วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

Julius Caesar

             กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ หรือ จูเลียส ซีซาร์  เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผุ้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อ
ขาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุกาณ์อันำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน
             ใน 60 ปี ก่อน ค.ศ. ซีซาร์, กรัสซุส และพอมพีย์ ตั้งพันธมิตรทางการเมือง ซึ่งจะครอบ
งำทางการเมืองโรมันไปอีกลายปี ความพยายมของพวกเขาในกสั่งสมอำนาจผ่านยุทธวิะีประชานิยม ถุกชนชั้นปกครองอนุรักษนิยมในวุฒิสภาโรมันคัดค้าน ซึ่งในบรรดานั้นมี กาโตผุ้เยา(Cato the Younger) ร่วมด้วย
            ด้วยการสนับสนุนบ่อยครั้งของ กิแกโร "มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร นักปรัชญา รัฐบุรษ นักกฎหมาย นักทฤษฎีการเมือง และนักนิยมรัฐธรรมนูญชาวโรมันโบราณ เขาเกิดในตระกุลขุนางอันมั้งคั้งในตำแหน่งขุนคลัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะนักพูดและกวีทีมีชื่อเสียงที่สุดของโรมันทำให้ ซีซาร สามารมขยายดินแดนโรมันไปถึงช่องแคบอังกฤษ และแม่น้ำไรน์ ซีซาร์เป็นแม่ทัพโรมันคนแรกที่ข้ามทั้งสองฝั่งเมื่อเขาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำไรน์และบุกครองบริเตนครั้งแรก
           
 สงครามกอล เป็นชุดการทัพ ซึ่งจูเลียส ซีซาร์ เป็นผุ้ดำเนินต่อชนเผ่ากอลหลายเผ่า สงครามกินเวลาตั้งแต่ 58 ปี ก่อน ค.ศ. ถึง 50  ปีก่อน ค.ศ. จนลงเอยด้วยยุทการที่อะลีเซียอันเด็ดขาดใน 52 ปีก่อ ค.ศ. ชัยชนะอย่างสมบูรณ์ของโรมันส่งผลให้สาธารณรัฐโรมัน ขยายเหนือทั้งอกล( ประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียนในปัจจุบันเป็นหลัก) แม้ว่าเผ่ากอลจะมีความเข้มแข็งทางทหารสูสีกับโรมัน แต่ความแตกแยกภายในทำให้ซีซาร์คว้าชัยได้โดยง่ายและความพยายามของเวอร์ซินเกโทริกซ์ ในการผนึกชาวกอลต่อการบุกครองของโรมันสายเกินไป สงครามนี้ปูทางให้จูเลียส กลายเป้ฯผุ้ปกครองสาธารณรัฐโรมันแต่ผุ้เดียว
              แม้ซีซาร์พรรณนาการบุครองนี้ว่าเป้ฯการปฏิบัติตัดหน้าข้อศึก แต่นัประวัติศสตร์ส่วนใหย่ตกลงกันว่าสงครามนี้ส่วนใหญ่ต่อสู้เพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเมืองของซีซาร์และจ่ายหนี้สินมหาศาลของเขา กระนั้น สงครามกอลยังเมีความสำคัญทางทหารอย่างมากต่อชาวโรมัน เพราะโรมันถุกชนเผ่าพื้นเมืองทั้งที่อาศัยอยู่ในกอลแะหนือไปกว่านั้นโจมตีหลายครั้ง การพิชิตกอลทำให้โรมันควบคุมแม่น้ำไรน์ ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ จูเลียส ซีซาร์อธบายไว้ในหังสือ "ความเห็นต่อสงครามกอล"..https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA_%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C
                 หนึ่งในงานเขียนสำคัญที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์การทหารสมัยดรมันคือ "ความคิดเห็นต่อสงครามกอล Commentarii de Bello Gallico กับ "ความคิดเห็นต่อสงครามกลางเมือง Commentarii de Bello Civiliที่เขียน โดยแม่ทัพและรัฐบุรุษของสาธารณับโรมัน จูเลียส ซีซาร์ งานเขียนทั้งสองนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่เขาเขียนขึ้น เพื่อยกย่องความสามารถของตัวเขาเองว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะขึ้นเป็นผุ้ปกครองโรมเหนือคู่แข่งทางการเมือง คนอื่นๆ วึ่งซีซาร์ได้แสดงถึงการเป็นนักเขียนที่มีความสามารถเท่าๆ กับเป็นผุ้บัญชาการทหาร และลักษณะงานเขียนของเขากลายเป็นแบบอย่างของงานเขียนประวัติศาสตร์การทหารในสมยศตวรรษที่ 19 
                 ด้วยวัตถประสงค์ของงานเขียนที่หวังผลทางการเมือง เนื้อหาในงานเขียนของซีซาร์ย่อมีลักษณะเชิดชูความสามารถของเขาและลทบาทในสงครามที่เขาเป็นผุ้บัญชาการโดยอ้งความเป็นhttp://kamiuzg.blogspot.com/2015/02/normal-0-false-false-false-en-us-x-none.html
เจ้าของความสำเร็จในการวิเคราะห์เหตุการณ์ในสมารภูมิอย่างเยือกเย็น กระนั้นเหตุการณ์ที่เขาบันทึกเป็นข้อเท็ํจจริงที่เกิดขึ้น ลักษณะการเขียนของซีซาร์จะใช้วิะีการบรรยายการดำเนินสงครามและการเล่าเรื่องสมรภูมิตามรูปแบบของกรีก แตงานเขียนของเขามีความแตกต่างจากของ ธูซิดิเอด และ เซโนฟอน ที่มองบุคลากรในกองทัพและจิตวิทยาของมวลขนเป็นส่ิงขับเคลื่อนสงคราม ซึซาร์มอง่า สงครามเป็นศาสตร์ที่ใช้ความรุ้ความสามารถของผุ้บั๙าการในการชับเคลื่อนและกำหนดทิศทางขณะที่เหล่าทหารในสนามรบเป็นหุ่นที่ำทหน้าที่ตามแผนอันเฉลียวฉลาดของผุ้บัญชาการ(แม้ซีซาร์จะให้การยอย่องทหารที่ทำหน้าที่ได้สมวีรบุรุษก็ตาม) ซึ่งมอมองดังกล่าวนี้ทำให้เกิดมุมองในการเขียนประวัติศาสตร์การทหารที่ให้ความสำคัต่อศาสตร์การบัญชากองทัีพ หรือจะเรียกว่า "ประวัติศาศตร์ของผุ้นำทางทหารผุ้ยิ่งใหญ่"
                 ความสำเร็จจากการบุคครองบริเตน และความสำเร็จจากสงครามกอลทำให้เขามีอำนาจทางทหารซึ่งไม่มีผุ้ใดเทียม และคุกคามฐานะของพอมพีย์ซึ่งเปลี่ยนไปเข้ากับวุฒิสภา หลังกรัสซุสเสียชีวิตใน 53 ปี ก่อน ค.ศ. เมื่อสงครามกอลยุติ วุฒิสภาสั่งซีซาร์ให้ลงจากตำแหน่งบังคัฐบัญชาทหารของเขาและกลังกรุงโรม ซีซาร์ปฏิเสธคำสั่งนั้น และใน 49 ปี ก่อน ค.ศ. เขาทำการบข้ามแม่น้ำรุบิโก ซึ่งเป็นแม่น้ำตื้นๆ ทางตะวันออกเฉียเหนือของประเทศอิตาลี ยาวปรมาณ 80 กิโลเมตร ทอดยาวจากเทือกเขาแอเพนไนน์ไปจนถึงทะเลเอเดรียติก.. ทำให้เกิดสำนวน "ข้าแม่น้ำูบิคอน" ซึ่งแปลว่า ผ่านจุดที่ไม่มีทางหวนกลับ และหมายถึง การประกาศสงครามของจูเลียส เนื่องจากเส้นทางการไหลของแม้น้ำได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนับตั้งแต่นั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันอย่างชัดเจนว่าแม่น้ำรูบิคอนมีเส้นทางการไหลอย่างไรเมือซีซาร์และกองทหารลีเจียของเขาข้ามแม้น้ำนั้น
           
 เขาบุกเข้าอิตาลีพร้อมอาวุธ เกิดสงครามกลางเมือง ที่เป้ฯความชัดแย้งทางการเมือง การทหาร ในสาะารณรับโรมัน ก่อนสถาปนาเป็นจักรวรรดิโรมัน สงครามนี้เร่ิมจากการเผชิญหน้าทั้งทางการเมืองและการทหารหลายครั้งระหว่างจุเลียน ซีซาร์ ผุ้สนับสนุทางการเมืองของเขา และ ลีเจียด กับ กลุ่มแยกอนุรักษนิยมทางการเมืองปละประเพณีนิยมทางสังคมของ วุฒิสภาโรมัน ผุ้ได้รับการสนับสนุนโดย ปอปีย์แม่ทัพและผุ้นำทางการเมืองของสาธารณรัฐโรมันยุคสุดท้าย
                หลังการต่สูทางการเมือง การทหารนานสีปี ซึ่งสุ้รบกันใน อิตาลี อัลเบเนีย กรีซ อียิต์ แปฟริกา และฮิสปาเนีย ซีซาร์ก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ และกลายเป็นผุ้เผด็จการตลอดชีพแห่งโรม การเปลี่ยนแปลงการปกครองโรมันที่เกิดขึ้นพร้อมกับสงครามส่วนใหญ่กำจัดประเพณีทางการเมืองของสาธารณรับโรมัน และนำไปสู่จักรวรรดิโรมันในที่สุด...https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA_%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C
           

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

Literature

           วรรณกรรม หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการค่อด และจินตนาการ แล้ว
เรียบเรียงนำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง รือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่าง ๆโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภทคื อวรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสื และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
           ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
           วรรณกรรมเป้นผลงานศิปละที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องารวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ภาษาเป็นสิงที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหาย เรื่องราวต่าง ๆภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
       
1 ภาษาพูดโดยการใช้เสียง
          2 ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอังกณ ตัวเลข สัฐญลักษณ์ และภาพ
          3 ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
          ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษขึ้นอยุ่กับ การใช้ภาษาให้ถุกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษาบังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหม่าะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวีhttp://www.finearts.go.th/fad15/parameters/km/item/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.html
           ประเภทของวรรณกรรมต่างๆ
           - สารคดี เป็นงานเขียนหรือ วรรณกรรมร้อยแก้วในลักษณะตรงข้ามกันกับบันเทิงคดีที่มุ่งสาระความรู้แก่ผุ้อ่านเป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง ที่มุ่งแสดงความรุ้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบาย เชิงวิจารณ์เชิงแนะนำสั่งสอน เป็นต้น..
         
- มหากาพย์  คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษ วัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง อาทิ โอดิสซี, อีเลียด
           - ปกรฌัมชุด คือ กลุ่มปกรฌัมหรือ ตำนานต่างๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่อาจจะเป็นบุคคลในตำนานหรือกึ่งบุคคลในประวัติศาสตร์ ปกรณัมชุดที่เกี่ยวกับประเทศใดประเทศหนึ่งบางครั้งก็เรียกว่า "ปกรณัมเกี่ยวกับ" เช่น ตำนานต่าง ๆที่เกียวกับบริเตนก็เรียกว่า "ปกรณัมเกี่ยวกับบริเตน" ถ้าเป้นปกรณัมของบุคคในจิตนาการบางครั้งก็จะเรียกว่า "ปกรณัมไมธอส" อาทิ สงครามเมืองทรอย
            ในหมวดหมู่ของปรกรฌัม ยังแยกย่อยออกเป็น
                       ชีวประวัติ คืองานเขียนชนิดนึ่งที่เป็นการกล่วถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ นักธุรกิจ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณืสำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้นนี้หากเป็นประวัติของผุ้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่าอัตชีวประวัติ
                       ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่งราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนไเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอใรูปแบบของภาพยนต์ก็ได้ ซึ่งอค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมุลสวนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือการเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษระของชีวประวัติจะไม่เมหือกนักบประวัติโดยย่อ หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล
                   
อัตชีวประวัติ หมายถึง ประวัติชีวติที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำานโดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเชียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่นๆ
                   บันทึกประจำวันและบันทึกการเดินทาง อนุทิน หรือ ไดอารี เป็นการบันทึก แรกเริ่มบันทึกในรูปแบบของสมุด ซึ่งแยกข้อมูลป็นวัน รายงานส่ิงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ในแต่ละช่วงเวลา อนุทินบางครั้งยังมีจุดประสงค์ ลักษระ ความศิวิไลซื ของมนุษย์ รวมถึงการบันทึกของรัฐบาล การบันทึกทางธุรกิจ การบันทึกทางการทหาร โรงเรียหรือผู้ปกครอง บางคนสอนเด็นให้เขียนอนุทิน เพื่อแสดงความรุ้สึกและความคิดออกมา
                   บทความ หมายถึงงานเชียนที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพื หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ผลการวิจัย เผยแพร่ความรุ้ การวิเคราะห์ทางการศึกษา การวิพากวิจารณ์ เป็นต้น โดยปกติบทความหนึ่งบทความจะพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป้นประเด็นหลักเพียงเรื่องเดียวในบทความยังแยกออกเป็น บทความประวัติศาสตร์ คือ การสอบถาม ความรุ้ที่ได้มาโดยการสอบสวน เป็นกาค้นพบ
รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุกาณืในอดีต ประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึง ช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผุ้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกกันว่า "นักประวัติศาสตร์" , บทความทางศาสนา ซึ่งรวมถึง วรรณกรรมขอขมา สภาษิต คัมภีร์ วรรณกรรมคริสต์ศาสนา
                 บทละคร  เป็นงานวรรณศิลป์ ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "ดร่ามา" ซึ่งมาจากคำภาษากรีกคำหนึ่ง แปลว่า "การกระทำ"
                 ตำนาน คื่อ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบเหมือนเครื่องมือท่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวมทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีชีวิต ความคิด ความ ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่างๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่งอจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่ก็ได้, นิทานเ ป็นเรืองเล่าสืบต่อกนมา กล่าวได้ว่าเป็นวรรกรรมที่เก่าแก่ที่สุด นิทานอาจมีกำเนิดพร้อม กับครอบครัวมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เร่ิมแรก คงเป็นเรืองที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพ่ิมเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป การเขียนนิทาน อาจเป็นการเชียนจากจินตนาการก็ได้, ตำนานพื้นบ้าน เป็นคติชน ยุคปัจจบุันรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเรื่องที่ผุ้เล่าอาจเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เฉกเช่นเดียวกับคติชนและปกรณัม ตำนานพื้นบ้านไม่ได้มุ่งหมายที่ความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหา เพียงแต่ได้ไขเรื่องาวนั้นให้แพร่หลาย ฉะนั้น เนื้อหาจึงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงผกผันได้เป็นระยะๆ แต่ก็มีความสำคัญบางประการที่จูงใจให้ชุมชนรักษาและถ่ายทอดเรื่องนั้นต่อๆ ไป
          - นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรม ลายลักษณ์ แต่งในรุปร้อยแก้ว มีลักาณะแตกต่างจากเรืองแต่งแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ ตามแบบตะวันตก นั้นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไป นิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า"นิเยย" หมายถึง "พูด"
          ซึ่งในหมวของนวนิยาย แยกออกไปอีกมากมายหลายหลาก อาทิ นวนิยาเชิงสารคดี นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ นวนิยายอิงชีวประวัติ นวนิยายแนวผจญภัย ...ฯลฯhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5
           -
         
         

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

War and Peace (Leo Tolstoy)

           สงครามและสันติภาพ ของ ลีโอ ตอลตอย งานเขียนชิ้นเอกเล่มนี้เคยได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษา
ไทยเมื่อนามาแล้วโดยพลุตรีหลวงยอดอาวุธ...
           ตังละครหลักใน "สงครามและสันติภาพ" ทั้งปแยร์, อองเตร, นาตาชา, นิโคลัย, มาเรีย มีพัฒนาการทางความคิด มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจในแตะละเช่วงของชีวิต แต่ละคนค้นหาความมหายของชีวิตท่ามกลางเหตุการณืต่่างๆ ที่ผ่านเข้ามา
         "ปิแยร์ เบซุฮาฟ" เป็นชายร่างอ้วนใส่แว่น จากตอนต้นเรื่องที่นับถือชมชอบนโปเลียน แลายเป็นคนที่เกลี่ยดชัวและต้องการังหารนโปเลีียน เขาเคยเป็นปัญญาชนที่ไม่เชื่อในพระเจ้า แต่จากการชักชวนของกลุ่มปรีมาซอนทำให้เปลี่ยนเป็นผุ้ศรัทธาพรเจ้า เขาพยายามเสาะหาความหมาของชีวิต และท้ายนที่สุดได้ค้นพบว่ "ชีวิตคือทุกสิ่งทุกอย่าง ชีวิตคือพระเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่งเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา และการเคลื่อนไหวนั้นก็ือพระเจ้า การรักชีวิตก็คือการรักพระเจ้า.."
           
 สำหรับ "อองเตร บอลกอนสกี้ เป้นหนุ่มรุปงามผุ้สูงส่ง เขาต้องการรบเืพ่อประเทศชาติ อองเตรก็เช่นเดียวกับปิแยร์ เขามัชั่วขณะของการค้นพบทางจิตวิญญาณ ในการรบที่ออสเตอร์ลิซ์ อองเตรได้รับบาดเจ็บนอนล้มลงในสนามรบ ในห้วงเวลาแห่งความเป้นความตายนั้น เมื่อเขามองไปยังท้องฟ้าเบื้องบนอันกว้างใหญ่ไพศษล จึงได้รับรู้ถึงความสุข ความสงบ แห่งอนันตภาพ" ..ทไมเราไม่เคยเห็นท้องฟ้านั้นมาก่อนเลยเล่า..เราช่างมีความสุขที่เราได้เห็นมัแล้วในที่สุด จริงสิ ตนอกจากฟ้ากฟ้าอันไร้พรมแดนนี้แล้ว ทุกสิงทุกอย่างล้วนว่างเลป่า ทุกส่ิงทุกอย่างล้วนเป้นมายามั้งส้ิน นอกจากนอกจามนแล้วก็ไม่มีอะไรเลย ไม่ไมีอะไรเลย แม้แต่ท้องฟ้าก็ไม่มีอยู ไม่มีอะไรยู่เลยนอกจากความสงบ ความเงียบงัน ขอบคุณพระเจ้า"..
            นางเองของเรื่อง "นาตาชา รอสตอฟ๐ เป้นตัวละครที่น่ารักมีชีวิตชีวา ในวัยเยาว์เธอชอบบอริส แต่ไม่สมหวัง เนื่องจากฝ่ายชายต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต่อมาเธอมีความรักกับอองเตร แต่เมื่อเขาไม่อยู่ ธอเร่ิมีใจให้กดับอนาโตล คูรากิน จนะมื่อเรื่องราวดำเนินไปถึงช่วงท้าย เธอจึงได้ลงเอยอย่างมีความสุขกับปิแยร์
            ตอนท้ายของหนังสือเป็นส่วนที่น่าประทับใจมาก หลังจากเหตุการณ์ในปี 1812 ผ่านไป 7 ปี ตอ
ลสตอยเขียนถึงตัวละครหลักต่าง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยุ่ นิโคลัยทำงานของตัวละครต่างๆ ที่เจะกิดขึ้นตามมา
            ตอลสตอยใช้ภาษาฝรั่งเศสหลายแห่งในหนังือเล่มมนี้ เขาต้องกา "แฝงนัย" ด้วยการใช้คำ ภาษางรั่งเศสใน "สงครามและสันติภาพ " สะท้อนถึงความไม่จริงใจ ไม่ซื่อตรง ในขณะที่ภาษารัศเซียเป้นตัวแทนของความเรียบง่ายตรงไปตรงมา ตอนที่ปิแยร์บอกกับเอเเลนว่า "ผมรักคุณ" ตอลสตอยให้ปิแผยร์พูดเป็นภาษาฝรั่งเศส เพราะต้องการสะท้อนถึงตัวปิแยร์ที่ไม่ได้มีเอแลนอยู่ในหัวใจ ในฉบับแปลภาษาไทยของคุรวิภาดา ได้แปลคำศัพท์ฝรั่งเศสเป็นไทยโดยเน้นตัวอักษรเป็นเอน...http://www.rusciscenter.tu.ac.th/index.php/2012-03-27-09-50-44/2012-04-02-04-40-54/2012-04-02-04-41-55/2-uncategorised/106-war-and-peace
             เลโอ ตอลสตอย หรืเชื่อเต็มว่า เคานต์ เลฟ นิโคลาเยวิช ตอลสตอย นักเขชียนชาวรัสเซีย ผุ้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวรัสเซียในศตวรรษที่ 19 ประกอบด้วยตัวละครมากหน้าหลายตา และเหตุการณ์ที่หลากหลาย มีผลงานที่เป้นรู้จักกันดีเช่น สงครามและสันติภาพ และ อันนา คาเรนินาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AD_%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A2
           
 วณณคดีรัสเซียได้รเริ่มต้นขึ้นในยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 10 ) กล่าวคือ ในช่วง 50 ป หลังากที่คริสต์ศาสนานิกายกรีกออร์โธดอกซ์ ได้เข้ามาเผยแพร่ในรัสเซีย ซึ่งก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประดิษฐ์อักษร และภาษาเชียนภาษารัสเซียขึ้นเป็นครั้งแร ดดยนักบวชชาวกรีก ๒ คน นักบุญคีริล และนักบุญเมโธดิอัส ในปี คซศ. 988 งานวรรกรรมในยุคแรกเป็นงานเขียนของนักบวช ซึ่งเป็นเรื่องราวทางศาสนา และไม่ได้ระบุชัดว่าเขียนขึ้นในปี ค.ศ.ใด วรรณกรรมชิ้นแรกของรัศเวียที่ปรากฎเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ "กาพย์เกี่ยวกับการศึกของเจ้าชายอีกอร์ เป็นกาพย์ที่เชิดชูวีกรรมของเจ้าชายอีกอร์ และเหล่าทหารที่แต่งโดยนักปราชญ์ที่ไม่ปรากฎนาม คาดว่าได้ประพันธ์ไว้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 วรรกรรมเรื่องนี้จัดว่าเป็นวรรณกรรมที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของยุโรปในยุคกลาง
            หลังจากที่รัสเซียนได้ปลดปล่อยตนเองให้เป้นอิสระจากมองโกลแล้ว ในรัชสมัยอีวานผุ้โหดร้าย ได้มีการประพันธ์หนังสือ"การจัดการครอบครัว" ขึ้นโดย ซีลเวสเตอร์ นักบวชที่มีบทบาท และอิทธพลสูงสุดในขณะนั้น (เป็นที่ปรึกษาของซาร์) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการครอบครัวในสังคมที่เพศชายมีอำนาจสุงสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและวัฒนธรรมของรัสเซียในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี
           วรรณกรรมที่โดเด่นของรัสเซียในยุคต่อมาเร่ิมขึ้นในรัชสมัยของคัทรีมหาราชินี ในยุคดังกล่าววรรณกรรมรัสเซียนได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมของเยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศ เนื่องจากกระแสอารยธรรมตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในช่วงตอนต้นศตวรรษ ได้ไหลบ่าเข้าท่วมกระแสอารยธรรมรัสเซียดังเดิมในสังคมชั้นสูงจนแทบหมดสิ้น ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากนโยบายเปิดประเทศรับชาวตะวันตกของพระนางคันทรีน และพระนางก็เป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิ นิโคลัย โนวิกอฟ ซึ่งเป็นบรรณาธิการวารสารแนวเสียดสีสังคมดดยทั่วไป ในขณะนั้น ได้วิพากษ์วิจาร์ และเสียดสีระบบการปกครองและนโยลบายของพระนางคันทรีน จนวารสารพถุสั่งปิด และถุกจองจำ หลังจากนั้นคัทรีมหาราชินี ยังได้สั่งเนเทส อาเล็กซานเดอร์ ราดีเชฟ เจ้าของบทประพัธ์ที่กำหนิระบบการปกครองของพระนาง ที่มีนโยบายที่ดีกับต่างชาติและชั้นสูง โดยไม่ได้ใส่ใจกับชาวนาผุ้ยากจน ซึ่งเป้นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่มีชื่อเรื่องว่า "การเดินทางจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถึงมอสโก"
          จากการกระทดังกล่าว ได้กลายเป็นจุดเร่ิทมต้นของการรวมตัวของปัญญาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบและการกระทำของพระนาง ก่อตั้งกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะปฏิวัติล้มล้างสภาบันและรบบการปกครอง...http://www.rusciscenter.tu.ac.th/index.php/2012-03-27-09-50-44/2012-04-02-04-40-54/2012-04-02-04-42-21
           

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

Divine Comedy ( Dante Alighieri)

         
ดีวีนากอมเมเดีย หรือไตรภูมิดันเต เป็นวรรณกรรมอุมานิทัศน์ที่ ตัดเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1308 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1321 ถือเป็นกวีนิพนธ์สำคัญของวรรณกรรมอิตาลีและเป็นหนึ่งในงานช้ินสำคัญที่สุดขิ้นหนึ่งของวรรณกรรมของโลก กวีนิพนธ์นี้เป็นจิตนิยายและอุปมานิทัศน์ของคริสเตียนสะท้อนให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของปรัชญาสมัยกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับโรมันคาทอลิกของตะวันตก นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนังสือ ที่มีบทบาทต่้อสำเนียงทัสคัน ตามที่เชียนเป็นภาษาอิตาลีมาตรฐาน
         "ดวีนากอมเมเดีย" แบ่งออกเป็นสามตอน "นรก" "แดนชำระ" และ "สวรรค์" กวีนิพนธ์เขียนในรูปของบุคคลที่หนึ่งและเป็นเรื่องที่บรรยายการเดินทางของดานเตไปยังภูมิสามภูมิของผุ้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่เริ่มการเดินทางตั้งแต่วันศุกร์ ศักดิ์สิทธิ์ ไปจนถึงวันพุธหลังจากวันอีสเตอร์ของปี ค.ศ. 1300 โดยมีกวีโรมัน เวอร์จิล เป็นผู้นำใน "นรก" และ "แดนชำระ" และเบียทริเช พอร์ตินาริ เป็นผุ้นำใน "สวรรค์" เบียทริเชเป็นสตรีในอุดมคติที่ดันเตพบเมือยังเป็นเด็กและชืนชมต่อมาแบบ "ความรักในราชสำนัก" ที่พบในงานสมัยแรกของดันเตใน "ชีวิตใหม่" ที่เขียนในปี ค.ศ. 1295
       
ชื่อเดิมของหนังสือก็เป็นเพียงชื่อสั้นๆ ว่า " Commedia" แต่ต่อมา โจวันนี บอกกัชโชก็ํมาเพิ่ม "Divina" ข้างหน้าชื่อ ฉบับแรกที่พิมพ์ที่มีคำว่า "Divine" อยู่หน้าชื่อ เป็นฉบับที่นักมานุษยวิทยาฟื้นฟูศิลปวิทยาของเวนิส โลโตวีโก ดอลเช พิพม์ในปี ค.ศ. 1555
           ดูรันเต เตกลี อาลีกีเอรี หรือ ดันเต อาลีกีเอรี หรือเรียกสั้นๆ ว่าดันเต ดันเต อาลีกีเอรีเป็นรัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์ คนสำคัญของฟลอเรนซืใคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลาง งานชิ้นที่สำคัญที่สุดคือ "ดีวีนากอมเมเดีย" ที่เดิมชื่อ "คอมเมเดีย" แต่ต่อมาเรียกว่า "ดิวินา" โดยโจวันนี
           ดันเตได้รับการขนานนามในอิตาลีว่า“il Sommo Poeta”  หรือ "มหากวี" และได้ชือว่าเป็น "บิดาแห่งภาษาอิตาลี" ดานเต เปตราก และโจวันนี บอกกัชโช รู้จักรวมกันว่า "สามมุกุฎ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

           ข้อมูลเพิ่มเติม http://chotirosk.blogspot.com/2014/09/hell-and-heavens-in-dantes-la-divina.html
              ดันเต อลิเกียรี กำเนิดในปี ค.ศ. 1265 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ในครอบครัวขุนนางต่ำศักด์ เมื่อมีอายุได้ยี่สิบปี ดังเตก็ทำการสมรสกับเกมมา โดนาติ และมีบุตกับบางด้วยกันทั้งส้ินสามคน ดังเตเข้าเรียนที่โบโลญญ่ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในช่วงวัยหนุ่มดังเตคบค้าสาคมกับคีตกวีหรือศิลปินที่มีชื่อเสียงและอิทธิพล ณ เวลานั้นหลายคน ดังเตหลงรักเบีทริชสุถาำสตรีผุ้สูงศักดิ์คนหนึ่งกระทั่งเขาเชียนกลอนยาวและประพันธ์ วิต้า เนาว่า เพื่อุดทิศแด่เบียทริชหลังจากเธอเสียชีวิตลงใในปี ค.ศ. 1290
             
ส่วนผลงานของเขาที่มีชื่อว่า ดิวิน่า คอมมีเดีย นั้นประพันะ์ขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 14 คือหลังจากที่เขาได้ลี้ภัยทางการเมืองและไปศึกษาที่ปารีส กระทั่งใช้ชีวิตในบั้นปลายขเงอขาในสภานกักกันรเวทนาที่วึ่งดังเตได้อุอทิสเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิตเพื่อเขียนผลงาน ดิวินา คอมเมเดีย จนเสร็จสมบูรณ์ ก่อนหน้าที่เขาจะสิ้นลมเพียงไม่นาน
         
ดิวินา คอมเมเดีย แบ่งออกเป็น 3 ภาคด้วยกัน โลกหลังความตายของดังเต่นั้นประกอบไปด้วยสามโลกคือ นรก แดนชำระ และสรวงสวรรค์และในแต่ละภพภูมินั้นก็คือแต่ละภาคของ ดิวินา คอมมเเดีย นั้นเอง ดังเตไม่ได้ใช้อรรถกถาธรรมดาๆ เพื่อพรรณนาภาพพจน์โลกหลังความตายของคริสเตียน หากเขาใช้กลวิธีทางการประพันธ์ที่แนบเนียนกว่าด้วยการนำเสนอเรื่องราวทั้งหมดในฐานะที่เขาได้พบเห้นโลกทั้งสามมาแล้ว ดดยที่มีเวอจิลมหากวีชาวโรมันเป็นมัคคุเทศนำชม
         
ประตู่สู่นรกตั้งอยุ่ใต้นครเยรูซาเลม โครงสร้างของแดนนรกสามารถแบ่งออกเป็นสามระดับกว้างๆ คือนรกขชั้นบน นรกชั้นล่างและใจกลางโลกอันเป็นที่พำนักของซาตาน นรกขั้นบนและชั้นล่างถูกกั้นไว้ด้วยกำแพงแห่งดิส ในแต่ละชั้นนั้นามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อีกโดยจำแนกจากประเภทของบาป ซึ่งใน่วนย่อยนี้ดังเตเรียกว่า ไซเคิล หรือ "วงจร" ดังนั้นยิ่งลำดับของ "วงจร" มากเท่าไร วงจรดังกล่าวก็ย่ิงเข้าใกล้ศุนย์กลางของโลก (จะมองว่าสัญญานของนรกในทัศนะของดังเตเป็นรูปทรงกรวยที่ปลายแหลมดิ่งสู่ใจกลางโลกก็คงไม่ผิดแ่ประการใด) ซึ่งวงจรทั้งหมดสามรถแบ่งออกเป็น อีก 9 วงจร
           ข้อมูลเพิ่มเติม - http://www.thaiwriter.org/?p=468
                                   - https://www.thairath.co.th/content/371223

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

A Christmas Carol (Charles John Huffam Dickens)

         
A Christmas Carol นวนิยายของ ชาร์สล์ คิดเก้นส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1843 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายชื่อ เอเบเนเซอร์ สครูจ นายธนาคารผุ้เลื่อดเย็นและละโมบ ที่ได้รับการมาเยื่นจากวิญญาณของเพื่อเก่า ที่มาเตื่อนให้ระวังภูมิแห่งเทศกาลคริสต์มาส จำนวน 3 คน ที่จะมาเยื่อนตัวเขา คือ "ภูติแห่งคริสต์มาสในอดีต เป้นภาพชีวิตของสครูจในอดีตเมื่อเริ่มทำงานใหม่ ๆยังยากจนอยู่ แต่ใช้ชีัวิตอย่างมีความสุข มีความเอื้อารีต่อผุ้คน "ภูมิแห่งคริสต์มาสในปัจจุบัน" เป็นภาพชีวิตในปัจจุบันของสครูจ ที่เบียบดเบียบผุ้คนอย่างเลือดเย็น จนเป็นที่หวาดเกรงและเกลียดชังจากคนรอบข้าง และ "ภฺมแห่งคริสต์มาสในอนาคต" เป็นภาพของสครุที่นอนตายอย่างเดียวดาย และถูกหัวขโมยเข้ามารุมทึ้งทรัพย์สมบัติ และหลุมฝังศพ
          นวนิยายจบลงเมือสครูจตื่นขึ้นมาในเช้าวันคริสต์มาส สำนึกตัวได้ว่าชีัวิตขเงเขานั้นขาดความรักและความเหนอกเห็นใจต่อคนรอบข้าง เขาใช้เวลาที่เหลือยู่ในวันนั้นไปกับการแบ่งปันให้กับผุ้ยากไร้ และกลับไปอยู่กับครองครัวอย่างมีความสุข
          คิดเก้สน์เร่ิมแต่งนวนิยายเรื่องนี้ โดยใช้เวลาเขียน 6 สัปดาห์ และตีพิพม์จำหน่ายในช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาสต์ ปี 1843 ในช่วงนั้นอยู่ในช่วงต้นสมัยวิกตอเรีย ของสหราชอาณาจักร เป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัตอุตสาหกรรม และเป็ยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึงตรงกับสมัยการปกครองขชอง
สมเด็จพระราชินนีนาถวิกตอเรียระหว่างปี ค.ศ.1837 ถึงปี ค.ศ. 1901
         ชาลส์ จอห์น ฮัฟแฟม ดิกคินส์ นักประพันธ์ชาวอังกฤษ และมีนามปกกาว่า "โบซ" เกิดที่เมืองแลนด์พอร์ท แฮมเชียร์อังกฤษใต้ สหราชอาณาจขักรเป็นบุตเสมียนฝ่ายเงินเดือนกองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2357 ดิกคินส์ได้ย้ายมาอยู่ในลอนดอนแล้วย้ายไปอยู่ที่เมืองแชทแธม และที่นี่เขาีโอกาสได้เข้าโรงเรียน และได้ทำงานด้านหนังสือพิมพ์และได้เป็นผุ้สื่อข่าวแลเข้าทำงานกับหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในลอนดอนในเวลต่อมา
         ชาลส์ ดิกคินส์ เป็นคนทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ผิตงานวรรณกรรมรวมทั้งงานเขียนเพื่อรณรงค์ต่อต้านความชั่วร้ายในสังคมสมัยนั้นออกมาอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก และไม่เคยส่งเรื่องช้ากว่ากำหนด ดิกคินส์เริ่มงานวรรณกรรมด้วยการเขียนลงหนังสือพิมพ์รายเดือน เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%8C_%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C
           
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีวรรณกรรมประเภทหนึ่งเร่ิมปรากฎครั้งแรกในประวัติวรรณคดีอังกฤษ คือ นวนิยาย โดยเขียนสะท้อนถึงชีวิตของชนชั้นกลางและชนชั้นล่างมากขึ้นก่าชนชั้นขุนนางดังในช่วงเวลาก่อนสมัยครสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากทั้งสองชนชั้นนี้มีจำนวนประชากรมากขึ้นในยุดรป ตอ่มา เมื่อเข้าสูคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเขียนวรรณกรรมเร่ิมเขียนด้วยจินตนาการของผุ้เขียน มีลักษณะสนับสนุนเสรีภาพ ต่อต้านการกดขี่ หรือที่เรียกว่า สมัย
"โรแมนติก" ซึ่งาจเกิดจากแนวคิดในกาปฏิวัติอเมริกา ใชนช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และปฏิวัติฝรั่งเศส ในค.ศ. 1789 ก็เป็นได้ นอกจากนี้ ยังเกิดการปฏิวัติอุตสา่เร่ิมขึ้นต้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในอังกฤษ ผุ้เป็นเจ้าอาณานิคมหลายแห่งบนโลกเวลานั้น การปฎิวัติดังล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศราฐกิจอย่างมา เนื่องมาจากการค้นพบพลังงานถ่านหินที่มีอย่างล้นเหลือกับเครื่องจักรไอน้ำ และอื่นๆ อันช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพและรวมเร้ซย่ิงขึ้น ซึ่งชนชั้นกลางมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมอุตสาหกรรมในกรสนับสนุน เศรษฐกิจ บ้างก็เป็นเจ้าของกิจการอุุตสาหกรรม และเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่ได้รับการสนับสนุนจากระบบอุตสาหกรรมแต่กลับสร้างความเดือนร้อนให้กับชนชั้นกรรมาชีพ ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบตัวใครตัวมันดังทฎีของ อดัม สมิทซ์ ที่แถลงไว้ในหนังสือ "ความมั่งคั่งของชาติ"
              ทั้งหมดที่นี้ คือ พัฒนาการของการเขียนวรรณกรรมผ่านช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรตที่ 18 จนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งจะปรากฎในวรณกรรมในสมัยพระราชินีวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร โดยมีนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษที่เขียนสะท้อนสภาพของสังคมไว้หลายแง่มุม ซึ่งในเรื่อง "อาถรรพ์วันคริสมาสต์" เป้นวรรณกรรมทีสะท้อนวิถีชีวิตชนชั้นกลางระดับต่างๆ จนถึงชนชั้นล่
งสุดของังคมอังกฤษ รวมถึงความเห็นแก่ตัวและความมีน้ำใจของชนชั้นกลางระดับสูงอีกด้วยดังนั้น วรรณกรรมเรื่องนี้จะเป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งของยุโรปที่สะท้อนสังคมในหลายๆ แง่มุม...https://creative-path.wixsite.com/creativepath/single-post/AChristmasCarolwithEnglishCultureHistory

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

Madame Bovary (Gustave Flaubert)

         
กุสตาฟ โฟลแบรต์ เป็นนักเขียนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเร่ิมการเขียนนวนิยายในแนวเหมือนจิรงหรือสัจนิยม หลักสำคัญของวรรณกรรมแนวนี้คือการวางตัวเป้นกลางของผุ้แต่งโดยปล่อยให้ผุ้อ่านตัดสินและประเมินค่าตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆด้วยตนเอง เอมิล โซลา นักเขียนชั้นนำของกลุ่มสัจนิยมถึงกับยบยกย่องให้นวนิยายเรื่องมาดามโบวารี ของโฟลแบรต์ให้เป็นแม่บทของนวนิยายในแนวนี้ มาในยุคปัจจุบัน นักวรรณคดีล้วนเห้ฯพ้องต้องกันว่าโฟลแบรต์คือนักเขียนผุ้บุกเบิกการเขชียนนวนิยายแนวใหม่โดยดูจากเทคนิคหลายๆ ประการที่เขาใช้ไม่ว่าจะเป้น วิธีการเขียนบทพรรณนาที่มีความหมารยกลมกลืนไปกับองค์ประกอบอื่นๆ ของนวนิยาย การเสนอตัวละครจากทรรศนะของตัวละครด้วยกันเอง วมไปถึงวิธีการตัดต่อเหตุการณ์และฉากต่างๆ วึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการตัดต่อภาพยนตร์
          นอกจากนี้ โฟลแบรต์ยังเป้นผุ้ที่ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าหาข้อมูลพอๆ กับการเชียนอย่างประณีตบรรจง ตามปกติแล้วเขาจะใช้เวลาเขียนนวนิยายแต่ละเรื่อง นาน 4 ข-5 ปี หรือมากกว่านั้น นวนิยายแต่ละเรื่องของเขานอกจากจะมี
ความสมจริงแล้ว ถ้อยคำและสำนวนต่างๆ ที่เขาใช้ยังมีเสียงไพเราะเสนาะโสต มีความบรรสารกลมกลืน และมีจังหวะจะโคนที่ดีอีกด้วย ที่เป้นเช่นนี้ก็เรพาะสำหรับโฟลแตรต์แล้วหัวใตจของการสร้างสรรค์ความงามทางวรรณศิลป์นั้น อยุ่ที่ลีลาการเขียนเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลงใจเลยที่นวนิยายหลายเรืองของเขาซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายที่ยิ่งใหญ่ของโลกวรรณกรรมตะวันตกนั้น เรียกวได้ว่ามีเนื่้อเรื่องที่ธรรมดาที่สุดในสมัยนั้น เช่น เรื่อง มาดามโบวารี ซึ่งมีเนื้อหารเกี่ยวกับประเด็นทางด้านชู้สาว หรือเกือบไม่มีเนื้อเรื่องเลย เช่น เรื่องบทเรียนชีวิต ซึ่งมีเนื้อเรื่องเพียงแค่ชีวิตของชายหนุ่มผุ้หนึ่งซึ่งรำลึกได้ในตอนอวสานว่าตนได้ประสบความล้มเหลวในชีวิต
            มาดามโบวารี เอ็มมา รูโอต์/เอ็มมา โบวารี ในสายตาชาย/ชู้
         
โฟรแบรต์ใชการเล่าเรื่องด้วยบุรุษที่ 3 และใช้เสียงผุ้เล่าที่มิได้เป็นตัวละครหนึ่งในนวนิยาย แต่ใช้มุมองการเล่าเรื่องผ่านาสายตาตัวละครผู้เล่าทอดเรื่องราวผ่านสายตาของชาร์ลส์สลับกับเอ์มมาเป้นหลัก
           การบรรยายอารมร์ของตัวละครเกคือเอ็มมา หรือบทพรรณนาฉากภายในบ้านของครอบครั้งโบวารี ฉากสถานที่ของเมือโตตส์และมืองยองวิล มีรายละเอดียดลึกซึ้งจนกระทั่งผุ้อ่านเข้าใจได้ ถึงความเบื่อหน่ายหดหู้ของเอ้ฒมาที่มีต่อสภาพแวดล้อมรอบกาย ตัวอย่าง เช่น โฟลแบรต์เปิดฉากแรกของบทที 1 ภาค 2 ด้วยบทพรรณนาภาพเมืองยองวิลจากระยะไกล เร่ิมจากบริเวณนอกเมืองแล้วเขาสู่ตัวเมือง แต่โผลแบรต์มิได้ใช้กลวิธีเดียวกันนี้ในการนำเสนอรูปลักษณ์ของตัวละครเอ็มมา ผุ้อ่านมิได้เห็นภาพของเอ็มมาอย่างละเอียดในข้อความแนะนำตัวละครเป็นเนื้อเดียวกันตั้เงแต่ต้นเรื่อง ผุ้อ่รนต้องเก็บรายละเอดียดที่ละน้อยด้วยตนเองแล้วนำมาประติดประต่อกัน ที่สำคัญคือโฟลแบรต์นำเสนอภาพเอ็มมาผ่านสายตาของตัวละครอื่นๆ ซึ่งเป็นชายที่เข้ามาอยู่ในแวดวงชีวิตของเธอโดยเฉาพะอย่างยิ่งด้านชู้สาว กลวิธีนำเสนอตัวละครหนึ่งผ่านสายตาของอีกตัวละครหนึ่งทำให้ผุ้ประพันธ์ถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครสู่ผู้อ่านได้อย่างแยบยล
          ตั้งแต่ครั้งังเป้นนางสาวเอ็มมา รูโอต์ ก่อนจะกลายเป็นมาดามโบวารี ตัวละครนี้เป็นศูนย์กลางการมองของตัวละครชายโฟลแบรต์เปิดตัวนางเอกของเรื่องด้วยการนำเสนอภาพตัวละครผ่านสายตาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชื่อชาร์ลส์ โบวารี ซึ่งถูกตามตัวมารักษาบิดาของเธอ เอ็มมามิได้ปรากฎตัวต่อสายตาผุ้อ่านทันที่อย่างเต็มตัวในการพบกันครั้งแรกของตัวละครทั้งสอง ในชั้นแรก ตามสายตาชของขชาร์ลส์ ผุ้อ่านเห็นเล็บมือที่ "เงางามปลายเรียบขัดสะอาดยิ่งกว่างาช้างจากเดียป"ของเอ็มมา ซึ่งชาร์ลส์ประทับใจมาก ล้วจึงมองเห็นภาพมือที่ "ไม่สวย" แต่ส่วนที่ชาร์ลส์มองห็นว่าสวยมากคือดวงตาสีน้ำตาลที่แลดูเป็นสีเข้มจัดเนื่องจากขนตาดกหนา ต่อจากนั้นผุ้อ่านมองเห็ฯภาพริฝีปากอ่ิมเต็มและลำคอระหง รวมทังแก้มแดงระเรื่อเป็นสีกุหลาบ โฟลแบรต์ทำให้ผุ้อ่านมองเห็นภาพสาวสวนเอ็มมาผ่านสายตาของชขาร์ลส์ แลฃะทำให้ผุ้อ่านล่วงรุ้ความในยใจของชาร์ลส์ที่นึกเปรียบเทียบเอ็มมากับภรรยาคนปัจจุบันของตนซึ่งเป็นหญิงม่ายมาก่อน อายุมากก่า และมีรูปฃลักษณ์ "ขีเหร่แห้งกระงลางเหมือนไม้ซากและเนื้อตัวอุดมไปด้วยดอกดวงราวกับฤดูใบไม้ผลิ  ด้วยเหตุนี้ ตามสายตาของชาร์ลส์ เอ็มมาย่อมเป็นาวน้อยโฉมงามทรงเสน่ห์ ภายหลังการแต่งงานของทั้งสอง ความงามของเอ็มมาผนวกความเย้ายวนย่ิงกลายเป็นเสน่ห์มัดใจชาร์ลส์ให้หลงไหลในตัวภรรยาสาวไม่เสื่อมคลาย "เช่นเดียวกับเมื่อแต่างงานกันใหม่ๆ ชาร์ลส์เห็นว่าเธองมหยดย้อยและมีเสน่ห์อย่างสุดที่จะต้านทานได้...
         
การที่ผลแบรต์ใช้เสียงผุ้เล่าที่มิใช้ตัวละคร เป็นกลวิธีซึ่งเอื้อให้ผุ้อ่นม่โอกาศล่วงรุ้ความรุ้สึกของโรดอล์ฟที่มีต่อเอ็มมา ผุ้อ่านได้ยินเสียงถ้อยคำในความคิดของโรดอล์ฟ และติดตามจินตนาการของตัวละครชายหนุ่มผุ้จัดเจนเชิงโลกีญื ที่โลดแล่นไปไกลถึงขนาดนึดวาดภาพร่างเปลื่อยเปล่าของเอ็มมา
          โอเมส์ เจ้าของร้านปรุงยาแห่งเมืองยองวิล กฃล่าวชมเอ้ฒมาเมื่อชาร์ลส์กำลังจะพาเธอไปชมละครที่เมืองรูอัง โฟลแบรต์ช้ภาษาภาพพจน์เพียงสั้นๆ ผ่านคำชมของโอเมส์ ว่่า "คุณงามราวกับงีนัส" ..การเปรียบเทียบเอ็มมากับวินัส กล่าวคือ วีนัสเป็นชื่อเรียกตาทเทพปกรณัมโรมันของเทวีแอโฟไดต์ ในเทพปกรณัมกรีก และเป็นเทพธิดาแห่งความงามแบบเย้ายวน ความปรารถนา และกามารมณ์ เมื่อแอโฟรไดต์ผุดขึ้นจากฟองสมุทรและถูกนำตัวไปยังภูเขาโอลิมปัสซึ่งเป็นที่สถิตแห่งทวยเทพ เอรอส หรือเทพแห่งความรัก และเทพฮิเมรอส หรือเทพแห่งความปรารถนา ได้ร่วมเดินทางไปด้วย นัยยะเชิงนิทานเปรียบเทียบ จากเทพปรกณัมกรีก-โรมัน ได้แก่ ความงาม ความรัก และความปรารถนา เป้นสิงที่ไ่อาจแยแยกจากกันได้ ... บางส่วนจาก บทความ มาดามโบวารี : เพศหญิง เพศชาย ความตาย ชายชู้ โดยวรุณีอุดมศิลป

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

Les Lettres philosophiques ou Lettres anglaises (François-Marie Arouet : Voltaire)

         
  ฟร็องซัว มารี อรูเอ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ เป็นปราชย์ นักเขียนและนักปรวัติศาสตร์ในยุคเรื่องปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผุ้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรังเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพในการพูดและยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรัฐ
            ผลงานองวอลแตร์มีจำนวนมากมายหลากหลายประเภททั้ง บทละคร นิยาย นิทาน เชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพาก วิจารณื ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาะารณชน เพื่ปลุกความคิดวิพากษืวิจารณืให้แก่ชาวฝรั่งเส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสภาบันแบบเก่า การต้อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม ารวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
            ผลงานของวอลแตร์เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดวิพากษ์วิจารณื" แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณืที่ปากฎในสังคมขอฦ.ตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิาชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่
งมงาย เป็นต้น
            วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพือมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่ายๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เืพ่อทไใ้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงส่ิงเหล่านั้น วางแนวคึิดและควารู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป้นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผุ้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
       
 ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวาอลแตร์มีอิทะิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งย่ิงใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศราฐกิจ สังคมและศาสที่รุ้จักกันในนาม "การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332"
        Les Lettres philosophiques ou Lettres anglaises  หรือ Letters on the Rnglish จดหมายปรัชญา
หรือ จดหมายจากอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษ ที่กรุงลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1733 และปีต่อมาจึงตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ผลงานช้ินนี้เขียนขึ้นในรูปแบบขอจดหมายรวมทั้งสิ้น 25 ฉบับ ซึ่งเหนื้อหาส่วนใหญ่จะเล่าถึงสภาพสังคมของประเทศอังกฤษ ผ่านประสบการณ์ขงตัววอลแตร์ โดยเชียนด้วยโวหารที่คมคายและสอดแทรกด้วยการเสียดสีถากถางวอลแตร์ได้ใช้สภาพสังคมดงกล่าวเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ชาวฝรั่งเศสได้รู้จักถงศาสนา เศรษฐกิจการเมือง ปรัชญาและวันธรรมของประเทศอังกฤษ แล้วนำมาเปรียบเทีียบกับประเทศฝรั่งเศสทำให้เห็นว่าประเทศฝรั่งเศนั้นยังล้าสมัยอยู่ อีกทั้งเขายังต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเสียภาษีระหวา่งชนชั้นสามัญกับชนชั้นอภิสิทธิ์ ต้องการให้เกิดความสมดุลของอำนาจทางการเมืองและต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมเสรีภาพด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์อีกด้วย ส่วนตอนท้ายของผลงานชิ้นนี้ วอลแตร์ได้กล่าววิจารณ์ ปาสกาล นักคิดคนสำคัญในศตวรรษที่ 17 อย่างดุเดอดในแง่ความเชื่อความสรัทธาในพระจ้า เนื่องจากปาสคาเห้ฯว่า "ความทุกข์ของมนุษย์จะเกิขึ้นเมื่อมนุษย์ปราศจากพระเจ้า และมนุษย์จะค้นพบความสุขได้เื่อมีศรัทธาในพระเจ้า "ซึงแนวคิดนี้ได้ขัดแย้งกับความิด้านศษสนาของวอลแตร์โดยสิ้นเชิง อาจกล่าวไดว่าผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C    

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...