดยจะใช้วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณีวัฒนาทำการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงจะมีศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่จะร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย และตลอดทั้งปีสถาบันตนตรีกัลยานิวัฒนาจะจัดกิจกรรมน้ำมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาแสดงทุกครั้ง
เวทีตนตรีสากลในงานในงานมหรสพครั้งนี้ดนตรีทั้ง 7 วง จะแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์จำนวน 44 บทเพลง เริ่มการแสดงวงแรกตั้งแต่ 23.00 น. ของวันที่ี่ 26 ตุลาคม ต่อเนื่องถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 ตุลาคมดดยงงของสถาบันกัลยาณิวัฒนาจะเปิดการแสดงเป็นวงแรก ตามด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายด้วยวงดนตรีจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย โดยมีกรมศิปากรควบคุมตลอดการแสดงth.wikipedia.org/wiki/พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น